ตำนานบทสวดมนต์ ตอน อาทิตตปริยายสูตร บทสวดแก้ความร้อนใจร้อนกาย

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 1 สิงหาคม 2017.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    ตำนานบทสวดมนต์ ตอน อาทิตตปริยายสูตร บทสวดแก้ความร้อนใจร้อนกาย
    20431474_10213889131172110_2450263519832888124_n.jpg
    อาทิตตปริยายสูตร พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 4 ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เทศน์โปรดชฎิล 3 พี่น้อง คือ อุรุเวลากัสสปะ นทีกัสสปะ คยากัสสะและบริวารอีก 1000 ซึ่งนับถือลัทธิบูชาไฟ เพราะเชื่อว่า ไฟซึ่งมีความร้อนจะเผากิเลสในตัวให้หมดไปกลายเป็นพระอรหันต์ได้

    คำว่า “อาทิตตะ” ต. เต่า สะกดคำนี้แปลว่า “จุดไฟ หรือไฟลุก หรือไหม้ไฟ” ต่างจาก ดวงอาทิตย์ หรือ พระอาทิตย์ ซึ่งภาษาบาลีใช้คำว่า “อาทิจจะ” จ.จาน สะกด “อาทิจจะ”แปลว่า ดวงอาทิตย์หรือพระอาทิตย์ “อาทิตตะ”แปลว่า “จุดไฟหรือไฟลุก หรือไหม้ไฟ”

    “ ปริยาย” แปลว่า “ทางปฏิบัติ หรือวิธีปฏิบัติ การอภิปรายการสอน” ส่วน “สูตร” คือ “คำสอนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง”

    คำแปลโดยรวม ของ “อาทิตตปริยายสูตร” คือ “วิธีปฏิบัติเรื่องไฟลุกไหม้” เมื่อไฟลุกไหม้แล้วจะทำยังไง?

    “ไฟ” ในที่นี้ไม่ใช่ไฟหุงต้ม ไฟที่เผาผลาญบ้านเรือน ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า fire ไฟ หรือ fire ที่ว่าแม้จะมีความร้อนเป็นอันตราย มีอำนาจทำลายล้างสูงแค่ไหนก็ตาม แต่ยังเป็นอันตรายร้ายแรงน้อยกว่า ไฟ ที่พระพุทธเจ้าทรงหมายถึงใน อาทิตตปริยายสูตร
    ไฟ หรือ Fire ที่เรารู้จักนั้นไม่ได้เกิดขึ้นและเผาผลาญตลอดเวลา ไม่ได้เกิดขึ้นทุกที่ทุกเวลา เกิดเป็นบางที่ บางทีบางเวลา ต่างจากไฟที่พระพุทธเจ้าตรัสถึง ไฟ ที่พระพุทธเจ้ากล่าวถึงนี้ เกิดขึ้น เผาผลาญในทุกที่ ทุกเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ส่งผลเสียหายแก่มนุษย์มากมายมหาศาล ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ไฟ ที่ว่านี้อยู่ในตัวมนุษย์ เกิดมาพร้อมกับมนุษย์ เกิดขึ้นตลอดเวลา มากบ้าง น้อยบ้าง ให้ทุกข์ให้โทษมากบ้าง น้อยบ้าง ตามกำลังแรงของไฟที่เกิด ไฟนี้ ไม่ได้ให้ทุกข์ให้โทษเฉพาะตัวเจ้าของ แต่ลามไปถึงคนข้างเคียง คนที่เกี่ยวข้องด้วย ลามไปถึงทรัพย์สินทรัพย์ สมบัติพัสถานทั้งของเราและของคนอื่นด้วย ถ้าเรารู้จักเจ้าไฟนี้ พร้อมทั้งวิธีดับเมื่อเกิดไฟขึ้น เราจะไม่ต้องเสียหายมาก ยิ่งถ้าสามารถดับไฟนี้ให้ดับสนิท สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษได้เมื่อไหร่ ชีวิตเราจะปลอดภัย ไม่มีทุกข์ มีแต่สุขอย่างเดียว เป็นชีวิตที่มีสุขเย็น ไม่ใช่สุกไหม้ จึงให้ชื่อ พระธรรมเทศนานี้ว่า “อยู่ที่ไหนเมื่อไร ก็ไม่ร้อน” ไงล่ะ
    อาทิตตปริยายสูตร เป็นพระสูตรที่มีเนื้อหาแสดงถึงความรุ่มร้อนของจิตใจ (อินทรีย์ ๕) ด้วยอำนาจของกิเลส เปรียบได้กับความร้อนของไฟที่ลุกโพลงอยู่ ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า อาทิตตปริยายสูตร แสดงให้เห็นว่าความร้อนที่แท้จริงคือความร้อนจากภายใน แต่ทว่าความสุขหรือความทุกข์ร้อนจากกิเลสทั้งปวงล้วนนั้นก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง คือตั้งอยู่ไม่ได้ตลอดไป ไม่มีอะไรที่ควรยึดถือ น่าเบื่อหน่ายในความผันแปร พระสูตรนี้จึงเป็นพระสูตรสำคัญในพระพุทธศาสนา อานิสงส์เมื่อสวดบทนี้และพิจารณาตามจะทำให้เราคลายความร้อนในจิตใจของเราไปได้เป็นสุขในใจ ใช้สวดเมื่อเวลาที่จิตใจร้อนรนและฟุ้งซ่านเพื่อให้เกิดสติ

