เรื่องเด่น พระธาตุวัดหลวงขุนวิน

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย สุชีโว, 31 กรกฎาคม 2014.

  1. สุชีโว

    สุชีโว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    154
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +579
    บนดอยหลวงสูงเสียดฟ้า วัดหลวงขุนวิน เป็นวัดโบราณมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล
    วัดหลวงขุนวิน หมายถึง วัดที่ใหญ่โตที่อยู่ต้นแม่น้ำของลำน้ำแม่วิน
    อีกความหมายหนึ่งคือ เป็นวัดของหลวงของเจ้าฟ้าหรือเจ้าแผ่นดินที่อยู่
    ณ ต้นแม่น้ำของแม่วิน

    วัดหลวงขุนวิน หมู่ที่ 7 ต.ดอนเปา อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ 50360
    dsc_5066_154.jpg

    ประวัติพระธาตุวัดหลวงขุนวิน

    ....ในสมัยพุทธกาลหลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว
    เสด็จสั่งสอนเวไนยสัตว์ทั้งหลายนานได้ 25 พรรษา ครั้งนั้นพระพุทธองค์
    ทรงประทับอยู่ในพระวิหารเชตะวัน ปัจจุบันสมัยใกล้รุ่งคืนหนึ่งพระพุทธองค์
    ทรงรำพึงว่า “อายุตถาคตได้ 60 พรรษา นับแต่นี้ไปอีก 20 พรรษาบริบูรณ์
    ก็จะนิพพานไปเวไนยสัตว์ผู้มีบุญสมภารมาก (มีบุญสะสมไว้มาก)
    ต่างก็เข้ามาสู่ในคำสอนของคถาคตสำเร็จมรรคสำเร็จผลไป
    สัตว์โลกที่มีสมภารอ่อน (มีบุญที่สะสมไว้น้อย) ก็ยังมีอีกมาก
    เราสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้ถึงมรรคถึงผลนั้นก็หาได้สอนเต็มที่ไม่
    แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่พอเต็ม 25 อสงไขยทุกตัวสัตว์ได้
    เราก็จักนิพพานไป สมควรเราจะตั้งจิตอธิษฐานไว้ยังพระพุทธศาสนา
    พระบาท พระธาตุ และพระรัตนตรัย เพื่อเป็นที่กราบไหว้สักการบูชา
    ของคนและเทวดาทั้งหลาย ประการหนึ่ง เมื่อเรานิพพานไปแล้ว
    และเพื่อให้พระศาสนาอยู่เฝ้าสั่งสอนโปรดเวไนยสัตว์ ชักจูงเข้าสู่
    พระนิพพานให้ครบจำนวนประมาณ 25 อสงไขย ตามพุทธประเพณี
    ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

    ....อีกประการหนึ่ง เมื่อเรานิพพานไปแล้วได้ตั้งพระพุทธศาสนาไว้
    5,000 พรรษา คือ เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ 2,000 พรรษา
    เข้าไปสู่ 3,000 พรรษา บาปและกรรมเวร 5 ประการ จะมาครอบงำ
    ยุยงส่งเสริมให้คนและสัตว์ทั้งหลายถึงความพินาศฉิบหาย
    เหตุนั้นเราควรไปตั้งจิตอธิษฐานยังพระบาทและพระธาตุไว้ในที่อันสมควร
    เพื่อเป็นที่สักการบูชาของคนและเทวดาทั้งหลายให้เป็นเสมือนดั่งตัวเรา
    ยังทรมานดำรงชีวิตอยู่”

