เพื่อการกุศล ยันต์มหาพิชัยสงครามล้านนาตำราเชียงตุงนวภาหลวง สมทบทุนกฐิน

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย ต๋ามนาบุญ, 14 กันยายน 2013.

  1. ต๋ามนาบุญ

    ต๋ามนาบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +131
    เชิญร่วมบูชาผ้ายันต์มหาพิชัยสงครามล้านนาตำราเชียงตุงนวภาหลวง เสริมดวง ระงับเคราะห์ภัย รายได้สมทบทุนองค์กฐินเพื่อปรับปรุงเสนนาสนะและเป็นกองก่อสร้างศาลบฏิบัติธรรมอาศารมเวียงพรหมท่าล้อ(จองคำ)
    ม.๑๖ ต.สันทราย อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

    [​IMG]
    เนื่องด้วยพระครูบาธรรมรังษี ได้จัดสร้างผ้ายันต์มหาพิชัยสงครามตำรับล้านนาอันสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราญ โดยแต่ก่อนท่านครูบาได้จักสร้างตระกรุดพิชัยสงครามตำราเชียงตุงมาแล้วได้มีผู้บูชาไปหมดในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่ง ณที่นี้พระครูบาธรรมรังษีได้มาจำพรรษาอยู่ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และได้คิดที่จะสร้างสถานบฎิบัติธรรมโดยใช้ชื่อว่า ธรรมสถานเวียงพรหมท่าล้อขึ้น แต่ในการดำเนินงานขั้นต้นนั้นต้องใช้ทุนทรัพย์จำนวนมาก คณะศรัทธาจึงได้จัดงาน มหาจุลกฐินขึ้น เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างเสนาสนะ และปรับปรุงที่อยู่อาศัย ศาลาบฎิบัติธรรม และหากองทุนสำหรับสร้างศาลบฎิบัติธรรมแบบถาวรขึ้น เพื่อประโยชน์แก่ พุทธศาสนิกชนที่มาบฏิบัติธรรม และมาทำบุญในวันสำคัญต่างๆ โดยพระครูบาได้มีดำริสร้างผ้ายันต์มหาพิชัยสงครามล้านาตำราเชียงตุงขึ้นอีกครั้งโดยการสร้างครั้งนี้ ได้สร้างลงบนผ้าขาว ขนาด ๑๕ x ๒๕ นิ้ว และผูกดวงยันต์พิชัยสงคราม ลงไปด้วย โดยพุทธคุณนั้นสามารถคุ้มครองดวงและทำให้ทำธุรกิจ การงานต่างๆเจริญก้าวหน้า ล่วงพ้นอุปสรรค์ต่างๆได้โดยลุล่วง ซึ่งจะได้บอกเล่าและความหมายในโอกาสต่อไป ซึ่งผ้ายันต์ดวงพิชัยสงครามนี้จะให้ร่วมทำบุญในราคาผืนละ ๙๙๙ บาท(ซึ่งปรกติการลงดวงพิชัยสงคราค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า๕๐๐๐บาท) ซึ่งถือว่าถูกมากเพราะการสร้างนั้นมิใช่ของง่าย อีกทั้งสร้างเพียง ๑๐๘ ผืน ซึ่งในการจัดสร้าง ต้องอาศัยฤกษ์ยาม ในการทำพิธีปลุกเสก และ ต้องผูกดวงของท่านลงเข้าอย่างละเอีดถูกต้องทุกขั้นตอน ดังนี้ ว่าด้วยทำดวงพิชัยสงคราม
    ยันต์พิชัยสงครามนวภาหลวงล้านนา ตำราเชียงตุง
    ยันต์พิชัยสงครามตำรานี้สืบทอดตำรามาจากตำราของปู่ทวดของท่าน(พ่อจางกู่) ซึ่งได้ย้ายมาจากเมืองเขมรัฐ เชียงตุง โดยทั่วไปแล้ว คนส่วนใหญ่จะเรียกทวดของท่านว่า พ่อหนานหลวง อันหมายถึงผู้ที่บวชเรียนมานาน และได้ดำรงค์ตำแหน่งราชครูหลวง แห่งคุ้มหลวงเชียงตุง ซึ่งมีหน้าที่ให้ฤกษ์ ยาม ในพระราชพิธีของเจ้านครเชียงตุง แต่เมื่อมีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นระหว่างพม่า กับเชียงตุงมีการโค่นอำนาจเจ้าผู้ครองนครขึ้น ท่านจึงหนีตายย้ายถิ่นฐานมาอยู่เขตอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียราย อันเป็นเขตตะเข็บชายแดนติดกับแม่สาย
