ธรรมโอวาท

ในห้อง 'หลวงปู่แหวน' ตั้งกระทู้โดย paang, 18 ธันวาคม 2006.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,326


    [​IMG]

    ธรรมโอวาท
    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว

    หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ได้แสดงธรรมโอวาทหลายเรื่อง เช่นเรื่อง ของเก่าปกปิดความจริง ที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า

    การพิจารณาต้องน้อมเข้ามาสู่ภายใน พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว มันก็วางเอง

    คูบาญาปู่มั่น ท่านว่า "เหตุก็ของเก่านี้แหละ แต่ไม่รู้ว่าของเก่า" ของเก่านี่แหละมันบังของจริงอยู่นี่ มันจึงไม่รู้ ถ้ารู้ว่าเป็นของเก่า มันก็ไม่ต้องไปคุย มีแต่ของเก่าทั้งนั้นตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็ของเก่า เวลามาปฏิบัติภาวนา ก็พิจารณาอันนี้แหละ ให้มันรู้แจ้งเห็นจริง ให้มันรู้แจ้งออกมาจากภายใน มันจึงไปนิพพานได้ นิพพานมันหมักอยู่ในของสกปรกนี่ มันจึงไม่เห็น พลิกของสกปรกออกดูให้เห็นแจ้ง

    นักปราชญ์ท่านไม่ละความเพียร เอาอยู่อย่างนั้นแหละ เอาจนรู้จริงรู้แจ้ง ทีนี้มันไม่มาเล่นกับก้อนสกปรกนี้อีก พิจารณาไป พิจารณาเอาให้นิพพานใสอยู่ในภายในนี่ ให้มันอ้อ นี่เอง ถ้ามันไม่อ้อหนา เอาให้มันถึงอ้อ จึงใช้ได้

    ครั้นถึงอ้อแล้วสติก็ดี ถ้ามันยังไม่ถึงแล้ว เต็มที่สังขารตัวนี้ พิจารณาให้มันรู้แจ้งเห็นจริงในของสกปรกเหล่านี้แหละ ครั้นรู้แจ้งเข้า รู้แจ้งเข้า มันก็เป็นผู้รู้พระนิพพานเท่านั้น

    จำหลักให้แม่น ๆ มันไม่ไปที่ไหนหละ พระนิพพาน ครั้นเห็นนิพพานได้แล้ว มันจึงเบื่อโลก เวลาทำก็เอาอยู่นี่แหละ ใครจะว่าไปที่ไหนก็ตามเขา ละอันนี่แหละทำความเบื่อหน่ายกับอันนี้แหละ ทั้งก้อนนี่แหละ นักปฏิบัติต้องพิจารณาอยู่นี่แหละ ชี้เข้าไปที่ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ให้พิจารณากาย พิจารณาใจ ให้เห็นให้เกิดความเบื่อหน่าย

    การต่อสู้กามกิเลส เป็นสงครามอันยิ่งใหญ่ กามกิเลสนี้ร้ายนัก มันมาทุกทิศทุกทาง หากพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง ก็ถอนได้

    กามกิเลสนี้แหละ เป็นบ่อเกิดแห่งการฆ่ากันตาย ชิงดีชิงเด่น กิเลสตัวเดียว ทำให้มีการต่อสู้แย่งชิงกัน ทั้งความรักความชัง จะเกิดขึ้นในจิตใจก็เพราะกาม
    นักปฏิบัติต้องเอาให้หนักกว่าธรรมดา ทำใจของตนให้แน่วแน่ มันจะไปสงสัยที่ไหน ก็ของเก่าปรุงแต่งขึ้นเป็นความพอใจไม่พอใจ มันเกิดมันดับอยู่นี่ ไม่รู้เท่าทันมัน ถ้ารู้เท่า ทันมัน ก็ดับไป ถ้าจี้มันอยู่อย่างนี้ มันก็ค่อยลดกำลังไป ตัดอดีต อนาคตลงให้หมด จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน ทำในปัจจุบัน แจ้งอยู่ในปัจจุบัน


