เรื่องเด่น น้ำแข็งละลายที่ทวีปแอนตาร์กติกา ละลานตากับเส้นทางสู่ ‘ธารน้ำแข็งแห่งวันสิ้นโลก’

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 16 กุมภาพันธ์ 2020.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    น้ำแข็งละลายที่ทวีปแอนตาร์กติกา ละลานตากับเส้นทางสู่ 'ธารน้ำแข็งแห่งวันสิ้นโลก'
    จัสติน ราวแลตต์หัวหน้าผู้สื่อข่าวสิ่งแวดล้อม

    _110661246_1920_dsc0750.jpg
    ภาพที่ปรากฏแต่แรกดูขมุกขมัว

    ตะกอนลอยผ่านหน้ากล้อง ขณะที่ ไอซ์ฟิน (Icefin) ยานใต้น้ำสีเหลืองสดไร้คนขับที่ควบคุมจากระยะไกล ค่อย ๆ เคลื่อนไปข้างหน้าใต้แผ่นน้ำแข็ง

    จากนั้น น้ำก็เริ่มใส

    ไอซ์ฟิน อยู่ลึกใต้แผ่นน้ำแข็งเกือบ 600 เมตร ที่บริเวณแนวหน้าของธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่เปลี่ยนแปลงเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

    _110663321_1920_dsc0712.jpg
    ทันใดนั้น ก็มีเงาปรากฏขึ้นด้านบน เป็นเงาจากหน้าผาน้ำแข็งที่ยื่นออกมาและถูกปกคลุมไปด้วยดิน

    ภาพดูไม่ค่อยเหมือนนัก แต่นี่เป็นภาพที่พิเศษ เพราะเป็นภาพแรกที่ได้มาจากเขตแดนที่กำลังเปลี่ยนแปลงโลกของเรา

    ไอซ์ฟิน เคลื่อนไปถึงจุดที่น้ำอุ่นในมหาสมุทรพบกับผนังน้ำแข็งที่อยู่แนวหน้าธารน้ำแข็งทเวตส์ขนาดมหึมา ซึ่งเป็นจุดที่ธารน้ำแข็งนี้เริ่มละลาย

    _110661248_meltholethroughthwaitesneargroundinglinehotwateronicedrilling_bas.jpg Image copyrightBRITISH ANTARCTIC SURVEY
    ธารน้ำแข็งแห่ง 'วันสิ้นโลก'
    นักวิทยาธารน้ำแข็ง เรียกธารน้ำแข็งทเวตส์ว่า ธารน้ำแข็ง "ที่สำคัญที่สุด" ในโลก ธารน้ำแข็งที่ "สุ่มเสี่ยงที่สุด" หรือแม้กระทั่งเรียกว่า ธารน้ำแข็งแห่ง "วันสิ้นโลก"

    มันมีขนาดมโหฬาร พื้นที่ประมาณสหราชอาณาจักร

    น้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีมาจากธารน้ำแข็งแห่งนี้ราว 4% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมากสำหรับธารน้ำแข็งเพียงแห่งเดียว ข้อมูลจากดาวเทียมเผยให้เห็นว่า มันกำลังละลายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

    ธารน้ำแข็งแห่งนี้ มีน้ำมากพอที่จะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นได้กว่าครึ่งเมตร

    _110751116_antarctica_01_ice_thickness_map_976-nc.png
    [​IMG]
    ทเวตส์ตั้งอยู่ในจุดสำคัญ ตรงศูนย์กลางของแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกาตะวันตก ซึ่งเป็นบริเวณที่มีน้ำแข็งอยู่ในจำนวนที่มากพอจะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นสูงกว่า 3 เมตรได้

    แต่กระนั้นก็ไม่เคยมีความพยายามทำการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ที่ธารน้ำแข็งแห่งนี้มาก่อน จนกระทั่งปีนี้

    ทีมงานไอซ์ฟิน พร้อมกับนักวิทยาศาสตร์อีกราว 40 คน เป็นส่วนหนึ่งของทีมงานระหว่างประเทศที่สำรวจธารน้ำแข็งทเวตส์ ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ระยะเวลา 5 ปี มูลค่าโครงการ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 1,500 ล้านบาท เพื่อทำความเข้าใจว่า ทำไมธารน้ำแข็งแห่งนี้จึงเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

