ภัย ๔ อย่างของผู้ภาวนา (หลวงปู่ชอบ ฐานสโม)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ujae, 9 กุมภาพันธ์ 2007.

  1. ujae

    ujae เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2006
    โพสต์:
    208
    ค่าพลัง:
    +610
    ภัย๔ อย่างของผู้ภาวนา<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    กลางดึกคืนหนึ่งขณะที่หลวงปู่กำลังจำวัดอยู่ ท่านได้สะดุ้งขึ้นอย่างแรง พระ ผู้ปฏิบัติอยู่ใกล้ๆ ต่างรีบจัดหมอนและผ้าห่มถวายท่าน องค์หนึ่งสงสัยจึงกราบเรียนถามท่านว่า ท่านสะดุ้งตื่นด้วยเหตุใด หลวงปู่เลยบอกศิษย์ว่า ดูเมื่อกี้นี้ ไม่เห็นพระมีแต่จระเข้อยู่เต็มกุฏิ ไปดูซิ นอนอยู่ใต้ถุนตัวหนึ่ง นอนอยู่บนเตียงตัวหนึ่ง ตัวใหญ่ๆ นอนอยู่ตรงกลาง ไปดูซิ... ใช่ไหม......<O:p</O:p
    พระเณรรีบไปดู ก็จริงดังท่านว่า......! <O:p</O:p
    กล่าวคือ แทนที่จะเห็นภาพพระเณร ศิษย์ของท่านกำลังนั่งภาวนาอย่างเอาเป็นเอาตาย ให้สมกับที่ปวารณาตัวถวายเป็นศิษย์พระกรรมฐาน แต่กลับมีพระเณรนอนอยู่ใต้ถุน.... บนเตียง..... องค์ใหญ่นั้นนอนตรงกลาง......<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ไม่น่าประหลาดใจที่ทำไมบรรดาศิษย์จึงเกรงกลัวท่านกันนัก ท่านไม่ต้องลุกเดินไปตรวจตราดูใคร ท่านเป็นอัมพาต นอนอยู่กับที่ แตท่านก็ทราบได้ดี่วา ศิษย์คนไหนภาวนาหรือไม่<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ผู้ไม่ภาวนา ท่านเห็นเป็นภาพจระเข้นอนกลิ้งเกลือกกองกิเลสอยู่.....!
    <O:p</O:p</O:p
    หลวงปู่เตือนเสมอถึงภัย ๔ อย่างของพระกรรมฐาน ท่านสอนให้ศิษย์ของท่านควรระวัง.... ระวังเหมือนถ้าเฮาจะลงไปในฮ้วงน้ำข้ามโอฆสงสารก็ต้องระวังภัย ๔ อย่างคือ คลื่น หนึ่ง จระเข้ หนึ่ง วังน้ำวน หนึ่ง ....และ ปลาร้าย อีกหนึ่ง
    <O:p</O:p</O:p
    ท่านบอกศิษย์ให้ระวัง ทั้งคลื่น ทั้งจระเข้ ทั้งวังน้ำวน และปลาร้าย
    <O:p</O:p
    ความดื้อดึงไม่อดทนเชื่อฟังต่อโอวาทที่ครูบาอาจารย์พร่ำสอนแนะนำเปรียบด้วยภัย คือ คลื่น<O:p</O:p
    ความเห็นแกปากแก่ท้อง เห็นแก่หลับแก่นอน ไม่บำเพ็ญเพียรเปรียบด้วยกับจระเข้<O:p</O:p
    กามคุณ ๕ อย่าง .... รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เปรียบด้วยภัย คือ วังน้ำวน ใครหลงติดกามคุณทั้ง ๕ นี้ก็จะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กุมภาพันธ์ 2007
  2. ujae

    ujae เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2006
    โพสต์:
    208
    ค่าพลัง:
    +610
    อุปมาเปรียบชีวิตมนุษย์ ๗ ประการ

    อุปมาเปรียบชีวิตมนุษย์ ๗ ประการ<O:p</O:p

    <O:p</O:p

    ชีวิตของมนุษย์ เมื่อเกิดมาแล้ว ก็ย่อมต้องตาย เหมือนสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก เมื่อมีการเกิดแล้ว ก็ย่อมมีการตายติดตามมาเป็นของคู่กัน ธรรมชาติของสิ่งทั้งหลาย คือ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป การตายจึงเป็นสภาพที่ใครๆ ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ ในปฏิจจสมุปบาท พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า สาเหตุหรือปัจจัยแห่งการเกิด คือ อวิชชา และปัจจัยให้เกิดการตายก็คือ การเกิดนั่นเอง เพราะการเกิดเป็นบทเริ่มต้นแห่งชีวิต และในเวลาเดียวกัน การเกิดก็นำไปสู่ความตาย โดยผ่านความแก่ ความเจ็บ ซึ่งเป็นปัจจยาการปรากฏต่อเนื่องกันไปโดยไม่ขาดตอนของชีวิต<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในอังคุตรนิกาย ท่านได้อุปมาเปรียบชีวิตมนุษย์ไว้ ๗ ประการ ซึ่งแสดงให้เห็นความจริงของชีวิต ที่จะต้องเกิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 กุมภาพันธ์ 2007
  3. ujae

    ujae เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2006
    โพสต์:
    208
    ค่าพลัง:
    +610
    โอวาทพระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ
    วัดเจติยาคีรีวิหาร อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย

    <O:p</O:p
    อย่าพากันไว้ใจในชีวิตของตน ชีวิตเป็นของไม่เที่ยงไม่แน่นอน วันนี้เรามีชีวิตอยู่ หายใจอยู่ วันหลังมาชีวิตจะเป็นจั๋งใด๋ ดีหรือไม่ ชีวิตของเรานั้นวันหลังจะเป็นอย่างไร ในพรรษานี้ พวกเราทั้งหลายเชื่อหรือชีวิตเราจะตลอดพรรษา เพราะความตายเป็นของไม่มีกาลเวลา จิตมันจะตายเวลาไหนก็ไม่รู้เพราะชีวิตเป็นของไม่เที่ยง สุดแท้แต่มันจะเป็นไป เมื่อเรามีชีวิตอยู่อย่าพากันประมาท จงพากันรีบบำเพ็ญความดี ให้เกิดให้มีขึ้นในดวงจิต ความคิดของเรา



    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    โอวาทหลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต<O:p</O:p
    วัดอุดมคงคาคีรีเขต อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เป็นครูสอนคนอื่นก็ดีอยู่ หากสอนตัวเองด้วยก็จะดีมากขึ้น เราตรวจคะแนนให้คนอื่น ข้อนี้ถูก ข้อนั้นผิด เราเคยตรวจดูตัวเองบ้างหรือเปล่า วันเวลาผ่านไปตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน คะแนนฝ่ายดีกับคะแนนฝ่ายชั่วนั้น ข้างไหนมันมากน้อยกว่ากัน กลับไปตรวจตัวเองเด้อ<O:p</O:p
    ศิลมีมากหลายข้อ ไม่ต้องรักษาหมดทุกข้อดอก รักษาแต่ใจของเจ้าให้ดีอย่างเดียว กาย วาจา ก็จะดีไปด้วยกันนั่นแหละ<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 พฤษภาคม 2007

แชร์หน้านี้

Loading...