บทสวดมนต์แปล (ฉบับวัดท่าซุง)

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 13 มิถุนายน 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    [SIZE=+2]คำขอขมาพระรัตนตรัย[/SIZE]
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง
    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต ฯ
    (ถ้าหลายคนว่า.....
    ขะมะตุ โน ภันเต, ฯลฯ....
    ขะมะตุ โน ภันเต , อุกาสะ ขะมามะ ภันเต ฯ
    )
    หากข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุก ๆ
    พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้
    ก็ดี ด้วยทางกายหรือวาจาก็ดี และด้วยเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ดี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ขอองค์สมเด็จ-
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย
    และผู้มีพระคุณทุกท่าน ได้โปรดอดโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ ฯ**********

    จากหนังสือสวดมนต์แปล
    วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    [SIZE=+2]บทบวงสรวงและชุมนุมเทวดา[/SIZE]
    ปุริมัญจะ ทิสัง ราชา ธะตะรัฏโฐ ปะสาสะติ
    คันธัพพานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ
    พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
    วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ

    (ท้าวธตรฏฐ์ เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่แห่งคนธรรพ์ทั้งหลาย เป็นเทวราชา
    ผู้ปกครองอยู่ด้านทิศตะวันออกแม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่าอินทกะ
    เหมือนกันหมด ล้วนแต่มีกำลังมาก มีฤทธิ์มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศต่างก็มีความยินดี ได้มายืน
    อยู่แล้ว ฯ)
    ทักขิณัญจะ ทิสัง ราชา วิรุฬโห ตัปปะสาสะติ
    กุมภัณฑานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ
    พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
    วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ
    (ท้าววิรุฬหก เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่แห่งกุมภัณฑ์ทั้งหลาย เป็นเทวราชา
    ผู้ปกครองอยู่ด้านทิศใต้ แม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่าอินทกะเหมือน
    กันหมด ล้วนแต่มีกำลังมากมีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศ ต่างก็มีความยินดีได้มายืนอยู่แล้ว ฯ)
    ปัจฉิมัญจะ ทิสัง ราชา วิรูปักโข ปะสาสะติ
    นาคานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ
    พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
    วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ

    (ท้าววิรูปักษ์ เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่แห่งนาคทั้งหลาย เป็นเทวราชาผู้ปกครอง
    อยู่ด้านทิศตะวันตก แม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่าอินทกะเหมือนกันหมด
    ล้วนแต่มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศ ต่างก็มีความยินดีได้มายืนอยู่แล้ว ฯ)
    อุตตะรัญจะ ทิสัง ราชา กุเวโร ตัปปะสาสะติ
    ยักขานัง อาธิปะติ มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ
    พะหะโว อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
    วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อัฏฐังสุ ฯ

    (ท้าวกุเวร (ท้าวเวสสุวัณ) เป็นท้าวมหาราช เป็นผู้มียศ ผู้เป็นใหญ่ แห่งยักษ์ทั้งหลาย เป็น
    เทวราชาผู้ปกครองอยู่ด้านทิศเหนือ แม้เทวดาผู้เปรียบเหมือนบุตรของท่านเป็นอันมาก มีนามว่า
    อินทกะเหมือนกันหมด ล้วนแต่มีกำลังมาก มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก มีรัศมี มียศ ต่างก็มีความยินดี
    ได้มายืนอยู่แล้ว ฯ)
    ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
    ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง
    จัตตาโร เต มะหาราชา สะมันตา จะตุโรทิสา
    ทัททัลละมานา อัฏฐังสุ ฯ