    โครงการนี้นับเป็นโครงการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนที่สุดและใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์แอนตาร์กติก

    _110751117_antarctica_02_map_v2_976-nc.png
    [​IMG]
    คุณอาจแปลกใจว่า ทำไมแทบไม่มีใครรู้อะไรเกี่ยวกับธารน้ำแข็งที่มีความสำคัญมากขนาดนี้มาก่อน ผมก็รู้สึกเช่นนั้น ตอนที่ผมได้รับเชิญให้มาติดตามดูการทำงานของนักวิทยาศาสตร์

    แล้วผมก็ได้ทราบคำตอบ ตอนที่ผมพยายามจะไปที่นั่นด้วยตัวเอง

    หิมะบนทางขึ้นลงเครื่องบินทำให้เที่ยวบินจากนิวซีแลนด์มายังแม็กเมอร์โด (McMurdo) ล่าช้า ที่นั่นคือสถานีวิจัยของสหรัฐฯ ในแอนตาร์กติกา

    นั่นคือความล่าช้าครั้งแรก ก่อนจะเกิดความล่าช้าและความวุ่นวายต่าง ๆ ตามมาอีกหลายครั้ง

    ทำให้คณะนักวิทยาศาสตร์ใช้เวลาหลายสัปดาห์เพียงเพื่อเดินทางไปยังที่พักของพวกเขา

    มีอยู่ช่วงหนึ่ง งานวิจัยของทั้งฤดูกาลนั้นเกือบจะไปถึงจุดที่ถูกยกเลิก เพราะว่าพายุทำให้เที่ยวบินไม่สามารถเดินทางจากแม็กเมอร์โดไปยังแอนตาร์กติกาตะวันตกได้นาน 17 วันติดต่อกัน

    _110661249_1920_dsc0318.jpg
    ทำไมธารน้ำแข็งทเวตส์จึงมีความสำคัญ
    แอนตาร์กติกาตะวันตกเป็นพื้นที่ที่มีพายุเกิดขึ้นมากที่สุดในทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นทวีปที่มีพายุเกิดขึ้นมากที่สุดในโลก

    ธารน้ำแข็งทเวตส์ตั้งอยู่ห่างไกลมาก อยู่ห่างจากสถานีวิจัยที่ใกล้ที่สุดมากกว่า 1,600 กม.

    มีเพียง 4 คนที่เคยไปถึงบริเวณขอบด้านหน้าสุดของธารน้ำแข็ง พวกเขาก็คือคนที่เดินทางมาสำรวจล่วงหน้าเพื่อเตรียมตัวสำหรับโครงการปีนี้นั่นเอง

    แต่การทำความเข้าใจว่า เกิดอะไรขึ้นที่นี่ เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับนักวิทยาศาสตร์ ในการคาดการณ์การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในอนาคตได้อย่างแม่นยำ

    น้ำแข็งในแอนตาร์กติกากักเก็บน้ำจืดของทั้งโลกอยู่ราว 90% และ 80% ของน้ำแข็งนั้นอยู่ทางตะวันออกของทวีป

    _110667848_ice_above_1920.jpg
    น้ำแข็งในแอนตาร์กติกาตะวันออกหนามาก โดยเฉลี่ยหนากว่า 1.6 กิโลเมตร แต่มันตั้งอยู่บนที่สูง และค่อย ๆ เคลื่อนตัวลงทะเล

    น้ำแข็งบางส่วนมีอายุเก่าแก่หลายล้านปี

    ต่างจากแอนตาร์กติกาตะวันตก ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า แต่ว่าก็ยังคงมีขนาดใหญ่ และมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ง่ายกว่ามาก

    น้ำแข็งในแอนตาร์กติกาตะวันตกไม่ได้ตั้งอยู่บนที่สูง แต่จริง ๆ แล้ว อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ถ้าพื้นที่แถวนั้นไม่เป็นน้ำแข็ง มันก็คงเป็นมหาสมุทรลึกที่มีเกาะอยู่จำนวนหนึ่ง

