ถ้าคุณไม่สบายใจ กลุ้มใจ ท้อใจ.. นี่คือทางออก

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย aj_kaew8, 10 เมษายน 2006.

  1. aj_kaew8

    aj_kaew8 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2006
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +13
    [​IMG] ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก.wma

    ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

    เปิดกรุที่เมืองสวรรคโลก มีคำกล่าวว่า ผู้ใดมีไว้ประจำบ้านเรือนจะมีอานิสงส์ยิ่งใหญ่กว่าได้สร้างพระเจดีย์ทองคำสูงเทียมเทวโลก และป้องกันภยันตรายต่างๆ ทำมาหากินเจริญฯ แลผู้ใดได้สร้างยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้เป็นธรรมทาน และไว้สวดมนต์สักการะบูชา ผลานิสงส์สุดจะพรรณนาให้ทั่วถึงได้ แลเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่จะมีความสุขสิริสวัสดิ์เจริญต่อไป ทั้งปัจจุบันกาลและอนาคตภายภาคหน้าตลอดบุตรหลานสืบไป ด้วยอำนาจของความเคารพในพระคาถานี้
    ประวัติกล่าวไว้ในต้นฉบับเดิมว่า

    ผู้ใดได้สวดพระพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์นี้ ทุกค่ำ เช้าแล้ว เป็นการบูชารำลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้นั้นจะไม่ตกไปอยู่ในอบายภูมิ แม้ได้บูชาไว้กับบ้านเรือน ก็ป้องกันอันตรายต่างๆได้ จะภาวนาพระคาถาอื่นๆ สัก ๑๐๐ ปี อานิสงส์ก็ไม่สูงเท่าภาวนาพระคาถานี้สักครั้งหนึ่ง ถึงแม้นว่า อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ ที่มีอิทธิฤทธิ์ จะเนรมิตแผ่นอิฐเป็นทองคำ ก่อเป็นพระเจดีย์ สูงตั้งแต่มนุษย์ โลก สูงขึ้นไปถึงพรหมโลก อานิสงส์ ก็ยังไม่เท่าภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้
    ต้นฉบับเดิมเปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก จารเป็นอักษรขอมไว้ในใบลาน โบราณาจารย์จึงได้แปลเป็นอักษรไทย
    หลวงธรรมาธิกรณ์(พระภิกษุแสง)ได้มาแต่ พระแท่นศิลาอาสน์มณฑลพิษณุโลก

    สรรพคุณสุดยอดของพระคาถา

    พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ ถ้าผู้ใดเผยแผ่ แก่ญาติ มิตรสหาย หรือสวดพระคาถานี้ จนครบ ๗ วัน
    หรือ สวดจนครบอายุปัจจุบันของตนเอง จะบังเกิดโชคลาภ ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง จะพ้นเคราะห์ ปราศจาก ทุกข์โศก โรคภัย ไข้เจ็บ และ รอดพ้นจากภัยพิบัติทั้งปวง
    ผู้ใดตั้งจิตเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ วันละ ๓ จบ จะไม่มีบาปกรรม ทำสิ่งใดจะได้สมปรารถนา
    ถ้าสวดวันละ ๗ จบกระดูกจะลอยน้ำได้ (แปลมาจากต้นฉบับเดิม)


    พิธีไหว้พระ และการสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

    ก่อนสวด ควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด นุ่งห่มให้เรียบร้อย นั่งสงบด้วยความสำรวมกาย ใจ ตั้งจิต
    ต่อหน้าพระพุทธรูป ตั้งจิตให้แน่วแน่ เพ่งตรงยังพระพุทธรูป ระลึกถึงพระรัตนตรัย แล้วค่อยกราบ ๓ หน
    สงบจิตระลึกถึง พระคุณ บิดามารดา ซึ่งเป็นพระอรหันต์ของบุตร จากนั้นก็จุดเทียนบูชา ให้จุดเทียนเล่มขวา
    ของพระพุทธรูปก่อน แล้วจุดเทียนเล่มซ้าย จากนั้นก็ จุดธูป ๓ ดอก
    กายสงบนิ่ง ใจนิ่ง ก็เอาจิตนึกมโนภาพ ให้เห็นพระพุทธองค์ ทรงมานั่งเป็นประธาน เบื้องหน้าเรา
    พึงนั่งคุกเข่าประนมมือตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย นมัสการพระรัตนตรัยก่อน นมัสการพระพุทธเจ้า และมนัสการ พระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แล้วจึง เจริญภาวนาพระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

    สิ่งสำคัญ การเจริญภาวนาทุกครั้ง ต้องอยู่ในสถานที่อันสมควร และขอให้ทำจิตตั้งมั่นในบทสวดมนต์
    จะมีเทพยดา อารักษ์ ทั้งหลายมาร่วมอนุโมทนาสาธุการด้วย ขออย่าทำเป็นเล่น จะเกิดโทษแก่ตนเอง
    ขอให้ท่านที่ได้พบเห็นพระคาถานี้ ได้โปรด เผยแพร่ไปทั่ว เวปไซค์ จะเป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่แก่ชีวิตของท่าน
    จนไปถึงผู้อันเป็นที่รักของท่าน.
    เพราะการนั่งสวดพระคาถา ก่อให้เกิดสมาธิ ที่ดี คิดดี จะเป็นกุศลทางจิต แล้วไม่เกิน ๗ วัน ท่านจะรู้สึกเองว่าชีวิตดีขึ้นจริงๆ ทั้งโชคดี และสงบ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติ และเห็นผลมาแล้ว
    ( อกหัก สวด ๗ วัน เลิกทรมารใจเลย โชคร้าย สวด ๙ วัน กลับโชคดี ทันที )

