รวมเรื่องเทคโนฯ เกี่ยวกับ หุ่นยนต์

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย นโมโพธิสัตโต, 4 กรกฎาคม 2023.

  1. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,167
    กระทู้เรื่องเด่น:
    24
    ค่าพลัง:
    +29,754
    ?temp_hash=a743dd56a903a12a37a7c7ad24782973.jpg


    [หุ่นไฮบริด] เหมือนโดรนแต่ก็ไม่ใช่ พบกับ Caltech M4 หุ่นยนต์ 8-in-1 มาพร้อมทั้งใบพัดและล้อในร่างเดียว บินก็ได้ วิ่งบนพื้นก็ได้ และเคลื่อนไหวได้ถึง 8 โหมด
    .
    นักวิจัยจาก California Institute of Technology หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Caltech หลังเคยพัฒนา LEO หุ่นสองขาติดใบพัด ที่เดินและบินได้ในตัวเดียวมาแล้ว ล่าสุดได้พัฒนาใหม่อีกรุ่นอย่าง Caltech M4 โดย M4 ก็มาจากคำว่า Multi-Modal Mobility Morphobot หมายถึงหุ่นที่เคลื่อนไหวได้หลากหลาย
    .
    โดยตัว Caltech M4 มาพร้อมใบพัด 4 ข้าง ซึ่งตัวใบพัดเองก็แปลงเป็นล้อสำหรับวิ่งบนพื้นได้ และใช้เป็น [ขา] สำหรับเดินหรือ [ยืน] ได้อีกด้วย ช่วยผสมผสานการเคลื่อนที่ได้แตกต่างกันถึง 8 โหมด
    .
    ในตัวหุ่นจะมี AI ช่วยตัดสินใจว่า จะเคลื่อนไหวลักษณะไหน ให้สองคล้องกับสภาพแวดล้อมที่พบเจอ เช่น หากเจอทางลาดชัน จนไม่สามารถวิ่งขึ้นตรง ๆ ได้ จะบินก็เปลืองพลังงาน จุดนี้ตัวหุ่นจะแปลงตัวเองให้ยืนขึ้น โดยใช้ใบพัดส่วนบนคอยเป่าลมดันตัวเองขึ้นมา และใช้ใบพัดส่วนล่างแปลงเป็นล้อหรือขาสำหรับทรงตัว จากนั้นก็ค่อย ๆ ไต่ขึ้นบนจนผ่านไปได้ในที่สุด
    .
    แน่นอนว่าหากเจอสถานการณ์ที่ต้องบินขึ้นจริง ๆ เช่น เจอแหล่งน้ำ ก็จะแปลงตัวเองเป็นเหมือนโดรนบินเพื่อบินผ่าน จนพ้นน้ำแล้ว ก็คอยแปลงกลับมาเป็นร่างสำหรับเดินพื้น ช่วยประหยัดพลังงานกันไป
    .
    สำหรับแนวคิดในการสร้างตัว Caltech M4 นั้น ทางกลุ่มนักวิจัยเผยเลยว่า ได้มาจากการสังเกตสัตว์ป่า ที่มีรูปแบบการเคลื่อนไหวเฉพาะหน้าแตกต่างกันไป อย่างการเดินขึ้นทางลาดนั้น ก็ได้ไอเดียมาจากนก Chukar partridge ที่ใช้ปีกช่วยสร้างแรงลม ส่วนขาก็ยังใช้เดินไต่ขึ้นไป
    .
    ท้ายนี้ตัวหุ่น Caltech M4 ยังอยู่ระหว่างพัฒนา ส่วนทางผู้สร้างก็หวังให้มันใช้งานเชิงพาณิชย์ได้หลากหลาย เช่น การช่วยเหลือหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น อย่างการบินค้นหาหรือเดินสำรวจในพื้นที่เข้าถึงยากแทนมนุษย์ สามารถใช้บินส่งของแบบอัตโนมัติได้ และในอนาคตอาจพัฒนาให้ใช้งานในการสำรวจดาวเคราะห์กันเลย ถึงตอนนั้นคงมีเปลี่ยนดีไซน์ต่างจากเมพอควรแน่
    .ที่มา : https://www.techhub.in.th/caltech-m4-multi-modal.../
    .
    #Caltech #Drone #Techhub
    .
    ——————
    2b50.png ค้นหาข่าวที่อยู่ในความสนใจได้ที่ >> www.techhub.in.th
    มีข้อสงสัยทัก LINE Techhub >> https://lin.ee/Sietmnt
    ——————
    2b50.png ค้นหาข่าวที่อยู่ในความสนใจได้ที่ >> www.techhub.in.th
    มีข้อสงสัยทัก LINE Techhub >> https://lin.ee/Sietmnt

    *************************************************************

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,167
    กระทู้เรื่องเด่น:
    24
    ค่าพลัง:
    +29,754
     
  3. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,167
    กระทู้เรื่องเด่น:
    24
    ค่าพลัง:
    +29,754
    ?temp_hash=a8fc5dd7738a048c38ee8a3c4f43163f.jpg




