มีความสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติสติปัฏฐาน4 แนวหลวงพ่อจรัญเบื้ิองต้นครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย numbernine, 15 กรกฎาคม 2017.

  1. numbernine

    numbernine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    76
    ค่าพลัง:
    +285
    ก่อนหน้านี้ผมปฏิบัติอานาปาฯ จิตจับอยู่กับลมหายใจ ตอนนี้มีความสนใจจะทำวิปัสนากรรมฐานโดยการทำสติปัฏฐาน4 ตามแนวทางพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญครับ ด้วยการศึกษาในหนังสือและยูทูป แต่ยังมีข้อสงสัยดังนี้ ขอความเมตตาผู้รู้ทุกท่านด้วยครับ
    1.การกำหนดสภาวะที่เกิดขึ้นต้องจับลมหายด้วยหรือไม่ครับ อย่างเช่น กำหนดยืนหนอ ต้องกำหนดให้สอดคล้องกับลมหายใจไหม หรือการกำหนดยุบหนอ-พองหนอ เราต้องจับอาการเคลื่อนไหวของท้องอย่างเดียวหรือต้องจับลมหายใจด้วย
    2.การกำหนดเวทนาที่เกิดขึ้น อย่างเช่นปวดหนอ จิตเราต้องจับอยู่ที่อาการปวดจนกว่าจะหายโดยไม่ต้องสนใจลมหายใจหรือไม่ครับ
    3.ถ้าเราไม่มีอาจารย์หรือผู้รู้ช่วยสอบอารมณ์เราสามารถมีความก้าวหน้าของการฝึกได้หรือไม่ครับ
    4.การปฏิบัติระหว่างวัน ก่อนหน้านี้ที่ฝึกพุทโธ ผมยังเอาการจับลมหายใจมาใช้ในระหว่างทำกิจวัตรประจำวันได้บ้าง แต่พอจะปฏิบัติสติปัฏฐาน4 สภาวะต่างๆมันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมากมายเหลือเกินในขณะต้องเคลื่อนไหวร่างกาย หรือการรับรู้ของอายตนะทั้งหลายมากจนไม่รู้จะกำหนดยังไง เราสามารถใช้สติปัฏฐาน4 กับชีวิตประจำวันได้หรือไม่ครับ

    กราบขอบพระคุณทุกท่านอย่างสูงครับ
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ขึ้น สติปัฏฐาน หมวดจิตตานุปัสสนา เข้ามาเลย ครับ

    ไม่ยาก

    เวลาที่เหน ช่วงชีวิตา ขณะนั้น ไร้การประกอบสติปัฏฐาน ก้รู้ไปตรงๆ ว่า ขณะนั้น จิตไม่มี
    การประกอบสติปัฏฐาน

    พอจังหวะไหน ระลึกขึ้นได้ว่า ห่างการปฏิบัติ ก้รู้

    จิตระลึกเพียรจะประกอบ ก้รู้

    เนี่ยะ จิตตานุปัสสนา

    ไม่ใช่ไปทำอะไรให้มันเที่ยง ช้าๆ ยืดๆ ชัดๆ

    จะเหนเลยว่า คำว่า ว่างเว้นการปฏิบัติ เปนอุปทาน

    แท้จริงแล้ว จิตตั้งมั่น ไม่ต้องอาสัยปัจจัย มีอยู่

    อาสัยการปรากฏของโลก นั่นแหละ จึงเหน
    ธรรมพ้นปัจจัยการ มีอยู่

    ว่างจากการงาน ก้ค่อยว่ากัน กรรมฐานสี่สิบ
    ที่โลกเขาบัญญัติ สรรเสริญ
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    การพัฒนา

    กิเลสของตน เปนไปไม่ได้เลย ที่ ครูใดๆในโลก
    จะเข้ามาก้าวก่าย อ้างว่ารู้เหน

    การสอบอารมณ์ การเหนกิเลส คุณเท่านั้น
    จะพึงรู้เองได้ ไม่ใช่ปฏิบัติแทบตาย ไปให้คน
    อื่นมารับรองการมี หรือไม่มีกิเลส
     
