ถามท่านที่ฝึกกสิณสีเขียว ช่วยแนะนำด้วยค่ะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jang3536, 25 กรกฎาคม 2012.

  1. jang3536

    jang3536 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +10
    ดิฉันฝึกกสิณสีเขียว มาสักระยะนึงแล้วค่ะ (ฝึกเองที่บ้าน) เวลาทำสมาธิหลับตา จะเห็นเหมือนเมฆ หมอก วนๆ หมุนๆ อยู่ทั้งสองสีพร้อมกัน คือสีเขียว กับสีชมพูสลับกันไป บางทีสีชมพูก็มารวมกันเป็นดวงกสิณ เริ่มกลมแต่ยังไม่กลมทีเดียว บางทีก็กลมแต่อยู่ไม่นาน ส่วนสีเขียวก็รวมตัวกันหมุนๆ แต่ยังไม่กลมเป็นดวงกสิณค่ะ คืออยากถามว่าเราต้องเพ่งสีไหนค่ะ แล้วต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไปค่ะ ช่วยชี้แนะด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ
     
  2. พูน

    พูน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    595
    ค่าพลัง:
    +2,479
    "สีอื่นที่เข้ามาแทรกเรียก กสิณโทษ อย่ารับเอา จับสีเขียวในนิมิตให้เป็นรูปอย่างที่เราตั้งไว้ ลืมตาหรือหลับตาก็เห็นอยู่ สภาพกสิณจะค่อยๆ เปลี่ยนไป..." ที่เหลือลองไปหาอ่านเอาจากหนังสือกรรมฐาน 40 ของหลวงพ่อฯ ดูครับ
     
  3. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ข้าพเจ้าจะเล่าประสบการณ์ในการเพ่งกสิณ สีเขียวให้ได้พิจารณา ดังนี้
    ข้าพเจ้าฝึกกสิณสีเขียว โดยการเพ่งใบไม้ บนต้นมะม่วง และ ต้นฉำฉา(เพราะบริเวณที่ทำงานมีอยู่) เมื่อประมาณ ๓๐ ปีผ่านมาแล้ว เพ่งโดยไม่ได้คิดสิ่งใดเลย ผลที่ได้รับ ก็คือ สายตารู้สึกสบาย ดวงตาไม่ปวด เพราะข้าพเจ้ามักจะปวดตา เพราะเชื่อมไฟฟ้าอยู่บ่อย พอว่าง ก็จะยืนบ้างนั่งบ้างเพ่งกสิณสีเขียว ของใบไม้ ขอรับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2012
  4. นพณัฐ

    นพณัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +4,499
    หาอ่าน หรือ โหลดไฟล์เสียง ของหลวงพ่อดูนะครับ กรรมฐาน 40 กอง

    วรรณกสิณสีใด ก็จับให้ได้เป็นสีนั้นครับ สีเขียวก็จับให้ได้เขียว หากมีสีอื่นแทรกเข้ามา พยายามดึงภาพสีเดิมที่กำหนดเพ่งให้กลับเข้ามาสู่จอจิต ฝึกสม่ำเสมอ

    อุคคนิมิต คือ ภาพนิมิตที่จับได้จะมีสีที่ตรงข้ามหรือหลากสี เป็นกสิณโทษ
    ปฏิภาคนิมิต คือ ภาพนิมิตที่ตรงกับสีที่เรากำหนดเพ่ง ลักษณะจะชัดเจนกว่าหลายเท่า เมื่อได้มาแล้ว จะเกิดอารมณ์ที่นิ่งทำให้สมาธิเราทรงอยู่ได้นาน สามารถต่อยอดเจริญเข้าสู่ฌานได้ตามลำดับ

