ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร(แปล ฉบับสมบูรณ์)

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย yut_sss, 13 มีนาคม 2007.

  1. yut_sss

    yut_sss เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +15,187
    200701181238201.jpg
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]

    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

    (วินย. 4/13/12)

    [/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]บทนำ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร[/FONT]​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อนุตตะรัง อภิสัมโพธิง สัมพุชฌิตวา ตะถาคะโต
    ปะฐะมัง ยัง อะเทเสสิ ธัมมะจักกัง อะนุตตะรัง
    สัมมะเทวะ ปะวัตเตนโต โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
    ยัตถากขาตา อุโภ อันตา ปะฎิปัตติ จะ มัชฌิมา
    จะตูสวาริยะสัจเจสุ วิสุทธัง ญาณะทัสสะนัง
    เทสิตัง ธัมมะราเชนะ สัมมาสัมโพธิกิตตะนัง
    นาเมนะ วิสสุตัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง
    เวยยากะระณะปาเฐนะ สังคีตันตัมภะณามะ เส ฯ

    [/FONT]
    พระตถาคต คือ พระพุทธเจ้า ครั้นได้ตรัสรู้ธรรม ได้แก่ อริยสัจ 4 ซึ่งเป็นธรรมอันสูงสุด ไม่มีธรรมใดที่สูงไปกว่า ได้ทรงแสดงให้เห็นเป็นจักร คือ วงล้อ ประกอบด้วยซี่ 8 ซี่ คือธรรมอันเป็ฯทางสายกลาง 8 ประการ ซึ่งเป็นทางที่หลีกเว้นการปฏิบัติตนแบบสุดโต่ง 2 คือ หมกหมุ่นในกามคุณ และ ทรมานตนด้วยวิธีการต่างๆ เป็นข้อ ปฏิบัติเป็นกลาง ให้เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริง ให้บริสุทธิ์จากกิเลส, พวกเราทั้งหลาย จงร่วมกันสวดพระธรรมจักรนั้น ที่พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นธรรมราช ทรงแสดงไว้แล้ว มีชื่อปรากฏว่ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นพระสูตรที่ประกาศให้ทราบถึงการที่พระองค์ ได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ซึ่งพระสงฆ์ผู้ทรงไว้ซึ่งความรู้ทั้งหลาย ได้ร้อยกรองไว้โดยทำเป็นบทสวดมนต์ที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ เทอญฯ


