ปฏิบัติแบบไหนจึงจะตรงกับจริตของเรา ?

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย tamsak, 14 สิงหาคม 2008.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. tamsak

    tamsak ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    7,857
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +161,171
    ถาม : อย่างเราปฏิบัติแล้วเราไม่รู้ว่าเราควรจะทำแบบไหนจึงจะตรงกับจริตของเรา ?

    ตอบ : แบบไหนจะตรงกับจริตของเรานี่หาคู่มือปฏิบัติกรรมฐานของหลวงพ่อมาอ่านแล้วชอบตรงไหนก็ทำตรงนั้นเลย ทำกองนั้นกองเดียว หัวข้อนั้นหัวข้อเดียว เอาให้มันได้จริงๆ ไปเลยอย่าไปเปลี่ยนใหม่ ถ้าหากว่าเราทำๆ ไปแล้วมันยังไม่ได้ เราไปท้อแล้วไปเปลี่ยนใหม่ทำๆ ไปยังไม่ได้ ท้อแล้วเปลี่ยนใหม่ อาตมาเปรียบว่ามันเหมือนยังกับว่าขุดบ่อแล้วไม่ได้น้ำ ขุดลงไป ๓ เมตร ๕ เมตร ถ้าเกิดน้ำมันอยู่ ๒๐ เมตรอย่างนี้ เรารู้สึกเหนื่อย รู้สึกท้อแล้วไปเปลี่ยนใหม่ ไปขุดอันนั้น ๓ เมตร ๕ เมตรแล้วเมื่อไหร่มันจะได้ล่ะ

    เพราะฉะนั้นมันจะต้องประเภทต้องตั้งหน้าตั้งตาทำไป ได้สักหัวข้อหนึ่งแล้วอันอื่นมันจะง่าย เพราะว่ากำลังมันเท่ากัน มันแค่เปลี่ยนวิธีการเท่านั้นเอง

    เมื่อวานนี้พี่ชายเขามา พี่ชายคนนี้ก่อนหน้านี้เขาปฏิบัติธรรมะแข็งขันมาก ตั้งใจอย่างเดียวว่าจะไปนิพพาน ครอบครัวก็ไม่มีแล้ว อีตอนนี้ก็มีเมีย ๑ มีลูก ๓ เรียบร้อยไปแล้ว เขามาถามว่าเขาปฏิบัิติแล้วไม่ก้าวหน้าจะทำอย่างไร ? ก็บอกว่าพี่ก็ทำอย่างที่อาตมาเคยทำนั่นแหละ

    สมัยก่อนพี่ว่าอาตมาบ้าอย่างไรก็บ้าอย่างนั้นล่ะ แล้วมันก็จะได้เอง พูดง่ายนะ แต่ตอนทำมันเหนื่อยก็ท้อเหมือนกันเปรียบให้ฟัง ถ้ากลัวว่าจะผิดเอาศีลเป็นกรอบ ศีล ๕ ก็ได้ ศีล ๘ ก็ได้

    ถ้าหากว่ายังอยู่ในกรอบของศีล การปฏิบัตินั้นไม่ผิดหรือว่าผิดก็ผิดน้อยเต็มที ในเมื่อมีศีลแล้วพยายามกวดศีลของเราให้บริสุทธิ์อย่าละเมิดศีลด้วยตัวเอง อย่ายุยงส่งเสริมให้คนอื่นทำ อย่ายินดีเมื่อคนอื่นล่วงให้ศีลนั้นขาดลงในเมื่อเราทำละเอียดได้ถึงขั้นนี้ ศีลมันทรงตัว สมาธิก็จะตั้งมั่นได้ง่าย ปัญญาก็จะเกิด

    เพราะว่าจิตของเราถ้านิ่งนี่มันเหมือนน้ำที่นิ่งมันจะมองเห็นได้ เวลาชะโงกไปก็เห็นหน้าตัวเอง คราวนี้พอจิตมันนิ่งปุ๊บ ปัญญามันก็จะเกิด พอปัญญามันเกิดจะใช้ไปคุมศีลอีกทีหนึ่ง ในเมื่อยิ่งคุมศีลให้ละเอียด สมาธิก็จะตั้งมั่นได้ง่าย สมาธิยิ่งตั้งมั่น ปัญญาก็ยิ่งเกิด มันจะไล่กวดไปเรื่อยๆ จนถึงจุดสุดท้ายของมัน เราก็จะก้าวข้ามในจุดที่เราต้องการได้

    ถาม : ถ้าใจเราอยากทำกสิณนี่ทำได้มั้ยคะ ?

    ตอบ : ได้ทุกคน ถ้าใจรักอยากจะทำอดีตเคยทำมาแล้ว ทีนี้เราเอากสิณ ๑๐ กองนี่เอาคู่มือปฏิบัติกรรมฐานของหลวงพ่อมา ตั้งใจจุดธูปบูชาหน้าพระรัตนตรัยต่อหน้าหิ้งพระของเรา กราบพระขอบารมีท่านสงเคราะห์ อธิษฐานว่ากสิณกองใดที่เราเคยทำได้แล้วในอดีตแล้ว ถ้าหากว่าทำในปัจจุบันนี้จะได้ผลเร็วที่สุดขอให้เราอ่านแล้วชอบกองนั้นมากที่สุดแล้วก็ไล่ไปเลย อาโลกสิณ อากาศกสิณ ปฐวีกสิณ เตโชกสิณ อาโปกสิณ วาโยกสิณ โลหิตกสิณ ปีตกสิณ นีลกสิณ โอทาตกสิน พอครบ ๑๐ กองเสร็จแล้วชอบอันไหนมากที่สุดก็หาอุปกรณ์มาแล้วก็ทำ