    (ท้าวธตรฏฐ์ ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหก ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์
    ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศตะวันตก ท้าวกุเวร (ท้าวเวสสุวัณ) ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศเหนือ ทั้ง ๔ ท่านนี้เป็น
    ท้าวมหาราช ได้มายืนอยู่ทำทิศทั้ง ๔ ให้รุ่งเรืองสว่างไสวแล้ว ฯ)
    สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน
    ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
    ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
    ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ,
    (ขอเชิญเหล่าเทพเจ้า ซึ่งสถิตอยู่ในสวรรค์ ชั้นกามภพก็ดี ชั้นรูปภพก็ดี และภูมิเทวดาซึ่ง
    สถิตอยู่ในวิมาน หรือบนยอดเขาและในหุบเขา ในอากาศ ในเกาะ ในแว่นแคว้น ในบ้าน บนต้นไม้
    และในป่าชัฏ ในเรือน และในไร่นาก็ดี ตลอดถึง ยักษ์ คนธรรพ์ และนาค ซึ่งสถิตอยู่ในน้ำ บนบก
    และที่อันไม่ราบเรียบก็ดี ซึ่งอยู่ในที่ใกล้เคียง จงมาประชุมพร้อมกันในที่นี้ ขอท่านสาธุชนทั้งหลาย
    จงตั้งใจฟังคำของพระมุนีผู้ประเสริฐ ที่เรากล่าวอยู่นี้,)
    ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
    ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
    ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
    (ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลสำหรับฟังธรรม ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้
    เป็นกาลสำหรับฟังธรรม ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลสำหรับฟังธรรม ฯ)

    (จากหนังสือสวดมนต์แปล วัดท่าซุง หน้า ๒๗๖-๒๗๙)
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    [SIZE=+2]ถวายพรพระ

    [/SIZE]
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    (ว่า ๓ จบ)
    (ขอนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไกลจากกิเลสเป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง ฯ)
    (๓ จบ)
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
    (มีเสียงยกย่องสรรเสริญอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส ผู้ควร
    แก่การกราบไหว้บูชา เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง)
    วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร
    ปุริสะทัมมะสาระถิ
    (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติอันงาม เป็นผู้เสด็จไปสู่ที่ดี คือพระนิพพาน เป็น
    ผู้รู้แจ้งโลก เป็นผู้ฝึกบุคคลที่ควรฝึกอย่างยอดเยี่ยม ไม่มีผู้อื่นเทียบได้)
    สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ
    (เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เบิกบานแล้ว เป็นผู้สามารถจำแนกธรรม
    สอนหมู่สัตว์ได้ถูกต้องตามอัธยาศัย ฯ)
    สวากขาโต ภะคะวตา ธัมโม
    (พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ดีแล้ว)
    สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
    (เป็นธรรมที่บุคคลจะพึงเห็นเอง เป็นธรรมที่ไม่ขึ้นกับกาลเวลา สามารถปฏิบัติแล้วเห็นผลได้
    ทุกเมื่อ เป็นธรรมที่ควรจะร้องเรียกให้ผู้อื่นมาดูว่า "ขอท่านทั้งหลายจงมาดูธรรมนี้เถิด" เป็นธรรมที่
    บุคคลควรน้อมเข้ามาใส่ใจ)
    ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ฯ
    (เป็นธรรมที่ผู้รู้ทั้งหลาย ปฏิบัติแล้วจะเห็นได้ รู้ได้เฉพาะตนเท่านั้น ฯ)
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    (พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว)
    อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    (พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว)
    ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    (พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติถูกต้องแล้ว)
    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    (พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว)
    ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
    เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

    (คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับได้ ๘ บุคคล ท่านทั้งหลายเหล่านี้คือพระอริยสงฆ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า)
    อาหุเนยโย
    (เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาบูชา,)
    ปาหุเนยโย
    (เป็นผู้ควรแก่ของที่เขาเตรียมไว้ต้อนรับ, )
    ทักขิเณยโย
    (เป็นผู้ควรแก่ทานที่เขานำมาถวาย, )
    อัญชะลีกะระณีโย
    (เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้, )
    อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ
    (เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างยอดเยี่ยม ไม่มีนาบุญอื่นเทียบได้ ฯ)

    (จากหนังสือสวดมนต์แปล วัดท่าซุง หน้า ๑๙๕)


     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ
    (ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งต่อพระพุทธเจ้า ด้วยเครื่องสักการะนี้)
    อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
    (ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งต่อพระธรรม ด้วยเครื่องสักการะนี้)
    อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ
    (ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งต่อพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะนี้)

    (จากหนังสือสวดมนต์แปล วัดท่าซุง หน้า ๒๘๓)
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    [SIZE=+2]บทบูชาพระรัตนตรัย[/SIZE]

    โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
    (พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง,)

    สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม,
    (พระธรรมเป็นคำสั่งสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ดีแล้ว)

    สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
    (พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว,)

    ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง
    อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ.,
    (ข้าพเจ้าทั้งหลายขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นพร้อมทั้งพระธรรม
    และพระอริยสงฆ์ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายยกขึ้นไว้ตามสมควรแก่การบูชาแล้ว.,)

    สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,
    (ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ แม้พระองค์ปรินิพพานไปนานแล้วก็ตาม ข้าพเจ้า
    ทั้งหลายกราบขอพระบรมพุทธานุญาต,)

    ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา,
    (ขอพระองค์ผู้มีพระทัยในอันที่จะอนุเคราะห์แก่หมู่ชนผู้จะเกิดมาในภายหลัง,)

    อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ,
    (ได้โปรดรับเครื่องสักการะเหล่านี้ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายผู้มีความทุกข์น้อมถวายบูชา,)

    อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
    (เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขอันเกื้อกูลแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ ฯ)

    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
    พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ.
    (พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง,
    ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระ
    ผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตื่นแล้ว เบิกบานแล้ว. )
    (กราบ)

    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
    ธัมมัง นะมัสสามิ.
    (พระธรรมเป็นคำสั่งสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ดีแล้ว, ข้าพเจ้าขอนอบน้อม
    ต่อพระธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า.)
    (กราบ)

    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
    สังฆัง นะมามิ.

    (พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว, ข้าพเจ้าขอนอบน้อม
    ต่อพระอริยสงฆ์
    สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า.)
    (กราบ)

    (นำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง
    กะโรมะ เส ฯ
    (ในเบื้องต้นแต่นี้ไป พวกเราจงพากันกระทำความนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ผู้ตื่นแล้วเบิกบานแล้ว โดยพร้อมเพรียงกันเถิดฯ)

    (รับ) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ,
    (ขอนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบ
    ได้ ด้วยพระองค์เอง ฯ)
    (ว่า ๓ ครั้ง)

    (นำ) หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส ฯ
    (พวกเราจงพากันกล่าวคำสรรเสริญพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยพร้อมเพรียงกันเถิด ฯ)

    (รับ) โย โส ตะถาคะโต อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
    (พระตถาคตเจ้า เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง,)
    วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู,
    (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติอันงาม)

    อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง
    พุทโธ ภะคะวา,
    (เป็นผู้เสด็จไปสู่ที่ดีงามคือพระนิพพาน เป็นผู้รู้แจ้งโลก,)

    โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพรัห์มะกัง
    (เป็นผู้ฝึกสอนบุคคลอย่างยอดเยี่ยมไม่มีผู้อื่นเทียบได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้แล้ว
    ตื่นแล้ว เบิกบานแล้ว เป็นผู้สามารถจำแนกธรรมสอนหมู่สัตว์ได้ถูกตามอัธยาศัย)

    สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง
    อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ.,
    (พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ทรงสอน
    โลกนี้กับทั้ง
    เทวดา มาร พรหม พร้อมทั้งสมณ-พราหมณ์ และหมู่สัตว์ตลอดถึงเทวดาและมนุษย์ ให้รู้ตามพระองค์.,)

    โย ธัมมัง เทเสสิ อาทิกัลยาณัง มัชเฌกัลยาณัง
    ปะริโยสานะ กัลยาณัง,
    (พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้นคือศีล ธรรมอันงามในท่ามกลาง
    คือสมาธิ ธรรม
    อันงามในที่สุดคือปัญญา,)

    สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง
    พรัหมะจะริยัง ปะกาเสสิ.,
    (ทรงแสดงวิธีการปฏิบัติให้เข้าถึงความเป็นผู้ประเสริฐ พร้อมทั้งอธิบายหัวข้อ และเนื้อความ
    ในการปฏิบัติอย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์โดยไม่เหลือให้สงสัย.,)

    ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ,
    ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ ฯ
    (ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า, ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้าฯ)
    (กราบ)