    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ
    ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์) ได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสีในเวลานั้น พระองค์ได้ตรัสเตือนพระภิกษุเบญจวัคคีย์ว่า
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
    ภิกษุทั้งหลาย ผู้ออกบวชแสวงหาความหลุดพ้น ไม่ควรปฎิบัติตน 2 ประการ คือ (1) การแสวงหาความสุขทางกามคุณ แบบสุดโต่ง ซึ่งทำให้จิตใจต่ำทราม เป็นเรื่องของชาวบ้านที่มีความใคร่ เป็นเรื่องของคนมีกิเลสหนาไม่ใช่เป็นสิ่งประเสริฐ คือ มีแต่จะก่อให้เกิดข้าศึกคือกิเลส ไม่มีสาระประโยชน์อันใด (2) การปฏิบัติตนแบบก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน เป็นสภาวะที่ทนได้ยาก ไม่ใช่สิ่งประเสริฐ คือ มีแต่จะก่อให้เกิดข้าศึก คือ กิเลสไม่มีสาระประโยชน์อันใด ฯ
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ
    กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถา คะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะ มายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
    อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
    ภิกษุทั้งหลาย หลักปฏิบัติอันเป็น ทางสายกลาง หลีกเลี่ยงจากการปฏิบัติแบบสุดโต่ง ซึ่งเราตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยวดยิ่ง เห็นได้ด้วยตาใน รู้ด้วยญาณภายใน เป็นไปเพื่อความสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้อย่างทั่วถึง เพื่อความดับกิเลสและกองทุกข์ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ (1) ความเห็นชอบ (2) ความดำริชอบ (3) วาจาชอบ (4) การงานชอบ (5) เลี้ยงชีวิตชอบ (6) ความเพียรชอบ (7) ความระลึกชอบ (8) ความตั้งจิตชอบ
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะ เตนะ อะภิ สัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขา อะริยัะสัจจัง ชาติปิ ทุกข ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
    ภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ คือ ความจริงที่ช่วยมนุษย์ให้เป็นผู้ประเสริฐเกี่ยวกับการพิจารณาเห็นทุกข์ เป็นอย่างนี้ คือ การเข้าใจว่า "เกิด แก่ เจ็บ ตาย" ล้วนแต่ เป็นทุกข์ แม้แต่ความโศรกเศร้าเสียใจ ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กายทุกข์ใจ ทั้งความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ ประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ พลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปราถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ว่าโดยย่อ การยึดมั่นแบบฝังใจ ว่า เบญจขันธ์ (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ว่าเป็น อัตตา เป็นตัวเรา เป็นเหตุทำให้เกิดความทุกข์แท้จริง
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุมะโย อะริยะสัจจัง ฯ ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภิ นันทินี ฯ เสยยะถีทัง ฯ กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา ฯ
    ภิกษุทั้งหลาย เหตุทำให้เกิดความทุกข์ (สมุหทัย) มีอย่างนี้ คือ ความอยากเกินควร ที่เรียกว่า ทะยานอยาก ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด เป็นไปด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มัวเพลิดเพลินอย่างหลงระเริงในสิ่งที่ก่อให้เกิดความกำหนัดรักใคร่นั้นๆ ได้แก่
    (1) ความทะยานอยากในสิ่งที่ก่อให้เกิดความใคร่
    (2) ความทะยานอยากในความอยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่
    (3) ความทะยานอยากในความที่จะพ้นจากภาวะที่ไม่อยากเป็๋น เช่น ไม่อยากจะเป็นคนไร้เกียรติ ไร้ยศ เป็นต้น อยากจะดับสูญไปเลย ถ้าไม่ได้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจังฯ โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะ นิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
    ภิกษุทั้งหลาย นิโรธ คือ ความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ ดับความกำหนัดอย่างสิ้นเชิง มิให้ตัณหาเหลือยู่ สละตัณหา ปล่อยวางตัณหาข้ามพ้นจากตัณหา ไม่มีเยื่อใยในตัณหา
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะ สัจจัง ฯ
    อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมา อาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ
    ภิกษุทั้งหลาย ทุกขโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่ (1) ความเห็นชอบ (2) ความดำริชอบ (3) วาจาชอบ (4) การงานชอบ (5) เลี้ยงชีวิตชอบ (6) ความเพียรชอบ (7) ความระลึกชอบ (8) ความตั้งจิตมั่นชอบ
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
    ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรม ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้ เป็นทุกขอริยสัจจ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ภิกษุทั้งหลาย (บัดนี้) เราได้ดวงตาเห็นธรรม เกิดญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลายที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้เป็นทุกขอริยสัจ เราได้กำหนดรู้แล้ว
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
    อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ
    ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรม ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้เป็นทุกสมุทัยอริยสัจ เป็นสิ่งที่ควรละ ภิกษุทั้งหลาย (บัดนี้) เราได้ดวงตาเห็นธรรม เกิดญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้เป็นทุกขสมุทัยอริยสัจเราละได้แล้ว
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง
