ธรรมะเปรียบเหมือนดวงประทีป หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 5 กันยายน 2011.

แท็ก: แก้ไข
  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    [FONT=&quot]ธรรมะเปรียบเหมือนดวงประทีป[/FONT]



    [FONT=&quot]แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง[/FONT]

    [FONT=&quot]อ[/FONT][FONT=&quot].ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย[/FONT]


    [FONT=&quot]วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ[/FONT][FONT=&quot].ศ.๒๕๒๖[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]วันนี้จะเทศนาหัวข้อเรื่อง ธมฺ[/FONT][FONT=&quot]โม ปทีโป วิย ตสฺส สตฺถุโน[/FONT][FONT=&quot]แปลความว่า ธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเหมือนดวงประทีปส่องสว่างนำทางคนให้ดำเนินไปในทางที่ดี นี่หัวข้อใหญ่[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] ก่อนที่พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ พระองค์ทรงเสาะแสวงหาวิโมกธรรมอยู่ถึง ๖ พรรษา จึงทรงรู้จักว่า อันนี้ถูก อันนี้ผิด เรียกว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิฌาณ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ทรงนำธรรมะนั้นมาสั่งสอนพวกเราพุทธบริษัทให้เข้าใจลึกซึ้งถึงธรรมะที่แท้จริง ธรรมะนั้นจึงได้ชื่อว่า ธมฺโม ปทีโป วิย ตสฺส สตฺถุโน คำสอนของพระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนดวงแสงประทีปส่องทางให้พุทธบริษัทดำเนินไปสู่ทางดี ทางสุคติ[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ที่ท่านอุปมาเปรียบเทียบธรรมะเหมือนกับประทีปก็คือ ตามธรรมดาแล้วประทีปเขาจุดกลางคืน เพื่อส่องทางให้คนเห็นสว่าง แต่แท้ที่จริงแล้วธรรมะยังดีกว่าประทีปนั่นเสียอีก และยังดีกว่าพระอาทิตย์หรือพระจันทร์เสียด้วย คือว่า ตั้งแต่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ แล้วนำเอาธรรมะมาสอนพวกเราจนถึงปัจจุบัน นับได้สองพันปี ประทีปดวงใหญ่นี้คือ พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่เคยดับสักทีจนป่านนี้ส่วนประทีปนั้นดับได้ไฟฟ้า ตะเกียงก็ดับได้ทั้งหมด พระอาทิตย์และพระจันทร์ก็ยังมีเวลาดับเวลาสว่าง ได้แก่ เดือนดับ เดือนเพ็ญ พระอาทิตย์ก็เช่นเดียวกัน คือ มีเวลากลางวันเวลากลางคืน และสิ่งเหล่านั้นสว่างก็จริงแล จะเห็นได้ก็ด้วยคนมี ตาดี คือ ตาใสสว่างอยู่จึงค่อยมองเห็นได้[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ส่วนธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นส่องสว่างตลอดเวลา ไม่ว่ากลางวัน ไม่ว่ากลางคืน สำหรับผู้ที่มีจิตใจใสสะอาดบริสุทธิ์ เรียกว่า คนมีตาดี ธรรมะส่องสว่างให้เห็นทั่วหมด ส่องสว่างเข้าไปในตัวของเรา สามารถเห็นตัวของเรา