    บทขัดอาทิตตปริยายสูตร

    เวเนยยะทะมะโนปาเย สัพพะโส ปาระมิง คะโต
    อะโมฆะวะจะโน พุทโธ อะภิญญายานุสาสะโก
    จิณณานุรูปะโต จาปิ ธัมเมนะ วินะยัง ปะชัง
    จิณณาคคิปาริจะริยานัง สัมโพชฌาระหะโยคินัง
    ยะมาทิตตะปะริยายัง เทสะยันโต มะโนหะรัง
    เต โสตาโร วิโมเจสิ อะเสกขายะ วิมุตติยา
    ตะเถโวปะปะริกขายะ วิญญูนัง โสตุมิจฉะตัง
    ทุกขะตาลักขะโณปายัง ตัง สุตตันตัง ภะณามะ เส ฯ

    บทสวด อาทิตตปริยายสูตร

    ( นำ ) หันทะ มะยัง อาทิตตะปะริยายะสุตตะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ

    (รับ) เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา คะยายัง วิหะระติ คะยาสีเส สัทธิง ภิกขุสะหัสเสนะ ฯ ตัต๎ระ โข
    ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ฯ สัพพัง ภิกขะเว อาทิตตัง ฯ กิญจะ ภิกขะเว สัพพัง อาทิตตัง ฯ จักขุง ภิกขะเว
    อาทิตตัง รูปา อาทิตตา จักขุวิญญาณัง อาทิตตัง จักขุสัมผัสโส อาทิตโต ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะ
    ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัมปิ อาทิตตังฯ เกนะ อาทิตตังฯ
    อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ
    โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ

    โสตัง อาทิตตัง สัททา อาทิตตา โสตะวิญญาณัง อาทิตตัง โสตะสัมผัสโส อาทิตโต ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะ
    ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัมปิ อาทิตตังฯ เกนะ อาทิตตังฯ
    อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ
    โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ

    ฆานัง อาทิตตัง คันธา อาทิตตา ฆานะวิญญาณัง อาทิตตัง ฆานะสัมผัสโส อาทิตโต ยัมปิทัง
    ฆานะสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัมปิ อาทิตตังฯ
    เกนะ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา อาทิตตัง ชาติยา
    ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ

    ชิวหา อาทิตตา ระสา อาทิตตา ชิวหาวิญญาณัง อาทิตตัง ชิวหาสัมผัสโส อาทิตโต ยัมปิทัง ชิวหา
    สัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัมปิ อาทิตตังฯ เกนะ
    อาทิตตังฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ
    ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ

    กาโย อาทิตโต โผฏฐัพพา อาทิตตา กายะวิญญานัง อาทิตตัง กายะสัมผัสโส อาทิตโต ยัมปิทัง กายะ
    สัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัมปิ อาทิตตังฯ เกนะ
    อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ
    ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ

    มะโน อาทิตโต ธัมมา อาทิตตา มะโนวิญญาณัง อาทิตตัง มะโนสัมผัสโส อาทิตโต ยัมปิทัง มะโน
    สัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัมปิ อาทิตตังฯ เกนะ
    อาทิตตัง อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ
    ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ

    เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุต๎วา อะริยะสาวะโก จักขุส๎มิงปิ นิพพินทะติ รูเปสุปิ นิพพินทะติ จักขุ
    วิญญาเณปิ นิพพินทะติ จักขุสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะปัจจะยา
    อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ

    โสตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ สัทเทสุปิ นิพพินทะติ โสตะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ โสตะสัมผัสเสปิ
    นิพพินทะติ ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง
    วา ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ฯ

    ฆานัส๎มิงปิ นิพพินทะติ คันเธสุปิ นิพพินทะติ ฆานะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ ฆานะสัมผัสเสปิ
    นิพพินทะติ ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง
    วา ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ฯ

    ชิวหายะปิ นิพพินทะติ ระเสสุปิ นิพพินทะติ ชิวหาวิญญาเณปิ นิพพินทะติ ชิวหาสัมผัสเสปิ
    นิพพินทะติ ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา
    อะทุกขะมะสุขัง วา ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ฯ

    กายัส๎มิงปิ นิพพินทะติ โผฏฐัพเพสุปิ นิพพินทะติ กายะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ กายะสัมผัสเสปิ
    นิพพินทะติ ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง
    วา ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ฯ

    มะนัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ธัมเมสุปิ นิพพินทะติ มะโนวิญญาเณปิ นิพพินทะติ มะโนสัมผัสเสปิ
    นิพพินทะติ ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง
    วา ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ฯ

    นิพพินทัง วิรัชชะติ ฯ วิราคา วิมุจจะติ ฯ วิมุตตัส๎มิง วิมุตตะมีติ ญาณัง โหติ ขีณา ชาติ
    วุสิตัง พ๎รัห๎มะจะริยัง กะตัง กะระณียัง นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ ฯ อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ
    อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ

    อิมัส๎มิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัส๎มิง ภัญญะมาเน ตัสสะ ภิกขุสะหัสสัสสะ อะนุปาทายะ อาสะเวหิ จิตตานิ
    วิมุจจิงสูติ ฯ

    ความหมายของอาทิตตปริยายสูตร

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
    หน้าที่ ๑๗ - ๑๘ หัวข้อที่ ๓๑

    [ ๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะ ริมฝั่งแม่น้ำคยา พร้อมกับ ภิกษุ ๑, ๐๐๐ รูป ณ ที่นั้นแล
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงเป็น ของร้อน คืออะไร คือ จักษุ รูป

    จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นของร้อนแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา

    ที่เกิด ขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัย ก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟ
    คือ ราคะ โทสะ โมหะ ร้อนเพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
    โทมนัส และอุปายาส ฯลฯ

    ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นของร้อนแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา
    ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัย ก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร

    เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ร้อนเพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อ หน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป
    ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา
    ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัย ฯลฯ

    ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้ง
    ในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

    อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
    เพราะ คลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติ สิ้นแล้ว
    พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้วภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มี พระภาค
    ก็แหละเมื่อพระองค์ได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ภิกษุ ๑, ๐๐๐ รูปนั้น ต่างมีจิตหลุดพ้น
    จากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล ฯ

    จบ อาทิตตปริยายสูตร
     

แชร์หน้านี้

Loading...