พระที่ได้รางวัลหรือได้cer

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย udomanthony, 23 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. udomanthony

    udomanthony เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    752
    ค่าพลัง:
    +883
    อยากให้เพื่อนๆ พี่ๆ ท่านใดที่มีพระที่เคยได้รางวัล หรือเคยส่ง cer นำพระมาลง
    ให้เพื่อนๆ ได้ชม และจะได้ศึกษาเพิ่มเติม กันครับ จะได้เป็นการ แชร์ ความรู้กันด้วย
     
  2. udomanthony

    udomanthony เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    752
    ค่าพลัง:
    +883
    ประเดิมก่อนเลยครับ สามองค์นี้ส่ง cer เมื่อปีที่แล้ว
    องค์แรก 05 พิมพ์ ใหญ่
    องค์ที่สอง 05 พิมใหญ่ c
    องค์สุดท้าย 05 พิมพ์เล็ก ครับ

    ประวัติการสร้าง
    หลังจากที่ทางวัดจัดสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดเนื้อว่านขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2497 และได้แจกจ่ายให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาจนเกิดประสบการณ์มากมาย กระแสความศรัทธาของผู้คนที่มีต่อหลวงปู่ทวดได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้พระเนื้อว่านที่สร้างขึ้นเป็นจำนวนมากมายกลับหมดลงอย่างรวดเร็ว จึงมีเสียงเรียกร้องให้สร้างขึ้นอีก
    ดังบันทึกตอนหนึ่งที่คุณอนันต์ คณานุรักษ์ เขียนไว้ในจดหมายบอกถึงมูลเหตุของการหล่อพระเครื่องหลวงปู่ทวดเนื้อโลหะเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2505 โดยอาศัยรูปแบบเดียวกับพระเครื่องหลวงปู่ทวดเนื้อว่านปี พ.ศ. 2497 ความว่า “พระเครื่องที่จะสร้าง (ดินผสมว่าน) อีกหรือไม่นั้นยังไม่แน่ แล้วแต่ความจำเป็นซึ่งท่านอาจารย์ทิมและผมเห็นสมควร เช่น จะทำพิธีปลุกเสกพระในวันที่ 16, 17, 18 เดือนนี้นั้นเป็นพระเครื่องหล่อด้วยโลหะ ความจริงแล้วผมตั้งใจจะพิมพ์กับดินว่านแบบเก่า แต่ท่านอาจารย์ทิมนั่งทางในขออนุญาตต่อพระวิญญาณของท่าน ท่านบอกว่าดินว่านเหล่านั้นใช้แล้วแตกหักคงจะเสียใจ หากมีกำลังทุนพอก็ให้สร้างด้วยโลหะ เราจึงต้องปฎิบัติตาม”
    การหล่อพระเครื่องหลวงปู่ทวดเนื้อโลหะขึ้นเป็นครั้งแรกนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรฯ หรือพระองค์ชายกลาง ทรงเป็นประธานอุปถัมภ์ในการจัดสร้างตามคำอนุญาตจากหลวงปู่ทวดผ่านพระอาจารย์ทิม
    ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกอีกเหมือนกันที่มีการนำชนวนและมวลสารจากวัด นำไปหล่อพระร่วมกันที่กรุงเทพฯ ก่อนที่จะส่งไปให้ อ.สวัสดิ์ เดชพวง เป็นผู้หล่อ โดยพระองค์ชายกลางทรงให้อ.สวัสดิ์ หล่อพระหลวงปู่ทวดเนื้อโลหะหลังเตารีดขึ้น 3 ขนาดคือ เล็ก กลาง ใหญ่ และยังทรงนำโลหะหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นก้อนเงินและทองคำใส่ลงในเบ้าหลอม ส่วนการเทพระเนื้อเมฆพัดได้ใช้แม่พิมพ์เป็นเหล็กหยอดทีละองค์ มิได้ใช้วิธิเทเป็นช่อหรือตับอย่างพระเนื้อโลหะผสมนั่นหมายถึงการสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวด รุ่นหลังเตารีดนี้ได้มีการเททองหล่อกันนอกวัด โดยวัดเป็นเพียงสถานที่ประกอบพิธีปลุกเสกเนื้อโลหะและการลงแผ่นทอง “ชนวน” รวมถึงพิธิปลุกเสกใหญ่เท่านั้น ซึ่งพระองค์ชายกลางได้นำโลหะชนวนทั้งหมดที่ปลุกเสกแล้วนั้นไปหล่อกันที่วัดคอกหมู กรุงเทพฯ
    ในการจัดสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดครั้งนี้ ทางวัดได้ดำเนินการพร้อมกับงานสมโภชรูปเหมือนหลวงปู่ทวดองค์ใหญ่ประจำวัด ซึ่งต่อมาได้กำหนดให้เป็นงานประจำปีของวัดช้างไห้ไปด้วย
    ขั้นตอนในการทำพิธีปลุกเสกพระหลวงปู่ทวดเนื้อโลหะ นับว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่สำหรับวัดที่ตั้งอยู่ในจังหวัดห่างไกลอย่างวัดช้างไห้ พิธีดังกล่าวจัดขึ้นถึงสามวันสามคืนคือ วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำเดือน 6 เวลา 9.00 น. อัญเชิญพระเครื่องหลวงปู่ทวดเข้าสู่โรงพิธีในพระอุโบสถ เพื่อให้พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ รุ่งขึ้นวัพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 เวลา 9.00 น. ทำพิธีประกาศโองการตามหลักไสยศาสตร์และอัญเชิญดวงจิตหลวงปู่ทวดเข้าประทับในพิธี เวลา 21.00 น. นั่งปรกและสวดพุทธาภิเษกไปตลอดทั้งคืน ต่อจากนั้น วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 เวลา 9.00 น. กระทำประทักษิณเวียนเทียนวิสาขบูชา และปิดท้ายด้วยเทศนา 1 กัณฑ์และสุดท้ายในวันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 เวลา 6.00 น. พระอาจารย์ทิมแจกพระเครื่องหลวงปู่ทวดเป็นปฐมฤกษ์ ตามลำดับไปจนตลอด ว่ากันว่าครั้งนั้นเป็นการแจกพระครั้งประวัติศาสตร์ คนรอรับกันมากมายขนาดที่ต้องรับพระกันทางหน้าต่างเลยทีเดียว
    ที่มา www.somdejmuangtai.com
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 2.JPG
      2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      81.7 KB
      เปิดดู:
      282
    • 1.JPG
      1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      92.2 KB
      เปิดดู:
      271
    • t3q.jpg
      t3q.jpg
      ขนาดไฟล์:
      99.4 KB
      เปิดดู:
      233
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กุมภาพันธ์ 2011
  3. udomanthony

