ถามพี่ท่านหนุมาน ผู้นำสาร ตกลงรามเกียรติ์ ใครลอกใคร?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เอกอิสโร, 24 สิงหาคม 2010.

  1. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ถามพี่ท่านหนุมาน ผู้นำสาร ตกลงรามเกียรติ์ ใครลอกใคร?

    เพราะเดี๊ยวผมจะเขียน บันทึก เรื่อง "พระราม" ตกลงใครลอกใคร ระหว่างไทยกับอินเดีย

    [​IMG]

    นักวิชาการ นักรู้ ว่า ไทยไปลอก "รามายณะ มหาภารต" ของอินเดียมา

    แต่ที่ผมเคยอ่านมาเจอใน "พระอรรถกถา" พระราม นี้ก็คือพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้าของเรา ดูใน "ทสรถชาดก" ที่ว่า




    อรรถกถา ทสรถชาดก
    <CENTER class=D>ว่าด้วย ผู้มีปัญญาย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่เสียไปแล้ว</CENTER><CENTER class=D> </CENTER><!-- อรรถกถา ทสรถชาดกที่ ๗ --> พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภกุฎุมพีผู้บิดาตายแล้วคนหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เอถ ลกฺขณสีตา จ ดังนี้.
    ความพิสดารว่า กุฎุมพีนั้น เมื่อบิดาถึงแก่กรรมแล้วถูกความเศร้าโศกครอบงำ จึงทอดทิ้งหน้าที่การงานเสียทุกอย่าง ครุ่นแต่ความเศร้าโศกอยู่แต่ถ่ายเดียว.
    พระศาสดาทรงตรวจดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทอดพระเนตรเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผลของเขา รุ่งขึ้นจึงเสด็จโปรดสัตว์ในกรุงสาวัตถี เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทรงส่งภิกษุทั้งหลาย<WBR>กลับ ทรงชวนไว้เป็นปัจฉาสมณะเพียงรูปเดียว เสด็จไปยังเรือนของเขา เมื่อตรัสเรียกเขาผู้นั่งถวายบังคมด้วยพระดำรัสอันไพเราะ จึงตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก เจ้าเศร้าโศกไปทำไม
    เมื่อเขากราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเศร้าโศกถึงบิดากำลังเบียดเบียนข้าพระองค์
    จึงตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก บัณฑิตในปางก่อนทราบโลกธรรม ๘ ประการตามความเป็นจริง เมื่อบิดาถึงแก่กรรมแล้ว ก็มิได้ประสบความเศร้าโศก แม้สักน้อยหนึ่งเลย
    เขากราบทูลอาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสว่า
    ในอดีตกาล พระเจ้าทสรถมหาราชทรงละความถึงอคติ เสวยราชสมบัติโดยธรรมในกรุงพาราณสี พระอัครมเหสีผู้เป็นใหญ่กว่าสตรี ๑๖,๐๐๐ นางของท้าวเธอ ประสูติพระโอรส ๒ พระองค์ พระธิดา ๑ พระองค์
    พระโอรสองค์ใหญ่ทรงพระนามว่า รามบัณฑิต องค์น้องทรงพระนามว่า ลักขณกุมาร พระธิดาทรงพระนามว่า สีดาเทวี.
    ครั้นจำเนียรกาลนานมา พระอัครมเหสีสิ้นพระชนม์ พระราชาเมื่อพระนางสิ้นพระชนม์แล้ว ทรงถึงอำนาจแห่งความเศร้าโศกตลอดกาลนาน หมู่อำมาตย์ช่วยกันกราบทูลให้ทรงสร่าง ทรงกระทำการบริหารที่ควรกระทำแก่พระนางแล้ว ทรงตั้งสตรีอื่นไว้ในตำแหน่งอัครมเหสีพระนางเป็นที่รัก เป็นที่จำเริญพระหฤทัยของพระราชา.
    ครั้นกาลต่อมา แม้พระนางก็ทรงพระครรภ์ ทรงได้รับพระราชทานเครื่องครรภ์บริหาร จึงประสูติพระราชโอรส. พระประยูรญาติขนานพระนามพระโอรสนั้นว่า ภรตกุมาร.
    พระราชาตรัสว่า แน่ะนางผู้เจริญ ฉันขอให้พรแก่เธอ เธอจงรับเถิด ด้วยทรงพระเสน่หาในพระโอรส.
    พระนางทรงเฉยเสีย ทำทีว่าทรงรับแล้ว จนพระกุมารมีพระชนมายุได้ ๗-๘ พรรษา จึงเข้าไปเฝ้าพระราชา กราบทูลว่า พระทูลกระหม่อม พระองค์พระราชทานพระพรไว้แก่บุตรของกระ<WBR>หม่อม<WBR>ฉัน บัดนี้ ขอทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพระพรนั้นแก่เธอ
    เมื่อพระราชาตรัสว่ารับเอาเถิด นางผู้เจริญ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม ขอพระองค์โปรดทรงพระกรุณาพระราชทานราชสมบัติแก่บุตรของกระหม่อมฉันเถิด พระเจ้าข้า.
    พระราชาทรงตบพระหัตถ์ตรัสขู่ว่า เจ้าจงย่อยยับเสียเถอะ นางถ่อย บุตรของข้า ๒ คน กำลังรุ่งเรืองเหมือนกองเพลิง เจ้าจะให้ข้าฆ่าเขาทั้ง ๒ คนเสียแล้ว ขอราชสมบัติให้ลูกของเจ้า.
    พระนางตกพระทัย เสด็จเข้าสู่พระตำหนักอันทรงสิริ ถึงในวันอื่นๆเล่าก็คงทูลขอราชสมบัติกับพระราชาเนืองๆ ทีเดียว.
    พระราชาครั้นไม่พระราชทานพระพรแก่พระนาง จึงทรงพระดำริว่า ขึ้นชื่อว่ามาตุคามเป็นคนอกตัญญู มักทำลายมิตร นางนี้พึงปลอมหนังสือหรือจ้างคนโกงๆ ฆ่าลูกทั้ง ๒ ของเราเสียได้. พระองค์จึงตรัสสั่งให้พระราชโอรสทั้ง ๒ เข้าเฝ้า ตรัสความนั้นมีพระดำรัสว่า พ่อเอ๋ย อันตรายคงจักมีแก่พวกเจ้าผู้อยู่ ณ ที่นี้ เจ้าทั้งหลายจงพากันไปสู่แดนแห่งสามันตราช หรือสู่ราวป่า พากันมาก็ต่อเมื่อพ่อตายแล้ว ยึดเอาราชสมบัติของตระกูลเถิด ดังนี้ แล้วรับสั่งให้พวกโหราจารย์เข้าเฝ้าอีก ตรัสถามกำหนดพระชนมายุของพระองค์ ทรงสดับว่าจักยั่งยืนไปตลอด ๑๒ ปีข้างหน้า จึงตรัสว่า พ่อเอ๋ย โดยล่วงไป ๑๒ ปีถัดจากนี้ พวกเจ้าจงพากันมาให้มหาชนยกฉัตรถวาย.
    พระราชโอรสเหล่านั้นกราบทูลว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า พากันถวายบังคมพระราชบิดา ทรงพระกันแสงเสด็จลงจากพระปราสาท. พระนางสีดาเทวีทรงพระดำริว่า ถึงเราก็จักไปกับพี่ทั้งสอง ถวาย<WBR>บังคมพระราชบิดา ทรงพระกันแสงเสด็จออก. กษัตริย์ทั้งสามพระองค์นั้นแวดล้อมไปด้วยมหาชนออกจากพระนคร ทรงให้มหาชนพากันกลับ เสด็จเข้าสู่หิมวันตประเทศโดยลำดับ สร้างอาศรม ณ ประเทศอันมีน้ำและมูลผลาผลสมบูรณ์ ทรงเลี้ยงพระชนมชีพด้วยผลาผล พากันประทับอยู่แล้ว.
    ฝ่ายพระลักขณบัณฑิตและพระนางสีดาได้ทูลขอร้องพระรามบัณฑิตรับปฏิญญาว่า พระองค์ดำรงอยู่ในฐานะแห่งพระราชบิดาของหม่อมฉัน เหตุนั้นเชิญประทับประจำ ณ อาศรมบทเท่านั้นเถิด หม่อมฉันทั้งสองจักนำผลาผลมาบำรุงเลี้ยงพระองค์.
    จำเดิมแต่นั้นมา พระรามบัณฑิตคงประทับประจำ ณ อาศรมบทนั้นเท่านั้น. พระลักขณ<WBR>บัณฑิตและพระนางสีดาพากันหาผลาผลมาปรนนิบัติพระองค์.
    เมื่อกษัตริย์ทั้งสามพระองค์นั้น ทรงเลี้ยงพระชนมชีพอยู่ด้วยผลาผลอย่างนี้ พระเจ้าทสรถมหาราชเสด็จสวรรคตลงในปีที่ ๙ เพราะทรงเศร้าโศกถึงพระราชโอรส. ครั้นจัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระเจ้าทสรถมหาราชเสร็จแล้ว พระเทวีมีพระดำรัสให้พวกอำมาตย์ถวายพระเศวต<WBR>ฉัตรแด่พระภรตกุมารผู้โอรสของตน. แต่พวกอำมาตย์ทูลว่า เจ้าของเศวตฉัตรยังอยู่ในป่า ดังนี้แล้วจึงไม่ยอมถวาย.
    พระภรตกุมารตรัสว่า เราจักเชิญพระรามบัณฑิตผู้เป็นพระภาดามาจากป่า ให้ทรงเฉลิมพระ<WBR>เศวต<WBR>ฉัตร ทรงถือเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่างพร้อมด้วยเสนา ๔ เหล่าบรรลุถึงที่ประทับของพระรามบัณฑิตนั้น ให้ตั้งค่ายพักแรมอยู่ ณ ที่อันไม่ไกล เสด็จเข้าไปสู่อาศรมบทกับอำมาตย์ ๒-๓ นาย ในเวลาที่พระลักขณบัณฑิตและพระนางสีดาเสด็จไปป่า เข้าเฝ้าพระรามบัณฑิตผู้ปราศจากความระแวง ประทับนั่งอย่างสบาย ประหนึ่งรูปทองคำที่ตั้งไว้ ณ ประตูอาศรมบท ถวายบังคม ประทับยืน ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง กราบทูลข่าวของพระราชาแล้ว ก็ทรงฟุบลงแทบพระบาททั้งคู่ ทรงพระกันแสงพร้อมกับเหล่าอำมาตย์.
    พระรามบัณฑิตมิได้ทรงเศร้าโศกเลย มิได้ทรงพระกันแสงเลย แม้เพียงอาการผิดปกติแห่งอินทรีย์ ก็มิได้มีแก่พระองค์เลย ก็แลในเวลาที่พระภรตะทรงพระกันแสงประทับนั่ง เป็นเวลาสายัณหสมัย พระลักขณบัณฑิตและพระนางสีดาทั้งสองพระองค์ ทรงพากันถือผลาผลเสด็จมาถึง.
    พระรามบัณฑิตทรงดำริว่า เจ้าลักขณะและแม่สีดายังเป็นเด็ก ยังไม่มีปรีชากำหนดถี่ถ้วนเหมือนเรา ได้รับบอกเล่าว่า บิดาของเธอสวรรคตแล้วโดยรวดเร็ว เมื่อไม่อาจจะยับยั้งความเศร้าโศกไว้ได้ แม้หัวใจของเธอก็อาจแตกไปได้ เราต้องใช้อุบายให้เจ้าลักขณะและแม่สีดาจงไปแช่น้ำแล้วให้ได้ฟังข่าวนั้น.
    ลำดับนั้น ทรงชี้แอ่งน้ำแห่งหนึ่งข้างหน้าแห่งกษัตริย์ทั้งสองพระองค์นั้น ตรัสว่า เจ้าทั้งสองมาช้านัก นี่เป็นทัณฑกรรมของเจ้า เจ้าจงลงไปแช่น้ำยืนอยู่ ดังนี้แล้ว
    จึงตรัสกึ่งพระคาถาว่า

    มานี่แน่ะเจ้าลักขณะและนางสีดาทั้งสอง จงมาลงน้ำ.


