น้ำประปา มะเร็ง และ การแท้ง

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 25 มกราคม 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174
    เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวเกี่ยวกับงานวิจัยที่ว่า การดื่มน้ำประปาอาจทำให้เป็นมะเร็ง และสำหรับหญิงตั้งครรภ์ก็อาจแท้งได้ เป็นข่าวที่ออกมากระตุ้น ต่อมตระหนก ของคนไทยพอสมควร

    น้ำประปา เป็นน้ำที่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยสารประกอบคลอรีน จึงเกิดเป็นข้อสงสัยว่า คลอรีนในน้ำประปา จะทำให้เกิดมะเร็งได้หรือไม่ มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ศึกษาเรื่องนี้

    ดังเช่น งานวิจัยของนักวิจัยชาวฟินแลนด์ ได้ลองให้สาร 2-chloro-4(dichloromethyl)-5-hydroxy-2(5H)-furanone หรือ MX ซึ่งเป็นสารที่เกิดขึ้นในน้ำที่ฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน แก่หนูทดลอง ผลก็คือ หนูเป็นมะเร็งหลายแบบ

    แต่ผลนั้นก็ใช่ว่า จะนำมาใช้กับคนได้โดยตรง ทั้งนี้เพราะ ในการทดลอง หนูจะได้รับน้ำดื่มที่มี MX เข้มข้นสูงมาก ๆ ปกติน้ำดื่มมาตรฐานจะมี MX 10 นาโนกรัมต่อลิตร (1 นาโนกรัม เท่ากับ 1 ในพันล้านกรัม) แต่หนูทดลองดื่มน้ำที่มี MX สูงถึง 70 ไมโครกรัมต่อลิตร (1 ไมโครกรัม เท่ากับ 1 ในล้านกรัม) นั่นคือ หนูทดลองได้รับ MX มากกว่าที่มนุษย์ได้จากน้ำดื่มปกติ ในสัดส่วน 1 ล้านเท่า

    นอกจากนั้น หนูเหล่านี้ (โดยทั่วไป เป็นหนูที่เพาะขึ้นมาให้เป็นมะเร็งได้ง่าย) ได้รับสารอาหารสูตร 151 เป็นสารอาหารที่อุดมไปด้วย carcinogen maganese และสารตัวนี้ก็เป็นสารก่อมะเร็งด้วย ดังนั้น อาจเป็นไปได้ที่หนูเหล่านั้น เป็นมะเร็งจากแมงกานีส ไม่ใช่จากคลอรีน

    ลองหันมาดูข่าวที่ว่า สตรีตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก มีโอกาสแท้งได้มากขึ้น ถ้าดื่มน้ำประปามากกว่า 5 แก้วต่อวันขึ้นไป กันบ้าง

    งานวิจัยชิ้นนี้ มาจากการพบสารปนเปื้อนในน้ำดื่มที่มีชื่อว่า สาร trihalomethane (TTHM) เป็นสารที่เกิดขึ้นจากการทำปฏิกิริยา ระหว่างคลอรีนกับกรดจากพืช การทดลองกระทำโดย สำนักงานอนามัย ของคาลิฟอร์เนีย ในการตรวจสอบหญิงตั้งครรภ์ 5,144 คน จากฟอนตานา ซานตาคลารา และวอลนัทครีก

    การศึกษาพบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ดื่มน้ำประปาที่มี TTHM 75 ไมโครกรัมต่อลิตร ตั้งแต่ 5 แก้วต่อวันขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงต่อการแท้งมากขึ้น คือมีโอกาสแท้ง 15.7 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับ TTHM น้อยกว่า 75 ไมโครกรัมต่อลิตร มีโอกาสเสี่ยงเพียง 9.5 เปอร์เซ็นต์ และน้ำดื่มที่หญิงมีครรภ์ทั้งหลายดื่มก็เป็นไปตามมาตรฐาน

    หน่วยงานป้องกันสิ่งแวดล้อมในอเมริกาเอง ยอมให้มี TTHM ได้ 100 ไมโครกรัมต่อลิตร และกำลังวางแผนลดให้เหลือ 80 ไมโครกรัมต่อลิตร นั่นแสดงถึงการดื่มน้ำประปา ก็เป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการแท้ง และก็ไม่มีใครรู้แน่ชัดด้วยว่า ระดับของ TTHM เท่าไรจึงจะปลอดภัย ผลจากงานวิจัยนี้ก็ยังครอบคลุมไม่พอที่จะให้คำตอบได้

    ในขณะที่บางท้องที่ ปริมาณ TTHM ก็ต่ำกว่าตัวเลขในงานวิจัย บางท้องที่ปริมาณ TTHM ก็มีสูงกว่า จึงมีคำแนะนำให้หญิงมีครรภ์ ปรึกษาแพทย์ หรือใช้การกรองน้ำด้วยผงถ่าน แล้วตั้งทิ้งไว้นาน ๆ หรือใช้การต้มน้ำก่อนนำมาดื่ม ซึ่งจะช่วยลดปัญหานี้ได้

    ทางด้านการประปานครหลองของประเทศไทย ก็ได้มีการศึกษาสารเคมี ที่อาจเป็นอันตรายเหล่านี้ ก็พบเฉพาะ สารคลอโรฟอร์ม 30.82 ไมโครกรัมต่อลิตร ซึ่งต้องดื่มน้ำประปา (ไม่ระบุจำนวนแก้วต่อวัน) นาน 252 ปีจึงจะเป็นมะเร็ง ส่วนเรื่อง TTHM นั้น การประปาบอกเพียงว่า สารนี้ไม่เป็นอันตราย และตบท้ายว่า ไม่งั้นประเทศไทย คงไม่มีเด็กแรกเกิด หรือหญิงมีครรภ์หลงเหลืออยู่เลย

    ข้อมูลที่ลงนี้ เป็นเรื่องต่างฝ่ายต่างเสนอกัน ไม่อาจรับรองได้ทั้งหมด ขอให้ไตร่ตรองกันให้ดี

    ข้อมูลงานวิจัยทั้งสองชิ้น มาจาก JunkScience (
    http://www.junkscience.com ) ในการดูแลของ TASCC ( http://www.tascc.org )
     

แชร์หน้านี้

Loading...