ทารุขันธสูตร

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย vilawan, 16 พฤษภาคม 2010.

  1. vilawan

    vilawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    836
    ค่าพลัง:
    +1,432
    ทารุขันธสูตรที่ ๑
    [๓๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาแห่งหนึ่ง
    พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง อันกระแสน้ำ
    พัดลอยมาริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ท่านทั้งหลายเห็นหรือไม่ ท่อนไม้ใหญ่โน้นอันกระแสน้ำพัดลอยมาในแม่น้ำคงคา
    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น
    จักไม่จมเสียในท่ามกลาง จักไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้
    ไม่ถูกน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล
    ท่อนไม้นั้นจักลอยไหลเลื่อนไปสู่สมุทรได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า
    กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาลุ่มลาดไหลไปสู่สมุทร ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ถ้าท่านทั้งหลายจะไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่งข้างโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่เกยบก
    ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เป็นผู้เสียในภายในไซร้
    ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ท่านทั้งหลายจักโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า สัมมาทิฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน
    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
    [๓๒๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถาม
    พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่อะไร ฝั่งโน้นได้แก่อะไร
    การจมลงในท่ามกลางได้แก่อะไร การเกยบนบกได้แก่อะไร มนุษย์ผู้จับคืออะไร
    อมนุษย์ผู้จับคืออะไร เกลียวน้ำวนๆ ไว้คืออะไร ความเป็นของเน่าในภายใน
    คืออะไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
    คำว่า ฝั่งนี้ เป็นชื่อแห่งอายตนะภายใน ๖
    คำว่าฝั่งโน้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖
    คำว่าจมในท่ามกลางเป็นชื่อแห่งนันทิราคะ
    คำว่าเกยบก เป็นชื่อแห่งอัสมิมานะ
    ดูกรภิกษุ ก็มนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คลุกคลี เพลิดเพลิน
    โศกเศร้าอยู่กับพวกคฤหัสถ์ เมื่อเขาสุขก็สุขด้วย เมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย ย่อมถึง
    การประกอบตนในกิจการอันบังเกิดขึ้นแล้วของเขา ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่ามนุษย์ผู้จับ
    ดูกรภิกษุ อมนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมประพฤติ
    พรหมจรรย์ ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ
    หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักได้เป็นเทวดาหรือเทพยเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง
    ดูกรภิกษุนี้เรียกว่าอมนุษย์ผู้จับ
    ดูกรภิกษุ คำว่าเกลียวน้ำวนๆ ไว้ เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕
    ดูกรภิกษุ ความเป็นของเน่าในภายในเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
    เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานปกปิดไว้
    ไม่เป็นสมณะ ก็ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่เป็นพรหมจารี ก็ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี
    เป็นผู้เน่าในภายใน มีใจชุ่มด้วยกาม เป็นดุจขยะมูลฝอย ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่า
    ความเป็นผู้เน่าในภายใน ฯ
    [๓๒๔] ก็โดยสมัยนั้นแล นายนันทโคบาลยืนอยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ณ
    ที่นั้นแล นายนันทโคบาลได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    ข้าพระองค์ไม่เข้าใกล้ฝั่งนี้ ไม่เข้าใกล้ฝั่งโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่ติดบนบก
    ไม่ถูกมนุษย์จับ ไม่ถูกอมนุษย์จับ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส
    ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนันทะ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงมอบโคให้เจ้าของเถิด ฯ
    น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โคที่ติดลูกจักไปเอง ฯ
    พ. ท่านจงมอบโคให้แก่เจ้าของเถิด นันทะ ฯ
    ครั้งนั้นแล นายนันทโคบาลมอบโคให้แก่เจ้าของแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
    พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    ข้าพระองค์มอบโคให้เจ้าของแล้ว ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของ
    พระผู้มีพระภาค นายนันทโคบาลได้บรรพชาอุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มี
    พระภาค ก็แลท่านพระนันทะอุปสมบทแล้วไม่นาน เป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่
    ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุด
    แห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิต
    โดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า
    ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น
    อย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระนันทะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์
    ทั้งหลาย ฯ
    จบสูตรที่ ๔
    ทารุขันธสูตรที่ ๒
    [๓๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา
    ใกล้เมืองกิมมิลา พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นท่อนไม้ท่อนใหญ่ ถูกกระแสน้ำพัด
    ไปในแม่น้ำคงคา ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นหรือไม่ท่อนไม้ใหญ่โน้น ถูกกระแสน้ำพัดไป
    ในแม่น้ำคงคา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า ฯลฯ
    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกิมมิละได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่อะไร ฯลฯ ดูกรกิมมิละ ความเป็นผู้เน่า
    ในภายในเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้ต้องอาบัติที่เศร้าหมอง
    อย่างใดอย่างหนึ่ง การออกจากอาบัติเช่นนั้น ยังไม่ปรากฏ
    นี้เราเรียกว่าความเป็นผู้เน่าในภายใน ฯ
    จบสูตรที่ ๕

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.965126/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    อนุโมทนา สาธุ ๆ
    ยินดีกับท่านทั้งหลาย
    ที่มีโอกาสได้ทำบุญกุศล
    สะสมบารมีเผยแพร่พระธรรม ด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...