    UPDATE: นักข่าวและผู้ประกาศข่าวที่เป็นมนุษย์ยังจำเป็นหรือไม่? เมื่ออินเดียเปิดตัว ‘ผู้ประกาศข่าว AI’ ที่ ‘พูด’ ได้มากถึง 72 ภาษา
    .
    อินเดียกำลังเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมสื่อครั้งสำคัญ ด้วยการถือกำเนิดของ ‘ผู้ประกาศข่าวปัญญาประดิษฐ์’ (AI) การรวม AI เข้ากับการออกอากาศข่าว ทำให้เกิดทั้งความตื่นเต้นและความกังวล ซึ่งนำไปสู่การถกเถียงเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นของเทคโนโลยีนี้ต่องาน การมีส่วนร่วมของผู้ชม และความถูกต้องของการนำเสนอข่าว

    ตัวอย่างหนึ่งของนวัตกรรมนี้คือ ผู้ประกาศข่าว AI คนแรกของ Odisha TV ชื่อ Lisa การเกิดขึ้นของเธอทำให้มีปฏิกิริยาที่หลากหลายจากสาธารณชน โดยบางคนบอกว่าเป็นการบุกเบิกในวงการสื่อสารมวลชนดิจิทัล ในขณะที่คนอื่นๆ วิจารณ์ว่าเธอขาดอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ โดย ‘เป็นหุ่นยนต์’ และ ‘ไร้อารมณ์’ ซึ่งต่างจากการอ่านข่าวแบบดั้งเดิม
    .
    Jagi Mangat Panda หัวหน้าช่อง Odisha TV กล่าวว่า Lisa ออกแบบมาเพื่อทำงานประจำ เช่น การส่งข่าว อ่านคำทำนายดวงชะตา และให้ข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับสภาพอากาศและกีฬา ซึ่งการเข้ามาของ AI จะช่วยให้พนักงานที่เป็นมนุษย์สามารถมุ่งเน้นไปที่งานสร้างสรรค์มากขึ้น ซึ่งจะเป็นการปรับปรุงคุณภาพโดยรวมของข่าว
    .
    อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่เธอสร้างนั้นไม่อาจปฏิเสธได้ เพราะนี่เป็นการส่งสัญญาณถึงยุคใหม่ของการแพร่ภาพข่าว ปรากฏการณ์นี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในอินเดียเท่านั้น หากแต่เกิดขึ้นทั่วทั้งเอเชีย ตั้งแต่จีนไปจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัญญาประดิษฐ์กำลังมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนโฉมหน้าของการแพร่ภาพข่าว
    .
    การใช้ AI ในห้องข่าวมีข้อได้เปรียบที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่ใช้หลายภาษา อาทิ อินเดีย ผู้ประกาศข่าว AI จาก India Today Group อย่าง Sana สามารถรายงานข่าวเป็นภาษาอังกฤษ, ภาษาฮินดี, ภาษาบางลา และภาษาอื่นๆ อีก 72 ภาษา สิ่งนี้ช่วยให้สามารถส่งข่าวสารไปยังผู้ชมได้กว้างขึ้นและหลากหลายมากขึ้น ทำลายกำแพงภาษา และทำให้ชุมชนต่างๆ เข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น
    .
    นอกจากนี้ยังมีข้อกังวลที่เกี่ยวข้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนี้ด้วย บางคนโต้แย้งว่า การเชื่อมโยงทางอารมณ์กับผู้ชมนั้นมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น ไม่สามารถถูกแทนที่ได้ พวกเขาโต้แย้งว่า ผู้ประกาศข่าว AI อ่านข่าวด้วยเสียงซ้ำซากจำเจ ปราศจากการอารมณ์ของมนุษย์อย่างที่ผู้ชมคุ้นเคย นอกจากนี้ นักวิจารณ์กังวลว่าการขาดทักษะการสังเกตและประสบการณ์ของนักข่าวที่เป็นมนุษย์อาจส่งผลต่อคุณภาพการรายงานข่าว
    .
    ข้อกังวลอีกประการหนึ่งที่มาพร้อมกับผู้ประกาศข่าว AI คือ ภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นกับงานในอุตสาหกรรมสื่อ สิ่งที่น่ากังวลก็คือ สมองอัตโนมัติเหล่านี้อาจเข้ามาแทนที่นักข่าวและผู้ประกาศข่าวที่เป็นมนุษย์ในที่สุด ความกลัวนี้สะท้อนออกมาในหลายไตรมาส แม้ว่าจะมีการยืนยันจากสื่อต่างๆ ว่า เป้าหมายของการผสานรวม AI ไม่ใช่เพื่อให้พนักงานที่เป็นมนุษย์ทำงานซ้ำซ้อน แต่เพื่อเสริมการทำงานของพวกเขา
    .
    แม้จะมีความกลัวและการวิพากษ์วิจารณ์ สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตถึงประโยชน์ของ AI ที่ลดค่าใช้จ่ายลงอย่างมาก ทำให้กระบวนการออกอากาศมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังไม่มีการใช้อารมณ์ส่วนตัวลงไปในข่าว ยิ่งไปกว่านั้น ความสามารถของ AI ที่ประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลอย่างรวดเร็วและส่งข่าวสารในภาษาต่างๆ นั้น ถือเป็นตัวเปลี่ยนเกมในอุตสาหกรรมที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา
    .
    ตอนนี้ดูเหมือนว่าแนวโน้มจะมุ่งไปที่การใช้ AI มากขึ้นในห้องข่าว การสำรวจล่าสุดพบว่า เกือบครึ่งหนึ่งของสำนักข่าวทั่วโลกใช้เครื่องมือ AI อยู่แล้ว ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าตัวเลขนี้จะเติบโตขึ้นอีก