    คำอันเป็นคาถานั้น มีอธิบายว่า มานี่แน่ะเจ้าลักขณะและนางสีดา จงพากันมา จงลงสู่น้ำทั้งสองคน.

    พระลักขณะและพระนางสีดาทั้งสองพระองค์นั้น พากันเสด็จลงไปประทับยืนอยู่ ด้วยพระดำรัส<WBR>ครั้งเดียวเท่านั้น. ลำดับนั้น พระรามบัณฑิต เมื่อจะทรงบอกข่าวแห่งพระราชบิดาแก่กษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์นั้น
    จึงตรัสกึ่งคาถาที่เหลือว่า

    พ่อภรตะนี้ กล่าวอย่างนี้ว่า พระราชาทสรถสวรรคตเสียแล้ว.


    พระลักขณะและพระนางสีดาทั้งสองพระองค์นั้นพอได้สดับข่าวว่า พระราชบิดาสวรรคตเท่านั้นก็พากันวิสัญญีสลบไป. พระรามบัณฑิตตรัสบอกซ้ำอีก ก็พากันสลบไปอีก.
    หมู่อำมาตย์ช่วยกันอุ้มกษัตริย์ทั้งสองพระองค์อันทรงถึงวิสัญญีภาพไปถึงสามครั้งด้วยอาการอย่างนี้ ขึ้นจากน้ำ ให้ประทับ<WBR>นั่งบนบก.
    เมื่อเธอทั้งสองได้ลมอัสสาสปัสสาสะแล้ว ทุกพระองค์ต่างก็ประทับนั่ง ทรงพระกันแสงคร่ำครวญกันเรื่อย. ครั้งนั้น พระภรตกุมารทรงพระดำริว่า พระภาดาของเรา ลักขณกุมารและพระภคินีสีดาเทวีของเรา สดับข่าวว่า พระทสรถสวรรคตเสียแล้วมิอาจจะยับยั้งความเศร้าโศกไว้ได้ แต่พระรามบัณฑิตมิได้ทรงเศร้าโศก มิได้ทรงคร่ำครวญเลย อะไรเล่าหนอ เป็นเหตุแห่งความไม่เศร้าโศกของพระองค์ ต้องถามพระองค์ดู.
    เมื่อท้าวเธอจะตรัสถามพระองค์ จึงตรัสพระคาถาที่ ๒ ว่า

    พี่รามบัณฑิต ด้วยอานุภาพอะไร เจ้าพี่จึงไม่เศร้าโศก ถึงสิ่งที่ควรเศร้าโศก ความทุกข์มิได้ครอบงำพี่เพราะได้สดับว่า พระราชบิดาสวรรคตเล่า.


    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปภาเวน แปลว่า ด้วยอานุภาพ. บทว่า น ตํ ปสหเต ทุกฺขํ ความว่า ความทุกข์เห็นปานนี้ เหตุไรจึงไม่บีบคั้นพี่ได้เลย อะไรเป็นเครื่องบังคับมิให้พี่เศร้าโศกเลย โปรดแจ้งแก่หม่อมฉันก่อน.

    ลำดับนั้น พระรามบัณฑิต เมื่อจะแสดงเหตุที่บังคับมิให้พระองค์ทรงเศร้าโศกแก่พระกุมารภรตะนั้น จึงตรัสว่า

    คนเราไม่สามารถจะรักษาชีวิตที่คนเป็นอันมากพร่ำเพ้อถึง นักปราชญ์ผู้รู้แจ้งจะทำตนเพื่อให้เดือดร้อนเพื่ออะไรกัน.
    ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ทั้งพาลทั้งบัณฑิต ทั้งคนมั่งมีทั้งคนยากจน ล้วนบ่ายหน้าไปหามฤตยูทั้งนั้น.
    ผลไม้ที่สุกแล้ว ก็พลันแต่จะหล่นลงเป็นแน่ฉันใด สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ก็พลันแต่จะตายเป็นแน่ฉันนั้น.
    เวลาเช้าเห็นกันอยู่มากคน พอถึงเวลาเย็นบางคนก็ไม่เห็นกัน เวลาเย็นเห็นกันอยู่มากคน พอถึงเวลาเช้าบางคนก็ไม่เห็นกัน.
    ถ้าผู้ที่คร่ำครวญหลงเบียดเบียนตนอยู่ จะพึงได้รับประโยชน์สักเล็กน้อยไซร้ บัณฑิตผู้มีปรีชาก็จะพึงทำเช่นนั้นบ้าง.
    ผู้เบียดเบียนตนของตนอยู่ ย่อมซูบผอม ปราศจากผิวพรรณ สัตว์ผู้ละไปแล้วไม่ได้ช่วยคุ้มครองรักษา ด้วยการร่ำไห้นั้นเลย การร่ำไห้ไร้ประโยชน์.
    คนฉลาดพึงดับไฟที่ไหม้เรือนด้วยน้ำฉันใด คนผู้เป็นนักปราชญ์ได้รับการศึกษามาดีแล้ว มีปัญญาเฉลียวฉลาด พึงรีบกำจัดความเศร้าโศกที่เกิดขึ้นโดยพลัน เหมือนลมพัดปุยนุ่นฉะนั้น.
    คนๆ เดียวเท่านั้นตายไป คนเดียวเท่านั้น เกิดในตระกูล ส่วนการคบหากันของสรรพสัตว์ มีการเกี่ยวข้องกันเป็นอย่างยิ่ง.
    เพราะเหตุนั้นแล ความเศร้าโศกแม้จะมากมาย ก็ไม่ทำจิตใจของนักปราชญ์ผู้เป็นพหูสูต มองเห็นโลกนี้และโลกหน้า รู้ทั่วถึงกรรมให้เร่าร้อนได้.
    เราจักให้ยศ และโภคสมบัติ แก่ผู้ที่ควรจะได้ จักทะนุบำรุงภริยา ญาติทั้งหลาย และคนที่เหลือ นี้เป็นกิจของบัณฑิตผู้ปรีชา.

    พระรามบัณฑิต ได้ประกาศถึงอนิจจตาด้วยคาถา ๖ คาถาเหล่านี้.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาเลตุ ได้แก่ เพื่อจะรักษา. บทว่า ลปตํ ได้แก่ ผู้บ่นเพ้ออยู่ ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า พ่อภรตะเอ๋ย ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย บรรดาที่พากันร่ำไห้ถึงกันมากมาย แม้สักคนเดียวก็มิอาจจะรักษาไว้ได้ว่า อย่าขาดไปเลยนะ บัดนี้ผู้เช่นเรานั้นรู้โลกธรรมทั้ง ๘ ประการโดยความเป็นจริง ชื่อว่าวิญญูชน มีความหลักแหลมเป็นบัณฑิต ในเมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีชีวิตมีความตายเป็นที่สุด ตายไปแล้ว จะยังตนให้เข้าไปเดือดร้อนเพื่ออะไรกัน คือเหตุไรจึงจะแผดเผาตนด้วยความทุกข์ของตนอันหาอุปการะมิได้.
    คาถาว่า ทหรา จ เป็นต้นมีอธิบายว่า พ่อภรตะเอ๋ย ขึ้นชื่อว่ามฤตยูนี้ มิได้ละอายต่อคนหนุ่มผู้เช่นกับรูปทองคำมีขัตติยกุมารเป็นต้นเลย และมิได้เกรงขามต่อมหาโยธาทั้งหลายผู้ถึงความ<WBR>เจริญ<WBR>โดยคุณ มิได้เกรงกลัวเหล่าสัตว์ผู้สันดานหนาเป็นพาล มิได้ยำเกรงปวงบัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น มิได้หวั่นเกรงมวลอิสริยชนมีพระเจ้าจักรพรรดิเป็นต้น มิได้อดสูต่อคนขัดสนไม่เว้นตัวฝูงสัตว์เหล่านี้ แม้ทั้งหมดล้วนบ่ายหน้าไปหามฤตยู พากันย่อยยับแหลกลาญที่ปากแห่งความตายทั้งนั้นแหละ
    บทว่า ปตนโต ได้แก่ โดยการตกไป มีอธิบายว่า ดูก่อนพ่อภรตะเอ๋ย เปรียบเหมือนผลไม้อันสุกแล้ว ตั้งแต่เวลาที่สุกแล้วไป ก็มีแต่จะรอเวลาร่วงหล่น ว่าจะพรากจากขั้วหล่นลงบัดนี้ หล่นลงเดี๋ยวนี้ คือผลไม้เหล่านั้นมีแต่จะคอยระแวงอยู่อย่างนี้ว่า ความหวั่นที่จะต้องหล่นเป็นการแน่นอนเที่ยงแท้ มีแต่เรื่องนั้นถ่ายเดียวเท่านั้นฉันใด แม้ฝูงสัตว์ที่ต้องตายที่เกิดมาแล้วก็ฉันนั้น หวั่นเกรงแต่ที่จะตายถ่ายเดียวเท่านั้น ขณะหรือครู่ที่ฝูงสัตว์เหล่านั้นจะไม่ต้องระแวงความตายนั้นไม่มีเลย.
    บทว่า สายํ แปลว่า ในเวลาเย็น. ด้วยบทว่า สายํ นี้ ท่านแสดงถึงการที่ไม่ปรากฏของผู้ที่เห็นกันอยู่ในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืน และของสัตว์ผู้เห็นกันอยู่ในเวลากลางคืน ในเวลากลางวัน.
    บทว่า กิญฺจิทตฺถํ ความว่า ถ้าคนเราคร่ำครวญอยู่ด้วยคิดว่า พ่อของเรา ลูกของเรา ดังนี้เป็นต้น หลงใหลเบียดเบียนตนอยู่ ให้ตนลำบากอยู่ จะพึงนำประโยชน์มาแม้สักหน่อย.
    บทว่า กยิรา เจ นํ วิจกฺขโณ ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงร่ำไห้เช่นนั้น แต่เพราะผู้ร่ำไห้อยู่ ไม่สามารถจะนำผู้ตายแล้วมาได้ หรือสามารถจะทำความเจริญอื่นๆ แก่ผู้ตายแล้วนั้นได้ เหตุนั้นจึงเป็นกิริยาที่ไร้ประโยชน์ แก่ผู้ที่ถูกร่ำไห้ถึง บัณฑิตทั้งหลายจึงไม่ร่ำไห้.
    บทว่า อตฺตานมตฺตโน ความว่า ผู้ร่ำไห้กำลังเบียดเบียนอัตภาพของตน ด้วยทุกข์คือความโศกและความร่ำไห้. บทว่า น เตน ความว่า ด้วยความร่ำไห้นั้น ฝูงสัตว์ผู้ไปปรโลกแล้ว ย่อมจะคุ้มครองไม่ได้ จะยังตนให้เป็นไม่ได้เลย. บทว่า นิรตฺถา ความว่า เพราะเหตุนั้น การร่ำไห้ถึงฝูงสัตว์ผู้ตายไปแล้วเหล่านั้นจึงเป็นกิริยาที่หาประโยชน์มิได้.
    บทว่า สรณํ ได้แก่ เรือนเป็นที่อยู่อาศัย ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเรือนถูกไฟไหม้ ก็ไม่ต้องตกใจแม้สักครู่ รีบดับเสียด้วยน้ำตั้งพันหม้อทันทีฉันใด ธีรชนก็ฉันนั้น พึงดับความโศกที่เกิดขึ้นแล้วโดยทันทีทีเดียว กำจัดปัดเป่าเสียโดยวิธีที่ความโศกจะไม่อาจตั้งอยู่ได้ เหมือนลมพัดปุยนุ่นฉะนั้น.
    ใน บทว่า เอโกว มจฺโจ มีอธิบายดังต่อไปนี้ พ่อภรตะเอ๋ย ฝูงสัตว์เหล่านี้ชื่อว่ามีกรรมเป็นของของตน สัตว์ผู้ไปสู่ปรโลกจากโลกนี้ ผู้เดียวจากฝูงสัตว์เหล่านั้น ล่วงไปผ่านไป แม้เมื่อเกิดในตระกูลมีกษัตริย์เป็นต้น ผู้เดียวเท่านั้นไปเกิด. ส่วนความร่วมคบหากันของสัตว์ทั้งปวงในที่นั้นๆ มีการเกี่ยวข้องกันนั้นว่า ผู้นี้เป็นบิดาของเรา ผู้นี้เป็นมารดาของเรา ผู้นี้เป็นญาติมิตรของเรา ดังนี้ด้วยอำนาจที่เกี่ยวข้องกันทางญาติ ทางมิตร เท่านั้นเป็นอย่างยิ่ง แต่เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ฝูงสัตว์เหล่านี้ ในภพทั้ง ๓ มีกรรมเป็นของของตนทั้งนั้น.
    บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเว้นความเกี่ยวข้องทางญาติ ทางมิตร อันเป็นเพียงการคบหากันของสัตว์เหล่านี้เสียแล้ว ต่อจากนั้นย่อมเป็นอื่นไปไม่ได้ ฉะนั้น.
    บทว่า สมฺปสฺสโต ได้แก่ เห็นโลกนี้และโลกหน้า อันมีความพลัดพรากจากกันเป็นสภาวะโดยชอบ. บทว่า อญฺญาย ธมฺมํ ได้แก่ เพราะรู้โลกธรรม ๘ ประการ. บทว่า หทยํ มนญฺจ นี้ ทั้งสองบท เป็นชื่อของจิตนั่นเอง.
    ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า
    โปฏฐปาทะเอ๋ย ธรรมในมวลมนุษย์เหล่านี้ คือมีลาภ ไม่มีลาภ มียศ ไม่มียศ นินทา สรรเสริญ สุขและทุกข์ เป็นของไม่เที่ยง เธออย่าเศร้าโศก เธอจะเศร้าโศกไปทำไม ดังนี้.