    วิธีเพ่งมี สี่ขั่นตอน (อยู่ที่จริตแต่ละท่าน ไม่เหมือนกัน)
    ขั่นแรก ปกติ มองแผ่นกสิณ 15 วิ หลับตา 5วิ
    ขั่นสอง แบบเร่งความเพียร มองแผ่นกสิณ 5 วิ หลับตา 5 วิ
    ขั่นนี้จะเพ่งเร็วกว่า ให้สลับเปลี่ยนเสมอ ๆ จากขั่น 1เป็น ขั่น 2 สลับไปมา
    ขั่นสาม เพ่งแค่กระพริบตาครั้งเดียว แล้วหลับตา 3 วิ
    ขั่นนี้ สำหรับผู้ฝึกมาแล้วประมาณ 2เดือนขึ้นไป พร้อมกับการสลับการเพ่งขั่นแรกและขั่นที่สอง ส่วนขั่นที่สี่ ใช้เพ่งแบบเข้าฌาน มองแผ่นกสิณ 30วิ แล้วหลับตาอย่างเดียว จนกว่าจะหยุดปฏิบัติ เป็นวิธีที่การใช้จิตดึงภาพนิมิตกสิณทั้งหมดมาใช้ในจุดนี้ ศึกษาปฏิบัติไปเรื่อย ๆครับ
    ส่วนการแก้ไข ในจุดที่คุณประสบอยู่ คือภาพเป็นกลุ่มเงาคล้ายปุยเมฆ ให้คุณฝึกในขั่นที่แรก และขั่นสองสลับกันอย่างต่อเนื่อง แต่หากยังปรากฏอยู่ ให้หลับตาแล้วลืมตามาเพ่งใหม่ใช้ขั่นสองเป็นหลัก ทำอย่างต่อเนื่อง ภาพเงาหมอกเมฆจะหายไปครับ
    แนะนำอีกทางนึงครับ หากคุณอยู่ กรุงเทพ ลองหาเวลาไปเรียนที่ วัดยานนาวา ทุกวัน อาทิตย์ บ่ายโมง อุปกรณ์ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย มีพระอาจารย์และฆราวาส เป็นผู้สอน หากอยู่ต่างจังหวัด ก็ง่าย ๆเลย โหลดไฟล์เสียงหลวงพ่อ เข้าใจง่ายเช่นกันครับ

    อนุโมทนาครับ เพียรปฏิบัติต่อไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องมากแต่สม่ำเสมอ ค่อย ๆก้าวทีละขั่น อย่าหวัง อย่ายึด อย่าหลง ขอเป็นกำลังใจให้ สำเร็จมรรคผลครับ

     
  5. นพณัฐ

    นพณัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +4,499
    หากคุณฝึกนีลกสิณได้จนคล่องแล้ว สำเร็จผลแล้ว คุณอาจจะได้วาโยกสิณ (ได้แบบไม่ตั้งใจ) ดูการไหวของลมและพ่วงกับสีเขียวของใบไม้ ด้วยจิตที่เป็นอารมณ์เดียว ที่สำคัญ อุเบกขา พึงมีไว้เสมอ ๆ ครับ
     
  6. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ข้าพเจ้าฝึกกสิณสีเขียว เมื่อประมาณ ๓๐ ปีที่ผ่านมาแล้ว จุดประสงค์เพื่อพักผ่อนสายตาขณะทำงาน เนื่องจากต้องใช้สายตาอยู่กับไฟเชื่อมมาก ในสมัยนั้น
    การฝึกกสิณ ผู้ฝึกจะได้เพียงความสงบใจ หรือสมาธิเท่านั้น ไม่มีคิดสิ่งใด ไม่มีคำว่า ฝึกกสิณหนึ่งแล้วจะได้กสิณหนึ่ง ไม่เกี่ยวกันดอกขอรับ
    เพราะการฝึกกสิณเป็นเพียงการฝึกเพื่อให้ใจสงบ หรือให้เกิดสมาธิ

    การเพ่งกสิณสีเขียว ถ้าเป็นใบไม้ ต้นหญาที่มีสีเขึยว โดยไมได้คิดสิ่งใด จะทำให้รู้สึกสบายดวงตา แต่ถ้าจะให้ดี ต้องหลับตาเพือ่เป็นการพักผ่อนดวงตาขอรับ
     
