ถามครับ คนที่ได้ญาณ 4 จนถึง ญาณ 8 ท่านมีความสุขขาดไหน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ballbeamboy2, 25 พฤศจิกายน 2011.

  1. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    ตัวผมไม่รู้ว่าตัวเองได้ญาณ ไหน ปล่อยวาง ถ้าอยากก็จะไม่ได้ ถ้าไม่อยากก็จะไม่ได้ ต้องปล่อยวาง ผมเลยไม่รู้ไปถึงขั้นไหน แต่คิดว่า ปฐมฐาณ ผมเลยอยากถามว่า คนในบอร์ดนี้

    เวลาท่าน เข้าญาณ ตั้งแต่4 ขึ้นไป ท่านรู้สึกยังไง สุขมากแค่ไหน มากกว่ากาม หรือเปล่า มากกว่า กินอาหารอร่อยๆรึเปล่า มากกว่า ได้มีเพศสัมพันธ์ รึเปล่า มากกว่า มีเงิน เป็นพันล้านๆ มีภรรยา ที่สวยงาม รึเปล่า มากกว่า ได้นอน ที่ดีๆ รึเปล่า

    ถ้าจะให้เลือก สําหรับท่านที่ได้ญาณ 4ขึ้นไป ท่านอยากได้อันไหน กาม ที่ได้มาจากวัตถุ หรือ ญาณ ที่หาได้ในตัวเรา (จิต) จะเลือกอันไหน เหรอครับ
     
  2. thaijin

    thaijin สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    161
    ค่าพลัง:
    +16
    นายคิดว่านายได้ปฐมฌาณขอแสดงความยินดีด้วยครับ แต่ข้อเปรียบเทียบความสุขที่นายยกมามันไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรเลยเปรียบกันไม่ได้ครับกับสุขที่ได้ตุ๋ยถั่วดำ แฮะๆๆๆ:cool:
     
  3. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    เพราะว่า ที่ผม ได้ฟังมา จากคนปกติจากเพื่อน บอกว่า sex คือสุขที่สุด
    พระพุทธเจ้าบอกว่า สุขจาก ญาณ สมาบัติ ไรพวกนี้ คือสุขที่สุด ตัวผมเชื่อพระพุทธเจ้า แต่ตัวผมก็ไม่เคยมี sex และไม่เคยเข้าญาณ สูง ขนาดนั้น (ในชาตินี้ ชาติก่อนอาจจะเคย)

    และลองพิจาณา ไปอีก เจ้าชายสิทธัตถะ มีพระนาง สวยมาก จิตใจดี มีเงิน มีทรัพย์เยอะแยะ แต่ หนีออกจากวัง ไปหา สัจธรรมแล้วได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คงจะจริงที่พระพุทธเจ้าบอก ผมคิดแบบนี้นะครับ
     
  4. thaijin

    thaijin สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    161
    ค่าพลัง:
    +16
    sex นำสุขมาแค่ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นนำทุกข์มาให้ก็มีเยอะ(ติดโรค และอีกหลาย ๆสาเหตุ) คำสอนของพระศาสดาสอนให้ละ ละทุกข์ละสุข คือโละกิเลสทิ้งให้หมด และมุ่งสู่พระนิพพานอย่างเดียว แต่จะถึงชาติไหนก็อยู่ที่ความเพียรของตัวผู้ปฏิบัติเอง สู้ ๆครับ
     
  5. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    ไม่เลือกเลย เพราะมีของละเอียดกว่านั้น สุขกว่านั้น
     
  6. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    อะไรคือสุขกว่านั้นอะครับ
     
  7. Sonaz

    Sonaz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    761
    ค่าพลัง:
    +348
    คุณ ควรแยกแยะ ว่ามัน สุข แบบไหนครับ สุขแบบสงบ เพราะได้ ญาน

    สุข เพราะ Sex มันเร้าร้อน มันคือ ทุกข์ ขอรับ

    ผมเองก็ น่าจะได้แค่ ปฐมฌาณ แต่แค่นี้ ก็แทบไม่อยากจะลืมตาแล้ว มันมีความสุขแบบ ลืมโลกภายนอก ภายใน ช่างสงบ เยือกเย็น เป็นสุข ขอรับ