    _110751119_antarctica_03_sea_level_big_976-nc.png
    ผมอยู่ในแอนตาร์กติกา 5 สัปดาห์ ก่อนที่จะขึ้นเครื่องบินสำรวจแอนตาร์กติกาทวินอ็อตเทอร์ของอังกฤษ ไปยังริมสุดของธารน้ำแข็ง

    ผมจะไปค้างแรมที่นั่นกับทีมงาน ในบริเวณที่เรียกกันว่า เขตน้ำแข็งหลุดจากการยึดเกาะกับพื้นดิน (grounding zone)

    พวกเขาตั้งค่ายอยู่บนน้ำแข็งเหนือจุดที่ธารน้ำแข็งเจอกับน้ำในมหาสมุทร และต้องทำงานที่ท้าทายที่สุด

    พวกเขาต้องการเจาะน้ำแข็งลึกลงไปประมาณครึ่งไมล์ (ราว 800 เมตร) ไปถึงจุดที่ธารน้ำแข็งลอยอยู่

    ไม่มีใครเคยทำเช่นนี้บนธารน้ำแข็งที่ใหญ่และซับซ้อนขนาดนี้มาก่อน

    พวกเขาจะใช้รูนี้ในการลงไปให้ถึงจุดที่น้ำทะเลทำให้ธารน้ำแข็งละลายเพื่อหาคำตอบว่า มันมาจากไหน และทำไมจึงทำให้น้ำแข็งละลายได้อย่างรวดเร็วขนาดนี้

    _110751118_antarctica_04_sea_level_cross_section_976-nc.png
    [​IMG]
    พวกเขาไม่มีเวลามากนัก

    ความล่าช้าต่าง ๆ หมายความว่า มีเวลาเหลือเพียง 2-3 สัปดาห์ในช่วงหน้าร้อนของแอนตาร์กติกา ก่อนที่สภาพอากาศจะเริ่มเลวร้าย

    ในช่วงที่สมาชิกทีมขุดเจาะติดตั้งอุปกรณ์ ผมช่วยสำรวจแรงสั่นสะเทือนของก้นทะเลใต้ธารน้ำแข็ง

    ดร.คียา ริเวอร์แมน นักวิทยาธารน้ำแข็ง ที่มหาวิทยาลัยโอเรกอน ใช้สว่านน้ำแข็งในการขุดเจาะลงไป สว่านนี้ทำจากเหล็กสแตนเลสเกลียวขนาดใหญ่ และมีการจุดระเบิดขนาดเล็ก

    คนที่เหลือช่วยกันขุดรูในน้ำแข็งเพื่อติด "จีโอร็อดส์" (georods) และ "จีโอโฟนส์" (geophones) หูฟังไฟฟ้าที่ใช้ฟังเสียงสะท้อนของรอยแยกที่สะท้อนจากชั้นหินด้านล่างสุดขึ้นมาผ่านชั้นของน้ำและน้ำแข็ง

    _110668980_front_of_thwaites_-1920.jpg Image copyrightDAVID VAUGHAN
    ทเวตส์ตั้งอยู่ที่ก้นทะเล
    เหตุผลที่นักวิทยาศาสตร์กังวลเกี่ยวกับธารน้ำแข็งทเวตส์คือ การที่ก้นทะเลมีความลาดลง นั่นหมายความว่า ธารน้ำแข็งจะมีความหนามากขึ้นเมื่อเข้าใกล้ชายฝั่ง

    ที่จุดที่ลึกที่สุด ฐานของธารน้ำแข็งอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 1 ไมล์ (ประมาณ 1.6 กม.) และมีน้ำแข็งหนาอีก 1 ไมล์ (ประมาณ 1.6 กม.) เหนือจุดนั้น

    สิ่งที่เหมือนกำลังเกิดขึ้นในตอนนี้คือ กระแสน้ำอุ่นที่อยู่ในระดับลึกกำลังไหลไปทางชายฝั่ง และลงไปใต้แผ่นน้ำแข็งที่อยู่แนวหน้า ทำให้ธารน้ำแข็งละลาย

