ปัญญาทางโลกกับทางธรรมต่างกันอย่างไร ?

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย tamsak, 1 สิงหาคม 2008.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. tamsak

    tamsak ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    7,857
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +161,171
    ถาม : เรื่องปัญญานะครับ ปัญญาทางโลกกับทางธรรมต่างกันอย่างไร

    ตอบ : คนละเรื่องกันเลย ปัญญาทางโลก นี่ภาษาฝรั่งเรียกว่า ไอคิวมันเป็นหน่วยความจำเฉยๆ ส่วน ปัญญาทางธรรมมันเป็นการรู้แจ้งเห็นจริงตามสภาพความเป็นจริง

    ถาม : ถึงเวลาแล้วก็ได้ผลทางวัตถุใช่มั้ยครับ ?

    ตอบ : ได้ผลทางวัตถุมากกว่า

    ถาม : จะมีในแง่เดียว แง่ใจรักอย่างเดียวเลย หรือว่าจะมีแง่อื่นหรือเปล่าครับ ?

    ตอบ : เยอะ ไตรลักษณ์ นั่นมันเป็นแค่ส่วนเดียวเท่านั้น มันมีนัยตามของ วิปัสสนาญาณ ๙ อย่าง ตามนัยของ อริยสัจ วิปัสสนาญาณ ๙ อย่างก็อ่วมแล้ว

    ถาม : แต่ว่าพอเราจับจุดหนึ่งได้ จุดอื่นจะมาเองใช่มั้ยครับ ?

    ตอบ : คือว่าหากว่ามันได้ซะจุดหนึ่ง จุดอื่นจะง่ายขึ้น

    ถาม : แต่ว่าไม่ใช่มาเอง ?

    ตอบ : ถ้าเราไม่ตะกายไปหา มันไม่มาหรอก เรื่องของปัญญาเป็นสิ่งที่ละเอียด เราต้องตั้งใจค้นคว้าเข้าไปจริงๆ

    ถาม : จะพิจารณาอยู่แค่ระบบเดียวใช่มั้ยครับ ?

    ตอบ : อันนี้มันเกิดอยู่ที่ว่าครูบาอาจารย์ เขาสอนอย่างไรลูกศิษย์ก็ทำอย่างนั้น แต่ถ้าหากว่าลูกศิษย์ใช้ความสามารถสูง พอมั่นใจว่าตัวเองชำนาญในสิ่งนั้นแล้วก็ขยับหาสิ่งอื่นต่อได้ อย่างหลวงพ่อท่านเล่นซะเกลี้ยงเลย กรรมฐาน ๔๐ กอง มหาสติปัฏฐานสูตรว่าครบบรรพ ปัพพะโตพมะพระสูตรอีกอันหนึ่ง คิริมานนทสูตรก็คล้ายๆ กับวิปัสสนาญาณ ๙

    ถาม : เราเข้าใจอะไรดีมากขึ้น ?

    ตอบ : เป็นเหมือนกัน ปัญญามันมีทุกระดับชั้น ปัญญาของปุถุชนคือคนทั่วๆ ไปที่เกลือกกลั้วกับกิเลส ปัญญาของผู้ทรงฌาน ปัญญาของพระอริยเจ้าแต่ละระดับไม่เท่ากัน ความหยาบละเอียดต่างกัน พอเราทำถึงจุดๆ หนึ่งเราจะคิดว่าเออดีแล้ว ถูกแล้ว แต่ความจริงมันไม่ใช่อันนั้นมันดีแค่นั้น มันถูกแค่นั้น พอเรามีปัญญามากขึ้น พิจารณาได้ลึกซึ้งกว่านั้น มันจะมีของที่ถูกกว่านั้น ดีกว่านั้นขึ้นมา พอเรามองย้อนไปที่เราเคยว่าถูกแล้วดีแล้วมันก็ผิดไป ดังนั้นถึงได้บอกว่า มันเป็นสมมติ ผิดถูกมันคือสมมติ สิ่งที่เราทำน่ะ ถ้าหากว่าในส่วนที่พระพุทธเจ้าท่านบัญญัติขึ้นมานี่เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ถ้าหากว่าเป็นทิฐิความเห็นของเราโอกาสผิดมันมีเยอะ

    ถาม : อย่างที่คนเขาคิดแบบนี้ แต่ว่าเราทำแบบนี้ เราคิดแบบนี้ คือถ้าเราไปมองว่าเขาคิดแบบนั้นแล้วเขาคิดถูก มั่นใจแล้วถึงทำ ?

    ตอบ : ก็ไม่แน่ การยึดหลักปฏิบัติของตัวเองมากเกินไปก็เป็นอุปาทานได้ เขาเรียกว่าสีลัพพัตตุปาทาน ยึดมั่นในศีลพรตของตนมันไม่แน่ว่าจะถูกต้อง เพราะว่าส่วนใหญ่ที่เราทำไม่แน่ว่าถึงที่สุดมันอดไม่ได้ที่จะมีทิฐิคือความเชื่อเฉพาะตนแฝงอยู่ จะกลายเป็นทิฐิเอาความเห็นส่วนตัว ความเชื่อส่วนตัวของตนไปปนกับธรรมะพระพุทธเจ้าพอเราก้าวไปถึงปฐมฌานก็ ฮือ... พระพุทธเจ้าท่านสอนที่แท้จริงมันเป็นอย่างนี้เอง แต่ความจริงมันไม่ใช่ที่ละเอียดกว่านั้นมันมี พอเราก้าวขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งก็เอาแล้ว ธรรมะของพระพุทธเจ้าที่แท้เป็นอย่างนี้ มันไม่ใช่จะก้าวล่วงลึกขึ้นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงที่สุด เพราะฉะนั้นที่เราสรุปมา เห็นคนอื่นทำแล้วคิดว่าผิดแล้วเราทำถูกหรือว่าคนอื่นทำถูกเราทำผิด มันไม่ใช่ทั้งนั้น เพราะว่ามันเป็นกำลังใจของเราปัจจุบันตอนนั้น ถึงเวลาพอมีการก้าวล่วงเข้าไปอีก สิ่งที่ดีกว่าถูกกว่ามันมี

    ถาม : วิธีที่ช่วยลดปัญหาได้มีมั้ยครับ ?

