ปัจฉิมวาจาพระะธรรมเทศนาหลวงพ่อสดวัดปากน้ำ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 31 มกราคม 2019.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    nbdsm_3[1].gif

    กัณฑ์ที่ ๑๕
    ปัจฉิมวาจา
    ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

    ภาสิตา โข ปน ภควตา ปรินิพฺพานสมเย อยํ ปจฺฉิมวาจา หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถาทิฯ ภาสิพญฺจิทํ ภควตา เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว ยานิ กานิจิ ชงฺคลานํ ปาณานํ ปทชาตานิ สพฺพานิ ตานิ หตฺถิปเท สโมธานํ คจฺฉนฺติ หตฺถปทํ เตสํ อคฺคมกฺขายติ ยทิทํ มหนฺตตฺเตน ฯ เอวเมว โข ภิกฺขเว เยเกจิ กุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต อุปฺปมาทมูลกา อปฺปมกาสโมสรณา อปฺปมาโท เตสํ อคฺคมกฺขายตีติฯ ตสฺมาติหมฺเหหิ สิกฺขิตพฺพํ ติพฺพาเปกฺขา ภิวสฺสาม อธิสีลสิกฺขาสมาทาเน อธิจิตฺตสิกขาสมาทาเน อธิปญฺญสิกฺขาสมาทาน อปฺปมาเทน สมฺปาเทสฺสามาติฯ เอวญฺหิ โน สิกฺ ขิตพฺพนฺติฯ


    ณ บัดนี้ท่านทั้งหลายทั้งหญิงและชาย คฤหัสถ์ บรรพชิตทุกถ้วนหน้า มาสโมสรสันนิบาตในพระอุโบสถวัดปากน้ำ ณ เวลาวันนี้ ล้วนมีสวนะเจตนาใคร่เพื่อจะสดับตรับรับฟังพระธรรมเทศนาในวันมาฆบูชา สมเด็จพระบรมศาสดาไว้อาลัยให้แก่เราท่านทั้งหลาย ให้เป็นเครื่องประจำใจของเราท่านทั้งหลายทุกถ้วนหน้า เรียกว่า ปัจฉิมวาจา

    พระองค์ทรงรับสั่งพระวาจานี้แล้วหุบพระโอษฐ์ไม่ทรงรับสั่งต่อไป

    พระวาจาอันนี้เป็นที่ตรึงใจของหญิงชายในโลกทุกถ้วนหน้า
    ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต

    สมเด็จพระบรมสามิตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ไว้อาลัยให้แก่เราท่านทั้งหลายในเรื่องเวยฺยธรรมของสังขารทั้งหลาย

    อาลัยอันนี้แหละเป็นปัจฉิมวาจาของพระจอมไตร ให้เราจำไว้
    อย่าลืมหลงว่า เราต้องเป็นอย่างนี้แน่ไม่แปรผัน
    เมื่อทราบชัดด้วยใจของตนมั่นในขันธสันดานแล้ว
    ความเสื่อมไปของสังขารทั้งหลาย หรือสังขารทั้งหลายเสื่อมไป
    ไม่ได้มีถอยกลับเลย แม้แต่สังขารใดสังขารหนึ่ง

    อาศัยสราคธาตุ สราคธรรม หรือ อาศัยวิราคธาตุ วิราคธรรม เกิดขึ้น
    ที่เรียกว่า" สังขาร "
    สิ่งที่มีขึ้น เกิดขึ้น
    ปรุงขึ้นแล้ว ตกอยู่ในความแปรไป
    เสื่อมไปไม่มีเหลือเลยแม้สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง
    "เสื่อมไปทั้งนั้น "
    ความเสื่อมไปอันนี้แหละเป็นเครื่องประจำใจของเราท่านทั้งหลาย
    ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต หญิงชายทุกถ้วนหน้า
    "ให้นึกถึงความเสื่อมอันนี้ไว้"