    เมื่อธารน้ำแข็งถอยร่นลง ก็จะเผยพื้นผิวน้ำแข็งให้สัมผัสกับกระแสน้ำอุ่นมากขึ้น

    _110751120_antarctica_05_3d_glacier_v2_976.jpg
    [​IMG]
    คล้ายกับการค่อย ๆ เฉือนก้อนชีสจากด้านที่เป็นลิ่มแหลมออกไปเรื่อย ๆ

    เมื่อพื้นผิวของน้ำแข็งใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ น้ำแข็งก็ละลายมากขึ้น แต่นั่นไม่ใช่ผลกระทบเพียงอย่างเดียว

    เมื่อบริเวณแนวหน้าของธารน้ำแข็งละลาย น้ำหนักของธารน้ำแข็งที่อยู่ด้านหลังจะผลักดันมันไปข้างหน้าตามแรงดึงดูดของโลก

    ดร. ริเวอร์แมน อธิบายว่า มันอยากจะ "ไถลออกมา" เธอบอกว่า หน้าผาน้ำแข็งยิ่งสูง ก็จะยิ่งทำให้ธารน้ำแข็ง "ไถล" ออกมาได้มากขึ้น

    ดังนั้น เมื่อธารน้ำแข็งละลายมากขึ้น ก็จะยิ่งทำให้น้ำแข็งในธารน้ำแข็งมีโอกาสลอยมากขึ้น

    "ความน่ากลัวก็คือ กระบวนการเหล่านี้จะเร่งตัวขึ้น" เธอกล่าว "มันเป็นวงรอบที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของมัน เป็นวงจรเลวร้าย"

    _110677091_img_1056.jpg
    การสำรวจทางวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ขนาดนี้ ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายเช่นนี้ ไม่ใช่แค่การส่งนักวิทยาศาสตร์ 2-3 คน ไปยังพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลนั้น

    แต่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะทางจำนวนมาก และเชื้อเพลิงอีกหลายหมื่นลิตร รวมถึง เต็นท์ และอุปกรณ์ในการพักค้างแรมอื่น ๆ รวมถึงอาหารการกิน

    ผมพักค้างแรมอยู่บนธารน้ำแข็งนาน 1 เดือน นักวิทยาศาสตร์บางคนอยู่นานกว่านั้นอีก อาจจะ 2 เดือนหรือนานกว่านั้น

    เครื่องบินขนส่งสินค้า C-130 ที่ติดตั้งสกีขนาดใหญ่ ของโครงการแอนตาร์กติกาสหรัฐฯ ต้องขนส่งนักวิทยาศาสตร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ไปยังสถานีหลักที่ตั้งอยู่กลางแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกาตะวันตก โดยใช้เที่ยวบินทั้งหมดมากกว่า 12 เที่ยวบิน

    จากนั้น เครื่องบินที่ขนาดเล็กลงมา คือ เครื่องบินดาโกตา และเครื่องบินทวินอ็อตเทอร์ จะขนส่งคนและสิ่งของไปยังค่ายพักค้างแรม ที่อยู่ห่างไกลหลายร้อยไมล์บนธารน้ำแข็งในทางที่มุ่งหน้าสู่ทะเล

    _110751121_antarctica_06_comparison_v2_976-nc.png
    [​IMG]
    ระยะทางยาวไกลมากจนทำให้ต้องมีการตั้งค่ายพักแรมกลางทางเพื่อให้เครื่องบินลงจอดแวะเติมน้ำมันได้

    การสำรวจแอนตาร์กติกาของอังกฤษได้มีส่วนช่วยในการเดินทางอันแสนยาวนานนี้ ด้วยการขนเชื้อเพลิงและสิ่งของจำนวนหลายร้อยตันเข้ามาให้

    เรือตัดน้ำแข็ง 2 ลำจอดอยู่ที่ด้านข้างหน้าผาน้ำแข็งที่บริเวณปลายคาบสมุทรแอนตาร์กติกาในช่วงฤดูร้อนปีที่แล้วของแอนตาร์กติกา

    จากนั้นทีมคนขับรถหิมะพิเศษได้ลากสิ่งของข้ามแผ่นน้ำแข็งเป็นระยะทางกว่า 1 พันไมล์ โดยต้องผ่านพื้นที่ที่ยากลำบากและสภาพอากาศเลวร้ายที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