    udomanthony เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    752
    ค่าพลัง:
    +883
    หลวงพ่อเกษม ระฆัง ปี 16 เืนื้อเงิน ได้รางวัลที่ 1 งานป๋อง สุพรรณ ปี 54 ที่ผ่านมาครับ

    ประวัติการสร้าง
    เหรียญสิริมงคลทรงระฆังเหรียญนี้นับเป็นเหรียญสุดท้ายในชุด เบญจบารมี ซึ่งมีบารมีในด้านโชคลาภบันดาลความรุ่งเรืองคำว่าสิริมงคลนี้ หากจะแปลตามศัพท์สิริก็จะแปลว่าความดีความงามและโชคลาภคำว่ามงคลแปลว่า ความเจริญรุ่งเรืองมูลเหตุของการสร้างเหรียญสิริมงคลนั้น มาจากเรื่องตำนานเจ้าแม่สุชาดาโดยเล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อครั้งกระโน้นมีหญิงผู้หนึ่งชื่อนางสุชาดาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำวัดพระแก้ว นางสุชาดาผู้นี้ทำไร่และสวนมีผลหมากรากไม้สมบูรณ์นางมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากด้วยเหตุนี้ เมื่อได้พืชผลจากที่เพราะปลูกไว้ก็พยายามเก็บเอาไปถวายพระสงฆ์ในวัดพระแก้วนางได้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเช่นนี้เสมอมา กระทั่งอยู่มาวันหนึ่งเกิดมีผู้มีจิตริษยากล่าวหาว่านางทำชู้กับพระสงฆ์ในวัดนั้นนางก็เลยถูกประชาชนนำไปประหาร แต่ก่อนนางจะตายนางประกาศเป็นคำสาปไว้ว่าถ้านางเป็นผู้บริสุทธิ์ ผู้ที่ลงโทษนางจะต้องได้รับกรรมไปตลอดจนถึงชั่วลูกชั่วหลานกาลสืบต่อมา ชาวบ้านก็รู้ความจริงว่านางสุชาดาบริสุทธิ์คำสาปนี้จึงติดความทรงจำ ลูกหลานเหลนผู้ที่ลงโทษนางซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ลูกหลานเหลนไม่ได้ก่อกรรมไว้ด้วยไม่น่าจะต้องมารับผิดชอบ โดยไม่มีเวลาสิ้นสุด หลวงพ่อเกษมท่านทราบเรื่องราวและความเป็นมาดังนี้ จึงตั้งใจสร้างเหรียญสิริมงคลหารายได้เข้าวัดโดยการจัดสร้างเป็นศาลาเพื่อลบล้างคำสาปให้หมดสิ้นไปนอกจากนั้นเมื่อมีรายได้เหลือก็ได้สร้างสิ่งที่เป็นสาธารณะประโยชน์แก่คนทั้งหลายอีกด้วยวันหนึ่งขณะที่กำลังดำเนินการสร้างเหรียญเพื่อสิริมงคล มีลูกศิษย์ท่านหนึ่งเรียนถามหลวงพ่อว่า จะสร้างเป็นรูปอะไรดีหลวงพ่อก็ตอบว่า สร้างเป็นรูประฆังจะดังดีเหรียญแบบระฆังนี้สร้างด้วยทองแดงบริสุทธิ์แม้ขนาดของเหรียญจะดูใหญ่ไปสักหน่อย แต่ก็ดูงดงามมิใช่น้อย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • k1.jpg
      k1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      147.7 KB
      เปิดดู:
      292
    • k2.jpg
      k2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      146.2 KB
      เปิดดู:
      274
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 กุมภาพันธ์ 2011
  4. nobimba

    nobimba เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +168
    สวยงามครับ อิอิ เปนบุญตา
     
  5. udomanthony

    udomanthony เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    752
    ค่าพลัง:
    +883
    รูปหล่อหลวงพ่อทบ พิมพ์หน้าฝรั่ง ได้ที่ 1 งานสมาคม เมื่อปี 53

