ตำนานบทสวดมนต์ ตอน คระหะสันติคาถา คาถาอันนำมาซึ่งสันติของพระเคราะห์

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 14 กรกฎาคม 2017.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    ตำนานบทสวดมนต์ ตอน คระหะสันติคาถา คาถาอันนำมาซึ่งสันติของพระเคราะห์
    19959447_10213698222359509_578912563572083030_n.jpg
    คาถานี้ใช้สวดเพื่อสงบเคราะห์กรรม ระงับเคราะห์ร้ายที่กำลังจะบังเกิดขึ้น คาถานี้เป็นพุทธคุณ สรรเสริญพระพุทธเจ้า ใช้ในการห้ามพระเคราะห์ อันเกิดด้วยเทพนพเคราะห์ สาธยายเพื่อหลีกโรคภัยไข้เจ็บ และหลีกเลี่ยงชะตาที่ถึงฆาตความเป็นมาของคระหะสันติคาถา
    (คาถาคระหะทั้ง ๙ หรือไชยะคุรุง)
    คระหะสันติคาถาแปลว่า “คาถาสำหรับสงบระงับเคราะห์” หรือ “คาถาอันนำมาซึ่งสันติของพระเคราะห์” หรือจะแปลให้ใกล้กับคำไทย ที่สุดว่า “คาถาสะเดาะเคราะห์” ดังนี้ก็น่าจะได้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “คาถาคระหะทั้ง ๙” หรือ “นวคราสทั้ง ๙” และนับเข้าในไชยทั้ง ๗ ของล้านนาเรียกว่า “ไชยะคุรุง” คาถาทั้ง ๙ นี้ ตามที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลาน อักษรภาษาล้านนาว่าสืบทอดมาแต่ลังกาทวีปดังนี้
    “ทีนี้จักกล่าวอุปเทสวิธีแห่งคระหะสันติคาถาไว้ให้ปุคละยิงชาย คระหัฏฐ์ และนักบวชเจ้าทังหลายหื้อได้รู้สืบไปพายหน้าก่อนเเลฯ
    ขณะเมื่อพระพุทธเจ้าอธิษฐานธาตุไว้ยังถ้ำเเก้วผลึกในลังกาทวีป มีประตู ๙ อัน เพื่อจักหื้อคระหะทัง ๙ ไข ก็เหตุจักหื้อเปนประโยชนะแก่ คนเเละเทวดาทังหลาย เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว พระยาลังการู้ข่าว ว่าธาตุมีในถ้ำ ปล่องไขบ่ได้ พระยาอินทร์รู้เหตุอันนั้นจิ่งเอาเทวบุตร ๙ ตน มาแล้วกล่าวว่า ‘กาละอันไขประตูถ้ำไว้หนักแก่เจ้าทังหลายทืน’ คระหะ ทังหลายมีสุริยเทวบุตรเปนต้นก็รับเอาทิพพะราชอาชญาพระยาอินทร์ว่า ‘สาธุเทวะ’ แล้วประณมอัญชุลีกล่าวคาถาอันต้นว่า ‘นะระเทวะคุรุง’ นี้ ยอคุณพระพุทธเจ้า ครั้นแล้วประตูมีแซว่และกลอนหากกระจัดออกได้ไว้ ดีนัก เทวบุตรทังหลายมีจันทิมเทวบุตรเปนต้นก็กล่าวคาถาด้วยล่ำดับกัน สันเดียว ประตูก็ไขไว้ดีนัก คนเเละเทวดาทังหลายก็ได้ไหว้และปูชาวันนั้น เเลฯ ปุคละยิงชายผู้ใดจำเริญเปนธัมมะสังวาธดั่งอั้น คระหะฤกษ์ยินดี จักหื้อมีสรีสุขะสวัสดีมีทีฆาอายุหมั้นยืนหาไภยะบ่ได้ วุฒิจำเริญมากนักแล” (ฉบับวัดน้ำล้อม อำเภอเมือง จังหวัดน่าน)
    “คาถาคระหะทัง ๙ นี้ ไหว้พระเจ้าชุวัน คระหัฏฐ์ เพิงใจยิ่งนัก เสมอดั่งเราได้แต่งเข้าพุ่นคู่ปีปูชาพระเจ้าชุวัน หายอุปปัททวะ อายุสวัสดี แล” (ฉบับวัดนาเหลืองใน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน)