    การเดินทางเป็นไปด้วยความยากลำบาก และใช้ความเร็วสูงสุดได้เพียง 10 ไมล์ต่อชั่วโมง (ประมาณ 16 กม. ต่อชั่วโมง)

    _110663319_ships_in_ice.jpg
    ขุดเจาะน้ำแข็ง
    นักวิทยาศาสตร์ที่พักแรมอยู่บริเวณเขตน้ำแข็งหลุดจากการยึดเกาะกับพื้นดิน (grounding zone) มีแผนที่จะใช้น้ำร้อนในการขุดเจาะน้ำแข็ง โดยต้องใช้น้ำ 10,000 ลิตร นั่นหมายถึงต้องละลายหิมะหนัก 10 ตัน

    ทุกคนใช้พลั่วตักหิมะขึ้นมาใส่ "ฟลับเบอร์" (flubber) ซึ่งทำจากยางมีขนาดเท่ากับสระว่ายน้ำขนาดเล็ก

    "มันจะเป็นอ่างน้ำวนที่อยู่ใต้สุดของโลก" พอล อังเคอร์ วิศวกรขุดเจาะของโครงการสำรวจแอนตาร์กติกาของอังกฤษ หยอดมุก

    หลักการง่ายมาก คุณใช้เครื่องต้มน้ำทำให้น้ำร้อน ต่ำกว่าจุดเดือด จากนั้นก็ฉีดมันใส่น้ำแข็ง เพื่อละลายน้ำแข็งลงไปข้างล่าง

    _110661251_1920_dsc0695.jpg
    แต่การขุดเจาะรูขนาด 30 ซม. ลึกลงไปเกือบครึ่งไมล์ (ประมาณ 800 เมตร) ในน้ำแข็งบริเวณแนวหน้าของธารน้ำแข็งที่อยู่ห่างไกลที่สุดในโลกไม่ใช่เรื่องง่าย

    น้ำแข็งมีความเย็นประมาณ -25 องศาเซลเซียส ดังนั้นรูที่เจาะจึงกลับมาแข็งตัวได้ไว กระบวนการทั้งหมดขึ้นอยู่กับสภาพอากาศที่คาดเดาไม่ได้

    ช่วงต้นเดือนมกราคม ฟลับเบอร์เต็ม และอุปกรณ์ทุกอย่างพร้อม แต่เราได้รับคำเตือนว่า พายุอีกลูกกำลังเข้ามา

    พายุในแอนตาร์กติกาอาจมีความรุนแรงอย่างมาก มันไม่ใช่เรื่องแปลกที่เจอลมความรุนแรงเท่ากับเฮอร์ริเคน และอุณหภูมิที่ต่ำมาก ๆ

    พายุลูกนี้ถือว่าค่อนข้างเบาสำหรับแอนตาร์กติกา แต่นั่นก็ยังทำให้มีลมกระโชกแรงถึง 80 กม./ชั่วโมง นาน 3 วัน มันพัดพาหิมะมาตกใส่ที่พักแรม ทับถมอุปกรณ์ ต้องหยุดการทำงานทุกอย่าง

    _110663316_x1920_dsc0377.jpg
    เรานั่งอยู่ในเต็นท์เล่นไพ่แล้วก็ดื่มชากัน บรรดานักวิทยาศาสตร์คุยกันว่า ทำไมธารน้ำแข็งถึงร่นลงเร็วมากอย่างนี้

    พวกเขาบอกว่า สิ่งที่กำลังเกิดขึ้น เป็นผลมาจากผลกระทบที่ซับซ้อนของภูมิอากาศ สภาพอากาศ และกระแสน้ำในมหาสมุทร

    กุญแจสำคัญคือ น้ำทะเลที่อุ่น ซึ่งไหลมาจากอีกฝั่งหนึ่งของโลก

    ขณะที่กระแสน้ำกัลฟ์สตรีม (Gulf Stream) เย็นลงระหว่างกรีนแลนด์และไอซ์แลนด์ น้ำจะจมลง

    น้ำนี้มีความเค็ม ทำให้มันค่อนข้างหนัก แต่ก็ยังมีอุณหภูมิสูงกว่าจุดเยือกแข็งอยู่ราว 1-2 องศาเซลเซียส