    ความเสื่อมน่ะจะนึกที่ไหน
    นึกถึงในตัวของเรานี่ อัตตภาพร่างกายนี้ไม่คงที่เลย

    ตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดาก็เสื่อมเรื่อยไป
    เสื่อมไปตามหน้าที่เสื่อมขึ้น เสื่อมลง เสื่อมขึ้นก็เจริญขึ้นเป็นลำดับไป
    พอเต็มอายุก็เสื่อมลงเรื่อยไป
    เสื่อมไม่มีหยุดเลย เสื่อมเรื่อย...
    เมื่อเสื่อมเป็นดังนี้ละก็
    สิ่งทั้งสิ้นหมดทั้งสากลโลกที่เราได้เห็นด้วยตา
    หรือได้ยินด้วยหู
    หรือได้ทราบด้วย จมูก ลิ้น กาย รู้แจ้งทางใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง
    มีความเสื่อมทั้งนั้น
    ไม่มีความตั้งอยู่ได้มั่น อยู่ได้สักชั่วกัลปาวสานเลย
    มีความเสื่อมเป็นเบื้องหน้า
    ให้นึกความเสื่อมอันนี้แหละให้ติดอยู่กับใจของอาตมา
    ถ้านึกถึงความเสื่อมดังนี้ละก็สังเกตได้นะ
    หัวเราะเสียงดังไม่ค่อยมีหรอก อย่างดังนี้ก็แต่ยิ้ม ๆ แหละ
    เพราะมันนึกถึงความเสื่อมอยู่ มันไม่ไว้ใจทั้งนั้น
    นึกว่าเสื่อมแล้วหน้าไม่ค่อยดีหรอก หัวเราะดังกับเขาไม่เป็นหรอก
    เป็นแต่ยิ้มๆ อย่างขบขันเต็มที่ก็เป็นแต่ยิ้มๆ เท่านั้น
    หรือแย้มโอษฐ์เท่านั้น มันนึกถึงความเสื่อมประจำใจอยู่

    ถ้านึกถึงความเสื่อมประจำใจได้ดังนี้ละก็
    หากว่าเป็นภิกษุสามเณรจะต้องเรียนเป็นนักปราชญ์ของเขาได้
    ทางคันถธุระ ทางวิปัสสนาธุระ เพราะแกนึกถึงความเสื่อมอยู่
    ถ้าเป็นหญิง เป็นชาย เป็นฆราวาสครองเรือน จะต้องมีหลักฐานมั่นคงใหญ่โตทีเดียว
    ไม่ใช่คนเหลวไหล ไม่ใช่คนเลวทราม ต้องเป็นคนอยู่ในความพยายามทีเดียว
    มันหมดไปสิ้นไป
    รออยู่ไม่ได้ใจกายขยันนัก เพราะนึกถึงความเสื่อมอยู่
    แกไม่รอผู้หนึ่งผู้ใดละ แกกลัวชีวิตของแกจะหมดไป
    แกรักษาชีวิตของแก
    หากว่าแกจะมารักษาศีลทางวัด
    แกก็ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดทีเดียว แกกลัวชีวิตมันหมดไปเสีย
    กลัวจะไม่ได้ศีลเต็มที่ เป็นแต่เพียงรักษาศีล
    กลัวจะไม่เข้าถึงอธิศีล
    ถ้าว่าแกทำสมาธิล่ะ แกก็ทำได้อย่างงดงามทีเดียว
    เพราะแกพยายามไม่หยุดยั้ง แกกลัวชีวิตจะไม่พอ
    แกรีบทั้งกลางวันกลางคืนทีเดียว นี้สมาธิของแกมั่นคง ผิดกับบุคคลธรรมดา
    ถ้าแกเจริญทางปัญญาล่ะ แกก็โชติช่วงทีเดียว
    คนอื่นไม่อาจที่จะเข้าถึง
    เพราะแกคำนึงถึงความเสื่อมของอัตภาพร่างกายของแกอยู่เสมอ
    แกก็ทำปัญญาได้รุ่งเรืองเจริญดี
    แกทำธรรมละก็เจริญดีทีเดียว
    เพราะแกนึกถึงความเสื่อม
    ทางโลกก็เจริญดีเหมือนกัน
    เพราะแกกะวีกะวาดจัดแจงให้เรียบเสียในการเลี้ยงชีพ
    จะได้ทำความดียิ่งขึ้นกว่านั้นต่อไปเหตุนี้ความเสื่อม
    ที่พระจอมไตรวางโอกาสไว้ให้เราท่านทั้งหลายน่ะ
    ตรึงใจไว้ในวันมาฆบูชา
    ที่พระจอมไตรทรงรับสั่งในเรื่องธรรมในวันมาฆบูชาน่ะเป็นโอวาทย่อย่นสกลพุทธศาสนาสำคัญนัก

