มลเหตุที่หลวงปู่หลุยสร้างวัดถ้ำผาบิ้ง

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 4 มกราคม 2008.

แท็ก: แก้ไข
  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    พรรษาที่ ๔๓ – ๔๔ พ.ศ. ๒๕๑๐ – ๒๕๑๕ สร้างวัดถ้ำผาบิ้ง
    จำพรรษา ถ้ำผาบิ้ง บ้านนาแก ต.ผาบิ้ง อ. วังสะพุง จ. เลย
    [​IMG]

    เมื่อเสร็จจากงานบุญที่วัดต่าง ๆ ในเขตจังหวัดบ้านเกิดของท่าน ที่ขอร้องให้หลวงปู่ไปเป็นประธาน และช่วยในการเทศนาโน้มน้าวให้มหาชนสนใจการทำบุญ ทาน การกุศลแล้ว ใกล้จะถึงเวลาเข้าพรรษาของปี ๒๕๑๐ ท่านก็คิดหาสถานที่ซึ่งจะ “หยุดยั้ง” อยู่กับที่บ้าง ท่านเคยอยู่องค์เดียวไปองค์เดียวมาโดยตลอด จนภายหลังจากปี ๒๕๐๐ จึงได้มีเณรดูแลบ้าง เช่น ระหว่างที่อยู่บนเขา แต่ถ้าหากเป็นการทำความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ที่จะต้องแบกกลดขึ้นเขาไปเช่นนี้ บางทีท่านก็ไปองค์เดียวโดยไม่รอพระหรือเณรเลย
    <TABLE id=table17 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    ปากถ้ำผาบิ้ง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ปี ๒๕๑๐ ท่านได้กลับไปจำพรรษาที่ถ้ำผาบิ้ง บ้านนาแก ตำบลผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เป็นการเริ่มของเวลาจำพรรษาที่ยาวนานที่สุดในชีวิตของท่าน กล่าวคือ ท่านได้อยู่จำพรรษา ณ ถ้ำผาบิ้งนี้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ไปจนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นเวลาถึง ๖ พรรษาติดต่อกัน นามถ้ำผาบิ้งปรากฏในสมุดบันทึกของหลวงปู่เท่าที่ค้นได้เป็นครั้งแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ซึ่งท่านได้บันทึกไว้ว่า
    “อยู่ถ้ำผาบิ้งวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๔๘๑ ทำจิตสงัดเงียบมาก วิถีจิตวิปัสสนาสุขุม กลัวแต่ทีแรก ต่อไปไม่กลัว ปฏิภาคเกิดมาก จิตเกิดความรู้แปลก ๆ สถานที่ไม่เป็นมงคลเท่าไร สู้ถ้ำโพนงามไม่ได้ วิถีจิตเดินไปตามลำดับ ไม่ขอบบังคับจิต ไปตามสายกลางรู้ตามความเป็นจริง'
    ท่านบันทึกไว้อีกแห่งหนึ่งในวันเดียวกัน แสดงว่าท่าน ประทับใจ ในถ้ำผาบิ้งมาก
    “ทำจิตสงัดเงียบมาก วิถีจิตสุขุม กลัวแต่ทีแรก แล้วไม่กลัว ปฏิภาคเกิดมาก จิตตามรู้แปลก ๆ ถ้ำโพนงามที่ ๑ ถ้ำผาบิ้งที่ ๒ ถ้ำผาปู่ที่ ๓”