    ความเศร้าโศกแม้จะใหญ่หลวง ซึ่งมีบุตรที่เป็นที่รักตายไปเป็นวัตถุ ย่อมปรากฏทางจิต ด้วยโลกธรรม ๘ ประการอย่างใดอย่างหนึ่งนี้ และย่อมไม่แผดเผาหทัยของธีรชนผู้ดำรงอยู่ เพราะได้รู้ถึงสภาวธรรมอันนั้นว่าเป็นของไม่เที่ยง.
    อีกนัยหนึ่ง พึงเห็นความในข้อนี้ อย่างนี้ว่า ความเศร้าโศกแม้ว่าจะใหญ่หลวงก็จะแผดเผาหทัยวัตถุ และใจของธีรชนไม่ได้ เพราะมาทราบโลกธรรม ๘ ประการนี้.
    บทว่า โสหํ ยสญฺจ โภคญฺจ ความว่า พ่อภรตะเอ๋ย การร้องไห้ร่ำไห้เหมือนของพวกคนอันธพาลไม่สมควรแก่เราเลย แต่เราเมื่อพระราชบิดาล่วงลับไป ดำรงอยู่ในฐานะของพระองค์นั่นแล จะให้ทานแก่คนที่ควรให้ มีพวกคนกำพร้าเป็นต้น ให้ตำแหน่งแก่ผู้ที่ควรให้ตำแหน่ง ให้ยศแก่ผู้ที่ควรจะให้ยศ บริโภคอิสริยยศโดยนัยที่พระราชบิดาของเราทรงบริโภค ทรงเลี้ยงหมู่ญาติ จะคุ้มครองคนที่เหลือ คือคนภายในและคนที่เป็นบริวาร จักกระทำการปกป้องและคุ้มครองกันโดยธรรมแก่สมณะและพราหมณ์ผู้ทรงธรรม เพราะทั้งนี้เป็นกิจอันสมควรของผู้รู้ คือผู้เป็นบัณฑิต.
    ฝูงชนฟังธรรมเทศนาอันประกาศความไม่เที่ยงของพระรามบัณฑิตนี้แล้ว พากันสร่างโศก. ต่อจากนั้น พระภรตกุมารบังคมพระรามบัณฑิตทูลว่า เชิญพระองค์ทรงรับราชสมบัติในพระนครพาราณสีเถิด. ดูก่อนพ่อ ท่านจงพาพระลักขณ์และสีดาเทวีไปครองราชสมบัติกันเถิด.
    ทูลถามว่า ก็พระองค์เล่า พระเจ้าข้า.
    ตรัสว่า พ่อเอ๋ย พระบิดาของฉันได้ตรัสไว้กะฉันว่า ต่อล่วง ๑๒ ปี เจ้าค่อยมาครองราชสมบัติ เมื่อฉันจะไป ณ บัดนี้เล่า ก็เป็นอันไม่ชื่อว่าไม่กระทำตามพระดำรัสของพระองค์ แต่ครั้นพ้นจาก ๓ ปี อื่นไปแล้ว ฉันจักยอมไป.
    ทูลถามว่า ตลอดกาลเพียงนี้ ใครจักครองราชสมบัติเล่า. พวกเธอครองชี.
    ทูลว่า หากหม่อมฉันไม่ครอง.
    ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นรองเท้าคู่นี้จักครองจนกว่าฉันไปแล้วทรงถอดฉลองพระบาท<WBR>ทำ<WBR>ด้วย<WBR>หญ้า<WBR>ของ<WBR>พระองค์ประทานให้. กษัตริย์ทั้งสามพระองค์รับฉลองพระบาท บังคมพระรามบัณฑิต แวดล้อมด้วยมหาชน เสด็จไปสู่พระนครพาราณสี. ฉลองพระบาทครองราชสมบัติตลอด ๓ ปี. พวกอำมาตย์พากันวางฉลองพระบาทหญ้าเหนือราชบังลังก์ แล้วพากันตัดสินคดี. ถ้าตัดสินไม่ดีฉลองพระบาทก็กระทบกัน ด้วยสัญญานั้นต้องพากันตัดสินใหม่ เวลาที่ตัดสินชอบแล้ว ฉลองพระบาทปราศจากเสียงและคงเงียบอยู่.
    ต่อนั้นสามปี พระรามบัณฑิตจึงเสด็จออกจากป่าบรรลุถึงพระนครพาราณสี เสด็จเข้าสู่พระราชอุทยาน. พระกุมารทั้งหลายทรงทราบความที่พระองค์เสด็จมา มีหมู่อำมาตย์แวดล้อมเสด็จไปพระอุทยาน ทรงกระทำนางสีดาเป็นอัครมเหสีแล้วอภิเษกทั้งคู่.
    พระมหาสัตว์ทรงปราบดาภิเษกแล้ว ประทับเหนือราชรถอันอลงกต เสด็จเข้าสู่พระนครด้วยบริวารขบวนใหญ่ ทรงเลียบพระนครแล้วเสด็จขึ้นสู่ท้องพระโรง แห่งพระสุนันทนปราสาท. ตั้งแต่นั้น ทรงครองราชสมบัติโดยธรรมตลอดหมื่นหกพันปี ในเวลาสิ้นพระชนมายุ ทรงยังเมืองสวรรค์ให้เนืองแน่นแล้ว.

    อภิสัมพุทธคาถานี้ว่า

    พระเจ้ารามผู้มีพระศอดุจกลองทอง มีพระพาหาใหญ่ ทรงครอบครองราชสมบัติอยู่ตลอด ๑๖,๐๐๐ ปีดังนี้ ย่อมประกาศเนื้อความนั้น.


    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺพุคิโว ความว่า มีพระศอ เช่นกับแผ่นทองคำ. จริงอยู่ ทองคำเรียกว่า กัมพุ.

    พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะ ในเวลาจบสัจจะ กุฎุมพีดำรงในโสดาปัตติผล
    ทรงประชุมชาดกว่า
    พระทสรถมหาราชครั้งนั้น ได้มาเป็น พระเจ้าสุทโธทนมหาราช
    พระมารดาได้มาเป็น พระนางสิริมหามายา
    สีดาได้มาเป็น พระมารดาพระราหุล
    เจ้าภรตะได้มาเป็น พระอานนท์
    เจ้าลักขณ์ได้มาเป็น พระสารีบุตร
    บริษัทได้มาเป็น พุทธบริษัท
    ส่วนรามบัณฑิตได้มาเป็น เราตถาคต แล.

    จบอรรถกถาทสรถชาดกที่ ๗


    ซึ่งผมเชื่อว่า เรื่องราวในสงครามมหาภารต ในคัมภีร์รามายณะ ของอินเดีย จะต้องไม่เหมือน ใน อรรถกถา หรือ ที่มี การเล่ากันในสมัยพุทธกาล

    จึง คิดว่า เป็นไปได้มั๊ย ถ้า ไม่มีสงครามเกิดขึ้นจริงที่ทุ่งกุรุ ในอินเดีย ก็เกิดจากพ่อค้า จากอินเดีย มาค้าขายแถบ แถว "เอเซียตะวันอออกเฉียงใต้" โดยเฉพาะ พม่าและไทย ในปัจจุบัน ที่ผม ค้นคว้าและมีข้อสรุปในเบื้องต้นว่า "เป็นดินแดนก่อกำเนิดพระพุทธศาสนา" แล้ว พ่อค้าอินเดีย ก็ได้ฟังเรื่องเล่าสงครามภารต จากคนแถบแถวนี้ แล้ว นำไปเล่าต่อๆ กันไป ที่อินเดีย ปากต่อปาก แล้ว ใส่สีตีไข่ จน เนื้อเรื่องไม่เหมือนเค้าเดิม

    แต่...กรรมเวร นักวิชาการ นักรู้ ที่คิดว่า อินเดียประเสริฐ อินเดียเลิศ การเป็นผู้สืบทอดวัฒนธรรมวัฒนธรรมอินเดีย คือ ความสุดยอด จึงไปตั้งทฤษฎีว่า รามเกียรติ์ไทย ไปคัดลอกมาจาก มหารามายณะของอินเดีย

    พอๆ กับ ที่บอกว่า ตัวหนังสือมอญ ตัวหนังสือขอม ที่มีมาเก่าแก่ เก่าก่อน คู่แผ่นดินอุษาคเนย์นี้ มาเก่ากว่า ๒-๓ พันปี มีพัฒนาการ (ลอกเลียนแบบ) มาจากอักษรปัลลวะ ของอินเดียใต้ เมื่อ พันปีเศษ แค่นี้เอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2010
  2. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    รามายณะ

    <!-- /firstHeading --><!-- bodyContent --><!-- tagline -->จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    <!-- /tagline --><!-- subtitle -->
    <!-- /subtitle --><!-- jumpto -->ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- /jumpto --><!-- bodytext -->[​IMG]
    <TABLE class="noprint metadata plainlinks ambox ambox-content"><TBODY><TR><TD class=mbox-image>[​IMG]
    </TD><TD class=mbox-text>บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร บทความที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงเลยอาจพิจารณาให้ลบ</TD></TR></TBODY></TABLE>รามายณะ (สันสกฤต: रामायण) เป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย เชื่อว่าเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมายาวนานในหลากหลายพื้นที่ของชมพูทวีป แต่ผู้ได้รวบรวมแต่งให้เป็นระเบียบครั้งแรก คือ มหาฤๅษีวาลมีกิ เมื่อกว่า 2,400 ปีมาแล้ว โดยประพันธ์ไว้เป็นบทร้อยกรองประเภทฉันท์ภาษาสันสกฤต เรียกว่า โศลก จำนวน 24,000 โศลกด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 7 ภาค (กาณฑ์ หรือ กัณฑ์) ดังนี้
    1. พาลกาณฑ์
    2. อโยธยากาณฑ์
    3. อรัณยกาณฑ์
    4. กีษกินธกาณฑ์
    5. สุนทรกาณฑ์
    6. ยุทธกาณฑ์
    7. อุตตรกาณฑ์
    รามายณะเป็นวรรณคดีที่มีการดัดแปลง เล่าใหม่ และแพร่หลายไปในหลายภูมิภาคของเอเชีย โดยมีเนื้อหาแตกต่างกันไป และอาจเรียกชื่อแตกต่างกันไปด้วย เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการทำศึกสงครามระหว่างฝ่าย พระราม กับ ฝ่าย ทศกัณฐ์ (ยักษ์) โดยพระรามจะมาชิงตัว นางสีดา (มเหสีของพระราม) ซึ่งถูกทศกัณฑ์ลักพาตัวมา ทางฝ่ายพระรามมีน้องชาย ชื่อ พระลักษมณ์ และ หนุมาน (ลิงเผือก) เป็นทหารเอกช่วยในการทำศึก รบกันอยู่นานท้ายที่สุดฝ่ายยักษ์ก็ปราชัย
    รามายณะเมื่อแพร่หลายในหมู่ชาวไทย คนไทยได้นำมาแต่งใหม่ก็เรียกว่า รามเกียรติ์ ซึ่งมีหลายฉบับด้วยกัน ส่วนในหมู่ชาวลาวนั้น เรียกว่า พะลักพะลาม (พระลักษมณ์พระราม)
    <TABLE id=toc class=toc><TBODY><TR><TD>เนื้อหา