    “คาถาคระหัฏฐ์ทัง ๙ จำเริญสิทธิบอระมวรเข้าของหาพยาธิบ่ได้ แม้นอุปปัททวะอันจักมาบังเกิดก็ร่ำงับกับหาย อันบ่มาบังเกิดเทื่อก็บ่อาจ จักมาใกล้ได้แล” (ฉบับวัดเชตวัน อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน)
    ตามตำนานพรรณนา คุณานิสงส์ของพระคาถาเหล่านี้ไว้ว่า
    อานิสงส์คระหะสันติ
    “บุคคลใดไม่ว่าหญิงชาย คฤหัสถ์หรือนักบวชสังวัธยายพระคาถา ทั้ง ๙ นี้ อย่างสม่ำเสมอหรือทุกๆ วัน เท่ากับได้ถวายข้าวบูชาพระพุทธ เป็นประจำ จะทำให้พระเคราะห์ทั้ง ๙ ยินดีโปรดปรานดลบันดาล ประทานพร ให้บุคคลนั้นเจริญด้วยสิริสุขสวัสดี มีอายุมั่นยืนยาว บริบูรณ์รุ่งเรืองด้วยข้าวของสมบัติ ปราศจากโรคาพยาธิ แคล้วคลาด อุปัทวันตราย แม้คราวเกิดเคราะห์ภัยทุกข์เข็ญให้เจริญสาธยายพระ คาถาบทนี้ จะสามารถสงบระงับเหตุเภทภัยต่างๆ ได้ เคราะห์ภัยที่ยังมา ไม่ถึงจะนิราศร้างห่างหายไปในที่สุด”
    พระเคราะห์ตามตำราของพราหมณ์ก็คือเทวดาทั้ง ๙ องค์ ที่มา เสวยอายุของคนเรา มีอำนาจบันดาลให้ดีหรือร้าย รับโชคหรืออับโชคตาม ปรารถนา ซึ่งแต่ละองค์เสวยอายุไม่เท่ากันดังนี้
    ๑. พระอาทิตย์เสวยอายุอยู่ ๖ ปี
    ๒. พระจันทร์เสวยอายุอยู่ ๑๕ ปี
    ๓. พระอังคารเสวยอายุอยู่ ๘ ปี
    ๔. พระพุธเสวยอายุอยู่ ๑๗ ปี
    ๕. พระพฤหัสบดีเสวยอายุอยู่ ๑๙ ปี
    ๖. พระศุกร์เสวยอายุอยู่ ๒๑ ปี
    ๗. พระเสาร์เสวยอายุอยู่ ๑๐ ปี
    ๘. พระราหูเสวยอายุอยู่ ๑๒ ปี
    ๙. พระเกตุเสวยอายุอยู่ ๙ ปี
    เพราะฉะนั้นจึงมีธรรมเนียมการสวดส่งนพเคราะห์ ส ำหรั บผู้ที่ ไม่เคย เข้าร่วมพิธีเลย ใช้คระหะสันติคาถาทั้ง ๙ บทนี้สวดแทนจะดีมาก เป็นการสวดส่งนพเคราะห์ให้กับตัวเองด้วยตัวของเราเองและประหยัดเวลาด้วย จะสวดวันละกี่จบก็ได้เพราะท่านไม่ได้กำหนดไว้ แต่อย่างน้อยต้อง หนึ่งจบและสวดทุกวัน หรือถ้าสวดได้ครั้งละ ๙ จบ หรือตามกำลังวัน ก็ยิ่งดี กำลังวันนั้นให้นับเท่าจำนวนปีที่พระเคราะห์เสวยอายุ อีกนัยหนึ่ง ถ้านับตามเกณฑ์กำลังวันทั้ง ๗ (ทินเกณฑ์) มีดังนี้

    คาถาทั้ง ๙ นี้ ตำนานว่าเทพบุตร ๙ องค์กล่าวตามลำดับ ดังนี้
    คาถาที่ ๑ พระอาทิตย์กล่าว
    คาถาที่ ๒ พระจันทร์กล่าว
    คาถาที่ ๓ พระอังคารกล่าว
    คาถาที่ ๔ พระพุธกล่าว
    คาถาที่ ๕ พระพฤหัสบดีกล่าว
    คาถาที่ ๖ พระศุกร์กล่าว
    คาถาที่ ๗ พระเสาร์กล่าว
    คาถาที่ ๘ พระราหูกล่าว
    คาถาที่ ๙ พระเกตุกล่าว
    ใจความของพระคาถาทั้ง ๙ นี้ เป็นบทนมัสการพระพุทธเจ้าและ กล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณ เป็นวรรณกรรมบทสวดบาลีของศรีลังกา สั นนิ ษฐานว่า เข้ามาสู่ล้านนาในรั ชสมั ยพระเจ้าติ โลกราช แห่งนครเชี ยงใหม่ (รัชกาลที่ ๑๑ แห่งราชวงศ์มังราย ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๘๕-๒๐๓๐)