    หมายความว่า ในการไปทำความพากความเพียรระหว่างนั้น ท่านถือว่า ถ้ำโพนงามเป็นที่ ๑ อยู่ แต่ถ้ำผาบิ้งนั้นเป็นที่ ๒ ซึ่งอย่างไรก็ตาม ยังดีกว่าถ้ำผาปู่ซึ่งเป็นที่ ๓....! ปี ๒๔๘๑ นั้น ท่านอยู่ที่ถ้ำผาบิ้งแห่งเดียว ถึง ๗-๘ เดือน จนกระทั่งจะเข้าพรรษา และถึงปี ๒๔๘๒ ท่านก็ได้กลับไปอีก ท่านได้วนเวียนกลับไปวิเวกที่ถ้ำผาบิ้งอีกนับครั้งไม่ถ้วน นับจากเวลาที่ได้พบความอัศจรรย์ที่ถ้ำผาบิ้งนั้น จนกระทั่งถึงวันย้อนกลับมาเข้าพรรษาครั้งนี้ เป็นเวลาถึง ๓๐ ปีเต็ม
    ท่านเล่าว่า ที่ถ้ำผาบิ้งเป็นที่พระอรหันต์ในสมัยพุทธกาล คือ ท่านพระอุบาลีเหาะมาด้วยบุญฤทธิ์มานิพพานที่นี่ และท่านพระอาจารย์มั่นก็เคยมาจำพรรษา ณ ที่นี้เหมือนกัน สำหรับท่านผู้เป็นศิษย์รุ่นพี่ของหลวงปู่ที่มาเที่ยวธุดงค์ที่นี้นั้น ตามที่ปรากฏชื่อก็คือ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หลวงปู่กล่าวว่า ถ้ำผาบิ้งเป็นสถานที่เป็นมงคลอย่างยิ่งนอกจากเป็นที่นิพพานของพระอรหันต์แล้ว ยังมีเทพรักษาสถานที่อย่างดี ระหว่างภาวนาจะได้กลิ่นดอกไม้หอมอยู่บ่อย ๆ เป็นการนอบน้อมบูชาของรุกขเทพที่ดูแลสถานที่
    <TABLE id=table19 width=194 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    ระยะแรกที่หลวงปู่มาวิเวกที่ถ้ำผาบิ้ง ท่านจะใช้เพิงนี้ บริเวณในถ้ำ เป็นที่พัก ปากรู้ถ้ำทางขวาเป็นรูพญานาค วันดีคืนดีจะมีเสียงร้องคำรามมาจากภายในรูถ้ำนี้

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    การกลับมาพักที่ถ้ำผาบิ้งอีกในครั้งนี้ ท่านได้มาบูรณะตั้งเป็นวัด ด้วยความอนุเคราะห์ของท่านเจ้าคุณมหาศรีจันทร์ แห่งวัดเลยหลง (เจ้าคณะจังหวัดเลย) ในสมุดบันทึกได้มีข้อความกล่าวถึงการที่จะริเริ่มทำการก่อสร้างว่า
    “ถ้ำผาบิ้งเจ้าคณะอำเภอจะริเริ่มทำการก่อสร้างแต่ พ.ศ. ๒๕๑๐ เป็นต้นไป เพื่อความถาวร เพื่อความมั่นคงเพื่อความรุ่งเรืองบูชาอุทิศไว้ในพระพุทธศาสนา เพื่อนำคณะอุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ให้เป็นมหากุศลอันไพศาล สืบบุตรลูก บุตรหลาน บุตรเหลน เป็นประวัติการณ์ต่อไปในอนาคต”
    “เวลานี้ถ้ำผาบิ้งที่ได้ก่อสร้างขึ้นแล้ว เป็นศาลาก็ดี เป็นกุฎีก็ดี เป็นวัตถุชั่วคราวมุงด้วยหญ้าแฝกเป็นกำมะลอ ที่พักอาศัยยังไม่ถาวรตามที่ท่านทั้งหลายได้พากันทัศนาการเห็นแล้ว”
    “ถ้ำผาบิ้งจะมีการทำบุญประจำปีทุกปี เพื่อสะสมเงินทอง การก่อสร้างขยับขยายไปทีละเล็กละน้อย ให้นึกดู คณะอุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย พากันบริจาคปัจจัยก่อสร้างปีละเล็กละน้อยตามความสามารถ ของพวกเราทั้งหลาย เรียกว่า พวกเราพุทธบริษัท แสวงหาเงินมาด้วยปลีแข้งทำการก่อสร้างไว้ในศาสนา”
