เรื่องเด่น พระสังฆราช ประทาน 1 ล้าน ช่วยนํ้าท่วม ที่ลุ่มบางจุด ยังมีท่วมขัง

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 29 กันยายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    น้ำท่วมอุบลฯเริ่มคลี่คลาย แม่น้ำมูลลดต่อเนื่อง แต่ยังสูงกว่าตลิ่ง 1.78 เมตร ทำให้ชุมชนที่อยู่ริมน้ำยังทุกข์ ระทมต้องใช้เรือสัญจรเข้าออกบ้าน ขณะที่บางพื้นที่น้ำลดใกล้เข้าสู่ภาวะปกติ ชาวบ้านต่างทยอยเข้าไปทำความสะอาดบ้าน ธารน้ำใจยังหลั่งไหลไปซับน้ำตาหลังน้ำลด สมเด็จพระสังฆราชประทานกัปปิยภัณฑ์ให้กรรมการมหาเถรสมาคมนำไปช่วยผู้ประสบภัย รมต.ประจำสำนักฯมอบเงินค่าทำศพเหยื่อน้ำท่วม 20 รายรวม 4 จังหวัด ด้านกรุงเทพโพลล์เผยผลสำรวจประชาชนให้คะแนนภาครัฐแก้วิกฤติน้ำท่วมเกินครึ่งเฉียดฉิว

    สถานการณ์น้ำท่วม จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 28 ก.ย.ระดับน้ำในแม่น้ำมูลลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยที่สถานีวัดน้ำ M7 สะพานเสรีประชาธิปไตย เทศบาลนครอุบลราชธานี เช้ามืดวันนี้ระดับน้ำอยู่ที่ 113.78 ม.รทก. ลดลงจากวันที่ 27 ก.ย. 21 ซม. แต่ยังสูงกว่าตลิ่ง 1.78 เมตร หลายพื้นที่น้ำยังท่วมสูง โดยเฉพาะชุมชนบ้านหาดสวนสุขและชุมชนบ้านหาดสวนยาที่อยู่ในที่ลุ่มติดริมแม่น้ำมูลในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ การสัญจรไปมายังต้องใช้เรือเข้าออกบ้าน หลายพื้นที่น้ำลดลงแล้ว เจ้าของบ้านทยอยเข้าไปทำความสะอาดบ้านกันบ้างแล้ว และรอวันที่น้ำแห้งสนิทจะได้ย้ายจากศูนย์พักพิงกลับเข้าไปอยู่ในบ้าน

    ที่อาคารหอประชุมโดมใหญ่ วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี อ.เมืองอุบลราชธานี นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผวจ.อุบลราชธานี ร่วมกับนายสมพงษ์ ปรีเปรม ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เปิดกิจกรรม “ทำดีด้วยหัวใจ” การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและมูลนิธินายช่างไทยใจอาสาร่วมจัดคาราวานช่วยเหลือฟื้นฟูหลังน้ำลด เพื่อซ่อมแซมเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านเรือนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยวันนี้ลงพื้นที่บ้านหนองกินเพล อ.วารินชำราบ มีผู้ได้รับผลกระทบประมาณ 200 หลังคาเรือน และวันที่ 29 ก.ย. จะไปที่บ้านท่าเมือง อ.ดอนมดแดง จ.อุบลราชธานี 411 หลังคาเรือน

    นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผวจ.อุบลราชธานี เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้รับรายงานพบผู้เสียชีวิตเด็กนักเรียนสาวขณะยืนถ่ายรูปเซลฟี่ก่อนพลัดตกฝายน้ำล้นห้วยผับ บ้านโนนเกษม ต.ท่าลาด อ.วารินชำราบ เมื่อวันที่ 25 ก.ย.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ช่วยกันค้นหา กระทั่งช่วงค่ำวันที่ 27 ก.ย.พบศพผู้เสียชีวิตคือ ด.ญ.รัชฎา หรือนุ่มนิ่ม ดาญาณ อายุ 14 ปี นับเป็นศพที่ 4 ที่เสียชีวิตจากอุทกภัยครั้งนี้ เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างให้ความช่วยเหลือเยียวยาตามระเบียบราชการต่อไป
    7e0b886e0b8a3e0b8b2e0b88a-e0b89be0b8a3e0b8b0e0b897e0b8b2e0b899-1-e0b8a5e0b989e0b8b2e0b899-e0b88a.jpg