    แต่วันนี้จะกล่าวในโอวาทสุดท้าย
    ที่เรียกว่าปัจฉิมวาจา
    ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ เป็นนิเขปกถาว่า
    ภาสิตา โข ภควตา ปรินิพฺพานสมเย อยํ ปจฺฉิมวาจา หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถาติ ฯ
    แปลเนื้อความว่า
    จริงอยู่วาจาสุดท้ายนี้
    ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับสั่งแล้วว่า
    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เชิญท่านทั้งหลาย
    เราเรียกท่านทั้งหลายเข้ามาสู่ที่เฝ้าเรานี้
    ว่าสังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเสมอ”


    นี่จำไว้อันนี้

    สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเสมอ
    สิ่งที่ได้เห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู ได้ทราบด้วยจมูก ลิ้น กาย ได้รู้แจ้งทางใจ เสื่อมไปเสมอ ไม่เหลือเลย
    อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ ท่านจงถึงพร้อมด้วยความไม่เผลอ ไม่ประมาท
    ท่านจึงถึงพร้อมด้วยความไม่เผลอในความเสื่อมไปนั้น

    ให้ตรึงไว้กับใจเสมอนี้แหละเจอละทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์
    เป็นหนทางหมดจดวิเศษทีเดียว
    นึกถึงความเสื่อมอันนั้น
    นึกถึงความเสื่อมได้เวลาไรละก็บุญกุศลยิ่งใหญ่เกิดกับตนเวลานั้น
    ให้นึกอย่างนี้ นี่เป็นข้อสำคัญ
    นี้เนื้อความของพระบาลีแปลเป็นสยามได้ความดังนี้

    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายเป็นลำดับไป ว่า
    ความเสื่อมอันนี้แหละมีอยู่กับใครบ้าง
    หมดเราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต หญิงชาย เด็กเล็กผู้ใหญ่
    ไม่ว่า เสื่อมทีละนิดๆ ๆ เหมือนกับนาฬิกาเดิน
    เหมือนกันทุกคน ติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลิชาติใดๆ ไม่เหลือเลย
    ในกำเนิดทั้ง ๔ สังเสทชะ อัณฑชะ ชลาพุละ โอปปาติกะ

    อัณฑชะ สัตว์เกิดด้วยฟองไข่ ก็เสื่อมเหมือนกัน
    สังเสทชะ สัตว์เกิดด้วยเหงื่อไคลก็เหมือนกัน เกิดขึ้นอาศัยน้ำเป็นแดนเกิด ก็เสื่อมเหมือนกัน
    โอปปาติกะจะลอยขึ้นบังเกิด
    บังเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ เปรต นรก อสุรกายเหล่านี้หรือว่าเกิดเป็นสัตว์เดียรฉานก็เสื่อม
    เกิดเป็นกายทิพย์
    ภุมเทวดา
    รุกขเทวดา
    อากาศเทวดา
    จาตุมหาราช
    ดาวดึงส์
    ยามา
    ดุสิต
    นิมมานนรดี
    ปรนิมมิตวสวัตตี
    ก็มีเสื่อมอีกเหมือนกัน เสื่อมทีละนิด ๆ ไปตามหน้าที่