คือ เห็นรูป เห็นนาม ตามความเป็นจริง เห็นความเกิดความดับ คนเรามีตาดี มีแสงประทีปและแสงพระอาทิตย์แสงเดือนส่องสักเท่าใด ก็ไม่ค่อยเห็นความเกิดความดับ เกิดมาตั้ง ๔๐-๕๐-๖๐-๗๐ ปี มันก็ไม่เห็น ส่วนธรรมะของพระพุทธเจ้าส่องให้เห็นความเกิด-ดับ ความสูญสิ้นไปของสังขารร่างกายชัดทีเดียว นั่นจึงว่าธรรมะเป็นของวิเศษดียิ่งกว่าพระอาทิตย์พระจันทร์หรือดีกว่าแสง ประทีปแสงสว่างทั้งหลาย [/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] พระพุทธเจ้าทรงเทศนาไว้ว่า นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภาแสงสว่างอะไรๆ เสมอด้วยปัญญาไม่มี ปัญญานั้นเรียกได้ว่าแสงสว่างอย่างยิ่ง ธรรมะส่องเข้าไปถึงถายในใจที่มันมืดมันหนาที่มีกิเลสทับถมอยู่ภายในใจ ส่องจนกระทั่งทะลุปรุโปร่งหมดสิ้นแม้แต่นามธรรมที่มองไม่เห็นด้วยตา ก็สามารถกระชากออกมาชำระได้หมดสิ้นได้ [/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] อนึ่ง ธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วนั้น พระองค์ทรงนำมาเปิดเผยแก่พุทธบริษัทเพียงน้อยนิดเดียว ที่ยังไม่ได้นำมาเปิดเผยนั้นมากกว่ามาก เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปสู่ป่าแล้ว ทรงหยิบใบไม้ขึ้นมาหยิบหนึ่งแล้วอุปมาว่า ใบไม้ในมือของเราตถาคตนี้กับใบไม้ในป่า อะไรจะมากกว่ากัน แล้วพระสงฆ์ทูลตอบว่า ใบไม้ในป่ามากกว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า ฉันใดธรรมที่เราตรัสรู้แล้วก็มากเหมือนใบไม้ในป่า เราเอาออกมาเทศนาให้พุทธบริษัทฟังนี้น้อยนิดเดียว เหมือนใบไม้ในมือของเราฉะนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] ธรรมะที่พระองค์ทรงนำมาสั่งสอนพุทธบริษัท ล้วนแล้วแต่เป็นธรรมอันใสสะอาด ส่องทางให้เห็นทางพ้นทุกข์ทั้งนั้น ธมฺโม ปทีโป วิย ตสฺส สตฺถุโน คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นเหมือนดวงประทีป ส่องทางให้คนเห็นความผิดความถูกของตนแล้วจะได้แก้ไขตนให้ถูกทางต่อไป ธรรมะที่พระองค์ทรงสั่งสอนนั้นจะมีมากสักเท่าใดก็เอาเถิด เมื่อสรุปลงแล้ว ธรรมที่จะพ้นจากทุกข์ได้ก็มีเพียง ๔ ประการเท่านั้น คือ[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] ๑. ทุกข์[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] ๒. สมุทัย[/FONT]

    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] ๓. นิโรธ[/FONT]

    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] ๔. มรรค[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] ทุกข์ พระองค์ทรงสั่งสอนธรรมอันเป็นผลที่เกิดจากเหตุ เห็นได้ง่ายด้วยฌาณทัสสนะ มีทั้งความรู้ด้วยใจและความเห็นด้วยตาภายนอกชัดเจนแจ่มแจ้ง ไม่มีอะไรมาปกปิดกำบัง มีชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขโทมนัส อุปายาสะ เป็นต้น