**ร้านศิวิไลพระเครื่อง** วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง เกจิคณาจารย์ภาคเหนือ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ศิวิไล, 25 พฤษภาคม 2013.

  1. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 6935

    เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัยวัดพระธาตุสบฝางปี 2518 มีจารเดิมๆ

    วัดพระธาตุสบฝางตั้งอยู่บนยอดดอยสบฝาง บนฝั่งแม่น้ำกก ห่างจากตัวอำเภอฝางไปทางทิศเหนือประมาณ 32 กิโลเมตร และห่างจากบ้านท่าตอนไปทางทิศตะวันออกประมาณ 4 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกัน ดังนี้ ทิศเหนือจรดแม่น้ำกก ทิศใต้จรดแม่น้ำฝาง ทิศตะวันออกจรดบ้านป๊อกป่ายาง ทิศตะวันตกจรดแม่น้ำกก การคมนาคมสะดวกสามารถเดินทางไปได้ทั้ง 2 ทาง คือ

    -ทางน้ำ ล่องไปตามลำน้ำกก โดยเรือรับจ้างหางยาวจากท่าเรือท่าตอนถึงวัดประมาณ 20 นาที

    -ทางบก เส้นทางถนนสายฝาง-ท่าตอน เลี้ยวขวาที่หลักกิโลเมตรที่ 18 บ้านสันโค้งผ่านบ้านหนองนกยาง

    บริเวณวัดมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 800 ไร่ พื้นที่เนินเขาติดลำน้ำกก สามารถมองเห็นทัศนียภาพด้านล่างได้อย่างชัดเจนและสวยงาม บริเวณพื้นที่ส่วนใหญ่ของวัดจะปกคลุมด้วยป่าไม้ไผ่ขนาดใหญ่นานาชนิด ให้ความร่มรื่นน่าอยู่และหาดูได้ยากในยุคนี้ ปัจจุบัน (พ.ศ. 2547) ทางราชการกำลังตัดถนน (ทางลัด) ตรงหลัก กม.28 บนถนนสายท่าตอน-แม่จัน โดยสร้างสะพานคอนกรีตขนาดมาตรฐานข้ามน้ำกก ใกล้ๆ กับวัดพระธาตุสบฝาง ระยะทางยาวประมาณ 2 กม. เชื่อว่าอนาคตอันใกล้นี้ ทางลัด (ถนน) สายนี้จะย่นระยะทางไปสู่วัดพระธาตุสบฝางได้มากและรวดเร็วสะดวกสบายยิ่งขึ้น

    ตำนานวัดพระธาตุสบฝาง

    พระนลาฏธาตุของพระพุทธเจ้า

    จากตำนานสิงหนวัติได้กล่าวว่า ในพุทธศตวรรษที่ 9 ช่วงรัชสมัยของพระองค์พังคราช กษัตริย์องค์ที่ 45 แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ มีพระภิกษุชาวมอญรูปหนึ่งชื่อพระพุทธโฆษาจารย์ อยู่ที่เมืองเมาะลำเลิง ไม่ไกลจากเมืองเมาะตะมะ ได้ไปศึกษาพระพุทธศาสนาจากประเทศลังกา หลังจากจบการศึกษาจนแตกฉานในพระธรรมวินัยแล้วจึงได้เดินทางกลับมาเผยแผ่พระพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงค์ในประเทศพม่า-มอญ-สุโขทัยและโยนกนคร ตามลำดับ พระพุทธโฆษาจารย์นอกจากจะนำเอาพระคัมภีร์พระไตรปิฎกมาถวายแด่พระองค์พังแล้ว พระพุทธโฆษาจารย์ยังได้นำเอาพระบรมธาตุส่วนพระนลาฏของพระพุทธเจ้า (กระดูกส่วนหน้าผาก) จำนวน 16 องค์ มาถวายแด่พระองค์พัง เมื่อพระองค์พังได้รับพระบรมธาตุแล้ว จึงทรงแบ่งพระบรมธาตุดังกล่าว จำนวน 5 องค์ (องค์ใหญ่ 1 องค์ องค์กลาง 2 และองค์เล็กอีก 2 องค์) ให้แก้พญาเรือนแก้วเจ้าเมืองไชยนารายณ์ เมื่อพญาเรือนแก้วได้รับพระบรมธาตุแล้วจึงได้ไปสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมธาตุดังกล่าวทั้ง 5 องค์ ไว้ที่ยอดดอยจอมทอง เขตเมืองพะเยา ส่วนพระบรมธาตุที่เหลืออีก 11 องค์ พระองค์พังจึงได้อัญเชิญพระบรมธาตุเหล่านั้นใส่ในโกศทองคำ ซ้อนโกศเงินและโกศแก้ว มอบให้แก่พญาพรหมมหาราช พระโอรสของพระองค์เองเก็บรักษาไว้

    พระบรมธาตุแสดงอภินิหาร

    เมื่อพระเจ้าพรหมมหาราชยึดนครโยนกคืนได้แล้ว พระองค์จึงได้ขึ้นไปบนยอดดอยน้อยในวันวิสาขะบูชา เพื่อสร้างเจดีย์ครอบทับสถูปพระเกศสาธาตุองค์เดิมที่พญาสิงหนวัติได้ทรงสร้างไว้เมื่อก่อนพุทธศักราช 30 ปี ซึ่งพระเจดีย์ที่สร้างใหม่นี้มีขนาดสูง 13 เมตร กว้างด้านละ 6 เมตร เพื่อบรรจุพระบรมธาตุทั้ง 11 องค์ที่พระเจ้าพังคราชประทานให้ไว้พระพรหมมหาราชเกิดประหลาดใจและปิติยินดีเป็นล้นพ้นเมื่อพระองค์เปิดโกศทองที่บรรจุพระบรมธาตุทั้ง 11 องค์ออก และได้พบว่ามีพระบรมธาตุเสด็จมาอยู่ในโกศทองคำจนเต็มโกศ พระธาตุแต่ละองค์มีขนาดเล็กกว่าของเดิมทุกองค์ พระองค์จึงอัญเชิญพระธาตุเฉพาะองค์ใหญ่ทั้ง 11 องค์ออกมาบรรจุไว้ในเจดีย์แห่งนั้น ซึ่งต่อมาเรียกว่าพระธาตุจอมกิตติ ส่วนพระบรมธาตุที่เหลือทั้งหมด พระองค์ทรงเก็บไว้ด้วยพระองค์เอง


    สร้างวัดพระธาตุสบฝาง

    เมื่อพระเจ้าพรหมมหาราชได้สร้างเวียงไชยปราการที่ต้นน้ำกุกกนที (น้อกก) ได้ประมาณ 4 ปี ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.923 พระองค์จึงสร้างพระเจดีย์ไว้บนยอดดอยสบฝาง ริมฝั่งแม่น้ำกก ห่างจากบ้านท่าตอนประมาณ 4 กม. เพื่อบรรจุพระบรมธาตุทั้งหมดที่เหลือจากการบรรจุที่วัดพระธาตุจอมกิตติเมืองเชียงแสน ครั้งก่อน

    สร้างพระพุทธรูป

    เมื่อพระเจ้าพรหมมหาราชได้สถาปนาองค์พระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าเรียบร้อยแล้ว พระองค์ยังให้ช่างหล่อพระพุทธรูปด้วยทองสัมฤทธิ์อีกจำนวนมาก เพื่อถวายไว้กับวัดนี้และวัดที่พระองค์สร้างไว้ในเมืองไชยปราการ เช่น วัดส้มสุก, วัดเก้าตื้อ, วัดป่าแดง และวัดดอกบุญนาค เป็นต้น


    ปี พ.ศ. 2467 ท่านครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ได้เดินธุดงค์ไปเมืองเชียงแสน และได้แวะพักแรมอยู่ที่วัดพระธาตุสบฝางได้เห็นเจดีย์เก่าและชำรุดทรุดโทรมมาก จึงให้โยมอุปัฏฐากนำหนังสือไปให้เจ้าเมืองฝาง เพื่อขออุปถัมภ์ที่จะบูรณะครั้งนั้นมิได้ต่อเติมหรือดัดแปลงรูปทรงองค์พระเจดีย์ให้ผิดไปจากทรงเดิมเพียงแต่ก่อและห่อหุ้มองค์พระเจดีย์ให้สมบูรณ์เท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ.2532 พระครูวุฒิญาณพิศิษฐ์ อดีตเจ้าคณะอำเภอแม่อายได้ย้ายขึ้นมาอยู่ จำพรรษาบนดอยนี้ ได้สร้างอุโบสถจตุมุธและวิหารปฏิบัติธรรม โดยได้รับการอุปถัมภ์จากคุณอเนก ฮุนตระกูล จากกรุงเทพมหานคร พร้อมกับได้บูรณะองค์พระเจดีย์ โดยได้กะเทาะปูนเก่าออกทั้งหมดและฉาบใหม่ทั้งองค์และเปลี่ยนยอดฉัตรบนยอดดอยพระเจดีย์ด้วยให้สมบูรณ์และสวยงามเหมาะสมยิ่งขึ้นตราบเท่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้


    เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย ปี 2518 วัดพระธาตุสบฝาง อ.แม่อาย จ.เขียงใหม่ จัดสร้างโดย พระอาจารย์ธีระ ญาณวฺฒโฑ มีหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เป็นประธานอุปถัมภ์ให้เมตตามาอธิษฐานจิตร่วมกับครูบาชุ่ม วัดวังมุย และ คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิของล้านนาในสมัยนั้นน่าใช้มากๆครับ


    บูชาแล้วครับ

    Clip_18.jpg Clip_41.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2020
  2. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 6936

    เหรียญหลวงพ่อพระประธานในพระอุโบสถ วัดทุ่งกวาว ปี2520 จ.แพร่ หายาก


    ราคา500 บาทสนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_42.jpg Clip_43.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2020
  3. MATHS

    MATHS เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    783
    ค่าพลัง:
    +908
    ขอจองครับ
     
  4. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รับทราบการจองครับ ขอบพระคุณครับพี่
     
  5. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 6937

    เหรียญรุ่นแรกครูบาตั๋น ปัญโญ สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิน เนื้อฝาบาตร