    อุทะปาทิ ฯ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ
    ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรม ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้เป็น ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง ภิกษุทั้งหลาย (บัดนี้) เราได้ดวงตาเห็นธรรม เกิดญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่าเป็น ทุกขนิโรธอริยสัจ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรม ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่านี้เป็น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง ภิกษุทั้งหลาย (บัดนี้) เราได้ดวงตาเห็นธรรม เกิดญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง อย่างแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่ได้เคยรับฟังมาในกาลก่อน ว่าเป็น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดการหยั่งรู้ การเห็นตามความเป็นจริง ว่าอริยสัจ 4 มี 3 รอบ มีอาการ 12 (ได้แก่ 1. หยั่งรู้อริยสัจ แต่ละอย่างตามความเป็นจริง 2. หยั่งรู้กิจของอริยสัจ 3. หยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้ว ในอริยสัจ) ยังไม่หมดจดเพียงใด
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะ พราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
    ภิกษุทั้งหลาย เราไม่ยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง ไม่มีใครจะเทียบได้ ไม่ว่าจะเป็นเทวดา มาร พรหม แม้มวลมนุษย์ ทั้งที่เป็นสมณะเป็นพราหมณ์ ก็เทียบเท่ามิได้เพียงนั้น
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
    อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดการหยั่งรู้ การเห็นตามความเป็นจริงดังกล่าวมาหมดจดดีแล้ว เมื่อนั้นเราได้ยืนยันตนเป็นผู้ตรัสรู้ชอบดังกล่าวแล้ว เช่นนั้น
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิปุ นัพภะโวติ ฯ
    การหยั่งรู้ การเห็นตามความเป็นจริงได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า ความหลุดพ้นของเราไม่มีการกลับกำเริบอีกแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายแล้ว ไม่ต้องมีการเวียนว่ายตายเกิดอีก
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อิทะมะโว จะ ภะคะวาฯ อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
    ครั้นพระพุทธองค์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณได้แสดงธรรมโดยปริยายดังกล่าวมา เหล่าภิกษูเบญจวัคคีย์ ก็ได้มีใจยินดีเพลินในการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิ ภัญญะมาเน อายัส มะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สุมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ
    ก็แล เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสแสดงธรรมอย่างแจ่มแจ้งอย่างมีหลัก ท่านโกณทัญญะ ผู้ทรงไว้ซึ่งอาวุโส ได้เกิดธรรมจักษุ คือ ได้รู้แจ้งเห็นจริงซึ่งพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง กำจัดธุลี กำจัดมลทินเสียได้ มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่ สิ่งใดเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา เพราะสิ้นเหตุปัจจัย
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย
    อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิวา โลกัสมินติ ฯ
    ครั้นพระพุทธองค์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณ ได้แสดงธรรมจักร คือ หมุนวงล้อแห่งธรรมที่ประกอบด้วย 8 ซี่ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 เหล่าภุมเทวดา ก็เปล่งเสียงสาธุการบันลือลั่นว่า วงล้อแห่งธรรม ไม่มีวงล้ออื่นใดจะหมุนสู้ได้ ได้รับการหมุนไปโดยพระพุทธเจ้า ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งไม่มีใครทำได้มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    พรัหมะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พรัหมะปะริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    พรัหมะปะโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พรัหมะปะโรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    มะหาพรัหมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ มะหาพรัหมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสา เวสุง ฯ อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    สุภะกิณหะกา เทวา สัททะ มะนุสสาเวสุงฯ สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสา เวสุง ฯ อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
    อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิ วัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ
    เหล่าเทพเจ้าชั้นจาตุมมหาราชิกา ครั้นได้ยินเสียงเหล่าเทพภุมเทวดาต่างก็ส่งเสียงสาธุการ บันลือลั่นสืบต่อไปจนถึงเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามะ ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี จนกระทั่งถึงชั้นพรหม ตั้งแต่พรหมปาริสัชชา พรหมปโรหิตา มหาพรหม ปริตตาภาพรหม อัปมาณาภาพรหม อาภัสสราพรหม ปริตตสุภาพรหม อัปปมาณสุภาพรหม สุภกิณหกาพรหม เวหัปผลาพรหม อวิหาพรหม อตัปปาพรหม สุทัสสาพรหม สุทัสสีพรหม จนกระทั่งถึงอกนิฎฐกาพรหมเป็นที่สุด ก็ส่งเสียงสาธุการบันลือลั่น เพียงครู่เดียว เสียงได้บันลือไปทั่วพรหมโลก
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิฯ อะยันจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ
    สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิฯ อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ

    ทั้งหมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหว สะเทือนสะท้าน เสียงดังสนั่นลั่นไป ทั้งแสงสว่างอันหาประมาณมิได้ ได้ปรากฏขึ้นในโลก เหนือกว่าอานุภาพของเหล่าพรหม
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ อิติหิทัง อายัสมะโต
    โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญ เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
    ต่อจากนั้นพระพุทธองค์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณ ได้ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า "โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย" เพราะเหตุนี้ ท่านโกณฑัญญะจึงได้นามว่าอัญญาโกณฑัญญะ
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]จบ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร[/FONT]​
     
  2. chanin

    chanin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2005
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,332
    ธัมมจักกัปปวัตนสูตร พร้อมคำแปลมีแล้ว
    ต่อไปก็คลิกเสียงสวดและคำแปลได้ที่
    http://www.oknation.net/blog/buddhamantra/video/7672
    เป็นเทศนากัณฑ์แรกที่พระพุทธเจ้า แสดงแก่ปัญวัคคีย์
    โกณฑัญญะดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบันองค์แรก
    ท่านที่ฟังเข้าใจมีโอกาสได้เป็นพระโสดาบันเช่นกัน
     
  3. khomeraya

    khomeraya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,833
    ค่าพลัง:
    +21,369
    สาธุ อนุโมทนามิกับเจ้าของกระทู้ คุณ Chanin คุณโอม และสาธุชนทั้งหลายผู้เห็นความสำคัญของบทสวด

    มีพระอริยเจ้ารูปหนึ่งกล่าวไว้ว่า บทสวดพระมหาสมัยสูตรก็ดี บทสวดธรรมจักรหรือบทสวดธัมมจักกัปวัฒนสูตรก็ดี มีเทวดามาฟังเยอะ เพราะมีการกล่าวถึงเทวดา
     
  4. หนึ่ง99999

    หนึ่ง99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,369
    ค่าพลัง:
    +1,922
    วันวิสาขบูชาและอัฐมีบูชา<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ขอเรียนเชิญพุทธศาสนิกชน<o:p></o:p>
    กราบนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธนิมิตเมตตา ปางปฐมเทศนา
    สาธยายพระไตรปิฎกเฉลิมพระเกียรติ <o:p></o:p>
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ<o:p></o:p>
    วัดใหม่ยายแป้น เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
    วันเสาร์ที่ ๒๒ พฤษภาคมถึง เสาร์ ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๓<o:p></o:p>
    เวลา ๐๘.๐๐ น.พร้อมกันที่วิหารพระไตรปิฎก<o:p></o:p>
    เวลา๐๘.๓๐ น.อัญเชิญพระไตรปิฎกทักษิณาวัตรที่พระอุโบสถ<o:p></o:p>
    เวลา ๐๙.๐๙ น.ประธานจุด เทียน-ธูป<o:p></o:p>
    เจ้าหน้าที่อาราธนาศีล<o:p></o:p>
    พระครูปลัดรัตนวัฒน์( เจ้าอาวาส) ให้ศีล<o:p></o:p>
    จุดเทียนบูชาพระไตรปิฎก<o:p></o:p>
    เริ่มสาธยายพระไตรปิฎก<o:p></o:p>
    รวม ๑๕ วัน ๑๔ คืน<o:p></o:p>
    วันเสาร์ที่ ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๓ วันอัฐมีบูชา
    เวลา ๑๙.๐๐ น.หยุดการสาธยายพระไตรปิฎก เจริญสมาธิและถวายเป็นพระราชกุศล เวียนเทียนชมพระไตรปิฎก สมัยรัชกาลที่ ๕ พม่า , ศรีลังกา , ล้านนา , รัฐฉาน , เขมร , จีนและคัมภีร์โบราณชมภาพปรินิพพานเท่าของจริง
    รถเมล์สาย ปอพ.๑๐,๕๖,๕๗,๗๙,๑๕๗,๑๗๕,๔๐,๕๔๒.๘๐,๕๐๙,๒๘,๑๗๑ ลงที่สี่แยกบางขุนนนท์ (รถเมล์สาย ๕๗,๗๙ ผ่านหน้าวัด )<o:p></o:p>
    ติดต่อสอบถามได้ที่ พระมหาณรงค์ศักดิ์ ฐิติญาโณ ผศ.ดร.D.Litt(ไม่รับเงินบริจาค)www.narongsak.org
    โทร. ๐๒-๔๓๕-๗๕๕๕ ๐๘๙-๙๖๓-๔๕๐๕ โทรสาร. ๐๒-๔๓๔-๑๒๓๘<o:p></o:p>
    การสาธยายพระไตรปิฎกจึงเสมือนได้เข้าเฝ้าต่อหน้าพระพักตร์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่า ธรรมและวินัยที่ตถาคตตรัสไว้ดีแล้วธรรมเหล่านั้นจะเป็นศาสดาของพวกเธอ”