    ที่มา www.rakpratat.com
     
  2. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,326
    ธรรมโอวาทของหลวงปู่
    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว
    จากบทความ @@เกจิโลกไม่ลืม (หลวงปู่แหวน) หนังสือพิมพ์สยามรัฐ

    ธรรมะโอวาทของหลวงปู่มักเป็นคำสอนสั้นๆ แต่กินความหมายลึกซึ้ง เวลาท่านให้โอวาทแก่ศิษยานุศิษย์ที่ไปนมัสการ ถ้ากล่าวถึงศีล ท่านจะกล่าวย้ำลงไปที่กาย คือ ขาสอง แขนสอง ศีรษะหนึ่ง นี่แหละคือศีลห้า ถ้าจะรักษาศีลก็ให้รักษาที่นี้ คือสิ่งทั้ง 5 ที่เราสมมติเรียกกันตามภาษาโลกว่าตัวเรานี้ ถ้าเรารักษาตัวเราให้อยู่เป็นปกติ ไม่ไปละเมิดสิทธิในชีวิตของผู้อื่นสัตว์อื่น ไม่ไปละเมิดในทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ล่วงละเมิดสิทธิในภรรยาสามีและหญิงชายที่ต้องห้าม ไม่กล่าววาจาทำให้ผู้อื่นเสียหายโดยเจตนาอันเป็นคำเท็จ ไม่ดื่มน้ำเมาอันเป็นมูลเหตุแห่งความประมาท ถ้ารักษาตัวเราให้อยู่ในขอบเขตอย่างนี้ หลวงปู่ท่านเรียกว่ารักษาศีล ศีลในทรรศนะของหลวงปู่ไม่จำเป็นต้องไปขอจากใคร ต้องทำ ต้องงดเว้น ให้เกิดให้มีขึ้นในตนของตนเอง จึงจะเป็นศีลที่สมบูรณ์ ศีลที่ไปขอจากผู้อื่น หลวงปู่ท่านเรียกว่า ศีลขอ ศีลยาก ศีลจน ไม่ใช่ศีลมั่งมีศรีสุข

    ในด้านธรรมะปฏิบัติเกี่ยวกับสมาธิภาวนา ส่วนมากหลวงปู่จะแนะนำให้เอา พุทฺโธเป็นอารมณ์ของจิตไปก่อน เมื่อบริกรรม พุทฺโธ จนจิตเป็นสมาธิแล้วให้วาง พุทฺโธ แล้วกำหนดผู้รู้คือจิต เมื่อพักอยู่ในความสงบพอควรแล้วให้ถอนจิตขึ้นมากำหนดพิจารณากายเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งก่อน พิจารณาอยู่จุดเดียวจนเกิดความชำนิชำนาญแล้ว จึงขยายต่อไปสู่ส่วนอื่นจนทั่วทุกส่วนของร่างกาย เบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงมา พิจารณาให้รู้ให้เข้าใจให้หมดสงสัย ทั้งกายตนกายผู้อื่น ทั้งหญิงทั้งชาย พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงในไตรลักษณ์อย่าให้จิตส่งออกภายนอกกาย เอากายนี้เป็นเป้าหมายในการพิจารณาเอากายนี้เป็นมรรค เอากายนี้เป็นผล ถ้าผู้ปฏิบัติส่งจิตออกรู้ภายนอกจากกายนี้ เป็นการปฏิบัติที่ผิดทาง