    “สถานที่ถ้ำผาบิ้งเป็นสถานที่ตั้งแห่งภูเขาเอกเทศลูกหนึ่งต่างหาก ไม่ติดต่อกับเขาลกอื่น ๆ มีถ้ำอยู่ทางทิศตะวันออกกบทางทิศตะวันตกตรงกัน เป็นสถานที่ติดต่อกับทุ่งนา อากาศดีบริสุทธิ์ มีลมพัดมาชำระสิ่งโสโครกในถ้ำและภูเขาให้สะอาด ปราศจากเชื้อโรค และมีบ่อน้ำใกล้ชิดเป็นที่อาศัยอุปโภคบริโภคได้สะดวก ทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน ฤดูหนาว ไม่ให้ขัดข้องด้วยน้ำ ไม่กันดารน้ำเหมือนถ้ำผาปู่ ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย วัดถ้ำผาบิ้งห่างไกลจากหมู่บ้านนาอ้อ และนาแก ๕๐๐ คันธนูบ้านอื่น ๆ ก็ไม่ไกลนัก เข่น บ้านกกเกี้ยง บ้านนาเหล่า เป็นต้น และไม่ห่างไกลจากอำเภอวังสะพุงทางรถยนต์ไปมาได้สะดวกในฤดูแล้ง ศาสนิกขนมาร่วมกินร่วมทานได้สะดวก ไม่ขัดข้องด้วยประการใด”
    “ถ้ำผาบิ้งเป็นสถานที่บรรพบุรุษของพวกเราเหล่าพุทธบริษัทได้นับถือกันสืบ ๆมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ว่า เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ถึงฤดูเทศกาลปีใหม่มา ท่านพุทธศาสนิกชน พุทธบริษัท เฒ่าแก่ หนุ่มสาวตลอดพระภิกษุสงฆ์ ได้พากันมานมัสการพระพุทธรูปและรอยพระพุทธบาทซึ่งประดิษฐาน ณ ถ้ำผาบิ้งทุก ๆ ปี เพื่ออายุ วรรณะ สุขะ พละ และขอฟ้าขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล นี้ก็นับว่าถ้ำผาบิ้งเป็นสถานที่อันอัศจรรย์ที่ศักดิ์สิทธิ์ อำนวยความต้องการของมนุษย์ได้”
    “ระยะต่อนี้ ขอเชิญชวนท่านศาสนิกชน พุทธบริษัททั้งหลายพากันก่อสร้างให้เป็นวัตถุถาวรมั่นคง ดำรงไว้ในพระพุทธศาสนาถึงกึ่งพุทธกาลต่อไปในอนาคตข้างหน้า เพื่อสืบบุตรลูก บุตรหลาน บุตรเหลนของพวกเราทั้งหลาย พากันฝากฝังอริยทรัพย์ไว้ในพุทธศาสนา ที่ไม่ฉิบหายด้วยโจรภัย อัคคีภัย อุทกภัย ราชภัยใด ๆ เป็นที่สืบประวัติการณ์ไปข้างหน้า
    อนึ่งพระโยคาวจรเจ้าทั้งหลาย พระภิกษุสามเณรที่ทรงเพศในศาสนาท่านเหล่านั้นรักใคร่รักษาธุดงค์ เดินตามทางพระอริยเจ้าที่สืบ ๆ กันมาแต่กาลก่อน พากันมาเที่ยววิเวกเจริญสมณธรรม มาพักพาอาศัยที่ร่มที่เย็น ณ ถ้ำผาบิ้ง ที่เราได้ก่อสร้างไว้แล้ว ขอให้ท่านทั้งหลายพุทธบริษัทคณะอุบาสก อุบาสิกา พึงพิจารณา พึงดำริ พึงสนใจ พึงตริตรองที่พวกท่านทั้งหลายพากันก่อสร้างไว้แล้ว อันเป็นบุญมหากุศลไพศาล อนึ่งบุญกุศลอันนี้จะพาพวกเราเหล่าพุทธบริษัทไปสู่สุคติโลกสวรรค์ นำมาซึ่งความสุขอันเลิศ กายก็เลิศ วาจาก็เลิศ น้ำใจก็เลิศ เลิศตลอดทั้งที่นั่งนอน ยืน เดิน เครื่องอุปโภค บริโภค เป็นของที่เลิศ ๆ ทั้งนั้น ถ้าเป็นเช่นนี้ เป็นเหตุให้พวกเราปลื้มอกปลื้มใจต่อสมบัติอันเลิศในกิจที่พวกเราทำบูชาไว้แล้ว”