    .
    ตัวอย่างหนึ่งของนวัตกรรมนี้คือ ผู้ประกาศข่าว AI https://asia.nikkei.com/.../Rise-of-AI-newsbots-shakes-up...
    .
    #TheStandardWealth
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,167
    กระทู้เรื่องเด่น:
    24
    ค่าพลัง:
    +29,754
    ‘มนุษย์จักรกล’ ใกล้เป็นจริง? หลังสหรัฐ ‘ไฟเขียว’ ฝังชิปในสมองคน


    By กรุงเทพธุรกิจ27 พ.ค. 2566 เวลา 9:00 น.348
    LG.jpg
    ภาพมนุษย์ที่รวมร่างกับจักรกลตามภาพยนตร์ไซไฟ (Sci-Fi) กำลังเข้าใกล้ความจริงมากขึ้น เมื่อทางการสหรัฐอนุมัติให้บริษัทของ “อีลอน มัสก์” ทดลองฝังชิปในมนุษย์ได้ เพื่อเชื่อมอวัยวะมนุษย์ให้เข้ากับจักรกล

    “Neuralink” บริษัทสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งโดย อีลอน มัสก์ (Elon Musk) มหาเศรษฐีแถวหน้าของโลก ซึ่งยังเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) บริษัท Tesla และ Twitter มีเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ในการฝังชิปลงในสมองมนุษย์และเชื่อมสัญญาณกับคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยให้มนุษย์ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย เช่น บกพร่องด้านสายตาให้กลับมามองเห็น หรือบกพร่องด้านการเคลื่อนไหวให้กลับมาเดินได้อีกครั้ง

    ล่าสุด องค์การอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) อนุมัติให้บริษัท Neuralink ทดลองฝังชิปในสมองมนุษย์ได้ นับเป็นข่าวดีของวงการเทคโนโลยี หลังจากเมื่อต้นปีที่แล้ว อย.สหรัฐเคยปฏิเสธคำขอนี้

    คริสติน เวลล์ (Cristin Welle) อดีตเจ้าหน้าที่อย.สหรัฐและรองศาสตราจารย์ด้านศัลยกรรมประสาทและสรีรวิทยาจากมหาวิทยาลัยโคโลราโด ให้ความเห็นว่า การอนุมัติดังกล่าวถือเป็นเรื่องใหญ่มาก

    การที่ Neuralink สามารถทดลองในมนุษย์ หมายความว่า พวกเขาผ่านการทดสอบด้านความปลอดภัยในระยะก่อนคลินิกและการทดสอบอุปกรณ์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบหาจุดบกพร่องในอุปกรณ์ ลักษณะการออกแบบ ความทนทาน และการเข้ากันได้ทางชีวภาพ

    [​IMG]- การฝังชิปในสมองมนุษย์ (เครดิต: Neuralink) -


    Neuralink ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2559 มีนักวิทยาศาสตร์ชั้นหัวกะทิด้านระบบประสาทร่วมทำงานปลูกถ่ายสมองหลายคน แต่ตลอดช่วงหลายปีมานี้ พนักงานจำนวนมากได้ย้ายออกไปทำงานที่บริษัทอื่นแทน

    อย่างไรก็ดี สำหรับมัสก์ เขายังคงอยู่บริหารบริษัท และเคยกล่าวในครั้งก่อนว่า บริษัท Neuralink ใกล้จะได้รับการอนุมัติจากอย.สหรัฐเพื่อทดลองฝังชิปกับมนุษย์

    สำหรับอุปกรณ์ที่ Neuralink พัฒนาขึ้นนั้น มีเป้าหมายเพื่อช่วยผู้ป่วยอัมพาตหรือบาดเจ็บทางสมอง ให้กลับมาสื่อสารและควบคุมคอมพิวเตอร์ได้อีกครั้งด้วยการใช้เพียง “ความคิด”

    นอกจากนี้ มัสก์ตั้งสมมติฐานอีกว่า อุปกรณ์นี้ยังช่วยพามนุษย์ให้ก้าวทันความก้าวหน้าของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ได้

    [​IMG]

    - ลักษณะชิปในสมองมนุษย์ (เครดิต: Neuralink) -






      • Neuralink ไม่ใช่บริษัทแรกที่ได้ไฟเขียว
    อันที่จริงแล้ว บริษัท Neuralink ไม่ใช่บริษัทรายแรกที่ได้รับการอนุมัติจากสหรัฐให้ทดสอบฝังชิปในสมองมนุษย์ได้ โดยก่อนหน้านี้ บริษัท Synchron ก็ได้รับการอนุมัติเช่นกันเมื่อเดือน ก.ค. 2564






    อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ของบริษัท Synchron มีผลกระทบต่อสมองน้อยกว่า Neuralink และทำงานด้วยอีกเทคโนโลยีหนึ่ง

    ก่อนหน้านั้น กลุ่มรณรงค์ด้านสิทธิสัตว์ได้ออกมาต่อต้านมัสก์ที่ทดลองฝังชิปในสัตว์ โดยไม่ปฏิบัติตามข้อระเบียบที่เหมาะสม และกระทรวงคมนาคมสหรัฐออกมาเปิดเผยด้วยว่า กำลังสอบสวนการทดลองของ Neurallink ว่าเข้าข่ายทำให้เกิดการติดเชื้อปนเปื้อนหรือไม่



