ปฏิปทาของหลวงพ่อเมื่อเริ่มฝึกธุดงค์

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 6 กรกฎาคม 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    ฝึกธุดงค์

    [​IMG]<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย ตอนนี้เป็นตอนที่ ๒ ของเล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒ นี้ก็ขอเล่าสู่ความเป็นมาสมัยที่บวชใหม่ ๆ เพราะว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย เมื่อเห็นปฏิปทาในปัจจุบันก็ดี เมื่อเห็นความเป็นมาต่าง ๆ ในปัจจุบันก็ตาม อาจจะคิดว่า ตอนบวชใหม่ ๆ คงจะเป็นพระที่มีการเคร่งครัดมัธยัสถ์มาก เพราะว่าเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อปาน คำว่า ลูกศิษย์หลวงพ่อปานนี่ บรรดาท่านพุทธบริษัทจงอย่าคิดว่า เหมือนหลวงพ่อปานทุกองค์หรือว่าจะปฏิบัติคล้ายคลึงหลวงพ่อปานทุกองค์ก็หาไม่ ความจริง พระที่ปฏิบัติตามหลวงพ่อปานจริง ๆ มีไม่ถึงร้อยละสอง
    ขอกล่าวด้วยความจริงใจ นอกนั้นเป็นพระที่อาศัยบารมีกินทั้งนั้น แต่ทว่ามีอาการเบ่ง เวลาไปทางไหน เขาบอกว่า พระวัดบางนมโค คนก็มีความเคารพถือว่าเป็นศิษย์หลวงพ่อปาน นี่ก็เป็นเรื่องธรรมดา จะถือว่า หัวหน้าดี แต่ลูกน้องจะดีเหมือนกันทั้งหมด ไม่ใช่
    แม้แต่ที่วัดท่าซุงเองก็เหมือนกัน ก็จงอย่าคิดว่า ท่านจะเป็นนักสมถวิปัสสนากันทุกองค์ บางองค์ก็ยังถือว่าปฏิบัติถูกตามพระธรรมวินัยใช้ได้มีอยู่ บางองค์ที่มีการเคร่งครัดมัธยัสถ์ในสมถภาวนาก็มีอยู่ก็ถือว่าใช้ได้ แต่ว่าพระส่วนใหญ่ประกอบกับงานของวัด ห่วงงานวัด สนใจในงานวัดดี อาจจะมีบ้างที่ขี้เกียจ จะมีบ้างหรือเปล่าก็มองไม่เห็น แต่ถือว่า ทำงานกันตามหน้าที่ รู้สึกว่า จะดีกว่าสมัยนั้นมาก ก็รวมความว่า มาพูดเรื่องอาตมาเองก็แล้ว คนอื่นจะไปนินทาเขาทำไม ความจริงไม่ตั้งใจนินทา แต่ล่อเข้าแล้ว ไม่ใช่นินทา เล่าสู่กันฟัง