    [ซ่อน]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดง"; var tocHideText = "ซ่อน"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>[แก้] ตัวละครนำเรื่อง

    • พระราม
    • ทศกัณฐ์
    • พระลักษณ์
    • นางสีดา
    • หนุมาน
    [แก้] ความแตกต่างจากรามเกียรติ์

    ความแตกต่างระหว่างรามายณะและรามเกียรติ์ มีหลายประการ เช่น
    1. ในรามายณะ หนุมานไม่ใช่ลูกของพระพายแต่เป็นลูกของพญาลิง นอกจากนั้นหนุมานยังนับเป็นอวตารปางหนึ่งของพระอิศวร ชื่อรุทรอวตาร หนุมานในรามายณะไม่เจ้าชู้เหมือนหนุมานในรามเกียรติ์ซึ่งแสดงค่านิยมของชายไทยโบราณอย่างเห็นได้ชัด
    2. ในรามายณะ ชาติก่อน ทศกัณฑ์กับกุมภกัณฑ์เป็นนายทวารเฝ้าที่อยู่ของพระนารายณ์ชื่อชัยกับวิชัย ซึ่งพระนารายณ์ห้ามไม่ให้ใครเข้าในเวลาที่ทรงเกษมสำราญ ต่อมามีฤๅษีมาขอเข้าพบพระนารายณ์ นายทวารทั้งสองไม่ยอมให้เข้า ฤๅษีจึงสาปให้ชัยกับวิชัยต้องไปเกิดในโลกมนุษย์ได้รับความทรมาน พวกเขาจึงไปขอความเมตตาจากพระนารายณ์เพราะตนเพียงแต่ทำตามคำสั่งเท่านั้น พระนารายณ์บอกว่าแก้คำสาปฤๅษีไม่ได้แต่บรรเทาให้เบาบางลงได้ โดยให้ทั้งสองไปเกิดเป็นยักษ์เพียงสามชาติ และทั้งสามชาติพระนารายณ์จะลงไปสังหารทั้งสองเองเพื่อให้หมดกรรม ชาติแรกชัยกับวิชัยเกิดเป็นหิรัณยักษ์กับหิรัณยกศิปุ พระนารายณ์อวตารเป็นหมู และนรสิงห์ไปปราบ ชาติที่สองนายทวารทั้งสองเกิดเป็นทศกัณฑ์กับกุมภกัณฑ์ พระนารายณ์อวตารเป็นพระรามไปปราบ ชาติที่สามนายทวารทั้งสองเกิดเป็นพญากงส์ และศรีศุภปาน พระนารายณ์อวตารเป็นพระกฤษณะไปปราบ
    3. กุมกรรณในรามายณะมีลักษณะคล้ายกุมภกรรณในรามเกียรติ์ คือเป็นคนซื่อสัตย์เที่ยงธรรม แต่ในรามายณะ กุมกรรณได้เคยขอพรพระพรหมให้ตนเองมีสภาพคล้ายพระวิษณุ คือนอนหลับอยู่เป็นเวลานานจึงตื่นเพียงวันเดียว และหยั่งรู้ความเป็นไปของโลกในการนอนหลับนั้น ดังนั้นเมื่อทศกัณฑ์ปลุกกุมภกรรณให้ไปรบกับพระนารายณ์นั้น เขาย่อมรู้ว่าพระรามนั้นที่แท้คือพระวิษณุและเขาไม่มีทางรบชนะเด็ดขาด แต่ด้วยหน้าที่ของการเป็นทหาร กุมภกรรณยังคงตัดสินใจไปรบโดยทูลทศกัณฑ์ว่า ถ้าตนตายในการรบก็ขอให้ทศกัณฑ์ยอมแพ้เสีย เพราะถ้าตนรบชนะไม่ได้ก็ย่อมไม่มีใครในลงการบชนะพระรามได้
    4. ในรามายณะไม่มีตัวละครหลายตัวที่รามเกียรติ์แต่งเพิ่มขึ้นมา เช่น ท้าวจักรวรรดิ ท้าวสหัสเดชะ ท้าวมหาชมพู และมีตัวละครหลายตัวที่ถูกรวมเป็นตัวเดียว เช่น สุกรสารในรามเกียรติ์ มาจากสายลับของกรุงลงกาสองคนชื่อสุก กับ สรณะ
    [แก้] ดูเพิ่ม

    [แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

    [​IMG]

    คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
    รามายณะ
     
  3. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    रामायण

    From Wikisource

    Jump to: navigation, search
    <!-- start content -->


    वाल्मीकि रामयणग्रन्थस्य काण्डसूचि



    [edit] संबंधित कड़ियाँ

    [edit] बाहरी कडियाँ

    <!-- NewPP limit reportPreprocessor node count: 9/1000000Post-expand include size: 0/2048000 bytesTemplate argument size: 0/2048000 bytesExpensive parser function count: 0/500--><!-- Saved in parser cache with key sourceswiki:pcache:idhash:26057-0!1!0!!en!2 and timestamp 20100724152256 -->Retrieved from "http://wikisource.org/wiki/%E0%A4%B0%E0%A4%BE%E0%A4%AE%E0%A4%BE%E0%A4%AF%E0%A4%A3"
    Categories: संस्कृत | Sanskrit | काव्य | Hinduism
     
  4. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    จาก หนังสือ ...อุปกรณ์รามเกียรติ์ ภาคหนึ่ง ตอนต้น โดย เสฐียรโกเศศ ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ โรงพิมพ์ไทยเขษม

    อุปกรณ์รามเกียรติ์ - ตู้หนังสือเรือนไทย

    เขียนไว้ว่า...

    คำปรารภ

    ในพระราชนิพนธ์บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ มีพระราชปรารภไว้ตอนหนึ่งว่า “เรื่องรามเกียรติ์เป็นเรื่องราวสำคัญที่ชาวไทยเรารู้จักกันดีอย่างซึมซาบก็จริงอยู่ แต่มีน้อยตัวนัก ที่จะทราบว่ามีมูลมาจากไหน”
    ข้อนี้เป็นความจริงแท้ เพราะเรื่องละครต่าง ๆ เช่นเรื่อง จันทโครบ พระรถเมรี ย่อมเข้าใจกันทั้วไปเป็นสามัญว่า เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นในเมืองไทยนี้เอง พระราชนิพนธ์รามเกียรติ์อยู่ในประเภทเรื่องละคร ก็คงเข้าใจรวม ๆ ว่าท่านประดิษฐ์ขึ้น บางพวกเห็นเอาว่าเป็นเรื่องราวป้วนเปี้ยนอยู่ในสยามนี้ เพราะมีบึงพระราม ด่านหนุมาน ห้วยสุครีพ ตำบลพรหมาสตร์ ทะเลชุบศร หนองสีดา เป็นต้น อย่างดีขึ้นไปกว่านี้ ก็คะเนเพียงว่าคงเป็นเรื่องมาจากอินเดีย เพราะกล่าวถึงพระอิศวร และพระนารายณ์อวตารในลัทธิพราหมณ์ แล้วลงเอาว่าคงเหมือนกับของอินเดียตลอดเรื่อง เลยไม่มีใครเอาใจใส่ที่จะค้นคว้าหาความจริงยิ่งกว่านี้ ด้วยเหตุที่ท่านผู้รู้ของเราที่สามารถก็ไม่นิยมลัทธิไสยศาสตร์ เห็นว่ารามเกียรติ์แสดงมหิทธานุภาพ เหาะเหิร เดิรอากาศ ตายแล้วกลับเป็นขึ้นมาอีก ฤษีชีไพรออกบวชบำเพ็ญพรตจนมีตบะเดชะแก่กล้าแล้ว ก็ใช้ตบะเดชะนั้นเอง ชุบสตรีขึ้นเป็นเมีย เหลวใหลหาชิ้นดีอะไรมิได้ เสียเวลาที่จะไปหาเลือดกะปู

    ..................

    ที่มาแห่งรามเกียรติ์

    อันบ่อเกิดแห่งเรื่องรามเกียรติ์นั้น ย่อมทราบในขณะนี้แล้วว่า ทีแรกออกจากคัมภีร์รามายณะ ภาษาสํสกฤต. คำ “รามายณะ” แปลความว่าเรื่องพระรามและกล่าวกันว่า ฤษีชื่อ วาลมีกิ เป็นผู้แต่งไว้ช้านานประมาณตั้งสองพันปีกว่าแล้ว.

    ..............