  4. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562

    1.การกำหนดสภาวะที่เกิดขึ้นต้องจับลมหายด้วยหรือไม่ครับ อย่างเช่น กำหนดยืนหนอ ต้องกำหนดให้สอดคล้องกับลมหายใจไหม หรือการกำหนดยุบหนอ-พองหนอ เราต้องจับอาการเคลื่อนไหวของท้องอย่างเดียวหรือต้องจับลมหายใจด้วย
    2.การกำหนดเวทนาที่เกิดขึ้น อย่างเช่นปวดหนอ จิตเราต้องจับอยู่ที่อาการปวดจนกว่าจะหายโดยไม่ต้องสนใจลมหายใจหรือไม่ครับ
    3.ถ้าเราไม่มีอาจารย์หรือผู้รู้ช่วยสอบอารมณ์เราสามารถมีความก้าวหน้าของการฝึกได้หรือไม่ครับ
    4.การปฏิบัติระหว่างวัน ก่อนหน้านี้ที่ฝึกพุทโธ ผมยังเอาการจับลมหายใจมาใช้ในระหว่างทำกิจวัตรประจำวันได้บ้าง แต่พอจะปฏิบัติสติปัฏฐาน4 สภาวะต่างๆมันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมากมายเหลือเกินในขณะต้องเคลื่อนไหวร่างกาย หรือการรับรู้ของอายตนะทั้งหลายมากจนไม่รู้จะกำหนดยังไง เราสามารถใช้สติปัฏฐาน4 กับชีวิตประจำวันได้หรือไม่ครับ


    ขอตอบหน่อยและกัน
    1. กำหนดยืน ให้กำหนดอาการยืนอย่างเดียว ไม่ต้องสนลมหายใจ กำหนดยุบพองก็เช่นกัน จับแค่อาการเคลื่อนไหวของหน้าท้องพอครับ
    2. ทำเหมือนข้อ 1 ไม่ต้องสนลม
    3. มีอาจารย์สอน มีย่อมดีกว่าอยู่แล้ว เรียกว่า บุคคลสัปปายะ ทั้งนี้ขึ้นกับตัวผู้ฝึก
    และความสนใจด้วย
    4. อาการไหนที่เกิดแรงหรือเด่นสุดให้กำหนดตรงนั้นก่อน เช่นเรากำลังโกรธ ก็กำหนดความโกรธหรือตอนนี้ง่วงมาก กำหนดความง่วง จนหายง่วง แค่นี้ก้เรียก
    ว่าใช้การเจริญสติฯในชีวิตประจำวันแล้ว หลักง่ายๆ การกำหนดอารมณ์ มีดีใจ
    เสียใจ และ เฉยๆ เมื่อเจอสามอย่างนี้ ก็เลือกกำหนดให้ทัน แต่ถ้าไม่ถนัดวิธีนี้ก็ให้ทำใจกลางๆ ในอารมณ์3อย่างที่ว่า แล้วหน่วงด้วยคำว่า "พุทโธ" นี่ก็เป็นการกำหนดจิตเช่นกัน
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493


    ถาม 1.การกำหนดสภาวะที่เกิดขึ้นต้องจับลมหายด้วยหรือไม่ครับ อย่างเช่น กำหนดยืนหนอ ต้องกำหนดให้สอดคล้องกับลมหายใจไหม หรือการกำหนดยุบหนอ-พองหนอ เราต้องจับอาการเคลื่อนไหวของท้องอย่างเดียวหรือต้องจับลมหายใจด้วย


    ตอบ 1. ยืน ก็นึกสำรวจอาการยืนของร่างกาย (รูป) ซึ่งยืนอยู่ ไม่ใช่ดูลมหายใจ ดูลมหายใจก็ไม่ต้องนึกถึงการยืน เป็นต้น

    ทำนองเดียวกันกำหนดตามอาการพอง-ยุบ ก็ตามดูรู้ทันพองกับยุบ แต่ละขณะๆไป ไม่ใช่ดูลมหายใจ ตามดูรู้ลมหายใจเข้า-ออก ก็ไม่ใช่ดูพองดูยุบ


    ถาม 2.การกำหนดเวทนาที่เกิดขึ้น อย่างเช่นปวดหนอ จิตเราต้องจับอยู่ที่อาการปวดจนกว่าจะหายโดยไม่ต้องสนใจลมหายใจหรือไม่ครับ


    ตอบ 2. เมื่อกำลังกำหนดอาการพอง-ยุบ แล้วรู้สึกยังไงแทรกเข้ามา เช่น ทุกขเวทนา สุขเวทนา เป็นต้น ก็วางพอง-ยุบก่อน ไปกำหนดความรู้สึกสุขทุกข์นั่น เบื้องต้น ไม่ต้องรอให้หาย เช่น รู้สึกปวด ให้ว่าในใจ ปวดหนอๆๆๆ สามสี่ครั้ง มันไม่หายก็ปล่อยไป มากำหนดพอง-ยุบต่อ แต่เมื่อมันทุกข์มากปวดมาก จิตไปจับความรู้สึกนั้น ก็ให้ปวดหนอๆๆๆๆ สามสี่ครั้ง ก็ดึงความคิดกลับมากำหนดพอง-ยุบใหม่