    ชีวประวัติหลวงพ่อทบ
    หลวงพ่อทบ ธมฺมปญโญ ถือกำเนิดเกิดมาเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน4 ปีมะเส็ง ตรงกับวันท่ 3 มีนาคม พ.ศ.2424 ณ.บ้านยางหัวลม ตำบลนายม(ปัจจุบันแยกเป็นตำบลวังชมพู) อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ หลวงพ่อทบเป็นบุตรคนที่3 ของคุณพ่อ
    เผือกและคุณแม่อินทร์ ม่วงดีมี่น้อง4คน ได้แก่ 1 นายหว่าง ม่วงดี 2 นางใบ ม่วงดี 3 นายทบ ม่วงดี (หลวงพ่อทบ) 4 นางแดง ม่วงดี

    การบรรพชาอุปสมบท เด็กชายทบเข้าบรรพชาเมื่ออายุได้16 ปี(พ.ศ.2440) ที่วัดช้างเผือก โดยมีพระอาจารย์สี เป็นพระอุปัชฌาย์ จนปีพ.ศ.2445 ท่านได้เข้าอุปสมบทที่วัดเกะแก้ว บ้านนายม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีพระครูเมืองเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ปานเป็นพระกรรมวาจา พระสีเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ธมฺมปัญโญ จากนั้นท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัย และวิปัสนากรรมฐานจากพระอาจารย์ปานวัดศิลาโมง และพระอาจายร์เหง้า วัดบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก และออกธุดงค์แต่บัดนั้น

    วาระศิษย์อาลั วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2519 ทางวัดช้างเผือกได้จัดให้มีงานประจำปีและวางศฺลาฤกษ์พระอุโบสถหลังใหม่ ในวันนั้นฝนตกหนักมากคืนนั้นหลวงพ่อป่วยหนักมากวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2519 ตอนบ่ายได้มีการนำหลวงพ่อส่งโรงพยาบาลในกรุงเทพแต่ไปได้แค่บ้านนาเฉลี่ยงหลวงพ่อก็มรณภาพลงด้วยอาการสงบเมื่อเวลา 4 โมงเย็ยของวันที่14 มีนาคม พ.ศ.2519

    ที่มา: web เปิดตำนานหลวงพ่อท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กุมภาพันธ์ 2011
  6. หลวงพี่ทัต

    หลวงพี่ทัต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +1,975
  7. หลวงพี่ทัต

    หลวงพี่ทัต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +1,975
    หลวงพ่อทบเปิดใว้ที่เท่าไรจ๊ะ อยากทราบจ๊ะ
     
  8. udomanthony

    udomanthony เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    752
    ค่าพลัง:
    +883
    พระกรุ ปรกพะงั่ว ที่ 3 งานจ่าเพียร

