ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ฝนที่ตกลงมาในพื้นที่จังหวัดยะลาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เมื่อช่วงสายที่ผ่านมา(1 ธ.ค.62) เกิดเหตุดินถล่มทับถนน สายทางขึ้นเขาโป๊ะโย๊ะ หมู่ 6 บ้านตลาดนิคม ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา จ.ยะลา ซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรเจ้าหน้าที่สถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ และเจ้าหน้าที่ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่บนเขา ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถสลับเวรปฏิบัติการได้ แต่ยังไม่มีผลกกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ ขอบคุณภาพข่าว : กู้ภัยบันนังสตา ยะลา #ThaiPBSศูนย์ข่าวภาคใต้

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    งานเข้าอีกแล้ว... ลุงแฉ พ่อปารีณา ฮุบที่ดิน 30 ไร่ ล้อมรั้วเอาไปดื้อ ๆ


    #ปารีณา #ปารีณารุกป่า #ข่าววันนี้


     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ป.ป.ช. เผย ตรวจสอบฟาร์มไก่ - ฟาร์มวัว ปารีณา แล้ว รอผลวันที่ 2 ธันวาคม นี้

    #ปารีณา #ปารีณารุกป่า #ข่าววันนี้


     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ไฟลุกท่วม ! ไฟไหม้โกดังเก็บน้ำมันเครื่อง ระดมรถดับเพลิง 40 คัน ฉีดน้ำดับไฟข้ามวัน เสียหายกว่า 100 ล้าน
    #ข่าววันนี้ #ไฟไหม้

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    19:00น. ชุมพร ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    "ทวี ไกรคุปต์" บอก พรุ่งนี้ จะแถลงข่าวไขข้อเท็จจริง ปมถูกกล่าวหาว่าฮุบที่ดินชาวบ้าน พร้อมทั้งขอความเป็นธรรมให้ครอบครัวด้วย #ปารีณา #พลังประชารัฐ


     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Science Update : ก๊าซเรือนกระจกสะสมตัวเข้มข้นขึ้น วันอาทิตย์ ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562, 06.00 น.
    81805A19-8419-4003-954A-40AEB619AA0B-1551-000000C1BBC73EC8.jpg
    องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) แถลงว่าระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ในชั้นบรรยากาศโลกเมื่อปี 2018 ยังคงพุ่งสูงขึ้น จนถึงขั้นทำลายสถิติที่มีการบันทึกเอาไว้อีกครั้ง โดยเมื่อปีที่แล้ว ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งทศวรรษที่ผ่านมา คือที่ 407.8 ส่วนในล้านส่วน (ppm) สูงกว่าของปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 405.5 ppm ทั้งสูงกว่าระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมในปี 1750 ถึง 147% ส่วนความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ เช่น มีเทน และไนตรัสออกไซด์ ก็เพิ่มขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยด้วยเช่นกัน โดยกว่า 60% ของมีเทนในชั้นบรรยากาศมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การเกษตรและเลี้ยงปศุสัตว์ ทำให้มีเทนในชั้นบรรยากาศยุคปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมถึง 259% ส่วนไนตรัสออกไซด์ที่บางส่วนมาจากการใช้ปุ๋ยเคมี มีความเข้มข้นเพิ่มสูงขึ้นกว่า 123% เมื่อเทียบกับของปี 1750 ข้อมูลในรายงานข้างต้นนี้ จะถูกนำเสนอโดยละเอียดอีกครั้ง ในที่ประชุม COP 25 ซึ่งผู้แทนจากเกือบ 200 ประเทศทั่วโลก จะร่วมหารือกันในประเด็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่กรุงมาดริด ของสเปน ในสัปดาห์หน้า

    https://www.naewna.com/lady/457413
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ธันวาคม 2019
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ฟิลิปปินส์เริ่มอพยพประชาชนจำนวนหลายพันคนออกนอกพื้นที่ เกิดขึ้นหลังจากพายุไต้ฝุ่นคัมมูริ(Typhoon Kammuri) ทำให้ผู้จัดงานการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ต้องยกเลิกหรือเลื่อนการแข่ง พบภายในศูนย์อพยพวันอาทิตย์(1 ธ.ค)มีประชาชนเข้าอาศัยแล้ว 3,000 คน

    คลิก>> https://mgronline.com/around/detail/9620000115112

    #MGROnline

     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Bank of Thailand Scholarship Students
    IMG_5411.PNG
    (Dec 1) มาตรการกระตุ้นการคลัง ใครได้ ใครเสีย : ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด การตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์ และการออกนโยบายนั้นเต็มไปด้วยการตัดสินใจที่มี tradeoff (สิ่งที่ต้องแลกมา) ทั้งสิ้น

    ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยได้ผ่านมาทั้งวิกฤติเศรษฐกิจโลก (global financial crisis) ในปี 2009 ภัยน้ำท่วมที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 70 ปี และความผันผวนทางการเมือง ทำให้เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะเปราะบาง หนึ่งในเครื่องมือที่รัฐบาลไทยได้หยิบมาใช้เพื่อพยุงเศรษฐกิจไม่ให้เข้าสู่ภาวะถดถอย คือ มาตรการกระตุ้นทางการคลัง โดยในช่วงที่ผ่านมามีการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างหลากหลาย เช่น ช้อปช่วยชาติ รถคันแรก บ้านหลังแรก บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ ล่าสุดโครงการบ้านมีดาวน์ ซึ่งแต่ละมาตรการล้วนแล้วแต่มีต้นทุนมาจากงบประมาณ หรือเม็ดเงินภาษีของประชาชน

    เมื่อการทำมาตรการกระตุ้นการคลังมีต้นทุน ดังนั้นในการออกแบบมาตรการฯ ควรต้องกำหนดเป้าหมายให้มีความเหมาะสม คุ้มค่าและตรงจุด ซึ่งผู้ออกนโยบายมักจะต้องเผชิญกับ tradeoff ในสองเรื่องหลัก คือ

    1) กระตุ้นการเติบโตที่มากกว่าหรือการกระจายอย่างทั่วถึง (growth versus distribution) และ 2) กระตุ้นการเติบโตในระยะสั้นหรือระยะยาว (short-term versus long-term) (รูปที่ 1) หากนโยบายเน้นกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น โดยกระตุ้นให้ได้ multiplier (ตัวคูณ) ระยะสั้นให้มากที่สุด มาตรการที่ออกแบบก็จะมุ่งเน้นไปยังกลุ่มผู้ที่มีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายสูง ซึ่งมักเป็นกลุ่มที่มีรายได้ หรือทรัพย์สินสูงอยู่แล้ว ก็จะเกิด tradeoff กับนโยบายที่มีการกระจายสวัสดิการให้ทั่วถึงกลุ่มคนทุกระดับรายได้

    นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดต้นทุนเสียโอกาส คือเงินงบประมาณที่ไม่ได้นำมาใช้เพื่อการลงทุนเพื่อพัฒนาอื่นๆ เช่น การลงทุนในทุนมนุษย์ การวิจัยและพัฒนา (R&D) หรือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ (infrastructure) ซึ่งผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการลงทุนในมาตรการข้างต้นนี้ก็คือคนไทยในอนาคต ดังนั้น การใช้งบประมาณให้คุ้มค่าโดยคำนึงถึง tradeoff ระยะยาวก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

    บทความนี้จะวิเคราะห์ผลของมาตรการกระตุ้นทางการคลังของไทยที่ผ่านมาต่อครัวเรือนใน 2 มิติ ได้แก่ 1) กลไกของมาตรการกระตุ้นการคลังผ่านมาตรการคืนภาษี (โดยในที่นี้จะหยิบมาพูดแค่สามรูปแบบ) และ 2) tradeoff ของแต่ละมาตรการ โดยก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจถึงปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคและออมของครัวเรือน

    การตัดสินใจบริโภคและออมของครัวเรือน

    ครัวเรือนมีการวางแผนการบริโภคตลอดเวลาทั้งช่วงชีวิต โดยปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ที่ครัวเรือนต้องตอบทุกวันคือการวางแผนการบริโภคและการออม (consumption and saving) ซึ่งเงินออมคือทรัพยากรที่ครัวเรือนจัดสรรไว้สำหรับการบริโภคในอนาคต เราจึงคิดถึงปัญหาการจัดสรรการบริโภคและการออมได้ง่ายๆ ว่าคือการจัดสรรทรัพยากรระหว่างการบริโภควันนี้และวันพรุ่งนี้ พฤติกรรมการบริโภคและออมของครัวเรือนขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัยหลัก ดังนี้

