วิธีฝึกปฏิบัติธุดงค์ของหลวงพ่อ

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 3 กรกฎาคม 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    <CENTER>วิธีฝึกปฏิบัติของหลวงพ่อ</CENTER>
    ผมจะเล่าให้ฟังสักนิด พระพุทธเจ้าท่านห้ามนะเทศน์ปรารภตัว แต่ว่าไม่ได้คุยหรอก .. ไม่ได้ปรารภ .. แค่เล่าให้ฟัง! ขณะที่ปฏิบัติขณะโน้น เมื่อผมยังเป็นเด็ก ๆ พระเด็ก ๆ เวลานี้มันแก่ .. ไม่ใช่ใหญ่ ไม่ใช่พระผู้ใหญ่ พระแก่ เป็นพระเด็ก ๆ หาบทราบดำน้ำจากก้นแม่น้ำเจ้าพระยา ดำน้ำงมทราบ ดำน้ำงมกรวดเป็นประจำ บนบกก็หาบทราบหาบกรวดเป็นประจำ ขุดดิน กวนปูน แบกจอบ แบกของขึ้นหลังคาเป็นประจำ
    งานประเภทนี้ผมไม่เคยหยุด มาหยุดก็ตอนปีนไม่ไหว อกไก่ อกศาลาน่ะ เดินไม่ได้เกาะอะไร เดินสบาย ๆ คือ ทำงานได้ต่ำกว่าผิวดินลงไปถึงบนอากาศ แต่ว่าทำงานอย่างสมมุติว่า เราจะเดินบนอกไก่ทำยังไง นั่นเขาใช้สมาธิจิตช่วย
    เอาจิตทรงไว้ในขั้น "อุปจารสมาธิ" และ "ปฐมฌาน" ไม่ต้องไปนั่งให้ทรงตัวให้ลำบาก เลี้ยงตัวให้ลำบาก คิดว่าเรายืนขึ้นนี่ จะเดินจากอกไก่จากนี่ไปโน่น จากโน่นไปนี่ให้กายมันทรงอยู่ ไม่ให้มันลง มันก็ไม่ลง การโงนเงนก็ไม่มี นี่เขาเล่นกันเป็นปกติ ดีไม่ดีฟันดินปั๊ก ๆ ๆ จิตตั้งอยู่อุปจารสมาธิ
    ขณะที่ฟันดินจิตเป็นสมาธิจับอยู่เฉพาะปลายจอบกับดิน ให้จิตมันอยู่ตรงนั้น อย่าให้มันไปไหน ภาวนาพุทโธก็ได้นะ ปั๊ก .. พุทโธ ปั๊ก .. พุทโธ ก็ได้ แต่เขาไม่ต้องการเอางานเป็นสมาธิ เอางานเป็นสมาธิฟันไปฟันมาเหงื่อออกเต็มที่ทำยังไง..
    แต่ว่าสมาธิมันทรงตัวเหนื่อยยากนะ รู้สึกว่ามันทั้งเหนื่อยทั้งร้อน วางจอบเข้าฌานมันเดี๋ยวนั้น วางจอบปั๊บ..นุ่งปุ๊บ เข้าฌานสูงสุดให้มันได้ทันทีทันใด ให้มันได้ทันที นี่เขาฝึกกันอย่างนี้ ไม่ใช่ต้องไปหลบเข้าห้อง ในป่าช้า ยังไม่พ้นปากเสือ มันต้องทำให้ได้ทุกจังหวะ
    เวลาเดินไปเดินมาจิตจะต้องทรงอยู่ในฌานสมาบัติเป็นปกติ นี่เขาทำกันอย่างนี้ มันถึงจะได้ดี คำว่า "ฌาน" หรือสมาธินี่ ถ้ายังหลบหาที่เงียบผมยังไม่ให้คะแนนเลย ถ้าให้ตรวจจิตจะให้สัก ๑๐๐ ศูนย์ เพราะว่ายังเหลวไหลด้วยประการทั้งปวง
    <CENTER>วิเวก ๓</CENTER>
    มันต้องเอาจิตเข้าไปชนกับอารมณ์ต่าง ๆ เขาไม่ให้หลบคนนี่ การฝึกจิตให้สงัดจากกิเลสด้วยอำนาจของสมาธิที่จิตสงัดเรียกอะไร .. "กายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก"
    กายวิเวก หลบเข้าไปในที่วิเวก คือ ที่สงัด
    จิตวิเวก จิตเป็นฌานสมาบัติ ต้องออกมาสู้กับทุกอย่างที่มันมีอยู่ในโลก
    เมื่อเข้าอยู่ในที่สงัดจิตเป็นจิตวิเวก ทรงฌานได้ดี พอออกจากที่ เข้าสู้กับคน เข้าสู้กับผลงาน เข้าสู้กับอารมณ์ที่เราไม่ต้องการ สู้ทุกอย่าง ถ้าอารมณ์ที่เราไม่ต้องการเกิดขึ้น จิตเราสามารถคุมฌานได้ดี .. อย่างนี้ใช้ได้ นี่..นักธุดงค์ในวัดก็ดี นักธุดงค์นอกวัดก็ดี เขาต้องปฏิบัติอย่างนี้ เมื่อเป็นจิตวิเวกแล้วอย่านึกว่าดีนะ ฌานสมาบัติยังไม่พ้นขุมนรก ดูท่านเทวทัตได้ฌานสมาบัติ ได้อภิญญา ๕ เหาะไปเหาะมา เหาะลงอเวจีไปเลย ต้องทำให้เป็น อุปธิวิเวก
    อุปธิวิเวก เขาทำยังไง .. ก็ทำจิตให้สงัดจากกิเลส คือเป็น พระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหันต์ ถ้าจิตเราทรงฌานได้อย่างนั้นจริง ๆ อุปธิวิเวกเป็นไม่ยาก