พร้อมด้วย ปัจจัยอันเป็นเหต ให้ธรรมทั้งหลายเหล่านี้เกิด คือ มีความทะยานอยากไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อผู้มาเห็นโทษเหล่านี้แล้ว ก็ดับความอยาก ด้วย มัคคสมังคี คือ ความเห็นชอบ ประกอบด้วยกาย วาจา จิต ไม่มีมิจฉาทิฏฐิอีกต่อไป อันนี้เรียกว่า ธรรมที่พระองค์ทรงนำมาเปิดเผยให้พุทธบริษัทได้รู้ได้เห็นแล้ว แต่ถึงกระนั้น ก็น้อยนักน้อยหนาที่จะมีผู้รู้ตามเห็นตาม[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] ธรรมที่พระองค์ยังไม่ได้ทรงเปิดเผย นั้นมีมากมายเหลือคณานับ นับแต่พระองค์ได้ตรัสรู้มา ๔๕ ปี ทรงกระทำพุทธกิจวันหนึ่งเป็นเวลา ๔ ครั้งมิได้ขาด แม้วันจะปรินิพพานก็ยังทรงเทศนาสอนสุภัททะภิกษุอีกด้วย คือ ตอนเย็นทรงเทศนาให้พุทธบริษัทฆราวาสฟัง ตอนหัวค่ำทรงเทศนาให้บริษัทบรรพชิตฟัง ตอนกลางคืนทรงแก้ปัญหาเทวดา จวนจะสว่างพิจารณาดูสัตว์โลก เมื่อเห็นผู้ใดสมควรที่จะได้มรรคผลนิพพาน ตอนเช้าก็เสด็จไปบิณฑบาตและทรงเทศนาโปรด นับว่าพระองค์ทรงเปิดเผยธรรมแก่ พุทธบริษัทมากพอสมควรจะหาศาสดาใดเสมอเหมือนพระองค์นี้ไม่มีอีกแล้ว ที่พระองค์ทรงเปรียบอุปมาไว้ว่า ธรรมที่พระองค์ทรงนำมาเทศนาให้พุทธบริษัทฟังนั้นมีนิดเดียว เปรียบเหมือนใบไม้ที่มีอยู่ในกำมือของเรา ธรรมที่เราไม่ได้นำมาเทศนาเหมือนใบไม้ในป่าฉะนั้น นั่นแสดงถึงความองอาจ กล้าหาญของพระองค์ว่า พระองค์ทรงมี เวสารัชญาณ เต็มที่[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] พุทธบริษัทไม่พึงน้อยใจที่เราไม่มี เวสารัชญาณอย่างพระองค์ เหราะหลัก ๔ ประการอันเป็นเหตุที่จะตรัสรู้พระองค์ก็ได้ทรงแสดงเปิดเผยไว้ให้พวกเราแล้ว เหมือนกับบิดามารดาผู้เอ็นดูในบุตรธิดา สอนวิชาอาชีพให้แก่บุตรธิดาด้วยหลักวิชา ๔ ประการเป็นเบื้องต้น(คือ ปัจจัยสี่) ส่วนปลีกย่อยเล็กๆน้อยๆล้วนแต่รวมอยู่ในปัจจัยสี่ทั้งสิ้น[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] ที่นี้เราพุทธบริษัทควรจะเคารพอะไรให้เป็นหลักของใจ จึงได้ชื่อว่า เรายึดถือหลักพุทธศาสนาเป็นเครื่องดำเนินในชีวิตประจำวันของเรา เบื้องต้นเราต้อง เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม เราทำกรรมอะไรไว้ด้วยกาย วาจา และใจ ในที่ใดๆมากหรือน้อยไว้แล้ว ผลกรรมนั้นต้องตกมาเป็นของตัวอย่างแน่นอน ไม่ว่าเวลาใดก็เวลาหนึ่ง ไม่ชาติใดก็ชาติหนึ่ง คนอื่นจะมารับแทนไม่ได้ เมื่อเชื่ออย่างนี้แล้ว ผู้นั้นไม่สามารถจะกระทำกรรมอันเป็นบาปได้เด็ดขาด จะทำแต่กรรมที่เป็นบุญเป็นกุศลตลอดเวลา ได้ชื่อว่า ถือธรรมเป็นที่พึ่ง[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] ธรรม คือ อะไร ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงนำมาแสดงนั้น คือสภาพของจริง สภาพของแท้ไม่แปรผัน สภาพเป็นอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้น