    พอหมดหน้าที่ก็แตกกาย ทำลายขันธ์ เสื่อมอย่างนี้เหมือนกันหมด
    หรือไปเกิดในชั้นพรหมทั้ง ๑๖ ชั้น
    พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิต มหาพรหมา
    ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา ปริตตสุภา
    อัปปมาณสุภา สุภกิณหา อสัญญี เวหัปผลา
    ก็เสื่อมเหมือนกันแบบเดียวกันไม่คลาดเคลื่อน
    อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา ในปัญจสุทธาวาส ก็เสื่อมเหมือนกัน
    หรืออรูปพรหมทั้ง ๔
    อากาสานัญจายตนะภพ วิญญาณัญจายตนะภพ
    อากิญจัญญายตนะภพ เนวสัญญานาสัญญายตนะภพ
    ก็มีความเสื่อมดุจเดียวกัน

    เมื่อมีความเสื่อมเช่นนี้น่ะพระพุทธองค์ประสงค์อะไร
    จะต้อนพวกเราให้พ้นจากความเสื่อมเหล่านี้
    """ให้ออกจากภพไปเสีย ให้เข้าถึงธรรมกายไปนิพพาน"""

    ต้องการอย่างนั้นหนา ไม่ใช่ต้องการท่าอื่นหนา
    จะต้อนพวกเราจะขับจูงพวกเรา
    จะเหนี่ยวรั้งพวกเราพ้นจากไตรวัฏฏ์
    กรรมวัฏฏ์
    วิปากวัฏฏ์
    กิเลสวัฏฏ์ ให้ขึ้นจาก “วัฏฏ์สงสาร”


    วัฏฏ์สงสารน่ะคือ กรรมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ กิเลสวัฏฏ์ ที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏ์สงสารนี้
    จะให้ขึ้นจากภพ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
    ""'พ้นจากภพทั้ง ๓ ไป"""
    ให้มีนิพพานมีที่ไปในเบื้องหน้า ประสงค์อย่างนั้นจึงได้ทรงรับสั่งเช่นนี้
    ให้เราไม่เผลอในความเสื่อมนั้น

    ถ้าไม่เผลอในความเสื่อมนั้นทำอะไรเป็นได้ผลหมด
    เป็นภิกษุ สามเณร ทำอะไรเป็นได้ผลหมด เล่าเรียนก็สำเร็จ
    คันถธุระก็สำเร็จ วิปัสสนาก็สำเร็จ ไม่ท้อถอยกับละ
    ฝ่ายอุบาสก อุบาสิกา ทำนาก็รวยกันยกใหญ่ ทำสวนก็รวยกันยกใหญ่
    ทำไร่ก็ร่ำรวยกันยกใหญ่ เป็นคนไม่เกียจคร้านทีเดียว
    ถ้าว่ารับราชการงานเดือนก็เอาดีใจได้ทีเดียว หรือไม่ว่าทำหน้าที่อันใดเป็นเอาดีได้ทั้งนั้น
    รุ่งเรืองเจริญด้วยกันทั้งนั้น
    เพราะแกไม่เผลอ แกระวังตัวอยู่เสมอเช่นนี้ แล้วก็ทางชั่วแกไม่ทำทีเดียว
    แกกลัวมันตามไปลงโทษแก แกไม่ยอมเด็ดขาดทีเดียว
    แกเห็นความเสื่อมอยู่เสมอดังนี้ ให้เห็นอยู่อย่างนี้แหละจึงจะเอาตัวรอดได้
    ถ้าไม่เห็นอย่างนี้เอาตัวรอดไม่ได้ ต้องเห็นความเสื่อมอยู่เช่นนี้