    กระแสน้ำลึกในมหาสมุทรที่เรียกว่า แอตแลนติกคอนเวเยอร์ (Atlantic conveyor) ได้พัดน้ำเค็มที่หนักลงไปทางใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก

    _110667847_hole_1920.jpg
    กระแสลมเปลี่ยน
    ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกระแสน้ำเย็นรอบขั้วโลกใต้ (Antarctic Circumpolar Current) ที่พัดอยู่ที่ระดับความลึกราว 530 เมตร อยู่ต่ำกว่าชั้นน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำกว่านั้นมาก

    ผิวน้ำของมหาสมุทรแอนตาร์กติกมีความเย็นมาก อยู่ที่ประมาณ -2 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นจุดเยือกแข็งของน้ำเค็ม

    กระแสน้ำอุ่นรอบขั้วโลกที่อยู่ในระดับลึก พัดพาไปทั่วภูมิภาค แต่ได้รุกล้ำเข้ามาบริเวณริมแอนตาร์กติกาตะวันตกที่เป็นน้ำแข็งเพิ่มมากขึ้น

    จุดนี้เองที่ทำให้ภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลง

    นักวิทยาศาสตร์บอกว่า มหาสมุทรแปซิฟิกกำลังร้อนขึ้น และได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบกระแสลมนอกชายฝั่งแอนตาร์กติกาตะวันตก ทำให้กระแสน้ำอุ่นที่อยู่ในระดับลึกพัดขึ้นมาท่วมบริเวณทวีปที่จมอยู่ในทะเล

    "กระแสน้ำเย็นรอบขั้วโลกใต้ที่อยู่ในระดับลึก มีอุณหภูมิอุ่นกว่าน้ำที่อยู่ด้านบนเพียงเล็กน้อย อาจจะอยู่ที่ 1 ถึง 2 องศาเซลเซียส แต่นั่นก็อุ่นพอที่จะทำให้ธารน้ำแข็งละลายได้" เดวิด ฮอลแลนด์ นักสมุทรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก กล่าว โดยเดวิด เป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ผู้นำการสำรวจที่พักแรมอยู่บริเวณเขตน้ำแข็งหลุดจากการยึดเกาะกับพื้นดิน (grounding zone) ด้วย

    _110661255_1920_dsc0761.jpg
    ผมควรจะเดินทางออกจากแอนตาร์กติกาช่วงปลายเดือนธันวาคม แต่ความล่าช้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้เพิ่งเริ่มการขุดเจาะได้ในวันที่ 7 มกราคม

    วันนั้นเองเราได้รับโทรศัพท์ผ่านดาวเทียมจากสำนักงานใหญ่โครงการแอนตาร์กติกาของสหรัฐฯ ที่สถานีแม็กเมอร์โด

    พวกเขาบอกว่า เราไม่สามารถเลื่อนการเดินทางของเราออกจากแอนตาร์กติกาได้อีกต่อไปแล้ว เราจะต้องโดยสารเครื่องบินขนส่งเสบียงที่กำลังจะเดินทางมาถึงที่ค่ายพักแรมในอีกประมาณ 1 ชั่วโมง กลับออกไป

    มันน่าหงุดหงิดที่จะต้องออกจากที่นั่นก่อนที่จะขุดเจาะรูเสร็จ และอุปกรณ์ทุกอย่างก็ถูกส่งมาแล้ว โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางถึงที่นั่น

    _110663317_x1920_dsc0381.jpg
    เรากล่าวคำลา แล้วก็ขึ้นเครื่องบินลำนั้นไป

    ผมมองไปข้างหลังและเห็นวงล้อด้านบนอุปกรณ์ขุดเจาะกำลังหมุน ม้วนสายยางสีดำกำลังหมุนออกอย่างต่อเนื่อง

    พวกเขาคงขุดเจาะน้ำแข็งไปได้เกือบครึ่งทางแล้ว

    เครื่องบินบินขึ้นเหนือค่ายที่พักแรม และมุ่งหน้าไปทางเหนือ ออกไปทางมหาสมุทร

    นักวิทยาศาสตร์บอกผมว่า เราตั้งค่ายพักแรมบนอ่าวน้ำแข็งเล็ก ๆ ที่ล้อมรอบด้วยพื้นที่ยกตัวขึ้นเป็นรูปเกือบม้า