    พระอรหันต์ นักปฎิบัติ ได้รับการยกย่องจาก ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง ครูบาบุญปั๋น วัดร้องคุ้ม พระธรรมังคลาจารย์ (ทอง สิริมังคโล) ว่าเป็นพระผู้ปฎิบัติดี
    หลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ แห่งสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น ท่านเป็นพระมหาเถระ ที่มีอายุกาลพรรษามากที่สุด อันดับต้นๆ ของภาคเหนือ ปัจจุบันชื่อเสียงของท่านนั้น เริ่มเป็นที่รู้จักของคนหมู่มาก ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ วัตถุมงคลที่ได้ผ่านการอธิฐานจิตจากหลวงปู่นั้น ล้วนมีประสบการณ์ เป็นที่ประจักรในหลายๆด้าน ทั้งเมตตา ปกป้องคุ้มครอง และประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปราถนาในหลายๆด้าน ท่านได้รับการยกย่องในเรื่องปฏิบัติภาวนา สมถะ และมีศีลธรรม กัมมัฏฐาน เป็นที่เด่นชัด ในเรื่องของความเป็นพระดีพระแท้ เคร่งครัดปฏิบัติตามแนวทางวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างท่องแท้ ได้รับการยกย่องจากพระคณาจารย์ชื่อดังของทางภาคเหนือ หลายต่อหลายท่านคร่าวๆ เช่น หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง( พระที่ได้รับการยกย่องจากพระเกจิอาจารย์มากมายในความเก่งกล้าในเรื่องวิชาคาถาอาคม ถึงขนาดที่หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม สั่งให้ลูกศิษย์มาขอเรียนต่อวิชากับครูบาอิน ) หากหลวงปู่ครูบาอินไม่อยู่แล้วฮื้อไปหาครูบาตั๋นวัดดอยเน่อ , หลวงปู่ครูบาบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม ( พระอรหันต์ต๋นเมตตาแห่งวัดร้องขุ้ม เจ้าตำหรับเทียนเศรษฐีล้มลุกอันโด่งดัง ) , หลวงปู่บุญจันทร์ วัดถ้ำผาผึ้ง ( พระกัมมัฏฐานศิษย์สายพระอาจารย์มั่น ) ทั้ง ๓ รูป ได้บอกกล่าวกับศิษย์เอาไว้ ปัจจุบันท่านทั้ง 3 ได้ละสังขารไปแล้ว อัฐิธาตุของพระคณาจารย์ทุกท่านได้แปรสภาพกลายเป็นพระธาตุทุกรูป และ ยังมีสหายธรรมอีกหลายรูปเช่น หลวงปู่ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม , หลวงปู่ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี ( ท่านเคยกล่าวเอาไว้ว่าเฮานิอยู่อย่างตุ๊ตั๋นบะได้เน่อ ) , หลวงปู่ครูบาดวงดี วัดบ้านฟ่อน . หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง , พระครูขันตยภรณ์ สุสานไตรลักษ์ และ พระคณาจารย์อีกหลายท่านที่ไม่ได้เอ้ยนาม ทุกรูปล้วนเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั้งหลาย หลวงปู่ครูบาตั๋นท่านเป็นพระ ที่มีจริยาวัตรอันงดงาม ปฏิบัติตนอยู่ในศีล ในธรรม ปฏิบัติตนตามคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเคร่งครัด ท่านเป็นพระมหาเถระที่อยู่อย่างสมถะ เรียบง่าย ไม่ยึดติด ไม่ฝักใฝ่ ในตำแหน่ง หรือยศถาบรรดาศักดิ์ใดๆ ทั้งสิ้น คงมุ่งเน้นแต่แนวทางปฏิบัติ ตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ เพื่อความหลุดพ้นเท่านั้น วัตรปฏิบัติของท่านเน้น ปฏิบัติทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน ถือภาวนาพุธโธเป็นหลัก หลีกเร้นความวุ่นวาย จะเห็นได้ว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านไม่ยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีแดนเมือง วัดต้นสังกัดของท่าน ทั้งๆที่ท่าน มีความอาวุโส และความพร้อมในทุกด้าน แต่แล้วท่านกลับเลือกที่จะย้ายขึ้นมาอยู่ที่ สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่นแทน ถ้าจะเปรียบเทียบความสะดวกสบาย ของสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น ในสมัยก่อนนั้นย่อมสู้ที่วัดศรีแดนเมืองไม่ได้แน่นอน จุดประสงค์ในการเผยแพร่เถระประวัติในครั้งนี้ เพื่อเป็นการบูชาคุณ หลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ พระมหาเถระที่มีอายุกาลพรรษาสูงที่สุดในดินแดนล้านนาในปัจจุบัน และเพื่อเป็นการเผยแพร่บารมีธรรมของหลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ไม่ให้หายสาบสูญ และให้คงอยู่บนดินแดนล้านนาสืบไป

    สวยเดิมๆไม่ผ่านการใช้


    คุณ j999 บูชาแล้วครับ

    Clip_18.jpg Clip_41.jpg Clip_42.jpg Clip_53.jpg Clip_47.jpg Clip_48.jpg Clip_49.jpg Clip_50.jpg Clip_51.jpg Clip_52.jpg


