ภาวนา... สามัญวิถีแห่งความบันเทิง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Kamen rider, 7 พฤษภาคม 2005.

  1. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    ภาวนา... สามัญวิถีแห่งความบันเทิง



    [​IMG]"ภาวนา...สามัญวิถีแห่งความเบิกบาน ครั้งที่ ๒ สร้างความรักฉันพี่น้อง ร่วมเดินทางดั่งสายน้ำเดียวกัน" ที่จัดขึ้น ณ ช่อชะมวง รีสอร์ท จ.นครนายก โดยมีคณะนักบวชที่เดินทางจากประเทศเวียดนาม ประกอบด้วย ภิกษุณีนิรามิสา ภิกษุณีสิกขากัลยา และ สิกขมานาสนกัลยา ใช้แนวปฏิบัติธรรมของหมู่บ้านพลัม หรือวัดพลัม ที่เป็นชุมชนแห่งการภาวนาในฝรั่งเศส ที่นำโดย ท่านติช นัท ฮันห์ พระภิกษุชาวเวียดนาม ผู้สร้างชื่อจนโด่งดังในโลกตะวันตก นั่นเอง

    ท่านติช นัท ฮันห์ เป็นผู้มีชื่อเสียงในฐานะนักเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพต่อต้านสงครามเวียดนาม ท่านถูกห้ามกลับเข้าประเทศหลังจากไปปาฐกถาธรรมที่สหรัฐอเมริกา เมื่อปี ๑๙๖๖ ทั้งจากฝ่ายเวียดนามที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ และ คอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือ

    โดยท่านได้ลี้ภัยไปอยู่ฝรั่งเศส และธุดงค์ไปยังสหรัฐบ่อยครั้ง ท่านมีส่วนช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ในการต่อต้านสงครามเวียดนาม และเป็นผู้นำคณะสงฆ์ไปปาฐกถาสันติภาพที่กรุงปารีส ในปี ๑๙๖๙ ภายหลังสงครามเวียดนาม และท่านนัท ฮันห์ ได้กลายเป็นที่นับถือในฐานะอาจารย์ผู้สอนปฏิบัติสมาธิ และเป็นบุคคลที่รู้จักอย่างกว้างขวางในทางพุทธศาสนา รองจากองค์ทะไล ลามะ

    ขณะเดียวกัน ท่านยังเป็นผู้สร้างวัดสามแห่งในสหรัฐ และอีกหนึ่งแห่งที่ฝรั่งเศส รวมทั้งได้สอนพุทธศาสนิกชนทางปฏิบัติตามแนวทางของท่าน คือ การเชื่อมโยงในพุทธศาสนา ซึ่งเน้นไปในทางปฏิบัติสมาธิ สันติภาพ และความเป็นธรรมในสังคม นอกจากนี้ หนังสือของท่านที่ออกมาในทศวรรษที่ ๑๙๘๐ ก็ขายได้กว่า ๑.๕ ล้านเล่ม

    [​IMG]สำหรับแนวทางการปฏิบัติของหมู่บ้านพลัม ภิกษุณีนิรามิสา บอกว่า เป็นการนำ สติ ที่เป็นพลังแห่งความตระหนักรู้ และรู้สึกตัวทั่วพร้อมในปัจจุบัน เป็นการเฝ้ามองอย่างลึกซึ้ง ในทุกขณะของชีวิตประจำวัน การดำรงสติเป็นการดำรงชีวิตอยู่อย่างแท้จริง ดำรงอยู่กับปัจจุบัน รวมทั้งกับสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ เราสามารถโน้มนำกายและจิตให้ผสานสอดคล้อง ในขณะที่เราล้างจาน ขับรถ หรืออาบน้ำยามเช้า

    ในหมู่บ้านพลัมนี้ ได้ร่วมทำกิจวัตรต่างๆ เหมือนกับทุกคนที่อยู่กับบ้าน เช่น เดิน นั่ง ทำงาน รับประทานอาหาร เป็นต้น แต่ที่นี่เรียนรู้ที่จะทำกิจวัตรต่างๆ ด้วยลมหายใจแห่งสติ ด้วยการตระหนักรู้ในทุกขณะ เป็นการฝึกสติทุกๆ ขณะตลอดทั้งวัน และไม่เพียงแต่ในห้องปฏิบัติเท่านั้น แต่ยังปฏิบัติในครัว ในห้องน้ำ ในห้องพัก และระหว่างเดิน สิ่งที่อยากเน้นย้ำ ก็คือ เรื่องของการหายใจ

    เนื่องจากการหายใจถือเป็นพื้นฐานของชีวิต ที่เราสัมผัสได้ถึงลมหายใจเข้าออกที่กระทบกับจมูก เราสัมผัสได้ถึงความอ่อนเบาอย่างเป็นธรรมชาติของลมหายใจ ความสงบปีติจากการกำหนดลมหายใจ ไม่ว่าจะกำลังเดิน กำลังทำสวน หรือกำลังพิมพ์ดีด เราอาจท่องจำว่า หายใจเข้า ฉันรู้ว่าฉันหายเข้า หายใจออก ฉันรู้ว่าหายใจออก โดยเราไม่จำเป็นต้องไปบังคับลมหายใจ ด้วยการตระหนักรู้ของเรา ลมหายใจก็จะช้าลงและลึกขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ การตระหนักรู้ลมหายใจเข้าออกอย่างมีสติเป็นกุญแจดอกสำคัญสู่การประสานกายและจิตให้เป็นหนึ่งเดียวกัน และนำมาซึ่งพลังแห่งสติในทุกๆ ขณะของชีวิต