     
  5. หนึ่ง99999

    หนึ่ง99999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,369
    ค่าพลัง:
    +1,922
    วันวิสาขบูชาและอัฐมีบูชา<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ขอเรียนเชิญพุทธศาสนิกชน<o:p></o:p>
    กราบนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธนิมิตเมตตา ปางปฐมเทศนา
    สาธยายพระไตรปิฎกเฉลิมพระเกียรติ <o:p></o:p>
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ<o:p></o:p>
    วัดใหม่ยายแป้น เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
    วันเสาร์ที่ ๒๒ พฤษภาคมถึง เสาร์ ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๓<o:p></o:p>
    เวลา ๐๘.๐๐ น.พร้อมกันที่วิหารพระไตรปิฎก<o:p></o:p>
    เวลา๐๘.๓๐ น.อัญเชิญพระไตรปิฎกทักษิณาวัตรที่พระอุโบสถ<o:p></o:p>
    เวลา ๐๙.๐๙ น.ประธานจุด เทียน-ธูป<o:p></o:p>
    เจ้าหน้าที่อาราธนาศีล<o:p></o:p>
    พระครูปลัดรัตนวัฒน์( เจ้าอาวาส) ให้ศีล<o:p></o:p>
    จุดเทียนบูชาพระไตรปิฎก<o:p></o:p>
    เริ่มสาธยายพระไตรปิฎก<o:p></o:p>
    รวม ๑๕ วัน ๑๔ คืน<o:p></o:p>
    วันเสาร์ที่ ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๓ วันอัฐมีบูชา
    เวลา ๑๙.๐๐ น.หยุดการสาธยายพระไตรปิฎก เจริญสมาธิและถวายเป็นพระราชกุศล เวียนเทียนชมพระไตรปิฎก สมัยรัชกาลที่ ๕ พม่า , ศรีลังกา , ล้านนา , รัฐฉาน , เขมร , จีนและคัมภีร์โบราณชมภาพปรินิพพานเท่าของจริง
    รถเมล์สาย ปอพ.๑๐,๕๖,๕๗,๗๙,๑๕๗,๑๗๕,๔๐,๕๔๒.๘๐,๕๐๙,๒๘,๑๗๑ ลงที่สี่แยกบางขุนนนท์ (รถเมล์สาย ๕๗,๗๙ ผ่านหน้าวัด )<o:p></o:p>
    ติดต่อสอบถามได้ที่ พระมหาณรงค์ศักดิ์ ฐิติญาโณ ผศ.ดร.D.Litt(ไม่รับเงินบริจาค)www.narongsak.org
    โทร. ๐๒-๔๓๕-๗๕๕๕ ๐๘๙-๙๖๓-๔๕๐๕ โทรสาร. ๐๒-๔๓๔-๑๒๓๘<o:p></o:p>
    การสาธยายพระไตรปิฎกจึงเสมือนได้เข้าเฝ้าต่อหน้าพระพักตร์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่า ธรรมและวินัยที่ตถาคตตรัสไว้ดีแล้วธรรมเหล่านั้นจะเป็นศาสดาของพวกเธอ”

