ประวัติหลวงปู่มั่นหรือพระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 27 พฤศจิกายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    e0b8b4e0b8abe0b8a5e0b8a7e0b887e0b89be0b8b9e0b988e0b8a1e0b8b1e0b988e0b899e0b8abe0b8a3e0b8b7e0b8ad.jpg

    หลังจากที่ยูเนสโกประกาศยกให้ “หลวงปู่มั่น” เป็นคนสำคัญของโลกสายสันติภาพแล้ว เราลองมาทำความรู้จักโดยการอ่านประวัติของหลวงปู่มั่นว่าท่านมีความเป็นมาอย่างไร

    หลวงปู่มั่นหรือพระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต เป็นพระป่าที่ได้ปฏิบัติตนตามแนวทางคำสอนอย่างเคร่งครัด และยึดถือธุดงควัตรด้วยจริยวัตรปฏิป จนได้รับการยกย่องจากผู้ศรัทธาทั้งหลายว่าเป็นพระผู้เลิศทางธุดงควัตร ท่านวางแนวทางในการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าให้แก่คนทั่วไปอย่างกว้างขวาง จนมีพระสงฆ์และฆราวาสเป็นลูกศิษย์จำนวนมาก แนวคำสอนของท่านเป็นที่รู้จักกันดีในนามว่า คำสอนพระป่า (สายพระอาจารย์มั่น)

    ต้องบอกว่าหลวงปู่มั่นนั้นได้บรรพชาตั้งแต่อายุได้ 15 ปี เป็นสามเณรที่ วัดบ้านคำบง เมื่อบวชได้ 2 ปี บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้าน จิตท่านยังหวนคิดถึงร่มผ้ากาสาวพัสตร์อยู่เนืองนิจ เพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายากนัก ต่อมาหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโลได้เดินธุดงค์มาปักกลดอยู่ที่ บ้านคำบง พระอาจารย์มั่นในขณะเป็นฆราวาสจึงเข้าถวายการรับใช้และมีจิตศรัทธาในข้อวัตรปฏิบัติของหลวงปู่เสาร์ ต่อมาได้ถวายตัวเป็นศิษย์ติดตามเดินทางเข้าเมืองอุบลราชธานี

    ในปี พ.ศ. 2436 พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ศึกษาธรรมปฏิบัติ ณ วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี และได้ออกจาริกเดินธุดงค์ติดตามหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ธุดงค์วิเวกไปพำนักจำพรรษา ณ พระธาตุพนม ในปี พ.ศ. 2443 ซึ่งพระธาตุพนมในสมัยก่อน ประชาชนไม่รู้ถึงความสำคัญจึงไม่มีใครสนใจเท่าใดนัก เมื่อคณะของท่านมาพำนักจำพรรษาจึงได้บอกให้ชาวบ้านญาติโยมทราบว่า พระธาตุพนม องค์นี้เป็นพระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นพระธาตุที่บรรจุอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อชาวบ้านได้รู้เช่นนั้นแล้ว ก็พากันบังเกิดปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงช่วยกันทำความสะอาดบริเวณพระธาตุพนม ครั้นถึงวันเพ็ญเดือน 3 ก็พาญาติโยมทั้งหลายทำบุญ จนเป็นประเพณีสืบต่อกันมา

    ปี พ.ศ. 2455 พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ออกธุดงค์วิเวกเพียงลำพังองค์เดียว ได้ไปพำนักปักหลักบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำสาริกา จังหวัดนครนายก ณ ถ้ำสาริกา แห่งนี้ ท่านได้รู้ได้เห็นธรรมอันอัศจรรย์ และได้ประสบเหตุการณ์ต่างๆหลายประการ อย่างตอนที่ท่านรู้สึกว่าโรคเจ็บท้องที่เคยเป็นประจำชักกำเริบและมีอาการรุนแรงขึ้นตามลำดับ แต่ด้วยอาศัยด้วยเหตุว่าท่านได้บำเพ็ญบารมี (กำลังใจในการปฏิบัติที่สั่งสม) ไว้มากในพระบวรพุทธศาสนา ท่านจึงตัดสินใจออกไปนั่งสมาธิ เจริญอสุภะกรรมฐาน จนกระทั่งจิตเกิดความอัศจรรย์ สามวันสามคืน พอจิตของท่านอิ่มตัวจากการประพฤติปฏิบัติ ได้เกิดนิมิตต่างๆ ขึ้นมา

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์พระกรรมฐานแห่งยุค ตำนานชีวิตของท่านถูกกล่าวขานกันไม่รู้จบ เป็นที่ประจักษ์แก่ศิษผู้ใกล้ชิดถึงญาณความรู้ของหลวงปู่มั่นกว้างขวางแม่นยำทุกด้านหาผู้เสมอเหมือนได้ยากยิ่ง ท่านสำเร็จปฏิสัมภิทานุศาสน์ 4 อย่าง คือ

    1. อัตถปฏิสัมภิทา – แตกฉานในอรรถ
    2. ธรรมปฏิสัมภิทา – แตกฉานในธรรม
    3. นิรุตติปฏิสัมภิทา – แตกฉานในภาษา
    4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา – แตกฉานในปฏิภาณ

    โดยปฏิปทาที่ท่านยึดมั่นมาตลอดชีวิตนั้น คือธุดงค์ ซึ่งธุดงควัตรข้อสำคัญที่ท่านสามารถยึดมั่นมาตลอดจนวาระสุดท้ายของชีวิต มี 7 ประการ คือ

    1. ปังสุกุลิกังคธุดงค์ – ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล
    2. ปิณฑปาติกังคธุดงค์ – ถือภิกขาจารวัตร เที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์
    3. เอกปัตติกังคธุดงค์ – ถือฉันในบาตร ใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์
    4. เอกาสนิกังคธุดงค์ – ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์
    5. ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ – ถือลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม
    6. เตจีวริตังคธุดงค์ – ถือใช้ผ้าไตรจีวร 3 ผืน
    7. อารัญญิกังคะ – ถือละเว้นการอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.sanook.com/horoscope/172749/
     

แชร์หน้านี้

Loading...