    [​IMG]"จะสังเกตได้ว่าผู้ที่เข้าร่วมปฏิบัติธรรมในครั้งนี้ จะได้ยินเสียงของระฆัง โดยทุกคนเมื่อไรที่เรายินเสียงระฆังแห่งการสติดังขึ้น ทุกคนจะต้องหยุดการสนทนาและทุกสิ่งที่ทำอยู่ทั้งหมด เพื่อที่จะกลับมาสู่ลมหายใจ และฟื้นฟูความสงบและสันติของเรา ตรงนี้จะทำให้เราทำงานมีความเบิกบานมากยิ่งขึ้น เราสามารถปลดปล่อยความเครียดที่สะสมอยู่ในร่างกายและใจของเราออกมา และกลับมาสู่สภาวะแห่งความสงบเย็นได้" ภิกษุณีนิรามิสา กล่าว

    อย่างไรก็ตาม "คม ชัด ลึก" ได้สอบถามความรู้สึกของชาวต่างชาติที่ผ่านการปฏิบัติธรรมในครั้งนี้ เช่น นาง Terry Jezeph ชาวไอซ์แลนด์ อายุ ๕๗ ปี กล่าวว่า นี่ถือเป็นครั้งแรกที่ได้มาร่วมปฏิบัติธรรมในประเทศไทย แต่มีความสนใจเรื่องศาสนาพุทธประมาณ ๒ ปีที่แล้ว โดยมีกลุ่มเพื่อนที่ชื่อ ดาแนล เป็นกลุ่มที่ศึกษาเกี่ยวกับศาสนาพุทธให้กับชาวฝรั่งได้มาศึกษาศาสนาพุทธร่วมกัน

    หากย้อนกลับไปชีวิตตั้งแต่เป็นเด็กก็จะนับถือศาสนาคาทอลิก มาวันนี้เวลาผ่านไปอายุเริ่มมากขึ้น ตนเองมีความรู้สึกว่าศาสนาพุทธได้สอนให้ความเป็นจริงของชีวิตมากกว่า เป็นการสอนที่ให้คำตอบความเป็นตัวตนของความเป็นมนุษย์ได้ชัดเจนกว่า ซึ่งการเข้ามาสนใจในความเป็นศาสนาพุทธก็เป็นเหมือนกับปรัชญาการใช้ชีวิต การเดินทางมาปฏิบัติธรรมในครั้งนี้มันทำให้เข้าใจในเรื่องของการเจริญสติหรือการฝึกสติมีมากขึ้นกว่าเดิม เป็นการเตือนสติให้เราอยู่กับปัจจุบัน

    "การมาปฏิบัติธรรมในวันนี้ ตอนแรกเข้าใจว่ามันจะลำบากกว่านี้ แต่ว่าการจัดปฏิบัติในรีสอร์ท ก็รู้สึกว่ามันดีกว่าที่คิดทุกอย่างสะดวกสบาย แต่ในเรื่องของคำสอนที่ได้ในวันนี้มันก็ทำให้ได้คิดหลายมุมมองของชีวิต ที่มีการอธิบายถึงพุทธธรรมได้อย่างตรงไปตรงมา ที่ออกมาจากพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน เพราะก่อนหน้านี้คนเราชอบอยู่กับอดีตและอนาคต แต่ไม่ค่อยที่จะอยู่กับปัจจุบันจริงๆ โดยไม่ต้องไปวิตกกังวลกับอดีตที่ไม่ดี หรือกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง" ภิกษุณีนิรามิสา กล่าว

    ในขณะที่ นาง Helen Hencke ชาวนอร์เวย์ กล่าวเสริมว่า ได้มาปฏิบัติธรรมครั้งนี้เป็นครั้งแรก เนื่องจากมีเพื่อนเป็นคนไทยชื่ออ้อย ได้แนะนำให้มาลองปฏิบัติธรรมในวันนี้ โดยก่อนหน้านี้มีความสนใจในคำสอนของศาสนาพุทธมานานแล้ว แต่ไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่าวันนี้ได้เป็นชาวพุทธร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะยังไม่เคยรับศีล ๕ หรือศีล ๘ ตามที่ชาวพุทธปฏิบัติกัน

    "มาปฏิบัติธรรมวันนี้แม้จะรู้สึกเหนื่อยกับการที่จะต้องรู้เรื่องธรรมะผ่านการแปลจากล่าม แต่ก็คิดว่าการมาปฏิบัติธรรมครั้งนี้ เราก็ได้อะไรไปเยอะพอสมควร เพราะก่อนที่จะมาเข้าร่วมปฏิบัติธรรมก็ได้ปฏิบัติธรรมหัดเจริญสติอยู่บ้างแล้ว โดยอ่านหนังสือธรรมของพระอาจารย์ชา สุภัทโท พระคุณเจ้าติช นัท ฮันห์ พระภิกษุชาวเวียดนาม และจากพระอาจารย์ราม ในประเทศอังกฤษ" 0 เรื่อง สุทธิคุณ กองทอง 0
    0 ภาพ พีระรัตน์ ธรรมจง 0
     

แชร์หน้านี้

Loading...