    ....ความรำพึงด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้าในข้อนี้บังเกิดขึ้นแก่
    พระองค์ในวันเดือนเจียง (เดือนอ้าย) วันเพ็ญ จากนั้นสมเด็จพระสัมมา
    สัมพุทธเจ้า พระเถระอรหันต์ 3 รูป คือพระโสณเถระ 1 พระอุตตระเถระ
    1 พระอานนทเถระ 1 พร้อมด้วยพระอินทร์ทรงกั้นฉัตรแก่พระพุทธเจ้า
    และยังมีพระยาองค์หนึ่งพระนามว่าพระยาอโศกราช (พระเจ้าอโศกมหาราช)
    เมืองใหญ่ในกุสินารา พระองค์ทรงบังเกิดปสาทศรัทธาทรงเป็นผู้อุปัฏฐาก
    (อุปถัมภ์บำรุง) พระพุทธเจ้าในเชตวันมหาวิหาร พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ทรงพาท่านทั้งหลายดังกล่าวมานี้ เสด็จออกจากเชตวันมหาวิหาร
    ในวันเดือนเจียง แรม 2 ค่ำ เสด็จเข้าสู่เมืองกุสินารา เมืองคูลวา (ทมิฬ)
    เมืองแกว (ญวน) เมืองลังกา เมืองละโว้ อโยธยา ทวารวดีทั้งมวล
    เสด็จขึ้นไปเมืองจีนหลวง เมืองเวเทหะ (จีนฮ่อ) เมืองโกศล เมืองลื้อ ไทย


    ....ความเป็นจริงแล้วหลักฐานความเป็นมาของพระธาตุวัดหลวงฯ
    ไม่สามารถหาได้ในปัจจุบัน เพราะสร้างมาหลายยุคหลายสมัย
    มีทั้งรุ่งเรืองบ้างและเสื่อมบ้าง บางสมัยก็กลายเป็นวัดร้างหลายปี
    การเช่นนี้จึงทำให้หลักฐานความเป็นมาของวัดหลวงขุนวินสาบสูญไป
    ฉะนั้น เป็นการพยายามอย่างยิ่งที่จะรวบรวมประวัติความเป็นมาให้บริบูรณ์ได้
    จึงสอบถามจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีความเลื่อมใสและได้กราบทูลขอพระเกศาธาตุ
    พระพุทธองค์ทรงประทานให้แล้วสร้างพระเจดีย์ครอบไว้บนยอดเตี้ยๆ ลูกหนึ่ง
    ชื่อว่า พระธาตุม่อนเปี้ยะดังนี้แล หลังจากนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงจาริก
    มาทางทิศที่จะมาเพื่อประทับรอยพระบาท แต่ในสถานที่นั้นหินที่เป็น
    ก้อนใหญ่ไม่ค่อยมีจึงได้หินก้อนหนึ่งกว้างประมาณ 1 ศอก และยาว 2 ศอก
    จึงนำมาถวายพระพุทธองค์ทรงประทับรอยพระบาทให้ แต่เนื่องจากหิน
    ก้อนเล็กไปจึงปรากฏเฉพาะรอยฝ่าพระบาทเท่านั้น ส่วนส้นและนิ้วพระบาท
    หายไป และพระพุทธองค์ทรงทำนายไว้ว่า พระพุทธบาทนี้ไม่เต็มรอย
    เพราะแหว่งไป (ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า หวิดไป) ฉะนั้น
    เมืองนี้จึงมีชื่อว่าเมืองหวิด ต่อมาได้ชื่อว่า เมืองวิน ดังนี้แล

    ...จากนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงเสด็จจาริกมายังบริเวณที่ตั้งของ
    วัดหลวงขุนวินปัจจุบันนี้ และพอจะสันนิษฐานได้ว่า ปู่หลาน
    เดิมนั้นคงจะมีบ้านเรือนตั้งอยู่ใกล้บริเวณวัดหลวงฯ และพระพุทธองค์
    ทรงรับบิณฑบาตในที่นี้ หลังจากทรงฉันภัตตาหารแล้ว มีชาวลัวะ 2 ท่าน
    คือ ขุนสาบและขุนสระเมิง มีจิตเลื่อมใส ได้กราบทูลขอพระเกศาธาตุ
    พระพุทธองค์ทรงเอื้อมพระหัตถ์แล้วทรงประทานเส้นพระเกศา 5 เส้น
    จึงได้สร้างพระเจดีย์ 5 ยอด บรรจุเอาไว้ เพื่อเป็นที่กราบไหว้สักการบูชา
    ของชนทั้งหลายตราบจนทุกวันนี้