    ถาม 3.ถ้าเราไม่มีอาจารย์หรือผู้รู้ช่วยสอบอารมณ์เราสามารถมีความก้าวหน้าของการฝึกได้หรือไม่ครับ


    ตอบ 3. ได้ครับ เบื้องต้น ผู้สอบอารมณ์เป็นเสมือนหนึ่งผู้ชี้แนะการทำการปฏิบัติของเราให้เดินถูกทาง ต่อเมื่อเรารู้เข้าใจแนวทางวิธีปฏิบัติแล้ว เราเองสอบอารมณ์ตัวเองได้


    ถาม 4. การปฏิบัติระหว่างวัน ก่อนหน้านี้ที่ฝึกพุทโธ ผมยังเอาการจับลมหายใจมาใช้ในระหว่างทำกิจวัตรประจำวันได้บ้าง แต่พอจะปฏิบัติสติปัฏฐาน4 สภาวะต่างๆมันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมากมายเหลือเกินในขณะต้องเคลื่อนไหวร่างกาย หรือการรับรู้ของอายตนะทั้งหลายมากจนไม่รู้จะกำหนดยังไง เราสามารถใช้สติปัฏฐาน4 กับชีวิตประจำวันได้หรือไม่ครับ


    ตอบ 4. เอาภาพใหญ่ภาพชัด ได้ครับ ขณะเราทำงานทำกิจวัตรประจำวัน ก็ตั้งจิตตั้งใจอยู่กับงานอยู่กับสิ่งที่ทำ ณ ขณะนั้นๆ ตย. เช่น กำลังเขียนหนังสือ ก็อยู่กับการเขียนนั่น เขียนเสร็จจะวางปากกา ก็ให้จิตอยู่กับวางปากกาลง วางปากแล้วจะลุกไปเข้าห้องน้ำ ก็ให้ดูรู้ทันอาการที่ลุกขึ้น แล้วเดินไปๆ เปิด/ปิดประตูก็รู้ตัว ทำกิจส่วนตัว ก็รู้สึกตัว ฯลฯ จะไปทำอะไรอีกก็ควบคุมจิตใจให้อยู่กับสิ่งนั้นล่ะ ไม่ใช่เขียนหนังสือแล้วไปอยู่ลมหายใจ ไม่ใช่ๆ ถ้าอย่างนี้หลุดจากปัจจุบันอารมณ์ ตกอดีตแล้ว


    ศึกษาลิงค์นี้ประกอบความเข้าใจด้วย

    http://palungjit.org/threads/สัมมาสติ-สติปัฏฐาน-๔.614188/

    http://palungjit.org/threads/วิปัสสนา-สติต้องตามทันขณะปัจจุบัน.614094/
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ถาม 3. ถ้าเราไม่มีอาจารย์หรือผู้รู้ช่วยสอบอารมณ์เราสามารถมีความก้าวหน้าของการฝึกได้หรือไม่ครับ

    ข้อ 3 ตอบไปแล้ว แต่เสริมอีกหน่อย คือผู้สอบอารมณ์กรรมฐานก็ดี ผู้แนะนำผู้ศรัทธาให้ปฏิบัติก็ดี ตนเองควรมีประสบการณ์ภาคปฏิบัติทางจิตผ่านมาแล้ว จึงจะเข้าใจอารมณ์กรรมฐานอารมณ์ผู้ปฏิบัติกรรมฐานนั่น ถ้าได้ผู้สอบอารมณ์หรือผู้แนะนำแบบงงงง ก็จะเหมือนผู้ตั้งกระทู้นี้

    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2010/10/Y9785609/Y9785609.html

    ทีแรกเกิดปัญหาทางรูปหรือร่างกาย แต่แก้ไขให้เธอไม่ได้ เค้าจึงลองผิดลองถูกเอาเอง สุดท้ายต้องพึ่งจิตแพทย์
     
  7. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,430
    ค่าพลัง:
    +35,010
    ทริคในทางปฏิบัติอยู่ตรงนี้นะครับ
    ''จะพิจารณาอะไร ก็ปล่อยให้จิตว่างรับรู้อยู่ภายในอย่างนั้น''

