พระธรรมทูตไทยในต่างแดน หน้า 5 จาก 6

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 29 พฤศจิกายน 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    บทส่งท้ายและบทวิเคราะห์
    จากตัวเลขในหนังสือสถิติรายปี “ เอ็นไซ โคลพีเดีย บริแทนนิกา” (Encyclopedia Britannica) เล่นปี ๒๕๔๔ ระบุว่า
    “ศาสนาคริสต์” มีผู้นับถืออันดับ ๑ จำนวน ๑,๙๗๔,๑๘๑,๐๐๐ คน
    “ศาสนาอิสลาม” มีผู้นับถืออันดับ ๒ จำนวน ๑,๑๕๕,๑๐๙,๐๐๐ คน
    “ศาสนาฮินดู” มีผู้นับถืออันดับ ๓ จำนวน ๗๙๙,๐๒๘,๐๐๐ คน
    “ศาสนาพุทธ” มีผู้นับถืออันดับ ๔ จำนวน ๓๕๖,๒๗๐,๐๐๐ คน
    “ศาสนาซิกข์” มีผู้นับถืออันดับ ๕ จำนวน ๒๒,๘๓๗,๐๐๐ คน
    ที่น่าสังเกตจากสถิตินี้อีกอย่างหนึ่งคือจำนวนคนรุ่นใหม่ที่ประกาศตนว่า “เป็นคนไม่มีศาสนา” จำนวนถึง ๗๖๒,๖๔๐,๐๐๐ คน (จากจำนวนเพียง ๓ ล้านคนในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ : ค.ศ. ๑๙๐๐) นี่ไม่รวมถึงผู้ที่สังกัดศาสนา แต่ยังไม่ยอมรับทุกศาสนาอีกจำนวน ๑๐๐ กว่าล้านคน แนวโน้มความเสื่อมลงและความเจริญของแต่ละศาสนาในรอบศตวรรษที่ผ่านมาล้นอยู่ในภาวะน่าเป็นห่วงด้วยกันทั้งนั้น แม้จะมีสถิติตัวเลขขึ้น ๆ ลง ๆ ของแต่ละศาสนาก็ตาม ทั้งนี้ อาจเกี่ยวกับปัญหาโยงใยกับบริบทในสังคมนั้น ๆ โดยเฉพาะความเจริญเติบโตทางเทคโนโลยี และเป็นยุคบริโภคนิยม จนทำให้เหินห่างหลักศาสนาออกไปได้ พระพุทธศาสนาก็คงจะหลีกหนีสภาวะดังกล่าวไปไม่พ้น แต่ยังดีขณะนี้ มีพระธรรมทูตไทยออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์และความมั่งคงทางจิตแก่สรรพสัตว์ทั่วโลก
    ประเด็นต่อมาที่น่าศึกษาและวิเคราะห์เป็นอย่างยิ่ง นั่นคือ มักมีผู้ถามว่า “การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในต่างแดนประสบความสำเร็จหรือไม่”
    สำหรับคำถามนี้ น่าจะมีคำตอบเป็น ๒ นัย คือ กลุ่มที่ตอบว่า ได้ผลมาก น่าพอใจ และกลุ่มที่ตอบว่า ได้ผลน้อย ไม่เท่าที่ควร
    สำหรับผู้ที่ตอบว่า ได้ผลมาก มีเหตุผลว่า สังคมตะวันตกเจริญรุ่งเรืองทางวัตถุมาก เป็นความเจริญ มีวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมเป็นพื้นฐาน ชาวตะวันตกจึงมีความเป็นอยู่สะดวกสบาย เพลิดเพลินกับสิ่งอำนวยคามสะดวกทางร่างกายนานาประการ แต่ทว่า ด้านจิตใจเต็มไปด้วยความวิจกกังวลและความเครียด เกิดความไม่สบายใจเป็นโรคประสาท โรคจิต และ โรคหัวใจมากขึ้น สังคมจึงร้อนรุ่มด้วยความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ จากการที่ชาวตะวันตกไม่สามารถหาทางออกในเรื่องนี้ได้ จึงหันมาศึกษาและปฏิบัติตามวิถีชีวิตชาวตะวันออก โดยมีฐานจากศาสนาและปรัชญาโดยเฉพาะพระพุทธศาสนา เราจะเห็นตัวอย่างชาวต่างชาติถึงกับมาบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาและกลับไปตั้งวัดพระพุทธศาสนาในบ้านเมืองของตนก็มี นี่เป็นสาเหตุอย่างหนึ่ง ให้พระพุทธศาสนาฉายแสงแห่งความเจริญรุ่งเรืองในดินแดนแถบตะวันตก นี่ไม่รวมถึงนักศึกษา นักวิชาการที่สนใจพระพุทธศาสนา