    เมื่อเห็นความดังนี้แล้วท่านอุปมาอุปไมยไว้หลายนัยหลายประการ
    อุปมาอุปไมยไว้ว่า ภาสิตํ อิทํ ภควตา
    คำอันนี้ พระผู้มีพระภาคทรงรับสั่งแล้วว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว ยานิ กานิจิ ชงฺคลานํ ปาณานํ ปทชาตานิ สพฺพานิ ตานิ หตฺถิปเท สโมธานํ คจฺฉนฺติ หตฺถิปทํ เตสํ อคฺคมกฺขายติ
    แปลเนื้อความว่า
    ปทชาติทั้งหลาย รอยเท้าสัตว์ทั้งหลายทั้งหมดในชมพูทวีป
    ปทชาตานิ น่ะ เขาแปลว่า ปทชาติทั้งหลาย ทับศัพท์ ถ้าว่าจะขยาย รอยเท้าสัตว์หมดทั้งชมพูทวัป ไม่เหลือเลย ปทชาติทั้งหลายของสัตว์ที่ไปด้วยแข้ง
    ยานิกานิจิ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
    สพฺพานิ ตานิ ปทชาติทั้งหลายเหล่านั้นทั้งสิ้น
    คจฺฉนฺติ ย่อมถึง
    สโมธานํ ซึ่งการประชุมลง
    หตฺถิปเท ในรอยเท้าแห่งช้างแปลเนื้อความออกไปดังนี้
    หตถิปทํ อันว่ารอยเท้าแห่งช้าง
    คจฺฉนฺติ ย่อมถึง
    เตสํอคฺคมกฺขายติ อันบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเลิศกว่าประเสริฐกว่าปทชาติทั้งหลายเหล่านั้น
    เรียกว่ารอยเท้าช้างเป็นใหญ่กว่ารอยสัตว์อื่นหมด เลิศกว่ารอยสัตว์หมด
    เสยฺยถาปิ แม้ฉันใด
    ยทิทํ มหนฺตตฺเตน นี้อะไร
    เพราะรอยเท้าของช้างนั้นเป็นวิปทชาติใหญ่

    เอวเมว โข ภิกฺขเว เย เกจิ กุสลา ธมฺมา สพฺพา เต อปฺปมาทมูลกา อปฺปมาทสโมสรณา อปฺปมาโท เตสํ อคฺคมกฺขายติฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เย เกจิ กุสลา ธมฺมา กรรมที่เป็นกุศลเหล่าใด สพฺเพ เต ธรรมเป็นกุศลทั้งสิ้น อปฺปมาทมูลกา
    มีความไม่ประมาทเป็นต้นเค้า
    เป็นโคนรากทีเดียว มีความประมาทเป็นต้นเค้า
    อปฺปมาทสโมสรณา
    ประชุมลงด้วยความไม่ประมาท
    อปฺปมาโท เตสํ อคฺคมกฺขายติ
    ความไม่ประมาทบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเลิศกว่าธรรมทั้งหลายเหล่านั้น
    ตสฺมาติหมฺเหหิ สิกฺขิตพพํ
    เพราะเหตุนั้น เราควรศึกษา
    ติพฺพาเปกฺขา ภวิสฺสามิ เราจักเป็นผู้เข้มแข็ง กล้าหาญ
    เราจะเป็นผู้บากบั่น ตรากตรำ เราจะเป็นผู้บากบั่นมั่นคง
    จะเป็นผู้ดำรงอยู่ด้วยความไม่ประมาท
    อันสมาทานซึ่งอธิศีลในอันสมาทานซึ่งอธิจิต ในอันสมาทานซึ่งอธิปัญญา
    นี้
    อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ๓ ข้อนี้เป็นข้อที่คาดคั้นนัก
    ความประมาท หรือความไม่ประมาท ๒ อันนี้เป็นข้ออันสำคัญ
    ความประมาททำให้เสื่อมเสีย
    ความไม่ประมาทไม่ทำให้เสื่อมเสีย
    ธรรมของพระบรมศาสดาจบพระไตรปิฎกมีความไม่ประมาทนี่แหละเป็นต้นเค้า
    ที่จะดำเนินถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของพระบรมศาสดาที่จะพลาดพลั้งไม่ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของพระบรมศาสดาก็เพราะความประมาท นี่เป็นข้อสำคัญนัก