    <TABLE id=table18 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    กุฏิไม้ไผ่ ผ่าแล้วทุบแบนเป็นฟาก

    ท่านจำพรรษาที่กุฏินี้

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    นอกจากที่ท่านบันทึกถึงการเชิญชวนให้มาร่วมกันก่อสร้างถ้ำผาบิ้ง ซึ่งขณะเริ่มแรกนั้น ศาลา กุฏิ ที่สร้างคงยังมีสภาพ “กำมะลอ” อย่างที่ท่านกล่าวไว้คือ เป็นวัตถุชั่วคราว หลังคามุงหญ้าแฝก ท่านได้บันทึกเกี่ยวกับการเจริญสมณธรรมที่ถ้ำผาบิ้งไว้อีกหลายแห่ง เช่น
    “ทำความเพียรเจริญสมณธรรม ณ ถ้ำผาบิ้ง ไม่มีวันจืดจาง จิตปลื้มใจดูดดื่มเรื่อยๆ เพราะสถานที่เป็นมงคล สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่พระอริยเจ้านิพพาน”
    “ภายในจิตตัดลงไปเรื่องอริยสัจอย่างเดียว ไตรลักษณ์ลบนิมิตทั้งหลาย เพราะนิมิตและสังขารเป็นตัวมาร กำลังวิปัสสนารู้เท่าถึงการ เมื่อรู้จริงแล้วจิตไม่กำเริบด้วยประการต่าง ๆ จิตปกติ จิตบริสุทธิ์ ตั้งอยู่ด้วยอมตธรรม เพิ่งเจริญธรรมได้ ณ ถ้ำผาบิ้งนี้ ที่ไม่ประกอบด้วยความฝันเพราะจิตไม่ถือสังขารนิมิตใด ๆ เป็นตัวมารของจิต”
    ความตอนนี้ท่านบันทึกต่อท้ายไว้ว่า “ตุลาคม ๒๕๑๑” แสดงว่า ท่านบันทึกในระยะนั้น
    “เดินบิณฑบาตมีสติทั้งไปและทั้งกลับ ภาวนาเรื่อย ๆ ดีกว่าอยู่แห่งอื่นทั้งหมด”
    การบิณฑบาตในขณะปี ๒๕๑๐ กว่านั้นเป็นอย่างไร มีพระซึ่งระหว่างนั้นยังเป็นเณรอยู่ด้วย ท่านเล่าว่า ยังคงต้องเก็บใบมะขามมาตำ ผสมกับน้ำปลาร้าต้มถวายให้ฉันอยู่แทบทุกวัน เพราะไม่มีจริง ๆ....! แต่ท่านก็คงมิได้สนใจกับอาหารว่าขาดแคลนอย่างไร ท่านสนใจแต่ สติ และจิตที่ดูดดื่ม กับการภาวนามากกว่า
    “การภาวนาเป็นเครื่องจูงใจในอารมณ์ที่คุ้นเคยในกัมมัฎฐาน กระดูกและลมหายใจเป็นคู่กัน มีสมาธิเป็นบาทหน้า มีปัญญาเกิดทีหลัง คอยแก้คอยไข ส่วนร่างกายให้เห็นไตรลักษณ์ของขันธ์แปรปรวนอยู่เสมอ ลมฟืดออกถอนพิษตัณหาอาสวกิเลส พิจารณากระดูกให้เห็นแยกออกจากกันเป็นส่วน ๆ ด้วยญาณทัสนะ ด้วยความจริงใจในสังขารทั้งปวงให้เห็น ใจหดมาตั้งอยู่อมตธรรม ให้เดินอารมณ์ทั้ง๒ อย่างนี้เป็นนิจ”
    ท่านบันทึกย่อ ๆ ไว้ตอนท้ายข้อความว่า “ถ้ำผาบิ้ง เดือน ๘. พ.ศ. ๒๕๑๐.”