    (นำ) หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส ฯ
    (พวกเราจงพากันกล่าวคำสรรเสริญ พระคุณแห่งพระธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยพร้อม
    เพรียงกันเถิด ฯ)

    (รับ) โย โส สวากขาโต ภะคะวะโต ธัมโม,
    (พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ดีแล้ว)

    สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก,
    (เป็นธรรมที่บุคคลผู้ศึกษาปฏิบัติจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง สามารถปฏิบัติและเห็นผลได้ทุกเมื่อไม่จำกัดกาลเวลา และเป็นธรรมที่สามารถเรียกร้องให้ผู้อื่นมาดูได้ว่า "ท่านจงมาดูธรรมนี้เถิด",)

    โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ.
    (เป็นธรรมที่บุคคลควรน้อมเข้ามาใส่ใจ และผู้รู้ธรรมแล้วทั้งหลายจะพึงรู้ได้เฉพาะตนเอง
    เท่านั้น.
    (รู้ได้เฉพาะตนเอง หมายความว่า ไม่สามารถบอกให้ผู้อื่นเข้าใจได้ว่า พระธรรมนั้นดีเลิศวิเศษอย่างไร นอกจากจะปฏิบัติเองแล้ว เห็นผลเอง เปรียบเหมือนคนกินเกลือที่เค็ม ไม่สามารถ
    บอกได้ว่ารสเกลือเค็มอย่างไร นอกจากจะกินเอง แล้วจะรู้ได้เองว่าเกลือนั้นเค็มอย่างไร))
    ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ,
    ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ.
    (ข้าพเจ้าขอบูชายิ่งต่อพระธรรมคำสั่งสอนของผู้มีพระภาคเจ้า, ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อ
    พระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า ฯ)
    (กราบ)

    (นำ) หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส ฯ
    (พวกเราจงพากันกล่าวคำสรรเสริญพระคุณแห่งพระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
    โดยพร้อมเพรียงกันเถิด ฯ)

    (รับ) โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
    (พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว,)

    อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
    (พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว,)

    ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
    (พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ปฏิบัติถูกต้องแล้ว,)

    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
    (พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว,)
    ( (๑) สุปะฏิปันโน หมายถึง พระโสดาบัน (๒) อุชุปะฏิปันโน หมายถึง พระสิกทาคามี
    (๓) ญายะปะฏิปันโน หมายถึง พระอนาคามี (๔) สามีจิปะฏิปันโน หมายถึง พระอรหันต์ )

    ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
    (ท่านเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตามลำดับได้ ๘ บุคคล)
    (บุรุษ ๔ คู่ ๘ บุคคล คือ คู่ที่ ๑ พระโสดาปัตติมรรค กับ พระโสดาปัตติผล,
    คู่ที่ ๒ พระสกิทาคามิมรรค กับ พระสกิทาคามิผล,
    คู่ที่ ๓ พระอนาคามิมรรค กับ พระอนาคามิผล,
    คู่ที่ ๔ พระอรหัตมรรค กับ พระอรหัตผล. รวม ๔ คู่ ๘ บุคคล ฯ)

    เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
    (ท่านทั้งหลาย ๘ บุคคลนี้ คือ พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,)
    อาหุเนยโย
    (ท่านเป็นผู้ควรแก่สักการะที่คนทั้งหลายนำมาบูชา)
    ปาหุเนยโย
    (ท่านเป็นผู้ควรแก่ของที่เตรียมไว้ต้อนรับ)
    ทักขิเณยโย
    (เป็นผู้ควรแก่การรับทานที่หมู่ชนนำมาถวาย)
    อัญชะลีกะระณีโย,
    (เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้,)
    อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ.
    (ท่านเหล่านี้เป็นนาบุญของโลกอย่างยอดเยี่ยม ไม่มีนาบุญอื่นเทียบได้.)
    ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ, ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ.
    (ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งต่อพระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ข้าพเจ้าขอนอบน้อม
    ต่อพระอริยสงฆ์นั้น
    ด้วยเศียรเกล้า ฯ)
    (กราบ)
    (จากหนังสือสวดมนต์แปล วัดท่าซุง หน้า ๑-๗)
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    [SIZE=+2]สมาทานศีล ๘[/SIZE]
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ
    (ว่า ๓ จบ)
    (ขอนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไกลจากกิเลสควรแก่การกราบไหว้บูชา
    เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง ฯ)
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    (ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)
    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    (แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)
    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    (แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
    แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)
    ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    (ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตผู้อื่น)
    อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    (ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้)
    อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    (ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการประพฤติล่วงละเมิดพรหมจรรย์ )
    มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    (ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการพูดคำไม่จริง )
    สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    (ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการดื่มสุราและเครื่องดองของเมา อันเป็น
    ที่ตั้งแห่งความประมาทขาดสติ)
    วิกาละโภชนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    (ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลากาล )
    นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะ-
    มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