    หมายเหตุ คระหะสันติคาถา (คาถาคระหะทั้ง ๙) หรือไชยะคุรุงนี้ ไม่ปรากฏว่ามีพบในสวดมนต์ฉบับอื่นๆ ของจังหวัดล้านนา ใน ๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบนมาก่อน คงพบเฉพาะใน สวดมนต์ฉบับใบลานของเมืองน่านเท่านั้น (ข้อมูลปัจจุบัน) โบราณาจารย์ได้ถอดอักขระต้นของแต่ละบทออกไว้เป็น หัวใจคาถาและเรียกว่า “หัวใจนวคราสทั้ง ๙” สำหรับเขียนใส่ โป่งเทียนบูชาสะเดาะเคราะห์ ดังนี้
    นะ วะ กะ ปะ นะ กะ วะ สุ สุ
    เวลาจุดเทียนสะเดาะเคราะห์ก็ให้สวดคระหะสันติคาถานี้ ด้วยทุกครั้ง จะหายจากเคราะห์นามและทุกข์โศกโรคภัย ทั้งปวง
    คระหะสันติคาถา คาถาคระหะทั้ง ๙ ไชยะคุรุง
    – ฉบับวัดน้ำล้อม อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
    – ฉบับวัดนาเหลืองใน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
    – ฉบับวัดเชตวัน อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
    คระหะสันติคาถา เป็นคาถาสำหรับสงบระงับเคราะห์
    ถอดเป็นหัวใจนวคราสทั้ง ๙ ได้๙ อักษร “นะ วะ กะ ปะ นะ กะ วะ สุ สุ”
    ๐ นะระเทวะคุรุง ภะวะปาระคะตัง
    นะระเทวะปิยัง ภะวะสันติกะรัง
    นะระเทวะปะสังสิตะพุทธะวะรัง
    นะระเทวะสุภัง ปะณะมามิ ชินังฯ
    ๐ วะระโพธิทุเม ทุมะราชะวะเร
    สุนิสินนะมะตุล๎ยะคุโณ สุคะโต
    อะติโฆระตะเร พะหุมาระพะเล
    สุชินาติ ชิโน ปะณะมามิ ชินังฯ
    ๐ กะรุณายุตะสีตะมะนัง สุคะตัง
    วะระญาณะปะภายะตะมัง วิหะตัง
    สะนะรามะระโลกะหิตัง อะสะมัง
    กะรุณานิละยัง ปะณะมามิ ชินังฯ
    ๐ ปะระทุกขะนุทัง ปะระโภคะกะรัง
    ปะระโสกะนุทัง ปะระสิทธิกะรัง
    ปะระสัตตะหิตายะ ทะเม กุสะลัง
    ปะระโลกะหิตัง ปะณะมามิ ชินังฯ
    ๐ นะระมัชฌะสุภัง มะรุมัชฌะ
    สุภัยยะติมัชฌะสุภัง กุสะเล กุสะลัง
    นะระอัตถะกะรัง มะรุอัตถะกะรัง
    ติภะวัตถะกะรัง ปะณะมามิ ชินังฯ
    ๐ กะระวีกะสะรัง วะระพ๎รัห๎มะสะรัง
    อะติวัคคุสะรัง สะวะนียะสะรัง
    วะระพุทธะวะรัง วะระธัมมะวะรัง
    นะระเทวะหิตัง ปะณะมามิ ชินังฯ
    ๐ วะระสีสะทะทัง วะระจักขุทะทัง
    วะระปุตตะทะทัง วะระทาระทะทัง
    วะระรัชชะทะทัง วะระสาระทะทัง
    วะระกามะทะทัง ปะณะมามิ ชินังฯ
    ๐ สุปะติฏฐิตะปาทะตะลัง สุคะตัง
    วะระลักขะณะรัญชิตะปาทะตะลัง
    มุทุทีฆะวะฏังคุลิตามพะนะขัน
    อะติตุงคะนะขัง ปะณะมามิ ชินังฯ
    ๐ สุวิสุทธะวะรัง สุคะตัง อะมะลัง
    อะวิสุทธะชะนัสสะ สุโธตะกะรัง
    อะติอันธะชะนานะมะนันธะกะรัง