    เถระประวัติ
    หลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ มีนามเดิมว่า ตั๋น นามสกุล คำมูล โยมบิดาชื่อ พ่ออุ้ยหม่อนปั๋น คำมูล โยมมารดาชื่อ แม่อุ้ยหม่อนคำเอ้ย คำมูล ท่านเกิดเมื่อ วันพฤหัสบดี ที่ ๒๗ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ตรงกับวันแรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๐ จุลศักราช ๑๒๗๖ ปี ขาล (เสือ) ไทภาษาว่าปี กัดเป้า ณ.หมู่บ้านแสนคำ หมูที่ ๑๐ ตำบลทุ่งปี๊ อำเภอสันป่าตอง ( ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแม่วาง ) จังหวัดชียงใหม่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน จำนวน ๖ คน
    ๑. แม่อุ้ยมูล คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
    ๒. แม่อุ้ยมา คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
    ๓. พ่ออุ้ยคำ คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
    ๔. หลวงปู่ครูบาตั๋น ปัญโญ ( เจ้าของเถระประวัติ )
    ๕. พ่ออุ้ยทา คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
    ๖. พ่ออุ้ยทอง คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
    ปัจจุบันบรรดาพี่น้องทั้งหมดของหลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ ได้ถึงแก่กรรมไปแล้วทุกท่าน
    ฝากตัวเป็นเด็กวัด
    พ่ออุ้ยหม่อนปั๋น แม่อุ้ยหม่อนคำเอ้ย คำมูล ท่านเป็นคนขยัน หมั่นแพ่วถาง ครอบครัวของท่านจึงมีที่ดินที่นาทำกินเป็นจำนวนมาก และถือได้ว่าเป็นครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวย เป็นอันดับ หนึ่งของ ตำบลทุ่งปี๊ ท่านมีอาชีพเกษตรกรรม ดำเนินชีวิตด้วยการทำไร่ ทำนา เลี้ยงบุตร ธิดาตามประสาชาวบ้านทั่วไป เมื่อครั้งยังเยาว์วัยนั้น เด็กชาย ตั๋น คำมูล ได้ใช้ชีวิตเหมือน เด็กชาวบ้านทั่วไป ช่วยบิดาทำไร่ ทำนา พ่ออุ้ยหม่อนปั๋น โยมบิดา ท่านชอบทำบุญเข้าวัด ทุกคราวที่ไปวัดท่านก็จะพา เด็กชาย ตั๋น คำมูล ติดตามไปด้วยทำให้ เด็กชาย ตั๋น คำมูล มีจิตใจฝักใฝ่ในทางบุญ บวกกับ บุญวาสนาที่ได้เคยสั่งสมมาแต่เมื่อชาติที่แล้วทำให้ สนใจศึกษาหลักธรรม คำสอน เด็กชาย ตั๋น คำมูล จึงขอลาบิดา มารดา เข้ามาฝากตัว เป็นศิษย์วัดที่ วัดมะกับตองหลวง สมัยนั้น ท่านครูบาปัญญา เป็นเจ้าอาวาส วัดมะกับตองหลวง เด็กชาย ตั๋น คำมูลก็ได้คอยศึกษาเล่าเรียน ปัดกวาดเช็ดถู มิได้ขาด เมื่อ เป็นศิษย์ วัดมะกับตองหลวงได้ ประมาณปีเศษ เด็กชาย ตั๋น คำมูล ได้ไปเที่ยวเล่นที่วัดศรีแดนเมือง เพื่อนเด็กวัดรุ่นเดียวกัน ก็เลยชักชวนเด็กชายตั๋น คำมูลมาเป็นศิษย์วัด ที่วัดศรีแดนเมือง ตำบล ยางคราม อำเภอ จอมทอง ( ปัจจุบันอยู่ อำเภอดอยหล่อ ) จังหวัดเชียงใหม่ สมัยนั้น พระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ เป็นเจ้าอาวาส เด็กชาย ตั๋น คำมูล ก็ลาเจ้าอาวาสวัดมะกับตองหลวงมา อยู่ที่วัดศรีแดนเมือง ตอนนั้น เด็กชาย ตั๋น คำมูล อายุได้ ๑๓ ปี ฝากตัวเป็นศิษย์วัด กับพระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ เจ้าอาวาสวัดศรีแดนเมือง ท่านพระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ ได้อบรมสั่งสอน เด็กวัดทั้งหลายให้มีระเบียบวินัย เด็กชาย ตั๋น คำมูล คอยปฏิบัติรับใช้ ด้วยความอ่อนน้อมเชื่อฟัง จึงเป็นที่รักของ พระอธิการสุพันธ์ (จันทร์) สุวันโณ ประกอบกับอุปนิสัยของ เด็กชายตั๋น คำมูล นั้นมีความอดทน อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ เผื่อแผ่แก่เพื่อนฝูงเด็กวัดด้วยกัน และ ชอบหาความสงบ อยู่ลำพังเพียงผู้เดียว เป็นเด็กที่ซื่อตรงต่อหน้าที่ และ ก็ยังได้เรียนอักขระพื้นเมืองไทยล้านนาไปด้วย แต่ก็เรียนไปด้วยความยากลำบากยิ่งเพราะ ความจำไม่ค่อยดี ก็เลยเป็นที่ล้อเรียนของเพื่อนเด็กวัดด้วยกัน แต่เด็ก ชายตั๋น คำมูล ก็มีจิตเป็นสมาธิตั้งมั่น อาศัยจิตตั้งมั่นนี้ ในการจดจำร่ำเรียน และยังติดตามพระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ ไปจาริกธุดงค์ เหนือจดใต้ ไปบูรณะวิหาร และก่อสร้างมณฑปยังวัดจอมแจ้ง อำเภอ แม่วาง ( สมัยนั้นยังไม่เป็นวัด )ร่วมกับครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ( ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ อาจาร์สอนกัมมัฏฐานหลวงปู่ครูบาตั๋นท่านเดินธุดงค์มาจาก บ้านป่าเหียง กองงาม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นพระกัมมัฏฐานสายป่าซางล้านนาขนานแท้ ยุคเดียวกับครูบาเจ้าศรีวิไชยนักบุญแห่งล้านนา พระคณาจารย์ที่ถือปฎิบัติสายนี้ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมีดังนี้ ครูบาอินทจักร วัดน้ำบ่อหลวง , ครูบาพรหมจักร วัดพระบาทตากผ้า , หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง เป็นต้น ต่อมาท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดจอมแจ้ง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๒ –๒๔๘๔ ท่านเป็นพระที่เคร่งในศีลในธรรมเน้นปฏิบัติ ทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน อย่างเด็ดเดี่ยว ) เด็กชาย ตั๋น คำมูล ได้ปฏิบัติรับใช้ท่านพระ คุณเจ้าทั้งสอง มิได้ขาด และ ยังคอยศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติมอยู่ตลอด เวลา ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ท่านได้เห็นความขยันหมั่นเพียรความ อดทน มีมานะ ของ เด็กชาย ตั๋น คำมูล ประกอบกับท่านก็ยังไม่มี ศิษย์คอย อุปัฏฐากรับใช้ ท่านจึงได้ขอเอาเด็กชาย ตั๋น คำมูล ที่ติดตามอุปัฏฐากมากับ พระอธิการสุพันธ์( จันทร์ ) สุวันโณ ให้อยู่กับท่านเสียที่ วัดจอมแจ้ง บ้านนาทราย อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เด็กชาย ตั๋น คำมูล จึงได้มาเป็นศิษย์คอยดูแลอุปัฏฐาก ถวายตัวรับใช้ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
    บรรพชาเป็นสามเณร
    พอล่วงมาถึงเวลาอันควรแล้วที่เด็กชาย ตั๋น คำมูล ควรแก่การบรรพชาบวชเป็นสามเณร พระอธิการสุพันธ์ (จันทร์) สุวันโณ ท่านก็ได้เดินทางไปหาท่าน ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ที่วัดจอมแจ้ง ( อำเภอแม่วาง) เพื่อเอาความนี้ไปปรึกษากับ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พระคุณเจ้าทั้งสองเมื่อปรึกษากันก็ได้เห็นว่า เด็กชาย ตั๋น คำมูล ได้รับการศึกษาอักขระวิธี ท่องจำบท สวดมนต์ทำวัตร ท่องบทสวดมนต์ ๗ ตำนาน ๑๒ ตำนาน และบทสวดมนต์ ตำนานมงคลสูตร มหาสมัยสูตร สามารถอ่านเขียนอักขระล้านนา และภาษาไทยได้ จึงได้ปรึกษากันว่า เด็กชาย ตั๋น คำมูล มีภูมิความรู้พอที่จะบรรพชาเป็นสามเณรได้ ในขณะนั้นเด็กชาย ตั๋นมีอายุได้ ๑๕ ปี การบวชสมัยนั้น ก็ทำกันง่ายๆ คือการบวชห่อหมาก ห่อพลูเท่านั้น มีภิกษุ ๕ รูปโดยมี พระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวัน เสาร์ ที่ ๑๑ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๗๒ เวลา ๑๑.๑๕ น. ตรงกับวันแรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๒ จุลศักราช ๑๒๙๑ เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว สามเณร ตั๋น คำมูล ได้ศึกษาเล่าเรียนภูมิธรรมความรู้ทาง พระพุทธศาสนาวิปัสสนา กัมมัฏฐาน และ อักษรไทยล้านนา ที่สำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรู ( ปัจจุบันนี้เป็นสำนักสงฆ์ป่าน้ำฮู หมู่ที่ ๒ บ้านหนองเย็น ตำบลทุ่งปี้ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ) ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ท่านเป็นเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้ และ มีพระภิกษุอีก ๔ รูป ประกอบด้วย ๑. ท่านครูบาบุญตัน สุวัณโณ ( เจ้าอาวาสวัดจอมแจ้ง)๒. ตุ๊ลุงอ้าย วัดโทกหัวหมา เขตจอมทอง ๓. ตุ๊ลุงมา เมืองฝาง ๔. พระปัญญาโม่ง วัดจอมแจ้ง สามเณรอีก ๔ รูป ๑. สามเณรตั๋น คำมูล ( ครูบาตั๋น ปัญโญ ) แม่อาวหน้อย ๒. สามเณรคำ จันทร์แดง ( พระครูขันตยาภรณ์ ) วัดดอยแก้วหนองเย็น ๓. สามเณรคำไฮ ลูกลุงเหมา บ้านปง ๔. สามเณรขาว ( น้อยขาวบ้านต้อ ) ลูกลุงมาเปี้ย ฆราวาสมี ๕ คน ๑. พ่อแก้ว จันทร์แดง ๒. พ่อน้อยกันทะ พรหมแสน ๓. พ่อลุงเหมาบ้านปง ๔. พ่อแก่แก้ว บ้านปงสนุก ๕. พ่อลุงมาเปี้ย เจ้าหน้าที่โรงครัว ได้ศึกษาพระ กัมมัฏฐาน ฝ่ายวิปัสสนาธุระ เป็นเวลา ๓ พรรษา และร่วมจาริกธุดงค์แสวงบุญไปในเขตแดนต่างๆ กับท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ และ ท่านได้เห็นว่า สามเณรตั๋น คำมูล ได้ปฏิบัติตัวตามพระธรรมคำสอน ฝึกวิปัสสนาธรรม กัมมัฏฐาน ทั้ง สมถะ มีศีลหมดใส จึงสมควรแก่เวลาที่สามเณรตั๋น คำมูล จะออกจาริกธุดงค์ไปยังเขตแดนต่างๆ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมด้วย น้อยพรหมมินทร์ บ้านหนองบอน น้อยกันทะ พรหมเสน บ้านหนองเย็น และ พระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ วัดศรีแดนเมือง ได้นำพระภิกษุสามเณร จำนวน ๒๓ รูป รวมถึง สามเณรตั๋น คำมูล ร่วมเดินจาริกธุดงค์ ลัดเลาะป่าเขา ดอยสูง มีสัตว์น้อยใหญ่ แรด กวาง ฟาน กระทิง และช้าง เดินเลาะเข้าไปในป่า เพื่อไปศึกษาคัดลอก พระธรรมคัมภีร์ ครั้งนั้นเมื่อต้อง พักแรมกลางป่า สามเณรตั๋น คำมูล และ สามเณรอีกรูปได้นำ ถ้วย ชาม บาตร และช้อน ที่ฉันเสร็จไปล้าง และด้วยความที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ สามเณรตั๋นและ สามเณรอีกรูป ก็ได้นำช้อน เอามาลอยเป็นเรือเล่น พอครูบาเจ้า บุญเป็ง อภิวงศ์เห็นเข้าท่านก็ได้บอกให้สามเณรทั้งสองว่า ไม่ควรเล่น มันไม่ดี มันจะเกิดอาเภท สามเณรทั้งสอง ก็หยุดเล่น พอตอนพลบค่ำก็เป็นจริง ดั่งคำที่ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ท่านได้กล่าว ตกดึกก็ได้ยินเสียงคำรามของเสือ ดังใกล้เข้ามาที่พักเรื่อย ๆ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ก็ได้ให้สามเณรทุกรูปมาสวด บทสวดกะระณียะเมตตะสุตตัง ( บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย ) พอสวดได้สักพักเสียงคำราม ของเสือก็เริ่มไกลออกไป จนไม่ได้ยิน แต่ไม่มีใครกล้าออกมา พอรุ่งเช้าก็ออกมาดู เห็นรอยเท้าเสือรอบๆบริเวณที่พักเต็มไปหมด หลังจากนั้นทั้งคณะก็เดินทางลัดเลาะ ป่าเขามาถึงวัดแม่อวม พระบาทเมืองกาง ล่องมาถึงวัดพระธาตุศรีจอมทอง เพื่อกราบนมัสการพระธาตุศรีจอม ทอง เมื่อกราบนมัสการเสร็จ แล้วจึงเดินทางกลับมายังสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรูจนเวลาล่วงมาได้ ๑ พรรษา ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมด้วยพระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ สามเณรตั๋น คำมูล พ่อหนาน ปัญญา ( เมื่อก่อนท่านเป็นพระภิกษุ ) ศิษย์วัดอีกหนึ่งคน ท่านเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ร่วมจาริกธุดงค์ไปยังเขตแดนต่างๆ เดินขึ้นเหนือ ผ่านเมืองเชียงใหม่ ค่ำที่ไหนก็นอนพักที่นั้น เดินทางผ่านแม่ริม แม่แตง แม่สา ป่ากล้วย แม่นะ ป่าบง แม่ก๊ะ เชียงดาว เดินผ่านดอยห้วยหนอง พักรอนแรมไปตามเทือกเขา ลำห้วย ลุถึงถ้ำตับเตา ก็ได้พักให้หายปวดเหมื่อย เมื่อหายปวดเหมื่อยแล้ว ก็เดินทางต่อผ่าน แม่ออน บ้านห้วยห้อม วัดแม่สุญหลวง วัดแม่แหลง กราบนมัสการครูบาเต๋จา แล้วธุดงค์ต่อไปบ้านอ่าย บ้านคาย บ้านแพะ บ้านสันป่าเหียง และเลยไปจนถึงพระธาตุสบฝาง ครูบาเจ้าวัดแม่แหลงท่านมีความศรัทธา จึง ได้ขอกราบอาราธนานิมนต์ให้ คณะครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ให้พำนักจำพรรษาพร้อมจัดหา คนคอยอุปัฏฐากรับใช้ ระหว่างที่พำนักอยู่ท่านได้ปฏิบัติธรรม และ อบรมสั่งสอนชาวบ้านให้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามพระธรรมคำสอน ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ และคณะอยู่ปฏิบัติธรรมที่ วัดแม่แหลงได้ประมาณเดือนเศษ พ่อแสนตาและศรัทธาญาติโยมบ้านท่าตอนได้มาฟังพระธรรมคำสอน ของท่านก็เกิดความเลื่อมใส ศรัทธาจึงขอกราบอาราธนานิมนต์ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมกับคณะอยู่จำพรรษาอยู่บนดอยบ้านท่าตอน พร้อมด้วยคณะวัดแม่แหลงก็อยู่ร่วมจำพรรษาด้วย ระหว่างจำพรรษา สามเณรตั๋น คำมูล ก็ได้หมั่นศึกษาหาความรู้อยู่มิได้ขาด พอเวลาล่วงมาถึงออกพรรษาแล้ว ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ก็เห็นว่าถึงเวลาอันควรแล้ว จึงขอลาศรัทธาญาติโยมชาวบ้านท่าตอน พาคณะเดินทางจาริกธุดงค์ต่อไปโดยอาศัยแพ ขึ้นเหนือจากท่าตอน พอค่ำที่ไหนก็นอนที่นั้นบางครั้งยังอาศัยหลับนอน บนแพ ที่ลอยยู่กลางแม่น้ำกก ล่องแพมาได้ ๒ วันก็มาถึงจังหวัดเชียงราย ขึ้นท่าน้ำเดินทางต่อ โดยทั้งคณะได้อาศัยรถยนต์ ไปอำเภอเชียงแสน
    ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ก็ได้พาสามเณรและศิษย์ ไปกราบคาราวะ พระสถูปเจ้าองค์คำ และเลยต่อไปบ้าน แม่คาว วัดกอกอก บ้านสัน วัดแม่คำ ไปจนถึงบ้านป่ากว๋าว และ ได้ขึ้นไปกราบนมัสการพระบรมธาตุดอยตุง เดือนยี่ แรม ๑ ค่ำ คณะครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ เดินทางโดยอาศัยรถยนต์ เพื่อไปกราบนมัสการพระเจ้าตนหลวงทุ่งเอี้ยง เมืองพะเยา นอนพักที่นั้นหนึ่งคืน พอตอนเช้าจึงออกเดินทางต่อไป อำเภองาว จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน แล้วจึงได้ขึ้นรถไฟเดินทางผ่าน เมืองลำปาง ลำพูน กราบนมัสการพระธาตุหริภุญชัย แล้วเดินทางผ่านสารภี มาถึงเมืองเชียงใหม่แล้ว ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมด้วยคณะ ก็เดินทางไปยัง วัดพระสิงห์วรวิหาร ซึ่งในขณะนั้นครูบาเจ้าศรีวิชัย ท่านเป็นประธาน( นั่งหนัก ) รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์วรวิหาร เมื่อครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้รู้ว่า ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมคณะเดินทางมายังวัดพระสิงห์วรวิหาร ครูบาเจ้าศรีวิชัยก็ได้ให้ศิษย์วัดกราบอาราธนานิมนต์ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ให้พำนักอยู่ที่วัดพระสิงห์วรวิหาร ๑ คืน พอรุ่งเช้าครูบาเจ้าศรีวิชัย ท่านก็ได้นิมนต์ใส่บาตร ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ แล้ว พระคุณเจ้าทั้งสองพร้อมคณะ ก็ร่วมฉันเช้าเมื่อฉันเสร็จ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมทั้งคณะก็ได้ขอกราบลาครูบาเจ้าศรีวิชัย เดินทางกลับมายังสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรูตามเดิม จากนั้นมา สามเณรตั๋น คำมูล อยู่อุปัฏฐากรับใช้ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ มาเป็นเวลา ๔ พรรษา ยังมีจิตใจเที่ยงมั่นในพระธรรมคำสอน ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครองอยู่ในผ้าเหลือง อยู่ตลอด เวลา มีศีลหมดใส จนอายุครบอุปสมบท
    อุปสมบทเป็นพระภิกษุ
    เมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว สามเณรตั๋น คำมูล ก็ได้มีจิตใจประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ศึกษาค้นคว้าท่องบ่นจำพระวินัย ประพฤติเสขิยาวัตร จริยวัตร ความเป็นสามเณรเป็นอันดีงาม และเป็นที่รักใคร่ จนกระทั่งเจริญอายุครบ ๒๐ ปี ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ และ หลวงพ่ออ้ายอินทนนท์ ก็ได้จัดงานอุปสมบท ให้เมื่อวันที่ ๘ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ พัทธสีมา วัดศรีแดนเมือง ได้รับฉายาว่า “ ปัญญาภิกขุ ” ( แต่ภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็น “ ปัญโญภิกขุ ” เนื่องจากสมัยก่อนท่านมักจะโดนล้อว่า ฉายาปัญญาภิกขุนั้น ไม่เหมาะกับท่าน เพราะท่านเป็นคนที่ ความจำไม่ค่อยดี ท่านเลยเปลี่ยนจาก ปัญญา มาเป็น ปัญโญ ) มีพระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ ( เจ้าอาวาสวัดศรีแดนเมือง ) เป็นพระอุปัชฌา พระอุ้ย คัมภีโร ( วัดมะกับตองหลวง ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมา โพธิโก ( วัดศรีแดนเมือง ) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ บวชเป็น พระ ภิกษุขึ้นอยู่กับวัดศรีแดนเมือง หลังจากนั้นก็ได้คอยติดตามอุปัฏฐากรับใช้ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ไปเข้าปริวาสกรรมตามที่ต่างๆ และยังออกธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ที่ห้วยลึก ๑ พรรษา ห้วยน้ำขาว ๑ พรรษา ดงป่าเฝ่า ๑ พรรษา น้ำออกรู ๒ พรรษา และเนื่องจากปีนั้นได้เกิดไฟป่าเผาไหม้ มายังบนดอย ทางทิศตะวันตก ของสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรู ประกอบกับมีลมแรงกระหน่ำ ได้พัดเอาลูกไฟก้อนมหึมานั้นลงมาใส่กุฏิของ ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ทำให้กุฏิของท่านนั้นไฟไหม้วอด ไปทั้งหลัง ข้าวของในกุฏิ มีมากมายหลายชนิด มีทั้ง พระพุทธรูป และ ของใช้ต่างๆ ถูกไฟเผาไหม้ วอดวาย เสียหายทั้งหมด ไม่มีอะไรเหลือเลย หลังจากนั้นท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ก็ได้มุ่งหน้าออกเดินธุดงค์ไปยังวัดจอมแจ้ง และท่านได้อยู่จำพรรษาที่นั้น ๑ พรรษา โดยมี พระตั๋น ปัญโญ คอยอุปัฏฐากรับใช้เรื่อยมา หลังจากนั้น ไม่นาน ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ไ ด้เกิดอาพาส ท่านก็เลยออกธุดงค์ต่อไปยังวัดท่าโป่ง ๑๗๓ หมู่ ๓ ตำบล บ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ และ หลังจากท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดท่าโป่ง ได้ไม่นาน ก็ได้มรณะภาพลง และเป็นที่น่าเศร้าใจยิ่งนักแก่บรรดาลูกศิษย์และญาติโยมทั้งหลาย สุดท้ายจึงได้ตามกันไปจัดงานพิธีฌาปนกิจ ถวายเพลิงท่านครูบาเสียตามประเพณี ณ สุสานแห่งนั้น ปัจจุบันนี้อัฐิของ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ได้บรรจุอยู่ที่ วัดดอยหยุด หมู่ ๒ ตำบลดอนเปา อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ( สมัยก่อนดอยหยุด เป็นสำนักปฏิบัติธรรมอยู่ในเขตของวัดท่าโป่ง แต่ปัจจุบันนี้มีการแบ่ง แยกเขตจากเดิม สถานปฏิบัติธรรมดอยหยุด อยู่ตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง โดยได้แยกออกมาเป็นเขตของอำเภอแม่วางในปัจจุบัน ) ส่วนสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรู ก็เลยไม่มีใครเป็นตัวตั้งตัวตีสืบทอดอยู่ต่อไป ภายหลังจากการจัดงานฌาปนกิจให้แก่ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ เรียบร้อยแล้ว พระตั๋น ปัญโญ จึงได้กลับมาจำพรรษา ยังวัดศรีแดนเมืองตามเดิม อันเป็นวัดประจำภูมิลำเนาของ ท่านตลอดมา และ ศรัทธาญาติโยม ก็ได้สร้างกุฏิไม้ถวายท่าน ท่านก็ได้อยู่จำพรรษา ที่ วัดศรีแดนเมืองตลอดมา ด้วยความที่ท่านเป็นพระที่รักสงบ ท่านก็ไปปฏิบัติธรรมบนสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่นบ้าง ( สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น หรือที่ชาวบ้านท้องที่เรียกว่า วัดดอยปู่ต้นสมัยก่อน มีพระธุดงค์รูปหนึ่ง ท่าน ชื่อว่าครูบาวงศ์ ได้เดินธุดงค์มาจากทางเชียงใหม่ และได้มาพักปฏิบัติธรรมอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น และ ท่านก็ได้มามรณะภาพลงที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น แห่งนี้ แสดงว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เคยมีพระสงฆ์อยู่ปฏิบัติธรรมมาก่อน เป็นระยะเวลาร่วม ๑๐๐ กว่าปีมาแล้ว ) หลังจากนั้นท่านพระอธิการสุพันธ์ ( จันทร์ ) สุวันโณ ท่านก็ได้ขึ้นมาบูรณะวิหาร สร้างศาลาปฏิบัติธรรม และ อยู่ปฏิบัติธรรม ที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น เป็นครั้งเป็นคราว ส่วนพระตั๋น ปัณโญ อยู่จำพรรษาที่วัดศรีแดนเมือง ได้ไม่นาน ก็ได้ย้ายขึ้น มาอยู่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น ศรัทธาญาติโยมก็ได้ช่วยกัน ลื้อกุฏิหลังเก่าของท่านที่วัดศรีแดนเมืองขึ้นมา สร้างถวายให้ท่านที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น และมีสามเณรขึ้น มาอยู่กับท่านด้วยในครั้งนั้น และเมื่อสามเณรได้ลาสิกขาบทออกไป ศรัทธาญาติโยมได้เห็นว่าท่านไม่มีคนคอยอุปัฏฐากรับใช้ ศรัทธาญาติโยมจึงได้มานิมนต์ท่านให้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีแดนเมืองตามเดิม และเมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีแดนเมือง ว่างลง ด้วยบุคลิกของท่านเป็นผู้ที่สมถะ ไม่ฝักใฝ่ ในลาภยศ หรือ ตำแหน่งใดๆ ท่านมีจิตแน่วแน่ไปในทางปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานเพียงอย่างเดียว ท่านจึงได้ย้ายขึ้นมาอยู่ที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่นอีกครั้ง โดยไม่ยอมรับตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดศรีแดนเมือง ในปีพ.ศ. ๒๕๑๐ และศรัทธาก็ได้ทำการลื้อกุฏิไม้หลังเดิม ขึ้นมาสร้างบนสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่นอีกครั้ง และท่านก็ได้ทำการบูรณะวิหารหลังเดิม ในปีพ.ศ. ๒๕๒๑ เมื่อเวลาผ่านไปกุฏิไม้หลังเก่า เริ่มมีสภาพชำรุด ทรุดโทรม จึงมีศรัทธาญาติโยมนำโดย คุณ เจนจิตร ดาวเจริญ และ คณะรับเป็นเจ้าภาพจัดสร้างกุฏิหลังใหม่ให้ท่าน ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ และ ในปีที่ พ.ศ. ๒๕๔๗ หลวงปู่ครูบาตั๋น กับ ศรัทธาญาติโยม ก็ได้ทำการลื้อศาลาการเปรียญ และสร้างขึ้นมาใหม่ในวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ เพื่อเอาไว้ใช้ปฏิบัติศาสนากิจ บำเพ็ญเพียร ปฏิบัติธรรม และจัดงานต่างๆใน วันสำคัญ ตลอดระยะเวลากว่า ๕๐ ปี หลวงปู่ครูบาตั๋น ปัญโญ ท่านได้อยู่จำพรรษา และ ปฏิบัติธรรม อยู่บนสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น และ คอยอบรมสั่งสอนศรัทธาญาติโยมที่มาทำบุญกับท่าน ตลอดมาจวบจนทุกวันนี้
    วัตรปฏิบัติของสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรู
    เวลา ๐๔.๐๐ น. ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ จะตีระฆังเงี่ยง ตุ๊ลุงตัน สุวัณโณ จะตีกรก ( ตีเกราะ ) ตุ๊ลุงมา ตุ๊ลุงอ้ายและลุงมาเปี้ย ก็ตีเกราะเหมือนกัน สำหรับสามเณรน้อยทั้ง ๔ รูป ก็ตีเกราะด้วยเช่นกัน แล้วจึงออกไปชำระร่างกายตนเอง ที่ตีเกราะกันนั้นเพื่อที่จะให้บุคคลในที่นั้นๆ ตื่นขึ้น เฉพาะที่พักของเณรก็มีเกราะอยู่ใบหนึ่งสำหรับตีกัน แต่พวกเณรมี ๔ รูป ต้องเปลี่ยนกันตีเกราะคนละวันเวียนกันไป ทำกันอยู่อย่างนี้ตลอดพรรษา เสร็จแล้วทั้งพระและ เณร ก็พากันไปสวดมนต์ที่กุฏิของ ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์พร้อมกัน สวดมนต์เสร็จแล้ว ต้องลงไปนั่งที่โคนต้นไม้คนละต้น เพื่ออธิฐานรุกขมูลลิกังคะธุดงค์ หากเป็นวันพระวันศีล ท่านครูบาจะให้ขึ้นทำวัตรเอกา ( ฉันมื้อเดียว ) เพิ่มเติม และ วัตรเนสัชชิกังคะ ให้ถืออิริยาบถ ๓ มี นั่ง ยืน เดิน เท่านั้น วันนั้น ห้ามนอนไปจนกว่าจะถึง ๒๔.๐๐ น. จาก นั้นจึงนอนได้ แต่ละวันนั้นเมื่อตื่นมาแล้ว ก็ต้องปฏิบัติกิจประจำวัน ตอนเช้าหลังออกจากรุกขมูล ก็ให้ไปช่วยทำอาหารซึ่งมีลุงมาเปี้ยเป็นหัวหน้า เสร็จแล้วเตรียมใส่บาตร แล้วจึงฉันภัตตาหารได้ การฉันก็ฉันแบบเอกา คือฉันหนเดียวทั้งพระทั้งเณร ฉันเสร็จแล้วสวดบท ทายะ-กานัง อนุโมทามิ ฯ จากนั้นก็พักผ่อนตามอัธยาศัยได้ บางวันมีมะพร้าวอ่อน กล้วยสุก และผลไม้ อื่นๆ ที่โยมนำมาถวาย ท่านครูบาจะให้ปลงวัตรเอกาแล้วมาฉันได้อีก ข้อนี้ไม่บังคับ หรือ หากวันใด มีการขุดดิน ขนดิน ตัดฟืน ปลูกผัก หรือมีงานหนักๆ ท่านครูบาจะให้ปลงเอกาด้วย ตอนเย็นประมาณบ่าย ๓ โมง จะพากันไปหาผักต่างๆ จากลำห้วยหรือในป่ามาไว้ทำอาหารพรุ่งนี้เช้า เวลา ๑๗.๓๐ น. สรงน้ำเสร็จแล้วไปนั่งโคนต้นไม้เจริญกัมมัฏฐานภาวนา เวลา ๑๙.๐๐ น. ท่านครูบาจะตีระฆังเงี่ยงและเกราะจากนั้นก็จะไปรวมกันสวดมนต์ที่ กุฏิของท่านครูบา เสร็จแล้วท่านครูบาก็จะ ให้โอวาทแล้วก็เลิก เวลา ๒๑.๐๐ น. ไปไหว้พระที่กุฏิของท่านครูบาพร้อมกัน แล้วกลับไปพักผ่อนหลับนอน วนเวียนกันอยู่อย่างนี้ นี่เป็นระเบียบข้อวัตรปฏิบัติของสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรูในสมัยนั้น