    เมื่อสมัยที่บวชใหม่ ๆ ก็มีผ้าห่มไม่ดี ผ้าก็เป็นผ้าดิบ เมื่อบวชเข้ามาแล้ว รู้สึกว่า บวชเข้ามาประมาณ ๑ เดือน อารมณ์ของพระ ๑ เดือนนี่ ความเป็นพระน้อยเต็มที นอกจากระวังพระธรรมวินัย เพราะอะไร เพราะว่า เห็นอะไรมันดีหมด เห็นทรัพย์สินต่าง ๆ ก็ดีหมด เห็นสาว ๆ ก็สวยหมด อีตอนเห็นสาว ๆ สวยหมดนี่ มันจะดีมากเกินไป ก็มาคิดในใจว่า ผ้าเหลืองไม่ได้ทำให้กิเลสหด ถ้าอย่างนั้นก็ลอง ปฏิบัติธุดงค์ ธุดงค์ ๑๓ นี่บรรดาท่านพุทธบริษัท มันไม่จำเป็นต้องเข้าป่าเข้ารกเสมอ ไปถามหลวงพ่อปานท่านบอกว่า อยากจะปฏิบัติธุดงค์ตามแบบฉบับใน ธรรมวิภาคปริเฉท ๒ จะทำได้ไหม ท่านบอกว่า ทำได้
    ท่านถามว่า เธอต้องการอะไร ก็ต้องการอันดับแรก เอกาสนิกังคะ ก็หมายความว่า กินข้าวเวลาเดียว ๒. เตจีวริกังคะ ใช้ผ้า ๓ ผืน เอาภาษาไทยดีกว่า เอา ๒ อย่างนี่ก่อน หลวงพ่อปานบอก ได้ ฉันจะขึ้นให้ แล้วท่านก็แนะนำการปฏิบัติธุดงค์ กินข้าวเวลาเดียว ใช้ผ้า ๓ ผืน แต่ความจริงเขามีผ้าอาบน้ำฝนเพิ่มขึ้นมาก็มีเป็นผ้าผลัด เมื่อถึงเวลาวันโกนที ก็ซักย้อมสบง จีวรใช้ผ้าอาบนุ่ง ย้อมกันที วันโกนก็ย้อมที ผ้าสมัยนั้นต้องย้อม เพราะสีตก ผ้าสีตกนี่ดี ทำให้พระสีสวย เพราะสีผ้าตกเข้ามาในเนื้อพระ
    ลองกินข้าวเวลาเดียวอยู่ ๑ ปี อาหารที่วัดบางนมโคเวลานั้นไม่ได้ฟุ่มเฟือย ไม่ได้มากมายเหมือนกับวัดท่าซุงเวลานี้ มันก็เหมือนวัดท่าซุงเมื่ออาตมามาอยู่ใหม่ ๆ คือ ไม่ค่อยจะมีอะไรกิน หลวงพ่อปานจึงต้องแกงหม้อใหญ่ ๆ ๑ หม้อ หุงข้าวกระทะ ข้าวบิณฑบาตก็ไม่พอกิน แกงก็ไม่พอ กับข้าวที่ฉันเช้าแล้ว ก็ต้องเก็บไว้เพล ก็รวมความว่า เพลกับเช้า กินข้าวเหมือนกัน พอมาถึงเอกาเข้ากับข้าวที่ถือว่าเป็นพื้นฐานก็คือ ปลาย่าง ปลาย่างกับน้ำปลาแล้วก็พริกแห้งบ้าง พริกขี้หนูบ้าง อะไรก็ตามเท่าที่มี หั่น ๆ ใส่ กินเป็นประจำอย่างนี้ทุกวัน
    บางทีก็มีผักบุ้ง ก็เอาผักบุ้งมาต้ม กินกับน้ำปลา กับพริก พริกก็เผ็ด น้ำปลาก็เค็ม ผักบุ้งก็จืด ๆ ก็ใช้ได้ แบบนี้ ๑ ปี สังเกตดูแล้วว่า กิเลสมันตกไหม ถึงแม้ว่าจะกินข้าวเวลาเดียว ถือผ้า ๓ ผืน ก็ทำตัวเสมอกับพระต่าง ๆ คือว่า ก็ยังสมาคมกับท่านตามปกติ เวลาที่ว่างจากการเจริญกรรมฐาน สำหรับกรรมฐานนี่ว่ากันปกติตั้งแต่วันแรก