    หลวงปู่เน้นคำสอนของท่านโดยอ้างว่า ในพระพุทธศาสนาพระอุปัชฌาย์ไม่ว่าใครเวลาให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตร ต้องสอนกรรมฐาน 5 คือยก เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ขึ้นสอน คือบอกให้กุลบุตรผู้เข้ามาบรรพชาอุปสมบทให้พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง สิ่งที่มีอยู่ในตนนี้แหละ เป็นมูลกรรมฐาน เป็นตัวกรรมฐาน คนเราเกิดความรัก ความชัง ก็เพราะกายนี้เท่านั้น เพราะฉะนั้น เราจึงต้องพิจารณากายนี้ให้เข้าใจ หลวงปู่ท่านย้ำบ่อยๆ ว่า คนเรานั้นมารักมาหลงมาติด มาเห็นว่าสวย มาเห็นว่างาม จนเกิดฉันทราคะนั้น เห็นอยู่ที่ผิวหนังเท่านั้น ถ้าลอกผิวหนังออกลองพิจารณาใคร่ครวญดู สิ่งที่เรารัก เราหลง สิ่งที่เราเห็นกันว่าสวยว่างามนั้นมันอยู่ตรงไหน ลอกส่วนที่มันปกปิดความจริงซึ่งมีเพียงนิดเดียว แต่ปัญญาเรามองผ่านทะลุเข้าไปไม่ได้ ส่วนใหญ่ที่เหลือเป็นอย่างไร น่ารักไหม น่าหลงไหม สวยงามไหมให้เปล่าๆ เอาไหม แถมกระดาษราคาเท่านั้นเท่านี้ ให้อีกเอาไหม ถึงกับจ้างแล้วยังไม่มีใครเอา ก็แสดงว่ามันไม่ใช่ของที่น่ารัก น่าหลงของสวยของงามอย่างที่เราเข้าใจ ถ้าความจริงเป็นความจริง ใครล่ะจะปฏิเสธ

    หลวงปู่จะย้ำแก่ศิษย์ว่า อดีตเป็นธรรมเมา อนาคตเป็นธรรมเมา ปัจจุบันเป็นธัมโม อดีตเป็นสิ่งที่ลวงไปแล้ว ผ่านไปแล้วดีชั่วก็ผ่านไปแล้วล่วงไปแล้ว ถ้ามัวคำนึงอยู่เป็นทำเมา คือมัวเมากับสิ่งที่มันผ่านเราไปแล้ว สิ่งใดที่ผ่านไปแล้วไม่สามารถเอากลับคืนมาได้แล้ว อนาคตคือสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดยังไม่มาถึงยังไม่เกิดยังไม่มี ถ้ามัวไปคำนึงถึงอยู่ก็เป็นทำเมา คือมัวเมาอยู่ในสิ่งที่มันยังไม่เป็นความจริง เปรียบด้วยความฝันเท่านั้น กาลทั้งสองเป็นกาลกระทำที่เสียเวลาไปเปล่าๆ ปัจจุบันเป็นธัมโม เพราะสิ่งต่างๆ ที่เราเห็น เราเกี่ยวข้องสัมผัสอยู่นั้น มันเกิดมันมีอยู่ในปัจจุบัน เราจะละความชั่วก็ต้องละในปัจจุบัน สร้างความดีให้เกิดให้มีขึ้นในตน ก็ต้องสร้างในปัจจุบัน ดังนั้นปัจจุบันจึงเป็นธัมโม

    ในด้านปัญญาหลวงปู่จะสอนผู้ที่ดำเนินมรรคปัญญาว่าธรรมทั้งหลายไหลมาจากเหตุ ให้กำหนดเหตุ รู้เท่าทันเหตุ เหตุดับลง จิตก็เป็นพุทโธ เพราะละเพราะวางเพราะถอดเพราะถอนเหตุแห่งธรรมได้แล้ว เหตุแห่งธรรมดับลงแล้ว จิตจึงเป็น พุทโธ ก็สบายเท่านั้น ผู้นั้นก็มี พุทโธ ธัมโม สังโฆ อยู่ที่ใจ ใจเป็นพุทโธ ใจเป็นธัมโม ใจเป็นสังโฆ ก็สบายเท่านั้น นั่นแหละคือที่สุดของวิบากกรรม นั่นแหละคือที่สุดของวัฏฏะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...