    • ใช้เวลาพัฒนาอีกอย่างน้อย 5-10 ปี
    เวลล์ อดีตเจ้าหน้าที่อย.สหรัฐ ระบุว่า ถึงแม้อย.สหรัฐจะอนุมัติให้ Neurallink ทดลองในมนุษย์ได้แล้ว แต่การฝังชิปในสมองก็ยังไม่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในเร็ว ๆ นี้ โดยบริษัทคงใช้เวลาอย่างน้อย 5-10 ปี ในการพัฒนาอุปกรณ์ก่อนที่จะนำไปใช้เชิงพาณิชย์ได้

    นอกจากนั้น ในขั้นตอนการเตรียมทดลองและเปิดรับสมัครผู้ป่วย ต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน เห็นได้จากบริษัท Synchron ที่เริ่มทำการฝังอุปกรณ์ในมนุษย์เมื่อเดือน ก.ค. 2565 หลังได้รับการอนุมัติจากทางการเกือบ 1 ปี โดยในการทดลองกับมนุษย์ครั้งแรก มีผู้เข้าร่วม 5-10 คน และใช้เวลานาน 6 เดือน

    จากการทดสอบกับมนุษย์ครั้งแรกของ Synchron ทำให้บริษัทสามารถปรับรูปแบบอุปกรณ์ตามผลการทดสอบนั้น โดยไม่ต้องเริ่มกระบวนการขออนุมัติจากอย.สหรัฐทั้งหมดใหม่อีกรอบ ซึ่งช่วยให้ขั้นตอนนี้มีความยืดหยุ่น

    หากผลการทดลองเป็นไปด้วยดี Neuralink จะสามารถเข้าสู่ขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ไปจนถึงขั้นสุดท้ายคือ การทดสอบเพื่อเตรียมข้อมูลประกอบการขึ้นทะเบียนหรือที่รู้จักกันในชื่อ “การทดลองเฟสสาม” นั่นเอง

    อ้างอิง: bloomberg
    **********************

    ที่มา
    https://www.bangkokbiznews.com/tech/1070532
     
  5. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,167
    กระทู้เรื่องเด่น:
    24
    ค่าพลัง:
    +29,754
    Neuralink บริษัทอีลอน มัสก์ เตรียม “ฝังชิปในสมองมนุษย์” อีก 6 เดือนข้างหน้า เผยสินค้าใหม่ปลูกถ่ายตา-ในไขสันหลัง

    1 ธันวาคม 2022 14:14 น.



    [​IMG]


    สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565 ว่า Neuralink Corp. หนึ่งในบริษัทที่ก่อตั้งโดยอีลอน มัสก์ (Elon Musk) ประกาศในงานที่สำนักงานใหญ่ในเมืองฟรีมอนต์ รัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อค่ำวันพุธ (30 พ.ย.) ว่าบริษัทตั้งเป้าที่จะเริ่มใส่สมองเทียม (computing brain implant) ขนาดเท่าเหรียญในมนุษย์ภายใน 6 เดือน

    Neuralink ได้ปรับปรุงผลิตภัณฑ์นี้ ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ขนาดเล็กและลวดเชื่อมด้วยขั้วไฟฟ้า พร้อมกับหุ่นยนต์ที่แกะสลักชิ้นส่วนของกะโหลกศีรษะและฝังเข้าไปในสมอง การหารืออย่างต่อเนื่องกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐดำเนินไปได้ด้วยดี พอที่บริษัทจะตั้งเป้าหมายของการทดลองในมนุษย์เป็นครั้งแรกภายใน 6 เดือนข้างหน้า

    ตามแบบฉบับของ Elon Musk นั้น Neuralink ล้ำหน้าไปแล้ว โดยเล็งไปที่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ในระหว่างงาน อีลอน มัสก์ ได้เปิดเผยผลงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หลัก 2 รายการ นอกเหนือจากส่วนต่อประสานระหว่างสมองและคอมพิวเตอร์ กำลังพัฒนาการปลูกถ่ายที่สามารถเข้าไปในไขสันหลังและอาจฟื้นฟูการเคลื่อนไหวให้กับผู้ป่วยอัมพาต และมีการปลูกถ่ายตาเพื่อปรับปรุงหรือฟื้นฟูการมองเห็นของมนุษย์

    “ฟังดูน่าอัศจรรย์ เรามั่นใจว่าสามารถฟื้นฟูการทำงานของร่างกายทั้งหมดให้กับผู้ที่มีไขสันหลังขาดได้” มัสก์กล่าวในงาน เมื่อหันมาสนใจงานการมองเห็นของ Neuralink เขาเสริมว่า “แม้ว่าพวกเขาจะไม่เคยเห็นมาก่อน แต่เรามั่นใจว่าพวกเขาสามารถมองเห็นได้”

    ทั้งนี้เป้าหมายของส่วนต่อประสานระหว่างสมองกับคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า BCI นั้นเริ่มแรกเพื่อให้บุคคลที่มีภาวะร่างกายอ่อนแอ เช่น โรคเส้นโลหิตตีบด้านข้างของเส้นโลหิตตีบตัน (amyotrophic lateral sclerosis หรือ ALS) หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคหลอดเลือดสมอง สามารถสื่อสารผ่านความคิดของตนได้ บริษัทได้สาธิตในลิงแล้ว

