ตำนานบทสวดมนต์ ตอน จุลไชยปกรณ์ (หรือชัยน้อย)บทสวดคุ้มภัยต่างๆ

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 7 กรกฎาคม 2017.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    ตำนานบทสวดมนต์ ตอน จุลไชยปกรณ์ (หรือชัยน้อย)บทสวดคุ้มภัยต่างๆ
    12096151_10206674306528997_1513397842589258455_n.jpg
    จุลชัยยะมงคลคาถา เป็นคาถาในหมวดเดียวกับพระคาถามหาชัยยะมงคลคาถา หรือ ไชยใหญ่ และพระคาถาไชยหลวง ซึ่งนิยมใช้สวดสาธยายกันในงานมงคลในแถบแว่นแคว้น 2 ฝั่งแม่น้ำโขง การแพร่หลายของพระคาถานี้ปรากฏโดยทั่วไปในแถบภาคอีสานของไทย และภาคกลางจนถึงภาคเหนือของลาว จากการสำรวจโดยหอสมุดดิจิตอลหนังสือใบลานลาว พบคัมภีร์ใบลานเกี่ยวกับบทสวดไชยน้อย ไชยใหญ่ หรือไชยหลวงจำนวนหนึ่ง ทั้งในเมืองหลวงพระบาง นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงคำม่วนทางภาคกลาง และในแขวงไชยบุรี ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งมีพื้นที่ประชิดกับภาคเหนือของไทย

    ทฤษฎีเกี่ยวกับที่มาของจุลชัยยะมงคลคาถา มีอยู่หลายทฤษฎี ข้อมูลที่แพร่หลายที่สุดในประเทศไทย คือการระบุว่า พระมหาปาสมันตเถระ พระเถระแห่งอาณาจักรกัมพูชาโบราณ ผู้อุปการะพระเจ้าฟ้างุ้ม มหาราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง และพระเถรผู้อัญเชิญพระบางและพระไตรปิฎกมายังแผ่นดินลาว คือผู้รจนาพระคาถานี้ ซึ่งหากทฤษฎีนี้เป็นความจริง พระคาถานี้น่าจะรจนาขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 ในช่วงก่อนหรือหลังจากที่พระเถระเดินทางจากกัมพูชามาประกาศพระศาสนาในอาณาจักรล้านช้างในปีพ.ศ. 1902

    ทั้งนี้ ผู้แต่งจุลไชยปกรณ์ หรือตำนานพระคาถาจุลชัยยะมงคลคาถา ตามทัศนะของ พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ แห่งวัด วัดไตรสิกขาทลามลตาราม บ้านฝาง ต.บ้านแพด อ.คำตากล้า จ.สกลนคร คือพระมหาเทพหลวง แห่งนครหลวงพระบาง โดยนำความจากคัมภีร์สมันตปาสาทิกา โดยรจนาเป็นภาษาบาลีผสมกับภาษาพื้นเมือง แต่ไม่ปรากฏว่าระบุถึงปีที่รจนาแต่อย่างใด
    อย่างไรก็ตามนักวิชาการในประเทศลาวบางรายระบุว่า จุลชัยยะมงคลคาถา เป็นผลงานของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก หรือ "ญาคูขี้หอม" โดยท่านมีช่วงชีวิตในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 22 โดยฝ่ายลาวเรียกพระคาถานี้ว่า "จุลละไชยยะสิทธิมงคลคาถา" หรือ "จุลละไซยะสิททิมุงคุนคาถา"ทั้งนี้ มีตำนานในเชิงมุขปาฐะเกี่ยวกับที่มาของพระคาถานี้ หนึ่งในนั้นพรรณนาโดยพระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ แห่งวัดไตรสิกขาทลามลตาราม บ้านฝาง ต.บ้านแพด อ.คำตากล้า จ.สกลนคร ซึ่งได้กล่าวถึงความเป็นมาของจุลลไชยยะปกรณ์ หรือบทขัด หรือตำนานของจุลชัยยะมงคลคาถา ไว้ว่า เป็นพระคาถาที่แสดงถึงชัยชนะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือนัยหนึ่งคือชัยชนะของพระพุทธศาสนาต่อสิ่งชั่วร้ายที่เคยมีอิทธิพลในแถบถิ่นลุ่มแม่น้ำโขง โดยกล่าวว่า ต้นบทจุลชัยยะมงคลคาถา ที่เรียกว่า จุลละชัยปกรณ์ ได้บอกเล่าถึงเหตุการณ์เบื้องหลังเหตุการณ์นี้ว่า เมื่อครั้งพระโสณะ และพระอุตระ รับอาราธนาพระเจ้าอโศกมหาราชและพระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ เพื่อมาเป็นสมณทูตประกาศพระศาสนาในแผ่นดินสุวรรณภูมินั้น พระเถระทั้ง 2 รูปได้ผจญกับปีศาจท้องถิ่น ในรูปของเงือก หรือผีเสื้อน้ำ ซึ่งได้ซักถามพระเถระว่า สิ่งใดฤๅที่เรียกว่า เทวธรรม พระเถระจึงวิสัชนาเป็นพระคาถาว่า หิริโอตัปปะสัมปันนาฯ เป็นอาทิ ซึ่งเป็นพระคาถาเทวธรรม ซึ่งยกมาจากเทวธรรมชาดก และปรากฏอยู่ในช่วงปกรณ์ หรือพรรณนาที่มาของจุลชัยยะมงคลคาถา ความว่า