    ประวัติ
    ในสมัยเก่าก่อนที่ผ่านมา บรรดาหัวเมืองต่างๆ มีการสร้างพระเครื่องเพื่อเป็นพุทธบูชามาตลอด โดยเฉพาะเมืองกรุงศรีอยุธยา ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น เมืองพระ มีการสร้างพระพิมพ์ต่างๆ มากมาย บรรจุกรุไว้หลายๆ สถานที่ อาทิ วัดราชบูรณะ ซึ่งเป็นวัดหนึ่งที่มีการขุดพบพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ มากมาย ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อชินถึง ๘๐%
    นอกจากนี้ ยังมีพระเนื้อดินที่มีศิลปะของอยุธยาแท้ๆ จัดได้ว่าเป็น พระร่วมสมัย เพราะได้รับอิทธิพลของพระหลายยุคมาผสมผสานกัน พระเหล่านี้วงการเรียกว่า พระย้อนศิลป์
    คำว่า ย้อนศิลป์ คือ นายช่างที่สร้างพระในสมัยนั้นได้สร้างแม่พิมพ์ขึ้นใหม่เอง โดยเลียนแบบพระยุคเก่าก่อน เป็นต้นแบบ ทางด้านศิลปะและจินตนาการ ไม่ได้นำองค์จริงของเดิมมาถอดพิมพ์แต่ประการใด
    พระย้อนศิลป์บางพิมพ์จึงมีความสวยงามโดดเด่น ในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ไม่เหมือนกับองค์เดิมก็มี เช่น พระนาคปรก กรุวัดราชบูรณะ สร้างล้อศิลปะลพบุรี พระพักตร์ลดความเคร่งขรึมลง สัดส่วนลำตัวองค์พระไม่บึกบึนทะมึน มีความขึงขังน้อยกว่า แต่มีพระบางพิมพ์ที่ขุดพบได้ที่เมืองกรุงศรีอยุธยา แต่กลับมี เนื้อพระ ในการสร้างและพุทธศิลป์ต้นแบบที่มีอายุเก่าแก่มากกว่ายุคของเมืองอยุธยาที่ขุดพบได้ ถึงหลายร้อยปี ชี้ชัดเจนได้ว่า เป็นพระที่สร้างขึ้นในยุคลพบุรี สมัยต้นๆ เป็นพระพิมพ์ปางนาคปรก เช่นเดียวกันคือ พระนาคปรก พะงั่ว กรุวัดมหาธาตุ
    พระนาคปรก พะงั่ว เมื่อพิจารณาจากพุทธศิลป์แล้ว จะพบว่าเป็นพระศิลปะลพบุรีโดยแท้ ผู้สันทัดกรณีให้ข้อสันนิษฐานว่า เป็น พระฝากกรุ โดย ขุนหลวงพะงั่ว ได้นำเอาพระที่สร้างในสมัยลพบุรี ซึ่งสร้างโดยช่างสกุลขอมโบราณ มาบรรจุกรุไว้ที่วัดมหาธาตุ
    พระที่ขุดพบได้พิมพ์นี้ จึงมีศิลปะของขอมโดยตรง โดยเฉพาะ พระนาคปรก พะงั่ว ที่มี ซุ้มเรือนแก้ว ครอบคลุมอยู่ ถือเป็นพิมพ์พิเศษ ที่หาได้ยากยิ่ง ลักษณะของซุ้มเรือนแก้วที่อยู่ล้อมองค์พระ มีศิลปะงดงามมาก
    ซุ้มลักษณะนี้ เป็นเอกลักษณ์ที่สามารถชี้ชัดได้ว่า เป็นการสร้างโดยฝีมือช่างผู้มีจินตนาการของศิลปะขอมโบราณโดยตรง อีกทั้งพระพิมพ์นี้มีลักษณะผุกร่อนระเบิดมาก จะเก่ากว่าพระทั้งหลายที่ขุดพบได้ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นพระที่มีผิวปรอทขาวจับตามองค์พระ แทบทั้งสิ้น
    แต่ พระนาคปรก พะงั่ว กลับไม่มีผิวคราบปรอทเลยทั้งกรุ มีแต่สนิมเกล็ดกระดี่เป็นส่วนใหญ่ และผิวเนื้อพระออกทางสีดำปนเทา แบบสนิมตีนกาทั่วทั้งองค์
    พระนาคปรก กรุพะงั่ว เป็นพระนาคปรกที่ถือว่า เป็นจักรพรรดิแห่งพระนาคปรกที่มีพุทธศิลป์งดงามอลังการที่สุด โดยเฉพาะตัวพญานาค ดูดุจดั่งมีชีวิต แผ่รังสีแห่งความมีอำนาจน่าเกรงขาม ซึ่งไม่มีพระนาคปรกจากกรุอื่นใดที่จะมีพลังดึงดูดให้ชวนชมมากเท่ากับ พระนาคปรก กรุพะงั่ว นี้เลย
    พระพิมพ์นี้ขุดพบจากกรุในบริเวณวัดมหาธาตุ เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙ เป็นพระเนื้อชินเงิน ที่มีอายุความเก่าถึง ๖๐๐-๗๐๐ ปี หรืออาจจะมากกว่านั้นก็ได้
    พระกรุนี้เกือบทั้งหมด เนื้อพระจะผุกร่อน และระเบิดเสียมาก เพราะเป็นกรุที่น้ำท่วมถึง ส่วนมากเป็นผิวสนิมเกล็ดกระดี่สีดำตีนกา เนื้อพระออกแบบสีดำปนเทา ปรากฏอยู่ทั่วตามบริเวณผิวองค์พระ

    พระนาคปรกกรุพะงั่ว เป็นพระพิมพ์ปางสมาธิ มีพญานาคแผ่พังพาน 7 เศียร ปรกอยู่เบื้องบนพระเศียร ฐานทำเป็นตัวพญานาค มี 3 ชั้นบ้าง 7 ชั้นบ้าง และชั้นเดียวบ้าง ด้านหลังมักปรากฏลายผ้า พุทธศิลป์ที่ปรากฏในองค์พระนั้น เป็นแบบศิลปะลพบุรีผสมอู่ทอง พบเห็นด้วยกัน 3 พิมพ์ทรง คือ
    1. พิมพ์ใหญ่ เป็นพระนาคปรกฐาน 3 ชั้น ขนาดโดยประมาณ กว้าง 4 เซนติเมตร สูง 7 เซนติเมตร รูปทรงมีลักษณะองค์พระต้อ ประทับนั่งปางสมาธิราบ เป็นพระเครื่องแบบศิลปะลพบุรีด้วยฝีมือช่างอู่ทอง
    2. พิมพ์กลาง 2 ชั้น เป็นพระนาคปรกที่มีทรวดทรงชะลูด องค์พระนั่งยกพระอังสกุฏ (ไหล่) ทั้งสองขึ้นเล็กน้อย เค้าพระพักตร์ดุเครียด พระหนุ (คาง) เป็นเหลี่ยมลบมุม พระเศียรสวมอุณหิศ (มงกุฎ) กรอบกระบังหน้าเป็นเส้นคู่ พระกรรณส่วนมากไม่ติดพิมพ์ ทรงฉลองพระศอ (สร้อยสังวาลย์) ปรากฏรัดประคดเหนือพระหัตถ์ที่วางซ้อนกัน พระชงฆ์ที่ซ้อนกันเว้าเข้าข้างใน การประทับนั่งในลักษณะยกพระที่นั่ง (ก้น) ขึ้นเล็กน้อย ขนาดองค์พระเครื่อง กว้างประมาณ 3 เซนติเมตร สูง 6 เซนติเมตร ในพิมพ์กลางนั้นยังมีอีกพิมพ์ทรงหนึ่ง คือ
    พิมพ์กลางต้อ ลักษณะขององค์พระในพิมพ์ทรงนี้ มีลักษณะที่ดูต้อ
    3. พิมพ์เล็ก พระนาคปรกในพิมพ์ทรงนี้ ในรายละเอียดของความชัดเจนแล้ว สู้ทั้งสองพิมพ์ที่กล่าวมาแล้วไม่ได้เลย เค้าพระพักตร์มีลักษณะเครียดดุ ลักษณะการประทับนั่งแบบยกพระอังสกุฏ (ไหล่) ทั้งสองข้างขึ้นเล็กน้อย การวางพระกรประสานกันในลักษณะกอดรัดองค์พระเล็กน้อย พระบาทและพระชงฆ์เว้าเข้าด้านใน ฐานมีเพียงชั้นเดียว ขนาดองค์พระเครื่องกว้างประมาณ 2.7 เซนติเมตร สูงประมาณ 5 เซนติเมตร
    นอกจากนั้นยังมีพิมพ์พิเศษฐาน 4 ชั้น ด้วย
    ที่มา:คมชัดลึก, palungjit.org
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กุมภาพันธ์ 2011
  9. Beer1469