  7. นพณัฐ

    นพณัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +4,499
    นับว่าท่าน telwada นั้นมีบุญบารมีจริง ๆ นับถือ ๆ ว่าแต่เพราะอะไรท่านจึงคิดว่า กสิณ ประโยชน์ที่ได้จากการสำเร็จนั้น เพียงแค่ความสงบใจและเพียงแค่ได้สมาธิ (เท่านั้นเองหรอครับ) ถ้ามันง่ายต่อการปฏิบัติจริง ช่วยแนะผมทีว่า
    สงบใจ มาจากอะไรครับ
    สมาธิที่ได้ มาจากอะไรครับ
     
  8. นพณัฐ

    นพณัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +4,499
    การพักผ่อนสายตาที่ถูกต้อง คือการนอนหลับ ไม่ต่ำกว่าสี่ชั่วโมง ถูกไหม
    การฝึก กสิณ คือการเพ่งผ่านทางสายตาเป็นหลัก ถูกไหม
    เพ่งแล้วมันสบายตรงไหน ถ้าสบายจิต อาจจะใช่ครับ แต่มันคือการ มอง ไม่ใช เพ่ง ครับ
     
  9. โกมีนัม

    โกมีนัม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440
    ดันขึ้นมาให้นะ ^_^
     
  10. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ถูกต้อง ประโยชน์ที่ได้จาก กสิณ มีเพียงแต่ความสงบใจหรือสมาธิ (อันเดียวกันนั่นแหละ)

    ความสงบใจ ก็คือ สมาธิ มาจาก การใช้วัตถุอันจูงใจเข้าไปผูกอยู่(ตามตำราขอรับ) หมายความว่า เราใช้ใบไม้สีเขียว เป็นวัตถุอันจูงใจ หรือเอาใจเข้าไปจดจ่อ เพื่อให้ใจสงบหรือใจเป็นสมาธิ ก็เท่านั้น
    ความสงบใจ หรือ สมาธิ มาจาก การที่บุคคลเอาใจเข้าไปจดจ่อ หรือใช้วัตถุอันจูงใจเข้าไปผูกอยู่นั่นแหละขอรับ
     
  11. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    การพักผ่อนสายตา คือ การหลับตาลง จะใช้เวลาสักครู่ หนึ่งถึงห้านาที ก็ใช้ได้แล้ว การนอนหลับเป็นการพักผ่อนร่างกายเกือบทุกส่วน ถ้าเกิดว่า ร่างกายโดยเฉพาะสมองมีความเหนื่อยล้าจากการทำงานหนัก
    การฝึก กสิณ ไม่ใช่การเพ่ง ด้วยสายตาเพียงอย่างเดียว แต่ที่หลับตาเพ่งนั้น บางชนิด เป็นการเพ่งใช้ชั้นปฏิบัติธรรมที่สูงกว่าชั้นพื้นฐาน หมายความว่าถ้าจะ เพ่งกสิณด้วยการหลับตาก็ทำได้ แต่จะเป็นการปฏิบัติธรรม หรือการฝึกตนในชั้นที่ยาก ยกเว้น การเพ่งกสิณลมเพียงอย่างเดียวเท่านั้นขอรับ

    ที่คุณถามมาว่า เพ่งแล้วมันสบายตรงไหน คุณคงเข้าใจตามที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า เพ่งกสิณสีเขียว แล้วสบายดวงตา ใช่หรือไม่ ถ้าใช่ คำตอบก็คือ
    เมื่อเพ่งกสิณแล้ว จิตใจสงบ คือ มีสมาธิดีแล้ว ร่างกายก็จะหลั่งสารชนิดหนึ่งทำให้เกิดความสบายกายและใจ ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีกว่าปกติ ขณะเพ่งมองด้วยสายตา เลือดไปเลี้ยงดวงตาได้ดี ได้สะดวก ประกอบกับ สีเขียว เป็นสีเย็นตา เป็นสีธรรมชาติ จึงทำให้เกิดความสบายดวงตาได้ขอรับ