    <o:p></o:p>

    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    อานิสงส์การสาธยายพระไตรปิฎก
    ๑.พระไตรปิฎกเป็นตาวิเศษอันยิ่งบุคคลใดสาธยายพระไตรปิฎกแล้ว สามารถที่จะรู้ได้ว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ ทำให้เป็นสัมมาทิฎฐิ นำไปสู่ความสำเร็จและเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล คือตั้งแต่โสดาบัน สกทาคามี อนาคามีและอรหันต์เข้าสู่นิพพาน
    ๒.พระไตรปิฎกเป็นหูที่วิเศษอันยิ่งฟังธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่สอนให้บุคคลนั้นดำรงชีวิตด้วยความถูกต้อง ที่เป็นสัมมาทิฎฐิ อย่างน้อยไม่ทำบาปทำแต่กุศล ได้ฟังแต่สิ่งที่เป็นมงคล การพูดก็ดี สุขภาพจิตก็ดี มีจิตใจที่ผ่องใส เมื่อจิตใจผ่องใสความคิดก็ดีความจำก็ดีขึ้นมีสติไม่ทำให้เกิดอกุศลหน้าตาผ่องใสเป็นต้น(พระไตรปิฎกเล่มที่๔)
    ๓.พระไตรปิฎกเป็นจมูกที่วิเศษอันยิ่ง กลิ่นหอมที่ว่าหอมแม้จะลอยตามลมไปได้ ๑,๐๐๐ โยชน์ แต่ไม่สามารถที่จะทวนลมได้ แต่กลิ่นของความดี กุศลนั้นสามารถจะทวนลมและกระจายออกไปได้ทุกทิศ จะเป็นมีจมูกที่ได้กลิ่นของกุศลที่กระจอนไปทุกทิศ และไม่หลงติดอยู่กับกลิ่นหอมอย่างอื่น(พระไตรปิฎกเล่ม๙และ๑๖)
    ๔.พระไตรปิฎกเป็นลิ้นที่วิเศษอันยิ่ง ลิ้นคนเราแม้จะจำรสต่าง ๆ ได้ ไม่ช้าก็ลืมมีความสุขชั่วคราวทำให้คนขาดสติ แต่ลิ้นที่ลิ้มรสของพระธรรมนั้น ไม่มีความอิ่มในรสของพระธรรม เมื่อคนเราได้รับลิ้มรสของพระธรรมแล้ว จะทำให้ร่างกายผ่องใสทั้งภายในและภายนอกและจะช่วยรักษาโรคได้ทุกชนิด(พระไตรปิฎกเล่ม๙และ๑๖)
    ๕.พระไตรปิฎกเป็นกายที่วิเศษอันยิ่ง เมื่อบุคคลได้สาธยายแล้วทำให้มีสภาพที่ผ่องใสทั้งภายในและภายนอก มีกายที่เบาไม่เชื่องช้าเลือดลมในตัวเราที่เรียกว่าธาตุ๔นั้นก็สมบูรณ์ทำให้มีอายุยิ่งยืนนานสามารถหายจากโรคที่เกิดแต่กรรมได้
    ๖.พระไตรปิฎก เป็นใจที่วิเศษอันยิ่ง ใจดี ใจผ่องใส ใจเป็นหัวหน้า เมื่อใจเบิกบาน จิตใจเป็นกุศลก็สามารถเข้าถึงความเป็น โสดาบันสกทาคามีอนาคามีและพระอรหันต์ในที่สุด(พระไตรปิฎกเล่ม๙และ๑๖)
    ๗.พระไตรปิฎกเป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษอันยิ่ง สามารถที่จะสอนให้เรารู้ว่าอะไรเป็นกุศลอะไรเป็นอกุศล เมื่อรู้อย่างนี้แล้วสอนให้เรานำเอาหลักธรรมไปประพฤติปฏิบัติอันเป็นทางที่มีความสำเร็จในชีวิตนำทางไปเพื่อเข้าถึงพระนิพพาน(พระไตรปิฎกเล่ม ๙)
    ๘.พระไตรปิฎก เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษอันยิ่ง พ่อแม่ไม่ได้หวังค่าตอบแทนจากลูกฉันใด พระไตรปิฎกเป็นผู้ที่สอนให้เรารู้ทุกอย่างที่เรายังไม่เคยรู้ นำทางให้เราเข้าถึงความเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ แล้วแต่ทางดำเนินชีวิตอันทำให้ถึงจุดหมายปลายทางคือพระนิพพาน(พระไตรปิฎกเล่ม๑๒และ๑๔)
    ๙.พระไตรปิฎกเป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษอันยิ่ง เมื่อบุคคลได้สาธยายก็จะมีแต่มิตรนำทางไปสู่ที่ดีนำชีวิตไปสู่ความสุขทั้งตัวเอง ครอบครัวและสังคมที่ดีนำทางไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองทั้งในทุกสถานในกาลทุกเมื่อ(พระไตรปิฎกเล่มที่๓๖)
    ๑๐.สมัยพระพุทธเจ้าชื่อว่ากัสสปะ พระสงฆ์สาธยายอภิธรรมในถ้ำ ค้างคาว ๕๐๐ ตัวได้ฟังเมื่อถึงคราวตายแล้วไปจุติที่ชั้นดาวดึงส์ชาติสุดท้ายมาเกิดเป็นลูกศิษย์พระสารีบุตรและเป็นอรหันต์เป็นที่สุด
    ๑๑.การสาธยายพระไตรปิฎกที่ว่ากรรมเก่าไม่มีใครลบล้างได้ กรรมปัจจุบันจะช่วยได้ จงจำไว้ กรรมที่ทำด้วยเจตนาไม่ว่าดีหรือชั่ว ย่อมมีผลต่อผู้กระทำทั้งสิ้น ไม่มีพรหมเทพองค์ใดจะช่วยลบล้างกรรมนั้นได้ เธอจงช่วยตนเอง ด้วยการสวดมนต์ ภาวนาแผ่เมตตาผลแห่งบุญอันเป็นกรรมปัจจุบันจะช่วยเธอได้”ตอนหนึ่งที่กล่าวกับนางโรหิณี
    ๑๒.การสาธยายหรือการสวดมนต์ ย่อมจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่จิตของตนและประโยชน์แก่จิตอื่น และสามารถที่จะทำให้ผู้ที่สวดมนต์สาธยายมีความสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้
    บุญกุศลที่ยิ่งใหญ่อันพึงจะเกิดขึ้นในครั้งนี้
    ขอน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯผู้เป็นพ่อของแผ่นดินที่ให้อาศัยแก่เราและวงศ์ตระกูลได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขและเจริญก้าวหน้าตลอดมาขอธรรมของพระศาสดาเป็นประดุจดังธรรมโอสถทิพย์ที่จะช่วยคลายทุกข์ให้ประชาชนคนไทยได้รู้รักสามัคคีเฉกเช่นพี่น้องร่วมอุทรอันไม่พึงทำร้ายซึ่งกันและกันด้วยกาย วาจา ใจ ขอให้พี่น้องประชาชนทั้งหลายเป็นผู้มั่นคงและถึงพร้อมด้วยความดี เพื่อแผ่นดินไทยอยู่อย่างผาสุกตลอดกาลและนาน
     