    ....หลังจากนั้น วัดหลวงขุนวิน ได้เจริญรุ่งเรืองและถึงความเสื่อมไปตามยุค
    ตามสมัยเรื่อยมา ครั้นต่อมามีหลักฐานจารึกในใบลานว่า เจ้าหมื่นคำซาว
    ฐานะเป็นน้องของขุนหลวงวิลังคะ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้ทำนุบำรุงวัดหลวงฯ
    ขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีครูบาปัญญาวงศา เป็นเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. 1760
    ได้เจริญรุ่งเรืองมาถึงปี พ.ศ. 1802 พม่าตีเมืองเชียงใหม่แตก
    วัดนี้จึงกลายเป็นวัดร้าง

    ....ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2497 ครูบาอุ่นเรือน สุภทฺโท วัดบ้านควน
    ตำบลพรหมหลวง อำเภอสันป่าตอง มาบูรณะวัดนี้อีกครั้งหนึ่ง
    สร้างเสร็จได้นิมนต์ครูบาอภิชัย ขาวปี มาเป็นประธานร่วมฉลอง
    เมื่อปี พ.ศ. 2501 ครั้นต่อมา ปี พ.ศ. 2530 ครูบาอุ่นเรือน
    อาพาธหนักและได้มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2507 ที่วัดบ้านควน
    ต่อมาเจ้าชื่น สิโรรส ได้นิมนต์หลวงปู่เณรไจ๋ อุ่นเรือน จากวัดอุโมงค์
    เถรจันทร์ มาจำพรรษาในปี พ.ศ. 2505 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2532
    พระอาจารย์สมบูรณ์ รตฺนญาโณ จำพรรษาอยู่ได้ 8 ปี
    และได้มอบให้แก่พระอาจารย์จรัญ ทกฺขญาโณ แห่งวัดสังฆทานดูแลสืบไป
    re_exposure_of_dsc_5175_1_295.jpg
    ....พระอธิการจรัญ ทกฺขญาโณ เจ้าอาวาสวัดหลวงขุนวิน เล่าว่า
    วัดหลวงขุนวินนี้เป็นวัดเก่าแก่ ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดที่บันทึกไว้
    เป็นลายลักษณ์อักษร เล่ากันว่ากำเนิดจริงๆ ของวัดหลวงขุนวินนั้น
    มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมา
    ณ บริเวณที่ตั้งวัด และประทับรอยพระบาทไว้ในป่าแห่งนี้
    ตามปกติพระพุทธเจ้าเสด็จไปแห่งใด จะไม่มีรอยพระบาท
    นอกจากจะทรงอธิษฐานประทับรอยพระบาท ซึ่งรอยพระบาทนี้เรียกว่า
    "พระบาทย่ำหวิด " ย่ำ คือ "เหยียบ " หวิด คือ แหว่งไป
    เนื่องจากพระบาทที่ทรงย่ำนั้น มีรอยแหว่ง เพราะแผ่นหินที่ประทับ
    รอยพระบาทนั้นมีขนาดเล็กเกินไป ทำให้นิ้วของพระบาทหายหรือแหว่งไป
    และชื่อเมืองแต่เดิมชื่อ "หวิด " ต่อมาเปลี่ยนเป็น "วิน "
    จึงเป็นเมืองวินหรือขุนวิน ชาวบ้านได้ทูลขอพระเกศาธาตุจากพระพุทธองค์
    แล้วจึงสร้างเจดีย์ไว้บรรจุพระธาตุเพื่อการกราบไหว้บูชาต่อไป
    และชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างวัดไว้ด้วย คือวัดหลวงขุนวิน ในปัจจุบัน

    ประวัติหลวงหลวงพ่อจรัญ ทกฺขญาโณ

    ..หลวงพ่อจรัญ ทกฺขญาโณ เป็นคนจังหวัดน่าน ขณะทำงานที่กรุงเทพฯ
    มีความสนใจศึกษาและฝึกปฏิบัติจนเกิดศรัทธา และบวชที่วัดสังฆทาน
    ในปี พ.ศ. 2529 เมื่ออายุได้ 27 ปี พรรษาแรกจำพรรษาที่อุ้มผาง
    จังหวัดตาก และผ่านการเก็บอารมณ์ที่วัดหนองไผ่เจริญธรรม
    จังหวัดสุพรรณบุรี รวม 4 ปี