    1) อายุของครัวเรือน
    2) ระดับสินทรัพย์
    3) ระดับรายได้ และความคาดหวังรายได้ในอนาคต
    4) ระดับหนี้และสภาพคล่องของครัวเรือน ซึ่งรูปแบบการบริโภค การออมก็มีความแตกต่างตามช่วงอายุด้วย
    นอกจากนี้ ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ระหว่างช่วงเวลา (elasticity of intertemporal substitution) ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ ค่าความยืดหยุ่นฯ จะบอกถึงการตอบสนองของครัวเรือนต่อนโยบายกระตุ้นทางการคลัง ซึ่งพบว่าครัวเรือนไทยมีความยืดหยุ่นของอุปสงค์ระหว่างช่วงเวลาสูง นั่นคือ หากครัวเรือนมีการเปลี่ยนแปลงของรายได้หรือราคาที่มากพอ ครัวเรือนจะเลือกบริโภคในระดับที่สูงในปัจจุบันโดยยอมแลกกับการบริโภคที่มีความราบเรียบและแน่นอนในอนาคต (โดยการมีเงินออมที่มากเพื่อรองรับความไม่แน่นอนของรายได้) ดังนั้น การออกนโยบายกระตุ้นด้วยการลดหย่อนภาษีชั่วคราว ครัวเรือนไทยจะมีแนวโน้มที่จะเลื่อนหรือยืมอุปสงค์ในอนาคตมาเพื่อใช้จ่ายในปัจจุบันค่อนข้างสูง1

    มิติที่ 1 กลไกของมาตรการกระตุ้นโดยการคืนภาษีรูปแบบต่างๆ2

    ในบทความนี้จะเน้นที่มาตรการลดหย่อนภาษี 3 ประเภท คือ 1) นโยบายคืนภาษีรายได้บุคคลธรรมดา 2) นโยบายคืนภาษีอุปโภคบริโภคทั่วไป และ 3) นโยบายคืนภาษีสินค้าคงทน (เช่น รถยนต์ บ้าน)

    มาตรการคืนภาษีรายได้บุคคลธรรมดา (income tax rebate)

    กลไกหลักของมาตรการนี้ในการกระตุ้นอุปสงค์ของครัวเรือน คือ กลไกรายได้ (income effect) (รูปที่ 1) ส่งผลให้ครัวเรือนมีกำลังซื้อมากขึ้นจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น ผู้ออกนโยบายสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของนโยบายดังกล่าว ณ ช่วงที่นโยบายมีผลบังคับใช้ได้โดยนโยบายจะต้องเกิดขึ้นโดยที่ครัวเรือนไม่ได้คาดคิดมาก่อน เพราะหากครัวเรือนมีการคาดการณ์มาก่อน ครัวเรือนจะปรับแผนการบริโภคและออมเพื่อให้การบริโภคมีความราบเรียบ ตัวอย่างเช่น หากครัวเรือนคาดการณ์ว่าจะมีการคืนเงินภาษีเงินได้ในอนาคต ครัวเรือนก็อาจใช้จ่ายล่วงหน้าก่อนที่จะได้เงินคืนจริง

    มาตรการคืนภาษีสินค้าบริโภค (consumption tax rebate)

    กลไกการทำงานของการคืนเงินภาษีสินค้าบริโภคผ่านสองช่องทางหลัก คือ กลไกรายได้ และกลไกราคา (price or substitution effect) การลดหรือคืนภาษีสินค้าชั่วคราวนั้นส่งผลให้ราคาสัมพัทธ์ (relative price) ของการบริโภคในปัจจุบันต่อการออม (หรือการบริโภคในอนาคต) เปลี่ยนไป สำหรับกลไกราคาจะช่วยกระตุ้นอุปสงค์ของครัวเรือนให้มากขึ้นอีกทางโดยการดึงอุปสงค์ในอนาคตมาใช้ในปัจจุบัน เนื่องจากต้นทุนในการบริโภคที่ลดลงชั่วคราว จึงเป็นอีกแรงส่งหนึ่งที่ทำให้ครัวเรือนบริโภคมากขึ้น

    มาตรการคืนภาษีหรือให้เงินสนับสนุนสินค้าอุปโภคบริโภคมีความแตกต่างจากมาตรการคืนภาษีเงินได้ ไม่เพียงแต่ในเรื่องกลไกการทำงาน ในมิติของครัวเรือนก็มีความแตกต่างเนื่องจากครัวเรือนจะต้องมีการใช้จ่ายเพื่อบริโภคก่อนเพื่อที่จะได้รับภาษีเงินคืน จึงเป็นข้อดีของการคืนเงินภาษีประเภทนี้เพราะสามารถรับประกันได้ว่าเงินที่รัฐบาลจ่ายออกไปก่อให้เกิดการใช้จ่ายจริง อย่างไรก็ดี หากครัวเรือนมีการคาดการณ์ว่าจะเกิดนโยบายมาก่อน ก็จะมีการอั้นอุปสงค์และไม่ได้เกิดการกระตุ้นที่แท้จริง

    นโยบายการคืนภาษีหรือให้เงินสนับสนุนสินค้าคงทนที่เป็นสินทรัพย์ขาดสภาพคล่อง (tax rebate on durables)

    มาตรการคืนภาษีหรือให้เงินสนับสนุนสินค้าคงทน เช่น รถ บ้าน อุปกรณ์ไฟฟ้า ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก เนื่องจากการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าคงทนมักเป็นค่าใช้จ่ายแรกๆ ที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจขาลง เนื่องจากมีลักษณะ procyclical หรือเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกับวงจรเศรษฐกิจ

    กลไกการทำงานของการคืนเงินภาษีสินค้าคงทนจะทำงานผ่าน 3 กลไกหลัก คือ กลไกรายได้ กลไกราคา และกลไกสินทรัพย์ (wealth effect) เนื่องจากลักษณะพิเศษของสินค้าคงทนที่เป็นได้ทั้งสินค้าอุปโภคและสินทรัพย์ ซึ่งมีความแตกต่างจากการออมหรือสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องในมิติของการเสื่อมค่าและต้นทุนในการแปรสินทรัพย์มาเป็นเงิน (liquidate) ดังนั้น หากต้นทุนในการถือครองสินทรัพย์ เช่น รถยนต์หรือบ้าน ลดลง จะส่งผลให้ครัวเรือนดึงอุปสงค์ของสินทรัพย์อื่นๆ ที่ครัวเรือนถือครองด้วย

    นอกจากนี้ ปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่ ลักษณะของตัวสินค้าเองที่มีขนาดใหญ่ และแบ่งแยกทางกายภาพไม่ได้ (indivisibility) ก็ส่งผลให้มาตรการนี้มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นอุปสงค์ได้มากกว่ามาตรการอื่น เนื่องจากครัวเรือนไม่สามารถเลือกซื้อบ้านหรือรถทีละน้อยได้ จึงทำให้การเลื่อนอุปสงค์นั้นต้องเลื่อนทั้งหมด ไม่สามารถเลื่อนเพียงเล็กน้อยเหมือนสินค้าไม่คงทนได้

    มิติที่ 2 tradeoff ในแต่ละมาตรการ

    นโยบายกระตุ้นการคลังในประเทศไทยที่ผ่านมาส่วนใหญ่มักเป็นนโยบายลดหย่อนภาษี หรือการให้เงินสนับสนุนในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น นโยบายรถคันแรก ชิมช้อปใช้ และ ช้อปช่วยชาติ ขณะเดียวกันบางนโยบายก็อาจถือเป็นนโยบายแบบผสม เช่น ชิมช้อปใช้หรือช้อปช่วยชาติ (รูปที่ 3)

    มาตรการรถคันแรก

    ครัวเรือนไทยมีความยืดหยุ่นของอุปสงค์ระหว่างเวลาสูง เมื่อมีการลดราคารถยนต์ชั่วคราว ครัวเรือนจำนวนมากจะยอมลดการใช้จ่ายในอนาคตเพื่อมาซื้อรถยนต์ที่ราคาถูกลง โดยดึงอุปสงค์ของรถยนต์ในอนาคตและอุปสงค์สินค้าอื่นๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตมาใช้ ในมิติของผู้บริโภค ผู้บริโภคก็ได้รับอานิสงส์จากราคารถยนต์ที่ถูกลง โดยยอมแลกกับการบริโภคสินค้าอื่นๆ หรือการออมที่ต่ำลงในอนาคต3