    สมัยรจนารามายณะ

    ในรามายณะเอง มีข้อความอ้างไว้ว่าฤษีวาลมีกิแต่งไว้ ในสมัยพระรามยังมีพระชนม์อยู่ ซึ่งเป็นเวลาตามที่กล่าวในนั้น ว่าล่วงมานมนานนับได้หลายหมื่นปี ข้อเท็จจริงนี้เป็นอันระงับได้ นักปราชญ์ผู้สนใจในอายะรามายณะ พยายามค้นหาหลักฐานประกอบการพิจารณา แล้วลงความเห็นตามที่คิดว่ายุติด้วยเหตุผล แต่ต่างคนต่างยุติความเห็นจึ่งต่างกันเป็นสองพวก
    <DL><DT>(ก) รามายณะแต่งก่อนพุทธกาล </DT></DL><DL><DD>พวกหนึ่ง เห็นว่าเนื้อเรื่องของรามายณะที่แท้จริงคงจะได้รจนาสำเร็จรูปแล้ว เป็นเวลาก่อนพุทธกาล อ้างหลักฐานว่า <DL><DD>๑ . กรุงปาฏลิบุตร ตั้งเป็นราชธานีขึ้นในราวพุทธศก ๑๔๓ สมัยพระเจ้ากาลาโศก ในรามายณะ วาลมีกิ กล่าวถึงเมืองต่าง ๆ ทางภาคตะวันออกมัธยมประเทศ ว่ามีเมืองโกสัมพี เมืองกานยกุพชะ และเมืองกามบิลย์ เป็นต้น เพื่อจะแสดงเกียรติคุณแห่งรามายณะให้เห็นว่า ได้แผ่ไพศาลไปแดนไกลจากแคว้นโกศลอันเป็นที่กำเหนิด, แต่ไม่กล่าวถึงกรุงปาฏลิบุตร ซึ่งเป็นเมืองสำคัญในสมัยต่อพุทธกาลมาเสียเลย, จึ่งต้องสันนิษฐานว่า เมื่อวาลมีกิรจนารามายณะ คงเป็นสมัยก่อนสร้างกรุงปาฎลิบุตร เพราะถ้ามีกรุงปาฎลิบุตรอยู่แล้ว เหตุไฉนจะขาดชื่อกรุงสำคัญไป. </DD><DD>๒ . ราชธานีแคว้นโกศล ในรามายณะวาลมีกิ เป็นกรุงอโยธยาตลอดไป ส่วนที่ปรากฎในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ชินะศาสนา และในหนังสือชาติกรีก แต่งไว้ ว่าราชธานีแห่งแคว้นโกศล ชื่อ กรุงสาเกต อีกประการหนึ่ง ในรามายณะวาลมีกิ ตอนท้ายเรื่องกล่าวว่า พระลพ โอรสพระราม ตั้งราชธานีที่กรุงสาวัตถี เพราะฉะนั้น ในชั้นเดิม เมื่อวาลมีกิรจนารามายณะขึ้นนั้น กรุงอโยธยา ครั้งโบราณคงเป็นเมืองสำคัญแห่งหนึ่งในแควันโกศล ยังไม่ทันเป็นเมืองร้างอย่างที่เป็นอยู่ในกาลต่อมา และชื่อใหม่ของอโยธยาที่เรียกว่าสาเกตเล่าไม่ปรากฏ เหตุฉะนี้ กรุงอโยธยาคงมีชื่ออยู่ก่อนสมัยที่ย้ายราชธานีแห่งแคว้นโกศล ไปตั้งที่กรุงสาวัตถี.
    (แคว้นโกศล สมัยพุทธกาลแบ่งเป็นสองแคว้นเหนือเรียกว่า อุตตระโกศล ตั้งราชธานีที่กรุงสาวัตถี ปัจจุบันเรียกว่า สะเหต มะเหต Sahet Mahet นัยว่าเพี้ยนมาจากคำ มหาเสฏฐี คือ อนาถบิณฑิก แคว้นใต้ เรียกว่า ทักษิณโกศล มีราชธานี คือ อโยธยา หรือสาเกต ปัจจุบันเรียกว่า โออุธ หรือ อะอุธ (Oudh, Oude หรือ Audh ) ซึ่งเพี้ยนมาจากอโยธยานั่นเอง แคว้นใต้นี้พระกุศโอรสพระรามได้ครอบครองต่อมา ตั้งราชธานีที่เมือง กุศาวดี – เรื่องชื่อเมืองในอินเดีย สมัยโบราณยุตติให้แน่นอนไม่สู้จะได้นัก) </DD><DD>๓ . ในรามายณะวาลมีกิ ฉบับเก่าเล่มต้น กล่าวว่า เมืองมิถิลา และเมืองวิศาลา เป็นเมืองแฝด แต่มีผู้ปกครองกันต่างหาก สองเมืองนี้ สมัยพุทธกาลรวมเป็นเมืองเดียวกัน เรียกว่าไพศาลี ซึ่งในสมัยนั้นปกครองกันเอง ทั้งปรากฏว่า ลักษณะการปกครองตามที่แสดงไว้ในรามายณะ ก็เป็นชะนิดอย่าง “พ่อปกครองลูก” เพราะพระราชาธิบดีองค์หนึ่ง ก็มีอาณาเขตต์เพียงเล็กน้อย ไม่ปรากฏว่ากว้างใหญ่ไพศาลหรือว่ามีเมืองออก อย่างชนิด ร้อยเอ็ดเจ็ดพระนคร เหมือนในสมัยรุ่นหลัง </DD><DD>๔ . สมัยต้นพุทธกาล พระวิชัยไปตีเกาะลังกา (เรื่องในหนังสือมหาวงศ์เล่ม ๑ วิชยาภิเษกบริจเฉท ๗) ซึ่งในสมัยนั้นหรือเหนือขึ้นไป ประชาชนในมัธยมประเทศเข้าใจกันว่า เกาะลงกา เป็นที่อยู่ของพวกยักษ์รากษส รามายณะมิได้กล่าวถึงเรื่องพระวิชัยไปตีเกาะลงกา, ก็แสดงอยู่ว่า เป็นเรื่องแต่งขึ้นในสมัยก่อนพุทธกาล </DD><DD>๕ . ประเทศอินเดียตอนใต้ ถัดเทือกเขาวินธัย คือ ตอนที่ต่อกับมัธยมประเทศลงไปได้ เป็นป่าดงพงทึบติดต่อกันเป็นพืด ย่อมเป็นที่อยู่อาศัยของชนชาติชาวป่า ชาวเขา ซึ่งเป็นเจ้าถิ่นพื้นเมืองเดิม และถือกันว่าชนชาติเหล่านั้น มีลักษณะเป็นลิงเป็นหมี. ราวต้นพุทธกาลชาติอริยกะยกไปตั้งภูมิลำเนาทางภาคใต้ของอินเดีย อยู่บนฝั่งแม่น้ำโคทาวรี และแม่น้ำกิสนา (เพี้ยนมาจากกฤษณา) อยู่แล้ว จนมีอาณาเขตต์ขนาดใหญ่ เช่น ราชอาณาจักร อันธระ ซึ่งตั้งอยู่บนระวางแม่น้ำทั้งสองนี้) เป็นต้น นี่ก็แสดงว่า รามายณะตามรูปของเดิม กล่าวถึงความเป็นไปในดินแดนภาคใต้นี้ สมัยที่ชาติอริยกะ ยังไม่ได้แผ่อำนาจลงไปถึง. นอกจากนี้ ภาษาและลักษณะวิธีราจนาตามที่มีอยู่ในรามายณะวลามีกิก็เป็นชนิดเก่าแก่มาก ส่อให้เห็นว่ารามายณะเป็นเรื่องที่รจนาไว้ก่อนพุทธกาล. แต่ยอมว่า มีบางตอนแต่งเติมขึ้นใหม่ภายหลัง ในสมัยพุทธศก ราวสองร้อยปี </DD></DL></DD></DL><DL><DT>(ข) รามายณะแต่งภายหลังพุทธกาล </DT></DL><DL><DD>ตามความเห็นดั่งประมวลมาไว้ข้างต้นนี้ ดูก็มีเหตุผลน่าฟังอยู่ หากจะมีความเห็นสอดเข้ามาว่า ถ้าจะเอาเรื่องที่มีมาแล้วแต่ปรัมปรา รวบรวมร้อยกรองขึ้นในสมัยภายหลังพุทธกาล ก็ไม่มีเหตุจำเป็นอย่างไรจะต้องเอาชื่อเมืองใหม่ ๆ สมัยพุทธกาลมาเป็นเมืองในเรื่อง จะหยิบเอาชื่อเมืองซึ่งเก่ากว่านั้นมาใช้จะมิดีกว่าหรือ จะได้ทำให้เห็นเป็นเรื่องเก่าจริงจังขึ้น ที่รามายณะไม่กล่าวถึงกรุงปาฏลิบุตร เป็นราชธานีที่สถิตของพระเจ้าอโศกผู้เป็นจักรพรรดิราชาชธิราช เกี่ยวเป็นองค์อุปถัมภกในพระพุทธศาสนา, ดูก็ยิ่งไม่จำเป็นแท้ ที่ผู้แต่งเรื่องรามายณะซึ่งถือลัทธิพราหมณ์ จะเอามากล่าวอ้าง ให้เป็นการไม่ถูกอัธยาศัยแก่ประชาชนในลัทธินั้น. </DD><DD>อย่างไรก็ดี นักปราชญ์อีกพวกหนึ่ง มีความเห็นแย้งต่อเหตุผลข้างต้นนี้ ว่ารามายณะน่าจะได้แต่งขึ้น ในระยะยุคเดียวกันกับในรัชชสมัยพระเจ้ากาลาโศก ผู้เป็นราชูปถัมภกในพระพุทธศาสนา คราวชุมนุมยกทุติยสังคายนา คือเมื่อพุทธศกล่วงแล้วราวร้อยปีเศษ ศาสตราจารย์ กีถ (ในหนังสือว่าด้วยเรื่องอายุของรามายณะ) กล่าวว่า มหากาพย์อย่างรามายณะ กวีคงจะได้ร้อยกรองขึ้นแล้ว ก่อนรัชชสมัย พระเจ้าอโศกมหาราชราวร้อยปี ใช้ภาษาวรรณคดีของชนชาตินักรบ, มีเหตุผลที่ปาณินิ (นักปราชญ์อักษรศาสตร์ผู้แต่งตำราไวยากรณ์ภาษาส°สกฤต เป็นตำราฉบับเก่าที่สุด มีอายุอยู่ในสมัยพุทธศกสองร้อยปีเศษ) ไม่กล่าวถึงชื่อบุทคลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในรามายณะ, แต่ว่าอ้างชื่อบุทคล ที่มีอยู่ในมหาภารตะ ถ้ารามายณะซึ่งเป็นคัมภีร์สำคัญมีอยู่แล้วในสมัยนั้นไซร้, ที่ปาณินิจะผ่านไปเสียไม่อ้างถึงบ้างดูกระไรอยู่ นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ กีถ ยังอ้างเหตุผลทางอักษรศาสตร์แย้งอีกหลายประการ. </DD></DL>เพราะฉะนั้น พอจะประมวลข้อสันนิษฐานอายุของรามายณะ ลงยุตติความเห็นในข้อที่แต่งขึ้นเมื่อไรได้ว่า “ราวปลายพุทธกาล ฤษีวาลมีกิรจนารามายณะขึ้นไว้ มีหมดด้วยกันห้ากัณฑ์. ส่วนอีกสองกัณฑ์ คือกัณฑ์ต้นกับกัณฑ์แถม เป็นของแต่งขึ้นภายหลัง. รามายณะของเดิม ตัวพระรามเพียงเป็นวีรบุรุษมนุษย์สามัญ ยังไม่เป็นทิพยมนุษย์ ที่ว่าพระวิษณุอวตารมา ............. หนังสือรามายณะกัณฑ์ต้น (ซึ่งกล่าวเรื่องพระรามยังเยาว์วัย) และกัณฑ์แถม ดูเหมือนจะได้เพิ่มขึ้นในยุคระวาง พ.ศ. ๒๒๐ – ๘๖๐ จึ่งเลยเกิดมีเรื่องขึ้นว่า “พระวิษณุอวตารมา” (ลัทธิของเพื่อนภาค ๒).

    .................

    ผู้มีปัญญา ทั้งหลายพิจารณาเอาเองเถิด แล้วช่วยผมคิดทีครับว่า

    "ตกลงรามเกียรติ์ ใครลอกใคร"
     
  5. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    จะของใครไม่สำคัญเท่าข้อสังเกตที่ว่า GREAT HERO ของมนุษย์เท่าที่เห็นก็
    -เจ้าคิดเจ้าแค้น
    -เข่นฆ่ากันให้ตายวายวอด
    -กามตัณหาหน้ามืด จนพาคนเป็นแสนๆ เข้าสู่สงครามเพื่อพิสูจน์EGOของตัวเอง
    ทั้ง Lliad มหาภารตยุทธ รามายณะ e.t.c.
    การฆ่ากันมันพิสูจน์อะไรได้
    คนที่ไปฆ่าคนอื่นสมควรได้รับการยกย่องหรือ
    เอาไปคิดกันเล่นๆ
     
  6. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,679
    ค่าพลัง:
    +51,925
    *** โอ้...มนุษย์ ****

    สองแสนล้านปี
    โลกเราเก่าแก่กว่าที่คิด
    พุทธศาสนาเกิดขึ้นมาแล้วทั่วโลก
    พระพุทธเจ้าทีปังกร เกิดขึ้นที่แอฟริกา
    ภัยพิบัติล้างโลก เกิดมาหลายยุคสมัย
    เหตุการณ์เรื่องราวของคนในโลก ก็เกิดซ้ำๆในอดีต
    เพราะการเวียนว่ายตายเกิด ผลัดกันดีผลัดกันชั่ว
    ภาษาสันสฤต เป็นภาษาโบราณเก่าแก่
    ซากโบราณสถาน ที่ตั้งใจสร้างด้วยหินให้ถาวร
    เป็นเรื่องราวศาสนา ก็ไม่มีใครรู้เรื่องสามารถสานต่อเรื่องราวได้
    ทั้งหมดเกี่ยวข้องกับ พุทธศาสนาในแต่ละยุค
    แต่คนยุคนี้ เชื่อความเห็นตนเอง
    เห็นว่า นิทานโบราณเป็นเรื่องแต่งเพื่อความบันเทิง
    เขามองไม่เห็นความจริงในแก่นสาร เนื้อหานิทานโบราณ

    สัจจะ เป็นคำสอนที่ให้ปลดนิสัยตนเอง
    เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ในอดีตทั้งหมด
    โลกุตตระ เป็นผู้ส่งมอบสัจจะธรรม สัจจะปฏิบัติ
    ให้กับผู้มาเป็นพระพุทธเจ้า
    หนุมาน เป็นตัวแทนสัจจะ นำสัจจะมาส่ง
    ฤษี เป็นผู้รอบรู้เรื่องราวทั้งหมดในโลก
    ท่านว่า ใครเป็นใคร ใครเป็นอะไร
    ก็ให้ใช้ปัญญาพิจารณา

    สำคัญที่สุดอยู่ที่
    การกระทำเยี่ยงอย่างพระพุทธเจ้า คือ สัจจะ

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  7. รักดีทำดี

    รักดีทำดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +238
    ไม่ว่าใครลอกใครไม่สำคัญหรอก รู้แต่ว่าโดยส่วนตัวแล้วชอบมากเรื่องนี้

    ----------------------------
    มารไม่มี บารมีก็สร้างได้
     
  8. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    #7 "ไม่ว่าใครลอกใครไม่สำคัญหรอก รู้แต่ว่าโดยส่วนตัวแล้วชอบมากเรื่องนี้ "

    จริงครับ ทางโลกแล้ว ใครจะลอกใครไม่สำคัญ แต่สำหรับทางธรรม คือ ความถูกต้องแล้ว.. "ผมยอมรับความเป็นจริงไม่ได<WBR>้ว่าเรารับจากเขามาครับ เพราะผมคิดว่า เขาต่างหาก เอาเค้าเรื่องประวัติพระพุท<WBR>ธเจ้า ไปปู้ยี่ปู้ยำ และนี่เป็นเรื่องสำคัญที่สุ<WBR>ดที่ยิ่งยอมรับไม่ได้" ครับผม

     
  9. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    พระพุทธองค์ตรัสว่า

    จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต.

    พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต พึงสละ ทั้งทรัพย์ อวัยวะ และ ชีวิต เพื่อรักษาธรรม<SMALL><ABBR class=timestamp title="24 สิงหาคม 2010 เวลา 11:14 น." data-date="Mon, 23 Aug 2010 21:14:37 -0700"></ABBR></SMALL>
     
  10. lucky-hunter

    lucky-hunter สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2006
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +11
    พุทธก็คือพุทธ ไม่ใช่ฮินดู เข้าสู้เราไม่ได้
    ก็เลยบอกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของเขา แต่
    ความจริงมีที่มาที่ไปอีกเยอะรอหาอ่านดู

    เข้าใจว่าครั้งหนึ่งจะมีการจัดการประชุมของ
    ศาสนาฮินดูในประเทศไทย แต่ทางเราไม่ยอม
    ก็เพราะเหตุข้างต้นนั่นแหละ (เรื่องนี้ได้ยินมานะ)
     
  11. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    เรื่องราวในรามเกียรติ์ เกิดขึ้น บนพื้นแผ่นดินไทย หรือ แผ่นดินอินเดีย?

    มาแกะรอย จาก ตำนาน นิทาน ที่อาจไม่มีอ่านที่ อินเดียปัจจุบัน แต่สืบทอดอยู่ใน อินเดียโบราณซึ่งเป็นแผ่นดินไทยปัจจุบัน (อ่านแล้วอย่างงครับ เพราะในแผนที่โบราณ อินเดียมี ๒ ที่)



    ตำนานนางกวัก
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>


    <O:p></O:p>

    <O:p></O:p>
    ครั้งนั้นมีอสูรตนหนึ่งชื่อ”ท้าวกกขนาก”ซึ่งเป็นเพื่อนกับปู่เจ้าเขาเขียว ยักษ์ตนนี้ตั้งตนเป็นใหญ่เที่ยวไล่จับมนุษย์กินเป็นอาหาร ร้อนถึงพระรามต้องลงมาปราบ พระองค์ทรงใช้เขากระต่ายมาทำเป็นคันศร ใช้หนวดเต่ามาขึงเป็นสายและใช้หญ้าปล้องทำเป็นลูกศรแผลงไปฆ่าท้าวกกขนาก ฤทธิ์ศรทำให้พญายักษ์กระเด็นจากกรุงลงกาในชมพูทวีปมาตกบริเวณเขาวงพระจันทร์ จังหวัดลพบุรี แต่ยักษ์ตนนี้ยังไม่ตายเพียงแต่สลบไปเพราะฤทธิ์ศรของพระรามเท่านั้น พระรามจึงทรงสาปให้ศรดังกล่าวปักอกตรึงยักษ์ตรงนี้ไว้บนยอดเขาชั่วกัลป์ จะได้ไม่ไปทำอันตรายใครๆ ได้ อีก ศรที่ปักอกท้าวกกขนากนั้นจะคลายความแน่นลงทุกๆ สามปี และถ้าปล่อยให้ลูกศรหลุดจากอกได้เมื่อท้าวกกขนากก็จะกลับฟื้นคืนชีวิต ลุกขึ้นมาจับคนกินหมดทั้งเมือง นอกจากนี้ยังทรงสาปต่ออีกว่า เมื่อใดที่บุตรีของท้าวกกขนากซึ่งมีนามว่านางนงประจันต์ หรือนางพระจันทร์ นำใยบัวมาทอเป็นจีวรจนสำเร็จเป็นผืน เพื่อนำไปถวายแด่พระศรีอาริยะเมตไตรย ที่จะทรงเสด็จมาตรัสรู้ในกาลข้างหน้า ท้าวกกขนากจึงจะพ้นคำสาป ดังนั้นบุตรสาวของงท้าวกกขนาก จึงต้องอยู่คอยปรนนิบัติดูแลพระบิดา และพยายามทอจีวรด้วยใยบัว เพื่อให้เสร็จทันถวายพระศรีอาริยะเมตไตรย ที่เสด็จมาตรัสรู้ในอนาคตกาล <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    เมื่อบุตรสาวของท้าวกกขนากมาคอยปรนนิบัติพระบิดา และทอจีวรด้วยใยบัวอยู่ที่เขาพระสุเมรุนั้น ทำให้ฐานะความเป็นอยู่ของนางลำบากยากจนขัดสนยิ่งนัก ฝ่ายปู่เจ้าเขาเขียวหรือ ท้าวพนัสบดี ซึ่งเป็นเทพเจ้าชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ คือสวรรค์ชั้นที่หนึ่ง มีตำแหน่งเป็น <O:p></O:p>
    จ้าวแห่งป่าเขาลำเนาไพรทั้งปวงเมื่อทราบเรื่องจึงเกิดความสงสาร ได้ส่งแม่นางกวักบุตรสาวมาอยู่เป็นเพื่อน ด้วยบุญฤทธิ์ของนางกวัก จึงบันดาลให้พ่อค้าวานิชและผู้คน เกิดความเมตตาสงสาร พากับเอาทรัพย์สินเงินทอง พร้อมทั้งเครื่องอุปโภค บริโภคมาสู่ที่พักของบุตรีท้าวกกขนากเป็นจำนวนมาก ทำให้ความเป็นอยู่ของนางยักษ์มีความสมบูรณ์พูนสุขและเจริญด้วยลาภทั้งปวง
    <O:p></O:p>

    อีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ท้าวกกขนากหลุดพ้นจากอำนาจของศรของพระรามนั้นมาจากศรที่ปักอกท้าวกกขนากเองจะคลายความแน่นลงทุกๆ สามปี ด้วยความรอบคอบพระรามจึงทรงสั่งให้ไก่แก้วมาคอยเฝ้าท้าวกกขนากไว้ ถ้าเห็นศรเขยื้อนขึ้นเมื่อใด ให้ไก่แก้วขันขึ้นเป็นสัญญาณให้หนุมานได้ยิน หนุมานจะเหาะมาตอกศรกลับตรึงให้แน่นตามเดิม ตามตำนานยังเล่าอีกว่าขณะที่หนุมานตอกศรจะเกิดเป็นประกายไฟกระเด็นลุกไปเผาผลาญบ้านเรือนของชาวเมืองลพบุรี เชื่อกันว่าด้วยเหตุนี้เองจะทำให้เกิดไฟไหม้ ครั้งใหญ่ขึ้นในจังหวัดลพบุรีทุกๆ สามปี นอกจากนี้ศรพระรามที่ปักอกท้าวกกขนาก จะหลุดถอนออกได้โดยง่ายถ้าถูกราดด้วยน้ำส้มสายชู ทำให้ชาวเมืองลพบุรีในสมัยก่อนไม่มีใครกล้านำน้ำส้มสายชูเข้าเมืองเพราะเกรงว่าบุตรีของท้าวกกขนากจะแอบมาขอซื้อไปช่วยบิดาของนาง <O:p></O:p>
    ลักษณะของแม่นางกวัก เป็นรูปศักดิ์สิทธิ์ที่แกะจากปลายจะงอยของงวงช้าง ซึ่งค่อนข้างหายากในปัจจุบันนี้ จะเห็นกันก็เป็นแต่เพียงรูปปั้นผู้หญิงนั่งพับเพียบ นุ่งซิ่น และห่มผ้าสไบเฉียงแบบคนโบราณ มือซ้ายวางข้างลำตัว หรือถือถุงเงิน มือขวายกขึ้นในลักษณะกวัก ปลายนิ้วงอเข้าหาลำตัว “การยกมือขึ้นในลักษณะกวัก ถ้ามือยกสูงระดับปาก มีความหมายว่า กินไม่หมด หากว่ามือที่กวักอยู่ต่ำกว่าระดับปาก เขาถือว่ากินไม่พอ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2010
  12. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ตำนาน เขาวงพระจันทร์ อีกสำนวนหนึ่ง

    <TABLE border=0 width=400><TBODY><TR><TD width=200>ตำนานยังอีกหนึ่ง</TD><TD width=200>จะกล่าวถึงซึ่งแพร่หลาย </TD></TR><TR><TD> ฝากมารุ่นตายาย</TD><TD>อธิบายให้ฟังกัน </TD></TR><TR><TD> ลูกท้าวอุณาราช</TD><TD>มีบทบาทตามความมั่น </TD></TR><TR><TD> นามนาง " นงประจันทร์ " </TD><TD>สำคัญมั่นต่อบิดา </TD></TR><TR><TD> สืบเนื่องอุณาราช </TD><TD>ผู้อกอาจเจ้ายักษา </TD></TR><TR><TD> สู้รบพระรามา</TD><TD>จนเสียท่าแก่พระองค์ </TD></TR><TR><TD> ด้วยศรอันศักดิ์สิทธิ์</TD><TD>อิทธิฤทธิ์นั้นสูงส่ง </TD></TR><TR><TD> ศรนั้นปักลง</TD><TD>อย่างมั่งคงตรงอุรา </TD></TR><TR><TD> เขากระต่ายคือคันศร</TD><TD>ลูกศรปักยักษา </TD></TR><TR><TD> ทำด้วยต้นกกนา</TD><TD>มากฤทธาคำสาปมี </TD></TR><TR><TD> ศักดาแห่งศรศักดิ์</TD><TD>ได้ปักพาตัวยักษี </TD></TR><TR><TD> ตรึงแน่นเขาทันที</TD><TD>ประชาชียังกล่าวขาน </TD></TR><TR><TD> เรียกเป็นท้าวกกขนาก</TD><TD>ให้ตกยากทุกข์สังขาร </TD></TR><TR><TD> พระรามสาปชั่วกาล</TD><TD>ระพระศรีอารย์มาโปรดคน </TD></TR><TR><TD> ศรนี้จะหลุดพลัน </TD><TD> นงประจันทร์ช่วยให้พ้น</TD></TR><TR><TD> น้ำส้มสายชูปน</TD><TD>จะแก้มนต์พระรามา </TD></TR><TR><TD> น้ำส้มไม่สมมาด</TD><TD> หมดตลาดสุดค้นหา</TD></TR><TR><TD> พระรามส่งไก่มา</TD><TD>บอกเวลาสัญญาณเตือน </TD></TR><TR><TD> สามครั้งไก่แก้วขัน </TD><TD>ยามศรนั้นปักเขยื้อน </TD></TR><TR><TD> หนุมานจะมาเยือน</TD><TD>ไม่บิดเบือนตอกศรครัน </TD></TR><TR><TD> แรงฆ้อนศรถูกตอก</TD><TD>ประกายออกไฟไหม้นั่น </TD></TR><TR><TD> ชาวเมืองระวังกัน</TD><TD>นงประจันทร์เฝ้าบิดา </TD></TR><TR><TD> จนเกิดเป็นภูเขา</TD><TD>คือเรื่องเล่าคลายกังขา </TD></TR><TR><TD> เรียกขานกาลต่อมา</TD><TD>เขานั้นว่า "วงพระจันทร์ " </TD></TR><TR><TD></TD><TD></TD></TR><TR><TD> </TD><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    อีก สำนวน..จาก http://www.thaisamkok.com/forum/index.php?showtopic=8441