    งั้นผมถามหน่อยครับ ว่า สุข แบบใดกันที่ท่านต้องการ
     
  8. Sonaz

    Sonaz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    761
    ค่าพลัง:
    +348
    ภายใน ความสุขแบบ Sex มันมีความทุกข์แฝงมาตลอดครับ

    คุณ มี Sex ก็ กลัวท้อง Sex ไม่ได้เรื่องก็อารมณ์เสีย ไม่ได้ Sex ก็เซง

    แล้วต้องเลิกจากคนที่คุณรัก TT มันทุกข์มั้ยครับ

    แต่หากคุณ อกหัก มานั่งสมาธินี้ มันช่างสงบลืมทุกข์

    คุณว่าสุขอันไหน มันจีรังยั้งยืนกว่ากันเล่า
     
  9. purivat

    purivat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2010
    โพสต์:
    227
    ค่าพลัง:
    +254
    ญาณ หรือ ฌาน ครับท่านพี่
     
  10. ทำไมทำไม

    ทำไมทำไม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +13
    เราไม่ได้ญาณหรอก แต่เวลาเราทำสมาธิแล้วเรามีความสุข สุขเพราะมันไม่เรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ มันสบายใจ เป็นความสุขอีกแบบนึง อยากที่จะอธิบาย สุขที่มันไม่มีอะไร ทิ้งทุกอย่างไปจากตัวเรา ตอนเราทำ เรารู้สึกอย่างนี้นะ สบายใจอ่ะ
     
  11. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    ฌาน อะครับ ผมหาตัว นี้ไม่เจอ ขอโทษทีครับ อิอิ

    อยากได้สุขแบบพระพุทธเจ้า สุขทางโลก คงไม่ดีเท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2011
  12. Mon Treal

    Mon Treal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +536
    ยังไม่เคยเห็นประโยชน์ของกามเลยค่ะ
    ดังเนื้อความพระไตรปิฎก
    ๗๖๔] กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก. บุคคลผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดังฝี ดังนี้แล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.
    [๗๖๕] คำว่า เครื่องข้องก็ดี ว่าเบ็ดก็ดี ว่าเหยื่อก็ดี ว่าเกี่ยวข้องก็ดี ว่าพัวพันก็ดีนี้เป็นชื่อแห่งเบญจกามคุณ ในอุเทศว่า สงฺโค เอโส ปริตฺตเมตฺถ โสขฺยํ ดังนี้.คำว่า กามนี้มีความสุขน้อย ความว่า สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้. ๕ ประการเป็นไฉน? คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้ง
    ด้วยตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย
    อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕
    ประการนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุขโสมนัสใดแล อาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้เกิดขึ้น สุข
    โสมนัสนั้นแลเรากล่าวว่า กามสุข. กามสุขนี้มีน้อย กามสุขนี้เลว กามสุขนี้ลามก กามสุขนี้
    ให้เกิดทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย.
    [๗๖๖] คำว่า กามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ความว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาค
    ตรัสว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษมาก. กามทั้งหลายพระผู้มี-
    *พระภาคตรัสว่า เหมือนโครงกระดูก. กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เหมือนชิ้นเนื้อ. กาม
    ทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เหมือนคบเพลิง. กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เหมือน
    หลุมถ่านเพลิง. กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เหมือนความฝัน. กามทั้งหลายพระผู้มี-
    *พระภาคตรัสว่า เหมือนของที่ยืมเขามา. กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เหมือนผลไม้.
    กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เหมือนดาบและสุนัขไล่เนื้อ. กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาค
    ตรัสว่า เหมือนหอกและหลาว. กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เหมือนศีรษะงูเห่า มีทุกข์
    มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก.
    [๗๖๗] คำว่า ดังฝีก็ดี ว่าเบ็ดก็ดี ว่าเหยื่อก็ดี ว่าความข้องก็ดี ว่าความกังวลก็ดี
    เป็นชื่อของเบญจกามคุณ ในอุเทศว่า คณฺโฑ เอโส อิติ ตฺวา มติมา ดังนี้.
    บทว่า อิติ เป็นบทสนธิ เป็นบทเกี่ยวข้อง เป็นบทบริบูรณ์ เป็นที่ประชุมแห่งอักขระ
    เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ. บทว่า อิติ นี้ เป็นไปตามลำดับบท.
    คำว่า บุคคลผู้มีปัญญารู้แล้วว่า กามนี้เป็นดังฝี ความว่า บุคคลผู้มีปัญญา เป็นบัณฑิต
    มีความรู้ มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส รู้แล้ว คือ เทียบเคียง
    พิจารณา ให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏว่า กามนี้เป็นดังฝี เป็นเบ็ด เป็นเหยื่อ เป็นความข้อง
    เป็นความกังวล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้มีปัญญารู้แล้วว่า กามนี้เป็นดังฝี พึงเที่ยวไป
    ผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก. บุคคลผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดังฝี ดังนี้แล้ว
    พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.