  6. sazukia007

    sazukia007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    350
    ค่าพลัง:
    +711
    เราสวดได้เฉพาะท่อนบนครับ ท่อนล่างจะไม่สวดเพราะบทสวดๆแล้วไปไม่ถูกจับจังหว่ะไม่ได้
    คือ

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อนุตตะรัง อภิสัมโพธิง สัมพุชฌิตวา ตะถาคะโต
    ปะฐะมัง ยัง อะเทเสสิ ธัมมะจักกัง อะนุตตะรัง
    สัมมะเทวะ ปะวัตเตนโต โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
    ยัตถากขาตา อุโภ อันตา ปะฎิปัตติ จะ มัชฌิมา
    จะตูสวาริยะสัจเจสุ วิสุทธัง ญาณะทัสสะนัง
    เทสิตัง ธัมมะราเชนะ สัมมาสัมโพธิกิตตะนัง
    นาเมนะ วิสสุตัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง
    เวยยากะระณะปาเฐนะ สังคีตันตัมภะณามะ เส ฯ
    [/FONT]

    แบบนี้ถือว่าสวดจบใหมเพราะหนังสือเราจะแบ่งเป็นสองบทครับ
     
  7. gi5ffie

    gi5ffie สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +5
    ขอบคุณมากๆเลยค่ะ :cool:
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     
  8. โอมศายะ

    โอมศายะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +57
    อนุโมทนาสาธุช่างเป็นมงคลโดยแท้
    คำแปลย่อมทำให้เราเข้าใจบทสวดได้มากยิ่งขึ้นเมื่อได้ทราบความหมาย
    แล้วย่อมทำให้จิตใจเกิดปิติยินดีและเข้าใจมากยิ่งขึ้นสาธุ
    พระธรรมแห่งพระองค์ช่างเป็นแสงสว่างที่ไพศาลโดยแท้
     
  9. SALEEN

    SALEEN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +130
    ขออนุโมทนาอย่างสูงครับ
    ขออนุโมทนาอย่างสูงครับ
    ขออนุโมทนาอย่างสูงครับ
    ขออนุโมทนาอย่างสูงครับ
    ขออนุโมทนาอย่างสูงครับ
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  10. ttt2010

    ttt2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,754
    ค่าพลัง:
    +905
    อนุโมทนาสาธุกับท่านผู้ตั้งกระทู้เพื่อให้สมาชิกได้ศึกษากัน
    บุญที่กระทำนี้ขอให้ส่งผลให้ได้รับในวันนี้ด้วยเทอญ
    "อันทานศีลภาวนาอย่าเลยละ อุตสาหะสืบสร้างทางสวรรค์ นิสัยส่งคงนิพพานไม่นานครัน เกษมสันติ์แสนสุขสิ้นทุกข์ภัย"
     
  11. anan11

    anan11 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +2
    รบกวนหน่อยค่ะคือเห็นบางที่ตรงที่เป็นบทนำ ท่อนที่ว่า นาเมนะ ของคุณจขกท เขียนว่า.
    นาเมนะ  วิสสุตัง ธัมมะจักกัปปะวัตตนัง,แต่บางที่เขียน นาเมนะ  วิสสุตัง สุตตัง ธัมมะจักกัปปะวัตตนัง,
    ไม่ทราบว่าจริงๆแล้วใช้ได้ทั้คู่ไหมค่ะ ขอบคุณและอนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
     