    ระหว่างที่อยู่ถ้ำผาบิ้ง ได้มีพวกที่นครเวียงจันทน์มานิมนต์พระเถระผู้ใหญ่ของฝ่ายไทยไปทำบุญ ได้ความว่า พยายามนิมนต์ ๑๐ องค์ มี หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่หลุย จันทะสาโร หลวงปู่ชามา อจุตโต หลวงปูอ่อน ญาณสิริ หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม เป็นต้น ความจริงเขานิมนต์ หลวงปู่ขาว อนาลโย ด้วย แต่ท่านมอบให้ท่านพระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต เดินทางไปแทน
    เรื่องนี้ได้เรียนถามท่านผู้ที่เกี่ยวข้องในการนิมนต์ที่เวียงจันทน์ เเละผู้นิมนต์ได้เล่าให้ฟังว่า ในการเดินทางไปเมื่อปี ๒๕๑๓ ก็ได้นิมนต์ท่านไปแล้ว ให้ไปพักอยู่ที่ วัดจอมไตร ที่เวียงจันทน์ ที่ดงนาซ๊อก เป็นเวลา ๒ อาทิตย์ หลังจากที่ทางเวียงจันทน์นิมนต์แล้ว มีคนไทยท่านหนึ่งซึ่งระหว่างนั้นกำลังทำงานอยู่ในองค์การระหว่างประเทศที่เวียงจันทน์ ทราบข่าวก็มาขอนิมนต์ท่านและคณะไปทำบุญบ้าน เธอเล่าว่า หลวงปู่ชอบ หลวงปู่หลุย หลวงปู่ชามา หลวงปู่บุญมา หลวงปู่อ่อน ท่านอาจารย์บุญเพ็ง ก็รับนิมนต์มา เมื่อมาถึงบ้าน เธอได้รู้สึกประทับใจอย่างมากหลายประการ โดยเฉพาะเมื่อหลวงปู่ชอบมาถึง หลวงปู่หลุยซึ่งมาถึงก่อน ก็มาช่วยล้างเท้าให้ และเช็ดเท้าให้หลวงปู่ชอบเอง ท่านบอกว่า หลวงปู่ชอบคุณธรรมสูงกว่า ท่านต้องขอปรนนิบิต หลังจากการถวายจังหันแล้วก็ได้ตามไปที่วัด เธอก็ได้ลองเรียนถามว่า ได้ยินข่าวว่า พระคุณเจ้าเหล่านี้ทรงคุณธรรมอันล้ำเลิศ อยากจะทราบว่า ถ้าเผื่อท่านแผ่เมตตามาถึงเรา เราจะได้รับกระแสแห่งเมตตานั้นหรือไม่ เผอิญเธอก็เป็นคนที่ช่างเจรจาสักหน่อย จึงกล่าวต่อไปเป็นเชิงตัดพ้อว่า หลวงปู่มีลูกศิษย์มากจะแผ่เมตตามาถึงได้อย่างไร จะต้องเจือจานคนมากมาย จะมาถึงได้ครบทุกคนกระนั้นหรือ หลวงปู่หลุยเป็นผู้ตอบว่า “ถึงซิ เมตตาต้องมาถึงแน่” แต่หลวงปู่ชอบนั้นยิ้ม ไม่ได้ตอบว่ากระไร
    เธอเล่าว่า ในคืนนั้น เธอและสามีก็เข้าห้องพระภาวนา ต่างคนต่างเข้าที่ภาวนา จุดธูปเทียนบูชาพระแล้ว นั่ง สมาธิต่อไปไม่นานก็ได้กลิ่นหอมดอกไม้ป่าตลบเต็มไปทั้งห้อง หอมจนทนไม่ได้ ต้องออกปากถามกัน ได้ความว่า ทั้งสามีและภรรยาต่างได้กลิ่นหอมเหมือนกัน กลิ่นอธิบายไม่ถูกเช่นกัน รุ่งขึ้น พอไปกราบที่วัดจอมไตร เธอก็ต่อว่าว่า ไหนว่าจะแผ่เมตตามาให้ลูกหลาน ไม่เห็นได้รับ ไม่เห็นมาหาเลย หลวงปู่หลุยเป็นองค์ที่ตอบแทนว่า ทำไมจะไม่ไป ไปแล้ว ถามว่า “ไปอย่างไร ไม่เห็นองค์มา ไม่เห็นตัว หลวงปู่นั่งอยู่เฉย ๆ แล้วบอกว่าไป ใครจะเชื่อ”