    หากพิจารณาในมิติของการกระจายสวัสดิการ รถยนต์ถือเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย (luxury goods) ในประเทศไทย ทำให้ผู้ได้รับผลประโยชน์จากมาตรการนี้กระจุกอยู่ที่กลุ่มผู้มีรายได้สูง (4-5th quintiles income) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อรถยนต์อยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีต้นทุนภายนอกที่เกิดจากการใช้รถยนต์ (externality) รวมถึงมลพิษทางอากาศ และความแออัดในการใช้สินค้าสาธารณะ (public goods) ได้แก่ ถนนและโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ส่งผลให้กลุ่มที่ไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรการก็ต้องมาแบกรับต้นทุนภายนอกที่เกิดจากมาตรการนี้ด้วย

    มาตรการชิมช้อปใช้

    มาตรการชิมช้อปใช้แบ่งออกเป็น 3 เฟส โดยในเฟส 1 และ 2 เป็นการให้เงินสนับสนุนแก่ผู้ลงทะเบียนจำนวน 1,000 บาท และมีโอกาสได้รับเงินชดเชยคืน 15-20% ของเงินที่ใช้ซื้อสินค้าหรือบริการในรายการที่กำหนด ขณะที่เฟส 3 ซึ่งกำลังลงทะเบียนอยู่ขณะนี้เป็นการให้สิทธิรับเงินชดเชยคืนเพียงอย่างเดียว

    ชิมช้อปใช้เฟส 1 และ 2 เป็นมาตรการคืนภาษีแบบผสม คือ มีการให้เงินสนับสนุนเป็นก้อนรวม (lump sum) และให้เงินคืน (rebate) ภายหลังหากใช้จ่ายซื้อสินค้าหรือบริการที่ร่วมรายการ การให้เงินสนับสนุนแบบเป็นก้อนรวมเทียบได้กับการคืนภาษีรายได้โดยที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระดับรายได้ ซึ่งมีข้อดีเพราะคนในทุกระดับรายได้ได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน เงินสนับสนุนที่ให้นั้นก็ช่วยกระตุ้นการซื้อผ่านกลไกรายได้ ส่วนมาตรการที่ให้เงินคืนสำหรับสินค้าบางรายการ ก็จะเป็นการใช้กลไกราคาเข้ามาเพิ่มอุปสงค์ของสินค้าที่ร่วมรายการ โดยมีการดึงอุปสงค์จากอนาคต และอุปสงค์ในช่วงเวลาเดียวกันของสินค้าอื่นที่มีลักษณะเป็นสินค้าทดแทน (substitution goods) มา

    อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่าระบบการคัดเลือกผู้ที่ได้รับเงินสนับสนุนผ่านการลงทะเบียนออนไลน์ในเวลากลางคืน อาจยังไม่ค่อยเหมาะสมเนื่องจากกลุ่มเป้าหมายอาจไม่ใช่ผู้ที่จำเป็นต้องใช้เงินมากที่สุด แต่กลับเป็นกลุ่มคนที่เลือกตัวเองเข้ามา (self-selection) ซึ่งมักเป็นกลุ่มคนที่มีความละเอียดซับซ้อนในการใช้จ่ายมากกว่าผู้อื่น มีความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างคล่องตัวและอดทนรอลงทะเบียนถึงจะลงทะเบียนได้สำเร็จ เพราะต้องใช้ความเร็วแข่งกับผู้อื่นด้วย

    มาตรการช้อปช่วยชาติ

    มาตรการช้อปช่วยชาติ ให้สิทธิประโยชน์สำหรับผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการนำค่าใช้จ่ายในการช้อปปิ้งของสินค้าร่วมรายการ ได้แก่ ยางรถยนต์ หนังสือ และสินค้า OTOP ไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุด 15,000 บาท

    มาตรการช้อปช่วยชาติถือเป็นการคืนภาษีแบบผสม เพราะเป็นการละเว้นภาษีอุปโภคบริโภคผ่านการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อย่างไรก็ดี ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากนโยบายนี้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีฐานภาษีรายได้สูงกว่า

    นอกจากนี้ การออกนโยบายช้อปช่วยชาติในเวลาเดียวกันทุกปียังมีผลต่อการคาดการณ์ล่วงหน้าของครัวเรือนอีกด้วย ซึ่งหากครัวเรือนมีการคาดการณ์นโยบายล่วงหน้า ก็อาจมีการชะลอการใช้จ่ายในช่วงอื่นเพื่อที่จะมารอซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในช่วงที่มีนโยบายเพื่อให้ได้ต้นทุนในการบริโภคที่ต่ำลงด้วย ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการกระตุ้นลดลง หรือทำให้เกิดการใช้งบประมาณอย่างไม่คุ้มค่าเพราะไม่ได้ก่อให้เกิดการกระตุ้นอย่างแท้จริง

    นอกจากนี้ นโยบายยังอาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ข้างเคียงที่ไม่ตั้งใจ เช่น ครัวเรือนมีการใช้จ่ายเกินตัว เนื่องจากความซับซ้อนในการคำนวณผลตอบแทนจากการลดหย่อน ผู้บริโภคอาจเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองได้เงินคืนมากกว่าที่ตนเองได้จริง และนำไปสู่การใช้จ่ายเกินตัว อย่างไรก็ดี นโยบายนี้ก็มีข้อดีคือส่งเสริมให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญของใบกำกับภาษีและส่งเสริมให้ผู้ขายมีการออกใบกำกับภาษีอย่างถูกต้อง

    มองมาตรการกระตุ้นทางการคลัง: ข้อควรพิจารณาในการกำหนดนโยบาย

    1) คำนึงถึง tradeoff ระหว่างการบริโภคและการออมหรือลงทุนของครัวเรือน หากเป้าหมายคือการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นเพียงอย่างเดียว การคืนภาษีหรือให้เงินสนับสนุนการซื้อสินค้าคงทน เช่น บ้านหรือรถ เป็นมาตรการที่มีประสิทธิผลมากที่สุด รองลงมาคือการคืนภาษีสินค้าบริโภคอื่นๆ และการคืนภาษีเงินได้ อย่างไรก็ดี รถยนต์ถือเป็นสินทรัพย์ประเภทหนึ่ง เมื่อราคาสัมพัทธ์ถูกลงเทียบกับสินทรัพย์ประเภทอื่น ย่อมส่งผลให้การออมในรูปแบบสินทรัพย์อื่นลดลงด้วย

    2) คำนึงถึง tradeoff ระหว่าง growth (การเจริญเติบโต) และ distribution (การกระจาย) โดยการเน้นการกระตุ้นการเติบโตให้ได้ multiplier ระยะสั้นสูงที่สุดก็อาจต้องแลกมากับการกระจายสวัสดิการที่ทั่วถึง เช่น นโยบายรถคันแรกมีการกระตุ้นในระยะสั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะผู้ได้รับประโยชน์จากนโยบายคือกลุ่มรายได้สูงที่มีแรงซื้อ แต่สวัสดิการก็ไปกระจุกอยู่ที่กลุ่มรายได้สูงเช่นกัน หากเปรียบเทียบในเรื่องของการเข้าถึง มาตรการชิมช้อปใช้สามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่มีรายได้ในทุกระดับมากกว่า เพราะมีการให้เงินคืนแบบเป็นก้อนรวม

    3) คำนึงถึงผลลัพธ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ (unintended consequences) เช่น การกระตุ้นอุปสงค์สินค้าอย่างหนึ่งอาจทำให้เกิดการลดลงของอุปสงค์สินค้าและสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ (substitution effects) หรืออาจทำให้เกิดต้นทุนภายนอกที่ผู้ที่ไม่ได้ประโยชน์จากมาตรการต้องแบกรับ

    4) คำนึงถึงการเข้าถึงนโยบาย (accessibility) ตัวอย่างเช่น โยบายชิมช้อปใช้นั้นมีการเข้าถึงค่อนข้างทั่วถึงทุกระดับรายได้ อย่างไรก็ดีนโยบายนี้ก็ยังมีกำแพงเทคโนโลยีที่ทำให้คนบางกลุ่มเข้าถึงได้ยาก