ผ่านกระบวนการทางรายวิชาในสถาบันหรือมหาวิทยาลัย และในขณะเดียวกันนี้ ชาวพุทธทั้งที่เป็นคนไทยและแถบประเทศเอเชียมีความแนบแน่นกับวัฒนธรรมเชิงพุทธ ปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาคือ ให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา จึงทำให้มีการขยายวัดไปเรื่อย ๆ นับเป็นโอกาสให้พระธรรมทูตไทยได้ฉลองศรัทธาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างไกลยิ่งขึ้น
    เมื่อมองในแง่ลบ เพื่อเป็นกระจกสะท้อนให้มีการปรับและพัฒนาเพื่อความมีประสิทธิภาพและแพร่หลายยิ่งขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่า การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทย ยังอยู่ในเกณฑ์พอใช้ มีเหตุผลสนับสนุนว่า การที่วัดไทยขยายจำนวนมากนั้น บางแห่งบางวัดยังอยู่ในสภาพที่น่าเป็นห่วง ยังไม่มีความมั่นคงพอ อาจเป็นเพราะความสามัคคีทางศรัทธาของญาติโยมยังไม่ผนึกแน่น หรืออาจเป็นเพราะข้อขัดข้องทางกฎหมายของประเทศนั้น ๆ อีกทั้งไม่ได้เป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแก่ชาวต่างชาติอย่างเป็นรูปธรรมมากมายนัก ส่วนใหญ่เป็นการให้บริการทางวัฒนธรรมพุทธไทยแก่ชาวพุทธไทยหรือชาวพุทธเอเชียที่มาประกอบอาชีพในต่างแดน เมื่อว่าโดยภาพรวมแล้ว จึงมีผู้กล่าวว่า ผลงานของพระธรรมทูตยังไม่ได้ผลที่น่าพอใจนัก เพราะยังมีปัญหาและอุปสรรคของพระธรรมทูตผู้ไปปฏิบัติศาสนกิจยังต่างแดนที่ยังแก้ไม่ตก ๔ เรื่องด้วยกัน คือ ปัญหาเรื่องพระธรรมทูตขาดคุณภาพ ปัญหาการเน้นวัฒนธรรมไทยจนเดินไป ปัญหาถูกต่อต้านจากวงการศาสนาท้องถิ่น และปัญหาเรื่องสถานทางกฎหมายของวัดไทย
    ผู้เขียนมีความเห็นด้วยทั้งสองมุมมอง แต่ในมุมมองฝ่ายลบเราสามารถแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้นได้และขณะนี้ สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศทั้งของคณะสงฆ์มหานิกาย ได้ดำเนินการอยู่และคาดว่า จะมีการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับอย่างแน่นอน
    ท้ายสุด ชอบใจข้อคิดของพระเดชพระคุณพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร) ยิ่งนัก คราวตามที่ไปประชุมพระธรรมทูตไปต่างประเทศเนือง ๆ พระเดชพระคุณมักจะปรารภแก่พระธรรมทูตผู้อยู่ต่างแดนเสมอ ๆ ว่า
    “ในอนาคตข้างหน้า การณ์พระพุทธศาสนาในเมืองไทยไม่แน่นอน เพราะปัจจุบัน สภาพแวดล้อมทั้งบุคคลและแนวคิดแนวปฏิบัติที่มีต่อพระพุทธศาสนาของคนไทยแล้ว น่าเป็นห่วงเหลือเกินอย่างไรเสีย ท่านทั้งหลายได้นำพระพุทธศาสนามายังดินแดนต่าง ๆ แล้ว ขอให้ตั้งใจทำหน้าที่ของพระธรรมทูตอย่างมีศักดิ์ มีศรี ท่านอาจจะเป็นบูรพาจารย์สงฆ์เถรวาทไทยที่มาสร้างประวัติศาสตร์ในการประกาศพระพุทธศาสนา ณ ดินแดนแห่งนี้ ขอให้คิดอยู่เสมอว่า ท่านกำลังบันทึกประวัติศาสตร์อันสำคัญยิ่งเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในประเทศนี้ด้วยตัวของพวกท่านเอง”

    ---------------------​
     

แชร์หน้านี้

Loading...