    ท่านก็ยิ้ม แล้วตอบว่า “ก็ไปแล้วนะซิ ไปด้วยกลิ่น หลวงปู่ชอบก็ไป ไม่ได้กลิ่นหรือ หอมกลิ่นศีลของท่าน” ได้ยินเช่นนั้น เธอและสามีก็ต่างมองตากันด้วยความอัศจรรย์ใจ เพราะการที่ได้กลิ่นดอกไม้ป่าหอมเต็มห้องนั้น ไม่ได้เคยพูดกับใคร นอกจากรำพึงกันระหว่างสองสามีภรรยา ก่อนจะไปกราบท่าน ท่านก็กลับตอบเช่นนี้ และตั้งแต่วันนั้นมา เธอก็ได้กลิ่นหอมตลอดมา และทราบว่า ถ้าเป็นหลวงปู่หลุยจะหอมกลิ่นหนึ่ง ท่านหลวงปู่ชอบจะหอมอีกกลิ่นหนึ่ง
    เวลาท่านอบรม ท่านก็แนะบอกให้รักษาศีล ๘ เมื่อบอกว่าทำไม่ได้ ทำราชการไม่มีวันเวลาที่จะดูแเลตนเพื่อรักษาศีล ๘ ให้บริสุทธิ์ได้ หลวงปู่หลุยท่านก็บอกว่า ถ้าอย่างนั้น รักษาศีลอุโบสถเฉพาะวันพระก็แล้วกัน
    วันหนึ่งอยู่เวียงจันทน์ไปเที่ยว วันนั้นไม่ได้เป็นวันที่รักษาศีล แต่กลับหอมดอกไม้ หอมชื่นใจไปหมด รู้ว่าเป็นดอกไม้ที่ไม่มีขายในท้องตลาด เพียงนึกถึงท่านก็ได้กลิ่นดอกไม้ เมื่อเล่าว่า กลิ่นในครั้งก่อน ๆ นั้นเป็นกลิ่นดอกไม้สด แต่เดี๋ยวนี้ดูจะปนกลิ่นกระแจะด้วย ระยะนั้นหลวงปู่ชอบยังไม่อาพาธ ท่านเทศน์ให้ฟังอยู่ด้วย จำได้ว่า เทศน์ที่ท่านเทศน์ให้ฟังนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับให้ทุกคนทำจิตให้สงบ ท่านเทศน์อยู่เป็นเวลาถึง ๑๕ นาที แล้วก็สรุปว่า “ความสุขจะเท่ากับจิตสงบเป็นไม่มี เอวํ”ง่าย ๆ เช่นนี้ ในระยะที่พักอยู่ที่เวียงจันทน์ นอกจากท่านจะพักกันที่วัดจอมไตรแล้ว ก็พักที่นาคำน้อย แต่ก็มีการนิมนต์ไปภาวนาที่ถ้ำผาพร้าวด้วย เธอว่าเธอรู้สึกประหลาดอยู่อย่างหนึ่งเกี่ยวกับหลวงปู่ทุกองค์ โดยเฉพาะวันนั้นจวนจะถึงกำหนดกลับแล้ว เพราะท่านได้มาพักอยู่หลายอาทิตย์ จึงไปกราบหลวงปู่ชอบ เรียนถามว่าจะกลับเมืองไทยอย่างไร ท่านบอกว่า กลับเครื่องบิน สามีของเธอที่เป็นผู้กราบเรียนถามก็งงว่าจะกลับอย่างไร เพราะถ้าจะกลับโดยเครื่องบิน จะต้องเดินทางไปขึ้นเครื่องบินที่เวียงจันทน์ซึ่งห่างจากที่หลวงปู่และคณะกำลังพำนักอยู่มาก เป็นร้อยกว่ากิโลเมตร ก็ในเมื่อตำบลที่คณะท่านพักอยู่นั้น อยู่ตรงข้ามกับฝั่งไทยพอดี เพียงข้ามแม่น้ำโขงก็จะถึงเมืองไทย การเดินทางกลับทางเรือดูจะเป็นการสะดวกที่สุด อีกประการหนึ่ง ถึงจะไปเวียงจันทน์แต่เครื่องบินไม่มีทุกวัน ตั๋วเครื่องบินก็ยังไม่ได้จอง จะทำอย่างไร เมื่อท่านบอกว่ากลับเครื่องบิน จึงคิดว่าไม่มีทางจะทำได้
