ปฏิบัติธรรมคือการพักผ่อน....อ้อม - พิยดา อัครเศรณี

ในห้อง 'พุทธศาสนากับคนดัง' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 3 สิงหาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]

    อ้อม
    พิยดา อัครเศรณี



    ปฏิบัติธรรมคือการพักผ่อน

    ภาพการปฏิบัติธรรมครั้งแรก สมัยเด็กอ้อมมักไปทำบุญกับคุณยาย บ้านท่านอยู่นครนายก ก่อนนี้เรามักไปนั่งที่ศาลาวัด ฟังเทศน์ แต่อ้อมมักไปนอนหลับ พอโตมาหน่อยคุณย่าไปบวช ท่านอายุมากแล้ว อ้อมเลยตามไปอยู่เป็นเพื่อน ช่วยดูแล คอยชงโอวัลติน ยกข้าว ทำอะไรให้คุณย่า สมัยก่อนจะมีแต่คนแก่ๆ ไปบวชที่วัด คุณย่าปฏิบัติธรรม อ้อมนั่งสมาธิ นั่งไปก็หลับ ตอนนั้นอ้อมยังเด็กมาก ไม่เข้าใจว่าสวดมนต์ไปเพื่ออะไร ฟังเทศน์แล้วก็งง มีต่อต้านเล็กน้อยเพราะไม่เข้าใจ

    สมัยเรียนมัธยมอยู่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ที่โรงเรียนมีการเก็บเงินเพื่อทำบุญให้โรงเรียนน้อง แบ่งเวรออกเป็นกลุ่มสี แต่ละสีต้องไปโรงเรียนน้อง ต้องไปช่วยเลี้ยงเด็กอ่อน บางทีก็ต้องไปบ้านพักคนชรา แล้วแต่โรงเรียนจัดเวร สัปดาห์ที่มาถึงเวรเรา เราก็ต้องไป บางทีอ้อมนึกในใจว่าไม่อยากไปเลย โรงเรียนจะเน้นคำว่า servant แปลว่าผู้รับใช้ เหมือนปลูกฝังให้เราช่วยเหลือคนโน้นคนนี้ตั้งแต่เด็ก คงค่อยๆ ซึมซับ โตมาอ้อมเลยรู้สึกอยากทำบุญ อยากช่วยคน
    ช่วงเรียนมหาวิทยาลัยอ้อมลองนั่งสมาธิ อยากศึกษาดูว่าคืออะไร ชวนกันกับเพื่อนไปตามที่โน่นที่นี่ รู้บ้างไม่รู้บ้าง บางทีเขานั่งสมาธิกัน นั่งๆ ไปถามว่าเห็นปราสาทมั้ย อ้อมลืมตาขึ้นมากับเพื่อน เราไม่เห็นจะเห็นอะไรเลย รู้สึกว่าไม่ตอบคำถามเรา

    </TD><TD></TD></TR></T></T></TBODY></TABLE>

    พอดีมีรุ่นพี่โรงเรียนมาแตร์เดอีคนนึงที่สนใจศึกษาธรรมะ เขาลองปฏิบัติมาหลายที่แล้ว เลยชวนอ้อมไปที่วัดห้วยส้ม เชียงใหม่ ที่นั่นมีการปฏิบัติวิปัสสนาในแนวสติปัฏฐาน ๔ อ้อมรู้สึกว่าอาจารย์ตอบคำถามที่เรามีข้อสงสัยได้ บางทีเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบ เราไม่ควรจะต้องสงสัย แต่เราก็สงสัย ทำไมบางคนทำชั่วแล้วยังได้ดี ทำไมคนนี้นิพพานง่ายจัง ทำไมองคุลิ-มาลอย่างนั้นอย่างนี้ ฯลฯ อ้อมเป็นคนมีปัญหาเยอะมาก แล้วเขาตอบปัญหาของเราได้ด้วยเหตุและผล เลยทำให้เราเชื่อด้วยเหตุและผล