    หลวงพ่อจรัญ ทกฺขญาโณ
    dsc_5107jpg_1_144.jpg

    ..ต่อมาท่านธุดงค์ไปทางภาคเหนือเพื่อการปฏิบัติ จนพบวัดพันต้น
    ซึ่งเป็นวัดร้างอยู่กลางทุ่ง ที่อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
    ซึ่งตามประวัตินั้นเป็นวัดที่จัดให้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎก
    มีพระมาประชุมกันพันองค์ หรือพันต้น ท่านเห็นว่าเป็นสถานที่สัปปายะ
    เหมาะแก่การฝึกปฏิบัติจึงอยู่จำพรรษาที่วัดนี้เป็นเวลา 2 ปี
    ซึ่งในปีสุดท้ายนั้นมีพระจากวัดสังฆทานธุดงค์ผ่านมา ท่านจึงบอกทาง
    ไปจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยให้ตัดตรงผ่านเส้นทางนี้ไป
    ท่านจึงพบวัดหลวงขุนวินโดยบังเอิญ ซึ่งขณะนั้น
    พระอาจารย์สมบูรณ์ รตนญาโณ (ลูกศิษย์หลวงพ่อสนิท ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่สังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม จังหวัดสุพรรณบุรี)
    เป็นผู้ดูแลวัดได้ 8 ปีแล้ว พระอาจารย์สมบูรณ์จึงดีใจที่ได้
    พบพระจากวัดสังฆทาน และยกวัดให้หลวงพ่อจรัญ ทกฺขญาโณ
    ดูแลวัดสืบต่อไป ในปลายปี พ.ศ. 2539 นั้นเอง

    ...หลวงพ่อจรัญ ทกฺขญาโณ จึงอยู่ที่วัดหลวงขุนวินเรื่อยมา
    ซึ่งเดิมทีตั้งใจจะอยู่เงียบๆ แต่มีพระท่านขึ้นไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นหมู่คณะ
    และดูแลปกครองกันจนเป็นสาขาหนึ่งของวัดสังฆทาน ช่วยกันบูรณะ
    และดูแลวัดเรื่อยมา ปัจจุบันที่วัดมีพระ 17 รูป (ปี 2551)
    ชาวบ้านที่อาศัยอยู่เป็นชาวเขาทั้งหมด ยากจนนับถือศาสนาพุทธ
    และนับถือผี อาศัยอยู่ไกลจากวัด กว่า 5 กิโลเมตร พระจึงไม่ได้
    ออกบิณฑบาต มีแม่ครัวประจำวัด(แม่ชีบุญมี)เพื่อจัดเตรียมอาหาร
    สำหรับหมู่สงฆ์ มีการฉันอาหารเพียงมื้อเดียวดำรงอยู่แบบพระป่ามุ่ง
    ปฏิบัติเพียรภาวนา โดยเข้าเมืองซื้อของและเสบียงสัปดาห์ละครั้ง
    ปกติพระจะอยู่กันเฉพาะหมู่สงฆ์ ไม่มีกิจนิมนต์ การทำวัตรสวดมนต์
    ต่างคนต่างปฏิบัติ เน้นการทำกรรมฐาน แต่ในวันเทศกาลสำคัญ
    เช่น วันสงกรานต์ วันลอยกระทง ชาวเขาจะมารวมตัวกันประมาณ
    200-300 คน จากหลายสิบหมู่บ้านเพื่อทำบุญด้วยการถวายทาน
    รักษาศีล และสวดมนต์ แต่ขาดความสนใจและความเข้าใจในเรื่องภาวนา