    หลวงปู่ครูบาตั๋น กับ พระครูวรวุฒิคุณ หลวงปู่ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง
    ครั้งแรกที่ครูบาตั๋นได้สนทนาธรรมกับหลวงปู่ครูบาอิน คือเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ขณะนั้น ได้มีศรัทธาญาติโยมนำโดย คุณเจนจิตร ดาวเจริญ เป็นเจ้าภาพสร้างกุฏิหลังใหม่ ถวายให้แก่ ครูบาตั๋น ปัญโญ และ ได้นิมนต์พระสงฆ์จำนวน ๙ รูป เพื่อมาสวดเจริญ พระพุทธ-มนต์ โดยมี หลวงปู่ครูบาอิน อินโท ได้มาเป็นประธานถวายกุฏิให้ครูบาตั๋น ปัญโญ ในครั้งนี้ เมื่อเสร็จงานท่านทั้งสองก็ได้มานั่งพูดคุยกัน ถามไถ่ถึงสารทุกข์สุกดิบ ความเป็นอยู่ และ สุขภาพร่างกาย ของกันและกัน และนับตั่งแต่วันนั้น ท่านครูบาทั้งสองก็มักจะไปมาหาสู่กันโดยตลอด และพระคุณเจ้าทั้งสองก็มักจะได้เจอกันตามงานบุญ หรือ งานพุทธาภิเษกต่างๆ อยู่เสมอ หรือถ้าหลวงปู่ครูบาอินท่านมีงานอะไร ท่านก็มักจะให้ลูกศิษย์มานิมนต์ ครูบาตั๋นอยู่เสมอ และครูบาตั๋น ท่านก็จะรับนิมนต์อยู่เสมอ ไม่เคยขาดเช่นกัน หลวงปู่ครุบาอิน ท่านมักจะเอ่ยกับศรัทธาญาติโยมที่มาทำบุญกับท่านอยู่เสมอว่า ยังมีพระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อยู่อีกองค์นะ อยู่ที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่นอยู่เลยวัดทุ่งปุยไป ๗ กิโล ท่านเป็นสหายธรรมแนวลึก เป็นพระปฏิบัติ ที่หลีกเร้นผู้คน เก็บตัวอยู่แต่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่นอย่างสันโดษ ไม่ค่อยจะรับนิมนต์ออกไปไหน ให้ไปกราบ ไปไหว้เสีย หากไม่มีท่านแล้วอย่าลืม ครูบาตั๋น ปัญโญ วัดม่อนปู่อิ่นนะ นี้เป็นสิ่งที่คนที่ไปกราบไปทำบุญกับท่าน มักจะได้ยินหลวงปู่ครูบาอินท่าน แนะนำให้ไปกราบครูบาตั๋นอยู่เสมอ ถึงแม้ปัจจุบันนี้หลวงปู่ครูบาอิน อินโท ท่านจะได้ละสังขารไปแล้ว แต่บารมีธรรม และ ความเมตตาของหลวงปู่ครูบาอินนั้นยังคงอยู่ไม่มีวันเสื่อมคลาย และอัฐิของท่านก็ได้กลายเป็นพระธาตุไปแล้ว ซึ้งตามความเชื่อของชาวพุทธ หากพระสุปฏิปันโน ท่านใด อัฐิได้กลายไปเป็นพระธาตุแล้ว นั้นแหละเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า พระสุปฏิปันโน ท่านนั้นได้สำเร็จ เป็นพระอรหันต์เรียบร้อยแล้ว แล้วคำพูดของพระอรหันต์นั้นย่อมไม่ธรรมดาแน่นอนครับ
    หลวงปู่ครูบาตั๋น กับ พระครูขันตยาภรณ์
    ครูบาคำ ขันติโก แห่ง สุสานไตรลักษณ์ หรือ พระครูขันตยาภรณ์ ท่านเป็นศิษย์สายกัมมัฏฐานอีกรูปหนึ่งของครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ซึ่งปฏิบัติตนอยู่ในศีลในธรรม ตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์อย่างเคร่งครัด อีกทั่งท่านยังเป็นญาติ และ สหธรรมมิกกับครูบาตั๋น ปัญโญ อีกด้วยโดย ครูบาตั๋นแก่กว่าพระครูขันต์อยู่ ๔ ปี เมื่อครั้งตอนที่ พระครูขันต์ท่านยังไม่มรณะภาพ ท่านมักจะไปมาหาสู่ ครูบาตั๋น เป็นประจำ ครั้งแรกที่พระคุณเจ้าทั้งสองได้เจอกัน คือเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ที่สำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรู ที่นั้นตั้งอยู่ในหุบเขาท้องดอย มีถ้ำผาเงิบปฏิบัติธรรม สมัยนั้นท่านตามอาจารย์ของท่านไปปฏิบัติธรรม โดยอาจารย์ของท่าน คือ ท่านครูบาบุญตัน สุวัณโณ
    ( อดีตเจ้าอาวาสวัดจอมแจ้ง ต่อจากครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ) มาขอศึกษาปฏิบัติธรรมกับ ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ โดยมี ครูบาอ้าย วัดโทกหัวหมา เขตอำเภอจอมทอง ครูบามา เมืองฝาง และ สามเณรตั๋น คำมูล ( ครูบาตั๋น ปัญโญ ) สามเณรคำ จันทร์แดง ( พระครูขันตยาภรณ์ ) สามเณรคำไฮ ลูกลุงเหมา ป่าซางงาม และ บ้านปง สามเณรขาว ลุงมาเปี้ย อยู่ปฏิบัติธรรมด้วยกันที่สำนักสงฆ์น้ำออกรู อยู่ ๓ ปี และเมื่อถึงวัยชรา ถ้าท่านพระคุณเจ้าทั้งสองได้เจอกันเมื่อไหร่ พระคุณเจ้าทั้งสอง ก็มักจะสนทนาธรรมกันอย่างออกรสออกชาติอยู่เสมอ พระครูขันต์ท่านเป็นพระปฏิบัติโดยถือวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในรูปอิริยาบถ ๔ คือ นั่ง นอน ยืน เดิน กำหนดสมาธิด้วยการนับประคำ อดีตท่านยังเคยดำรงตำแหน่ง เป็นเจ้าคณะอำเภอสันป่าตอง และเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีเกิด แต่สุดท้ายท่านก็ได้สละ ลาภยศ ตำแหน่งเหล่านั้น ทิ้งไปเสียเพื่อ ต้องการหลีกเร้นผู้คน และ ความสับสนวุ่นวาย มุ่งหน้าหันมาปฏิบัติธรรมอยู่ที่สุสานไตรลักษณ์แทน จวบจนวาระสุดท้ายของลมหายใจของท่าน ปัจจุบันนี้ท่านได้ละสังขารไปแล้ว คงเหลือไว้แต่คุณงามความดีของท่าน และ อัฐิธาตุของท่าน ที่ได้กลายเป็นพระธาตุ เหลือไว้ให้ศรัทธาญาติโยม ได้กราบไหว้ สักการบูชามาจนทุกวันนี้ ปัจจุบันอัฐิธาตุ และเครื่องอัฏฐะบริขาร ของท่านพระครูขันต์ได้นำไปไว้ที่วัดศรีปันเงิน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ วัดที่ท่านได้ทำการบูรณะ และ สร้างเจดีย์มหามงคล ร.๙ ไว้นั้นเอง
    หลวงปู่ครูบาตั๋นกับพระธรรมมังคลาจารย์หลวงปู่ครูบาทอง สิริมังคโล
    พระธรรมมังคลาจารย์ หรือ พระเดชพระคุณเจ้าหลวงปู่ครูบาทอง สิริมังคโล แห่ง วัดพระธาตุศรีจอมทอง ท่านเป็นพระปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานชื่อดังอีกรูปหนึ่งของเมืองไทย ท่านใจดี และมีเมตตาธรรมสูง เป็นพระมหาเถระอีกรูปหนึ่งที่สัมผัส ได้ถึงบารมีธรรมของหลวงปู่ครูบาตั๋น ปัญโญ เรื่องมีอยู่ว่ามีอยู่ครั้งหนึ่งครูบาทองท่านได้ยินมาว่า มีพระภิกษุสงฆ์อยู่รูปหนึ่งที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อยู่แถว อำเภอดอยหล่อ แต่ท่านไม่รู้แน่ชัดว่าพระภิกษุรูปนั้นอยู่ที่ไหนกันแน่ ด้วยความที่ท่านอยาก จะพบพระภิกษุรูปนั้นเป็นอย่างมาก ท่านจึงได้บอกกับลูกศิษย์ของท่านให้ช่วยออกตามหาพระภิกษุรูปนั้นให้หน่อย และลูกศิษย์ของท่านครูบาทองก็ได้ออกตามหา พระภิกษุรูปนั้น อยู่หลายครั้งตามที่ ครูบาทองท่านได้บอกเอาไว้ แต่ได้ใช้เวลาตามหาอยู่นาน ตามหายังไงก็ยังหาไม่เจอสักที เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีใครรู้จักท่าน ส่วนใหญ่จะรู้จักแต่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง เพราะหลวงปู่ครูบาตั๋น ท่านเป็นพระที่เก็บตัวไม่ชอบเปิดเผยตัวมากนัก ส่วนใหญ่จะอยู่ปฏิบัติธรรมแต่ที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่นไม่ค่อยออกไปไหน แต่สุดท้ายคณะลูกศิษย์ กลุ่มนั้นก็ได้มาเจอหลวงปู่ครูบาตั๋น ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่ครูบาอิน อินโท ซึ่งหลวงปู่ครูบาตั๋นท่านเป็นประธานถวายผ้าไตร เนื่องมาจากหลวงปู่ครูบาอิน กับ หลวงปู่ครูบาตั๋น ท่านมีความสนิทสนมกันมาก ในสายธรรมของหลวงปู่ครูบาเจ้าทั้งสอง ถึงขนาดที่หลวงปู่ครูบาอิน ท่านมักจะเอ่ยกับศรัทราญาติโยมที่มาทำบุญกับท่านว่า ยังมีอยู่อีกองค์หนึ่งนะ อยู่ที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น หากไม่มีท่านแล้วก็ให้ไปกราบ หลวงปู่ครูบาตั๋น ม่อนปู่อิ่น แทนและคำพูดนี้ก็บังเอิญ ไปตรงกับคำพูดของครูบาเจ้าบุญปั๋น ธัมมปัญโญ พระอรหันต์แห่งวัดร้องขุ้ม ที่เคยพูดในทำนองเดียวกันกับ หลวงปู่ครูบาอินเหมือนกัน พอรู้แน่ชัดแล้วว่า พระภิกษุสงฆ์รูปที่ครูบาทองท่านสั่งให้ออกตามหาคือ หลวงปู่ครูบาตั๋นแห่ง สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่นนั่นเอง คณะลูกศิษย์ของครูบาทองจึงนำความไปแจ้งกับครูบาทอง พอท่านทราบและรับรู้แล้ว จึงได้เดินทางมากราบคารวะ หลวงปู่ครูบาตั๋น พร้อมคณะลูกศิษย์ของท่านร่วม ๒๐ กว่าคน พอครูบาทองท่านได้เจอกับ หลวงปู่ครูบาตั๋นท่านได้ก้มกราบ และ นำดอกไม้ธูปเทียนมาขอปวารณาตัว ขอเป็นศิษย์ของหลวงปู่ครูบาตั๋น และสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดก็เกิดขึ้น เมื่อครูบาทองได้เอามือไปจับที่เท้าหลวงปู่ครูบาตั๋น และได้นำมาลูบที่ศีรษะ ของท่านด้วยความเคารพ อย่างไม่รังเกียจ และ จากเหตุการณ์นั้นทำให้คนธรรมดาอย่างเรา ๆ ถึงกับขนลุกไปทั้งตัว เพราะเราไม่อาจรู้ได้เลยว่า หลวงปู่ครูบาทองท่านสัมผัส อะไรได้ในตัวของหลวงปู่ครูบาตั๋น ท่านจึงได้เคารพรักหลวงปู่ครูบาตั๋นมากขนาดนี้ และทุกๆปี ครูบาทองท่านก็มักจะมากราบไหว้หลวงปู่ครูบาตั๋น อยู่เป็นประจำทุกปีไม่เคยขาด และมีอยู่อีกเหตุการณ์หนึ่ง ส.จ.สุวิช ชอบใช้ ได้พาหลวงปู่ครูบาตั๋นไปกราบสักการะองค์พระธาตุศรีจอมทอง ณ.วัดพระธาตุศรีจอมทอง พอครูบาทอง ท่านรู้ว่าครูบาตั๋นท่านได้มายัง วัดพระธาตุศรีจอมทอง ครูบาทองท่านจึงรีบเดินมาเข็นรถเข็นให้ครูบาตั๋นทันที โดยไม่ยอมให้คนอื่นมาเข็นนับว่าเป็นภาพที่น่าปะทับใจของพระมหาเถระทั้งสองแห่งแผ่นดินล้านนาอย่างยิ่ง
    บทส่งท้าย
    หลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติตน อยู่ในศีลในธรรม ขยันหมั่นเพียรปฏิบัติตน อยู่ในพระธรรมวินัย อย่างเคร่งครัด มีเมตตา สมถะ ไม่ยึดติดลาภยศศักดิ์การะ จะเห็นได้ว่าท่านไม่ยอม รับตำเเหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีแดนเมือง และเลือกย้ายมาปฏิบัติธรรมที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น วัตรปฏิบัติของท่านเน้นหนักไปในทาง วิปัสสนากัมมัฏฐาน และถือธุดงค์ เข้าป่ามาตั้งแต่ สมัยท่าน เป็นเด็กวัดตามอาจารย์ของท่าน อีกทั้งท่านยังถือการเพ่งกสิณไฟ ท่านชอบเพ่งแสงเทียนทำสมาธิ จนกว่าเทียนจะหมดเล่ม พอหมดเล่มท่านก็จะจุดเทียนเล่มใหม่ หรือบางครั้งท่านมักจะจุดเทียนเต็มห้อง และนั่งเพ่งเทียนอยู่เพียงผู้เดียว บางครั้งหลวงปู่ครูบาตั๋น ท่านก็จะนำธูปกำใหญ่ มาจุดแล้วนั่ง ภาวนาอยู่เพียงผู้เดียวในกุฏิของท่าน โดยท่านจะปิดประตูหน้าต่างมิดชิด จนทุกวันนี้หลวงปู่มีโรค ประจำตัวเกี่ยวกับปอด และท่านยังถือการบูชาเทียนเป็นที่สุด ปัจจุบันนี้หลวงปู่ก็ยังคงบูชาเทียนอยู่ โดยท่านยึดหลักว่า ครูบาอาจารย์ของท่าน สั่งสอนให้บูชามาแต่ก่อน จะขาดมิได้เพราะ ฉะนั้นพอถึง ช่วงเข้าพรรษา ผู้คนมักจะนำหลอดไฟมาถวาย ให้แสงสว่างกับชีวิต แต่ท่านก็มักจะใช้ให้คนนำเทียนมาจุด ที่หน้ากุฏิของท่านอยู่มิขาด จุดไปเรื่อยๆจนเทียนหมดเล่ม พอหมดเล่มก็จุดเล่มใหม่ต่อไปเรื่อยๆจวบจนทุกวันนี้ และหลวงปู่ครูบาตั๋น ท่านยังเป็นผู้ที่มีความกตัญญูเป็นอย่างสูง ระลึกถึง ผู้ที่มีพระคุณอยู่เสมอ มีอยู่ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ครูบาตั๋นท่าน ได้ออกบิณฑบาต ตามปรกติวิสัยของพระสงฆ์ทั่วไป ครั้งหนึ่งท่านได้เดินมาถึงคลองแห่งหนึ่ง แต่ท่านไม่ยอมที่จะเดินข้ามสะพานนั้น โดยเลือกที่จะเดินอ้อมไปทางอื่นที่ไกลกว่าแทน เหตุการณ์นั้นได้มีผู้เฒ่าผู้แก่เป็นผู้บอกเล่า พอผู้เฒ่าคนนั้นเห็นหลวงปู่ครูบาตั๋นเดินอ้อมไป โดยไม่ยอมที่จะเดินข้ามสะพานแห่งนั้น ผู้เฒ่าคนนั้นจึงได้เอ่ยถาม “ ตุ๊ลุงครับทำไมไม่เดินข้ามสะพานไปจะถึงวัดอยู่แล้ว ” และหลวงปู่ครูบาตั๋นท่านก็ได้หันมาตอบกับคนผู้นั้นว่า “ สะพานไม้นั้นทำมาจากต้นมะพร้าวเราไม่อาจ ที่จะเดินข้ามได้ เพราะ ต้นมะพร้าวนั้นมีประโยชน์ และ มีคุณเป็นอย่าสูง ทั้งต้นสามารถเอามาใช้ทำประโยชน์ได้หมด ลูกมะพร้าวนั้นชาวบ้านมักจะเอามาทำขนมถวายพระ ใบมะพร้าวนั้นก็นำมาห่อขนม ส่วนก้าน มะพร้าวนั้นก็นำมาตกแต่งในงานประเพณีสำคัญต่างๆ อยู่เสมอนี่แหละเป็นเหตุที่เราไม่ควรที่จะเดินข้ามสะพานไม้แห่งนี้ ” ปัจจุบันหลวงปู่ครูบาตั๋น ปัญโญ ท่านได้ละสังขาร สิริอายุได้ ๑๐๐ ปี ๗๙ พรรษา เหลือไว้แต่คุณงามความดี แหละวัตรปฎิบัต เมตตาธรรมที่ท่านแสดงออกมา ให้ลูกหลานลูกศิาย์ลูกหาได้ระลึกถึงท่านตลอดไป " พุทโธ พุทโธ กัมฐานในตั๋วจะไปลืมเน่อ " #คำที่ท่านมักจะบอกสอนอยู่เสมอ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2021
  6. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 6938

