ซ้อมอ่าน พระสุตตันตปิฎกฯ ๑. สังขิตตสูตร

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย BlueLotus, 25 กุมภาพันธ์ 2007.

  1. BlueLotus

    BlueLotus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +122
    ซ้อมอ่านค่า แนะนำด้วยนะค่ะ จะได้เอาไปปรับปรุงการอ่าน
    ทราบว่าตัวเองมีข้อบกพร่องเยอะค่า อย่างเช่น การอ่าน การออกเสียง และแบ่งวรรคตอน ฯลฯ

    กำลังหัดอยู่ค่ะ อิอิอิ

    เสียงอาจจะเบานิดนึงน่ะค่ะ เพราะตอนนี้กำลังทดสอบไมค์ (เอาผ้าห่อสำลีเอาห่อเอาไว้ เพราะตอนแรกเสียงรบกวนเยอะ เช่นเสียงหายใจ ถ้ามีใครมีเทคนิกปรับน้อยส์ รบกวนบอกด้วยค่ะ)

    ขอบคุณค่ะ


    _______________________________________________

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.150005/[/MUSIC]


    พระสุตตันตปิฎก
    เล่ม ๑๔
    อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    ปฐมปัณณาสก์
    เสขพลวรรคที่ ๑
    ๑. สังขิตตสูตร
    [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ
    บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย กำลังของเสขบุคคล ๕ ประการ๕ ประการเป็นไฉน คือ กำลัง คือ ศรัทธา
    กำลัง คือ หิริ กำลัง คือ โอตตัปปะกำลัง คือ วิริยะ กำลัง คือ ปัญญา ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย กำลังของเสขบุคคล ๕ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอ
    ทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พวกเราจักเป็นผู้ประกอบด้วยกำลัง คือ ศรัทธา กำลัง คือ หิริ
    กำลังคือ โอตตัปปะ กำลัง คือ วิริยะ กำลัง คือ ปัญญา อันเป็นกำลังของพระเสขบุคคล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๑
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กุมภาพันธ์ 2007
  2. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,775
    ค่าพลัง:
    +12,934
    อนุโมทนาครับ คุณ BlueLotus

    มีเพื่อนๆซ้อมอ่านกันหลายคนทำให้ห้องนี้ไม่เงียบเหงา แต่คึกคักไปด้วยบรรยากาศผู้ฝักใฝ่ในการทำกุศลทางด้านเสียงอ่านพระไตรปิฎก ผมผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้มาดูแลห้องนี้ก็ดีใจครับ ที่เห็นเพื่อนๆเอาใจใส่ทำกุศลทางด้านนี้กัน

    ผมจะพยายามช่วยทางเว็บลุ้นงานนี้ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีครับ แต่ลำพังผมเองก็สำเร็จได้ยากมากหากไม่มีหลายๆคนมาช่วยกัน ตอนนี้เริ่มมีเพื่อนผู้มีจิตศรัทธามาช่วยกันหลายคนผมก็ยิ่งมั่นใจว่ามีโอกาสสำเร็จครับ รู้สึกอิ่มใจมากครับ ที่งานกำลังก้าวไปสู่แนวทางที่ดีขึ้นๆ

    การอ่านทำให้เราเห็นผลงานที่เราได้ทดลองทำและจะได้ปรับปรุงในเรื่องที่เราเห็นว่าต้องปรับปรุงต่อไป ต่อไปเราจะชำนาญและมั่นใจ อ่านอย่างสบายใจกว่าเดิมเพราะมีความเชื่อมั่น อันเกิดจากการฝึกและปรับปรุงบ่อยๆครับ

    ขอบคุณจริงๆครับ คุณBlueLotus และผู้ร่วมกุศลทุกท่าน
     
  3. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,775
    ค่าพลัง:
    +12,934
    (f) ปฐมปัณณาสก์


    คลิกเปิดดู> ยินดีต้อนรับสู่ระบบเครือข่ายพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน

    พิพม์คำว่า..ปฐม
    และต่อมาก็พิมพ์คำว่า...ปัณณาสก์
    (แต่ลองพิมพ์ยาว...ปฐมปัณณาสก์ ไม่มีคำศัพท์ยาวแบบนี้)