    Beer1469 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,021
    ค่าพลัง:
    +1,078
    ไม่เคยส่งประกวด ไม่เคยส่งCER เลยไม่รู้จะเอาองค์ไหนมาลง อิอิอิอิ
     
  10. udomanthony

    udomanthony เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    752
    ค่าพลัง:
    +883
    ปิดตา พุงป่อง หลวงปู่ศุข ปากคลองมะขามเฒ่า ที่3 งาน สามพราน ปี 53 ครับ

    หลวงปู่ศุข หรือพระครูวิมลคุณากร วัดปากคลองมะขามเฒ่า นับเป็นเกจิอาจารย์ที่มีประวัติกล่าวขานถึงอภินิหาร
    กับความศักดิ์สิทธิ์ของท่านโดยได้รับความเลื่อมใส ศรัทธาจากมหาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก และท่านได้ยังเป็นพระอาจารย์เอก ของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ที่ชาวไทยนับถือเป็นพระบิดาแห่งราชนาวีไทย วัตถุมงคลที่หลวงปู่ศุขได้สร้างหรือปลุกเสกให้ไว้นั้นมีมากมายและเป็นที่นิยมเสาะแสวงหากันอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็น เหรียญรุ่นนิยม ปี พ.ศ.๒๔๖๖ เหรียญหล่อประภามณฑลรัศมี พระปรกใบมะขาม พระพิมพ์สามเหลี่ยมแจกแม่ครัว พระปิดตา ตะกรุด และอื่นๆ เป็นต้น

    พระปิดตาที่หลวงปู่ศุขได้สร้างหรือปลุกเสกนั้น มีทั้งที่เป็นเนื้อตะกั่ว และเนื้อผงคลุกรัก โดยพระปิดตาที่ได้รับความนิยมกันมาก คือพระปิดตาพิพม์กรมหลวงชุมพรที่เป็นเนื้อผงคลุกรัก ที่ท่านได้สร้างให้กับศิษย์เอก คือ กรมหลวงชุมพร ซึ่งปัจจุบันจะหาของแท้นั้นยากยิ่ง ซึ่งในบทความนี้จะยังไม่ขอกล่าวเพิ่มในรายละเอียดของพระปิดตาพิมพ์นี้ จะได้เขียนมุ่งไปที่พระปิดตาที่เป็นเนื้อผงคลุกรักอีกพิมพ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมมากอีกเช่นกันคือ พระปิดตาพิมพ์พุงป่อง

    พระปิดตาพิมพ์พุงป่อง ของหลวงปู่ศูข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นเนื้อผงคลุกรัก การแกะพิมพ์ไม่ได้เน้นความคมชัดในลักษณะ “นูนสูง” แต่เป็นลักษณะ “นูนต่ำ” และโดยรอบลวดลายประดับมีเพียงแค่เส้นนูนเว้าเท่านั้น ดูจากพิมพ์พระแล้ว สันนิษฐานว่า เป็นช่างท้องถิ่น มิใช่ช่างในเมือง หรือช่างหลวงราชสำนักแต่อย่างใด แม้ว่าหลวงปู่ศุข ท่านจะมีความสัมพันธ์กับกรมหลวงชุมพรฯ ก็ตามที

    เนื้อพระ จะพบแต่เฉพาะเนื้อผงคลุกรักสีดำเท่านั้น เนื้ออย่างอื่นไม่ปรากฏ
    ลักษณะของเนื้อพระเป็น พระผงเนื้อละเอียด ไม่ปรากฏ “มวลสาร” เนื่องจากคลุกรัก หรือนำขี้รักมาบดตำจนละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน สีผิวจึงกลมกลืน ใต้ฐานจะมี “รู” อันเกิดจากการใช้วัสดุบางอย่าง สันนิษฐานว่าเป็นไม้ปลายแหลม สำหรับงัดพระออกจากแม่พิมพ์ ทั้งนี้เพื่อความสะดวก และรักษาโครงสร้างแบบพิมพ์พระที่กดสมบูรณ์ที่สุด อย่างไรก็ดีพระบางองค์ก็ไม่ปรากฏพบรูดังกล่าว นอกจากนี้พระบางองค์จะเห็นว่ามีการนำเอาเนื้อพระมาปิดทับ หรือกดเนื่อที่ปลิ้นออกมาพับเข้าไปด้วย ด้านหลังของพระจะเป็นหลังเรียบกับหลังที่มีจารอักขระยันต์ (มีน้อย)

    แนวทางพิจารณาผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อพิจารณาศึกษาไว้ดังนี้
    ๑. ต้องดูพิมพ์ก่อน กล่าวคือพิมพ์พระจะต้องถูก โดยเน้นที่องค์พระเป็นสำคัญ ส่วนลักษณะโดยรอบจะเว้าหรือมนโค้ง จะไปยึดติดหรือยึดถือองค์ใดเป็นบรรทัดฐานตายตัวมิได้ เพราะขึ้นอยู่กับการกดพิมพ์ และตกแต่งในขณะที่พระยังหมาดๆ ไม่แข็งตัว
    ๒. ดูที่เนื้อพระ พระปิดตาพุงป่อง หลวงปู่ศุข มีอายุการสร้างเกือบ ๙๐ ปีแล้ว ฉะนั้นเนื้อพระจะต้องแห้งสมอายุ ลักษณะเนื้อพระจะต้องละเอียดแน่นแกร่ง ผิวสีดำ ในบริเวณจุดสัมผัสอาจจะแลดูมันนิดๆ และที่สำคัญจะมี คราบสีน้ำตาลเกาะติดทั่วไป บางองค์พบมากบางองค์พบน้อยเอาแน่ไม่ได้ นอกจากนี้จะเห็น “จุดสีแดง” ขนาดเล็กประแต้มอยู่ในเนื้อ ซึ่งพิจารณาแล้วไม่ใช่มวลสาร แต่น่าจะเป็น “ขี้รักแดง” มากกว่า
    อนึ่ง เนื้อพระปิดตาพุงป่อง นี้จะเหมือนกันกับพระพิมพ์สามเหลี่ยมแจกแม่ครัว ของหลวงปู่ศุขเช่นกัน

    ด้านพุทธคุณ พระปิดตาพุงป่อง หลวงปูศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า นี้จะเด่นทางเมตตา และมหาอุดคงกระพันชาตรี

    ที่มา http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=visutthisiri&group=1
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01c.jpg
      01c.jpg
      ขนาดไฟล์:
      315.8 KB
      เปิดดู:
      209
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กุมภาพันธ์ 2011
  11. ทอดาว

    ทอดาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    3,150
    ค่าพลัง:
    +2,696
    พระบ้านนี้เขาน่าอิจฉาแทนลูกหลานจริงๆ :cool::cool:
     
  12. udomanthony

    udomanthony เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    752
    ค่าพลัง:
    +883
    รูปหล่อหลวงพ่อเดิม พิมพ์ C ติดแท้งานสมาคม ติดที่ 1 งาน ตั้งฮั่วเส็ง

    "หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร" หรือ "พระครูนิวาสธรรมขันธ์" เจ้าอาวาสวัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เป็นพระเกจิอาจารย์ ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือในเรื่องวิทยาคมและเครื่องรางของขลัง จนเป็นที่เลื่องลือ

    ประวัติ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ

    อัตโนประวัติ หลวงพ่อเดิม เกิดในสกุล ภู่มณี เมื่อวันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2403 โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายเนียมและนางภู่ ภู่มณี


    ประวัติหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพในช่วงวัยเยาว์ก่อนอุปสมบทนั้น โยมบิดามารดา ได้นำเข้าไปหาพระหาวัด โดยการศึกษาของชาวนาหนองโพในตอนนั้นมีศูนย์กลาง คือ วัดหนองโพ

    กระทั่งเมื่ออายุครบบวช ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม 2423 โดยมีหลวงพ่อแก้ว วัดอินทาราม (วัดใน) เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อเงิน วัดพระปรางค์เหลือง ต.ท่าน้ำอ้อย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล ต.สระทะเล เป็นพระอนุศาสนาจารย์

    หลวงพ่อเดิม ได้รับฉายาว่า "พุทธสโร"

    เมื่อหลวงพ่อเดิม อุปสมบทแล้วได้เดินทางกลับมาจำพรรษาอยู่ ณ วัดหนองโพ เพื่อศึกษาเล่าเรียนตามทางที่พระนวกะ ท่านตั้งต้นศึกษาหาความรู้เป็นการใหญ่ รวมทั้งได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและท่องพระคัมภีร์วินัย

    นอกจากนี้ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพท่านยังได้ศึกษาวิทยาคมกับนายพัน ชูพันธ์ ผู้ทรงวิทยาคุณอยู่ในบ้านหนองโพ ภายหลังนายพันธ์ถึงมรณกรรม ได้ไปศึกษาเล่าเรียนกับหลวงพ่อมี ณ วัดบ้านบน ต.ม่วงหัก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

    หลวงพ่อเดิม ท่านได้ไปเรียนทางวิปัสสนากับหลวงพ่อเงิน วัดพระปรางเหลือง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ซึ่งหลวงพ่อเดิมปฏิบัติจริงจังตลอดเวลา

    ภายหลัง หลวงพ่อเดิม ได้จัดสร้างวัตถุมงคลมากมายหลายรุ่น จนเป็นที่เลื่องลือมากในเรื่องของความขลัง เป็นที่ปรากฏว่า ประชาชนทั้งชาวบ้านและข้าราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือนทั้งในจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดที่ใกล้เคียง ตลอดไปจนจังหวัดที่ห่างไกลบางจังหวัด พากันไปเข้าไปกราบนมัสการฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อมากมาย