    เพ่ง กับ มอง ก็เหมือนกัน แต่ ถ้าหลับตาเพ่ง ก็คือ การมองภายในร่างกายเรา

    อนึ่ง ข้าพเจ้าฝึกกสิณ หรือใช้กสิณ ก็เพียงเพื่อทดลองฝึก ที่ข้าพเจ้าอธิบายไปทั้งหมดนั้น ข้าพเจ้าใช้วิธีเปรียบเทียบกับ หลักวิชชาการฝึกตนที่ข้าพเจ้าฝึกอยู่ เมื่อเทียบกับ หลักกสิณ ในทางพุทธศาสนา ข้าพเจ้าจึงสามารถอธิบาย หลักของ กสิณได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2012
  12. โกมีนัม

    โกมีนัม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440
    คุณเทวดา เชี่ยวชาญ กรรมฐาน 40 อย่างไหนมากที่สุดเหรอ
     
  13. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    กสิณสี เป็นของผู้ที่มีโทสะจริต นิสัยจะเหมาะกับกรรมฐานกองนี้ที่สุด
    ลองฝึกได้ค่ะ หากจะลองฝึกแนะนำให้เริ่มจากกสิณดิน
    เหตุผลของพระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติไว้เป็นกสิณกองแรกของกรรมฐานทั้งมวล
    และเป็นฐานที่ตั้งที่มั่นคงของมนุษย์
    สรรพชีวิต ก่อกำเนดจากดินเป็นพื้นฐาน หากท่านใดได้กสิณดิณ
    ท่านก็มีความมั่นคง แข็งแกร่งต่อการฝึกกรรมฐานกองต่อไป

    หากท่านมีโทสะจริต ท่านควรเริ่มที่วรรณกสิณ


    จริต ๖ เพื่อกรรมฐานที่เหมาะสม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PIC_8006.JPG
      PIC_8006.JPG
      ขนาดไฟล์:
      479.5 KB
      เปิดดู:
      171
  14. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ข้าพเจ้าตอบตามตรงเลยนะขอรับว่า ข้าพเจ้าไม่ค่อยจะรู้เรื่อง กรรมฐาน ๔๐ กองมากนัก แต่หลักวิชชาการ และหลักการฝึกตนที่ข้าพเจ้าฝึกอยู่ ก็คล้ายคลึงและบางอย่างก็เหมือน เพียงแต่ข้าพเจ้าไม่ได้ฝึกอย่างที่เขาสอนกันอยู่ หมายความว่า ข้าพเจ้าคิดพิจารณา วิเคราะห์ และฝึกตนตามที่ข้าพเจ้าได้คิดพิจารณาและวิเคราะห์ ว่าเป็นหลักความจริง อีกประการหนึ่ง ครูอาจารย์ของข้าพเจ้า ส่วนใหญ่ หรือทั้งหมดเลยก็ว่าได้ ก็สอนให้ข้าพเจ้าคิดพิจารณาให้เป็นไปตามหลักความจริง สิ่งไหนที่เป้นเรื่องธรรมดา ไม่ต้องนำมาคิดพิจารณาขอรับ
    สรุปแล้ว ข้าพเจ้าชำนาญการ กรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง แต่เป็นความชำนาญการที่ได้จากการคิดพิจารณาวิเคราะห์ วิจัย ทดลองปฏิบัติ ขึ้นมาใหม่ ดังนั้น ความชำนาญการ ในกรรมฐานซึ่งข้าพเจ้าไม่เรียกว่า กรรมฐาน และในหลักวิชชาการของข้าพเจ้าก็ไม่มีหลักกรรมฐาน เพียงแต่สามารถเปรียบเทียบ และเข้ากันได้ขอรับ
     