พระองค์ทรงรู้แจ้งจริงอย่างนั้นจึงทรงนำเอาของจริงนั้นมาสอนแก่เราพุทธบริษัททั้งหลาย ถึงแม้พระองค์จะไม่ได้ทรงแสดงธรรม ธรรมก็มีอยู่แล้ว เช่น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทั้ง ๔ อย่างนี้ก็มีอยู่ในมนุษย์เรานี่แหละถ้าคนไม่มี จะมี ทุกข์ มาจากไหน สมุทัยตัวเหตุให้เกิดทุกข์ ก็เกิดจากคนนี่แหละ คนเราไปเอาทุกข์มาใส่ตัว มิใช่ทุกข์มันมาเอง นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ก็คนนั่นแหละดับ ใช่ทุกข์มันดับเอง มรรค หนทางให้ถึงความดับทุกข์ ก็คนเราอีกนั่นแหละทำทางให้ถึงความดับทุกข์ ครั้นไม่มีคนก็ไม่มี อริยสัจสี่[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] ธรรมเป็นของมีอยู่แต่ไหนแต่ไรมา เรียกว่า สภาวธรรม พระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็รู้ธรรมนั่นเอง ไม่ได้เอามาจากที่ไหน ธรรมของมีอยู่ประจำโลกทั้งนั้น ทุกข์ ก็มีอยู่แล้ว สมุทัย ก็มีอยู่แล้ว นิโรธ มรรค มีอยู่แล้วทั้งนั้น แต่คนทั้งหลายไม่เห็น พระองค์ตรัสรู้แล้ว ทรงเห็นแล้วจึงนำเอามาแสดงชี้แจงให้คนฟัง คนเราจึงรู้ตามเห็นตาม การรู้ตามเห็นตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั่นแหละ จึงเรียกพระพุทธเจ้าว่า พระศาสดา ผู้เป็นครูทรงสั่งสอนชาวโลก[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] คำสอนนั้นเรียกว่า ศาสนา หรือจะเรียกให้เต็มศัพท์ เรียกว่า คำสอนของพระโคดมบรมครู เมื่อก่อนพระองค์ยังไม่ได้ตรัสรู้ พระธรรมเปรียบเหมือนกับทรัพย์ที่ยังฝังอยู่ในดินเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว เปรียบเหมือนกับพระองค์ได้ค้นเอาทรัพย์นั้นมาเป็นของส่วนพระองค์[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] ธรรมที่พระองค์ทรงค้นพบนั้นเป็นเวลา นานถึง ๖ ปี ด้วยพระอุตสาหะวิริยะพากเพียร โดยไม่มีครูอาจารย์สอนเลยจึงได้ทรงพบเห็นธรรมอันลึกซึ้งสุขุมเป็นของ อัศจรรย์อย่างยิ่ง ภายหลังเมื่อพระองค์มาทรงระลึกถึงธรรม ที่พระองค์ได้ทรงพบแล้วนั้นว่า เป็นของเลิศล้ำวิเศษดียิ่งกว่ามนุษย์ เทวดา อินทร์ พรหม มาร ยักษ์ใดๆทั้งสิ้น ฉะนั้น พระองค์จึงเทิดทูนพระธรรมเหนือสิ่งทั้งปวงหมด[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] คราวนี้พวกเราจะเคารพอะไร อันสิ่งใดที่เราปฏิบัติรู้แล้วเห็นแล้วแน่ชัด เห็นประจักษ์ขึ้นมาในใจ อย่าง ทานพิจารณาเห็นว่า เป็นประโยชน์ทั้งตนและคนอื่น ศีล ก็เป็นคุณประโยชน์แก่ตน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมาธิ ก็เป็นคุณประโยชน์แก่ตนอย่างยิ่ง อันนั้นเรียกว่า ธรรมะเกิดขึ้นในดวงใจของเรา เราควรเคารพธรรมอันนั้น เราควรยึดถือธรรมอันนั้น เราควรยึดมั่นธรรมอันนั้นไว้ตลอดชีวิตเลยถ้าทำอย่างนั้นได้ ชีวิตของเราก็เป็นของมีค่า ไม่ใช่รู้ประเดี๋ยวประด๋าวแล้วเราก็ทิ้งเสียอย่างนั้นเราไม่รักธรรม ธรรมเลยไม่อยู่กับเรา