    ถามว่า จะเอาอะไรไปเป็นตัวที่จะรู้กิริยาของจิต
    เอาอะไรไปรู้กิริยาของความคิดที่เกิดจากจิต
    เอาอะไรไปรู้กิริยาของความคิดที่ผุดขึ้นมาอย่าง
    ไม่ได้ตั้งใจหรือขันธ์ ๕ ฝ่ายธรรม ซึ่งเป็นอารมย์ครับ...
    มันคือสติทางธรรมที่ได้จาก
    การเจริญสติในชีวิตประจำวันด้วยวิธีอะไรก็ได้
    ขอให้มีฐานอยู่กายครับ...มันจะทำให้เรามี
    ความเข้าใจทางด้านนามธรรมได้ในเบื้องต้นครับ

    เจริญสติจนจิตเห็น ๓ ส่วนที่กล่าวข้างต้นให้ได้ก่อนอย่างชัดเจน
    หรือแยกรูปแยกนามให้ได้ก่อนนะครับ
    ค่อยๆเป็นค่อยๆไปครับ
    เราถึงจะเห็นกิริยาต่างๆตรงนี้ได้
    เราถึงจะรู้ว่า กิริยาแบบไหนที่ยังมีตัวเราเข้าไปปรุ่งร่วมอยู่ครับ
    ถ้าทราบตรงนี้ ถึงจะเข้าถึงสภาวะที่จิตเป็นกลางได้ก่อนครับ
    และจากกำลังสมาธิเล็กๆน้อย ที่จะได้จากการเจริญสติ
    ในชีวิตประจำวันเรา เริ่มจากสภาวะจิตที่เป็นกลาง
    และสมาธิตรงนี้ จะส่งเสริมให้สามารถพิจารณา
    ในสภาวะที่จิตว่างรับรู้อยู่ภายในได้เองครับ
    และต้องรู้จักวางอารมย์เรื่องพิจารณาไว้ก่อนด้วยนะครับ

    อาศัยองค์ประกอบอย่างที่เล่าให้ฟังมาข้างต้นก่อนครับ
    ไม่งั้น จะยังไม่ใช่สติปัฎฐานครับ เพราะว่า
    เราจะไม่รู้ว่า ตัวจิตมันยังยกตัวมันเอง(คือเอาความคิด
    ต่างๆจากสัญญาความจำได้ในจิตขึ้นมาพิจารณาตัวเอง
    อยู่ครับ)
    ซึ่งกิริยาอย่างนี้ ไม่ว่าจะผ่านไปกี่สิบปีก็ตาม
    มันจะยังไม่ส่งผลต่อการพัฒนาจิตเราครับ
    ปล.ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ดู ตย.นี้หลายๆ มุมหลายๆด้าน

    แฟนเป็นคนที่เสเพลมาก กินเหล้า แบบว่าไม่ได้เรื่องน่ะค่ะ

    แต่มีหมอดูหลายท่านทักว่าถ้าแฟนได้ศึกษาธรรมะอย่างจริงจังจะบวชไม่สึกตลอดชีวิต
    ตอนแรกดิฉันคบกับแฟนก็ไม่ทราบหรอกนะคะว่ามีหมอดูเคยทักไว้กับพ่อแม่แฟน

    ดิฉันเป็นคนชอบทำบุญทำทาน นั่งสมาธิและสวดมนต์ แฟน ก็ทำตามดิฉันเพราะดิฉันบังคับแรกๆเมื่อไม่กี่วันนี้พาแฟนไปนั่งสมาธิมา (แบบยุบหนอพองหนอ) แค่ไม่กี่ชั่วโมง แฟนดิฉันก็ผิดปกติไปค่ะ

    เค้าตื่นมาจากสมาธิ เค้าถามดิฉันว่า รู้สึกถึงลมหายใจที่ชัดเห็นเค้ารู้สึกว่าส่วนท้องเค้ามันยุบลงไปแค่ไหนอย่างไรเวลาหายใจเข้าออก เวลาเดินจงกรม เค้ารู้สึกถึงเท้าที่ย่ำลงพื้นว่าส่วนไหนที่กระทบพื้นชัดเจน

    เค้าถามดิฉันว่ามันคืออะไร ดิฉันได้แต่นั่ง ไม่เคยเป็นแบบนี้เลยค่ะ

    กลับมาจากวัดเค้าพูดว่า เค้าสดชื่น จับพวงมาลัยรถรู้ว่า มือเค้าจับพวงมาลัย รู้สึกชัดเจนมากๆ มีสติ
    เค้าบอกเค้าเข้าใจถึงคำว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานว่ามันมีจริงๆ เหมือนคนใส่เเว่นมัวๆมาแล้วเช็ดจนมันใสชัดเจน

    เค้าพูดแต่เรื่องนั่งสมาธิ กลับมาเค้าไม่ดื่มเหล้า สวดมนต์ นั่งสมาธิ ยิ้ม ใจเย็นและดูจะอิ่มบุญมากมาหลายวันแล้วค่ะ