    ปะริปุณณะปะภัง ปะณะมามิ ชินังฯ
    คระหะสันติคาถา (แปล)
    ๑. ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระชินเจ้าผู้เป็นครูของมนุษย์และเทวดา เสด็จถึงฝั่งแห่งภพ ทรงเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา กระทำความร่มเย็นแก่ภพ เป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่มนุษย์และเทวดาพากัน สรรเสริญ ทรงสง่างามในหมู่มนุษย์และเทวดาฯ
    ๒. ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระชินมาร ผู้ประทับนั่งที่ ต้นพระศรี มหาโพธิ์ อันเป็นพญาพฤกษา มีพระคุณหาผู้เสมอเหมือนมิได้ เสด็จดำเนินไปด้วยดี (หรือมีพระดำเนินที่งดงาม) ทรงชนะมารและพลมารเป็นอันมากซึ่งร้ายกาจยิ่งนักได้อย่างราบคาบฯ
    ๓. ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระสุคตชินสีห์ ผู้มีพระหฤทัยเยือกเย็น กอปรด้วยพระกรุณา ทรงกำจัดความมืด [คือโมหะ] ด้วยรัศมีแห่ง พระญาณ ทรงเกื้อกูลชาวโลกทั้งมนุษย์และเทวดา ปราศจากผู้เสมอ เหมือน มีพระกรุณาดังเรือนที่อาศัยฯ
    ๔. ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระชิ นวร ผู้ทรงบำบัดทุกข์โศก อำนวยโภค- สมบัติและความสำเร็จแก่ประชาสัตว์ ทรงฉลาดในอุบายสำหรับ สั่งสอนเพื่อเกื้อกูลประชาสัตว์ ทรงเกื้อกูล [ประชาสัตว์] ถึงโลกหน้าฯ
    ๕.ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระชินเรศ ผู้สง่างามในท่ามกลางหมู่มนุษย์ เทวดา (และ) ภิกษุสงฆ์ ทรงฉลาดในกุศลธรรม บำเพ็ญประโยชน์ แก่มวลมนุษย์ เทวดา (และ) ไตรภพฯ
    ๖. ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระชินมุนี ผู้มีพระสุรเสียงดั่งนกการะเวก และพระพรหม ไพเราะชวนฟังยิ่งนั กทรงเป็นพระพุ ทธเจ้าผู้ประเสริ ฐมีพระธรรมอันดีเลิศ ทรงเกื้อกูลหมู่มนุษย์และเทวดาฯ 62
    ๗. ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระชินบพิ ตร ผู้ทรงสละพระเศียร, พระนัยนา, พระโอรสธิดา, พระชายา [เป็นทาน] ประทานพระไอศวรรย์สมบัติ๑ ประทานพระสาระธรรม (และ) ความสำเร็จสมประสงค์อันดีเลิศฯ
    ๘. ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระสุคตชิโนภาส ผู้มีพื้นฝ่าพระบาทคู่ตั้งอยู่ ด้วยดี (คือราบเรียบ) มีพื้นฝ่าพระบาทงดงามด้วยพระวรลักษณ์ มีนิ้วพระบาทและนิ้วพระหัตถ์ นวลนุ่ม แฉล้มยาว กลมกลึง มีพระนขาชูช้อนขึ้นข้างบน โก่งงามยิ่งนักฯ
    ๙. ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระสุคตชิโนดม ผู้เลิศด้วยพระบริสุทธิคุณ ไม่มีมลทินแปดเปื้อน ทรงขัดสีชนผู้ไม่หมดจด[จากกิเลสมลทิน]ให้หมดจดดีชี้ทางสว่างแก่หมู่ชนผู้มืดมนอย่างยิ่ง มีพระรัศมีเต็ม เปี่ยม
     

แชร์หน้านี้

Loading...