    อาจารย์บอกว่าอ้อมเจ้าปัญหามาก เราเป็นคนที่ต้องมีเหตุผลไงคะ ปกติที่เคยเรียนวิทยาศาสตร์ ต้องมีเหตุผลใช่มั้ย เราคือผ้าเปื้อนสีแล้ว เวลาเราเข้าไปปฏิบัติ เราก็สงสัยอยู่นั่นแหละ บางคนที่เป็นผ้าขาวไม่รู้เรื่องมา พอเข้าไปถึงปฏิบัติตามไปก็จบ ไม่ต้องสงสัยมาก แต่การที่อาจารย์ให้คำตอบเราได้ อ้อมเลยเกิดแรงใจที่จะปฏิบัติต่อ

    การเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๗ คืน ๘ วัน ที่วัดห้วยส้มจะปฏิบัติแบบเคร่งครัดมาก ไม่ให้คุยกันเลย เพื่อให้มีขณิกสมาธิอยู่ทุกขณะ จะได้นั่งแล้วเกิดสภาวธรรมขึ้นมา แต่เราก็มีแอบคุยบ้างนะคะ ถ้าเราทำได้ตลอดอย่างนั้นก็เกิดสภาวะจริงๆ อ้อมทำได้แค่วันแรกๆ หลังทำไม่ค่อยได้ มีหลุดพูดไปบ้าง บางทีกินข้าว ๓-๔ คำ กำหนดไม่ไหวแล้ว หรือไปส่องกระจกแล้วรู้สึกว่าเราผอมมากเลย

    ตอนแรกที่ไปปฏิบัติอ้อมไม่เข้าใจหรอก ว่าทำอะไรกัน พอไปหลายๆ ครั้ง อ้อมถึงเริ่มเข้าใจว่า อ๋อ ที่เขาให้ทำช้า เพื่อที่ว่าออกไปแล้วจะได้ทำอะไรให้ได้เร็วขึ้นกว่าเดิมและมีสติตลอดเวลา อ้อมอยากให้เวลาเราเจออะไรแล้วไม่ตกใจกับมันมากเกินไป เรารู้ว่าเราไปเพื่อฝึกให้มีสติมากขึ้น เอามาใช้กับชีวิตประจำวันได้

    ปกติอ้อมเป็นคนทำอะไรเร็ว พอไปปฏิบัติแล้วเราช้าลง ทำอะไรค่อยๆ ทำ เมื่อเกิดอะไรขึ้นหรือมีสิ่งมากระทบ เราก็มีสติ อ้อมว่าการที่เราทำอะไรช้าลงก็ดีนะคะ แต่ต้องปรับใช้ให้เหมาะ อันไหนควรช้าก็ช้า อันไหนควรเร็วก็เร็ว มีสติรู้ไงคะ ไม่ใช่อยู่วัดแล้วช้า ออกมาก็ช้า ไม่ต้องไปไหนกันพอดี

    มีสติคือรู้ในทุกสิ่งที่เกิดขึ้น อย่างคุยอยู่ก็รู้ว่าเราคุย ไม่ใช่ใจไปคิดถึงงานที่ทำเมื่อกี้ ฉันขึ้นเวทีไปไม่ดีเลย มัวแต่ไปพะว้าพะวัง ตรงนี้ก็ไม่มีสมาธิแล้ว ตอนนี้คุยอยู่ มีสติคุยตรงนี้นะ เดี๋ยวต้องไปกินข้าวกับเพื่อน อย่าเพิ่งไปคิดว่าอยากกินอะไร คุยให้เสร็จก่อน พออยู่กับปัจจุบัน จะทำให้อะไรง่ายขึ้น

    เมื่อก่อนอ้อมเป็นคนอารมณ์ร้อนกว่านี้เยอะ หลังจากไปปฏิบัติมา ตอนนี้อ้อมเฉยขึ้น นิ่งขึ้น มีเหตุผลขึ้น เวลามีปัญหาอะไรไม่แตกตื่นตกใจมาก มีปัญหา เอ้า ว่ากันไป