    ตอนที่เราบินออกไปที่บริเวณแนวหน้าของธารน้ำแข็ง ผมถึงได้รู้ว่า พื้นที่ตรงนั้นมีความเปราะบางมากจนน่าตกตะลึง

    _110661254_1920_dsc0843.jpg
    แรงมหาศาลที่เกิดจากการทำงานในพื้นที่นี้ จะทำให้น้ำแข็งค่อย ๆ แตกแยกออก

    ในบางพื้นที่ แผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ได้แตกออก และถล่มลงเป็นภูเขาน้ำแข็งจำนวนมาก แล้วก็ลอยออกไปอย่างสะเปะสะปะ

    ในพื้นที่อื่น ที่มีหน้าผาน้ำแข็ง บางแห่งอาจสูงเกือบ 1 ไมล์ (ประมาณ 1.6 กม.) จากก้นทะเล

    บริเวณแนวหน้าของธารน้ำแข็งมีความกว้างเกือบ 100 ไมล์ (ประมาณ 160 กม.) และกำลังถล่มลงในทะเลในอัตรา 2 ไมล์ (ประมาณ 3 กม.) ต่อปี

    เป็นอัตราที่น่าตกใจ และนั่นคือเหตุผลว่า ทำไมธารน้ำแข็งทเวตส์จึงมีส่วนสำคัญต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ที่ทำให้ผมตกใจก็คือ การรู้ว่า มีอีกกระบวนการหนึ่งที่อาจเร่งให้ธารน้ำแข็งทเวตส์ร่นลงเร็วมากขึ้นไปอีก

    p058l4hx.jpg

    ภูเขาน้ำแข็ง
    อัตราการละลายเพิ่มขึ้น
    ธารน้ำแข็งส่วนใหญ่ที่ไหลลงสู่ทะเล มีสิ่งที่เรียกว่า "ปั๊มน้ำแข็ง"

    น้ำทะเลมีความเค็มและหนาแน่น ทำให้มันหนัก ส่วนน้ำแข็งที่ละลาย เป็นน้ำจืด จึงมีน้ำหนักเบากว่า

    เมื่อธารน้ำแข็งละลาย น้ำจืดจะไหลขึ้นข้างบน ดูดเอาน้ำทะเลที่อุ่นกว่าและหนักกว่าด้านล้างขึ้นมา

    ตอนที่น้ำทะเลเย็น กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นช้ามาก ปั๊มน้ำแข็งจะละลายเพียงไม่กี่สิบเซนติเมตรต่อปี และหิมะที่ตกลงมาก็จะช่วยสร้างน้ำแข็งใหม่ขึ้นมาทดแทนกันได้ไม่ยาก

    แต่นักวิทยาศาสตร์หลายคนบอกว่า กระแสน้ำอุ่นทำให้กระบวนการนี้เปลี่ยนแปลงไป

    หลักฐานจากธารน้ำแข็งแห่งอื่น ๆ เผยให้เห็นว่า ถ้าคุณเพิ่มปริมาณน้ำอุ่นที่ไหลไปถึงธารน้ำแข็ง ปั๊มน้ำแข็งจะทำงานเร็วขึ้นกว่าเดิมมาก

    "มันอาจทำให้ธารน้ำแข็งลุกเป็นไฟ" ศ.ฮอลแลนด์ กล่าวว่า "เพิ่มอัตราการละลายได้มากขึ้น 100 เท่าตัว"

    เครื่องบินขนาดเล็กพาเราไปยังค่ายพักแรมกลางแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกา แต่สภาพอากาศที่เลวร้ายทำให้การเดินทางต้องล่าช้าออกไปอีก กว่าที่เครื่องบิน C-130 จะมารับเรากลับไปที่แม็กเมอร์โดได้ ต้องรอถึง 9 วัน

    _110668976_hercules_bbc_1920.jpg
    ระหว่างนั้นมีนักวิทยาศาสตร์บางส่วนเดินทางมาสมทบ