    จนกระทั่งเสียชีวิต โดยในตอนอพยพนั้นท่านได้นำตำราปั๊บสาตำราเกี่ยวกับฤกษ์ยาม และราชพิธีกรรมในหอหลวงเชียงตุง ติดตัวมาด้วย และใช้ในการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้คน หนึ่งในนั้นมีตำราที่ท่านหวงมากอยู่เล่มหนึ่งจะเอาใว้บนหัวนอนท่านตลอด จวบจนท่านอายุสังขารมากขึ้นเกรงว่าจะไม่มีผู้สืบทอดจึงเอามาสืบทอดให้พระครูบาธรรมรังษี อันมีฐานะเป็นหลานทวด ผู้มีความสนใจในพิธีกรรมล้านนาตั้งแต่เยาว์วัย ซึ่งในตอนนั้นยังเป็นสามเณรอยู่ โดยท่านได้บอกสอนวิธีคำนวนฤกษ์ ยาม ต่างๆ รวทั้งคำนวนสมผุสพระเคราะห์และมนัต์ แบบโบราญอันสืบทอดมาตั้งแต่สมัยพระยามังราย และได้เล่าให้พระครูบาฟังว่า ตำราพิชัยสงครามนี้ใช้ในการใส่ดวงประสูติกาล ของเจ้าฟ้า ในคุ้มหลวงเท่านั้นโดยคนทั่วไปไม่มีสิทธ์ในการใช้ ผู้ที่จะลงให้คือพระมหาเถระ ราชครูหลวง หรือผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับพิธีกรรมในคุ้มหลวง โดยแต่โบราญนั้น จะใช้ลงในแผ่นทอง แผ่นเงิน หรือแผ่นนาค แล้วแต่ถานันดร โดยจะกำหนดให้ลงในวันที่เป็นมงคล ผูกเป็นยันดวงแล้วนำมาม้วนใส่สายให้พกติดตัว โดยจะเก็บรักษาใว้ใชัเช่นป้องกันตัวจากภูตผีปีศาจ โดยเฉพาะการออกรบทัพจับศึก จะขาดยันต์ตระกรุดนี้ไม่ได้ โดยการทำนั้นค่อนข้างจะซับซ้อน โดยต้องสงใส่แผ่นทองเหลือง เป็นแผ่นยันต์ดวงช่วยหนุนดวงและเมตตามหานิยม สงใส่แผ่นทองแดง ใช้อักขระยันต์ที่มีคุณในทางข่ามคงแคล้วคลาด ลงใส่แผ่นชินใช้ในทางชุ่มเย็น มีอำนาจ และอายุยืน เมือเขียนยันทั้งสามแผ่นแล้วจึงนำมาม้วน แล้วใส่สายใว้พกติดตัวหรือนำไปสักการะบูชากราบใหว้ เพื่อความเป็นศิริมงคลในชีวิต ผู้ที่ต้องการรับแผ่นผ้ายันต์พิชัยสงครามต้องเอาชื่อ วันเดือนปีเกิด ชื่อบิดา มารดา เวลาตกฟาก สถานที่เกิด อย่างละเอียด เพราะการลงยันต์นี้ต้องเป็นของบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น ผู้ที่จะลงดวงได้นั้นต้องมีความรู้เรื่องโหราศาสตร์อย่างแตกฉานรู้เรื่องฤกษ์ ยาม ดวงดาวอันให้คุณและให้โทษ การผูกดวงโดยการฝากดวง และข่มตัดอำนาจดาวที่ให้โทษออก แล้วนำเอาเลขยันต์ที่เป็นดาวที่สงเคราะห์กับดวงเราใส่ลงไปช่วยหนุน ซึ่งจะต้องมีพิธีพลิกดวง พื้นดวง หนุนดวง โดยผ้ายันต์และนามดวงของทุกท่านจะผ่านพิธีลงดวงกำเนิด ลัขณาราศี ตามวัน และฤกษ์ที่เป็นมงคล เสร็จแล้วท่านครูบาจะนำให้ ครูบาอาจารย์สายล้านนา อธิฐานจิต และนำเข้านิโรธกรรมแผ่เมตตาเป็นเวลา ๙ วัน ๙ คืน และนำเข้าพิธีสืบชะตาหลวงเป็นพิธีสุดท้าย ซึ่งพิธีสืบชะตาหลวงนี้ได้รวมพระครูบาสายล้านนาผู้มีพรรษาแก่กล่าใว้มากมาย โดยความหมายและหลักพิธี และการบูชากราบใหว้จะขอเล่าเสนอในครั้งต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...