    คราวนี้การทำกสิณนี่มันสำคัญอยู่ตรงที่ย้ำคิดย้ำทำ ยิ่งกว่าพวกโรคจิตอีก ก็คือว่ามันลืมตามอง หลับตาลงนึกถึงมันจะนึกได้แป๊บหนึ่ง พอภาพหายก็ลืมตามองใหม่ พร้อมคำภาวนาอยู่ตลอด คราวนี้พอเลิกจากตรงนั้นไปห้ามลืมนะ ต้องนึกถึงภาพนั้นอยู่เรื่อยๆ นึกไปพร้อมกับคำภาวนาอยู่เรื่อยๆ แบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งให้เขา อาจจะซัก ๓๐-๔๐% นึกถึงภาพนั้นพร้อมคำภาวนาตลอด ส่วนความรู้สึกอีก ๖๐-๗๐% ก็ทำหน้าที่การงานของเราไป

    ถาม : ต้องแบ่งอย่างไรคะ ?

    ตอบ : ตลอดเวลาจนกว่าภาพนั้นเราจะลืมตาก็เห็น หลับตาก็เห็น คราวนี้ก็คอยประคับประคองเอาไว้ให้ดี ถ้ามันหายไปรีบนึกขึ้นมาใหม่ หายไปรีบนึกขึ้นมาใหม่ไปเรื่อยๆ สมาธิก็จะทรงตัว ตั้งมั่นขึ้นเรื่อยๆ ภาพนั่นก็จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ จากสีเดิมก็จะจางลงๆ เป็นสีขาว จากสีขาวก็กลายเป็นขาวทึบ จากขาวทึบก็กลายเป็นขาวใส จนกระทั่งสว่างเจิดจ้าเหมือนกับเรามองดวงอาทิตย์

    คราวนี้ลองอธิษฐานดูให้หายไปก็ได้ ให้มาก็ได้ หรือจะให้ใหญ่ก็ได้ ให้เล็กก็ได้ คราวนี้อธิษฐานดูว่ามันจะมีผลตามนั้นมั้ย ? ถ้าเป็นอาโลกสิณ ก็สามารถทำที่มืดให้สว่างได้ สามารถเห็นนรกเห็นสวรรค์ได้ ถ้าเป็นโอทาตกสิณ ก็สามารถเปลี่ยนสีอื่นเป็นสีขาวได้ สามารถเห็นนรก เห็นสวรรค์ได้ เป็นปีตกสิณ ก็สามารถเปลี่ยนสีอื่นเป็นสีเหลืองได้ สามารถทำของอื่นให้เป็นทองได้ โลหิตกสิณ ก็สามารถเปลี่ยนสีอื่นเป็นสีแดงได้ นีลกสิณ ก็สามารถที่จะเปลี่ยนสีอื่นเป็นสีเขียวเป็นสีดำได้ หายตัวได้เหล่านี้เป็นต้น

    พอทำได้เต็มที่แล้่วเราค่อยก้าวข้ามกองใหม่ก่อนจะจับกองใหม่ก็ซ้อมกองเดิมให้เต็มที่ก่อน มันปุ๊บเดียวเท่านั้นเองนะ ถ้ามันได้คล่องตัวแล้วมันปุ๊บเดียวไม่ถึงวินาที สองวินาทีก็เต็ม แล้วเราก็จับกองอื่นต่อ

    ถาม : แล้วคำภาวนาจำเป็นมั้ยคะ ?

    ตอบ : จำเป็นเพราะว่าคำภาวนาพร้อมกับลมหายใจเข้าออกสำคัญที่สุด ถ้าไม่มีอานาปานี่กรรมฐานทุกกองได้ประมาณแค่อุปจารสมาธิเท่านั้นล่ะ ทรงฌานไม่ได้

    ถาม : ..............................

    ตอบ : ถ้ามันเต็มที่ของฌานมันก็จะได้ฌาน ๔

    ถาม : ความรู้สึกมันได้ขนาดไหน ?

    ตอบ : ถ้าภาพกสิณนั้นสว่างเจิดจ้าเหมือนกับเรามองกระจกสะท้อนแสดงอาทิตย์นั่นคือฌาน ๔ แล้ว ส่วนเรื่อง ๓ ฐาน ๗ ฐานอะไรนั่นไม่ต้องไปคิดถึง เพราะว่าถึงเวลาบางทีคำภาวนามันหายไปเฉยๆ เราก็แค่กำหนดรู้ตามภาพมันเท่านั้นว่า ตอนนี้มันเป็นอย่างนี้ ตอนนี้มันเป็นอย่างนี้

    ถาม : จำเป็นต้องทำอานาปาด้วยเหรอคะ ?

    ตอบ : จำเป็นต้องใช้เลย กรรมฐานทุกกองอีก ๓๙ กอง ถ้าไม่ได้อานาปานสติควบด้วยอย่างเก่งก็ได้แค่อุปจารสมาธิ ชอบทำกสิณก็ดีเพราะว่ากสิณเป็นพื้นฐานของฤทธิ์ พอได้กสิณคล่องแล้ว ต่อไปเป็นสมาบัติ ๘ สมาบัติ ๘ นี่เรายกกสิณขึ้นมากองหนึ่ง แล้วเพิกภาพกสิณเสีย ทำอรูปฌานให้เกิด





    สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ





    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 ตุลาคม 2013
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...