    ความประมาทน่ะคือ
    เผลอไป ความไม่ประมาทน่ะคือ ความไม่เผลอ ไม่เผลอ ละใจจดใจจ่อทีเดียว
    นั่น อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
    นี่เรียกว่าผู้ไม่ประมาทท่านจึงได้อุปมาไว้ ไม่ประมาท ไม่เผลอด้วยอะไร
    ไม่ประมาทไม่เผลอในความเสื่อมไปในข้างต้น
    ในปัจฉิมวาจา ไม่ประมาทไม่เผลอในความเสื่อมไป
    นึกถึงความเสื่อมอยู่เสมอ ให้เจอความเสื่อมไว้เสมอ
    นึกหนักเข้าๆ แล้วใจหาย เอ๊ะ นี่ เรามาคนเดียวหรือ
    เอ๊ะ นี่ เราก็ตายคนเดียวซิ
    บุรพชนต้นตระกูลของเราไปไหนหมดล่ะ
    อ้าว ตายหมด เราหล่ะ ก็ตายแบบเดียวกัน
    ตกใจละคราวนี้ ทำชั่วก็เลิกละทันที
    รีบทำความดีโดยกะทันหันทีเดียว
    เพราะไปเห็นอ้ายความเสื่อมเข้า
    ถ้าไม่เห็นความเสื่อมละก็กล้าหาญนัก ทำชั่วก็ได้
    ด่าว่าผู้หลักผู้ใหญ่ได้ตามชอบใจ
    ถ้าเห็นความเสื่อมเข้าแล้วกราบผู้ใหญ่ ปลกๆ ๆ ทีเดียว
    เพราะเหตุอะไรล่ะ
    เพราะเห็นความเสื่อมเข้า มันไม่ประมาท
    ถ้าว่าประมาทเข้าก็ไปอีกเรื่องหนึ่ง
    เพราะฉะนั้นสำคัญนักความประมาท

    ความประมาทน่
    ะ คืออะไรทำให้ประมาทล่ะ
    สุราซิ ความเมาซิ ทำให้ประมาท ความเมานั่นแหละ
    ถ้าว่าไปขลุกขลุ่ยกับมันนัก ไปคุ้นเคยกับมันหนักเข้าละก็มันทำให้เสียคนน่ะ
    ไม่รู้จักพ่อจักแม่พี่ป้าน้าอาปู่ย่าตายาย ว่าต่ำๆ สูงๆ นี่เพราะมันเมา
    อ้ายเมาสุราน่ะมีเวลาสร่างน่ะ
    อ้ายเมาอีกอย่างหนึ่งละ อ้ายนั่นเมาสำคัญ
    เขาเรียกว่าเมามัน ถ้าว่าช้างก็เรียกว่าเมามัน
    อ้ายเมามันนี่สำคัญนัก
    อ้ายเมามันนี่ไม่ได้ พ่อแม่เลี้ยงลูกหญิงลูกชายมาน่ะ
    ถ้าเมามันขึ้นมาแล้วก็ไม่ได้ละ แม้ว่าเล็กๆน้อยๆ เท่านั้นแหละ
    หญิงก็ลงจมูกฟิดทีเดียว ชายก็ลงจมูกฟิด ลงจมูกฟิดแล้วก็ไปแล้ว
    เหนี่ยวไม่อยู่รั้งรั้งไม่อยู่
    พ่อแม่มันก็รั้งไม่อยู่ไปเสียแล้ว
    นั่นแน่มันเมาขึ้นมาแล้วอย่างไรล่ะ
    อ้ายนั่นสำคัญ อ้ายนั่นประมาท นี่เป็นเหตุประมาทสำคัญ
    อ้ายเมามันนั่นแหละประมาท
    ถ้าว่าช้างเรียกว่าสับมัน ไม่กลัวใครจะอ้ายนั่น ไม่กลัวใครนั่นแน่ในคุกตาราง
    เมามันทั้งนั้น

