พุทธวจนะ พระพุทธศาสนามหายาน42บท ตอน ความเป็นภิกษุ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 30 พฤษภาคม 2016.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    พุทธวจนะ พระพุทธศาสนามหายาน42บท ตอน ความเป็นภิกษุ
    บทแปล ธรรมบท 42 บท จากภาษาอังกฤษซึ่งเขียนโดย ศาสตราจารย์ จอร์น โบเฟลด์ (John Blofeld) พระคณาจารย์จีนเย็นบุญมอบให้ผ่านความทรงจำที่ฮ่องกง
    [​IMG]
    พระสูตรพุทธวจนะ42บทนี้ แพร่หลายเลื่องลือมาก ทั้งในโลกตะวันตกและในประเทศจีน เป็นพระสูตรแรกที่มีการแปลสู่ภาษาจีน เมื่อราวพ.ศ.612 พระเจ้าเม่งเต้ แห่งราชวงศ์ฮั่น ทรงสุบินว่าได้เห็น ปฏิมากรทองคำขนาดใหญ่ลอยมาจากสวรรค์ เมื่อมาถึงพระราชวัง ปฏิมากรนั้นก็หยุดแต่ยังคงแกว่งไปมา พระเศียรของปฏิมากรนั้นมีรัศมีสว่างไสว ข้างกายมีพระอาทิตย์และพระจันทร์ พระองค์ก็ตกใจตื่นขึ้น จึงให้อมาตย์โหรา มาพยากรณ์ อมาตย์โหรา กราบทูลว่า เป็นเรื่องมหามงคล พระปฏิมากรนั้นคือ พระพุทธรูปฉายาลักษณ์ของพระพุทธเจ้าในอินเดีย พระเจ้าเม่งเต้เคยได้ยินเรื่องราวของพระพุทธศาสนามาบ้าง ก็ยินดี และได้จัดขบวนราชบุรุษ 18 คน ให้เดินทางไปอินเดียเพื่ออัญเชิญพระพุทธศาสนาเข้ามา เมื่อคณะราชบุรุษกลับมาได้อัญเชิญพระธาตุ, พระไตรปิฎก มาเป็นอันมาก ในครั้งนั้นยังได้อัญเชิญ พระภิกษุ 2 รูปมายังประเทศจีนด้วย คือพระกาศยปมาตงค และพระโคภรณ (หรือที่เรียกว่าธรรมรักษ์) พระเจ้าเม่งเต้ ทรงสร้างวัดชื่อว่า วัดม้าขาว ขึ้น ณ นครลกเอี๋ยง อันเป็นวัดแห่งแรกในประเทศจีน เพื่อประดิษฐาน พระธาตุ พระไตรปิฎก พระสูตรต่างๆ อีกให้พระภิกษุทั้งสองได้จำพรรษา และแปลพระสูตรด้วย (ชื่อวัดม้าขาวเนื่องมาจาก พระเจ้าเม่งเต้ได้แสดงความเคารพนอบน้อมต่อ สิ่งซึ่งคณะราชบุรุษนำมา โดยให้บรรทุกมาบนหลังม้าสีขาวที่จัดว่าดีที่สุด จึงให้ชื่อวัดนั้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าวัดม้าขาว)
    พระพุทธวจนะ 42 บท

    เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ท่านได้ส่องให้เราได้เห็นภาพว่า “การละทิ้งความปรารถนาและการหยุดนิ่ง ในภาวะสงบอย่างแท้จริง คือชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด การคงอยู่ในภาวะนามธรรมอันสมบูรณ์ คือวิธีการเอาชนะวิถีแห่งมารทั้งหลาย” ณ.ที่ วิหารสวนกวาง (เชนตะวันมหาวิหาร) ท่านได้อธิบายถึง หลักธรรมความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ซึ่งสามารถทำให้พราหม์ อาชญาตเกาณ์ฐินย (อัญญโกนฑัญญ)และพวกอีก 4 ท่านบรรลุผลของธรรมวิถีนี้และได้อุทิศตนเป็นสาวก ยังมีพระสงฆ์อีกจำนวนหนึ่งที่ยังมีข้อสงสัยอยู่ และกราบทูลถามพระพุทธเจ้าเพื่อให้คำสอน และวิถีปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาของพวกเขา ด้วยความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ที่จะปฏิบัติ จนถึงกับที่พระพุท ธเจ้าทรงสอนสั่งพวกเขาตัวต่อตัว จนกระทั่งพวกเขาสามารถบรรลุความรู้แจ้งได้สำเร็จ พวกเขาได้ตงลงร่วมมือกันอุทิศตนรับคำสั่งจากพระพุทธเจ้าเพื่อเผยแพร่ธรรมวิถีปฏิบัติอันศักดิ์สิทธิ์นี้

    1 พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า พวกเขาทั้งหลายผู้ซึ่งละทิ้งจากครอบครัว และหันมาใช้ชีวิตแบบภิกขาจาร (ไร้บ้าน,ขอเขากิน) พวกเข้าจะรู้ถึงธรรมชาติในจิตของของตนเป็นอย่างดี และสามารถเข้าถึงสิ่งที่เป็นมูลฐาน ด้วยเหตุนี้ การปลีกตัวจาก (สิ่งปรากฏต่างๆ และบรรลุสู่) การไม่รับรู้ด้วยประสาทสัมผัส จะเรียกว่า “ศรมน”(สมณะ) พวกเขาเหล่านั้นจะปฏิบัติตามศีล 250 ข้อ(สิกขาบทมหายานเพิ่มไปอีกจาก๒๒๗ข้อ) เพื่อเข้าสู่และคงอยู่ในภาวะสงบอย่างแท้จริง หลังจากผ่านการปฏิบัติธรรมทั้ง 4 ขั้นตอนแล้ว พวกเขาจะกลายเป็นพระอรหันต์ ผู้ซึ่งครอบครองพลังที่ทำให้ตนล่องลอยอยู่ในอากาศและพลังในการเปลี่ยนแปลงสภาพได้ ตลอดจนความสามารถในการยึดอายุเป็นระยะเวลายาวนานไม่สิ้นสุด และสามารถอาศัยหรือโยกย้ายไปได้ทุกที่ไม่ว่าจะเป็นโลกสวรรค์หรือโลกมนุษย์ ขั้นที่ต่ำกว่าขั้นพระอรหันต์ คือ อนาคามี ผู้บรรลุขั้นนี้ เมื่อถึงยามบั้นปลายชีวิตจะมีอำนาจทางวิญญาณ เพื่อเข้าสู่สวรรค์ชั้น 19 และบรรลุเป็นพระอรหันต์ สำหรับผู้บรรลุธรรมขั้น สกริทคมิน(สกทาคามี) ผู้ซึ่งจะต้องขึ้นไปอีกก้าวหนึ่ง และต้องเวียนว่ายตายเกิด มากกว่าครั้งหนึ่งก่อนที่จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ ยังมีผู้บรรลุธรรมอีกขั้นหนึ่ง นั่นคือ สโรตา-อปน( โสดาบัน) คนเหล่านี้จะยังไม่สามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ จนกว่าจะผ่านการเวียนว่ายตายเกิดในสัมสารามากกว่า 9 ครั้ง (ตามคัมภีร์ดั้งเดิมของจีน กล่าวว่า 7 ครั้ง ไม่ใช่ 9 ครั้ง) ลงมาอีกขั้นคืออารย ผู้ที่สามารถจะละทิ้งจากความอยากได้ และความปรารถนาของตนได้ เปรียบได้ดังคนที่ไม่มีอนาคตในการใช้ประโยชน์จากกิ่งแขนงอีกต่อไป (กล่าวตาม สำนวนวรรณคดี “ได้ตัดกิ่งแขนงของตนไป” ไม่ใช้มันอีกต่อไป”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 พฤษภาคม 2016

แชร์หน้านี้

Loading...