    (ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการฟ้อนรำ จากการขับร้อง จากการประโคม
    ดนตรี จากการดูการเล่นชนิดที่เป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ และงดเว้นจากการทัดทรงสวมใส่ประดับตกแต่ง
    ด้วยพวงดอกไม้มาลา ของหอม เครื่องย้อมเครื่องทาผิวทั้งหลาย)
    อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    (ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการนั่งและนอนบนที่นอนสูงและที่นอนใหญ่
    ซึ่งภายในยัดด้วยนุ่นหรือสำลี)
    อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ
    (ทั้งหมดนี้คือหัวข้อที่จะต้องศึกษาและปฏิบัติ ๘ ประการ
    สีเลนะ สุคะติง ยันติ
    ศีลเป็นปัจจัยให้มีความสุข
    สีเลนะ โภคะสัมปะทา
    ศีลเป็นปัจจัยให้มีโภคสมบัติ
    สีเลนะ นิพพุติง ยันติ
    ศีลเป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพาน
    ตัสมา สีลัง วิโสธะเย ฯ
    เพราะฉะนั้น จงทำจิตให้สะอาดหมดจดด้วยศีลตลอดกาลทุกเมื่อเถิดฯ)
    (จากหนังสือสวดมนต์แปล วัดท่าซุง หน้า ๒๘๐-๒๘๓)
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    [SIZE=+2]คำอาราธนาศีล ๕ [/SIZE]
    มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ
    ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

    ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ
    ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

    ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ
    ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

    (ถ้า ศีล ๘ ให้เปลี่ยน ปัญจะ เป็น อัฏฐะ)


    (จากหนังสือสวดมนต์แปล วัดท่าซุง หน้า ๒๘๔)
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    [SIZE=+2]พุทธชัยมงคลคาถา [/SIZE]
    พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
    ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
    ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,