    5) คำนึงถึง tradeoff ระยะสั้นและระยะยาวในการใช้งบประมาณ หากเปรียบเทียบกับการใช้เงินงบประมาณจำนวนเดียวกันในการลงทุนในสาธารณูปโภคหรือปรับปรุงทุนมนุษย์ เช่น ทางด้านการศึกษา ทางด้านสุขภาพ หรือการส่งเสริมการลงทุนในทรัพย์สินที่แตะต้องไม่ได้ เช่น การวิจัยและพัฒนา เป็นการลงทุนที่ไม่ได้เห็นผลทันตาออกมาในรูปของตัวเลข GDP ที่พุ่งขึ้นภายในหนึ่งไตรมาสแต่ multiplier ในระยะยาวอาจจะมากกว่าที่เราเห็นได้

    6) คำนึงถึงการกระจายสวัสดิการในมิติช่วงรายได้ มิติอายุของครัวเรือนเพิ่มเติมในการทำนโยบาย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของนโยบาย เช่น กลุ่มครัวเรือนวัยกลางคนเป็นกลุ่มที่มีอุปสงค์รถยนต์มากที่สุด ก็จะได้รับประโยชน์จากนโยบายมากที่สุด

    7) มีการเก็บข้อมูลหรือจัดทำฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อใช้สนับสนุนในการออกแบบนโยบาย และประเมินประสิทธิภาพหรือความคุ้มค่าของนโยบายที่ทำ เนื่องจากมาตรการกระตุ้นการคลังแต่ละมาตรการใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่ข้อมูลหรือ insight ที่ได้จากนโยบายเหล่านี้ยังคงมีจำกัด ตัวอย่าง เช่น นโยบายชิมช้อปใช้ โดยรูปแบบของนโยบายทำให้คนที่เข้าร่วมจำกัดอยู่ที่คนที่มาลงทะเบียนเองเท่านั้น ซึ่งข้อดีคือมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการใช้จ่าย แต่หากต้องการปรับปรุงการเข้าถึงให้ทั่วถึงมากขึ้น อาจพิจารณากลไกการให้เงินอื่นๆ เช่น การให้เงินแบบสุ่ม ซึ่งจะเกิดการกระจายเม็ดเงินได้ทั่วถึงมากกว่า

    อีกตัวอย่างหนึ่งในการให้เงินคืนที่ทั่วถึงคือการให้ภาษีเงินได้คืนของรัฐบาลสหรัฐที่มีระบบการให้คืนแบบ built in ไปกับการให้ภาษีคืนทั่วไป ทำให้ลดขั้นตอนและต้นทุนของผู้ได้รับเงินคืน

    นอกจากนี้ หากมีการวางแผนการเก็บข้อมูลหรือแบบสำรวจที่เป็นระบบ ทั้งก่อนและหลังนโยบายควบคู่กันไป ก็จะช่วยให้ภาครัฐมีข้อมูลที่จะสามารถนำมาใช้ในการประกอบการตัดสินใจในการออกแบบนโยบายในอนาคตได้ดีขึ้น

    หมายเหตุ :

    1. หากครัวเรือนมี EIS ต่ำ ครัวเรือนจะอยากมีการบริโภคที่ราบเรียบมากกว่าการบริโภคเยอะๆ ณ ช่วงเวลาหนึ่งๆ และจะไม่ได้มีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนทางรายได้หรือราคามากนัก แต่มักนำเงินเหล่านั้นไปใช้หนี้หรือออมมากกว่าเพื่อปรับปรุง balance sheet ของครัวเรือนให้มีการบริโภคที่สูงขึ้นอย่างราบเรียบในอนาคต
    2. บทความนี้จะกล่าวถึงเพียงมาตรการคืนภาษี อย่างไรก็ดี เราสามารถพูดถึงการให้เงินสนับสนุน (subsidy) ในบริบทเดียวกัน โดยเปรียบการให้เงินสนับสนุนได้กับ negative tax

    3. ในมุมของฝั่งอุปทาน หากมองจากการกระจายรายได้ไปสู่ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ก็จะเห็นได้ว่ารายได้นั้นไปกระจุกอยู่ที่อุตสาหกรรมยานยนต์ และยังเป็นการดึงอุปสงค์รายสินค้าอื่นๆ หรือสินทรัพย์การลงทุนประเภทอื่นๆ มาที่อุตสาหกรรมรถยนต์อีกด้วย อย่างไรก็ดี สินค้าประเภทที่เป็น complementary กับรถยนต์ก็จะได้รับอานิสงส์จากอุปสงค์รถยนต์และการใช้รถยนต์ที่เพิ่มมากขึ้นอีก

    ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

    โดย ธนิสา ทวิชศรี TanisaT@bot.or.th สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

    Source: ThaiPublica
    https://thaipublica.org/2019/11/pie...eM2KIqgpOiiSGyPSLGMP0txq9804HejBswc8CJEKXana4
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Bank of Thailand Scholarship Students

    IMG_5412.JPG
    (Dec 1) ข้อกีดกันการค้าสหรัฐชนวนสร้างปมขัดแย้งทั่วโลก : กรณีพิพาทการค้าที่เกิดขึ้นทั่วโลกทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากประเทศใดประเทศหนึ่งใช้มาตรการกีดกันการค้ากับประเทศคู่กรณี จนนำไปสู่ปัญหาขัดแย้งที่หาจุดร่วมกันไม่ได้ เช่นกรณีสหรัฐและจีน ที่ขัดแย้งกันยืดเยื้อยาวนานข้ามปี และยังไม่มีทีท่าว่าจะตกลงกันได้


    ล่าสุด ยูเลอร์ เออร์เมส ได้เผยแพร่รายงานที่บ่งชี้ว่า นับตั้งแต่ปี 2551 บรรดาประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าใช้มาตรการกีดกันการค้ากันมากขึ้นและในจำนวนนี้ สหรัฐ เป็นประเทศที่ใช้มาตรการกีดกันการค้ามากที่สุดจำนวน 790 มาตรการ อันดับ 2 คืออินเดีย 566 มาตรการ อันดับ 3 รัสเซีย จำนวน 423 มาตรการ อันดับ 4 เยอรมนี จำนวน 390 มาตรการ


    อันดับ 5 สหราชอาณาจักร จำนวน 357 มาตรการ อันดับ 6 บราซิลจำนวน 302 มาตรการ อันดับ 7 ฝรั่งเศส จำนวน262 มาตรการ อันดับ 8 จีน จำนวน 256 มาตรการ อันดับ 9 เม็กซิโกจำนวน 103 มาตรการ และอันดับ10 ซาอุดิอาระเบีย จำนวน 44 มาตรการ


    ไม่น่าแปลกใจที่สหรัฐมีคู่กรณีหลายประเทศด้วยกัน เพราะความที่สหรัฐมีมาตรการกีดกันการค้าแบบถี่ยิบแบบนี้นี่เอง โดยเฉพาะคู่กรณีที่เป็นยักษ์ใหญ่มีศักยภาพสูสีกันอย่างจีน ที่ช่วงนี้สร้างความปั่นป่วนแก่บรรดานักลงทุนในตลาดหุ้น และตลาดทุนวุ่นวายไปหมด กับข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏตามหน้าสื่อทำให้เกิดความสับสนว่าจริงๆแล้วการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีน เพื่อที่จะนำไปสู่การปิดฉากสงครามการค้าระหว่างกัน มีความคืบหน้าหรือไม่คืบหน้า ยังติดขัดอุปสรรคข้อใดบ้าง และต้องใช้เวลาอีกมากน้อยแค่ไหน รวมทั้งสหรัฐและจีนจึงจะลงนามข้อตกลงการค้าเฟสแรกร่วมกันได้ภายในปีนี้หรือไม่


    กระแสข่าวที่ชวนให้สับสนงงงวยนี้เอง ทำให้เมื่อวันที่ 22พ.ย. ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ออกมาสร้างความชัดเจนด้วยการบอกว่า จีน ต้องการบรรลุข้อตกลงการค้าเฟสแรกกับสหรัฐ และพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดสงครามการค้าระหว่างกัน แต่ขณะเดียวกัน จีนก็ไม่กลัวถ้าจะต้ัองดำเนินมาตรการตอบโต้สหรัฐเมื่อจำเป็น

    “เราต้องการทำงานเพื่อให้เกิดการบรรลุข้อตกลงการค้าเฟสแรกร่วมกันบนพื้นฐานของความเท่าเทียมและเคารพซึ่งกันและกัน แต่หากสถานการณ์พลิกผัน เราก็พร้อมดำเนินมาตรการตอบโต้ ที่ผ่านมา เราทำงานอย่างหนักเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดสงครามการค้า ซึ่งส่งผลกระทบไม่เฉพาะกับจีนและสหรัฐ แต่ส่งผลกระทบไปยังเศรษฐกิจโดยรวมด้วย ”ประธานาธิบดีสี กล่าว