    เหรียญเณรรุ่นแรกครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร ปี19 บล็อกประคำเต็ม เนื้อทองแดง

    ภาพสวยครับ ผิวหิ้ง เดิม ๆ ดูง่าย

    เหรียญรุ่นแรกประสบการณ์น่าใช้มากครับ


    คุณ j999 บูชาแล้วครับ


    Clip_46.jpg Clip_54.jpg Clip_73.jpg Clip_74.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2021
  7. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 6939

    พระเกศาครูบาศรีวิชัย พิมพ์พระรอดยุคต้น ปีกกว้าง เห็นเส้นเกศาหลายเส้น

    พระเกศาครูบาศรีวิชัย สร้างขึ้นสร้างจากผงดอกบูชาพระที่ชาวบ้านมาทำบุญกับครูบาเจ้าศรีวิชัย เผาให้เป็นผงสมุก ผสมกับผงใบลานคลุกรัก ผสมเกศา ปั้นและนำไปกดพิมพ์แจกจ่ายให้แก่บรรดาผู้เลื่อมใสศรัทธาในองค์ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้สักการะบูชาเป็นสิริมงคล
    องค์นี้สวยคมชัด เนื้อหาผสมมุกคลุกรักเก่าแห้งถึงยุคดูง่าย ปีกกว้างเห็นเกศาหลายเส้นเล็กน่าใช้มากครับ


    ราคา 4550 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_86.jpg Clip_87.jpg Clip_88.jpg Clip_89.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2020
  8. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 6940

    พระบูชาครูบาอินสม สุมโน วัดทุ่งน้อย รุ่นสร้างประปาพร้าว ขนาด 3 นิ้ว อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

    จัดเป็นพระอีกรุ่นของท่านครูบาที่หาชมได้ยากมากครับ

    ราคา 7500 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_103.jpg Clip_94.jpg Clip_104.jpg Clip_105.jpg Clip_106.jpg Clip_107.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2020
  9. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 6941

    เหรียญรุ่นแรกพระเจ้าทันใจ หลังครูบาพิณ วัดพระธาตุดอยคำ
    ปี 55 เนื้อทองแดง สวย ๆ


    สุดยอดแห่งความสมปราถนา แห่งโชคลาภ อันเป็นที่เลื่องลือ สวยกริ๊ป หายากมากๆๆ ผิวรุ้ง
    เหรียญยอดนิยมอันดับ 1 ของวัดดอยคำหายากสุดๆ
    “พระเจ้าทันใจ” ซึ่งหมายถึง พระพุทธรูปที่ใช้เวลาสร้างได้สำเร็จภายใน 1 วัน กล่าวคือ จะเริ่มพิธีตั้งแต่หลังหกทุ่มเป็นต้นไป จนสามารถสร้างองค์พระได้สำเร็จก่อนพระอาทิตย์ตกดิน (ก่อนเวลา 18.00 น.) ของวันถัดไป ถ้าสร้างไม่เสร็จถือเป็นพระพุทธรูปธรรมดาทั่วไป และสามารถทำพิธีพุทธาภิเษกได้ในเย็นอีกวันหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากการสร้างพระพุทธรูปนั้น มักจะมีขั้นตอน และพิธีกรรมที่ละเอียดซับซ้อน การสร้างพระพุทธรูป และสามารถทำพิธีพุทธาภิเษกได้สำเร็จภายใน 1 วัน จึงถือว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์ จึงเชื่อกันว่าเป็นเพราะพระพุทธานุภาพ และอานุภาพแห่งเทพยดาที่บันดาลให้พิธีกรรมสำเร็จโดยปราศจากอุปสรรค ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึงถือว่าพระเจ้าทันใจเป็นพระพุทธรูปที่จะบันดาลความสำเร็จให้แก่ผู้อธิษฐานขอพรได้อย่างทันอกทันใจ
    การสร้างพระเจ้าทันใจนั้น มีลักษณะที่แปลกกว่าการสร้างพระพุทธรูปอื่นๆ กล่าวคือจะมีการบรรจุหัวใจพระเจ้า คล้ายกับหัวใจของมนุษย์ ตลอดจนการบรรจุวัตถุมงคลสิ่งของมีค่าไว้ในองค์พระพุทธรูปด้วย และในช่วงระยะเวลาที่กำลังปั้น จะต้องมีการเจริญพระพุทธมนต์ของพระสงฆ์ตลอดทั้งคืนจนสว่างด้วย
    หลวงพ่อทันใจเป็นที่นิยมและได้ยินถึงกิตติศัพท์ของความสำเร็จจากการอธิษฐานมากที่สุด ทั้งในเรื่่องของการขอโชคลาภทั้งจากการงาน การค้า และการเสี่ยงโชค
    เป็นเหรียญที่มาเเรง ด้วย ประสบการณ์ ขอสิ่งไหนได้สมความปราถนา

    สุดยอดแห่งความสมปราถนา แห่งโชคลาภ อันเป็นที่เลื่องลือ สวยกริ๊ป หายากมากๆๆ ผิวรุ้ง


    บูชาแล้วครับ

    Clip_143.jpg Clip_144.jpg Clip_145.jpg Clip_158.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2021
  10. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    5,144
    ค่าพลัง:
    +5,421
    ขอจองครับ
     
  11. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    5,144
    ค่าพลัง:
    +5,421
    ขอจองครับ
     