    (พระจอมมุนี ได้เอาชนะพระยามารผู้เนรมิตแขนมากตั้งพัน ถืออาวุธครบทุกมือ ขี่ช้าง
    ครีเมขละ มาพร้อมกับเหล่าเสนามารซึ่งโห่ร้องกึกก้อง ด้วยวิธีอธิษฐานถึงทานบารมี เป็นต้น,)
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
    (ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ)
    มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
    โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
    ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
    (อนึ่ง พระจอมมุนี ได้เอาชนะยักษ์ชื่อ อาฬวกะ ผู้มีจิตหยาบกระด้าง ผู้ไม่มีความอดทน
    มีความพิลึกน่ากลัวกว่าพระยามาร ซึ่งได้เข้ามาต่อสู้อย่างยิ่งยวดจนตลอดคืนยันรุ่ง ด้วยวิธีทรมานอันดี
    คือขันติความอดทน,)
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
    (ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ)
    นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
    ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
    เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
    (พระจอมมุนี ได้เอาชนะช้างตัวประเสริฐชื่อ นาฬาคิรี ที่เมายิ่งนัก และแสนจะดุร้าย ประดุจ
    ไฟป่าและจักราวุธและสายฟ้า ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำคือ ความมีพระทัยเมตตา, )
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
    (ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ)
    อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะ สุทารุณันตัง
    ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
    อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท,
    (พระจอมมุนี ทรงคิดจะแสดงฤทธิ์ปาฏิหารย์ จึงได้เอาชนะโจรชื่อ องคุลิ-มาล ผู้แสนจะดุร้าย
    มีฝีมือ ถือดาบวิ่งไล่พระองค์ไปสิ้นระยะทาง ๓ โยชน์, )
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
    (ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ)
    กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
    จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
    สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
    (พระจอมมุนี ได้เอาชนะคำกล่าวใส่ร้ายของ นางจิญจมาณวิกา ซึ่งทำอาการเหมือนดั่งมีครรภ์
    เพราะเอาท่อนไม้กลมผูกไว้ที่หน้าท้อง ด้วยวิธีทรงสมาธิอันงาม คือความกระทำพระทัยให้ตั้งมั่นนิ่งเฉย
    ในท่ามกลางหมู่ชน,)
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
    (ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ)
    สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
    วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
    ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท,
    (พระจอมมุนีผู้รุ่งเรืองด้วยแสงสว่างคือปัญญา ได้เอาชนะ สัจจกะนิครนถ์ ผู้มีความคิดมุ่งหมาย
    ในอันจะละทิ้งความสัตย์ มีใจคิดจะยกถ้อยคำของตนให้สูงประดุจยกธง และมีใจมืดมนยิ่งนัก ด้วยการ
    แสดงเทศนาให้ถูกใจ,)
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
    (ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ)
    นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
    ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
    อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท,
    (พระจอมมุนี ได้เอาชนะพญานาคราชชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีความรู้ผิดมีฤทธิ์มาก ด้วยวิธี
    บอกอุบายให้พระโมคคัลลานเถระพุทธชิโนรส แสดงฤทธิ์เนรมิตกายเป็นนาคราช ไปทรมานพญานาค
    ชื่อ นันโทปนันทะนั้น,)
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
    (ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ)
    ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
    พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
    ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท,
    (พระจอมมุนี ได้เอาชนะพระพรหมผู้มีนามว่า ท้าวพกาพรหม ผู้มีฤทธิ์ คิดว่าตนเป็นผู้รุ่งเรือง
    ด้วยคุณอันบริสุทธิ์ ผู้ถูกพญานาครัดมือไว้แน่น เพราะมีจิตคิดถือเอาความเห็นผิด ด้วยวิธีวางยาคือทรงแสดงเทศนาให้ถูกใจ,)
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ
    (ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ)
    เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
    โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
    หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
    โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญฯ
    (บุคคลใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดและระลึกถึงพระพุทธชัยมงคล ๘ คาถาเหล่านี้ทุก ๆ
    วัน บุคคลนั้นจะพึงละความจัญไรอันตรายทั้งหลายทุกอย่างเสียได้ และเข้าถึงความหลุดพ้นคือ พระนิพพานอันบรมสุขแล ฯ)
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    [SIZE=+2]ชะยะปะริตตัง [/SIZE]


    มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง
    ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง,
    (พระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ ทรงประกอบแล้วด้วยพระมหากรุณา บำเพ็ญบารมีทั้งหลาย
    ทั้งปวงให้เต็มเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ถึงความตรัสรู้ชอบอันสูงสุด,)
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
    (ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่านเถิด ฯ)
    ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน
    เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
    อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
    อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ,
    (ขอท่านจงมีชัยชนะในมงคลพิธี เหมือนพระจอมมุนีทรงชนะมารที่โคนต้นโพธิ์ แล้วถึงความ
    เป็นผู้เลิศในสรรพพุทธาภิเษก ทรงบันเทิงพระทัยอยู่บนบัลลังก์ที่มารไม่อาจจะผจญได้ เป็นจอมมหาปฐพี ทรงเพิ่มพูนความดีแก่เหล่าประยูรญาติศากยวงศ์ฉะนั้น เทอญ,)
    สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง,
    (เวลาที่บุคคลและสัตว์ประพฤติดีประพฤติชอบ ชื่อว่าฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งแจ้งดี,)
    สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ,
    (และขณะดี ครู่ยามดี ชื่อว่าบูชาดีแล้ว ในผู้ประพฤติอย่างประเสริฐทั้งหลาย,)
    ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง,
    (กายกรรมอันเป็นมงคลสูงสุด วจีกรรมอันเป็นมงคลสูงสุด, (๑))
    ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา,
    (มะโนกรรมอันเป็นมงคลสูงสุด ความปรารถนาอันตั้งไว้เพื่อสิ่งอันเป็นมงคลสูงสุด,)
    ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ
    (บุคคลและสัตว์ทั้งหลาย ทำกรรมอันเป็นมงคลสูงสุด ย่อมได้ประโยชน์ทั้งหลายอันเป็นมงคล
    สูงสุดแล ฯ)
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา,
    (ขอให้ทุกสิ่งอันเป็นมงคลทั้งปวง จงมีแก่ท่าน ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวงจงปกปักรักษาท่าน,)
    สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
    (ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อเถิด ฯ)
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา,
    (ขอให้ทุกสิ่งอันเป็นมงคลทั้งปวง จงมีแก่ท่าน ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวงจงปกปักรักษาท่าน,)
    สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
    (ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อเถิด ฯ)
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา,
    (ขอให้ทุกสิ่งอันเป็นมงคลทั้งปวง จงมีแก่ท่าน ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวงจงปกปักรักษาท่าน,)
    สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
    (ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อเถิด ฯ)