    เช้าวันเดียวกัน นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) เจ้าอาวาสวัดยานนาวา ในฐานะประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์มหาเถรสมาคมลงพื้นที่เยี่ยมผู้ประสบอุทกภัยบริเวณศูนย์พักพิงชั่วคราวถนนหน้าศาลาประชาคม อ.วารินชำราบ พร้อมมอบถุงยังชีพให้ชาวบ้าน 600 ชุด จากนั้นเดินทางไปวัดเสนาวงศ์และวัดหายโศก เพื่อถวายกัปปิยภัณฑ์แก่พระภิกษุสามเณรจำนวน 30 ชุด เสร็จแล้วเดินทางเข้าสู่วิหารพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง วัดมหาวนาราม เพื่อรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์อุทกภัย และการให้ความช่วยเหลือเยียวยาพระสงฆ์สามเณรและประชาชน
    0b886e0b8a3e0b8b2e0b88a-e0b89be0b8a3e0b8b0e0b897e0b8b2e0b899-1-e0b8a5e0b989e0b8b2e0b899-e0b88a-1.jpg

    โอกาสนี้สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานปัจจัยเพื่อฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้ประสบอุทกภัยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยให้จัดกัปปิยภัณฑ์เท่าจำนวน 1 ล้านบาท ประทานแก่คณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ เพื่อนำไปเป็นทุนตั้งต้นสำหรับฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้ประสบอุทกภัยและให้เชิญรับสั่งประทานกำลังใจให้ผู้ประสบภัยมีสรรพกำลังเข้มแข็งเร็ววัน พร้อมกันนี้ นายเทวัญยังมอบเงินช่วยเหลือค่าจัดการศพผู้เสียชีวิตจากสาธารณภัยแก่ญาติผู้เสียชีวิต จ.ยโสธร จ.ศรีสะเกษ จ.อำนาจเจริญ และ จ.อุบลราชธานี รวม 20 ราย จากกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี รวม 1,700,000 บาท

    ที่ จ.ร้อยเอ็ด ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ และ น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ลงพื้นที่ตรวจที่นาบ้านท่าทางเกวียน บ้านท่าโพธิ์ และบ้านท่าเยี่ยม ต.วังหลวง อ.เสลภูมิ หลังพนังกั้นลำน้ำยังขาดทำให้น้ำไหลหลากซัดทรายทับถมที่นาของชาวบ้าน โดยมีนายวันชัย คงเกษม ผวจ.ร้อยเอ็ด พาชาวบ้านเข้าชี้แจงความเดือดร้อนและเรียกร้องให้ทางการช่วยนำทรายออกจากพื้นที่ เพื่อฟื้นฟูที่นากลับมาอยู่ในสภาพเดิม เนื่องจากบริเวณดังกล่าวได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 3 ปีติดต่อกัน ทั้งนี้ รมช.เกษตรฯกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งฟื้นฟูสภาพที่นาคืนภายใน 3 เดือนตามความต้องการของชาวบ้านพร้อมจัดสรรเงินให้ชาวนาโดยตรงไร่ละ 5,000 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่ และยังได้รับเงินเยียวยาตามระยะและตามมาตรการช่วยเหลืออีกรายละ 700 บาท
    0b886e0b8a3e0b8b2e0b88a-e0b89be0b8a3e0b8b0e0b897e0b8b2e0b899-1-e0b8a5e0b989e0b8b2e0b899-e0b88a-2.jpg