    แต่จะอย่างไรก็ตาม เมื่อถึงเวลา ปรากฏว่ามีผู้นำเสนอจะนำเครื่องบินมาส่งให้ เป็นเครื่องบินของทางราชการ ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาใด ตกลงพระ ๙ องค์ ก็ขึ้นเครื่องบินมา สามีของเธอได้ติดตามมาดูแลท่านมาในเครื่องบินลำนั้นด้วย ขณะที่นั่งอยู่ในเครื่องบิน ได้กราบเรียนหลวงปู่ชอบว่า อยากจะขอของดีไว้ให้พวกที่เขามาส่งนี้ด้วย เช่น พวกนักบินและเจ้าหน้าที่ประจำเครื่องบินได้มีไว้คุ้มครองตัว เพราะต้องปฏิบัติงานเสี่ยงอันตรายตลอดเวลา ท่านก็ยิ้ม ๆ แล้วก็ล้วงลงไปในย่าม ซึ่งย่ามนั้นมองเหมือนไม่มีอะไร แต่ท่านหยิบออกมาทีไร ก็มีพระให้ทุกที ได้ครบกันทุกคนทั้ง ๖- ๗ คน สามีของเธอเป็นคนสุดท้าย ก็คิดอยู่ในใจว่าเราจะขอไอ้งั่งเถอะ “ไอ้งั่ง” นี้เป็นพระที่ทางประเทศลาวยกย่องกันมากว่าศักดิ์สิทธื์ ช่วยในด้านแคล้วคลาด ก็นึกขออยู่ในใจในสิ่งที่เขาคิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะเวลาที่เฝ้าดูนั้นออกสงสัยเป็นกำลังว่า หลวงปู่ชอบหยิบอะไรออกจากย่าม พระแต่ละองค์ที่แต่ละคนได้ไม่เหมือนกัน และขนาดก็ไม่ใช่เล็กน้อย ทำไมจึงมีได้ทุกครั้ง จึงแกล้งนึกว่า ขอไอ้งั่งเถอะ แต่น่าประหลาด หลวงปู่ชอบท่านก็ควักออกมาจากย่าม แล้วก็ได้พระ งั่ง จริง ๆ
    เรื่องนี้แม้จะเป็นการแสดงเรื่องพระเรื่องเครื่องราง แต่ก็แสดงว่าท่านมีจิตบริสุทธิ์ สามารถทำสิ่งใด ๆ ได้เสมอ เพียงแต่ท่านไม่พูดไม่แสดงเท่านั้น
    เธอกล่าวว่า อย่างไรก็ดี สิ่งที่เห็นได้ชัดคือความอ่อนน้อมถ่อมองค์ของหลวงปู่หลุย ระยะนั้นท่านพรรษา ๔๐ กว่า และอายุก็มากถึง ๖๘ พรรษาแล้ว คุณธรรมของท่านเองก็มีอย่างเหลือล้นแล้ว ประดุจน้ำเต็มแก้วเต็มฝั่งแล้ว แต่ท่านก็ยังคุกเข่าล้างเท้าให้หลวงปู่ชอบ และเช็ดเท้าให้อย่างนอบน้อมถ่อมตน เป็นบุคลิกประจำองค์ของท่านโดยแท้
    ถ้าจะนำบันทึกธรรมที่หลวงปู่บันทึกไว้ระหว่างที่อยู่จำพรรษามาลงพิมพ์ในประวัติคงจะยืดบาวมากมาย และความจริงก็ได้รวบรวมไปไว้ในภาค “ธารแห่งธรรม”แล้ว เฉพาะครั้งนี้จะขอนำบันทึกอันหนึ่ง ซึ่งท่านจดไว้ตอนที่อยู่ถ้ำผาบิ้ง ซึ่งแสดงถึงอารมณ์ขันของท่านอย่างยิ่ง เป็นบันทึกที่ท่านคงจะอ่านพบจากหนังสือพิมพ์ และเห็นความน่าขัน ท่านจึงจดลงในสมุดบันทึกของท่าน และเมื่อสิ้นกระแสความจากหนังสือพิมพ์ท่านก็แสดงเป็นธรรมะต่อไปเป็น