    (จากหนังสือสวดมนต์แปล วัดท่าซุง หน้า ๑๙๕-๒๐๓)
    .........................
    (๑) (พวกพราหมณ์เขาถือว่า การประทักษิณ คือ การเดินเวียนขวารอบสิ่งศักดิ์สิทธิ์และบุคคลที่ตน
    เคารพนั้นเป็นการให้เกียรติและเป็นการเคารพสูงสุด เป็นมงคลสูงสุด เพราะฉะนั้น บาลีที่แสดง
    ไว้ว่า กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ความปรารถนา และการที่กระทำกรรมทั้งหลายเป็น
    ประทักษิณ อันเป็นส่วนเบื้องขวาหรือเวียนขวานั้น จึงหมายถึงการทำการพูดการคิดที่เป็น มงคล
    และผลที่ได้รับก็เป็นประทักษิณอันเป็นส่วนเบื้องขวาหรือเวียนขวา ก็หมายถึงได้รับผลที่เป็นมงคล
    อันสูงสุดนั่นแล ฯ)
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    คำสมาทานพระกรรมฐาน


    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    (ว่าพร้อมกัน ๓ จบ)
    อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปริจัจชามิ
    ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอมอบกายถวายชีวิตแด่
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขออาราธนาบารมีพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์
    พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆ กันมา
    มีหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานเป็นที่สุด
    ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้า ขึ้นสู่ภาวะพระกรรมฐาน ทั้ง ๔๐ ทัศ พระปีติทั้ง ๕ และ
    วิปัสสนาญาณทั้ง ๙ ขอพระกรรมฐานทั้ง ๔๐ ทัศ พระปีติทั้ง ๕ และวิปัสสนาญาณทั้ง ๙ จงมาบังเกิด
    ปรากฏในกายทวาร ในวจีทวาร ในมโนทวาร ของข้าพระพุทธเจ้า ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
    ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้าขึ้นสู่ภาวะแห่งเมฆจิต สามารถกำหนดจิต รู้ภาวการณ์ต่าง ๆ
    ทั้งเหตุ ผล อดีต อนาคต และปัจจุบัน ได้ทุกขณะจิต ที่ปรารถนาจะรู้ เมื่อรู้แล้วขอให้เห็นภาพนั้นได้ชัดเจน
    แจ่มใสและพยากรณ์ได้ ตามความเป็นจริงทุกประการ เหตุใดที่จะพึงบังเกิดแก่ข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้า
    ได้รู้เหตุนั้นได้โดยมิต้องกำหนดจิตแม้แต่ประการใด ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

    จากหนังสือสนทนาธรรม เล่ม ๙
    โดย..หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