    "สุโข พุทธานัง อุปปาโท สุขา สัทธัมมะเทสะนา สุขา สังฆัสสะ สามัคคี สามมัคคานัง ตะโป สุขา ทิวา ตะปะติ อาทิจโจรัตติง อาภาติ จันทิมา สันนัทโธ ขัตติโยตะปะติฌายี ตะปะติพราหมะโณ อะถะสัพพะมโหรัตติง พุทโธตะปะติ เตชะสา หิริโอตัปปะ สัมปันนา สุกกา ธัมมา สะมาหิตา สันโต สัปปุริสะ โลเก เทวา ธัมมาติ วุจจะเร สันติปักขา อะปัตตะนา สันติปาทา อะวัญจะนา มาตาปิตา จะ นิกขันตา ชาตะ เวธะ ปะติกกะมะ สุวัณณะภูมิง คันตะวาะ โสนุตตะรา มะหิทธิกา ปิสาเจ นิททะมิตตะวานะ พรัหมะชาลัง อาเทเสยยุง เอเตสัพเพ ยักขา ปะลายันตุฯ" [4]

    ในจุลลไชยยะปกรณ์ ยังอ้างข้อความจากคัมภีร์สมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย ที่ระบุว่า "สุวณฺณภูมิ คจฺฉนฺตฺวาน โสณุตฺตรา มหิทฺธิกา ปิสาเจ นิทฺธมิตฺวาน พฺรหฺมชาลํ อเทสิสุ" ความว่า "พระโสณะและพระอุตตระผู้มีฤทธิ์มาก ไปสู่สุวรรณภูมิ ปราบปรามพวกปีศาจแล้ว ได้แสดงพรหมชาลสูตร" ซึ่งคัมภีร์สมันตปาสาทิกาพรรณนาไว้ว่า พระโสณะและพระอุตตระ ได้แสดงอภินิหาริย์ปราบนางผีเสื้อน้ำและทรงแสดงธรรมพรหมชาลสูตร อันเป็นสูตรว่าด้วยข่ายอันประเสริฐ ประกอบด้วย ศีลน้อย ศีลกลาง และศีลใหญ่ เป็นการสั่งสอนให้เวไนยสัตว์ทั้งหลายประพฤติตนอยู่ในสรณะและศีล พระธรรมเทศนาของพระเถระเจ้า ยังให้ชาวสุวรรณภูมิประเทศได้บรรลุธรรมประมาณ 60,000 คน อีกทั้งยังมีกุลบุตรออกบวชประมาณ 3,500 คน

    แม้ว่า มุขปาฐะเกี่ยวกับตำนานของจุลชัยยะมงคลคาถา และข้อความจากคัมภีร์สมันตปาสาทิกา จะมีความแตกต่างกันในรายละเอียด (มุขปาฐะว่าพระเถระเจ้าวิสัชนาเทวธรรม ขณะสมันตปาสาทิกาว่า พระเถระแสดงพรหมชาลสูตร) แต่สิ่งที่สอดคล้องกันคือ การประกาศความยิ่งใหญ่ของพระรัตนไตรให้ชาวพื้นเมืองได้ประจักษ์ สามารถปราบมิจฉาทิษฐิทั้งหลาย ให้หันมาเชื่อถือศรัทธาในพระธรรมวินัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นสัมมาทิษฐิ