  12. Broccocat

    Broccocat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    954
    ค่าพลัง:
    +4,094
    อนุโมทนามากๆ เลยนะคะ สวดมาตั้งนาน พึ่งจะรู้ความหมาย โดยส่วนตัว เราชอบสวดมนต์บทนี้ พอๆ กับบทสวดชินบัญชร เลยค่ะ รู้สึกว่า ภาษาที่ใช้ มีความไพเราะและมีความหมายที่ดีด้วย

    เราชอบ วรรคตั้งแต่ จาตุมมะหาราชิกา......โลกัสมินติ เป็นอะไรที่สวดได้คล่องมาก ทั้งๆ ที่ในตอนนั้น เริ่มสวดเป็นครั้งแรก(ปกติถ้าบทไหนสวดเป็นครั้งแรก จะใช้เวลานานมาก กว่าจะสวดจบ เพราะต้องแกะแต่ละคำ เพื่อสะกดให้ถูกต้อง)
     
  13. rungdao

    rungdao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    2,019
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +10,731
    ขออนุโมทนาค่ะ สาธุ กำลังหาข้อมูลอยู่พอดี ขอบคุณมากค่ะ
     
  14. a5g1aeka

    a5g1aeka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    728
    ค่าพลัง:
    +1,579
    :cool::cool::cool:สาธุๆๆกับจขกท.ด้วยครับ({)(k):cool:({):cool:
     
  15. porntips

    porntips เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    955
    ค่าพลัง:
    +2,410
    ขอบพระคุณอย่างสูงครับ โมทนาอย่างท่วมท้นครับ ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป
     
  16. LetItGo

    LetItGo สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +22
    กระทู้หลายปีแล้ว
    แต่เห็นมีผู้สงสัยเขียนไว้ไม่ได้ตอบ
    เลยขออนุญาตไขข้อสงสัยเพื่อนๆ ไว้เผื่อจะเป็นประโยชน์ครับ


    บทนำนี้ เรียกว่าเป็น "บทขัด" คือบทที่แสดงที่มาของพระปริตแต่ละบท
    ความเกิดขึ้นได้อย่างไร มีใจความย่ออย่างไร

    วิธีการสาธยายบทขัด ให้สวดเป็น "สรภัญญะ" ครับ
    ไม่ได้สวดแบบสังโยคทั่วไป
    (คือไม่ได้สวดเป็นจังหวะเหมือนพระท่านสวด)
    สวดเหมือนกับกลอนแปดครับ

    อนุตตะรัง อภิสัมโพธิง, สัมพุชฌิตวา ตะถาคะโต
    ปะฐะมัง ยัง อะเทเสสิ, ธัมมะจักกัง อะนุตตะรัง
    สัมมะเทวะ ปะวัตเตนโต, โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
    ยัตถากขาตา อุโภ อันตา, ปะฎิปัตติ จะ มัชฌิมา
    จะตูสวาริยะสัจเจสุ, วิสุทธัง ญาณะทัสสะนัง
    เทสิตัง ธัมมะราเชนะ, สัมมาสัมโพธิกิตตะนัง
    นาเมนะ วิสสุตัง, ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง
    เวยยากะระณะปาเฐนะ, สังคีตันตัมภะณามะ เส ฯ

    บทขัดนี้บางที่จะสวดหรือไม่สวดก็ได้
    แต่ถ้าให้สมบูรณ์ควรจะสวดประกอบไปด้วยครับ

    ต้องใช้
    "นาเมนะ วิสสุตัง 'สุตตัง' ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง" ด้วยครับ
    มิเช่นนั้นความหมายจะผิด
    จะทำให้เนื้อความเสียไปครับ

    สุตตังหรือสุตตะ แปลโดยอรรถภาษาไทยง่ายๆคือ
    การ(ได้)ฟัง ได้รับทราบ ตามที่มีผู้แปลไว้ข้างบนนั่นเองครับ

    ขออนุโมทนากับผู้แปล ผู้ตั้งกระทู้ และทุกท่านครับ
     
  17. pisorn

    pisorn สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2016
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    ธัมมจักกัปวัตตนสูตร(แปล ฉบับสมูรณ์)

    ขอ copy ไว้อ่านนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...