    “เบื่ออะไรไม่เท่าเบื่อเมีย เบื่อกับข้าว เลิกกินกลับอยากอีก เบื่อดูหนัง เลิกชั่วคราวกลับชอบดูอีก เมียไม่ใช่วัตถุเช่นนั้น เบื่อแล้วจะเปลี่ยนก็ยาก จะขายก็ไม่ได้ จะเก็บไว้ก็ไม่สนิท จะให้คนอื่นเสียก็ไม่ถนัด จะทิ้งก็ไม่รู้ว่าจะทิ้งที่ไหน เบื่อแล้วยังต้องเห็นต้องพบ เข้าใกล้ก็ยิ่งเบื่อ ต้องเป็นเช่นนั้น นี้แหละ ความเบื่อถึงอุกฤษฎ์ ความเบื่อเกิดจากความซ้ำซากจำเจ แก้เบื่อด้วยวิธี หยุด ย้ายที่ หรือพัก หรือเปลี่ยน จะแก้เบื่อพอแล้ว จิตเสมอ ๆ แล้วก็พออยู่ โบราณท่านว่า หนามปักเอาหนามบ่ง เมื่อเบื่อเกิดจากความช้ำซาก หนักเข้าก็ชาจนชิน การเบื่อมีขึ้นแล้ว ความเบื่อก็หมด ธรรมดาผู้ชายทั้งหมดต้องเบื่อเมีย ส่วนผู้หญิงเป็นเจ้าของผู้ชายต้องทนความเบื่อ ไม่มีความรู้สึกชนิดใดอีกแล้ว ที่มีฤทธิ์รุนแรงเท่ากับความรู้สึกเบื่อเมีย จำเป็นจำใจต้องอดทนไป เบื่อแล้วกลับชอบ เช่นนักเรียนคนหนึ่ง เบื่ออาหารที่เธอกิน ยิ่งกินช้ำซากบ่อยด้วยการจำเป็นจนชิน ต่อไปเธอกลับชอบ เมื่อเธอมีครอบครัวแล้ว เธอก็แต่งอาหารชนิดนั้น กินบ่อย ๆ อัตตกิลมถานุโยค กามสุขัลลิกานุโยค เป็นคู่กัน ชังแล้วกลับรัก รักแล้วกลับชัง เพราะไม่เที่ยงปุถุชนมีอารมณ์วนเวียนอยู่กับอารมณ์เท่านั้น วางความรัก ความชังไม่ได้ เหมือนพระอริยเจ้าทั้งหลายเพราะเหตุไม่รู้เท่าสังขาร ผัวเมียวนเวียนนอนนำกันอยู่เรื่อย ๆ”
    ปี ๒๕๑๕ ปีสุดท้ายที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่นี่ เป็นปีที่ท่านได้รับกฐินจากคณะศรัทธาจากกรุงเทพฯ นำโดย พล.อ.อ.โพยม เย็นสุดใจ และ คุณหญิงสมควร เย็นสุดใจ ซึ่งท่านเล่าว่า สมัยที่เข้าไปนั้น เป็นครั้งแรกที่มีคณะกฐินใหญ่โตไปถึง ทางเข้าก็ยังไม่มี ต้องใช้รถเกรดนำหน้า ชาวบ้านใกล้บริเวณวัดดีอกดีใจมากที่ได้มีศรัทธามาจากกรุงเทพฯ ดูเหมือนจะเป็นกฐินที่ได้เงินสูงสุดสำหรับระยะนั้น คือ ๑๕๐,๐๐๐.- บาท จากนั้นพอถึงสิ้นปี ๒๕๑๕ ท่านก็ได้จากถ้ำผาบิ้งมาโปรดประชาชนทางภาคอื่นต่อไป แต่ท่านก็ได้ให้ความเมตตาอุปถัมภ์ บำรุงวัดถ้ำผาบิ้งเสมอมามิได้ขาด หลวงปู่เป็นประดุจพญาช้างที่พอใจซอกซอนซ่อนตัวอยู่ในป่าลึก ไม่ค่อยยอมออกมาพบความศรีวิไลของบ้านเมือง จนล่วงเข้าสู่ปัจฉิมวัยอายุกว่า ๗๐ ปี ท่านจึงยอมรับนิมนต์เข้ามากรุงเทพฯ บ้าง
    ที่มา http://www.dharma-gateway.com/monk-hist-index-page.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...