    ความหวังของอีลอน มัสก์ คืออุปกรณ์ดังกล่าวอาจกลายเป็นกระแสหลักในวันหนึ่งและอนุญาตให้มีการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างมนุษย์และเแมชชีน เขาแย้งมานานแล้วว่ามนุษย์สามารถติดตามความก้าวหน้าที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์ได้โดยใช้ความช่วยเหลือจากคอมพิวเตอร์เท่านั้น

    เทคโนโลยีส่วนต่อประสานสมองกับแมชชีนได้รับการวิจัยและพัฒนาโดยนักวิชาการมานานหลายทศวรรษ อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่เวทีของมัสก์ได้กระตุ้นกระแสการลงทุนจากผู้ร่วมทุนไปสู่บริษัทสตาร์ทอัพ และช่วยผลักดันไปข้างหน้าที่รวดเร็วกว่ามาก

    การเริ่มต้นที่คล้ายกัน 2-3 แห่งนำหน้า Neuralink เมื่อพูดถึงการทดลองในมนุษย์ ตัวอย่างเช่น Synchron Inc. สามารถฝังอุปกรณ์ขนาดเล็กที่มีลักษณะคล้ายขดลวดเข้าไปในสมองของผู้ป่วยในออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา ผลิตภัณฑ์นี้ช่วยให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือพูด สื่อสารแบบไร้สายผ่านคอมพิวเตอร์และความคิดของพวกเขาได้ หรือ Onward Inc. ยังได้ทำงานชิ้นใหม่เพื่อฟื้นฟูการเคลื่อนไหวในผู้ที่มีอาการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง

    ทั้งนี้ประเภทของการผ่าตัดสมองที่เสนอโดย Neuralink นั้นมีความรุนแรงมากกว่าการผ่าตัดของ Synchron หรือคู่แข่งส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรม ผู้ป่วยต้องตัดกะโหลกออกและปล่อยให้สายฝังเข้าไปในเนื้อเยื่อสมอง Neuralink ได้ทำการทดสอบไพรเมตเป็นเวลาหลายปีเพื่อพิสูจน์ว่าการผ่าตัดนั้นปลอดภัยและการปลูกถ่ายสามารถคงอยู่ในสมองได้เป็นเวลานานโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย

    กลุ่มสิทธิสัตว์วิพากษ์วิจารณ์การรักษาในอดีตของไพรเมต เมื่อ Neuralink อาศัยห้องปฏิบัติการของพันธมิตรในการทดลองบางอย่าง Neuralink นำโปรแกรมการเลี้ยงสัตว์มาใช้ภายในองค์กรเมื่อหลายปีก่อน และพยายามทำให้เป็นตัวอย่างสำหรับผู้อื่นในการปฏิบัติตาม ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นักข่าวได้ไปเยี่ยมไพรเมตไม่กี่ครั้ง พวกเขาดูเหมือนได้รับการดูแลอย่างดีและไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ จากการปลูกถ่าย

    อย่างไรก็ตามข้อได้เปรียบของ Neuralink เหนือคู่แข่ง คือพลังการประมวลผลอย่างหนึ่ง การเดิมพันของอีลอน มัสก์ คือการผ่าตัดที่รุกรานมากขึ้น ควบคู่ไปกับความสามารถในการประมวลผลที่มากขึ้นจะช่วยให้ฮาร์ดแวร์ของ Neuralink ได้รับผลลัพธ์ที่ดีขึ้นและฟื้นฟูการทำงานของมนุษย์ได้มากกว่าผลิตภัณฑ์คู่แข่ง

    อย่างไรก็ตามยังมีข้อกังวลหลักบางประการของ Neuralink เกี่ยวกับการฝัง BCI คือการทำให้แน่ใจว่าหุ่นยนต์สามารถทำการผ่าตัดได้อย่างรวดเร็วและมีอันตรายต่อร่างกายน้อยที่สุด มัสก์คาดการณ์ว่าวันหนึ่งผู้คนจะได้รับการปลูกถ่ายสมองเป็นขั้นตอนการรักษาผู้ป่วยนอกที่รวดเร็ว

    Autumn Sorrells ผู้อำนวยการฝ่ายดูแลสัตว์ของ Neuralink ได้ทำงานเพื่อให้แน่ใจว่าการทดลองที่ทำกับไพรเมตและสุกรนั้นดำเนินไปในลักษณะที่ปลอดภัย และได้นำเทคนิคใหม่ๆ มาใช้ในการฝึก Neuralink มีกรงสำหรับไพรเมตในฟรีมอนต์ที่มีของเล่นและโทรทัศน์เพื่อให้สัตว์ได้รับความบันเทิงในขณะที่ผู้คนตรวจสอบเพื่อดูว่าอวัยวะเทียมทำงานอย่างไร

    ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา สัตว์เหล่านี้ต้องออกจากกรงและถูกควบคุมเพื่อให้การปลูกถ่ายชาร์จพลัง อย่างไรก็ตามเมื่อเร็วๆ นี้ Neuralink ได้คิดค้นการตั้งค่าที่ผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งช่วยให้ไพรเมตได้เติมพลังภายใต้หมวกนิรภัยในกรงขณะกินอาหาร บริษัทกำลังสร้างคอกสัตว์ที่กว้างขวางกว่าเดิมที่วิทยาเขตในเมืองออสติน รัฐเท็กซัส