  12. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รับทราบการจองครับ ขอบพระคุณครับพี่
     
  13. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 6942

    เหรียญเหรียญรุ่นแรกครูบาอินโต วัดบุญยืน ปี2508 บล็อกสามขีดกะไหล่ทอง เเห้งสวยๆ


    สุดยอดพระประสบการณ์น่าใช้มากๆครับ


    ราคา 3250 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_140.jpg Clip_141.jpg Clip_142.jpg Clip_143.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2020
  14. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 6943

    เหรียญรุ่นแรกพระเจ้าทองทิพย์ วัดศรีสุพรรณ นิยม


    พระเจ้าทองทิพย์ พระคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอแม่ใจ ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีสุพรรณ ตำบลแม่ใจ จังหวัดพะเยา มีรูปลักษณะงดงามมาก เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นที่ 3 เป็นทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์มีพระพักตร์ เป็นเนื้อทองสุกเปล่งปลั่งตลอดเวลา พระศอละเอียด พระเกศเป็นเปลวสวยงาม หน้าตักกว้าง 29 นิ้ว สูง 24 นิ้ว จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ชาวอำเภอแม่ใจเล่าว่า แต่เดิมนั้นบริเวณบ้านแม่ใจโดยทั่วไปเต็มไปด้วยป่าไม้ กอไผ่ขึ้นหนาทึบและ ได้เกิดไฟไหม้ขึ้น ไฟได้ลุกไหม้บริเวณรอบ ๆ ดงไผ่ จึงได้พบพระเจ้าทองทิพย์ อยู่ในดงไผ ่นั้น ต่อมาจึงได้สร้างอาคารชั่วคราวครอบไว้ และด้วยจิตศรัทธาของชาวแม่ใจ จึงได้ร่วมกันสร้างวิหารถาวรครอบไว้บริเวณดงกอไผ่เดิม โดยไม่โยกย้ายเลย จนถึงปัจจุบันนี้

    จากคำบอกเล่าถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าทองทิพย์ และที่มาของชื่อพระเจ้าทองทิพย์นั้น เพราะว่าเมื่อฝนฟ้าไม่ตก บ้านเมืองแห้งแล้งหรือชาวบ้านเกิดการเจ็บป่วย ประสบเคราะห์กรรมใด ๆ ก็จะอัญเชิญพระเจ้าทองทิพย์ลงจากอาสนะ ทำพิธีสักการะบูชา แห่สรงน้ำ ฝนก็จะตกลงมาทันที หรือผู้ประสบเคราะห์กรรมก็จะมีโชคลาภ มีความสุขสบาย ยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้พระเจ้าทองทิพย์จึงเป็นที่เชื่อถือ เคารพสักการะของชาวพุทธทั้งใกล้และ ไกลตลอดมา

    ในปีหนึ่ง จะมีวันสำคัญยิ่งของพระเจ้าทองทิพย์คือวันที่ 17 เมษายน ของทุก ๆ ปีจะเป็นวันสรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์ ประชาชนจะพากันมาทำพิธีวันสำคัญนี้มากมาย และจะนำเอาน้ำที่สรงพระเจ้าทองทิพย์แล้วใส่ภาชนะกลับไปบ้านเพื่อจะพรมให้แก่ ่ลูกหลานให้อยู่ดีมีสุข

    เหรียญประสบการณ์แห่ง อ เเม่ใจ สวยเดิมๆครับ


    บูชาแล้วครับ

    Clip_225.jpg Clip_226.jpg Clip_227.jpg Clip_197.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2021
  15. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 6944

    เหรียญรุ่นแรกพระเจ้านั่งดิน ปี18 เนื้อทองเเดงผิวรุ้ง อ.เชียงคำ จ.พะเยา

    พระเจ้านั่งดิน

    พระประธานในวิหาร วัดพระเจ้านั่งดิน
    บ้านพระนั่งดิน ต.เวียง อ.เชียงคำ จ.พะเยา
    “พระเจ้านั่งดิน” หรือ “พระนั่งดิน” เป็นอีกหนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองพะเยา ที่มีความแปลกและมีตำนานที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือ พระเจ้านั่งดินเป็นพระประธานของวัด ที่ไม่มีฐานรองรับหรือไม่มีฐานชุกชีเหมือนกับพระประธานองค์อื่นๆ แต่ได้ประดิษฐานอยู่บนพื้นดิน และนั่นจึงเป็นที่มาของชื่อ “พระเจ้านั่งดิน”

    ตามตำนานปรัมปราเล่าว่า พระยาคำแดง ผู้ครองเมืองพุทธรสะ ได้ค้นพบประวัติ (ตำนาน) เมื่อนมจตุ จุลศักราช 1,213 ปีระกา เดือน 6 วันจันทร์ พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกโปรดเมตตาสรรพสัตว์โดยทั่วทางอภินิหาร จนพระองค์ได้เสด็จมาถึงเขตเมืองพุทธรสะ (อ.เชียงคำ ในปัจจุบัน) พระพุทธองค์ได้ประทับอยู่บนดอยสิงกุตตระ (พระธาตุดอยคำ ในปัจจุบัน) ทรงแผ่เมตตาประสาทพรตรัสให้ พระยาคำแดง ผู้ครองเมืองพุทธรสะ ในขณะนั้น สร้างรูปเหมือนพระพุทธองค์ไว้ยังเมืองพุทธรสะแห่งนี้ ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสจบ ก็ปรากฏว่าได้มีพระอินทร์หนึ่งองค์ พระยานาคหนึ่งตน ฤาษีสององค์ และพระอรหันต์สี่รูป ช่วยกันเนรมิตเอาดินศักดิ์สิทธิ์จากเมืองลังกาทวีปมาสร้างรูปเหมือนเป็นเวลา 1 เดือน กับอีก 7 วัน จึงแล้วเสร็จ

    ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ได้โปรดสัตว์ทั่วล้านนาแล้ว จึงเสด็จเข้าสู่เมืองพุทธรสะอีกครั้ง ทรงเห็นพระรูปเหมือนที่โปรดให้สร้างขึ้นนั้นเล็กกว่าองค์ตถาคต พระพุทธองค์จึงตรัสให้เอาดินมาเสริมให้ใหญ่เท่าพระพุทธองค์ แล้วพระพุทธองค์จึงได้แผ่รัศมีออกครอบจักรวาล พระรูปเหมือนให้เลื่อนลงจากฐานชุกชี (แท่น) มากราบไหว้ พระพุทธองค์ทรงตรัสกับพระรูปเหมือนพระพุทธองค์ที่ได้สร้างขึ้นนั้นว่า “ขอให้ท่านจงอยู่รักษาศาสนาของเราตถาคตให้ครบ 5,000 พระพรรษา” พระรูปเหมือนจึงได้น้อมรับ แล้วประดิษฐานอยู่ ณ พื้นดินที่นั้นสืบมา ด้วยเหตุนี้พุทธบริษัทจึงหมายเอาชื่อพระรูปเหมือนของพระพุทธองค์ว่า พระเจ้านั่งดิน หรือ พระนั่งดิน

    ตามตำนานกล่าวไว้ว่า พระพุทธรูปนี้สร้างตั้งแต่ครั้งองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ดังนั้น พระเจ้านั่งดินน่าจะมีอายุกว่า 2,500 ปี ในการสร้างพระพุทธรูปนี้ใช้เวลา 1 เดือน 7 วันจึงแล้วเสร็จ เมื่อสร้างเสร็จได้ประดิษฐานไว้บนพื้นราบ ไม่มีฐานชุกชีหรือพระแท่นเหมือนกับพระพุทธรูปในวิหารวัดอื่นๆ ทั่วไป

    ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานสืบกันมาว่า เคยมีชาวบ้านได้พากันสร้างฐานชุกชีหรือพระแท่น แล้วได้อัญเชิญพระเจ้านั่งดินขึ้นประทับ แต่ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ฟ้าได้ผ่าลงมาที่กลางวิหาร ถึง 3 ครา พุทธบริษัททั้งหลายจึงอาราธนาพระเจ้านั่งดินมาประดิษฐานบนพื้นดินดังเดิมตราบจนทุกวันนี้


    “พระนั่งดิน” เป็นอีกหนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองพะเยา เหรียญ ยอดนิยมของเมืองเชียงคำ สวยเดิมหายากมากครับ


    ราคา 1450 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900


    Clip_222.jpg Clip_223.jpg Clip_224.jpg Clip_205.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2020
  16. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 6945

    เหรียญนาคสะเดาะเคราะห์ วัดพระเจ้าตนหลวง จ.พะเยา


    เหรียญพญานาค หลังเสมาธรรมจักร กะไหล่ทอง ปี ๒๕๑๒ เป็นเหรียญที่สร้างขึ้นตามตำนานของ “พระเจ้าตนหลวง” จัดสร้างพร้อมเหรียญพระเจ้าตนหลวง โดยทำเป็นเหรียญสำหรับสะเดาะเคราะห์ใช้ใส่บาตร ๑๐๘ ในงานบุญเดือน ๘ เป็ง ซึ่งเป็นงานใหญ่ประจำปีของทางวัด เป็นงานที่ใหญ่มาก มีพุทธศาสนิกชนทั้งต่างจังหวัด และประเทศใกล้เคียง (ลาว-พม่า) มาร่วมงานบุญประจำปีด้วยอย่างคับคั่ง ถือเป็นเหรีบญเก่าของเมืองพะเยา ของแท้ หาชมได้ยากมากครับ


    ราคา 3500 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900



    Clip_228.jpg Clip_229.jpg Clip_230.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2020
  17. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 6946

    เหรียญนเรศวรตองโข่ รุ่น2

    เจ้ายอดศึกหัวหน้ากำลังไทใหญ่สร้างเพื่อเเจกทหารไทยใหญ่เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการกอบกู่ประเทศรัสฉาน ถือว่าเป็นรุ่น 2 ราคายังไม่แพง พระมีอนาคตใช้เเทนเหรียญรุ่น 1ได้เลยครับ
    #เหรียญดังประสบการณ์ทหาร-ตำรวจ พลเรือน ล้วนประสบพบเจอประสบการณ์ด้วยตัวเอง เหรียญนี้แท้ดูง่าย ผิวเดิมๆ เหรียญสุดยอดประสบการณ์น่าใช้มากๆครับ


    บูชาแล้วครับ

    Clip_208.jpg Clip_209.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2020
  18. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 6947