    ตอบ : ง่ายที่สุด ทำตามแบบพระพุทธเจ้าท่าน คือ อยู่ในกรอบของศีล ๕ เป็นอย่างน้อย ถ้าหากว่าเรามีศีลเป็นเครื่องป้องกันแล้ว มันเท่ากับว่าปิดอบายภูมิโดยปริยาย ไม่ต้องไปเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสรุกาย สัตว์เดรัจฉานอีก มีแต่จะก้าวหน้าขึ้นอย่างเดียว มันจะง่ายที่สุด ถ้าหากจะให้เราค้นหาเองจริงๆ แล้วนี่สมัยโบราณเขาเก่งนะ เขาหาได้มากต่อมากด้วยกัน เพียงแต่ว่า ส่วนที่จะทำแล้วดีเพียงส่วนเดียวแบบที่พระพุทธเจ้าท่านสอน คนอื่นเขาหาได้ไม่ครบ ศาสดานอกพระศาสนาเยอะต่อเยอะด้วยกัน

    อย่างอารกะศาสดา อันนี้จะอยู่ในอังคุตตรนิกาย เขาเรียกว่าอารกสูตร อารกะเขาสอนลูกศิษย์ของเขาว่า ชีวิตเหมือนต่อมน้ำ ก็คือฟองน้ำที่ผุดขึ้นมาแล้วก็แตกโป๊ะไป เหมือนกับลำธารที่ไหลจากภูเขา พรวดผ่านมาแล้วก็เลยไป เหมือนรอยไม้ที่ขีดลงในน้ำวูบเดียวแล้วก็หายไป เหมือนโคที่เขานำไปฆ่า ตายแหง ๆ เหมือนชิ้นเนื้อเผาไฟ คือ รังแต่จะไหม้ในเวลาอันรวดเร็ว นั่นนอกศาสนาเขาสอนได้ขนาดนั้น สิ่งที่เขาสอนนั่นเป็นส่วนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าท่านสอนเรา แต่ว่าอันนั้นเขาเห็นอนิจจัง ความไม่เที่ยงของมันเท่านั้นเองใช่้มั้ย ? ตัวทุกขังเป็นทุกข์ กับอนัตตาไม่มีอะไรมั่นหมายได้ เขาจับตรงนี้ไม่ติด เพราะฉะนั้นดูถูกกันไม่ได้

    ถาม : ปัญญาทางโลกที่ต้องทบทวนเพื่อที่จะหาเหตุผล กับที่รู้ข้างในต่างกันอย่่าไร เมื่อก่อนผมต้องคิดใคร่ครวญ แล้วตอนนี้มันเกิดขึ้นเอง แล้วตรงนี้มันต่างกันอย่างไร ?

    ตอบ : ต่างกันลิบโลกเลย ปัญญาที่เกิดจากการสั่งสมบารมีในทาน ศีล ภาวนามา ถ้าเกิดขึ้นจะรู้แจ้งเห็นจริงตลอดไปหมด แล้วจิตก็จะยอมรับด้วย แต่ว่าปัญญาทางโลกมันเป็นแค่ความจำของเราเอง ถ้าหากว่ามันผิดไปจากที่เคยชินของเรา เช่น เขาบอกว่า ๒ บวก ๒ เป็น ๔ ถ้าเขาบอกว่า ๒ บวก ๑ เราเริ่มค้านแล้ว เพราะฉะนั้นมันต่างกันอยู่ตรงนี้

    ถาม : แสดงว่ามันเป็นปัญญา เป็นด้านไหน ?

    ตอบ : มันเป็นอยู่ แต่ที่นี้ว่ามันเป็นปัญญาทางด้านไหนล่ะ มันเป็นโลกียปัญญาหรือโลกุตระปัญญา ที่พูดมานี่ คำว่า ปัญญานี่ควรจะเป็นโลกุตระ ก็คือว่ารู้ในทางที่จะหลุดพ้น ถ้าอย่างนั้นเขา จะยอมรับสภาพความเป็นจริงที่รู้อยู่ แล้วก็ปล่อยวาง รับแล้วไม่แบกเอาไว้ มันเหนื่อย

    คราวนี้ของเราที่พูดมาบางทีมันอาจจะปนๆ ทั้ง ๒ อย่าง เพราะไปปล่อยให้รู้เองไง สิ่งที่รู้เองนี่ถ้ามันเกิดจากการสั่งสมบารมีมา มันอาจจะเป็นตัวปัญญาในทางธรรมก็ได้จริงๆ แล้วเรามาเสียเวลาในการคลำ มันมัวแต่มาอย่างเช่นว่า นี่เขาเรียกว่าอะไร ถ้าหากว่ามีอยู่ตรงหน้าแล้วคุณใช้มันได้ก็ใช้ไปเถอะ ไม่ต้องมัวเสีย เวลาไปถามหรอกว่ามันเรียกว่าอะไร




    สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ




    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 ตุลาคม 2013
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...