    การจุดเทียน ๒ เล่ม เล่มขวาเบื้องหน้าของเราเป็นเทียนบูชาพระธรรม
    เล่มซ้ายเบื้องหน้าของเราเป็นเทียนบูชาพระวินัย
    ธูป ๓ ดอก หมายถึง ดอกที่ ๑ พระปัญญาคุณ
    ดอกที่ ๒ พระวิสุทธิคุณ
    ดอกที่ ๓ พระมหากรุณาธิคุณ

    ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก(ฉบับเดิม)

    ๑.อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วะตะโส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วะตะ โส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระนะสัมปันโน วะตะ โส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วะตะ โส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วะตะโส ภะคะวา

    อะระหันตัง สะระนัง คัจฉามิ
    อะระหันตัง สิระสา นะมามิ

    สัมมาสัมพุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
    สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ

    วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ
    วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ

    สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ
    สุคะตัง สิระสา นะมามิ

    โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ
    โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ

    ๒. อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วะตะ โส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะทัมมะสาระถิ วะตะ โส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง วะตะ โส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วะตะ โส ภะคะวา

    อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ
    อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ
    ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ
    ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ
    สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ
    สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    พุทธัง สิระสา นะมามิ
    อิติปิโส ภะคะวะ ฯ

    ๓. อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะ ลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะ ลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะ ลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะ ลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะ ลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน

    ๔. อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวี ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อาโป ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เตโช ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วาโย ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จักกะวาฬะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน

    ๕. อิติปิ โส ภะคะวา จาตุมะหาราชิกา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ตาวะติงสา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยามา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตา ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระตี ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะระนิมมิตะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะรูปาวะจะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกุตตะระ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน

    ๖. อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมะฌานะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน

    ๗.อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจา ยะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิญญานัญจา ยะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญา ยะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เนวะสัญญานาสัญญา ยะตะนะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน

    ๘. อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติ มัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิ มัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิ มัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะ มัคคะ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน

    อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะผะละ ธาตุ สะมาธิญาณะสัมปันโน

    ๙. กุสะลาธัมมา อิติปิ โส ภะคะวะ อะอา ยาวะชีวัง พุทธังสะระณัง คัจฉามิ ชัมภูทีปัญจะ
    อิสสะโร กุสะลาธัมมา นะโมพุทธายะ นะโม ธัมมายะ นะโมสังฆายะ
    ปัญจะพุทธา นะมามิหัง อาปามะ จุปะ ทีมะสังอังขุ สังวิธาปุกะยะปะ อุปะสะชะสะเห ปาสายะโสฯ
    โสโส สะสะ อะอะอะอะนิ เตชะสุเนมะ ภูจะนาวิเว อะสังวิสุโลปุสะพุภะ อิสวาสุ สุสวาอิ
    กุสะลาธัมมา จิตติ วิอัตถิ
    อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    สาโพธิปัญจะ อิสสะโร ธัมมา.
    กุสะลาธัมมา นันทะวิวังโก อิติ สัมมา สัมพุทโธ สุคะลาโน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

    ๑๐. จาตุมะหาราชิกา อิสสะโร กุสะลาธัมมา อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน อุอุ ยาวะชีวัง
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตาวะติงสา อิสสะโร กุสะลาธัมมา นันทะปัญจะสุคะโต
    โลกะวิทู มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ยามา อิสสะโร กุสะลาธัมมา พรหมา สัททะ ปัญจะสัตตะ สัตตตาปาระมี
    อะนุตะโร ยะมะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ .

    ตุสิตา อิสสะโร กุสะลาธัมมา ปุยะปะกะ ปุริสะทัมมะสาระถิ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    นิมมานะระตี อิสสะโร กุสะลาธัมมา เหตุโปวะ สัตถา เทวะมะนุสสานัง ตะถา ยาวะชีวัง
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ .
    ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี อิสสะโรกุสะลาธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขังอะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ
    พุทธะ ปะผะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ .
    พรหมมา อิสสะโร กุสะลาธัมมา นัตถิ ปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง
    สะระนัง คัจฉามิ ฯ

    ๑๑ นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ พุทธิลาโภกะลา กะระ กะนา
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ
    นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ วิตติ วิตติ วิตติ
    มิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ วัตติ วัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

    อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมสาวัง มะหาพรหมสาวัง จักกะวัตติสาวัง
    เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง อิสีสาวัง มะหาอิสีสาวัง มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง
    สัปปุริสาวัง มะหาสัปปุริสาวัง พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง อะระหัตตะสาวัง
    สัพพะสิทธิวิชา ธาระณังสาวัง สัพพะโลกา อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตติ โหนตุ
    สาวัง คุณัง วะชะ พะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิ กัมมัง ธัมมัง สัจจัง นิพพานัง โมกขัง คุยหะกัง
    ทานัง สีลัง ปัญญา นิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ยะสัง ตัปปัง สุขัง สิริรูปัง จะตุวีสะติเทเสนัง
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ

    ๑๒.นะโมพุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม อิติปิโส ภะคะวา .
    นะโมธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ
    วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม .
    นะโมสังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ
    วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโตสาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง .

    นะโมพุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะตัสสะ หาโยโมนะ อุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง
    อะนัตตา อุอะมะอะ วันทา นะโธพุทธายะ นะอะกะติ นิสะระณะ อาระปะขุทธัง มะอะอุ ทุกขัง
    อะนิจจัง อะนัตตา ฯ วิปัสสิต
    สัพพะทุกขา สัพพะภะยะ สัพพะโรคา วินาศสันตุ

    เมื่อสวดพระคาถาแล้ว ควรจะต้อง แบ่งบุญกุศลที่ได้จากการสวดพระคาถานี้ด้วย.
    โดยภาวนาดังนี้..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...