    คำพูดของสี สอดคล้องกับคำพูดของเกา เฟิง โฆษกกระทรวงพาณิชย์จีน ที่แถลงว่า จีนมีความยินดี บนพื้นฐานความเท่าเทียมและเคารพซึ่งกันและกันกับสหรัฐ ทำงานร่วมกันแก้ปัญหาที่ยังกังวล และต้องการทำข้อตกลงการค้าเฟสแรก ทั้งยังบอกว่าข่าวลือภายนอกเรื่องข้อตกลงการค้าล้วนไม่จริง และว่าตัวแทนทั้งสองฝ่ายยังคงติดต่อสื่อสารกันอย่างใกล้ชิด


    ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนให้ความเห็นว่า นัดหมายถัดไปที่ต้องจับตาคือ วันที่ 15 ธ.ค. นี้ ซึ่งมาตรการเก็บภาษีศุลกากรสินค้าจีนมูลค่าราว 156,000 ล้านดอลลาร์จะมีผลบังคับใช้

    “คริสเตียน วิตตัน” นักวิชาการอาวุโสด้านยุทศาสตร์และการค้าของศูนย์เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติ และอดีตที่ปรึกษาของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ รวมถึงคณะบริหารของอดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช มองว่า ถ้าการเจรจาราบรื่น สหรัฐจะระงับการขึ้นภาษีดังกล่าว แต่ถ้าสถานการณ์ไม่ได้เป็นเช่นนั้น เหตุการณ์จะเป็นไปในทางตรงกันข้ามและทำให้ข้อตกลงการค้าเฟสแรกลากยาวไปถึงปีหน้า


    และการที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ของสหรัฐ ลงนามบังคับใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยฮ่องกง หลังจากสภาคองเกรสลงมติผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จะทำให้การเจรจาการค้ากับจีนมีปัญหาตามที่หลายฝ่ายวิตกกังวลหรือไม่ “ไมเคิล เฮอร์สัน” จากยูเรเชีย กรุ๊ป ให้ความเห็นว่า การลงนามรับรองกฏหมายสนับสนุนประชาธิปไตยในฮ่องกงของทรัมป์จะไม่ทำให้การเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐล่มแน่นอน


    “แน่นอนว่า รัฐบาลปักกิ่งไม่พอใจที่สหรัฐเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของจีนและแสดงท่าทีชัดเจนว่าสนับสนุนกลุ่มผู้ประท้วง แต่รัฐบาลปักกิ่งจะไม่ยอมให้เรื่องนี้มามีอิทธิพลเหนือเรื่องเศรษฐกิจหรือการค้าที่เป็นผลประโยชน์มหาศาลของประเทศแน่นอน ”ผู้เชี่ยวชาญจากยูเรเชีย กล่าว


    ขณะที่นักวิเคราะห์คนอื่นๆ มองว่า ตอนนี้เดิมพันการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐสูงขึ้นมาก นับตั้งแต่ทั้ง2ฝ่ายพยายามหารือร่วมกันมาเพื่อผ่าทางตันเรื่องนี้ และต่างก็บอบช้ำเพราะการตอบโต้กันไปมาด้วยมาตรการภาษี ที่สำคัญ จีนอาจจะถูกเรียกเก็บภาษีรอบใหม่วันที่ 15 ธ.ค.นี้ หากว่าไม่สามารถบรรลุข้อตกลงการค้าร่วมกับสหรัฐได้ นั่นเท่ากับว่า จีนซึ่งปัจจุบัน เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราต่ำสุดในรอบหลายสิบปี ต้องแบกภาระทางเศรษฐกิจเพิ่ม


    ส่วนสหรัฐ ซึ่งต้องการหลีกเลี่ยงการก่อต้นทุนทางเศรษฐกิจสูงขึ้นและไม่ต้องการให้ผู้บริโภคอเมริกันได้รับผลกระทบในช่วงใกล้เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปีหน้า ก็เสียผลประโยชน์ไม่น้อยไปกว่ากัน


    “การเก็บภาษีรอบใหม่ในเดือนธ.ค.จะเน้นไปที่สินค้าอุปโภค-บริโภคซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อครัวเรือนอเมริกัน และส่งผลกระทบมากกว่าทุกรอบ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้รัฐบาลสหรัฐภายใต้การบริหารของทรัมป์ ลังเลใจที่จะเดินหน้าเก็บภาษีสินค้าจากจีนล็อตวันที่ 15 ธ.ค. เนื่องจากสถานการณ์นี้ดำเนินมาถึงจุดที่การเก็บภาษีส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจสหรัฐแล้ว”จูเลียน อีแวนส์-พริทชาร์ด นักเศรษฐศษสตร์อาวุโสด้านจีนจากแคปิตัล อีโคโนมิกส์ ให้ความเห็น


    Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


    https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/856619
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Bank of Thailand Scholarship Students

    6A8E0791-4B2A-4DC8-A85A-0590BD22F2C1.jpeg
    (Dec 1) รบ.มาเลเซียเตรียมหารือกรณีค่าเงินริงกิตอ่อนค่า 3 สัปดาห์ติดต่อกัน: นายกรัฐมนตรี ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด ของมาเลเซีย เตรียมเรียกประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อหารือเกี่ยวกับการลดค่าเงินริงกิต ที่กำลังทำให้การนำเข้าแพงขึ้น และค่าครองชีพในประเทศสูง


    สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 30 พ.ย. ว่า ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวเมื่อวันเสาร์ ว่า ค่าเงินสกุลริงกิตมาเลเซียอ่อนลง 3 สัปดาห์ติดต่อกัน ก่อนหน้านี้ อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 3.80 ริงกิตต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ แค่ล่าสุดอยู่ที่ 4.20 ริงกิต ทำให้สินค้าสิ่งของทุกอย่างที่ชาวมาเลเซียซื้อ มีราคาแพงขึ้น


    ผู้นำวัย 94 ปีของมาเลเซีย กล่าวอีกว่า นี่คือหนึ่งในปัญหาที่รัฐบาลกำลังถูกโจมตีมากที่สุด และเขาเตรียมเรียกประชุมหารือคณะรัฐมนตรี เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไข


    ดร.มหาเธร์ กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า เขากำลังพิจารณาปรับ ครม. หลังจากพรรคร่วมรัฐบาลพ่ายแพ้การเลือกตั้งซ่อมให้ฝ่ายค้านอย่างขาดลอย ผลพวงจากความไม่พอใจของประชาชน ที่มีต่อหลายปัญหา รวมถึงเศรษฐกิจประเทศตกต่ำ และค่าครองชีพสูงขึ้น


    มาเลเซีย ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่สุดอันดับ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซียและไทย เศรษฐกิจเติบโตอ่อนแอสุดในรอบปี ในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ จากปัจจัยการส่งออกและธุรกิจเหมืองแร่ตกต่ำอย่างมาก


    Source: เดลินิวส์ออนไลน์

    : https://www.dailynews.co.th/foreign/744543


    https://in.reuters.com/article/malaysia-ringgit-idINKBN1Y40BJ


    - ริงกิตอ่อน’ ปัจจัยเขย่ารัฐบาล ‘มหาธีร์’: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/856660
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    BRN ไม่ได้ขึ้นเวทียูเอ็น แต่เป็น "บุหงารายา" พูดถึงวิกฤติภาษามลายู
    เขียนวันที่
    วันอาทิตย์ ที่ 01 ธันวาคม 2562 เวลา 11:21 น.
    เขียนโดย ศูนย์ข่าวภาคใต้

    ช่วงนี้มีข่าวพร้อมคลิปที่แชร์กันอย่างกว้างขวางในโลกออนไลน์ อ้างว่าฝ่ายการศึกษาของบีอาร์เอ็น ขบวนการที่อ้างอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ได้มีโอกาสขึ้นกล่าวในเวทียูเอ็น ทำให้เกิดกระแสวิจารณ์กันอย่างมากว่าเกิดเรื่องอย่างนี้ขึ้นได้อย่างไร

    un.jpg

    คลิปที่ถูกแชร์ เป็นภาพจากการประชุมที่อ้างว่าเป็นการประชุมของสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น และยังอ้างด้วยว่า ผู้ที่พูดอยู่ในคลิป คือ นายฮาซัน ยามาดีบุ เป็นฝ่ายการศึกษาของกลุ่มบีอาร์เอ็น โดยข้อมูลและคลิปที่แชร์กันระบุว่า นายฮาซันได้รับเชิญขึ้นกล่าวในเวทียูเอ็น จากนั้นก็มีกระแสวิจารณ์ว่ารัฐบาลไทยปล่อยให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร หรือนี่คือความพ่ายแพ้ของไทยในแวทีต่างประเทศต่อกลุ่มขบวนการที่ต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดน

    จากการตรวจสอบของ "ทีมข่าวอิศรา" พบว่า ข้อมูลที่แชร์กันนั้นไม่เป็นความจริง โดย นายฮาซัน ยามาดีบุ ไม่ใช่ฝ่ายการศึกษาของบีอาร์เอ็น แต่เป็นประธานกลุ่มบุหงารายา องค์กรภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนเรื่องภาษาและวัฒนธรรมมลายูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

    ส่วนการประชุมที่ปรากฏในคลิป เจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายความมั่นคงให้ข้อมูลว่า เป็นการประชุมในวาระ Session of the Forum on Minority Issues ของ OHCHR หรือ สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ จัดขึ้นที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่าง 28-29 พ.ย.62 โดยในปีนี้เป็นหัวข้อ "Education, Language and the Human Rights of Minorities"

    การประชุมนี้เป็นการประชุมแบบเปิด โดยให้ผู้ที่สนใจเข้าประชุมสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมได้ และผู้ที่ประสงค์จะเป็น speaker หรือพูดแสดงความคิดเห็นในการประชุม ก็สามารถลงทะเบียนเพื่อร่วมพูดได้ด้วย

    "ทีมข่าวอิศรา" ยังได้ติดต่อกับนายฮาซัน ประธานกลุ่มบุหงารายา ซึ่งเมื่อวันที่ 30 พ.ย.ยังอยู่ที่เจนีวา โดยนายฮาซัน บอกว่า ได้นำประเด็นวิกฤติภาษามลายูขึ้นพูดในเวทียูเอ็น ซึ่งเป็นเวทีว่าด้วยเรื่องชนกลุ่มน้อย และเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้พูดถึงนโยบายสาธารณะของแต่ละประเทศเกี่ยวกับด้านการศึกษาและการสอนภาษาของชนกลุ่มน้อย โดยวันที่พูดและปรากฏในคลิป คือวันที่ 28 พ.ย.

    สำหรับเนื้อหาที่พูด ก็ได้บอกว่าตนเองมาจาก "ปาตานี" ซึ่งอยู่ในสามจังหวัดชายแดนใต้ของไทย เป็นชุมชนมลายูมุสลิมขนาดใหญ่ที่มีอัตลักษณ์และภาษามลายูยาวีเป็นของตัวเอง ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่พัฒนาน้อยที่สุดของประเทศ แต่ชุมชนมีการสร้างระบบการเรียนเพื่อสอนภาษาและวัฒนธรรมแก่เด็กและเยาวชน แต่การสอนภาษามลายูไม่ได้มีหลักสูตรการสอนในโรงเรียนของรัฐ

    นายฮาซัน ยังบอกอีกว่า สิ่งที่ได้พูดบนเวทีคือย้ำว่าภาษามลายูยาวีกำลังอยู่ในขั้นวิกฤติ เพราะนโยบายการผสมกลืนกลายของรัฐไทย เช่น ในอดีตเคยมีการบังคับเปลี่ยนชื่อให้เป็นภาษาไทย รวมทั้งไม่มีนโยบายส่งเสริมหรือรักษาภาษามลายู แต่กลับส่งเสริมวัฒนธรรมไทยในโรงเรียนตาดีกา ทั้งยังแทรกแซงหลักสูตรการเรียนการสอน และยังพยายามทำให้ใช้ตัวอักษรไทยในการสะกดคำภาษามลายูด้วย

    นอกจากนั้นในปัจจุบัน สถานศึกษาเหล่านี้ (ปอเนาะ ตาดีกา) กลับอยู่ในสถานการณ์เลวร้ายมากยิ่งขึ้น เพราะถูกกล่าวหาจากเจ้าหน้าที่ว่าเป็นสถานที่บ่มเพาะและสอนเรื่องการใช้ความรุนแรง จึงเป็นเหตุให้ครูตาดีกาหลายคนถูกจับ และทหารก็ถูกส่งไปยังโรงเรียน ทำให้โรงเรียนเหล่านี้กลายเป็นเป้าหมายของการถูกโจมตี

    เขาสรุปว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้ยากที่จะพัฒนาภาษาและอัตลักษณ์มลายู จึงมีข้อเสนอต่อรัฐบาลไทยคือ

    1. จะต้องยุติการใช้นโยบายผสมกลืนกลาย 2. โรงเรียนต้องไม่ใช่สถานที่ปฏิบัติการทางทหาร 3. โรงเรียนตาดีกาและปอเนาะจะต้องมีโอกาสได้ออกแบบหลักสูตรในเรื่องภาษามลายูอย่างเป็นอิสระ

    จากคำสัมภาษณ์ของนายฮาซัน ก็เคลียร์กันชัดๆ ว่าไม่มีตัวแทนบีอาร์เอ็นไปขึ้นพูดในเวทียูเอ็นตามที่มีกระแสข่าวลือ แต่สิ่งที่องค์กรภาคประชาสังคมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้นำไปพูดบนเวที โดยเฉพาะนโยบายผสมกลืนกลาย และการไม่ส่งเสริมหรืออนุรักษ์ภาษามลายูยาวี ก็เป็นประเด็นที่รัฐบาล โดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศต้องออกมาสร้างความกระจ่างต่อไป


    https://www.isranews.org/south-news...jT-yyN15gLVMbfM6v6KDl4LlwU-jJSGedAEkqfNXgTFls
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เกษตรปราศจากสารเคมี...ผลกระทบที่ควรรู้!
    เขียนวันที่ วันเสาร์ ที่ 30 พฤศจิกายน 2562 เวลา 14:56 น. เขียนโดย รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์

    "...งานศึกษาวิจัยพบว่า การทำเกษตรอินทรีย์จะทำให้ต้นทุนต่อผู้ผลิตหรือเกษตรกรเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 23-27 ซึ่งหากจะทำให้เกิดกำไร ก็คงต้องเลือกว่า ราคาผลผลิตต้องตั้งไว้ในระดับสูงเพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคแบกรับภาระไป หรือรัฐจะต้องหามาตรการช่วยเหลือภาระนี้แก่เกษตรกรและผู้บริโภค..."

    b5426.jpg

    จะบอกให้ว่า วารสารวิชาการในเครือระดับโลกอย่าง Nature และวารสารวิชาการระดับชั้นนำอื่นๆ ได้มีการตีพิมพ์งานวิจัยมากมาย่เกี่ยวกับเกษตรปราศจากสารเคมี หรือเกษตรอินทรีย์ โดยมีทั้งด้านบวกและลบ

    อย่างไรก็ตาม สังคมเรากำลังถูกปั่นหัวด้วยข้อมูลลวง ไม่รอบด้าน รวมถึงการบิดเบือน จนทำให้คนในสังคมเริ่มแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย เชื่องมงายกับอวิชชา ดังที่เราได้เห็นในเรื่องสารเคมีการเกษตร รวมถึงเรื่องอื่นเช่น สรรพคุณรักษาโรคเว่อร์วังของยาเสพติดบางชนิด

    คนที่ดีต้องสู้กันด้วยความจริงและวิชาการที่พิสูจน์ได้

    ไม่ตีข่าวหากระแสสังคมมากดดันตามแนวถนัด ปั่นด้วยกิเลส ความกลัว และความโกรธ ป้ายสีคนที่เห็นต่างว่าเป็นคนเลว คอรัปชั่น เป็นพวกนายทุน โดยปราศจากหลักฐานที่พิสูจน์ได้

    ความรู้ต่างๆ รวมถึงวิชาการด้านการเกษตรมีความก้าวหน้าไปมาก มีข้อมูลที่ชัดเจน

    มาลองดูเรื่องปริมาณผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์กันว่า เค้าเคยทำการศึกษาทั่วโลกแล้วสรุปว่าเป็นอย่างไร