    ฤดูกาลนี้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก พวกเขายืนยันว่า กระแสน้ำอุ่นรอบขั้วโลกใต้ที่ระดับลึกได้ไหลเข้ามาใต้ธารน้ำแข็งและพวกเขาเก็บข้อมูลได้จำนวนมหาศาล

    ไอซ์ฟิน ยานใต้น้ำไร้คนขับ สามารถปฏิบัติภารกิจได้ถึง 5 ครั้ง ทำการวัดจำนวนมากในน้ำบริเวณใต้ธารน้ำแข็ง และบันทึกภาพน่าพิศวงได้จำนวนหนึ่ง คงต้องใช้เวลาหลายปีในการประมวลผลข้อมูลทั้งหมดที่ทีมงานเก็บมาได้ และรวบรวมการค้นพบให้เป็นแบบจำลองที่ใช้ในการทำนายการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลได้ในอนาคต

    ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น
    ธารน้ำแข็งทเวตส์จะไม่หายไปในชั่วข้ามคืน นักวิทยาศาสตร์บอกว่าจะต้องใช้เวลานานหลายสิบปี หรืออาจจะนานกว่า 100 ปี

    แต่นั่นก็ไม่ควรทำให้เรานิ่งนอนใจ

    ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น 1 เมตร อาจจะดูไม่มาก เมื่อพิจารณาจากปัจจุบันก็มีน้ำขึ้นน้ำลง 3-4 เมตรอยู่แล้วในแต่ละวันในบางพื้นที่

    แต่ ศ.เดวิด วอห์น ผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ของโครงการสำรวจแอนตาร์กติกาของอังกฤษ กล่าวว่า ระดับน้ำทะเลส่งผลกระทบอย่างมากต่อความรุนแรงของคลื่นพายุซัดฝั่ง (storm surge)

    ลองดูกรุงลอนดอนเป็นตัวอย่าง

    _110751122_antarctica_07_london_floods_976-nc.png
    [​IMG]
    การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล 50 ซม. ทำให้คลื่นพายุซัดฝั่งที่ปกติเกิดขึ้นทุก ๆ 1 พันปี จะเกิดถี่ขึ้นเป็นทุก ๆ 100 ปี

    ถ้าคุณเพิ่มระดับน้ำทะเลเป็น 1 เมตร คลื่นพายุซัดฝั่งอาจจะเกิดขึ้นทุก ๆ 10 ปีก็ได้

    "เมื่อคุณลองคิดดู เรื่องพวกนี้ไม่ได้น่าแปลกใจเลย" ศ.วอห์น กล่าว ขณะที่เรากำลังเตรียมขึ้นเครื่องบินที่จะพาเรากลับไปที่นิวซีแลนด์และเดินทางต่อกลับบ้าน

    ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กำลังทำให้เกิดความร้อนในชั้นบรรยากาศและมหาสมุทรมากขึ้น

    ความร้อนคือพลังงาน และพลังงานก็ส่งผลต่อสภาพอากาศและกระแสน้ำในมหาสมุทร

    เขากล่าวว่า ปริมาณพลังงานที่เพิ่มขึ้นในระบบ ทำให้การเปลี่ยนแปลงในระดับโลกก็จะต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    "มันเกิดขึ้นแล้วในอาร์กติก" ศ. วอห์น กล่าว พร้อมกับถอนหายใจ "สิ่งที่เรากำลังพบเจอในแอนตาร์กติกา เป็นเพียงระบบขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งที่กำลังแสดงปฏิกิริยาในแบบของมันเท่านั้น"

    _110661253_1920_dsc0804.jpg
    ค้นคว้าและทำกราฟิก โดย อลิสัน ทราวส์เดล, เบ็กกี เดล, ลิลลี ฮวีนห์, ไอริน เด ลา ตอร์เร ถ่ายภาพโดย เจ็มมา ค็อกส์ และ เดวิด วอห์น

    ค้นคว้าเพิ่มเติมโดย ศาสตราจารย์แอนดรูว์ เชปเพิร์ด มหาวิทยาลัยลีดส์



    ขอบคุณที่มา
    https://www.bbc.com/thai/international-51285703
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 กุมภาพันธ์ 2020

แชร์หน้านี้

Loading...