    <CENTER></CENTER>

     
  13. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    คุณ Mon treal ขอบคุณมากครับ แล้วความสุขของพระพุทธเจ้าคืออะไร
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    พุทธศาสนาจัดความสุขไว้ 10 ขั้นหรือ 10 ระดับ

    ความสุข
     
  15. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ฌาน... ความสุขในพระพุทธศาสนา

    [​IMG]

    การบัญญัติความสุขในพระพุทธศาสนา




    (การเลือกนำข้อความตอนนี้มาแปล ก็เพื่อชี้แจงหลักวิชาทางพระพุทธศาสนา ที่แสดงว่าความสุขมีเป็นขั้น ๆ ตั้งแต่ต่ำจนถึงสูงสุด ถึง ๑๐ ขั้น คือความสุขในกาม ความสุขในรูปฌาน ๔ ความสุขในอรูปฌาน ๔ และความสุขในสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ในการแปลจะแปลอย่างเต็มสำนวนเพื่อให้เห็นลีลาของอารมณ์ฌานทั้งที่เป็นรูปฌานและอรูปฌานอย่างสมบูรณ์).




    <CENTER></CENTER>



    "ดูก่อนอานนท์ กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน ? กามคุณ ๕ คือรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นรูปที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ (สิ่งที่พึงถูกต้องได้) ที่พึงรู้แจ้งทางหู, จมูก, ลิ้น และกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นรูปที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด. ดูก่อนอานนท์ นี้แล คือกามคุณ ๕. ดูก่อนอานนท์ ความสุขกายสุขใจอันใด ที่เกิดขึ้นเพระอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ ความสุขกายสุขใจนี้ เรียกว่ากามสุข. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุขนั้น."




    <CENTER></CENTER>



    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (กามสุข) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าสู่ฌานที่ ๑ อันมีความตรึก (วิตก) ความตรอง (วิจาร) มีความอิ่มใจและความสุข (ปีติสุข) อันเกิดแต่ความสงัดอยู่. นี้แล อานนท์ คือ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุขนั้น (กามสุข). ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นัน (สุขในฌานที่ ๑) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่า ความสุข (ในฌานที่ ๑) นั้น."




    <CENTER></CENTER>



    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๑) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะสงบความตรึก ความตรอง (วิตก วิจาร) ได้ จึงเข้าฌานที่ ๒ อันมีความผ่องใสภายใน มีภาวะแห่งจิต มีอารมณ์เป็นหนึ่งเกิดขึ้น ไม่มีความตรึก ไม่มีความตรอง มีความอิ่มใจ และความสุข (ปีติสุข) อันเกิดแต่สมาธิอยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๑) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในฌานที่ ๒) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๒) นั้น."




    <CENTER></CENTER>

    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๒) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะคลายความอิ่มใจจึงเป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ เธอเสวยความสุขด้วยนามกาย เข้าสู่ฌานที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุ ให้พระอริยเจ้ากล่าวถึงผู้เข้าฌานนี้ว่าเป็นผู้วางเฉย มีสติอยู่เป็นสุข. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๒) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในฌานที่ ๓) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนพระอานนท์ เพราะยังมีความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๓) นั้น."



