ทดลองอ่าน พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ ปัญญาวรรค มาติกากถา

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย Kob, 5 พฤษภาคม 2010.

  1. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,161
    ค่าพลัง:
    +19,894
    ปัญญาวรรค มาติกากถา
    [๗๓๗] บุคคลผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น ความ
    หลุดพ้น เป็นวิโมกข์ วิชชาวิมุติ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ปัสสัทธิ ญาณ
    ทัสนะ สุทธิ เนกขัมมะ นิสสรณะ ปวิเวก โวสัคคะ จริยา ฌานวิโมกข์
    ภาวนาธิษฐานชีวิต ฯ
    คำว่า นิจฺฉาโต ความว่า บุคคลผู้มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากกามฉันทะ
    ด้วยเนกขัมมะผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท
    ฯลฯ ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ผู้ไม่มีความหิว
    ย่อมหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค ฯ
    คำว่า วิโมกฺโข ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า
    เป็นเครื่องพ้นจากกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า
    เป็นเครื่องพ้นจากพยาบาท ฯลฯ ปฐมฌานชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็น
    เครื่องพ้นจากนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่อง
    พ้นจากกิเลสทั้งปวง ฯ
    คำว่า วิชฺชาวิมุตฺติ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่า วิชชา เพราะอรรถว่า
    มีอยู่ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่า หลุดพ้นจากกามฉันทะ ชื่อว่าวิชชา-
    *วิมุติ เพราะอรรถว่า มีอยู่หลุดพ้น หลุดพ้นมีอยู่ ความไม่พยาบาทชื่อว่าวิชชา
    เพราะอรรถว่า มีอยู่ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่า หลุดพ้นจากพยาบาท ชื่อว่า
    วิชชาวิมุติ เพราะอรรถว่า มีอยู่หลุดพ้น หลุดพ้นมีอยู่ ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่า
    วิชชา เพราะอรรถว่า มีอยู่ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่า หลุดพ้นจากกิเลส
    ทั้งปวง ชื่อว่าวิชชาวิมุติ เพราะอรรถว่า มีอยู่หลุดพ้น หลุดพ้นมีอยู่ ฯ
    [๗๓๘] ข้อว่า อธิสีลํ อธิจิตฺตํ อธิปญฺา ความว่า เนกขัมมะ
    ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องกั้นกามฉันทะ ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ
    เพราะอรรถว่าเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฐิวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องเห็น
    ความกั้นในสีลวิสุทธิ เป็นอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตตวิสุทธิ เป็น
    อธิจิตตสิกขา ความเห็นในทิฏฐิวิสุทธิ เป็นอธิปัญญาสิกขา ความไม่พยาบาท
    ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องกั้นความพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค
    ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องกั้นกิเลสทั้งปวง ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ
    เพราะอรรถว่าเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องเห็น
    ความกั้นในสีลวิสุทธิ เป็นอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตตวิสุทธิ เป็นอธิจิตต-
    *สิกขา ความเห็นในทิฏฐิวิสุทธิ เป็นอธิปัญญาสิกขา ฯ
    [๗๓๙] คำว่า ปสฺสทฺธิ ความว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องระงับกามฉันทะ
    ความไม่พยาบาทเป็นเครื่องระงับพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคเป็นเครื่องระงับกิเลส
    ทั้งปวง ฯ
    คำว่า ญาณํ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะ
    เป็นเหตุให้ละกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะเป็นเหตุ
    ให้ละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะเป็นเหตุ
    ให้ละกิเลสทั้งปวง ฯ
    คำว่า ทสฺสนํ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าทัสนะ เพราะความว่าเห็น
    เพราะเป็นเหตุให้ละกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าทัสนะ เพราะความว่าเห็น
    เพราะเป็นเหตุให้ละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าทัสนะ เพราะความว่าเห็น
    เพราะเป็นเหตุให้ละกิเลสทั้งปวง ฯ
    คำว่า วิสุทฺธิ ความว่า บุคคลละกามฉันทะ ย่อมหมดจดด้วยเนกขัมมะ
    ละพยาบาทย่อมหมดจดด้วยความไม่พยาบาท ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวง ย่อมหมดจด
    ด้วยอรหัตมรรค ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวง ย่อมหมดจดด้วยอรหัตมรรค ฯ
    [๗๔๐] คำว่า เนกฺขมฺมํ ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกาม
    อรูปฌาน เป็นเครื่องสลัดรูป นิโรธ เป็นเนกขัมมะ แห่งสิ่งที่มีที่เป็น อันปัจจัย
    ปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ความไม่พยาบาท เป็นเนกขัมมะแห่งพยาบาท
    อาโลกสัญญา เป็นเนกขัมมะแห่งถีนมิทธะ ฯลฯ
    คำว่า นิสฺสรณํ ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกาม อรูปฌาน
    เป็นเครื่องสลัดรูป นิโรธ เป็นเครื่องสลัดสิ่งที่มีที่เป็น อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกัน
    เกิดขึ้น เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกามฉันทะ ความไม่พยาบาท เป็นเครื่อง
    สลัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่องสลัดกิเลสทั้งปวง ฯ
    คำว่า ปวิเวโก ความว่า เนกขัมมะ เป็นที่สงัดกามฉันทะ ความ
    ไม่พยาบาท เป็นที่สงัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นที่สงัดกิเลสทั้งปวง ฯ
    คำว่า โวสฺสคฺโค ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องปล่อยวางกามฉันทะ
    ความไม่พยาบาท เป็นเครื่องปล่อยวางพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่อง
    ปล่อยวางกิเลสทั้งปวง ฯ
    คำว่า จริยา ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องประพฤติละกามฉันทะ
    ความไม่พยาบาท เป็นเครื่องประพฤติละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่อง
    ประพฤติละกิเลสทั้งปวง ฯ
    คำว่า ฌานวิโมกฺโข ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า
    เกิด เพราะอรรถว่า เผากามฉันทะ ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เกิดหลุดพ้น
    เพราะอรรถว่า เผาหลุดพ้น เนกขัมมธรรม เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า
    เผา ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า รู้กิเลสที่เกิดและที่ถูกเผา ความไม่พยาบาท
    ชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผาพยาบาท ฯลฯ อาโลกสัญญาชื่อว่า
    ฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผาถีนมิทธะ ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าฌาน
    เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผากิเลสทั้งปวง ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะ
    อรรถว่า เกิดหลุดพ้น เพราะอรรถว่า เผาหลุดพ้น อรหัตมรรคธรรมชื่อว่าฌาน
    เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผา ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า
    รู้กิเลสที่เกิดและที่ถูกเผา ฯ
    [๗๔๑] คำว่า ภาวนาธิฏฺานชีวิตํ ความว่า บุคคลผู้ละกามฉันทะ
    เจริญเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา ย่อมอธิษฐานจิต
    ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อม
    ด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานอย่างนี้นั้น ย่อมเป็นอยู่สงบ ไม่เป็นอยู่ไม่สงบ
    เป็นอยู่ชอบ ไม่เป็นอยู่ผิด เป็นอยู่หมดจด ไม่เป็นอยู่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้น
    จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนาถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อม
    ด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น เข้าไปสู่ที่ประชุมใด คือ ที่ประชุมกษัตริย์ก็ดี ที่ประชุม
    พราหมณ์ก็ดี ที่ประชุมคฤหบดีก็ดี ที่ประชุมสมณะก็ดี ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไป
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้น เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วย
    อธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนั้น บุคคลละพยาบาทเจริญความไม่พยาบาท
    ละถีนมิทธะเจริญอาโลกสัญญา ละอุทธัจจะเจริญความไม่ฟุ้งซ่าน ละวิจิกิจฉา
    เจริญธรรมววัตถาน ละอวิชชาเจริญฌาน ละอรติเจริญความปราโมทย์ ละนิวรณ์
    เจริญปฐมฌาน ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวงเจริญอรหัตมรรค เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า
    ถึงพร้อมด้วยภาวนา บุคคลย่อมตั้งมั่นจิตด้วยสามารถอรหัตมรรค เพราะเหตุนั้น
    จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน
    อย่างนี้นั้น ย่อมเป็นอยู่สงบ ไม่เป็นอยู่ไม่สงบ ไม่เป็นอยู่ชอบ เป็นอยู่ไม่ผิด
    เป็นอยู่หมดจด ไม่เป็นอยู่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ
    ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น
    เข้าไปสู่ที่ประชุมใด คือ ที่ประชุมกษัตริย์ก็ดี ที่ประชุมพราหมณ์ก็ดี ที่ประชุม
    คฤหบดีก็ดี ที่ประชุมสมณะก็ดี ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วย
    อาชีวะอย่างนั้น ฉะนี้แล ฯ