  15. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
     
  16. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    มาอีกคนหนึ่งแล้ว คนประเภทอย่างคุณ อย่าหาว่าข้าพเจ้าติเตียนหรือส่อเสียด เลยนะคุณขอรับ
    อย่างคุณเขาเรียกว่า "ฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด"
    ที่ข้าพเจ้ากล่าวไปนั้น เป็นเพียงบอกว่า "ที่ข้าพเจ้าสามารถอธิบาย เรื่องเกี่ยวกับกสิณได้ ก็เพราะข้าพเจ้า เปรียบเทียบ กับหลักวิชชาที่ข้าพเจ้า ฝึกตนอยู่"
    คุณจะทราบไปทำไมกันรายละเอียดที่ข้าพเจ้าฝึกตนอยู่ ไม่มีประโยชน์สำหรับคุณ อีกประการทีสำคัญ ระดับสมองสติปัญญาของคุณฝึกไม่ได้ดอกขอรับ เพราะหลักวิชชาที่ข้าพเจ้าฝึกตนอยู่ คือ "หลักวิชชา ๓ และ หลักวิชชา ๘"
    การฝึกตน ของข้าพเจ้า ไม่เหมือนการปฏิบัติธรรมที่พวกคุณรู้กันอยุ่ แต่การฝึกตนของข้าพเจ้า เป็นการฝึกตามหลักวิชชาการทุกชนิด ทุกวิชชาการ เท่าที่มีความรู้ หรือเท่าที่จะสามารถแสวงหา ขวนขวาย มาได้ อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับปัจจัยในหลายๆเรื่อง
    การฝึกตนของข้าพเจ้านั้น ต้องอาศัยหลักวิชชาการทุกชนิด ก็เหตุเพราะหลักวิชชาการทุกชนิด เป็นหลักธรรมรูปแบบหนึ่ง ที่จะสามารถทำให้หลุดพ้นได้ ตั้งแต่ระดับปุถุชน ไปจนถึงระดับ สูงกว่าปรินิพพาน
    ถ้าเป็นไปในทางพุทธศาสนา พวกคุณก็สามารถฝึกได้ และสามารถบรรลุนิพพานได้เช่นกัน แต่ก็จะขึ้นอยู่กับตัวบุคคล สมองสติปัญญาของบุคคล แต่ติดอยู่นิดหนึ่ง ที่ หลักวิชชาทางศาสนาพุทธที่ข้าพเจ้ามีอยู่ ไม่เหมือนพระไตรปิฎก ให้หาอ่านเอาในเวบฯนี้เถอะขอรับ
     
  17. นพณัฐ

    นพณัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +4,499
     
  18. นพณัฐ

    นพณัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +4,499
    อะไรที่สูงกว่า นิพพาน ? คำถามสุดท้าย

    ขอโทษที ผมเกรงใจกระทู้คนอื่นเค้า อันเป็นว่าที่ถามไปทั้งหมด จงนำคำตอบนั้นไปตอบตนเอง และพิจารณาให้ดีอีกครั้ง และอย่าสร้าง วิบากกรรมให้ตนเองไปมากกว่านี้เลย หากเป็นเช่นนี้ต่อไป แม้แต่ พระ หรือ แพทย์หมอ ใด ๆ ก็คงช่วยอะไรคุณไม่ได้อีกแล้ว นอกจากตัวคุณเอง
    ที่ผ่านมาอโหสิกรรมแก่ผมด้วยนะครับ สาธุ
     
  19. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    เรื่องของเหตุปัจจัย และวิบากต่างๆ มันซับซ้อนนะครับ จะรู้ได้อย่างไรว่าใครจะทำได้ ใครจะทำไม่ได้ ในเมื่อคุณก็ยังไม่ได้รู้แจ้งไปทั้งหมด

    อีกอย่าง แม้ว่าถ้าคุณจะเป็นพระโพธิสัตว์ลงมาบำเพ็ญบารมีจริงๆ การที่คุณไปดูถูกคนอื่นเขาแบบนี้ ก็เป็นกรรมติดไปเหมือนกัน

    คุณจะรู้ได้อย่างไร ว่าคุณเป็นผู้เดียวที่ลงมาบำเพ็ญบารมี? คนที่คุณปรามาส อาจจะลงมาด้วยเหตุเดียวกันก็ได้นะ?
     
  20. Anupap9

    Anupap9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    566
    ค่าพลัง:
    +503
    ตอนนี้ก็กำลังฝึกกสิณสีขาวอยู่ครับ พยายามผ่อนคลายดวงตา ไม่ให้เคร่งเกินไป หากเดือนนึงยังไม่ดีขึ้น คงต้องกลับมาพุทโธดีกว่าครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...