    [​IMG]




    <CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>



    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๓) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขละทุกข์ได้ (ละสุขกายทุกข์กายได้) เพราะสุขใจ (โสมนัส) ทุกข์ใจ (โทมนัส) ดับไปในกาลก่อน<SUP></SUP> จึงเข้าถึงฌานที่ ๔ อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีความบริสุทธิ์แห่งสติ. อันเกิดขึ้นเพราะอุเบกขา (ความวางเฉย). นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๓) นั้น. คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในฌานที่ ๔) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม. เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๔) นั้น."




    <CENTER></CENTER>



    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๔) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินนัยนี้ เพราะก้าวล่วงความกำหนดหมายในรูป (รูปสัญญา) ด้วยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งความกำหนดหมาย ความกระทบกระทั่ง (ปฏิฆสัญญา ได้แก่ความกำหนดหมายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เมื่ออารมณ์ทั้งห้านี้ ผ่านมาทางตา หู เป็นต้น) เพราะไม่ทำไว้ในใจซึ่งสัญญาต่าง ๆ (นานัตตสัญญา-หมายความได้ ๒ อย่าง คือสัญญาที่เป็นไปในอารมณ์ต่าง ๆ และสัญญาต่าง ๆ ๔๔ ชนิด-ดูคำอธิบายในวิสุทธิมรรค อารุปปนิทเทส) ทำไว้ในใจว่า "อากาศไม่มีที่สิ้นสุด" เข้าสู่อรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ (มีอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในเนที่ ๔) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ) นั้น."




    <CENTER></CENTER>


    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ ด้วยประการทั้งปวง แล้วทำไว้ในใจว่า "วิญญาณหาที่สุดมิได้" เข้าสู่อรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ (มีวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่ววว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม. เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนันเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ) นั้น.


    [​IMG]







    <CENTER></CENTER>



    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ ด้วยประการทั้งปวง แล้วทำไว้ในใจว่า "อะไร ๆ ก็ไม่มี" เข้าสู่อรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ (มีความกำหนดหมายว่าไม่มีอะไรเป็นอารมณ์) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข ผในอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (ความสุขในอรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม. เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ) นั้น.




    <CENTER></CENTER>



    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปเนชื่ออากิญจัญญายตนะ) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ ด้วยประการทั้งปวง แล้วเข้าสู่อรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ<SUP></SUP> (มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (ความสุขในอรูปฌาน ชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม. เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นั้น.




    <CENTER>๑๐</CENTER>

    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วเข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา- เป็นสมาบัติสูงสุดที่พระอนาคามีกับพระอรหันต์เท่านั้นทำให้เกิดได้) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นั้น.









    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>สรุปความ</CENTER>

    "ดูก่อนอานนท์ มีฐานะอยู่ที่นักบวชเจ้าลัทธิอื่นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมกล่าวถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ ย่อมบัญญัติสัญญาเวทยิตนิโรธในความสุข ข้อนั้นคืออะไรกัน ? ข้อนั้นจะเป็นไปได้อย่างไรกัน ? (คือสัญญาเวทยิตนิโรธ ดับความจำ ดับความรู้สึก แล้วจะว่ามีความสุขได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีความรู้สึก) ดูก่อนอานนท์ นักบวชเจ้าลัทธิอื่น ผู้กล่าวอย่างนี้พึงเป็นผู้อันท่านชี้แจง "ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคย่อมไม่ทรงบัญญัติในความสุขหมายเอาเฉพาะสุขเวทนาอย่างเดียว ในที่ใด ๆ ย่อมหาความสุขได้ ในฐานะใด ๆ มีความสุข พระผู้มีพระภาคย่อมทรงบัญญัติฐานะนั้น ๆ ในความสุข."<SUP></SUP>