    แม้ว่า Neuralink จะยังเป็นบริษัทแรกๆ แต่จำนวนงานทั้งหมดที่ทำโดย Neuralink ทำให้บริษัทนี้เป็นบริษัท BCI ที่มีจุดประสงค์ทั่วไปเพียงแห่งเดียว สตาร์ทอัพรายอื่นๆ ให้ความสำคัญกับสมองหรือดวงตาหรือไขสันหลัง ในขณะเดียวกัน Neuralink หวังว่าจะทำทุกอย่างได้



    อ้างอิง : https://www.bloomberg.com/news/arti...-approval-within-six-months?srnd=premium-asia

    **********************

    ที่มา https://moneyandbanking.co.th/2022/10563/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,167
    กระทู้เรื่องเด่น:
    24
    ค่าพลัง:
    +29,754
    การเชื่อมต่อสมองเข้ากับการทำงานของจักรกลเช่น โทรศัพท์มือถือ นี้ เป็นผลงานของบริษัทชื่อ Neuralink ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2016 โดย Neuralink เป็นบริษัทแรกของเขาที่ทำวิทยาการทางการแพทย์ จากที่ปกติจะเน้นการผลิตเครื่องยนต์เป็นยานพาหนะหรือใช้สำรวจอวกาศที่ดูเป็นเรื่องใหญ่โตอลังการมากกว่า บริษัท Neuralink ใช้เวลาราว 2 ปีกว่าจะเปิดตัวให้สาธารณะได้ทราบว่า ได้เริ่มทำการวิจัยไปแล้วในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมา

    อุปกรณ์ที่ Neuralink กำลังทำการวิจัยอยู่นั้น เป็นอุปกรณ์ชิปจะทำงานผ่านเทคโนโลยี Threads หรือสายสื่อประสาทเข้ากับสมองที่มีความยืดหยุ่นสูง มีขั้วไฟฟ้า (Electrodes) สำหรับรับสัญญาณประสาทจากสมองมากถึง 3,072 ขั้ว ในสายสื่อประสาท 96 เส้น (เทียบกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดก่อน Neuralink ก็คือ ระบบเชื่อมสมองเข้ากับคอมพิวเตอร์ของ Brown University ในชื่อ “BrainGate” ซึ่งมีขั้วไฟฟ้าเพียง 128 ขั้ว) เชื่อมต่ออุปกรณ์โดยตรงไปยังสมอง

    link-internals.png
    Neuralink_4-1-1024x683.jpg
    ทำให้สามารถอัปโหลดข้อมูลต่าง ๆ เข้าไปได้ หรือจะดาวน์โหลดข้อมูลจากสมองของมนุษย์โดยตรงเข้าไปที่เครื่องจักรเช่น คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนที่ต้องการก็ทำได้เช่นกัน กระบวนการนี้มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า กระบวนการการส่งสัญญาณของเซลล์ประสาทในสมอง (Brain-machine interface)









    เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2020 ที่ผ่านมา Neuralink ได้ทำการเปิดตัวสินค้าต้นแบบการทดลองชื่อรุ่น LINK V.09 ซึ่งถูกนำไปใช้ทดลองรักษาโรคที่เกี่ยวกับสมองเช่น โรคความจำเสื่อม หูหนวก ตาบอด อัมพาต โรคนอนไม่หลับ อาการติดสารเสพติด ไปจนถึงโรคซึมเศร้า โดยนักวิจัยได้ตั้งสมมติฐานไว้ว่า หากสามารถกระตุ้นให้สมองส่วนที่ตอบสนองต่ออาการดังกล่าวซึ่งมีปัญหาอยู่ ให้สามารถกลับมาทำงานตามปกติได้ อาการผิดปกติต่าง ๆ เหล่านั้นก็อาจจะหายไปได้

    คุณสมบัติพื้นฐานของอุปกรณ์ชนิดนี้ก็ทำหน้าที่เช่นเดียวกับนาฬิกา Smart Watch เพียงแค่ไม่ได้ใส่ไว้ที่มือแต่ฝังเข้าไปไว้ในหัวสมองเลย ซึ่งชิปนี้จะสามารถจับอัตราการเต้นของหัวใจ รายละเอียดเล็ก ๆ น้อยเรื่องการทำงานของสมอง รวมถึงยังใช้จับ Sleep Tracking ก็จะสามารถทำได้แม่นยำมากขึ้นกว่าการสวมนาฬิกาที่ข้อมือ

    รูปร่างหน้าตาของอุปกรณ์เชื่อมต่อสมองรุ่น LINK V.09 ที่จะใช้ฝังเข้าไปใต้กะโหลกมนุษย์นี้ มีขนาดเล็กมาก ขนาดกว้างคูณยาวเพียง 23 มิลลิเมตรคูณ 8 มิลลิเมตร (หรือพูดง่าย ๆ ก็คือบางกว่าเส้นผมมนุษย์ 1 เส้นเสียอีกภายในชิปเล็ก ๆ ชิ้นนี้จะประกอบไปด้วย 1,024 ช่องทางส่งข้อมูลต่อ 1 ชิปอุปกรณ์ ซึ่ง 1 คนสามารถใส่ได้มากกว่า 1 ชิ้น ใช้ระบบจับการเคลื่อนไหวแบบ 6 แกน และใช้ความเร็วในการส่งข้อมูลระดับ Megabit