    ผลดีของการทำเกษตรปราศจากสารเคมีนั้นคือ การช่วยลดความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารเคมีทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ตลอดไปจนถึงเรื่องอื่นๆ เช่น การธำรงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศ และคุณภาพของดินในบริเวณที่ทำเกษตร

    อย่างไรก็ตาม หากโฆษณาแต่ข้อดี แต่ปิดบังข้อเสีย ไม่กล่าวถึงผลกระทบทางลบ ก็ไม่ใช่วิสัยที่ควรทำสำหรับคนที่ดีจริง

    งานวิจัยทบทวนองค์ความรู้เรื่องนี้ ตีพิมพ์ใน Nature Plants เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2016 พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วผลผลิตจากการทำเกษตรอินทรีย์จะน้อยกว่าการทำเกษตรตามระบบปกติราวร้อยละ 8-25

    แปลง่ายๆ คือ บางชนิดจะลดลงราวหนึ่งในสิบ บางชนิดอาจลดลงถึงหนึ่งในสี่ของผลผลิตเดิม

    นอกจากนี้จากสถิติการผลิตที่ดีที่สุดเท่าที่พบ ผลผลิตอย่างข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลืองนั้น ปริมาณผลผลิตที่ได้มากที่สุดจากเกษตรอินทรีย์ก็จะลดลงกว่าแบบปกติราวร้อยละ 6-11 ในขณะที่พวกผลไม้ และข้าวสาลีจะลดลงถึงร้อยละ 28 และร้อยละ 27 ตามลำดับ ส่วนพวกพืชผักจะมีปริมาณผลผลิตลดลงกว่าเดิมร้อยละ 33

    ยิ่งไปกว่านั้น เราคงเคยได้ยินการปั่นข่าวว่า ทำเกษตรอินทรีย์ ปราศจากสารเคมีแล้วจะกำไรดี เป็นที่ต้องการของทั่วโลก ทำเอาตาลุกวาวกัน จนหารู้ไม่ว่า โลกแห่งความเป็นจริงไม่ได้เป็นดังโลกในนิยาย

    งานศึกษาวิจัยพบว่า การทำเกษตรอินทรีย์จะทำให้ต้นทุนต่อผู้ผลิตหรือเกษตรกรเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 23-27 ซึ่งหากจะทำให้เกิดกำไร ก็คงต้องเลือกว่า ราคาผลผลิตต้องตั้งไว้ในระดับสูงเพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคแบกรับภาระไป หรือรัฐจะต้องหามาตรการช่วยเหลือภาระนี้แก่เกษตรกรและผู้บริโภค

    แปลง่ายๆ ว่า หากบ้าจี้ไร้สารเคมีกันทั้งแผ่นดิน นั่นคือราคาค่างวดของของกินและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องก็ต้องขึ้นไปราวอีกร้อยละ 30 เพื่อให้ผู้ผลิตอย่างเกษตรกรอยู่ได้ดีมีกำไร แต่ใครจะรับภาระเรื่องนี้ก็ว่ากันมา

    ถ้าไม่ขึ้นราคาดังที่กล่าวมา ก็แน่นอนว่า เกษตรกรจะขาดทุนแน่นอนหากขายในราคาที่อิงตามระบบการผลิตแบบเดิม

    เราจึงไม่แปลกใจ หากกระแสจี้ให้แบนสารเคมีจึงถูกทักท้วง ถามถึงเหตุผล ถามถึงทางเลือก ถามถึงความพร้อมของทุกฝ่าย และถามถึงข้อมูลประเมินผลกระทบที่รอบด้าน

    ไม่ใช่แค่อ้างเรื่องสุขภาพที่เป็นผลกระทบจากการใช้สารเคมีอย่างไม่เหมาะสม ใช้สารเคมีแบบโลภมาก ใช้สารเคมีโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนมาตรฐาน ขาดการตรวจสอบกำกับที่ดี

    จะแก้ปัญหา ต้องแก้ให้ถูกที่คัน

    ไม่ใช่เจอปัญหา ก็หลีกไปสู่ปัญหาใหม่ที่อาจร้ายกว่าเดิม

    เห็นอนาคตอันโหดร้ายไหม หากบ้าจี้ตามที่มายุให้แบนสารเคมีให้หมดจากแผ่นดินโดยไม่พิจารณาให้รอบด้าน ไม่มีทางเลือกที่ดีและมีประสิทธิภาพเพียงพอ ไม่สนใจว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นเกิดกับทั้งเกษตรกรและทุกคนในฐานะผู้บริโภคด้วย

    Adequate and Safe ต้องพิจารณาควบคู่กันไป และต้องดูด้วยว่าจะเพ้อเจ้อเอาใสสะอาดบริสุทธิ์น่ะมันทำได้จริงไหม หรือทำแล้วคนได้ประโยชน์มีเพียงหยิบมือ แต่คนลำบากกันค่อนแผ่นดิน ขืนทำแบบที่เพ้อเจ้อก็จะยิ่งขยายความเหลื่อมล้ำของสังคมไปเป็นเท่าทวีคูณ และยากที่จะหาทางควบคุมป้องกันและแก้ไข

    ขอสนับสนุนคนที่คิดดี ทำดี และไม่มีประโยชน์แอบแฝง

    ชีวิตควรตั้งอยู่บนความสมดุล รู้จักคิด รู้จักใช้ และไม่หลงตามกิเลส ความกลัว ความโกรธ ความเชื่องมงาย

    ในภาวะสังคมปัจจุบัน เราต้องระวังให้ดี

    ด้วยรักต่อทุกคน

    อ้างอิง : Reganold JP et al. Organic agriculture in the twenty-first century. Nature Plants. 3 February 2016. DOI: 10.1038/NPLANTS.2015.221

    รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
    คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    หมายเหตุ : ภาพปรพกอบจาก http://www.xn--l3cffac4c7cucdwj2uja.com

    https://www.isranews.org/isranews-a...HBPIABgkE8ztk6RD3ym-FS7rVoZe-5uzE7o_RoGtdN5eI
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขฯฝากถึง BRN "มาคุยกันเถอะครับ"
    เขียนวันที่ วันเสาร์ ที่ 30 พฤศจิกายน 2562 เวลา 15:58 น. เขียนโดย ศูนย์ข่าวภาคใต้

    แม้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ทำหน้าที่หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่้อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้มาระยะหนึ่งแล้ว (อ่านประกอบ : รู้จัก "หัวหน้าพูดคุยดับไฟใต้ป้ายแดง" พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ)

    peacetalkpanel1.jpg

    แต่ พล.อ.วัลลภ ยังแทบไม่เคยสื่อสารกับสาธารณะถึงแนวทางการทำงานเลย มีเพียง "คณะทำงาน" ที่ขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยมาตั้งแต่ยุค พล.อ.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะพุดคุยฯ เท่านั้น ที่ยังทำงานทางลับอย่างต่อเนื่อง

    เมื่อวันศุกร์ที่ 29 พ.ย.62 ถือเป็นฤกษ์งามยามดี พล.อ.วัลลภ นำทีมพูดคุยฯบางส่วน เปิดตัวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย หรือ FCCT โดยคณะพูดคุยฯที่ขึ้นเวที นอกเหนือจาก พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะฯแล้ว ยังมี นายฉัตรชัย บางชวด รองเลขาธิการ สมช. นายธนากร บัวรัษฎ์ รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และ พล.ต.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 ทั้งหมดได้ร่วมกันแถลงข่าวแนะนำตัวอย่างเป็นทางการ และแลกเปลี่ยนความเห็นกับประชาคมต่างประเทศและสื่อมวลชน ในหัวข้อ "สนทนากับคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ : ความท้าทายและความคาดหวังต่อสันติภาพชายแดนใต้"

    พล.อ.วัลลภ กล่าวตอนหนึ่งว่า ขอยืนยันเจตนารมณ์ของรัฐบาลไทยว่ามีความมุ่งมั่นและจริงจังต่อการขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะเป็น "วาระแห่งชาติ" และเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธีตาม "ยุทธศาสตร์ชาติ" พ.ศ.2561-2580 และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ.2562-2565 (เพิ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ.2562-2565) สาระสำคัญคือให้รัฐต้องส่งเสริมความต่อเนื่องของกระบวนการพูดคุยฯ และมีหลักประกันความต่อเนื่อง รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้ทุกกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วม