    เรื่องความโกรธยังมีอยู่บ้าง พระอาจารย์สอนว่าโกรธใครให้แผ่เมตตาทั้งตัวเองและคนนั้น แต่อ้อมยังทำไม่ค่อยได้ ยังมีกิเลสอยู่เยอะ โชคดีที่อ้อมเป็นคนลืมง่าย โกรธใครแล้วก็ลืม เจอหน้ากันอ้อมยังไปทักทายสวัสดีเขาก่อน ทำเอาเขางง แล้วมานึกได้ตอนหลังว่าเราเคยโกรธคนนี้นี่นา กลายเป็นเรื่องดีไป

    พอไปปฏิบัติหลายๆ ครั้งอ้อมเริ่มรู้ว่าไม่ต้องนิพพานก็ได้มั้ง คงไม่มีทาง อีกไม่รู้กี่ชาติ อ้อมคงยังไม่มุ่งไปทางธรรมแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ เลยเอาให้พอเหมาะพอดีพอควร นำมาใช้กับการทำงานหรือการใช้ชีวิตได้

    อ้อมยังปลงไม่ค่อยได้น่ะค่ะ ยังมีกิเลสอยู่ คงยังอยู่ทางโลก อ้อมยังอยากกินของอร่อย อย่างวิปัสสนาเวลากำหนดกิน ไม่ให้ยินดีไปกับรสอาหาร แต่บางทีอ้อมก็กำหนดว่า ‘อยากกินของอร่อย’ เวลากลับไปที่วัดอีกครั้งอาจารย์ถามว่าได้ปฏิบัติมั้ย ‘ทำค่ะ’ ทำตอนที่เราแต่งหน้า แต่งไปเราก็นั่งสมาธิของเราไป นั่งนิ่งช่างก็แต่งได้ง่าย
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><T><T><TBODY><TR><TD></TD><TD>เรื่องทำบุญ อ้อมทำบ้างตามแต่โอกาส ให้ความช่วยเหลือคนอื่นเท่าที่เราทำได้ แต่ถ้าทำบุญแล้วต้องมีโฆษณามาเกี่ยวข้อง อ้อมจะปฏิเสธนะคะ ไม่อยากให้มีการแฝงอะไรแบบนี้
    เวลามีเหตุการณ์เลวร้ายเกิดขึ้น อย่างเหตุการณ์สึนามิ แทนที่เราจะมัวแต่เสียใจ มาช่วยกันดีกว่า อย่างที่นิตยสาร มารี แคลร์ ชวนอ้อมไปทำกิจกรรมกับมูลนิธิ Wishing Will เยี่ยมน้องๆ ที่ป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย อ้อมตกลงทันที ใจเราตั้งใจไปให้เขา แต่พอได้ไปจริงๆ เราจะได้อะไรกลับมาเสมอ

    กลับมาทำงานตอนที่อ้อมทราบข่าวว่าน้องเขาเสียชีวิตแล้ว ตอนนั้นต้องถ่ายละครเข้าฉากตามเหตุการณ์แฟนเรากำลังมีชู้ เรารู้แล้วต้องร้องไห้เสียใจ แต่อ้อมรู้สึกว่าการมีชู้กลายเป็นเรื่องเล็กน้อยไปเลย แค่นี้เอง เทียบกับที่น้องเขาต้องเจอ อ้อมเลยร้องไห้เรื่องมีชู้ไม่ได้ ต้องใช้เวลาทำใจว่านี่คือเรื่องธรรมดาของชีวิต แล้วตั้งสติกลับมาทำงานใหม่

    (น้องคนนั้นคือ ‘น้องอ้อม’ พ่อแม่ของน้องอ้อมชอบ อ้อม-พิยดามาก จึงตั้งชื่อเล่นตามอ้อม แต่ชื่อจริงต่างกันเพราะตัวอักษรไม่ถูกกับวันเกิดลูก ตอนอ้อมไปเยี่ยมน้องอ้อมที่อายุเพียง ๔ ขวบ กลายเป็นเจ้าหญิงนิทราเพราะมะเร็งไปเบียดแกนกลางสมอง ได้แต่นอนนิ่งๆ บนเตียง ไม่มีแม้โอกาสวิ่งเล่นอย่างเด็กคนอื่นในวัยเดียวกัน หัวเตียงของน้องอ้อมมีนาฬิกาที่แม่เธอทำเครื่องหมายเอาไว้เตือนตัวเองให้คอยพลิกตัวลูกตัวน้อยทุก ๓ ชั่วโมง เพื่อป้องกันแผลกดทับ)