    หมายเหตุ
    หลวงพ่อได้พูดถึงคำสมาทานที่ต่อเสริมกันใหม่ในหนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
    หน้าที่ ๘๐ หัวข้อ คำสมาทานที่ต่อเสริมใหม่ ถ้าท่านอยากทราบที่มา ก็คลิกไปดูที่คอลัมน์
    คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
    สำหรับสมาทานพระกรรมฐานบทนี้มีเติมเข้ามาก็ตรงที่ และพระเดชพระคุณหลวง
    พ่อพระราชพรมยานเป็นที่สุด เป็นการต่อ
    เติมจากลูกศิษย์ลูกหาท่านเอง ไม่ใช่หลวงพ่อเติม
    บทที่หลวงพ่อสอนจะสิ้นสุดที่หลวงพ่อปาน ขอได้โปรดเข้าใจตามนี้ด้วย เช่นเดียวกับข้าพเจ้า
    ที่เติมต่อจากหลวงพ่อเป็นท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน เพราะข้าพเจ้าก็ได้รับการอบรมสั่งสอนจาก
    ท่านก็ถือว่าท่านเป็นครูบาอาจารย์อีกท่านหนึ่ง การที่กล่าวถึงชื่อท่านเวลาสมาทานพระกรรมฐาน
    ข้าพเจ้าถือว่าเป็นการแสดงความเคารพและยอมรับในคำสอนของท่านทั้ง ๆ ที่ท่านไม่เคยบอก
    กล่าวให้ทำเช่นนี้ ข้าพเจ้าถือว่าถ้าท่านไม่บอกในสิ่งที่ถามก็ไม่รู้ ก็ต้องถือว่าท่านเป็นครูของข้าพเจ้า
    อีกท่านหนึ่งต่อจากหลวงพ่อเช่นเดียวกัน
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    คำอุทิศส่วนกุศล
    อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ ข้าพเจ้า
    ทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้
    ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโมทนา ส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วันนี้ตราบ
    เท่าเข้าสู่พระนิพพาน
    และข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลายที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และ
    เทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนา
    ส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด
    และขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่ท่านทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความ
    ทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข
    เช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
    ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญมาแล้ว ณ โอกาสนี้ ขอผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้า
    ทั้งหลายได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้เถิด


    (จบ)
    คัดลอกจาก
    http://www.sitluangpor.com/suadmon/suadmon.html
     
  12. damrong.lap

    damrong.lap เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +123
    -ขออนุญาตฺcopyไว้เพื่อประโยชน์ในการสวดมนต์นะครับ
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    รวมคาถาศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ

    http://www.salatham.com/prayer/multipray.htm

    ตั้งนะโม ๓ จบ ก่อนว่าแต่ละคาถา
    <table bgcolor="lightyellow" width="80%"> <tbody><tr> <td>คาถาบูชาพระพรหม</td> <td>คาถาหลวงปู่มั่น</td> <td>คาถามงคลจักรวาลแปดทิศ</td> </tr> <tr> <td>คาถาบูชาพระแก้วมรกต</td> <td>คาถาหลวงปู่ทวด</td> <td>คาถายันต์เกราะเพชร</td> </tr> <tr> <td>คาถาบูชาพระพุทธชินราช</td> <td>คาถาหลวงปู่ศุข</td> <td>คาถาเมตตามหานิยม</td> </tr> <tr> <td>คาถาบูชาพระสังกัจจายน์</td> <td>คาถาหลวงปู่โอภาสี</td> <td>คาถาบูชาแม่นางกวัก</td> </tr> <tr> <td>คาถาท้าวเวสสุวรรณ</td> <td>คาถาหลวงปู่ครูบาธรรมชัย</td> <td>คาถาผูกใจ</td> </tr> <tr> <td>คาถาพญายม</td> <td>คาถาหลวงพ่อเดิม</td> <td>คาถาอารธนาพระเครื่อง</td> </tr> <tr> <td>
    </td> <td>คาถาหลวงพ่อสด</td> <td>คาถาเงินล้าน</td> </tr> <tr> <td>
    </td> <td>คาถาหลวงพ่อโสธร</td> <td>คาถามหาอำนาจ</td> </tr> <tr> <td>
    </td> <td>คาถาหลวงพ่อปาน</td> <td>คาถามหาพิทักษ์</td> </tr> <tr> <td>
    </td> <td>คาถาหลวงพ่อเกษม</td> <td>คาถาอิทธิฤทธิ์</td> </tr> <tr> <td>
    </td> <td>คาถาพระครูบาชุ่ม</td> <td>คาถาสะเดาะเคราะห์ (ต่ออายุ)</td></tr></tbody></table>

     

แชร์หน้านี้

Loading...