    ไปอยู่โน่น

    ถ้าเมามันละก็ประมาทยกใหญ่
    ถ้าเมาสุราก็ประมาทยกใหญ่
    ถ้าว่าเมามันด้วย เมาสุราด้วย สองอย่างละก็ เสียยกใหญ่ทีเดียว
    ประมาท ตั้งอยู่ในประมาทแท้ๆ
    ทีเดียวนี่ความประมาทไม่ประมาทมันอยู่อย่างนี้นะ
    ให้เลิกเมามันเสีย ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท

    รอยเท้าของสัตว์หมดทั้งสากลจะเป็นสี่เท้าสองเท้าไม่เข้าใจต้องประชุมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างน่ะเป็นของใหญ่กว่ารอยเท้าสัตว์อื่นหมดทั้งสิ้น ฉันใดก็ดี ธรรมทั้งหลายนี่เป็นกุศลที่ดีน่ะ หมดทั้งสกลพุทธศาสนาหมดทั้งพระไตรปิฏกทั้งหลายที่เป็นกุศลนั่น ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูลรากนั่นแน่
    อปฺปมาทมูลกา
    มีความไม่ประมาทเป็นต้นเค้า มีความไม่ประมาทเป็นมูลราก
    อปฺปมาทสโมสรณา
    ประชุมลงในความไม่ประมาทเหมือนรอยเท้าสัตว์อื่นประชุมลงในรอยเท้าช้าง
    ธรรมที่เป็นกุศลทั้งหมดประชุมอยู่ในความไม่ประมาททั้งนั้น
    นี้หลักพระพุทธศาสนาอยู่ตรงนี้
    ไม่ให้ประมาท

    เมื่อไม่ประมาท ความดีมีเท่าไรในพระพุทธศาสนา
    ในธาตุในธรรมย่อมประชุมลงในความไม่ประมาท
    คนไม่ประมาท ผู้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทแล้ว
    คนมีธรรมควรไหว้ ควรเคารพควรนับถือทีเดียว
    คนมีธรรมคนตั้งอยู่ในธรรมนี้ แลความไม่ประมาทนี้นักปราชญ์สรรเสริญนัก……….

    ยังไม่ลึกซึ้งเท่า อธิปัญญา
    อธิปัญญาสูงกว่านั้น เราอุตสาห์พยายามให้เข้าถึงอธิปัญญา
    แม้จะเฉลียวฉลาดในกายวาจาสักเท่าหนึ่งเท่าใดเรียกว่าฉลาด
    อ้ายนั่นก็ปัญญาภายนอก เจตนาคล่องแคล่วอย่างหนึ่งอย่างใด
    ก็เรียกว่าความฉลาดของปัญญาเป็นภายนอก
    เข้าถึงปัญญาอยู่ในกลางดวงของศีลนั่นแหละ ใสยิ่งกว่าใสขึ้นไป สะอาดยิ่งกว่าสะอาดขึ้นไป
    เท่าๆดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน
    เมื่อเข้าถึงดวงปัญญาเช่นนั้นละก็
    นั่นแหละทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์
    เข้าไปทางศีล สมาธิ ปัญญา
    นั่นแหละเข้าไปในทาง อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา นั่นแหละ
    เมื่อเข้าถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาแล้วละก็
    ก็จะเข้าถึงธรรมกายเป็นลำดับไป
    เมื่อเข้าถึงอธิศีล อธิจิต อธิบัญญาละก็ไม่พ้นละ ต้องเข้าถึงธรรมกายแน่…
    เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์จริงๆ แท้ๆ เมื่อรู้จักแน่เช่นนี้ละก็จะไปนรกกันได้อย่างไร
    ไม่ไปแน่นอน
    ถ้าทำหนักเข้าปฏิบัติหนักเข้า ก็จะเป็นลำดับไป
    มรรค ผล ต้องอยู่กับเราแน่ต้องออกจากวัฏฏ์ทั้งสามแน่ๆ คือ
    กรรมวัฎฎ์วิปากวัฎฎ์ กิเลสวัฎฎ์ ต้องออกจากภพสามแน่ๆ คือ
    กามภพ รูปภพ อรูปภพ ไม่ต้องอาศัย

    มีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า

    ทีนี้นิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้าน่ะลึกซึ้ง
    ไม่ใช่ของพอดีพอร้าย
    เมื่อรู้จักอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
    แล้วก็จะเข้าถึงวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ถึงกายมุษย์ละเอียด
    เมื่อเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียดก็แบบเดียวกันอย่างนี้แหละ
    เข้าไปในกลางกายมนุษย์ละเอียดกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ จะเข้าถึงกายทิพย์ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายทิพย์
    ถูกส่วนเข้า จะเข้าถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    จะถึงกายทิพย์ละเอียด
    กายรูปพรหม รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด
    พอเข้าถึงเช่นนั้นแล้ว จะเข้าถึงกายธรรม
    ด้วยอาศัยอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา วิมุตํติ วิมุตติญาณทัสสน….
    ที่จะถึงอรหัตต์ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานได้เช่นนี้
    ต้องอาศัย อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา หนา
    ถ้าไม่อาศัยอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาไปไม่ได้

    ตำรับตำราก็ได้กล่าวไว้วางเป็นเนติแบบแผนว่าทางปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนาทางอื่นไม่มีหรอก
    นอกจากทางศีลสมาธิปัญญา วินัยปิฎกทั้งปิฎก
    เมื่อย่อลงไปแล้วก็คือศีลนั่น ถ้าเข้าถึงอธิศีลแล้วละก็ตัววินัยปิฎกทีเดียว
    ดึงโคนรากวินัยปิฎกทีเดียว
    ถ้าเข้าถึงอธิจิตเข้า โคนรากของสุตตันตปิฎกทีเดียว
    ถ้าเข้าถึงอธิปัญญาเข้าโคนรากของปรมัตถปิฎกทีเดียว
    นี่เป็นตัวสำคัญอย่างนี้

    เมื่อรู้จักหลักอันนี้ วันนี้เราได้ฟังเทศนาให้ตรงใจไว้ว่าเราจะเอาใจจรดอยู่ในความเสื่อม ตามปัจฉิมวาจาที่พระองค์ทรงรับสั่ง ทรงรับสั่งแล้วหับโอษฐ์ไปรับสั่งต่อไปว่า ว่าสังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเสมอ เราก็นึกถึงตัวเรา เสื่อมไปเสมอไม่หยุดไม่ยั้งเลย หมดทั้งสากลโลก เสื่อมไปเสมอ นี่แบบเดียวกัน นี่ต้องหยุดอย่างนี้ไม่เผลอหนา เมื่อตรึงเช่นนี้แล้วละก็ตั้งอยู่ในความไม่ประมาททีเดียว ข้อที่สองไม่พลั้งไม่เผลอ ไม่ประมาท เมื่อรู้ว่าเสื่อมเช่นนี้แล้วละก็เราจะไปทางไหนไปทางอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ไปทางโน้น ต้องเข้าถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาให้ได้ ถ้าเข้าถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาไม่ได้ ต้องรีบเร่งค้นคว้าหาอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เหมือนอย่างบุคคลที่เหมือนกระเช้าไฟหรือเตาอั้งโล่ ตั้งอยู่บนศรีษะ มันร้อนทนไม่ไหว ต้องรีบหาน้ำดับหรือเอาทิ้งเสียให้ได้ นั้นฉันใดก็ดี ต้องให้เจอในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ถ้าไม่เจอ ต้องรีบเร่งขวนขวายทีเดียวจึงจะเอาตัวรอดได้ ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบายพอสมคสรแก่เวลา เอตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมุติว่ายุติธรรมิกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • S__6209546.jpg
      S__6209546.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.7 KB
      เปิดดู:
      325

แชร์หน้านี้

Loading...