    ขอให้หลวงพ่อเดิมรดน้ำมนต์ แป้งขอผง น้ำมัน ตะกรุด ผ้าประเจียด จากหลวงพ่อ ที่แพร่หลายที่สุด คือ แหวนเงินหรือนิเกิล และผ้ารอบฝ่าเท้าหลวงพ่อ ผ้าประเจียด เกียรติคุณในเรื่อง "วิชาขลัง" ของหลวงพ่อนั้นเป็นที่เลื่องลือกันแพร่หลายมานานแล้ว

    นอกจากความเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแล้ว หลวงพ่อเดิมยังเป็นพระนักพัฒนาสร้างถาวรวัตถุในวัดมากมาย อาทิ สร้างกุฏิหลังแรกที่ใช้ฝาไม้กระดาน สร้างศาลาการเปรียญ สร้างโรงอุโบสถ และสร้างพระเจดีย์ 3 องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบไว้ตรงหน้าอุโบสถ เป็นต้น

    อีกทั้ง ก่อสร้างถาวรวัตถุและปฏิสังขรณ์วัดอื่นๆ ภายในจังหวัดนครสวรรค์อีก

    หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูนิวาสธรรมขันธ์ รองเจ้าคณะแขวงเมืองนครสวรรค์ ในวันที่ 30 ธันวาคม 2457 นำความปีติยินดีแก่บรรดาศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อเป็นอันมาก

    พ.ศ.2462 หลวงพ่อเดิมได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

    หลวงพ่อเดิม ได้ปฏิบัติศาสนกิจในหน้าที่มาตลอดเวลา 20 ปี กระทั่งล่วงเข้าวัยชรามาก คณะสงฆ์จึงได้เลื่อนหลวงพ่อขึ้นเป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์

    หลวงพ่อเดิม เปรียบเสมือนร่มโพธิ์และร่มไทรที่มีกิ่งก้านสาขาแผ่ออกไปอย่างไพศาล เป็นที่พึ่งพาอาศัยของประชาชน อย่างไรก็ตาม หลังจากที่หลวงพ่อกลับจากการเป็นประธานงานก่อสร้างโบสถ์ในวัดอินทาราม ต.พยุหะ อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

    ต่อมา หลวงพ่อเดิม เริ่มอาพาธ และมีอาการหนักขึ้น บรรดาศิษยานุศิษย์ ต่างพากันมาห้อมล้อมพยาบาลและฟังอาการกันเนืองแน่น

    ในที่สุด หลวงพ่อเดิม ได้ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ 92 ปี 71 พรรษา ท่ามกลางความเศร้าสลดของพุทธศาสนิกชน

    คณะศิษยานุศิษย์ได้ช่วยกันสรงน้ำศพหลวงพ่อ ก่อนบรรจุศพตั้งบำเพ็ญกุศล และจัดให้มีการพระราชทานเพลิงในวันที่ 30 สิงหาคม 2494

    หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพได้รับการขนานนามและยกย่องเป็น "เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว" ซึ่งชาวนครสวรรค์ให้ความนับถือหลวงพ่ออยู่มิเสื่อมคลาย โดยเฉพาะ วัดหนองโพได้สร้างมณฑปที่ประดิษฐานรูปหล่อโลหะของหลวงพ่อพระรูปเหมือนหลวงพ่อเดิมขนาดเท่าองค์จริง

    นอกจากนี้ วัดหนองโพได้จัดงานทำบุญประจำปีปิดทอง ไหว้พระรูปเหมือนหลวงพ่อเดิม ในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
    ที่มา... ข่าวสดรายวัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กุมภาพันธ์ 2011
  13. Jin

    Jin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,996
    ค่าพลัง:
    +3,342
    ชอบองค์นี้ครับ มีราคาไหมครับหรือเเลกไรได้มั่ง อิๆ
     
  14. udomanthony

    udomanthony เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    752
    ค่าพลัง:
    +883
    กริ่งหลวงพ่อจาด พิมพ์ใหญ่ ที่ 1 งานสมาคมครับ

    พระกริ่งหลวงพ่อจาด
    ผู้สร้างพระครูสิทธิสารคุณ (หลวงพ่อจาด คงคสโร) วัดบางกระเบา
    ได้เป็นประธานในพิธีเททอง ณ.วัดบางหอย ต.ศรีจุฬา อ.เมืองนครนายก โดยทางวัดต้องการหาปัจจัยเพื่อสร้างพระอุโบสถ หลังจากที่หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา เททองเป็นองค์พระกริ่งและตกแต่งองค์พระเรียบร้อยแล้ว ก็ได้ประกอบพิธีพุทธาพิเษกขึ้นที่วัดบางหอย โดยได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นมานั่งปรกจำนวน 9 รูป ด้วยกัน ประกอบด้วย หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก จ.ฉะเชิงเทรา หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว จ.ฉะเชิงเทรา หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง และหลวงพ่อเชิด วัดลาดบัวขาว

    สร้างปีพ.ศ.2583 จำนวนการสร้างไม่มีการบันทึกไว้ แต่ประมาณกันว่าทุกพิมพ์สร้างรวมกันไม่น่าจะเกิน 3,000 องค์ วรรณะเหลืองปนขาวเล็กน้อย พระกริ่งหลวงพ่อจาดแบ่งแยกพิมพ์ได้ 4 พิมพ์ คือ 1.พระกริ่งพิมพ์ใหญ่ 2.พระกริ่งพิมพ์กลางบัวเก้ากลีบ 3.พระกริ่งพิมพ์กลางบัวแปดกลีบ 4.พระกริ่งพิมพ์เล็ก