ไม่เหมือนพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงเป็นผู้สูงสุดยิ่งกว่าสาวกทั้งปวง พระองค์ยังทรงหาที่เคารพ ทรงหาที่ไหนก็ไม่พบ ไม่มีใครที่ไหนแล้วที่พระองค์ทรงเคารพ มีแต่พระสัจธรรมเท่านั้นแหละจึงทรงเคารพพระสัจธรรม[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    [FONT=&quot]ถ้าหากว่าไม่มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ ธรรมอันนี้ก็ไม่มีอยู่ในโลกนี้เสียแล้ว ทั้งที่ของมีอยู่แล้ว มนุษย์ของเราก็หาที่พึ่งไม่ได้ หาธรรมะไม่ได้ หาอะไรก็ไม่ได้ทั้งนั้น ท่านจึงเรียกว่า ธรรมเป็นของเก่า [/FONT][FONT=&quot]เพราะบาปบุญเหล่านี้ แต่ไหนแต่ไรมันหากมีมาแต่เดิมไม่มีใครมาตกแต่งขึ้น คนผู้กระทำบาปและบุญก็เอาของเก่า คือ กายวาจาและใจนี้ มาฟื้นฟูเอาบาปและบุญของเก่า ผู้กระทำเอามากระทำใหม่ จึงเรียกว่าของใหม่ คือผู้กระทำมาทำใหม่นั่นเอง แท้ที่จริงแล้วก็ของเก่านั่นแหละ พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงเอาธรรมของใหม่มาจากไหน ธรรมเป็นอยู่แต่เดิมแต่พระองค์ทรงค้นคว้าพบของเดิมจึงเรียกว่า ได้ตรัสรู้ และเมื่อพระองค์ปรินิพพาน ก็ไม่ได้เอาธรรมนั้นไปด้วย ธรรมทิ้งอยู่ในโลกนี้แหละ พระพุทธเจ้าองค์ใหม่มาอุบัติขึ้นในโลกนี้ก็เช่นเดียวกัน[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]วันนี้อธิบายให้ฟังเพียงแค่นี้ละ เอวํ[/FONT][FONT=&quot].
    [/FONT]
    <table width="24%" align="center" border="0" cellpadding="1" cellspacing="1"> <tbody><tr> <td>

    นั่งภาวนา
    </td> </tr> <tr> <td>
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]
    ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน[/FONT]​
    </td> </tr> </tbody></table>
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]พา กันนั่งกัมมัฏฐานหาธรรมะของเก่ากัน ไม่ต้องเอาที่อื่น เอาธรรมะของเก่านั่นแหละ ของที่มีอยู่แต่เดิม คือ พิจารณาที่กายของเรานี่แหละ เมื่อไรๆก็พิจารณากายนี่ทั้งนั้นแหละเพราะกายเป็นที่ตั้งของกองทุกข์ เป็นที่ตั้งของอุปาทาน กายนี้ถ้าหากเห็นชัดตามเป็นจริงแล้ว มันวางถอนจากทุกข์ได้นั่นจึงเป็นทางออกจากทุกข์ เพราะมีกายอันเดียวนี่จึงเป็นทุกข์ผู้ยึดถือกายนี้จึงค่อยเป็นทุกข์ อันนี้เป็นของเก่าพิจารณาซ้ำๆซากๆๆไม่แล้วสักที ตั้งแต่เกิดจนวันตายพิจารณาไม่จบไม่สิ้น การเห็นของเก่าเป็นของไม่จืดจางสักที มันชัดเจนลงไปตามความเป็นจริง เห็นตามเป็นจริงยิ่งซาบซึ้งในใจ[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] ก่อนที่จะเห็นตามเป็นจริง จิตต้องนิ่งเป็นหนึ่งเสียก่อน ถ้าจิตไม่นิ่งเป็นหนึ่งเสียก่อนแล้ว จะไม่เห็นตามเป็นจริงเพราะจิตกระสับกระส่าย จึงเป็นอุปสรรคของความเห็นตามเป็นจริง [/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]ธรรมดาจิตมันมีอาการจึงเรียกว่า