    วิธีการทำงานของชิปอุปกรณ์นี้ก็คือ เราต้องฝังชิปเชื่อมต่อเข้าสมองผ่านสายเล็ก ๆ โดยอุปกรณ์นี้จะประกอบไปด้วยสายและแท่งสำหรับเชื่อมต่อเข้าสมองจำนวนมาก เพื่อนำข้อมูลออกมาสู่ตัวรับที่เป็นก้อน ทองแดงกลม ๆ ข้อมูลที่ไหลเข้าและออกจากสมอง โดยจะเห็นเป็นเหมือนภาพของคลื่นไฟฟ้าที่สามารถนำไปแปรผลเป็นข้อมูลต่าง ๆ ได้ และตัวรับก็สามารถส่งข้อมูลออกมายังอุปกรณ์อื่น เช่น สมาร์ตโฟน มีระยะทำการในการส่งสัญญาณประมาณ 5-10 เมตร

    114199078_neural.jpg
    ชิปอุปกรณ์นี้จะต้องทำการชาร์จไฟเพื่อใช้งานอยู่เสมอ โดยชาร์จหนึ่งครั้งจะสามารถใช้งานได้ยาวนานตลอดทั้งวัน ส่วนวิธีชาร์จก็จะเป็นใช้สัญญาณแบบ Wireless เช่นเดียวเหมือนกับ Smart Watch ทั่วไป เพียงแค่แปะแท่นชาร์จเข้าที่ศีรษะของเราแล้วก็สามารถนอนหลับได้ยาวไปทั้งคืน

    ส่วนการติดตั้งชิปจะใช้วิธีการที่เรียกว่า Invasive หรือการผ่าตัดเปิดกะโหลกเพื่อฝังชิปในสมอง โดยจะเป็นการตัดชิ้นส่วนกะโหลกขนาดเท่าเหรียญออก แล้วติดตั้งตัวชิปผ่านหุ่นยนต์ที่มีหน้าตาคล้ายกับกล้องจุลทรรศน์ผสมจักรเย็บผ้าเจาะใส่ชิปเข้าไปสู่สมอง โดยหุ่นยนต์จะค่อย ๆ ฝังเอาสายเล็ก ๆ นี้จิ้มเข้าไปบริเวณต่าง ๆ ของสมองเพื่อรับสัญญาณ แล้วปิดช่องด้วยชิ้นส่วนรับสัญญาณกลม ๆ ตัวอุปกรณ์จะมีขนาดและความหนาใกล้เคียงกับกระโหลดที่ถูกตัดออกไป เมื่อปิดแผลแล้วจะเรียบเนียนจนทำให้หลังการติดตั้งแทบดูไม่รู้เลยว่าใครฝัง Neuralink อยู่ ขั้นตอนการผ่าตัดทั้งหมดจะเกิดขึ้นโดยหุ่นยนต์ที่มีความแม่นยำสูง ใช้เวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมง และหลังจากผ่าตัดแล้วก็สามารถออกจากโรงพยาบาลได้ไม่ต้องค้างในโรงพยาบาลและไม่ต้องใช้ยาสลบแต่อย่างใด

    ในงานเปิดตัวที่ผ่านมา Elon Musk ได้มาทำการโชว์สาธิต “หมู” ทดลองที่ฝั่งชิปเชื่อมต่อสมองรุ่น LINK V.09 เอาไว้นาน 2 เดือน ซึ่งจากคลิปวิดีโอที่นำมาเปิดโชว์นั้น ผู้ชมจะได้เห็นคลื่นสมองของหมูที่ทำงานขณะที่มันกำลังเดินบนลู่วิ่ง และยังได้เห็นตัวชิปตรวจจับปฏิกิริยาทางสมองเมื่อหมูขยับตัวทุกครั้ง รวมถึงเมื่อหมูนำจมูกไปสัมผัสกับวัตถุชนิดต่าง ๆ อีกด้วย

    อย่างไรก็ตาม วิทยาการของอุปกรณ์เชื่อมต่อสมองที่วิจัยได้ในตอนนี้ อาจจะยังไปไม่ถึงเป้าหมายที่ขายฝันเอาไว้ว่า จะเป็นการเชื่อมต่อข้อมูลที่ไหลเข้าออกจากสมอง เพราะเอาเข้าจริง ๆ แล้วก็ยังอยู่ในระดับตรวจจับคลื่นสมองอัตโนมัติเท่านั้น ข้อจำกัดจากการทดลองในตอนนี้อยู่ที่ยังไม่สามารถหาวิธีการปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปในสมองเพื่อให้ได้ผลลัพธ์อย่างตรงเป้าหมายตามที่ต้องการ และขณะเดียวกันก็ยังไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยต่อผู้ใช้ ว่าหากปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปจริง ๆ แล้ว สมองส่วนอื่น ๆ จะไม่ได้รับความเสียหายไปด้วย

    ************************

    ขอบคุณที่มา https://www.beartai.com/news/531550
     
  7. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,167
    กระทู้เรื่องเด่น:
    24
    ค่าพลัง:
    +29,754





