"พระสังกัจจายน์เนื้อผงว่าน หลวงปู่จาม" จ.มุกดาหาร ปลุกเสก ผลงาน อ.อำพล เจน

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย solopao, 22 กุมภาพันธ์ 2020.

  1. solopao

    solopao เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +1,518
    66599633_354783862111440_3633516996403920896_n.jpg 87366133_246904079634474_8286727926880141312_n.jpg 87096758_522020121776763_1586387531312660480_n.jpg 87094889_555684598371607_1082560233672278016_n.jpg 87071231_204898914227542_6832263597419134976_n.jpg 87128033_248257632862316_6359150714719043584_n.jpg

    พระสังกัจจายน์เนื้อผงว่าน ฉลองพุทธชยันตี
    หลวงปู่จาม จ.มุกดาหาร ปลุกเสก ผลงานอาจารย์อำพล เจน


    (( องค์พระสวยงดงาม เด่นทั้งการออกแบบ
    ศิลปะสวยงาม มวลสารล้วนสุดยอด และยังได้องค์พ่อแม่ครูบาอาจารย์
    พระอริยสงฆ์อีกหลายองค์ เมตตา พุทธาภิเษกให้ด้วยในหลายพิธี))

    #หลวงปู่จาม #พระดีราคาแบ่งปัน #สร้างน้อย #ทรงคุณค่า

    ให้บูชาองค์ละ 400 บาท
    ค่าส่ง ems 50 บาทครับ


    _______________________

    วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง

    1. เพื่อฉลองพุทธชยันตีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    2. เพื่อสมทบทุนสร้างพระอุโบสถวัดหนองสำราญ ต.โนนค้อ
    อ.โนนคูณจ.ศรีสะเกษ ที่ยังไม่แล้วเสร็จ
    3. เพื่อส่งเสริมพระพุทธศาสนาอันเอื้อประโยชน์ต่อชุมชน
    และเป็นการประกาศกิตติคุณศาสนาพุทธทั้งฝ่ายมหายานและหินยาน
    4. เพื่อมอบให้วัดต่างๆที่ยังขาดปัจจัยในการบูรณปฏิสังขรณ์
    นอกเหนือจากวัดหนองสำราญ

    พระเถราจารย์ที่เมตตา ปลุกเสกเดี่ยว

    1.หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม จ.มุกดาหาร
    2.หลวงปู่แสง ญาณวโร วัดป่ามโนรมย์สมประสงค์ จ.อำนาจเจริญ
    3.หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ สุสานทุ่งมน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
    4.หลวงปู่คีย์ วัดศรีลำยอง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
    5.หลวงผาด วัดบ้านกรวด อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์
    6.หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
    7.พระครูเกษมธรรมานุวัตร วัดเกษมสีมา จ.อุบลราชธานี
    8.พระครูประภัสร์เขมาภิรมณ์ วัดเก่าน้อย จ.ร้อยเอ็ด


    พิธีพุทธาภิเษก

    วาระที่ 1
    พระเกจิสายหลวงปู่อ้วน โสภโณ วัดโนนค้อ
    อ.โนนคูณ จ.ศรีสะเกษ จำนวน 15 รูป ณ วัดหนองสำราญ
    วันวิสาขบูชา 2555

    วาระที่ 2
    พิธีวัดป่ามหาวนาราม(วัดป่าใหญ่) จ.อุบลราชธานี 29 กรกฎาคม 2555

    เจตนาในการสร้างดี มวลสารดี ผู้เสกดี พุทธศิลป์งดงาม ดีจริง
    ผลงานอาจารย์อำพล เจน ครับ
    ................................................