    </TD></TR></T></T></TBODY></TABLE>


    ตอนไปปฏิบัติวิปัสสนาครั้งแรกอ้อมรู้สึกอึดอัดฟุ้งซ่านมาก ด้วยความที่งานของเรามันตรงกันข้ามแบบสุดโต่งเลย ต่างจากเวลาปฏิบัติที่เน้นให้มีสติ สมาธิ และสงบนิ่ง ไม่ให้อะไรมากระทบจิตใจ แรกๆ อ้อมสับสนว่าเราจะทำงานต่อไปดีมั้ย

    เคยถามอาจารย์ว่าเราทำให้คนอื่นเขาเสียใจร้องไห้ เวลาเล่นละครเขาร้องไห้ตามเราบาปมั้ย อาจารย์บอกว่าคนละแบบ เราไม่ได้ไปตีเขาจนเขาร้องไห้ เขาพอใจที่ได้ร้องไห้ หรือเขาดูละครแล้วมีความสุข ก็เป็นกุศลที่เราทำ แต่ถ้าเราไม่ตั้งใจทำงาน แล้วให้เขามาต่อว่า เล่นอะไรไม่เห็นได้เรื่องเลยนี่สิ อ้อมเลยเข้าใจได้มากขึ้น รู้แล้วว่าจะเอามาใช้ยังไง

    อ้อมไปปฏิบัติวิปัสสนาได้ ๗-๘ ปีแล้วค่ะ พยายามไปอย่างน้อยปีละครั้ง ทุกปีต้องล็อกเวลาไว้ก่อน การไปปฏิบัติสำหรับอ้อมเหมือนไปพักผ่อน ชาร์จแบตฯในตัวเราให้มีพลัง

    เมื่อก่อนอ้อมพักผ่อนด้วยการไปดำน้ำ เดี๋ยวนี้ก็ยังไปอยู่ สองอย่างนี้มีส่วนคล้ายกันตรงที่ทำให้ได้สมาธิ เวลาดำน้ำถึงจะลงไปกับคนมากมาย แต่พออยู่ใต้น้ำอ้อมจะได้แต่เสียงลมหายใจเข้าออก เหมือนเราอยู่กับตัวเองคนเดียวจริงๆ พอได้ปฏิบัติแล้ว เลยรู้ว่าคือการมีสมาธิอยู่กับตรงนั้น เมื่อก่อนไม่รู้หรอกว่ามันคือสมาธิ

    อ้อมไม่ใช่คนที่พอปฏิบัติแล้วต้องมาชวนคนอื่นให้ไปตามเรา แต่ถ้าเชื่อก็ดีไป แต่บางคนที่ไม่เข้าใจ ไม่เชื่อ อาจต่อต้านไปเลยก็มี ของแบบนี้เขาจะได้กับตัวเอง ดังนั้นอ้อมจะไม่บอกให้เชื่อว่าไปปฏิบัติแล้วรู้สึกดียังไง ไม่ต้องมาลองตามอ้อม ถ้าใครสงสัย อยากรู้ว่าดีจริงรึเปล่า ลองเองดีกว่า สงสัยอะไรพิสูจน์เองเลย ไปหาคำตอบให้ความสงสัยของตัวเอง เพราะเราจะรู้แค่ตัวเราเอง

    “มีสติคือรู้ในทุกสิ่งที่เกิดขึ้น อย่างคุยอยู่ก็รู้ว่าเราคุย ไม่ใช่ใจไปคิดถึงงานที่ทำเมื่อกี้ ฉันขึ้นเวทีไปไม่ดีเลย มัวแต่
    ไปพะว้าพะวัง ตรงนี้ก็ไม่มีสมาธิแล้ว”




    ที่มา หนังสือ ดาวสุข (อรุษา กิตติวัฒน์ )
    <!--
    --><!-- / message --><!-- attachments -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...