    ที่ จ.ปราจีนบุรี นายพิพัฒน์ บุญแสน ปลัดอำเภอศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ลงพื้นที่ตรวจสอบบ้านของนางล้วย พันธกูล อายุ 86 ปี อยู่บ้านเลขที่ 62 หมู่ 2 ต.บ้านทาม อ.ศรีมหาโพธิ หลังได้รับร้องเรียนว่าโครงการสร้างทำเขื่อนริมน้ำตลาดท่าประชุมฝั่งบ้านทามขุดดินใกล้เสาบ้านเพียง 50 ซม. จนดินแตกร้าว เกรงว่าเมื่อน้ำลดตัวบ้านจะทรุดตามลงไป ทำให้ลูกชายที่พิการนอนอยู่ในบ้านช่วยเหลือตัวเองไม่ได้อาจได้รับอันตราย โดยนายพิพัฒน์เผยว่า จากการตรวจสอบพบว่ามีการขุดดินสร้างเขื่อนใกล้บ้านหลังดังกล่าวจริงและพบรอยดินทรุดใกล้เสาบ้านเพียง 50 ซม. เบื้องต้นประสานงานโยธาและผังเมืองจังหวัดปราจีนบุรีส่งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโดยตรงมาหาทางป้องกัน

    กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายสภาพอากาศว่า ช่วงวันที่ 27-29 ก.ย. บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกจะมีฝนบางแห่ง โดยจะมีอากาศเย็นในตอนเช้าในตอนบนของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนช่วงวันที่ 30 ก.ย.-3 ต.ค. บริเวณประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ขอให้ประชาชนพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคใต้ ยังคงระวังอันตรายจากฝนที่ตกสะสม สำหรับประชาชนบริเวณทางตอนบนของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ขอให้ดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง

    ด้านกรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เผยผลสำรวจความคิดเห็น “ถอดบทเรียนวิกฤติน้ำท่วม 62” โดยเก็บข้อมูลจาก 1,189 คนพบว่าภาพรวมประชาชนให้คะแนนการบริหารจัดการของภาครัฐต่อวิกฤติน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเฉลี่ย 5.61 คะแนน จากเต็ม 10 คะแนน โดยให้คะแนนการสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้ประสบภัยในการช่วยเหลือน้ำท่วมมากที่สุด 5.81 คะแนน ขณะที่การจัดสรรงบ การใช้เงินบริจาคที่ได้เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้คะแนนน้อยที่สุด 5.45 คะแนน เมื่อถามว่าเห็นปรากฏการณ์อะไรจากวิกฤติน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ประสบภัย ส่วนใหญ่ร้อยละ 80.7 เห็นว่าสถานการณ์สร้างความสามัคคี การช่วยเหลือกัน การบริจาคของคนในสังคม รองลงมาร้อยละ 63.7 เห็นว่าสถานการณ์สร้างวีรบุรุษ บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ และร้อยละ 20.0 เห็นว่ามีการแสวงหาผลประโยชน์ คอร์รัปชันจากเหตุการณ์น้ำท่วม

    สำหรับปัญหาที่จะเกิดหลังจากน้ำลดในพื้นที่น้ำท่วมพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 69.8 เห็นว่าจะเกิดปัญหาการทำกิน รายได้ของชาวบ้าน รองลงมาร้อยละ 52.6 เห็นว่างบประมาณในการเยียวยาฟื้นฟูไม่เพียงพอ ผู้ประสบภัยต้องกู้เงินเพิ่ม และร้อยละ 50.6 เห็นว่าสินค้าแพงขึ้น มีการโก่งราคาพวกวัสดุก่อสร้าง เมื่อถามว่าภาครัฐควรหามาตรการความพร้อมอย่างไร เพื่อป้องกันน้ำท่วมปีต่อไปจากบทเรียนน้ำท่วมในปีนี้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.7 เห็นว่าเป็นเรื่องการเข้าถึงประชาชนและความรวดเร็วด้านความช่วยเหลือ รองลงมาคือเรื่องการบริหารจัดการน้ำ เตรียมการระบายน้ำคิดเป็นร้อยละ 64.8 และการยกระดับการแจ้งเตือนภัย การรับรู้ให้แก่ประชาชน คิดเป็นร้อยละ 55.7

    ขอบคุณที่มา
    https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/1671048
     

แชร์หน้านี้

Loading...