    ได้กล่าวมาแล้วในตอนที่หนึ่งว่าชุมชนโบราณที่อาศัยอยู่ในบริเวณเมืองลพบุรีและบริเวณใกล้เคียง มีความคุ้นเคยกับชาวอินเดียมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์หรือราว 2,000 ปีมาแล้ว นอกจากหลักฐานทางโบราณคดีและหลักฐานทางศิลปกรรมที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียแล้ว ตำนานพื้นบ้านยังสะท้อนให้เห็นถึงความคุ้นเคยกับวรรณกรรมของชาวอินเดีย โดยเฉพาะ "มหากาพย์รามายณะ" หรือที่ชาวไทยเรียกว่า "รามเกียรติ์"

    นอกจากตำนานเรื่องเขาทับควาย ที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับควายป่าทรพีวัดรอยเท้าพ่อ (ทรพา) แล้ว ยังมีตำนานพื้นบ้านอีกหลายเรื่องที่นำเอาเนื้อเรื่องในรามเกียรติ์มาสอดแทรกไว้อย่างสมจริงสมจัง โดยเฉพาะตำนานเรื่อง "หนุมานครองเมืองลพบุรี" นับว่าเป็นตำนานที่มีความน่าเชื่อถือมาก เนื่องจากเมืองลพบุรีเป็นเมืองที่มีฝูงลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จนได้รับนามว่าเป็น "เมืองลูกหลานหนุมาน"

    ตามตำนานกล่าวว่า ด้วยความดีความชอบของหนุมานทหารเอกของพระราม จึงได้รับปูนบำเหน็จให้ไปครองเมืองลพบุรี ประกอบกับพระรามมีความประสงค์ที่จำให้หนุมานไปควบคุมท้าวกกขนาก ซึ่งต้องศรติดอยู่กับพื้นถ้ำเขานางพระจันทร์ (เขาวงพระจันทร์) ซึ่งหนุมานต้องมาตอกศรให้ติดแน่นทุก ๆ เดือนดับ (เดือนข้างแรม) เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเทียวไปเทียวมาให้ลำบาก ท้าวกกขนากนี้เป็นยักษ์ซึ่งเป็นวงศาคณาญาติของทศกัณฑ์ และเป็นยักษ์ที่มีฤทธิ์มาก พระรามแผลงศรมาต้องท้าวกกขนากหลายครั้งแล้ว แต่ไม่ระคายผิวของท้าวกกขนากเลย จึงได้ถามพิเภกว่าจะทำประการใดดี พิเภกจึงกราบทูลวาให้เอาต้นกก (ขนาก) ยิงแทนศร จึงจะได้ผลดี พระรามจึงใช้ต้นกกแทนศร แผลงถูกอกของท้าวกกขนากล้มลง ศรได้ออกรากติดกับพื้นหิน แต่มีคำสาปไว้ว่าเมื่อไก่แก้วขันหนหนึ่งศรนั้นก็จะเขยื้อนออกได้ หรือสิ่งที่จะแก้อาถรรพ์ของศรต้นกกก็คือ "น้ำส้มสายชู" ด้วยเหตุนี้ในช่วงสมัยหนึ่งที่จังหวัดลพบุรีจึงไม่มีน้ำส้มสายชูขาย เพราะเกรงว่านางศรีประจันทร์ ธิดาสาวของท้าวกกขนากจะมาซื้อไปราดศร หากท้าวกกขนากลุกขึ้นมาได้จะกินชาวเมืองลพบุรีเสียหมด นับว่าตำนานพื้นบ้านมีอิทธิพลต่อชุมชนไม่น้อยเลยทีเดียว

    สถานที่สำคัญ ๆ อีกหลายแห่งในเมืองลพบุรีล้วนมีตำนานาเล่าขานโดยนำเนื้อเรื่องในรามเกียรติ์มาผูกเป็นนิยายให้สอดคล้องกับเหตุการณ์และสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ เป็นต้นว่าเรื่องดินสอพองอันมีชื่อเสียงของเมืองลพบุรีก็มีตำนานว่า เมื่อครั้งที่หนุมานครองเมืองลพบุรีอยู่นั้น เห็นว่าเมืองลพบุรีนี้รกนัก และเพื่อสะดวกแก่การรักษาเมือง จึงได้เอาหางกวาดให้เตียนทำให้บังเกิดไฟลุกพรึบขึ้นอย่างโชติช่วง ทำอย่างไรไฟก็ไม่ยอมดับ จนดินสุกขาวไปทั้งเมืองกลายเป็นเมืองดินสอพอง เมื่อหนุมานไม่สามารถจะทำให้ไฟที่ลุกไหม้นั้นดับลงได้ จึงขอให้พระรามช่วย พระรามจึงแผลงศรพรหมมาศ มาตกที่ทุ่งนา (บริเวณนี้ต่อมาได้ชื่อว่าตำบลพรหมมาศ) และตำบลทะเลชุบศร ดังนั้นจึงเกิดน้ำท่วมขึ้นเรียกว่า "ทะเลชุบศร" (คือทะเลที่ศรมาตก ไม่ใช่ทะเลที่เอาศรมาชุบ เพราะผู้มีฤทธิ์ขนาดพระรามแล้วไม่ต้องเอาศรมาชุบก็ได้) แต่บางตำนานกล่าวว่า เมื่อพระนารายณ์จะแผลงศรจะต้องมาชุบศรที่นี่เสียก่อน ดูเหมือนชาวเมืองลพบุรีจะเชื่อว่าเป็นทะเลที่พระรามเอาศรมาชุบเสียมากกว่า และเป็นความเชื่อที่มีอิทธิพลต่อชุมชนเป็นอย่างมาก คาดว่าตำนานเรื่องนี้คงจะถือกำเนิดขึ้นในสมัยที่พวกขอมมีอำนาจที่เมืองลพบุรี (สมัยนั้นเรียกว่าเมืองละโว้) เพราะพวกขอมถือกันว่าน้ำในทะเลชุบศรนี้เป็นน้ำที่สะอาดบริสุทธิ์ มักจะใช้ประกอบพิธีทางไสยศาสตร์ และว่ากันว่าเมื่อตอนที่พ่อเมืองละโว้ส่งส่วยนำให้แก่ขอมนั้น ก็ตักน้ำจากทะเลชุบศรนี้เอง

    ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) นั้น ในบริเวณทะเลชุบศรยังมีน้ำขังอยู่ พระองค์ได้รับสั่งให้ทำทำนบขนาดใหญ่เพื่อกั้นน้ำให้ขังอยู่ตลอดปี แล้วให้ต่อท่อน้ำลงมายังสระแก้วแล้วจึงต่อเข้าเมืองลพบุรี นอกจากนี้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชยังเสด็จไปประทับพักร้อนในบริเวณทะเลชุบศรนี้ด้วย โดยรับสั่งให้สร้างพระที่นั่งขึ้นบนเกาะเล็ก ๆ ของทะเลชุบศรนี้และพระราชทานนามว่า "พระที่นั่งไกรสรสีหราช" ซึ่งเรียกกันจนติดปากว่า "พระที่นั่งเย็น"

    ตำนานที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับรามเกียรติ์นั้นมีอีกหลายตำนาน ที่น่าสนใจมีอีกเรื่องหนึ่งคือตำนานเรื่อง "เขาสมอคอน" เขาสมอคอนนี้ตั้งอยู่ในเขตท้องที่อำเภอท่าวุ้ง (อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองลพบุรี) เป็นภูเขาเตี้ย ๆ มีหลายลูกไม่ติดกันเป็นเทือกเดียว และตั้งอยู่กลางทุ่งซึ่งเป็นที่ราบลุ่ม ดังนั้นในฤดูน้ำหลากจะกลายเป็นเกาะกลางน้ำ การเดินทางไปมาสะดวกกว่าฤดูแล้งเพราะมีเรือไปถึงเชิงเขา ซึ่งชาวลพบุรีชอบไปพักผ่อนหย่อนใจในวันหยุด เพราะที่นั่นจะมีถ้ำหลายถ้ำเช่น ถ้ำช้างเผือก ถ้ำตะโก ถ้ำเขาสมอคอน และมีวัด 2-3 วัด และเป็นพื้นที่ที่มีลิงป่าอาศัยอยู่มากมาย เนื่องจากเขาสมอคอนมีความแปลกประหลาด คือมีหลายลูกแต่ไปอยู่กลางที่ราบลุ่ม จึงมีตำนานที่เล่าต่อ ๆ กันมา ซึ่งก็มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับรามเกียรติ์อีกเช่นกัน แต่เล่าแตกต่างกันไป พวกหนึ่งเล่าว่า ครั้งหนึ่งพระรามทรงกริ้วทศกัณฐ์มาก ทรงขว้างจักรจากทะเลชุบศร หวังจะให้ทศกัณฐ์แหลกลาญ แต่เผอิญจักรนั้นได้เฉี่ยวยอดเขาสูงลูกหนึ่ง เศษหินที่ถูกอำนาจจักรกระเด็นไปนั้นก็คือ หมู่เขาสมอคอนนั่นเอง ส่วนยอดเขาที่ถูกเฉี่ยวแหว่งไปนั้น ชาวเมืองต่างพากันเรียกว่าเขาช่องลพ (ปัจจุบันอยู่ในตำบลโคกกระเทียม อำเภอเมือง) ส่วนอีกพวกหนึ่งเล่าว่า เมื่อครั้งพระลักษณ์ต้องหอกโมกศักดิ์ของกุมภกัณฐ์ สิ้นสติสมปดีรอเวลาทิวงคต ถ้าไม่มีใครแก้ให้ฟื้นทันพระอาทิตย์ขึ้น หนุมานทหารเอกของพระรามจึงได้ขันอาสาจะไปหายาวิเศษอันมีชื่อว่า "ต้นสังกรณีตรีชะวา" ที่เขาสรรพยา (ปัจจุบันอยู่ที่จังหวัดชัยนาท) มาฝนทาที่หอกที่ปักอยู่จึงจะหลุด หนุมานไปหาต้นสังกรณีตรีชะวาไม่พบเพราะเป็นเวลามืด เกรงว่าจะรุ่งสางเสียก่อนจึงได้คอนเอาภูเขามาทั้งลูก เผอิญเหาะผ่านมาทางเมืองลพบุรีซึ่งไฟกำลังลุกไหม้ตั้งแต่ครั้งที่หนุมานเอาหางกวาดเมือง แสงสว่างจากไฟทำให้มองเห็นต้นสังกรณีตรีชะวา หนุมานจึงถอนเอาแต่ต้นสังกรณีตรีชะวาไป และทิ้งภูเขาที่คอนมาลงกลางทุ่งทะเลเพลิง ภูเขาที่ทิ้งลงมาได้ถูกไฟเผากลายเป็นหินสีขาวและมีชื่อเรียกว่า "เขาสมอคอน" ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดลพบุรี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2010
  14. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    อีกตำนาน "เขาทับควาย"

    จาก...วรรณกรรมลพบุรี ตอนตำนานเขาทับควาย บ้านหินสองก้อน และบ้านหนองหัวเสือ ) | ThaiGoodView.com Knowledge for Thai Student



    <!--paging_filter-->วรรณกรรมลพบุรี ( ตำนานเขาทับขวาย บ้านหินสองก้อน และบ้านหนองหัวกระบือ )