    Elon Musk ยังตอบคำถามในช่วงท้ายของการสาธิตว่า เขาเชื่อมั่นว่าอีกไม่นานนี้ชิปเชื่อมต่อสมองของ Neuralink จะสามารถเชื่อมข้อมูลเข้าออกได้อย่างที่ตั้งใจไว้ ตามเจตนารมณ์แต่แรกของเขาในการตั้งบริษัทนี้ขึ้นมา ก็เพราะต้องการจะพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ให้เชื่อมต่อกับมนุษย์ได้อย่างไร้รอยต่อและเกิดประโยชน์มากที่สุด ถึงขนาดขายฝันกันแบบเฟื่อง ๆ เลยว่า ผู้ใช้งานจะสามารถเรียกรถบริการของ Tesla ให้มารับได้เพียงแค่ “คิดในใจ” (จากปัจจุบันที่สามารถเรียกได้ผ่านสมาร์ตโฟน) รวมถึงผู้ป่วยที่มีปัญหา ไม่สามารถใช้งานกระดูกสันหลังหรือสั่งการจากสมองไปยังอวัยวะต่าง ๆ ที่ใช้เคลื่อนไหวร่างกายได้ ก็จะสามารถรักษาหายได้จากโดยใช้ชิปอุปกรณ์ Neuralink บังคับการเคลื่อนไหวแทน

    อย่างไรก็ดี Neuralink ก็ไม่ใช่บริษัทแรกที่วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ชิปเชื่อมต่อกับสมอง เพราะมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานฟรานซิสโก (UCSF: University of California, San Francisco) ก็มีความพยายามในการสร้างสายสื่อประสาทที่มีขนาดเล็กมาแล้ว รวมถึงมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเองก็พยายามสร้างสายสื่อประสาทขนาดเล็กมาก่อนแล้วและก็กำลังศึกษาและวิจัยอยู่ในปัจจุบันนี้เช่นกัน


    นอกจากนั้นอุปสรรคของ Neuralink ก็คือคำถามที่ว่า คณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA: Food and Drug Administration) จะอนุญาตให้มีการทดลองใช้ในคนหรือไม่? และถ้าได้ จะเป็นเมื่อไร? เพราะขั้นตอนการขออนุมัติต่าง ๆ ของ FDA นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ทางด้าน Matthew MacDougall หัวหน้าศัลยแพทย์ของ Neuralink ก็ออกมายอมรับเมื่อปี 2019 หรือปีที่แล้วว่า บริษัทยังไม่ได้เริ่มขั้นตอนการขออนุญาตทดลอง และจนถึงปีนี้ก็ยังไม่มีการยืนยันว่ากระบวนการขออนุญาตนี้ไปถึงไหนแล้ว?

    ประเด็นอื่น ๆ เพิ่มเติมที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตและแสดงความกังวลก็คือ เรื่องการจัดการกับข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกส่งออกมาจากสมองเข้าไปที่ชิปอุปกรณ์รับข้อมูล องค์กรด้านความเป็นส่วนตัวนานาชาติ (Privacy International) ได้ตั้งคำถามว่าจะมีการจัดเก็บหรือควบคุมดูแลข้อมูลที่สมองเชื่อมต่อผ่านระบบเข้ากับคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนด้วยวิธีใด รวมถึงจะมีการส่งต่อข้อมูลส่วนบุคคลกับผู้ให้บริการหรือบุคคลที่สามโดยที่เจ้าของข้อมูลผู้ใช้ชิปอุปกรณ์นี้ไม่ยินยอมนั้น สามารถทำได้หรือไม่เพียงใด? และยังมีปัญหาเรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมาก ที่ขนาดในปัจจุบัน ข้อมูลที่ยังไม่ได้ดึงมาจากสมอง แค่เป็นข้อมูลที่กรอกหรือบันทึกกันในโลกออนไลน์เช่น ใช้ลงทะเบียนในแอปพลิเคชันต่าง ๆ ก็ยังหลุดกันจ้าละหวั่นแล้วเลย


    ***************************

    ขอบคุณที่มา https://www.beartai.com/news/531550
     
  8. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,167
    กระทู้เรื่องเด่น:
    24
    ค่าพลัง:
    +29,754
  9. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,167
    กระทู้เรื่องเด่น:
    24
    ค่าพลัง:
    +29,754



    แขนเทียมสั่งการด้วยสมอง สร้างด้วยสองมือของเด็กอายุ 17 ! | TNN Tech Reports



    *******************
    เด็กชายวัย 17 ปีในสหรัฐอเมริกาสร้างแขนเทียมสั่งการด้วยคลื่นสมอง โดยใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนาขึ้นเอง #แขน #AI #หุ่นยนต์ #เครื่องจักร #เด็ก #ฉลาด #อัจฉริยะ #สมอง #สมอง #แขนกล #TNN #TNNTechreports #Techreports #TNONLINE #TNNThailand #TNNช่อง16 ช่องทางติดตามสถานีข่าว TNN ช่อง16 https://www.tnnthailand.com https://tv.trueid.net/live/tnn16 yt_favicon.png / tnn16 https://www.facebook.com/TNNthailand/ https://www.facebook.com/TNN16LIVE/ https://twitter.com/tnnthailand https://www.instagram.com/tnn_online/ https://www.tiktok.com/@tnnonline Line @TNNONLINE หรือคลิก https://lin.ee/4fP2tltIo

     

แชร์หน้านี้

Loading...