    รูปหล่อโบราณรุ่นแรกครูบาพรหมาวัดพระพุทธบาทตากผ้า ปี 2497 น้ำทองเดิมๆ


    พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พฺรหฺมจกฺโก) พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พฺรหฺมจกฺโก) หรือที่รู้จักกันดีในนาม “ครูบาพรหมา” หรือบ้างก็เรียก “ครูบาพรหมจักร” ท่านเปรียบดั่ง “เจ้าคุณนรแห่งล้านนา” ด้วยความมั่นคงในพระวินัย จริยาวัตรอันเรียบร้อยสงบเสงี่ยม เมตตาอันล้ำเลิศ ไม่ผิดพลาดไปจากพระธรรมแม้สักนิด อีกทั้งยังมีจิตที่ทรงฤทธิ์ ถึงขนาดเหยียบหินให้เป็นรอยเท้าได้ ถึงขนาดที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนาไท ยังต้องนัดขอดูตัวด้วยความชื่นชม และท่านยังเป็นอาจารย์ของครูบาชัยวงศาพัฒนาผู้มีฤทธิ์ยอดยิ่งอีกต่างหากด้วย ประวัติ วัยเด็ก ท่านมีนามเดิมว่า พรหมา พิมสาร กำเนิดวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2441 ที่บ้านป่าแพ่ง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นบุตรของ นายเป็งกับนางบัวถา พิมสาร มีพี่น้องร่วมกัน 13 คนท่านครูบาพรหมมาได้เรียนหนังสืออักษรลานนาและไทยกลางที่บ้านจากพี่ชายที่ได้บวชเรียน บรรพชาและอุปสมบท ครูบาเจ้าบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 15 ปี เมื่อวันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2455 เวลา 15.00 น. ณ วัดป่าเหียง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง มีเจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้หมั่นศึกษาเล่าเรียน ปฎบัติธรรม และประพฤติในศีลาจารวัตรอย่างเคร่งครัด ท่านอุปสมบทเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดเดิมเมื่อวันที่ 16 ม.ค. พ.ศ. 2461 เจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย (ครูบาขัตติยะ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ฮอน โพธิโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สม สุวินโท เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พรหมจักโก” กระทั่งพรรษาที่ 4 ท่านได้เริ่มต้น เข้าสู่วิถีแห่งการปฏิบัติธรรมอย่างเอาจริงเอาจัง ท่านได้ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาต่างๆ ทั้งเขตประเทศไทย พม่า และลาว กระทั่งในปีพ.ศ.2491 ท่านจึงได้มาจำพรรษา ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า และได้พัฒนาวัดจนมีชื่อเสียงเป็นศาสนสถานที่มีความสำคัญทางศาสนาแห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูน และด้วยการสั่งสมบุญบารมี คุณงามความดีของท่านนี้เองทำให้ ท่านได้รับความเคารพศรัทธาจากพุทธบริษัทโดยทั่วไป ละสังขาร ครูบาเจ้าพรหมาได้ดับขันธ์ (มรณภาพ) ในท่านั่งสมาธิภาวนา เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2527 เวลา 06.00 น.อายุ 87 ปี 67 พรรษา คณะศิษยานุศิษย์ได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศลเป็นเวลา 3 ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2531 ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมาพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงครูบาเจ้าพรหมาด้วยพระองค์เอง หลังจากพระราชทานเพลิงเสร็จสิ้นแล้วได้เก็บอัฐิ ปรากฏว่าอัฐิของครูบาเจ้าพรหมาได้กลายเป็นพระธาตุ มีวรรณะสีต่างๆ หลายสี คำสอน ครูบาพรหมาท่านได้แสดงธรรมโอวาทไว้มากมาย “การทำบาปหรือการทำบุญ จะทำในที่ลับหรือในที่แจ้ง หรือใครไม่รู้ไม่เห็น ก็ตัวของเรา ใจของเรารู้เห็นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็กล่าวได้ว่าที่ลับไม่มีในโลกนี้ แม้ว่าจะลับตาลับหูคนอื่น แต่เราก็รู้ เราก็เห็นคนเดียว” “ทุกๆคน จึงควรรีบขวนขวาย ซึ่งความงามความดี ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นเด็กก็อย่าได้เกียจคร้านในการเรียนหนังสือ จงตั้งจิตตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ให้มีความรู้ความเฉลียวฉลาดความสามารถ เป็นผู้ใหญ่แล้วก็จงตั้งตัวตั้งตนให้ดี ให้มีความขยัน มีความประหยัด ให้คบแต่คนดี ให้รู้จักประมาณในการใช้จ่าย ถ้าเป็นผู้เฒ่าผู้แก่แล้ว ก็เตรียมตัวเพื่อคุณงามวามดีให้ยิ่งๆกว่าเด็กและคนหนุ่มทั้งหลาย” “คนเราทุกคนมีความปรารถนาดี ปรารถนาหาความสุข ความปรารถนาหาที่ผึ่งในวัฏฏะสงสาร ท่านเปรียบเหมือนเราที่ตกอยู่ในกลางทะเลอันเวิ้งว้างกว้างไกลทุกคนก็มีความใฝ่ฝันหาที่ผึ่ง เพื่อที่จะได้อาศัยพักพิงไปยังฝั่งเบื้องหน้า” คำไหว้บูชาพระธาตุของครูบาพรหมา พรหมจักโก อะหัง วันทามิ พรหมจักกะธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส ฯ พระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนาแห่งแดนล้านนา เสน่ห์ของหล่อแบบโบราณคราบขี้เบ้าน้ำทองเดิม ๆ เข้มขลังมากครับ


    ราคา 6500 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_106.jpg Clip_107.jpg Clip_121.jpg Clip_123.jpg Clip_127.jpg Clip_128.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2020
  19. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 6948

    เหรียญครูบาศรีวิชัย วัดจามเทวี ปี 18 ตอกโค๊ต หายาก


    ครูบาบุญทืม พรหมเสโน ศิษย์ครูบาศรีวิชัย สร้างและปลุกเสกก่อนมรณภาพในระหว่างเข้าพรรษาปี พ.ศ.นั้น ๒๕๑๘
    เกจิที่ปลุกเสกในพิธีมี หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง , หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรี , ครูบาคำแสน อินทจักโก วัดสวนดอก , ครูบาคำแสน คุ ณาลังกาโร วัดดอนมูล , ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย , ครูบาอินทจักรรักษา วัดน้ำบ่อหลวง , ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระบาทห้วยต้ม , ครูบาธรรมชัย ธัมมชโย วัดทุ่งหลวง , ลป.สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จาก นั้นยังได่นำไปขอเมตตาอธิษฐานจิตจากหลวงปู่สี ฉันทสิริ วัดถ้ำเขาบุนนาค , หลวงปู่แหวน สุจิณโน วัดดอยเม่ปั๋ง ) ครูบาพรหมจักรสังวร วัดพระบาทตากผ้า , หลวงปู่หล้า ตาทิพย์

    #เหรียญดีน่าใช้ครับสวย ๆ


    ราคา 3350 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_129.jpg Clip_130.jpg Clip_131.jpg Clip_132.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2020
  20. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,908
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 6949

    เหรียญรุ่นแรก ครูบาครอง วัดท่ามะเกว๋น ลำปาง บล็อกแรก ตอกโค๊ต ซองเดิมๆ


    เป็นเหรียญประสบการณ์อีกเหรียญ ของเมืองเถินครับ


    บูชาแล้วครับ

    Clip_40.jpg Clip_42.jpg Clip_46.jpg Clip_133.jpg

    หลวงปู่ครูบาครอง ขัตติโย อายุ 97 ปี 77 พรรษา เกิดวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๔๖๓ เป็นลูกคนโตของพ่อซาว แม่น้อย จากบุตรทั้งหมด ๔ คน บวชเณรตอนอายุ ๑๖ ปี โดย พระครูพุทธวงศ์ (ก๋วน) เกจิดังวัดแม่ป๊ะหลวง ตุ๊ลุงของท่านเป็นผู้บรรพชา และบวชพระเมื่ออายุ ๒๐ ปี โดยพระครูรักขิตคุณ (ต๋า) วัดอุมลอง เกจิอาจารย์อีกองค์หนึ่งของ อ.เถิน เป็นพระอุปัชฌาย์ จำพรรษา ณ วัดท่ามะเกว๋น

    เมื่อท่านบวชเณรแล้วได้ศึกษาอักขระล้านนาและศึกษาการปฏิบัติเบื้องต้นกับตุ๊ลุง จนบวชเป็นพระแล้วก็เริ่มศึกษากับพระอุปัชฌาย์และหนานหลายคน หลังจากนั้นจึงออกเดินรุกขมูลร่ำเรียนไปทั่วภาคเหนือจนเกือบ ๑๐ พรรษา แล้วกลับมายังบ้านท่าอุดม โดยปักกลดอยู่ในป่าลึกหลังวัดท่ามะเกว๋น เมื่อพี่น้องลูกหลานทราบถึงการกลับมาของท่าน ก็เกิดความปีติ ดีใจรีบเดินทางไปนิมนต์ท่านกลับเข้าวัดท่ามะเกว๋น แต่ท่านปฏิเสธ เนื่องจากไม่ต้องการพบความวุ่นวายของโลกอีกต่อไป อยากอยู่บำเพ็ญฌานสมาบัติโดยลำพังเพียงรูปเดียวในป่าแห่งนี้ ทันทีที่ลูกหลานทราบวัตถุประสงค์ของท่าน จึงร่วมกันปลูกเพิงพักให้ท่าน ได้ปฏิบัติธรรมตามเจตนา

    หลวงปู่ครูบาครอง มีอุปนิสัยที่ชุ่มเย็นสุขุมนุ่มลึกจะพูดจะจาอะไรก็คิดไตร่ตรองก่อนทุกครั้งคือท่านมีสติตลอดเวลา มีความเมตตาต่อศิษยานุศิษย์เป็นอย่างสูงขณะเดียวกันก็มีความเด็ดขาดมั่นคงทางใจ ตัดสินใจอะไรคนเดียวไม่ปรึกษาใคร ใบหน้าผิวพรรณท่านผ่องใสผิดคนธรรมดา หลวงปู่ไม่เคยมีความโลภ ไม่ใส่ใจในเงินทอง ไม่สะสม ไม่มีความอยากในเรื่องขบฉัน

    อุปนิสัยของครูบาครอง เป็นพระเถระที่เรียบง่าย แต่เคร่งครัดในวัตรปฏิบัตร สวดมนต์ ทำสมาธิเป็นนิจไม่เคยขาด ชอบอยู่อย่างสงบ ไม่ชอบความวุ่นวาย ท่านเคร่งครัดในวัตรปฏิบัตร สวดมนต์ทำสมาธิเป็นนิจไม่เคยขาด ชอบอยู่อย่างสงบไม่ชอบความวุ่นวาย ไม่รับกิจนิมนต์ไปบ้านโยม ไม่ออกจากป่ามา ๖๐ปี กระทั่งปีที่แล้วมีพระลูกศิษย์รูปหนึ่งนิมนต์มากรุงเทพฯ เพื่อพบแพทย์รักษาตัวท่านจึงได้ยอมออกมา

    เมื่อหลวงปู่มีอายุมากขึ้น ลูกหลานจึงได้ขอให้หลวงปู่ท่านขยับออกมาจากในป่าลึก ทันทีที่หลวงปู่ยอมก็ได้ร่วมกันปลูกเพิงพักให้ท่าน อยู่ในป่าแต่ห่างจากวัดประมาณ ๑ กิโลเมตร เพื่อให้ท่านได้ปฏิบัติธรรมตามเจตนาและลูกหลานสามารถมาดูแลหลวงปู่ท่านได้สะดวงมากยิ่งขึ้น ต่อมาในวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๗ หลวงปู่ครูบาครองจึงได้ออกจากป่า มาอยู่ที่พักสงฆ์บ้านท่าอุดมที่ดินหลังวัดท่ามะเกว๋น ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจวบจนปัจจุบัน รวมกว่า ๖๐ ปีที่ท่านได้อยู่ในป่าจริงๆ ถือได้ว่าเป็นเวลาที่นานมากสำหรับพระสงฆ์ที่ยังดำรงขันธ์อยู่ในปัจจุบันนี้กระทั่งมรณภาพอย่างสงบ ที่โรงพยาบาลลำปาง เมื่อเวลา 02.25 น. วันที่ 9 ก.ค.2559

    หลวงปู่ครูบาครองเป็นพระเถระที่มีพุทธศาสนิกชนให้ความเคารพเลื่อมใสศรัทธามากที่สุดอีกองค์หนึ่งของภาคเหนือ ท่านได้แสดงออกอย่างเห็นได้ชัดก็คือ ความเมตตาของท่านอย่างแท้จริง ท่านมีความพยายามและมีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือคณะศรัทธาให้พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ผู้คนเป็นจำนวนมากมายที่ได้รับความเมตตาจากท่าน จนท่านได้รับการกล่าวขานด้วยความเคารพนับถือจากพุทธศาสนิกชนทั่วไปว่า "ครูบานักบุญแห่งเมืองเถิน"

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2020

แชร์หน้านี้

Loading...