    [​IMG]
    <TABLE border=0 width=400><TBODY><TR><TD width=200>พันปีที่ล่วงแล้ว </TD><TD width=200>ยังเพริศแพร้วเรื่องเล่าขาน</TD></TR><TR><TD>ลพบุรีมีตำนาน</TD><TD>เคียงคู่บ้านกาลก่อนนา </TD></TR><TR><TD>เดิมลิงอยู่มากมาย</TD><TD>อีกทั้งควายอยู่ในป่า </TD></TR><TR><TD>กระบือทรพา</TD><TD>อยู่หน้าเขาวงพระจันทร์ </TD></TR><TR><TD>ทั้งฝูงเป็นตัวเมีย</TD><TD>ต่างคลอเคลียอย่างสุขสันต์ </TD></TR><TR><TD>ตัวผู้ต้องฆ่าฟัน</TD><TD>คำสาปนั้นบ่งฆ่าตู </TD></TR><TR><TD>กาสีตัวหนึ่งนา</TD><TD>ตกลูกมาเป็นเพศผู้</TD></TR><TR><TD>กลัวพ่อจะล่วงรู้</TD><TD>แอบถ้ำอยู่กู้ชีวี </TD></TR><TR><TD>เลี้ยงลูกจนเติบใหญ่</TD><TD>กำชับไว้มิให้หนี </TD></TR><TR><TD>พ่อเราเฝ้าราวี</TD><TD>เกรงทรพีมีอันตราย </TD></TR><TR><TD>วันหนึ่งออกนอกถำ</TD><TD>ความแค้นนำดังใจหมาย </TD></TR><TR><TD>วัดเท้าเท่าพ่อควาย</TD><TD>แล้วฆ่าตายด้วยฤทธิ์ตน </TD></TR><TR><TD>เกะกะเที่ยวระราน</TD><TD>อันธพาลทุกแห่งหน </TD></TR><TR><TD>ฝูงลิงยิ่งร้อนรน</TD><TD>ผลไม้ตนมันทำลาย </TD></TR><TR><TD>ข่าวรู้ถึงพาลี</TD><TD>พี่สุครีพรับดังหมาย </TD></TR><TR><TD>หวังมาจะฆ่าควาย</TD><TD>ให้มันตายวายชีวี </TD></TR><TR><TD>ก่อนสู้ได้สั่งน้อง</TD><TD>ให้จ้องมองหน้าถ้ำนี้ </TD></TR><TR><TD>เลือดข้นของทรพี</TD><TD>ถ้าเลือดพี่สีจางลง </TD></TR><TR><TD>หากเลือดพี่ไหลมา</TD><TD>ให้น้องยาปิดถ้ำส่ง </TD></TR><TR><TD>ชะรอยกรรมฝนซ้ำลง</TD><TD>เลือดเข้มคงต้องจางไป </TD></TR><TR><TD>สุครีพรีบปิดถ้ำ</TD><TD>ตามน้ำคำพี่สั่งไว้ </TD></TR><TR><TD>พาลีไม่เข้าใจ</TD><TD>ว่าน้องไม่ซื่อต่อตน </TD></TR><TR><TD>ขว้างหัวทรพี </TD><TD>เปิดถำนี้คลายหมองหม่น </TD></TR><TR><TD>หินปิดมืดนม</TD><TD>กระเด็นหล่นตกน้ำไป </TD></TR><TR><TD>ตำบล"ท่าหิน" นี้</TD><TD>ตำนานมีดังคำไข </TD></TR><TR><TD>ส่วนหินกระจายไป</TD><TD>ตกใกล้ไกลไม่อาทร </TD></TR><TR><TD>หินตกนามกล่าวขาน</TD><TD>เรียกว่าบ้านหินสองก้อน </TD></TR><TR><TD>หัวควายไม่อาวรณ์</TD><TD>"อนุสรณ์ " หนองหัวกระบือ </TD></TR><TR><TD>ส่วนถ้ำทรพี</TD><TD>พาลีหมายปิดสิ้นชื่อ </TD></TR><TR><TD>ผู้คนยังร่ำลือ</TD><TD>ถิ่นนี้คือ " เขาทับควาย " </TD></TR><TR><TD></TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,679
    ค่าพลัง:
    +51,925
    *** ดินแดนไทย...ไม่ธรรมดา ****

    มีชื่อภูเขา มีชื่อเกาะ ชื่อตำบล....ตรงกับ ตำนานนิทานโบราณ
    นิทานตำนานบางเรื่อง... มีชื่อเขา ชื่อเกาะ ชื่อตำบล ครอบคลุมไปทั่วดินแดน
    ชื่อต่างๆ มีมานานมาก....มากจนไม่รู้ว่า ใครเป็นคนตั้งชื่อ เรียกชื่อคนแรก
    เราพิจารณาแล้ว...นิทาน ตำนาน เรื่องเล่าสืบต่อกันมา
    มีแก่นสารจาก....เรื่องราวแต่ละชาติของผู้มาเป็นพระพุทธเจ้า
    เรื่องที่ดี...เราก็อยากให้ลูกหลานเหลนโหลน ได้รู้ ได้ยิน ได้ฟัง ได้จดจำ จริงไหม
    เรื่องนิทานตำนานต่างๆ มีเหตุผลด้วย สัจจะธรรม คือ มีผลของกรรมปรากฏปนอยู่ด้วย
    จึงสามารถนำมาเล่าสู่กันฟัง เป็นบทเรียนในการดำเนินชีวิตให้เจริญได้
    คือ คนดบราณเรียนรู้จาก ชีวิตการกระทำของพระพุทธเจ้าในอดีต
    เรียนรู้ถึง การกระทำ สิ่งที่ทำมันไม่ตาย ผลของการกระทำที่ย้อนกลับมา

    นิทานบ้างเรื่อง มีเนื้อหากล่าวถึงช่วงเวลาหลายชั่วคน
    บางเรื่องยาวเป็นพัน เป็นหมื่นปี
    เพราะ ในแต่ละยุคมีผู้ทำได้ บรรลุสัมโพธิญาณ
    รู้เรื่องราวความจริงในอดีต ก็บอกเล่าถ่ายทอดออกมา
    เรื่องเหล่านี้ ก็จะถูกเล่าต่อๆกันถึงลูกถึงหลาน
    นิยายโบราณ นิทานตำนาน ชาดกทั่วไทย ทั่วโลก ถึงได้สอดคล้องใกล้เคียงกัน

    สถานที่บางแห่งในไทย ที่จารึกชาดกไว้หลายคำรบ
    เพราะผู้บรรลุท่านหนึ่ง ย้อนดูรู้อดีตตนได้ จึงให้บรรทึกเรื่องราวตนไว้บนหิน
    เพื่อวันข้างหน้า ท่านมาเห็น จะสามารถปะติดปะต่อเรื่องราวชาติภพในอดีตตนเองได้
    คนผู้นี้ จะมาเป็นคนสำคัญต่อศาสนาพุทธศาสนศาสตร์ของโลก ต่อไป

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  16. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    จริงๆ จะว่า ไปแล้ว ตำนานที่เกี่ยวข้องกับรามเกียรติ์ในแผ่นดินไทย ก็ใชว่า จะมีแต่ ในลพบุรี

    เพราะลงไปทางใต้ ก็มี "ตำนานดินกากกายักษ์" ซึ่ง เป็นมวลสาร ที่นำมาสร้างพระเครื่อง ซึ่งมีอยู่ที่เดียวในโลก คือ ที่ "ยะลา"

    ใครมีตำนาน "ดินกายายักษ์" เต็มๆ เอามาฝากบ้างเน้อ
     
  17. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ไม่มีใครพอมี ตำนาน "ดินกากยายักษ์" บ้างเลยหรือครับ?
     
  18. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    898
    ค่าพลัง:
    +3,580
    ประทับใจทุกบทความ ลึกซึ้ง ขอบพระคุณทุกข้อมูล
     
  19. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +2,040
  20. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    รามเกียรติ์ ตอนศึกไมยราพ จากบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ลักษณะคำประพันธ์ แต่งเป็นกลอนบทละคร<o:p></o:p>
    จุดมุ่งหมายในการแต่ง เพื่อรวบรวมวรรณคดีเก่าตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาไว้มิให้<o:p></o:p>
    สูญหาย<o:p></o:p>
    ที่มาของเรื่อง นำมาจากวรรณคดีเก่าแก่ของอินเดียชื่อ “คัมภีร์รามายณะ”<o:p></o:p>
    เรื่องย่อ<o:p></o:p>
    ไมยราพเจ้าเมืองบาดาล มีกล้องยาวิเศษพร้อมมนต์สะกด เมื่อเป่ายาและร่ายมนต์ก็สามารถสะกดคนให้หลับหมดได้ ไมยราพได้รับบัญชาจากทศกัณฐ์ให้มาช่วยรบกับพระรามก่อนทำศึกกับพระราม ไมยราพฝันเป็นลางว่า มีดาวดวงน้อยเปล่งรัศมีมาบดบังดวงจันทร์ โหรทำนายว่าพระญาติ(ไวยวิก)จะได้ขึ้นครองเมืองแทน ไมยราพจึงหาทางป้องกันมิให้เป็นไปตามคำทำนายโดยการจับไวยวิกและมารดาคือนางพิรากวน(พี่สาวของไมยราพ)ไปขังไว้ ฝ่ายพระรามก็ฝันว่าราหูมาบดบังพระอาทิตย์แล้วจับไปได้ พิเภกทำนายว่าพระรามจะถูกลักพาตัวไปแต่จะรอดกลับมาได้ เมื่อใดที่พระอาทิตย์ขึ้นพระรามจะพ้นเคราะห์ หนุมานจึงพยายามหาทางป้องกันโดยเนรมิตกายให้ใหญ่อมพลับพลาที่ประทับของพระรามเอาไว้ แต่ไมยราพซึ่งปลอมตัวเป็นพลทหารลิงแอบล่วงรู้ความลับนี้ จึงเหาะขึ้นไปบนอากาศกวัดแกว่งกล้องทิพย์ทำให้เกิดความสว่าง พลลิงทั้งหลายที่อยู่ยามเข้าใจว่าเป็นเวลาเช้าแล้วก็พากันละเลยต่อหน้าที่ บ้างก็นอนหลับ บ้างก็หยอกล้อกัน<o:p></o:p>
    ไมยราพจึงย่องเข้าไปเป่ายาสะกดไพร่พลในกองทัพของพระรามจนหลับใหลไปหมด แล้วจึงแบกพระรามพาแทรกแผ่นดินไปยังเมืองบาดาล เมื่อถึงเมืองบาดาลไมยราพสั่งให้นำพระรามไปขังไว้ในกรงเหล็ก และนำไปไว้ยังดงตาลท้ายเมืองบาดาล จัดทหารยักษ์จำนวนโกฏิหนึ่ง( ๑๐ ล้านตน)เฝ้าเอาไว้อย่างแน่นหนา และสั่งให้นางพิรากวนตักน้ำใส่กระทะใหญ่เพื่อเตรียมต้มพระรามกับไวยวิกในวันรุ่งขึ้น ทางกองทัพของพระรามเมื่อทราบว่าพระรามถูกลักพาตัวไปให้หนุมานตามไปช่วยพระรามที่เมืองบาดาล ระหว่างทางหนุมานได้พบกับด่านต่าง ๆ หลายด่าน คือ ด่านกำแพงหินที่มียักษ์รักษานับพัน ด่านช้างตกมัน ด่านภูเขากระทบกันเป็นเปลวไฟ ด่านยุงตัวโตเท่าแม่ไก่ และด่านมัจฉานุ(บุตรของหนุมานกับนางสุพรรณมัจฉา) หนุมานสามารถผ่านด่านต่างๆได้ และได้ขอให้มัจฉานุบอกทางไปยังเมืองบาดาลให้ แต่มัจฉานุนึกถึงพระคุณของไมยราพที่ชุบเลี้ยงตนเป็นบุตรบุญธรรม จึงเลี่ยงบอกทางไปเมืองบาดาลให้หนุมานทราบเป็นความนัยให้หนุมานนึกเดาเอา หนุมานจึงตามไปถึงเมืองบาดาลพบนางพิรากวนออกมาตักน้ำตามคำสั่งของไมยราพ จึงขอให้นางพิรากวนพาเข้าเมืองบาดาลโดยการแปลงเป็นใยบัวติดสใบนางเข้าไป หนุมานค้นหาพระรามจนพบแล้วร่ายมนต์สะกดยักษ์ที่อยู่เวรยามให้หลับหมดพาพระรามออกมาจากเมืองบาดาลและไปฝากเทวดาที่เขาสุรกานต์ให้ช่วยดูแลพระราม ส่วนตนเองก็ย้อนกลับไปสู้กับไมยราพ และฆ่าไมยราพตายในที่สุด<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...