    ก็เป็นอันว่า กินข้าวเวลาเดียวมา ๑ ปี สังเกตดูกำลังจิตใจทั้ง ๆ ที่เจริญสมาธิกรรมฐานด้วย สมัยแรกก็ใช้ภาวนาว่า พุทโธ อย่างเดียว และใช้กำลังวิปัสสนาญาณบ้างก็ไม่มาก ก็ทำแบบนกแก้ว นกขุนทอง แต่ภาวนาไม่เลิก ภาวนานี่ไม่เลิกแน่ เดินไปเดินมาก็ภาวนา เว้นไว้แต่คุยกับเพื่อน คุยกับเพื่อนก็คุยไป เมื่อเลิกคุยก็ภาวนา เวลาไปบิณฑบาตก็ว่า อิติปิโสฯ ว่าเรื่อยไปจนกว่าจะกลับ นึกในใจนะ อย่างนี้ ๑ ปี กิเลสไม่ตกเลย มองดูสาว ๆ ยังสวย มองดูเงินทองยังมีค่า มองดูทุกอย่าง ท่าทางมันยังดี ก็นึกในใจว่า การถือเอกานี่ ก็กินข้าวเวลาเดียว บางคนเขาถือว่า เคร่งครัดมัธยัสถ์ แต่เนื้อแท้จริง ๆ แล้ว กิเลสยังท่วมหัวตามเดิม
    ต่อมาเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า หลังจากนี้ไป เราจะไม่กินของคาว จะเรียกว่า กินเจ หรือกินเจ๊ อะไรก็ตามใจเถอะ ขึ้นชื่อว่าของคาวไม่กิน แต่ก็ไม่บอกชาวบ้านให้ทราบ ถ้าบอกแล้วเขาจะทำมาลำบาก เราก็บิณฑบาตมาแล้ว อะไรก็ตามที่มันเป็นของคาว เราก็ไม่กิน นั่งกินรวมวงกับพระธรรมดา ๆ ไม่ได้แยกไปไหน เลือกกินแต่ของที่มันไม่มีคาว ขณะที่ไม่กินของคาวนี่ ใช้เวลา ๓ ปี ก็ยังกินข้าวเวลาเดียวตามเดิม ในที่สุด กิเลสก็ไม่ตก สาวก็ยังสวย เงินก็ยังมีค่า วัตถุต่าง ๆ ก็ยังมีค่ามาก สวยสดงดงาม เลยมีความเข้าใจว่า การที่เราปฏิบัติทางกายแบบนี้ ตามที่องค์สมเด็จพระชินสีห์ท่านตรัสว่า มรรคผลไม่ได้เกิดจากทางกาย มันเกิดจากทางใจ
    แต่ว่ามีอะไรแปลกอยู่อย่างหนึ่ง ขณะที่ตั้งใจว่าจะไม่กินของคาว บังเอิญวันหนึ่งในระหว่างที่ยังไม่กินของคาวนั่น มีญาติโยมเขาถวายข้าวต้มเครื่อง เขานิมนต์ทั้งวัด จะไม่ฉันก็เกรงใจเขา จะฉันก็คิดว่า มันเสียสัจจะ เขาบอกว่า เอาอย่างนี้ก็แล้วกันเจ้าค่ะ โปรดสักชามหนึ่งเถิด ถึงแม้ว่าจะถือว่าไม่ฉันของคาว ก็โปรดสักชาม พอกินเข้าไป ช้อนที่หนึ่งทำท่าอื้อ พอช้อนที่สองอาเจียนทันที อาเจียนอย่างหนัก ญาติโยมตกใจ ต้องหาของไม่มีคาวมาให้
    พอพ้น ๓ ปีไปแล้ว ก็กินของคาวตามเดิม ตอนที่ถือเอกาด้วย ไม่กินของคาวด้วย สาวสวยก็ยังสวยตามเดิม เงินมีค่า ก็ยังมีค่าตามเดิม วัตถุต่าง ๆ ก็ยังสวยสดงดงามตามเดิม อารมณ์ต่าง ๆ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปนัก เว้นไว้ว่า จะคุมด้วยกำลังของภาวนาหรือพิจารณาบ้างในบางโอกาสเท่านั้นเอง