    <CENTER>จบมาติกากถา
    </CENTER><CENTER>ปกรณ์ปฏิสัมภิทาจบบริบูรณ์
    </CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------
    </CENTER><CENTER>รวมกถาที่มีในปกรณ์ปฏิสัมภิทานั้น คือ
    </CENTER> ๑. ญาณกถา ๒. ทิฏฐิกถา ๓. อานาปานกถา ๔. อินทรียกถา
    ๕. วิโมกขกถา ๖. คติกถา ๗. กรรมกถา ๘. วิปัลลาสกถา
    ๙. มรรคกถา ๑๐. มัณฑเปยยกถา ฯ
    ๑. ยุคนัทธกถา ๒. สัจจกถา ๓. โพชฌงคกถา ๔. เมตตากถา
    ๕. วิราคกถา ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๗. ธรรมจักรกถา
    ๘. โลกุตรกถา ๙. พลกถา ๑๐. สุญญกถา ฯ
    ๑. มหาปัญญากถา ๒. อิทธิกถา ๓. อภิสมยกถา
    ๔. วิเวกกถา ๕. จริยากถา ๖. ปาฏิหาริยกถา ๗. สมสีสกถา
    ๘. สติปัฏฐานกถา ๙. วิปัสสนากถา ๑๐. มาติกากถา ฯ
    วรรค ๓ วรรคในปกรณ์ปฏิสัมภิทา มีอรรถกว้างขวางลึกซึ้งในมรรคเป็น
    อนันตนัย เปรียบด้วยสาคร เหมือนนภากาศเกลื่อนกลาดด้วยดวงดาว และเช่น
    สระใหญ่ ความสว่างจ้าแห่งญาณของพระโยคีทั้งหลาย ย่อมมีได้โดยพิลาส
    แห่งคณะพระธรรมกถิกาจารย์ ฉะนี้แล ฯ

    <CENTER>ปฏิสัมภิทาจบด้วยประการฉะนี้
    </CENTER>
    ที่มาเนื้อหา http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=31&A=10975

     
  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    อนุโมทนา สาธุ ๆ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     
  3. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    [​IMG]
    กราบอนุโมทนาค่ะ
    คุณกบดุจดั่งปรมาจารย์ ด้านภาษา
     

แชร์หน้านี้

Loading...