วิถี แห่ง การปฏิบัติ วิถี แห่ง พระอาจารย์ "มั่น" วิถี แห่งวัดปทุมวนาราม

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 4 มีนาคม 2006.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    วิถี แห่ง การปฏิบัติ วิถี แห่ง พระอาจารย์ "มั่น" วิถี แห่งวัดปทุมวนาราม

    คอลัมน์ วิถีแห่งพระอาจารย์ใหญ่

    โดย ดวงเดือน ประดับดาว
    วันที่ 04 มีนาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10220

    หนังสือพิมพ์มติชน


    [​IMG]หากศึกษาจากเส้นทางชีวิตของ พระอาจารย์บุญมั่น มันตาสโย ประสานเข้ากับเส้นทางชีวิตของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จะมองเห็นบางห้วงเวลาที่เข้มมาฟ้องประสานกัน

    นั่นก็ได้แก่เส้นทางชีวิตในห้วงแห่งการจาริกไปยังประเทศพม่า

    นั่นก็ได้แก่เส้นทางชีวิตภายหลังจากห้วงแห่งการจาริกไปยังประเทศพม่า ปรากฏว่าเป้าหมายของท่านทั้งสองคือการจาริกต่อไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    ทั้งยังเป็นการธุดงค์ร่วม

    กล่าวคือ ธุดงค์ไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปถึงประเทศลาวแล้ว เดินทางข้ามแม่น้ำโขงกลับมาบนเส้นทางผ่านวัดธาตุพนม

    ห้วงเวลาเหล่านี้น่าจะอยู่ระหว่าง พรรษาที่ 4 ถึง พรรษาที่ 7 ของ พระอาจารย์มั่น ภูมิทัตโต

    นั่นก็คือระหว่างปี 2439-2443

    ประสบการณ์สำคัญประสบการณ์ 1 สำหรับ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก็เมื่อท่านธุดงค์ไปยังถ้ำผาบิ้ง อำเภอวังสพุง จังหวัดเลย

    ท่านสรุปแล้ว เล่าบอก พระญาณวิริยาจารย์ ว่า

    "การอยู่ที่ถ้ำผาบิ้งแต่องค์เดียวจึงเป็นการทำความเพียรที่ได้ผลมาก แต่ก็ยังไม่ได้ปัญญาหรือเป็นที่แน่ใจอย่างไรเลย"

    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ยอมรับว่า

    "ยังไม่สามารถจะแก้ความสงสัยของการปฏิบัติได้ แม้ว่าจะคิดการดำเนินการปฏิบัติอย่างทุรกันดารแสนที่จะตรากตรำแล้ว สงบก็ถึงที่สุดแล้ว วิเวกก็ถึงที่สุดแล้ว"

    ตรงนี้เองที่เรียกว่าเป็นการทำความเพียรที่ได้ผลมาก

    กระนั้น ภายในความเพียรที่ได้ผลมากท่ามกลางสภาวะตรากตรำอย่างยิ่ง สงบและวิเวกอย่างยิ่ง แต่ที่ยังไม่สามารถทะลุไปถึงได้

    ก็คือ ปัญญา

    จากถ้ำผาบิ้ง อำเภอวังสพุง จังหวัดเลย พระอาจารย์ก็จาริกกลับไป ณ วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี

    จากนี้จึงเห็นได้ว่า เส้นทางระหว่าง วัดเลียบ อุบลราชธานี กับวัดปทุมวนาราม มหานครกรุงเทพฯ เป็นเส้นทางที่เกิดขึ้นอย่างค่อนข้างเป็นประจำ จนกระทั่งถึงพรรษาที่ 8 ท่านจึงได้ไปพำนักอยู่วัดปทุมวนารามอย่างค่อนข้างยาวนานเป็นพิเศษ

    ประการ 1 มีเป้าหมายทั้งการศึกษาและปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน

    ขณะเดียวกัน ประการ 1 ซึ่งสำคัญเป็นอย่างมาก คือ การช่วงชิงโอกาสไปศึกษา สนทนาและฟังเทศน์ ท่านเจ้าคุณอุบาสีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ที่วัดบรมนิวาส

    นามของท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์นี้สมควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ

    ใครที่อ่าน "ประวัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ฉบับสมบูรณ์" สำนวนของ พระญาณวิริยาจารย์ (พระอาจารย์วิริยังค์) ในตอนว่าด้วย อุคคหนิมิต คงจำได้ในตอนที่จะข้ามสะพานเหวลึก

    "ปรากฏว่ามีสะพานใหญ่กว่าวันก่อนมาก ขณะที่เดินไปตามสะพานถึงระหว่างกลางนั้นก็ได้พบกับท่าน เจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ซึ่งเดินสวนทางมาแล้วกล่าวว่า อัฏฐังคิโก มัคโค"

    แล้วก็เดินต่อไป

    ความเป็นจริงที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ท่านมีนามว่า จันทร์ เกิดในตระกูล ศุภสร ที่บ้านหนองไหล ตำบลหนองไหล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

    นั่นก็คือเป็นคนอุบลราชธานีเหมือนกัน

    ท่านอยู่ในผ้าเหลืองตั้งแต่บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุย่างได้ 13 ปี และได้เดินทางเข้ามาศึกษาปริยัติธรรมที่มหานครกรุงเทพฯตั้งแต่ปี 2423

    สอบได้เปรียญ 5 ประโยค เมื่อปี 2437

    ในปี 2438 ได้ไปเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานกับ พระปัญญาพิศาลเถร (สิงห์) วัดปทุมวนาราม

    ท่านจึงมีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับวัดปทุมวนารามมาอย่างยาวนาน

    ห้วงเวลาแห่งการอยู่ที่วัดปทุมวนารามและเดินทางไปฟังเทศน์และสนทนาธรรมที่วัดบรมนิวาสกับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ นี้เอง

    ได้ทำให้ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้ค้นพบบางอย่าง

    เป็นการค้นพบในท่ามกลางการปฏิบัติ เป็นการค้นพบในระหว่างการเดินทางไปกับพระรูปอื่น

    เป็นการค้นพบในทางความคิด เป็นการค้นพบในทางปัญญา
     

แชร์หน้านี้

Loading...