    ก็เป็นอันว่า ปฏิปทาเดิมจริง ๆ และสำหรับการปฏิบัติตัวก็เหมือนกัน พระท่านนั่งคุยที่ไหน ไปที่ไหน ก็ไปด้วยกัน เว้นไว้แต่เวลาอยู่ เราก็อยู่ในป่าช้าของเราตามปกติ เวลาออกมาก็คุย คุยสนุกสนานตามปกติธรรมดา ไม่แสดงตัวว่า ฉันกับเธอน่ะไม่เหมือนกันนะ ตัดมานะตัวนี้ออกไป ต่อมาก็มีความรู้สึกทางใจว่า เรานี่คงไม่สามารถชนะกิเลสแน่ ถ้าไม่ชนะกิเลส เราจะอยู่หรือเราจะสึก ในเมื่อเราออกพรรษาไปแล้วก็มานั่งปรึกษากัน ๓ องค์ ว่า ถ้าเราอยู่ต่อไป เราก็ขาดจากงานที่เราเป็นลูกจ้างเขา นี่เราลาเขาเพียงแค่ไม่กี่เดือน เวลานี้มันก็ครบแล้ว
    ถ้าหากว่าเกินเวลาไป ถ้าเราสึกไป เขาก็ไม่จ้างเรา ถ้าเราจะอยู่ ถ้าอยู่ไม่ตลอดมันก็ไม่ดีเหมือนกัน เวลานี้กิเลสทุกอย่างมันก็ห้ำหั่นเรา เราไม่ได้หั่นกิเลส ถ้าอย่างนั้น เอาอย่างนี้ดีกว่า เราสึกกันดีกว่า สึกไปหากิเลส อยู่กับกิเลสให้มันช่ำใจ ให้มันเบื่อกิเลส เพราะการเคล้าคลึงกับกิเลส ในเมื่อเราเบื่อกิเลส เราก็บวชใหม่ ปรึกษากันตอนเช้า
    พอดีตอนเช้า หลวงพ่อปานท่านก็เดินผ่านถึงหน้าบันได ท่านก็เอาไม้เท้าเคาะบันได ป๊อก ๆๆๆ หันไปหาท่าน ยกมือไหว้ ท่านบอก ว่าอย่างไร อยากไปหาเป็นขี้ข้ากิเลสอย่างนั้นรึ มันไม่มีทางชนะหรอก ออกไปแล้วนอกจากตัวเราคนเดียว เราก็ห่วงขันธ์ ๕ ต่อไปไม่ช้า นี่คุณระหว่างที่บวชอยู่นี่ผู้หญิงเขาจองหลายคนนะ ทั้งสามองค์นี่ แกอย่านึกว่า ฉันเป็นพระแก่ ฉันไม่รู้นะ ฉันรู้ว่าใครเขาจองเธอหลายคน และที่เขาจองเธอหลายคนนี่สักคนหนึ่งในจำนวนนั้นอาจจะชนะใจเธอ ในเมื่อเขาชนะใจเธอแล้วเธอก็แต่งงานกับเขา
    แต่งงานก็เลยเป็นขันธ์ ๑๐ คนเดียวขันธ์ ๕ สองคนขันธ์ ๑๐ ต่อมาลูกออกมา ก็เป็นขันธ์ ๑๕ ลูกออกมาอีกก็เป็นขันธ์ ๒๐ เพียงแค่ขันธ์ ๕ อย่างเดียว ยังมีทุกข์อย่างนี้ จะต้องการขันธ์ ๒๐, ๓๐, ๔๐ ขันธ์ มันจะมีความสุขได้อย่างไร ความห่วงใยที่คิดว่าจะตัดกิเลส มันตัดไม่ออก กิเลสมันพอกมากขึ้น ตัดสินใจเองก็แล้วกันนะว่า อยากจะเป็นอิสระหรืออยากจะเป็นขี้ข้าเขาต่อไป ท่านพูดแล้วท่านก็ยิ้ม ท่านก็เดินกลับ
    เราก็นึกในใจว่า เออ
     

แชร์หน้านี้

Loading...