    พระกริ่งหลวงพ่อจาดพิมพ์ใหญ่ ได้นำแบบพิมพ์ของพระกริ่งรุ่น พ.ศ.2479 ของสมเด็จพระสังฆราชแพฯ วัดสุทัศนเทพวรารามเป็นต้นแบบ แต่ได้เพิ่มอักขระตัว อุ ไว้ที่กลางฐานด้านหลังไม่เฉพาะพิมพ์ใหญ่นั้น แต่พระกริ่งทุกแบบพิมพ์ของท่านจะคงเอกลักษณ์ที่มีตัว อุ อยู่กลางฐานด้านหลัง พระกริ่งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก จะมีบัว 8 กลีบ แต่พระกริ่งพิมพ์กลางบัว 9 กลีบ และพระกริ่งพิมพ์กลางบัว 9 กลีบ จะมีสนนราคาสูงกว่าพระกริ่งพิมพ์กลางธรรมดาและพิเล็ก แต่ราคาจะเป็นรองพระกริ่งพิมพ์ใหญ่

    พระกริ่งทุกพิมพ์ของหลวงพ่อจาดเป็นพระกริ่งที่เททองแบบกริ่งในตัว เมื่อเสร็จเป็นองค์พระแล้วเวลาเขย่าจะมีเสียงกริ่งโดยไม่ต้องนำเม็ดกริ่งมาใส่ จึงเรียกพระกริ่งที่เททองแบบนี้ว่า "เทแบบกริ่งในตัว" แล้วจึงอุดรูตะปูด้วยเนื้อชนวนเดียวกับองค์พระ รูที่อุดนี้มีจำนวน 1 รู อยู่ที่ด้านหลังองค์พระบริเวองค์พระกับขอบฐาน ใต้ฐานองค์พระจะเรียบเสมอ ไม่มีการปาดใต้ฐานเป็นแอ่งกระทะ (ยกเว้นพระกริ่งที่มีการตบแต่งมาแต่เติม จะมีการปาดใต้ฐานเป็นแอ่งกระทะเล็กน้อย) พระกริ่งหลวงพ่อจาดทุกพิมพ์ ถ้าเป็นชนิดที่ไม่ผ่านการสัมผัสบูชามาก่อน จะมีผิวนอกคล้ายพรายเงินคลุมทั่วองค์พระ และมีคราบดินหุ่นเป็นดินละเอียดสีน้ำตาลอ่อน อยู่ตามซอกองค์พระเล็กน้อย ผิวพรายเงินเหล่านี้จะหายไปถ้าลูกสัมผัสหรือถูกไอเหงื่อ เสียงกริ่งของพระกริ่งจะดังไม่มากนัก ด้วยเหตุนี้ที่เป็นพระกริ่งที่เททองหล่อกริ่งในตัว

    ที่มา: ข่าวสด,ลานโพธิ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กุมภาพันธ์ 2011
  15. udomanthony

    udomanthony เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    752
    ค่าพลัง:
    +883
    พระปิดตาหลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ ที่ 1 งาน คาฟูร์ สำโรง ครับ

    พระปิดตาหลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ เป็นพระปิดตาเนื้้อตะกั่วผสมปรอท
    พระปิดตาหลวงพ่อเที่ยง จะมีเนื้อแก่ตะกั่วมากกว่าปรอท
    นอกจากจะพิจารณาเนื้อพระปิดตาของหลวงพ่อเที่ยงแล้ว ต้องพิจารณาในส่วนของพิมพ์ทรง กรรมวิธีการสร้าง อายุความเก่าและเอกลักษณ์รอยจารลายมือหลวงพ่อฯ ประกอบด้วย
    กรรมวิธีการสร้าง พระปิดตาหลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ เป็นการปั่นหุ่นเทียนและเทตะกั่วผสมปรอท เป็นก้านช่อ เหมือนกับพระกริ่งพระชัยวัฒน์ ฉะนั้นด้านข้างขององค์พระจะไม่มีตะเข็บให้เห็น ฉะนั้นหากพระปิดตาหลวงพ่อเที่ยงองค์ใดมีตะเข็บข้างองค์พระให้ตีเก๊ได้เลย
    เนื้อตะกั่วผสมปรอท สร้างราว ๒๔๗๐ หายากมาก ประสบการณ์ด้านคงกระพัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กุมภาพันธ์ 2011
  16. narmja

    narmja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    7,921
    ค่าพลัง:
    +8,496
    งาม แต้ๆๆ ..........
     
  17. ศนิวาร

    ศนิวาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    7,337
    ค่าพลัง:
    +17,632
    :cool: งามทุกองค์ คุณจินจีบหลวงปู่ศุข ออกอากาศเชียวนะครับ
     
  18. udomanthony

    udomanthony เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    752
    ค่าพลัง:
    +883
    พระเปิมลำพูน ติดที่ 2 งานตั้งฮั่วเส็งครับ
    เชิญเพื่อนๆ พี่ๆ ร่วมแจมกระทู้กันนะครับ จะได้แลกเปลี่ยนกันชม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. neopass

    neopass เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,804
    ค่าพลัง:
    +811
    สงสัยจะชอบจริงๆ....เอ้า ช่วยเชีร์ย ขอให้ได้
     
  20. bikarn

    bikarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,766
    ค่าพลัง:
    +1,524
    สวยซึ้งครับ.....แล้วรางวัลที่ ๑ เป็นเช่นไรฤๅ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...