    ผมเข้าใจว่าน่าจะอ่าน


    ปฐมปัณณาสก์...ปะ-ถม-ปัน-นาด


    อย่างนี้เข้าใจว่าถูกต้อง(ไหม?) หากเพื่อนๆคิดว่า ไม่ถูกก็ขอเชิญชี้แนะนะครับยินดีรับฟังครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กุมภาพันธ์ 2007
  4. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,161
    ค่าพลัง:
    +19,894
    ยินดีต้อนรับคะ เชิญทดลองอ่านกันมาอีกนะคะ

    อนาถบิณฑิกเศรษฐี = อะ นา ถะ บิน ทิ กะ เสด ถี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กุมภาพันธ์ 2007
  5. BlueLotus

    BlueLotus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +122
    ขอบพระคุณค่ะ เดี๋ยวกับไปปรับปรุงการอ่าน
    แล้วจะนำมาอัพโหลดไหม่ ^^
     
  6. nao7310

    nao7310 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +931
    อนุโมทนาค่ะ

    แต่ขอแนะนำนิดหนึ่งนะค่ะ คือคำว่า ดูกร มักจะอ่านผิดเสียเป็นส่วนใหญ่ ที่ถูกต้องอ่านว่า ดู-กะ-ระ หรือ ดู-กอน มิใช่ ดู-ก่อน

    สามารถสอบค้นได้จาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่ถ้าต้องการจะมีไว้ติดตัวก็ขอแนะนำ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับแก้ไข ปี 2542 ชื่อหนังสือว่า เขียนอย่างไร อ่านอย่างไร มีขายตามร้านหนังสือทั่วไปค่ะ เล่มบางๆ น่าจะช่วยแก้ปัญหาในการอ่านได้ในระดับหนึ่งนะค่ะ
     
  7. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,775
    ค่าพลัง:
    +12,934
    ขอบคุณ คุณnao7310 มากครับ ที่ยืนยันหลักฐานหนักแน่น ทำให้ผมเอ่ะใจไปค้นดูในเว็บ
    http://rirs3.royin.go.th/ridictionary/lookup.html

    อย่างพินิจพิเคราะห์ จนมั่นใจว่า แม้ในเว็บก็แนะไว้อย่างที่คุณnao7310 บอกครับ ดูข้างล่างนี้ มีเครื่องหมาย;ขั้น คนละคำกัน เช่น ดู-กะ-ระ, ดู-กอน; ดู-ก่อน; ดู-ซิ; ดู-แน่ะ; ดู-รา

    คำว่าดูกร อ่านได้สองอย่างคือ ดู-กะ-ระ,ดู-กอน

    ส่วนคำว่า ดูก่อน; ดูซิ; ดูแน่ะ; ดูรา ถ้าเราพิมพ์ในช่องค้น ของคำนั้นๆเช่น พิมพ์ ดูก่อน หรือ ดูซิ หรือ ดูแน่ะ หรือ ดูรา ก็จะมารวมๆอยู่ในข้อมูลเดียวกัน
    แต่ไม่ได้หมายความว่า ดูกร อ่าน ดูก่อน สังเกตดูที่เครื่องหมาย ; ขั้นไว้คนละคำกันครับ


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD>ค้น : </TD><TD>ดูกร; ดูก่อน; ดูซิ; ดูแน่ะ; ดูรา</TD></TR><TR vAlign=top><TD>คำ : </TD><TD>ดูกร; ดูก่อน; ดูซิ; ดูแน่ะ; ดูรา</TD></TR><TR vAlign=top><TD>เสียง : </TD><TD>ดู-กะ-ระ, ดู-กอน; ดู-ก่อน; ดู-ซิ; ดู-แน่ะ; ดู-รา</TD></TR><TR vAlign=top><TD>คำตั้ง : </TD><TD>ดูกร</TD></TR><TR vAlign=top><TD>ชนิด : </TD><TD></TD></TR><TR vAlign=top><TD>ที่ใช้ : </TD><TD></TD></TR><TR vAlign=top><TD>ที่มา : </TD><TD></TD></TR><TR vAlign=top><TD>นิยาม : </TD><TD>คำกล่าวเพื่อให้ผู้พูดด้วยรู้ตัว, คำเตือนให้รู้ตัว.</TD></TR><TR vAlign=top><TD>ภาพ : </TD><TD></TD></TR><TR vAlign=top><TD>อ้างอิง : </TD><TD></TD></TR><TR vAlign=top><TD>ปรับปรุง : </TD><TD>98/4/2


    ขอบคุณคุณnao7310มากครับ ผมแล้วผมจะปรับปรุงการอ่านให้ถูกต้องขึ้นครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <!-- post 503109 popup menu -->
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=thead>nao7310</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...