    พระสังกัจจายน์พระอสีติมหาสาวก "แห่งโชคลาภ"
    เป็นพระอรหันต์ 1 ใน 80 พระอสีติมหาสาวกในศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้า
    ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร
    พระมหากัจจายนมีอีกชื่อหนึ่งว่า กัจจานะ (หรือกัจจายนะ) ในญี่ปุ่นรู้จักทั่วไป
    ในชื่อ "คะเซ็นเน็น" (Kasennen) ส่วนในประเทศไทยนอกจากชื่อตามภาษาบาลีแล้ว
    ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ "พระสังกัจจายน์" หรือ "พระสังกระจาย"

    พระสังกัจจายน์ มีพุทธลักษณะอ้วน พุงพลุ้ย มีความหมายถึง
    ความอุดมสมบูรณ์ โชคลาภ เป็นหนึ่งในพระสาวกผู้ใหญ่
    จัดอยู่ในเอตทัคคะ ลักษณะของพระสังกัจจายน์ โดดเด่นมองเห็นก็รู้ว่า
    เป็นพุทธสาวกองค์ไหน เมื่อสรุปแล้วจะเห็นว่า พุทธสาวกจำนวน ๘๐ องค์
    พระเอตทัคคะ ๔๑ องค์นั้น มีเพียงพระสังกัจจายน์ เท่านั้นที่สร้างอย่างโดดเด่น
    คติการสร้างพระสังกัจจายน์นิยมการสร้างมาก พระสังกัจจายน์จีน แบบมหายาน
    หินยาน โดยเฉพาะแบบจีน พระสังกัจจายน์จีนนิยมสร้างมากกว่าในเมือง
    โดยมีคติความเชื่อที่ว่า "ผู้ใดบูชาพระสังกัจจายน์ ย่อมเป็นมหามงคลอุดมด้วย
    ลาภ ยศ ความเจริญรุ่งเรืองดีนักแล"

    และเป็นที่โปรดของพระพุทธองค์ยิ่งมีบารมี มีอิทธิฤทธิ์
    ผู้ใดบูชาพระสังกัจจายน์ จึงได้รับพรจากพุทธสาวก
    อันเป็นเอตทัคคะอย่างสมบูรณ์ เมื่อพูดถึงเรื่องโชคลาภแท้ที่จริงแล้ว
    ชาวพุทธเราจำนวนไม่น้อยต่างได้ลาภอันประเสริฐกันทุกคน
    ลาภอันประเสริฐที่ว่าคือ "ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ"
    นั่นเองตามบาลีที่ว่า "อโรคฺยาปรฺมา ลาภา"

    ความเชื่อเรื่องการกราบไหว้พระสังกัจจายน์มีอยู่มาก
    ทั้งในคติแบบพุทธศาสนาและแบบพระอ้วนของชาวจีน
    ซึ่งพระสังกัจจายน์เป็นผู้มีบุญบารมีสูงสุดหากนับตามลำดับชั้น
    เพราะเป็น พระอรหันต์ที่มีรูปร่างอ้วนท้วนสมบูรณ์ ใบหน้ายิ้มแย้ม
    และได้ชื่อว่าเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
    การบูชาพระสังกัจจายน์ เริ่มจากการตั้งจิตอธิษฐานให้ใจเกิดความมั่นคง
    แล้วทำการสวดบูชาพระสังกัจจายน์ด้วยพระคาถาว่า

    ตั้งนะโม 3 จบแล้วกล่าว คำบูชาว่า

    “กัจจานะจะมหาเถโร พุทโธ พุทธานัง พุทธะตัง พุทธัญจะ
    พุทธะสุภา สิตัง พุทธะตังสะมะนุปปัตโต พุทธะโชตัง นะมามิหัง
    ปิโยเทวะ มะนุสสานัง ปิโยพรหม นะมุตตะโม ปิโยนาคะ สุปันนานัง
    ปิยินทะริยัง นะมามิหัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโสชะนา
    อิถีชะนา ราชาภาคินิ จิตตัง อาคัจฉาหิ ปิยังมะมะ ฯ ”

    87258497_600775773803842_5554215882864984064_n.jpg 87171877_1017800881936116_3583565878211379200_n.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...