    ...ปัจจุบัน มีคนเมืองหรือคนจากเชียงใหม่ที่สนใจการทำสมาธิเข้ามาวัด
    ในวันเสาร์-อาทิตย์ กันมากขึ้น เพื่อการฝึกปฏิบัติกรรมฐานและภาวนา
    ท่ามกลางทัศนียภาพที่สวยงามร่มรื่น บรรยากาศดี และอากาศเย็นตลอดปี
    มักจะมีชาวต่างชาติเข้ามาแวะเยี่ยมชมโบราณสถานในวัดอยู่เสมอ
    วัดอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 900 เมตร สามารถเดินทาง
    โดยใช้เส้นทางเชียงใหม่-ฮอด เมื่อถึงสามแยกสันป่าตองให้เลี้ยงขวา
    ไปอำเภอแม่วาง (ถึงแม่วางกิโลเมตรที่ 12) ไปตามทางจนถึงกิโลเมตรที่ 26
    ถึงหมู่บ้านขุนวิน จะเห็นป้ายบอกทางไปวัดหลวงขุนวินอยู่ด้านขวามือ
    จากทางแยกนี้ไป ถึงวัดประมาณ 10 กิโลเมตร จะเป็นทางลูกรังตลอด
    ในช่วง 5 กิโลเมตรแรก ทางค่อนข้างลาดชันจนถึงบ้านกะเหรี่ยงห้วยหยวก
    ซึ่งรถกระบะธรรมดาขึ้นได้ ส่วน 5 กิโลเมตรหลังเป็นทางที่ขึ้นได้เฉพาะขับ
    เคลื่อนสี่ล้อเท่านั้น เนื่องจากเป็นถนนที่ใช้แรงคนในการขุดจึงต้องมี
    การซ่อมแซมกันตลอดเวลา

    ขันธ์ห้า สักกายทิฏฐิ วิธีปฏิบัติให้หลุดพ้นจากขันธ์ห้า โดยพระอธิการจรัญ




    6334_1217846344.jpg_179.jpg

    re_exposure_of_dsc_4907_272.jpg
    พระพุทธรูปไม้แกะสลักปางไสยยาสน์ จากต้นไม้จำปีป่าที่ยืนตายซากแล้ว


    ที่มา : http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16937
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กุมภาพันธ์ 2018
  2. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    แนะนำทุกท่านเลยค่ะ หากมีโอกาสขึ้นเหนือ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ แต่ต้องรถ 4wd นะคะ มีโอกาสพาคณะไปทอดผ้าป่าวัดนี้เมื่อ 5 ปีที่แล้ว (ไปเองไม่ได้เลยหาสมัครพรรคพวกไปค่ะ) เสียดายไปค้างแค่คืนเดียว ตอนกลับไม่อยากลงมาเลย วัดอยู่บนเขา สงบสวยงามมาก แต่ที่สุดคือได้ฟังธรรมพระอธิการจรัญ (เจ้าอาวาส) ฟังที่กรุงเทพแต่เลื่อมใสจึงหาหนทางไปที่วัดจนได้ค่ะ
     
