พระชัยวัฒน์ หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย phusawasdi, 14 มิถุนายน 2013.

  1. phusawasdi

    phusawasdi สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +12
    พระชัยวัฒน์ หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่

    เนื้อผงพรายกุมาร ฝังพลอย ด้านหลังเลียบ สรา้งน้อยมาก

    หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังเป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวระยองและพุทธศาสนิกชนทั่วไป ท่านเป็นพระเกจิที่บำเพ็ญเพียรจนถึงซึ่งอภิญญาณ มีพุทธาคมสูงส่ง แต่รักสันโดษ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย และมีความสมถะ ไม่ยินดียินร้ายต่อรูป รส กลิ่น เสียง หรือยศถาบรรดาศักดิ์ใดๆ นับเป็นพระภิกษุสงฆ์ในพระบวรพุทธศาสนาที่สมควรนำมาเป็นแบบอย่างยิ่งนัก วัตถุมงคลของท่านมีมากมายหลายประเภท ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาของบรรดาพุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์ ด้วยพุทธคุณอันเข้มขลังปรากฏ

    หลวงปู่ทิมเป็นชาวบ้านค่าย จ.ระยอง เกิดเมื่อปี พ.ศ.2422 ได้ศึกษาร่ำเรียนหนังสือเมื่ออายุ 17 ปี กับท่านพ่อสิงห์ ที่วัดใกล้บ้าน พออายุ 20 ปีได้รับคัดเลือกเป็นทหารอยู่ถึง 4 ปี อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุ 27 ปี

    ในปี พ.ศ.2449 ที่วัดละหารไร่ โดยมีพระครูขาว วัดทับ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระอาจารย์เกตุเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายา "อิสริโก" ศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรมที่วัดละหารไร่ได้ 1 พรรษาก็เริ่มออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ร่ำเรียนวิทยาอาคมกับพระเกจิอาจารย์และฆราวาสผู้มีวิทยาอาคมสูงจนมีพุทธาคมแกร่งกล้า จึงกลับมาจำพรรษาที่วัดละหารไร่จนได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส หลังจากนั้นท่านก็ไม่ยอมรับตำแหน่งใดๆ ที่ทางเจ้าคณะจังหวัดแต่งตั้งมาเลย อาทิ ในปี พ.ศ. 2478 แต่งตั้งเป็นพระครูชั้นประทวน เจ้าคณะอำเภอก็ต้องไปรับแทน แม้กระทั่งในปี พ.ศ. 2507 ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูภาวนาภิวัติ ท่านก็ไม่ยอมรับ กระทั่งชาวบ้านต้องจัดขบวนแห่ไปรับหมายตราตั้งและพัดยศจากเจ้าคณะจังหวัดเพื่อมามอบให้ท่าน แต่ท่านก็หาได้สนใจ พัดยศก็เอาไปเสียบไว้ข้างฝากุฏิ จนเมื่อท่านมรณภาพจึงได้นำพัดยศมาตั้งหน้าศพ ปรากฏว่าถูกปลวกกัดกินจนบางส่วนแหว่งไป

    ชื่อเสียงความเป็นพระเกจิที่มุ่งบำเพ็ญเพียร เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ และความเป็นสมถะ ละเว้นซึ่งรัก โลภ โกรธ หลง ทำให้ท่านมีลูกศิษย์ลูกหาและผู้เคารพศรัทธามากมาย วัตถุมงคลที่ท่านสร้างล้วนเป็นที่แสวงหาและหวงแหนยิ่งนัก ในที่นี้จะกล่าวถึง "พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ชินบัญชร" ซึ่งนับว่าได้รับความนิยมสะสมอย่างสูงในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์

    พระกริ่งชินบัญชร สร้างทั้งหมด 6 ประเภท ดังนี้

    1.เนื้อทองคำ ปิดก้นด้วยแผ่นทองคำ มีโค้ดรูปศาลาตอกไว้ใต้ฐาน สร้างทั้งหมด 13 องค์ องค์ที่ 1-12 มีเลขไทยกำกับใต้ฐาน ส่วนองค์ที่ 13 ไม่ได้ตอกหมายเลข

    2.เนื้อนวโลหะ หุ้มก้นด้วยแผ่นทองคำ เป็นรุ่นพิเศษ เนื่องจากเอาพระกริ่งรุ่นก้นทองแดงมาแกะเปลี่ยนก้นเป็นทองคำ มีโค้ดรูปศาลาตอกไว้ใต้ฐาน และมีโค้ดเม็ดงา "ตัวนะ" อยู่ด้านหลัง สร้างจำนวน 16 องค์

    3.เนื้อนวโลหะ ก้นเงิน มีโค้ดรูปศาลาและโค้ดเม็ดงาเช่นกัน สร้าง 390 องค์ 195 องค์ ตอกเลขไทยที่โคนฐานด้านหลังใต้โค้ด "ตัวนะ" ส่วนอีก 195 องค์ไม่ได้ตอกตัวเลข

    4.เนื้อนวโลหะ ก้นผงพรายกุมาร รุ่นนี้มี 104 องค์ บางองค์มีโค้ด "ตัวนะ" บางองค์จะมีโค้ด "ตัวอิ" ที่ใช้ตอกเหรียญเจริญพรของหลวงปู่ทิม และมีการตอกตัวเลขไทยเพียง 101 องค์เท่านั้น

    5.เนื้อนวโลหะ ก้นทองแดง รุ่นนี้จะไม่มีโค้ดรูปศาลา มีแต่โค้ด "ตัวนะ" และเลขไทยกำกับใต้ฐาน สร้าง 2,595 องค์

    6.พระกริ่งชินบัญชร เนื้อพิเศษ เป็นเนื้อโลหะที่เหลือจากการสร้างพระกริ่งบรม พุทโธ มีเพียง 9 องค์ ลักษณะเป็นเนื้อกลับดำเงามัน มีโค้ดรูปศาลา และโค้ด "ตัวนะ" เช่นกัน

    สำหรับพระชัยวัฒน์ชินบัญชร สร้างโดยถอดแบบจากพระชัยวัฒน์กะไหล่ทองของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นพระพุทธรูปลอยองค์ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร แสดงปางมารวิชัย เหนืออาสนะฐานบัว 2 ชั้น สร้างทั้งหมด 3 เนื้อ คือ

    1.เนื้อทองคำ มีโค้ด "ตัวนะ" ตอกไว้ที่ปลายสังฆาฏิด้านหลัง สร้างจำนวน 59 องค์

    2.เนื้อกะไหล่ทอง มีโค้ดแบบเดียวกับพระกริ่งชินบัญชร สร้างจำนวน 95 องค์

    3.เนื้อนวโลหะ ตอกโค้ดที่ปลายสังฆาฏิเหมือนเนื้อทองคำ สร้าง 1,746 องค์ โดยมีลักษณะพิเศษอยู่ 4 องค์ คือ 2 องค์แรกอุดก้นด้วยเทียนชัยของหลวงปู่ทิม ส่วนอีก 2 องค์อุดก้นด้วยผงพรายกุมาร

    สำหรับท่านที่สนใจสะสม "พระกริ่ง- พระชัยวัฒน์ ชินบัญชร" ของหลวงปู่ทิม ขอแนะนำให้สอบถามผู้รู้จริงที่ไว้วางใจได้ จะได้ไม่ผิดหวังครับผม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...