    บทสวดจุลลไชยยปกรณ์
    สุโข พุทธานัง อุปปาโท สุขา สัทธัมมะเทสะนา สุขา
    สังฆัสสะ สามัคคี สามัคคานัง ตะโป สุโข ทิวา
    ตะปะติ อาทิจโจ รัตติง อาภาติ จันทิมา สันนัทโธ
    ขัตติโย ตะปะติ ฌายี ตะปะติ พ๎ราห๎มะโณ อะถะ
    สัพพะมะโหรัตติง พุทโธ ตะปะติ เตชะสา หิริโอตตัปปะ
    สัมปันนา สุกกา ธัมมา สะมาหิตา สันโต สัปปุริสา โลเก
    เทวาธัมมาติ วุจจะเร สันติปักขา อะปัตตะนา สันติปาทา
    อะวัญจะนา มาตาปิตา จะ นิกขันตา ชาตะเวทะปะติกกะมะ
    สุวัณณะภูมิง คันต๎วานะ โสนุตตะรา มะหิทธิกา ปิสาเจ
    นิททะมิต๎วานะ พ๎รัห๎มะชาลัง อาเทเสยยุง เอเต สัพเพ ยักขา ปะลายันตุ ฯ

    อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวะนาคา มะหิทธิกา
    ปุญญัง โน อะนุโมทันตุ , จิรัง รักขันตุ “ สาสะนัง ”
    อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวะนาคา มะหิทธิกา
    ปุญญัง โน อะนุโมทันตุ , จิรัง รักขันตุ “ ปาณิโน ”
    อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวะนาคา มะหิทธิกา
    ปุญญัง โน อะนุโมทันตุ , จิรัง รักขันตุ “ โนสะทา ”
    อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวะนาคา มะหิทธิกา
    ปุญญัง โน อะนุโมทันตุ , โสตถิง คัจฉันตุ เทวะตาคะตา ฯ

    พระคาถา นะ โม เม
    นะโม เม พุทธะ เตชัสสา ระตะนะตะยะ ธัมมิกา
    เตชะ ประสิทธิ ปะสี เทวา นารา ยะปะระเมสุรา
    สิทธิ พรัหมา จะ อินทา จะ จะตุโลกา คัมภี รักขะกา
    สะมุทา ภูตุง คังคา จะ สะหรัมพะ ชัยยะ ประสิทธิ ภะวันตุ เต
    ชัยยะ ชัยยะ ธ ระณิ ธ ระณี อุทะธิ อุทะธี นะ ทิ นะ ที
    ชัยยะ ชัยยะ คะคน ละตน ละนิสัย
    นิรัย สัยเสน นะ เมรุราช ชะพล น ระชี
    ชัยยะ ชัยยะ คัมภีระโสมภี นาเคน ทะนาคี ปีศาจ จะ ภูตะ กาลี
    ชัยยะ ชัยยะ ทุนนิมิตตา โรคี
    ชัยยะ ชัยยะ สิงคีสุทาทานะมุขะชา
    ชัยยะ ชัยยะ วะรุณณะมุขะสาตรา
    ชัยยะ ชัยยะ จัมปาทินา คะกุละคัณฐก
    ชัยยะ ชัยยะ คัชชะคน นะตุรง สุกะระภุชง สีหะ พะยัคฆะ ทีปา
    ชัยยะ ชัยยะ วะรุณณะมุขายาตา ชิตะ ชิตะ เสนนารี ปุนะสุทธิ นระดี
    ชัยยะ ชัยยะ สุขา สุขา ชีวี
    ชัยยะ ชัยยะ ธระณี ตะเล สะทา สุชัยยา
    ชัยยะ ชัยยะ ธระณี สานติน สะทา
    ชัยยะ ชัยยะ มังกะราช รัญญา ภะวัคเค
    ชัยยะ ชัยยะ วะรุณณะยักเข
    ชัยยะ ชัยยะ รักขะเส สุระภุชะเตชา
    ชัยยะ ชัยยะ พรัหมเมณ ทะคะณา
    ชัยยะ ชัยยะ ราชา ธิราช สาชะชัย
    ชัยยะ ชัยยะ ปะฐะวิง สัพพัง
    ชัยยะ ชัยยะ อะระหันตา ปัจเจกะพุทธะสาวัง
    ชัยยะ ชัยยะ มะเหสุโร หะโร หะริน เทวา
    ชัยยะ ชัยยะ พรัหมา สุรักโข
    ชัยยะ ชัยยะ นาโค วิรุฬหะโก วิรูปักโข จันทิมา ระวิ
    อินโท จะ เวนะเตยโย จะ กุเวโร วะรุโณ ปิ จะ
    อัคคิ วาโย จะ ปาชุณโห กุมาโร ธะตะรัฏฏะโก
    อัฏฐาระสะ มะหาเทวา สิทธิตา ปะสะอาทะโย
    อิสิโน สาวะกา สัพพา ชัยยะ ราโม ภะวันตุ เต
    ชัยยะ ธัมโม จะ สังโฆ จะ ทะสะปาโล จะ ชัยยะ กัง
    เอเตนะ ชัยยะ เต เชนะ ชัยยะ โสตถี ภะวันตุ เต
    เอเตนะ พุทธะ เต เชนะ โหตุ เต ชัยยะ มังคะลัง

    ชัยโยปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะ
    ปาปิมะโต ปะราชะโย อุคโฆสะยัม โพธิมัณเฑ ปะโมทิตา
    ชัยยะ ตะทา พ๎รัห๎มะคะณา มะเหสิโน ฯ
    ชัยโยปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะ
    ปาปิมะโต ปะราชะโย อุคโฆสะยัม โพธิมัณเฑ ปะโมทิตา
    ชัยยะ ตะทา อินทะคะณา มะเหสิโน ฯ
    ชัยโยปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะ
    ปาปิมะโต ปะราชะโย อุคโฆสะยัม โพธิมัณเฑ ปะโมทิตา
    ชัยยะ ตะทา เทวะคะณา มะเหสิโน ฯ
    ชัยโยปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะ
    ปาปิมะโต ปะราชะโย อุคโฆสะยัม โพธิมันเฑ ปะโมทิตา
    ชัยยะ ตะทา สุปัณณะคะณา มะเหสิโน ฯ
    ชัยโยปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะ
    ปาปิมะโต ปะราชะโย อุคโฆสะยัม โพธิมัณเฑ ปะโมทิตา
    ชัยยะ ตะทา นาคะคะณา มะเหสิโน ฯ
    ชัยโยปิ พุทธัสสะ สิริมะโต อะยัง มารัสสะ จะ
    ปาปิมะโต ปะราชะโย อุคโฆสะยัม โพธิมัณเฑ ปะโมทิตา
    ชัยยะ ตะทา สะพ๎รัห๎มะคะณา มะเหสิโน ฯ

    ชะยันโต โพธิยา มูเล สักกะยานัง นันทิวัฑฒะโน
    เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
    อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
    อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ
    สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง
    สุขะโน สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พ๎รัห๎มะจาริสุ
    ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
    ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา
    ปะทักขิณานิ กัต๎วานะ ละภัณตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ

    เต อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสาสะเน
    อะโรคา สุขิตา โหถะ สะหะ สัพเพหิญาติภิ
    สุณันตุ โภนโต เย เทวา อัส๎มิง ฐาเน อะธิคะตา
    ฑีฆายุกา สะทา โหนตุ สุขิตา โหนตุ สัพพะทา
    รักขันตุ สัพพะสัตตานัง รักขันตุ ชินะสาสะนัง
    ยา กาจิ ปัตถะนา เตสัง สัพเพ ปูเรนตุ มะโนระถา
    ยุตตะกาเล ปะวัสสันตุ วัสสัง วัสสา วะราหะกา
    โรคา จุปัททะวา เตสัง นิวาเรนตุ จะ สัพพะทา
    กายาสุขัง จิตตะสุขัง อะระหันตุ ยะถาระหัง
    (อิติ จุลละ ชัยยะ ปะกะระณัง สะมันตัง นิฏฐิตังฯ)
     
  2. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,711
    บทนี้สวดได้คล่องแล้ว ^-^
    เพราะที่วัดพาสวดในทุกวันพระและวันเสาร์
    (วันพระกับวันหยุดจะชอบไปสวดมนต์ที่วัดค่ะ)
     

แชร์หน้านี้

Loading...