    นอกจากนี้รัฐบาลไทยมีความมุ่งมั่นและจริงใจที่จะแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยพร้อมพิจารณาตอบสนองอย่างเหมาะสมต่อข้อเสนอของกลุ่มผู้เห็นต่าง จากรัฐ เพื่อให้มาร่วมกันสร้างสันติสุขที่ยั่งยืน และจากนี้จะสานต่อภารกิจของทีมพูดคุยฯชุดที่แล้ว ซึ่งได้วางรากฐานไว้ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา บนพื้นฐานของการให้เกียรติ ความจริงใจ และความสมัครใจ

    "คณะพูดคุยฯจะสามารถเป็นจุดเชื่อมสำคัญในการสร้างสันติสุข โดยจะประสานการทำงานใกล้ชิดกับทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ทั้งกองทัพภาคที่ 4 กอ.รมน. ศอ.บต. ภาคประชาชน ภาควิชาการ และประชาคมระหว่างประเทศ ที่สำคัญคณะพูดคุยฯพร้อมทำงานกับสมาชิกรัฐสภา ทั้ง ส.ส. และ ส.ว. โดยเฉพาะ ส.ส. พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการสร้างสันติสุข เพราะตระหนักว่ากระบวนการสันติสุขที่ครอบคลุม จำเป็นต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมและผลักดันของทุกฝ่าย ส่วนเรื่องที่ต้องปรับปรุงก็ยินดีดำเนินการ" พล.อ.วัลลภ กล่าว

    พล.อ.วัลลภ ยังบอกถึงเป้าหมายระยะใกล้ว่า คณะพูดคุยฯประสงค์ที่จะขับเคลื่อนภารกิจให้สัมฤทธิ์ผลและมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นภายในปี 2563 โดยจะสื่อสารพัฒนาการของกระบวนการพูดคุยฯ ให้สาธารณชนทั้งในและนอกพื้นที่ได้รับทราบเป็นระยะ รวมทั้งโอกาสที่จะมีการดำเนินการสำคัญและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

    ที่ผ่านมามีการพูดคุยตลอดในหลายช่องทาง ทั้งในและต่างประเทศ แต่ยังไม่มีประเด็นเรื่อง autonomy หรือ "การปกครองตนเอง" ตลอดจนเรื่องการเป็นเอกราช และยังไม่ได้เจาะลึกถึงปัญหาต่างๆ อย่างลึกซึ้ง แต่ถ้าจากนี้ไปได้เริ่มพูดคุย ก็คงต้องเป็นการคุยจากเรื่องง่ายไปหาเรื่องยาก เพราะถ้าสิ่งที่ง่ายทำได้ สิ่งที่ยากก็จะตามมา และนำไปสู่ข้อตกลงร่วมกัน

    peacetalkpanel.jpg

    เมื่อถามว่า ที่ผ่านมาเป็นการพูดคุยกับกลุ่มมาราปาตานี เป็นไปได้หรือไม่ที่จะขอให้ทางมาเลเซีย ในฐานะผู้อำนวยความสะดวกกระบวนการพูดคุย เชิญตัวแทนกลุ่มบีอาร์เอ็นมาร่วมโต๊ะพูดคุยฯด้วย พล.อ.วัลลภ ตอบว่า ได้พยายามหากลุ่มที่มีอิทธิพลในการก่อความความรุนแรงในพื้นที่ โดยประสานกับทางมาเลเซียไปแล้ว ซึ่งมาเลย์ก็ยินดีที่จะดำเนินการตามที่ร้องขอ แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นกลุ่มไหนบ้าง ต้องรอดูอีกครั้ง คาดว่าเร็วๆ นี้จะมีความชัดแจน ส่วนองค์กรต่างประเทศก็ได้มีการลงพื้นที่ชายแดนใต้ มีการหาข้อมูลและข้อเสนอแนะส่งให้รัฐบาลไทยอยู่แล้ว

    สำหรับประเด็นการกดดันทางทหาร เพื่อให้กลุ่มขบวนการหลังชนฝาจนต้องมาพูดคุยฯ ซึ่งถูกระบุว่าเป็นมาตรการที่ฝ่ายความมั่นคงไทยใช้ในห้วงที่ผ่านมานั้น พล.อ.วัลลภ กล่าวว่า การพูดคุยต้องให้เกียรติ จริงใจ และสมัครใจ ไม่มีการใช้วิธีอื่นกดดัน เพราะไม่เกิดประโยชน์

    "ผมมองว่าสันติภาพเกิดได้หลายวิธี แต่วิธีที่ดีที่สุดคือการพูดคุย เพราะนอกจากจะไม่ทำให้สูญเสียแล้ว ทั้ง 2 ฝ่ายยังได้ชัยชนะร่วมกัน นำไปสู่ความสันติสุขถาวรของพื้นที่" หัวหน้าคณะพูดคุยฯ กล่าว

    ขณะที่ พล.ต.เกรียงไกร กล่าวว่า กอ.รมน.ภาค 4 มีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ไม่ว่าจะไทยพุทธหรือมุสลิม ต้องทำหน้าที่ตรงนี้อย่างเข้มแข็ง แต่อาจมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์จากเดิม และใช้วิธีเดินเท้าเข้าหาประชาชน จนเกิดใกล้ชิดและความไว้วางใจมากขึ้น ช่องว่างต่างๆ ก็จะลดลง แต่ไม่ได้กดดันเพื่อให้มีการพูดคุยฯ

    ด้าน นายธนากร กล่าวว่า หากส่งข้อความสั้นๆไปหากลุ่มบีอาร์เอ็นได้ จะบอกว่า "อยากให้มาคุยกันเถอะครับ" เพราะการพูดถึงเงื่อนไขหรือการปฏิบัติต่างๆเป็นเรื่องที่ดีที่จะทำให้คิดได้กว้างขึ้น แล้วนำบทเรียนจากครั้งก่อนๆ มาศึกษาว่าทำไมถึงไม่ประสบความสำเร็จ

    -------------------------------------------------------------------------------------------

    บรรยายภาพ : คณะพูดคุยฯ (จากซ้าย) นายธนากร บัวราษฎร์, พล.อ.วัลล รักเสนาะ, นายฉัตรชัย บางชวด และ พล.ต.เกรียงไกร ศรีรักษ์

    ขอบคุณ : ข่าว/ภาพ จาก อัญชลี อริยกิจเจริญ ผู้สื่อข่าวสายทหาร เนชั่นทีวี ช่อง 22

    https://www.isranews.org/south-news...rK-yWiP1HUDqW1b4DMxCyVq6AzYqHkQTN3Xw2sphGkV50
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    ความคืบหน้าของการอพยพของฝรั่งเศสในเมือง Pertuis เนื่องจากมีน้ำล้นเขื่อน ไปตามแม่น้ำ Eze ทำให้เกิดน้ำท่วม




     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    ฝรั่งเศสถนน Pertuis ติดอยู่และจมอยู่ใต้น้ำ บางส่วนที่ไม่สามารถใช้ได้หลังจากเขื่อนแตก









     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    สัตว์ยังคงล้มตายด้วยความกระหายและความหิว - ทางเหนือของชิลี

    t=110&_nc_ohc=U_0aEk-rKBoAQmppfDYCbfHZ4METzSQNSuJPEpRl-K9wJi5m4fa9_c4oQ&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg

    t=103&_nc_ohc=R_6LGP-v0tkAQn6654T5IRFv7J1cGWLs4h9-vQwvwhKH0QLpqWaykYLUg&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg

    t=103&_nc_ohc=Fgodu3ZM9jMAQk4px1eiCSLT-3hP2KkEpSt5grUcuaMsdjq5AAiJGw44g&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg

    t=109&_nc_ohc=2kSLcq5N5cwAQmlZqVwa7rHGzNiF8ycoM-l4kecf35A_Xp_Sc9XwzddHg&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    อย่างน้อย 19 คนเสียชีวิตหลังจากเลี้ยวและตกลงจากสะพานไปยังแม่น้ำที่น้ำแข็งตัว รถบัสในรัสเซีย # 1 ธันวาคม


    t=107&_nc_ohc=XB0tgGEAiEwAQnXAi6CVKBibMOe0DjsKQx_PdUvbP0VRw184XfJc0rh5g&_nc_ht=scontent.fbkk17-1.jpg
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,814
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Rodolfo Martin Brenes Salvatierra

    น้ำทะเลขึ้นสูงที่หมู่เกาะมาร์แชลล์ ใน Jenrok สถานที่ที่ได้รับผลกระทบคือ Ajeltake, Rairok และ Rita # 27 พ.ย.


     

แชร์หน้านี้

Loading...