วิถีแห่ง-เร่งความเพียร

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 19 สิงหาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    วิถี แห่ง การปฏิบัติ วิถี แห่ง พระอาจารย์ "มั่น" วิถี แห่ง เร่งความเพียร

    คอลัมน์ วิถีแห่งพระอาจารย์ใหญ่

    โดย ดวงเดือน ประดับดาว



    [​IMG]

    เป็นพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง จากที่เคยปรารภความเพียร ณ วัดเลียบ อุบลราชธานี ในพรรษาที่ 3 มายังการปรารภความเพียรระหว่างไปพำนักอยู่วัดปทุมวนาราม มหานครกรุงเทพฯ

    ที่สำคัญยังเป็นพัฒนาการ ณ ถ้ำสาริกา นครนายก

    น่าสนใจก็ตรงที่การบำเพ็ญสมณธรรม ณ ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงาม ลพบุรี มีเงาสะท้อนละม้ายแม้นกับที่ประสบ ณ ถ้ำสาริกา

    นั่นก็คือ เมื่อจิตรวมแล้วก็เห็นคนใหญ่โตเป็นยักษ์เดินถือกระบอกจากภูเขาข้างหน้า

    มีความรู้สึกว่า ยักษ์จะตีหัว พอได้สติก็นึกได้ทันทีว่า อำนาจใดๆ ในโลกทั้ง 3 ไม่มีอำนาจอานุภาพใดจะเหนือพระพุทธานุภาพไปได้

    พอกำหนดได้ดังนี้ภาพนั้นก็หายไป

    แต่ละบรรทัดต่อไปนี้ประมวลมาจากรายละเอียดอันปรากฏในหนังสือ "รำลึกวันวาน" สำนวนพระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ

    เป็นความต่อเนื่องจากคราวก่อน เป็นการดิ่งลงลึก ดิ่งลงลึก ระหว่างแต่ละยาม แต่ละฌาน กระทั่งหยุดนิ่ง ณ วิปัสสนาญาณ

    โปรดอ่าน

    จึงระลึกได้ว่า การที่เราเวียนว่ายต่ายเกิดอยู่อย่างนี้ก็เพราะจิตดวงนี้

    พอพักจิตได้จิตก็หยุด ก้าวลงสู่ทุติยฌาน ตติยฌานและจตุตถฌาน

    ปฐมยามผ่านไป พอเข้ายามที่ 2 มัชฌิมยาม จิตก็พักเอากำลังต่อ จิตอยู่ในฌานนี้ คือ การพักเอากำลัง ส่วนปฐมฌานนั้น คือ การพิจารณาวิปัสสนาญาณ

    เปรียบด้วยการทำงานแล้วพักผ่อนเอากำลัง

    พอจิตพักอยู่ในจตุตถฌานมีกำลังแล้วก็ถอยออกมาโดยลำดับ ทุติยฌานและตติยฌาน คือ ทางผ่าน ออกมาถึงปฐมฌาน เกิดวิปัสสนาญาณเห็นภพและชาติ และธาตุขันธ์ซึ่งเป็นที่อาศัยของสัตว์โลก

    เริ่มแต่บิดามารดาเป็นต้นไปว่า คนนั้น ชาตินั้น ได้เกิดเป็นคนเป็นสัตว์ มีอาหาร มีรูปร่าง มีการงาน

    ทำอย่างนั้นได้ทุกข์ได้สุขอย่างนั้น

    ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีประมาณ สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏสังสาร ก็เพราะอาศัยจิตดวงนี้ จิตก็หยุดก้าวเข้าสู่ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานตามลำดับอีก

    เพื่อพักเอากำลัง

    มัชฌิมยามผ่านไป ในปัจฉิมยาม คือยามภายหลังแห่งค่ำคืนวันนั้น พอจิตพักได้กำลังแล้วก็ถอยออกมาสู่ปฐมยามอันเป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนาญาณ

    จิตก็พิจารณาปัจจยาการ คือ อาการของปัจจัย

    เกิดมีคำใหม่เพิ่มขึ้นอีกว่า ฐิติภูตัง อวิชชา ปัจจยา สังขารา ปัจจยา ฯลฯ จนถึง โทมนัสสะ สุปายาสา สัมภาวันติ

    ได้ความว่า ฐิติภูตัง จิตดวงเดิมของสรรพสัตว์ทั้งมวลที่ยังมิได้อบรม ศีล สมาธิ ปัญญา ได้ตามแนวทางแห่งพระสัพพัญญตญานนั้นก่อให้เกิด อวิชชา

    อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร

    สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ

    วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป

    นามรูป เป็นปัจจัยให้เกิด สฬายตนะ

    สฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิด ผัสสะ

    ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด ตัณหา

    ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทาน

    อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิด ภพ

    ภพ เป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ

    ชาติ เป็นปัจจัยให้เกิด ชรา พยาธิ มรณะ โสกปริเทวนา ร้องไห้พิไรรำพันถึงกันจนเกิดทุกข์โทมนัสสะ ใจไม่ดี อุปายาสะ คับแค้นแน่นใจ

    ในความเห็นของ พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ การบำเพ็ญสมณธรรม ณ ถ้ำสาริกา นครนายก ท่านว่า

    "ในพรรษาที่รู้แจ้ง"

    ขณะเดียวกัน เมื่อย้อนกลับไปยังวัดปทุมวนารามและนั่งรถไฟไปยังถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงาม ลพบุรี ท่านก็ว่า

    "เร่งความเพียร"

    เนื้อแท้แล้วก็คือ เป็นการเร่งความเพียรต่อเนื่องจากในพรรษาที่รู้แจ้ง นั้นเอง














    ที่มา: มติชน
    http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01col01190849&day=2006/08/19
     
  2. varanyo

    varanyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    925
    ค่าพลัง:
    +3,373
    ปฏิบัติภาวนาให้มากๆ และสม่ำเสมอเพื่อหนีจากวัฏสังสาร...
    สาธุ...สาธุ...สาธุ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...