    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๗๘


    ๑. คำว่า ในกาลก่อน คือสุขทุกข์ดับไปตั้งแต่ยังอยู่ในขณะแห่งอุปจาระเกือบจะถึงฌานที่ ๔ คำว่า อุปจาระ แปลว่า ใกล้เคียง หรือเฉียด ก็ได้
    ๒. เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๔ วิธีเจริญอรูปฌานข้อนี้ คือออกจากอรูปเนที่ ๓ (อากิญจัญญายตนะ) แล้วนึกในใจว่า สัญญา (ความจำได้หมายรู้) เป็นเหตุให้ยุ่งยาก นึกตำหนิสัญญานั้นจนจิตสงบ ก็เข้าสู่อรูปฌานนี้ได้ คำว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ หมายความว่า สัญญามีอยู่ แต่ทำหน้าที่ไม่ได้ มีอย่างละเอียดมาก
    ๓. จากพระพุทธภาษิตนี้ แสดงว่า ความสุขมีเป็นชั้น ๆ พระพุทธศาสนาแสดงความสุขหมดทุกชั้นตั้งแต่ต่ำจนถึงสูง แต่ก็อาจย่อความได้ว่าเป็นสุขชั้นเวทนา คือรู้สึกได้เสวยได้ (Sensational Happiness) อย่างหนึ่ง ความสุขที่อยู่เหนือเวทนา ไม่ต้องรู้สึกไม่ต้องเสวย (Happiness Beyond Sensation) อีกอย่างหนึ่ง

    ................................................................

    ข้อความทั้งหมดยกอ้างอิงจาก พระไตรปิฏกฉบับ สำหรับประชาชาชน........ของมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์......หน้าที่ 125....ข้อมูลทั้งหมดที่บรรยาย(ในช่วงของพระสูตร) เป็นของท่านอาจารย์ สุชีพ ปุญญานุภาพ......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2011
  16. dutchanee

    dutchanee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,127
    ค่าพลัง:
    +12,745
    ขอบคุณนะคะ ตอนนี้มีความสุขค่ะ สุขที่ได้ยิ้ม ตัว ฌ อยู่ตรง สระเอ หรือ G น่ะค่ะ
     
  17. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ..........สุข ทุกข์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป....เห็นตามความเป็นจริงสิครับ(ยถาภูตาญานทัสนะ)........ขันธ์5ไม่มีอะไรคงอยูได้:cool:
     
  18. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878
    สุขที่เสมอซึ่งความสงบนั้นไม่มี
     
  19. จริน ประสงค์สุข

    จริน ประสงค์สุข Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +26
    สรุปง่ายๆเลยความสุขจากฌาญต่างจากความสุขที่จะมีเพศสัมพันธ์เอามาเทียบกันไม่ได้นะคับ
    ความสุขจากฌาญคือการปฏิบัติภาวนาจนขึ้นฌาญ1-4ความปิติจะมีไม่ว่าจะเป็นฌาญไหนก็แล้วแต่ปิตินี้เองที่ริเริ่มความสุข สุขจากการไม่ทุกข์ไม่ว่าจะเป็นการคิด การพูด การกระทำ
    แต่sexนี่คือสุขจากกามรม สุขเพียงไม่นานก็หายไป

    ความสุขที่แท้จริงคือความพ้นจากทุกข์ ความนิ่ง สงบในจิต ความรู้เห็นของร่างกายที่อนิจจังเกิดดับที่กายแต่จิตไม่ดับกายเป็นที่อาศัยของจิต ส่วนแท้คือจิต หมั่นฝึกอย่างนี้ไปจนถึงพระนิพพานก็จะรู้เองคับว่าสุขอย่างที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเราเป็นอย่างไร
    ท่านใดที่ภาวนาดำรงค์ความดีอยู่เสมอผมขออนุโมทนาบุญด้วยคับ
     
  20. ปราบจราจล

    ปราบจราจล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    162
    ค่าพลัง:
    +220
    ทางโลกไม่มีอะไรที่เป้นความสุขหรอกครับ

    มีแต่ความหลง หลงว่ามันสุข หลงว่ามันดีอย่างงั้น ดีอย่างงี้


    มันเป็นรากเหง้า มันเป็ฯปัจจัยของความทุกข์ทั้งนั้น

    พอเริ่มได้ฌาณ นั่นละ ความสุข อันปราณีต ความสุขที่เกิดกับดวงจิตจริงๆ

    เริ่มปรากฏแล้ว แต่ขั้นตอน ของความสุข ก้ไล่ตามลำดับของการเข้าถึง

    ซึ้ง สุขสูงสุดก็คือเอกตบรมสุข ก็คือสุขที่ได้ทำไห้แจ้งซึ้งพระนิพพาน

    นั่นละสุขแท้ๆสุขจริงๆละ
     

แชร์หน้านี้

Loading...