  3. Kanittha12

    Kanittha12 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2017
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +22
  4. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ขอแชร์ประสบการณ์ที่เคยเดินทางไปที่วัดหลวงขุนวิน ครั้งนั้นเดินทางจาก กทม. สายๆ ไปถึงเชียงใหม่ตอนเย็น แวะตลาดหาซื้อของแห้งของสด เพื่อประกอบอาหารถวายพระและคณะที่ร่วมเดินทางไปทอดผ้าป่าในเช้าวันรุ่งขึ้น เพราะที่วัดแห่งนี้จะไม่มีชาวบ้านขึ้นไปใส่บาตร เพราะไกลและลำบากในการเดินทาง ทางวัดจะมีแม่ชีทำอาหารถวายตอนเช้า คณะเราไม่อยากสร้างความรบกวนแก่ทางวัด จึงเตรียมอาหารไปเอง
    กว่าจะซื้อข้าวของครบก็ใกล้มืด ได้ประสานกับพระอาจารย์จรัญ (เจ้าอาวาส) มีรถของวัด มารับเพราะบางท่านไม่สะดวกขับขึ้นเขาที่ไม่เคยชินทาง เป็นคล้าย ๆ รถรางแต่เป็น 4W/D มีบางช่วงขับเลียบเหวกรี๊ดกันลั่นเขา ต้องมืออาชีพจริง ๆ คนขับเนี่ย ไปถึงวัดก็มืดพอดี ขอแจ้งว่าวัดนี้ไม่มีไฟฟ้านะคะ จะเปิดเฉพาะศาลาเท่านั้น จึงไม่มีตู้เย็น เราต้องนำของสดที่ซื้อมาไปเก็บไว้ในถังเก็บความเย็นไว้ก่อน คืนนั้นคณะของเรานอนรวมกันบนศาลาค่ะ กว้างค่ะก็หาพื้นที่นอนกันตามอัธยาศัย พกถุงนอนกันไปส่วนตัวเลือกนอนหน้าพระประธานเลยค่ะ วันที่เราไปหน้าหนาวค่ะแต่หนาวอย่างไรก็ต้องอาบน้ำ เดินจุดเทียนไปห้องน้ำ (แยกชายหญิง) จุดเทียนนี่ตัวเรามองอะไรไม่เห็นนะคะ ไม่เห็นอะไรเลยมืดมิด มองเท้าตัวเองยังไม่เห็น แต่การจุดเพื่อให้ผู้อื่นรู้ว่าเราเดินไปมากกว่านะ คนอยู่ในที่มืดย่อมมองเห็นที่สว่าง ที่นี่ไม่มีน้ำประปานะคะ น้ำเนี่ยต่อตรงมาจากลำธารเลย ต้นๆ ลำธาร ท่อใหญ่เชียวไม่ต้องห่วงว่าจะหนาวไหม ไม่หนาวเลยค่ะชาทั้งตัวตั้งแต่หัวจรดเท้า กลางคืนที่ศาลาก็จะดับไฟนะคะ รู้สึกว่าจะใช้ัเครื่องปั่นไฟค่ะ
    คืนนั้น นอนหลับสบายคงเพราะเหนื่อยมาทั้งวันค่ะ ตีสี่ครึ่งตกใจรีบลุกขึ้นอย่างเร็วเพราะ เห็นพระสงฆ์ท่านนั่งอยู่บนหัวนอนค่ะ เป็นไม้ยกระดับสำหรับพระนั่งน่ะค่ะ เหตุเพราะไปนอนหน้าพระประธานนี่คะ รีบลุกขึ้นจุดเทียนเดินไปอาบน้ำ จิตใจเด็ดเดี่ยวหนาวยังไงก็ต้องอาบก็แค่ชาทั้งตัวแบบเมื่อคืน แต่งตัวเรียบร้อยก็ช่วยกันทำอาหารถวายพระและคณะผ้าป่าที่ไปกว่า 20 คนค่ะ เมื่อทำเสร็จก็ตั้งบนโต๊ะเรียงไว้คล้าย ๆ บุฟเฟ่ต์ น่ะค่ะ (แม่ชีจะทำถวายพระอยู่เป็นปกติแต่คณะก็ได้จัดเตรียมทำเพิ่มเติมเพื่อถวายพระค่ะ) พระจะตักก่อนจากนั้นก็เป็นแม่ชี ตามด้วยคณะฯ ลืมบอกไปว่าคณะฯ ได้ถวายผ้าป่าเรียบร้อยก่อนรับประทานอาหารนะคะ รอบนั้นยอดเงินถวายผ้าป่าประมาณสามแสนกว่าบาทค่ะ ก็อิ่มบุญกันไป
    ครั้งนั้นคณะที่ไปรู้สึกประทับใจมาก ๆ ค่ะ จริง ๆ ช่วงสายทางวัดมีกำหนดนำของใช้และเสื้อผ้าไปบริจาคชาวเขา ซึ่งได้ชวนคณะไปด้วยเพราะพวกเราได้เตรียมข้าวของเครื่องใช้ไปบริจาคด้วย แต่มีกำหนดไปแวะเที่ยวที่อื่นต่อจึงพลาดโอกาสนั้นไปค่ะ นึกแล้วก็เสียดายเหมือนกัน หวังไว้เสมอว่าจะมีโอกาสได้ขึ้นไปอีกครั้งหากมีบุญวาสนาค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2018
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,346
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046

แชร์หน้านี้

Loading...