จิตมันนิ่งไม่ได้ จิต ที่ไม่นิ่ง แส่ส่ายสารพัดปรุงแต่งไปตามอาการภายนอก แต่ว่าถ้าหากผู้มีแยบคายอยู่ภายในใจ แม้จะปรุงแต่งไปพิจารณาตามเรื่องตามราว แต่ว่า จิต มันตั้งมั่นอยู่เฉพาะในสิ่งเดียวมันก็มีเวลารวมได้เหมือนกัน ถ้าจิตคิดนึกส่งส่ายตามอาการต่างๆภายนอก ไม่มีหลัก มันก็รวมไม่ได้ ก็เตลิดเปิดเปิงไปภายนอกหมด ธรรมดาของ จิต มันต้องเป็นอย่างนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]พุทธศาสนาสอนให้เข้ามาถึง จิต จิตเป็นใหญ่ จิตเป็นประธาน จึงสอนเข้ามาถึง จิต สิ่งทั้งหลายทั้งปวงหมดที่วุ่นวายส่งส่ายนั่นมันออกไปจาก จิต ตัวเดียว แล้วก็สอนให้รวมเข้ามาที่ จิต อันเดียว หยุดนิ่งไม่คิดไม่นึกไม่ปรุงไม่แต่งเลยรวมเป็น ใจครั้นรวมเป็น ใจ แล้ว ทีนี้จะให้คิดก็ได้ไม่ให้คิดก็ได้แม้จะคิดก็อยู่ในขอบเขต คิดเสร็จแล้วเดี๋ยวก็เข้ามารวมเป็น ใจ จะคิดปรุงแต่งอะไรสารพัดทุกอย่าง ก็รู้จักอยู่ว่ามันออกไปจาก ใจเมื่อคิดไปจนหมดเรื่องนั้นก็กลับเข้ามาเป็น ใจ อีก[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] จิตกับ ใจ มันคนละอันกันอย่างนี้ ใช้การคนละอย่างกัน จิต เป็นผู้คิดผู้นึก ใจไม่คิดไม่นึก อยู่เฉยๆแต่มีความรู้สึกอยู่ เมื่อสติควบคุมให้อยู่ในขอบเขตแล้ว มันก็รวมเข้ามาเป็นหนึ่ง เข้ามาเป็น ใจจิต กับ ใจ มันต่างกันอย่างนี้ แต่แท้ที่จริงท่านก็พูดว่า จิต อันใด อันนั้น ใจ อันนั้น ใจ อันใด จิต อันนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] คนเราในโลกนี้ที่ไม่มี จิต ไม่มี ใจ ไม่มีหรอก มันต้องมีทุกคนนั่นแหละ แต่ว่าคนไม่เห็น จิตเห็น ใจ ของตนนั่นซีมันลำบากตรงนี้ เลยไม่รู้จักว่า มันคิดนึกไปไหน ไม่มีสถานีจอดตรงไหน ดังนั้น มันจึงยุ่งยากวุ่นวาย ครั้นเห็น จิต เห็น ใจ ของตนแล้ว มันจึงค่อยสงบลงไป ผลที่สุดก็สงบนิ่งเป็น ใจอันเดียว เรียก เอกัคตารมณ์ เอกัคตารมณ์ ใจยังไม่มั่นคงแท้ต้องถึง อัปนาสมาธิ เสียก่อนจึงเรียกว่า ใจแท้ ท่านแยกเรื่อง จิต เรื่อง ใจไว้หลายเรื่องหลายอย่างตามอาการต่างๆเรียกชื่อต่างกันไป แต่ก็พูดเรื่องของ ใจ อันเดียวนี้เท่านั้น[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot] เหตุนั้นจึงสอนให้พิจารณาตรง กาย ของเรา ตรง จิต ของเรานี่แหละกาย กับ จิต เท่านั้นไม่มีสิ่งอื่นใด ใครจะพิจารณาอะไรก็พิจารณาไปเถิด พุทธศาสนาสอนให้รักษา จิต ควบคุม จิต กับ กาย เท่านั้น เมื่อมันทำชั่วคิดชั่วก็เห็น มันทำดีคิดดีก็เห็น คิดหยาบคิดละเอียดอะไรเห็นหมดทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วมันก็รวมลงอยู่ในสติ ตัวเดียว[/FONT]
    [FONT=&quot]

    เอาง่ายๆเท่านี้แหละ พากันทำสมาธิต่อไป


    คัดลอกจาก http://www.thewayofdhamma.org/page3_2/118.htm
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...