    ดิฉันดีใจค่ะที่เค้าเป็นแบบนี้ เค้าบอกเค้ากลัวที่ไปสูบบุหรี่ หรือ กินเหล้าอีกความรู้สึกแบบนี้จะหายไป เค้ากำลังเข้าถึงสมาธิใช่ไหมคะ ดิฉันจะพาเค้าไปนั่งบ่อยๆเค้าจะได้เป็นคนดี

    ดิฉันอยากนั่งได้แบบเค้าจังเลยค่ะ ทำมาตั้งนานก็ยังไม่เป็นเหมือนเค้า เค้านั่งแป๊บเดียวเองไม่เคยสนใจเรื่องนี้ด้วย

    มันน่าน้อยใจนัก!!
     
  9. numbernine

    numbernine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    76
    ค่าพลัง:
    +285
    ขอบพระคุณในคำแนะนำของทุกท่านมากครับ ผมจะพยายามปฏิบัตินะครับ
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ให้ดูอีกด้านหนึ่ง

    ขณะสวดมนต์แล้วได้เอนตัวลงนอนอย่างมีสติ...ได้บริกรรมพอง กับ ยุบ ไปเรื่อย ๆ ไม่ได้คิดอะไร...จนหลับไปไม่รู้ตัว...ระยะหนึ่ง...จิตได้เกิดกลางดึก คือ มีสติรู้ขึ้นมาทันทีของการพองยุบของท้อง และรู้สึกว่ามีนิ้วมือมากดที่สะดือแรงมาก เวลาที่พองออก ท้องก็จะพองออกมาก มือที่กดก็จะแรงไปตามการพองและยุบ จนรู้สึกกลัวมากเหมือนไส้จะหลุดออกมา.. แต่ผมก็พยายามดึงสติให้อยู่กับคำบริกรรมพองยุบอีก แต่พยายามแล้วจิตก็ทนไม่ได้ จิตสั่นไปหมดเหมือนท้องจะแตก จิตคิดตอนนั้นครับ
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    310cd2902ab455ac4b91125e051481b6.jpg
    เมื่อแบสติปัฏฐาน ๔ ดู

    - กายานุปัสสนา
    - เวทนานุปัสสนา
    - จิตตานุปปัสสนา
    - ธัมมานุปัสสนา

    วิธีปฏิบัติแบบใช้อาการพอง กับ อาการยุบของท้องเป็นฐานกำหนดนั้น เข้าหลักหมด อานาปานสติก็เข้า (ท้องพอง ท้องยุบก็คืออาการจากลมเข้า ลมออก) ทั้งเข้าหลัก สติปัฏฐานข้อแรกกายานุปัสสนา เดินจงกรม + ตามดูรู้ทันร่างกายเคลื่อนไหว ก็เป็นกายานุปัสสนา (ตามดูรู้ทันกาย)

    ขณะใด รู้สึกสุข ทุกข์ ว่าในใจ (กำหนด) สุขหนอ ทุกข์หนอ (ตามที่มันเป็น) ก็เข้าหลักสติปัฏฐานข้อสอง เวทนานุปัสสนา (ตามดูรู้ทันเวทนา)

    ขณะใด รู้สึกกลัวจิตใจสั่นไหว ว่าในใจ กลัวหนอๆๆๆ ฯลฯ ก็เข้าหลักสติปัฏฐานข้อสาม จิตตานุปัสสนา (ตามดูรู้ทันจิตรู้ทันความคิด)

    ขณะใด ฟุ้งซ่าน รำคาญ ง่วงเหงาหาวนอน ว่าในใจ ฟุ้งซ่านหนอๆๆ รำคาญหนอๆๆ ง่วงหนอๆๆๆ ฯลฯ ก็เข้าหลักสติปัฏฐานข้อสี่ ธัมมานุปัสสนา (ตามดูรู้ทันธัมม์ คือ นิวรณ์ธรรม)

    เมื่อปฏิบัติทำนองนี้แล้วๆเล่าๆ (ซึ่งไม่ใช่ไปทำทีละข้อๆ) จิตที่ตามดูรู้เท่ารู้ทันสภาวธรรมที่ปรากฏทุกๆขณะนี่แหละ ก็ถูกพัฒนายิ่งๆขึ้นไปเอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เครื่องมือสำรวจความก้าวหน้าความรู้สึกนึกคิดจิตใจ

    http://palungjit.org/threads/วิสุทธิ-๗-วิปัสสนาญาณ-๙-ญาณ-๑๖.614791/
     
  13. numbernine

    numbernine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    76
    ค่าพลัง:
    +285

แชร์หน้านี้

Loading...