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <CENTER>สังโยชน์ ๓</CENTER>
    เป็น พระโสดาบัน เขาทำยังไง..บรรเทา สักกายทิฏฐิ คือ ยึดถือว่าร่างกายน้อยหน่อย คิดว่าร่างกายนี้มันตายแน่ แต่ว่ายังไม่พ้นจากความรักในร่างกาย .. แต่รู้ว่าตาย มีศีลบริสุทธิ์ และ ไม่สงสัย ในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    มีศีลบริสุทธิ์นี่ พระโสดากับสกิทาคา มีแค่นี้ ไม่เห็นมีอะไรของกล้วย ๆ แต่ว่าที่พูดธุดงค์เมื่อกี้ ญาติโยมอย่าลำบากใจนะ เขาไม่ต้องการธุดงค์แบบนั้น
    ถ้าเราจะปฏิบัติแบบง่าย ๆ เป็นพระอริยะเลย อันดับแรก พิจารณาเสมอว่าร่างกายมันจะตาย ร่างกายมันเป็นทุกข์ เราไม่ต้องการร่างกายอีก มันป่วยไข้ไม่สบายถือเป็นเรื่องธรรมดา มันจะตายก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา
    และไม่สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า มีศีล ๕ บริสุทธิ์ จิตรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ เท่านี้เป็นพระโสดาบัน นี่ปฏิบัติแบบง่าย ๆ อย่างนี้ก็ดี เมื่อกี้นี้พูดธุดงค์ก็ต้องว่ากันแบบธุดงค์
    ทีนี้ถ้าหากว่าท่านที่ทรงฌานมาแล้วตามที่พูดเมื่อกี้นี้จะใช้กำลังสมาธิเมื่อไหร่ก็ได้เรื่องความเป็นพระโสดากับสกิทาคา อนาคา อรหันต์ เป็นเรื่องเล็ก ๆ ถ้าบังเอิญท่านได้ อรูปฌานในสมาบัติ๘
    <CENTER>สักกายทิฏฐิตัวเดียว</CENTER>
    ถ้าได้อรูปฌาน แล้วใช้อรูปฌานเป็นพื้นฐานในการเจริญวิปัสสนาญาณ จับ สักกายทิฏฐิตัวเดียว ท่านจะเป็นอรหันต์ภายใน ๗ วัน ไม่ยากลำบากอะไร ของกล้วย ๆ หากว่าจิตของท่านทรงฌาน ๔ ได้เป็นปกติ หากวาสนาบารมีเข้มแข็ง จะเป็นอรหันต์ได้ภายใน ๗ วัน
    ถ้ากำลังใจอ่อนไปนิดจะเป็นอรหันต์ได้ภายใน ๗ เดือน ถ้ากำลังใจย่อหย่อนไปอีกหน่อยหนึ่ง จะเป็นอรหันต์ได้ภายใน ๗ ปี ถ้าจิตทรงฌาน ๔ ได้แบบนั้น ใครปฏิบัติถึง ๗ เดือนก็ซวยเต็มที ไม่มีใครเขาทำกัน
    เป็นอันว่า เมื่อเราได้จิตวิเวกแล้วต้องทำอุปธิวิเวกให้เกิดขึ้น มันจะไปยากอะไรไม่เห็นยาก
    อุปธิวิเวก คือ หนึ่ง พระโสดาบัน ตัดสักกายทิฏฐิเห็นว่าร่างกายนี่ เราเดินธุดงค์หรือนั่งธุดงค์ ธุดงค์ในวัดก็ดี ธุดงค์ในป่าก็ดี ทำจิตเสมอกัน
    คิดว่าร่างกายนี้มันมีความเกิดในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนแปลงแปรปรวนในท่ามกลาง มีการตายในที่สุด และก็คิดว่าถ้าตายเวลานี้เราจะไปไหน เขาคิดกันอย่างนี้ ไม่ได้คิดว่า อีก ๕ ปี ๑๐ ปี ๒๐ ปี คิดอย่างนั้นมันคิดลงนรก มรณานุสสติกรรมฐาน พระพุทธเจ้าเคยถามพระอานนท์ว่า
    "อานันทะ! ดูก่อน..อานนท์ เธอคิดถึงความตายวันละกี่ครั้ง?"
    พระอานนท์ตอบพระพุทธเจ้าว่า
    "คิดถึงความตายวันละประมาณ ๗ ครั้ง พระพุทธเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า
    "อานนท์..ห่างเกินไป ตถาคตนี่คิดถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก"
    นี่จำไว้ให้ดีนะ ฉะนั้น นักธุดงค์ภายในหรือภายนอกก็ตาม ต้อคิดเสมอว่าเราจะตายเดี๋ยวนี้ ถ้าอยากจะเป็นเทวดาก็ทรงจิตไว้ขั้นกามาวจร คือ ขั้นอุปจารสมาธิ อย่างนี้ตายแล้วเป็นเทวดา
    ถ้าต้องการเป็นพรหม เราก็ทรงอารมณ์ไว้ตามปกติ ตายแล้วเป็นเทวดา
    ถ้าเราต้องการตายแล้วไปนิพพาน ก็คิดไว้เสมอว่าโลกเป็นทุกข์ ร่างกายเป็นทุกข์ คนและสัตว์ทั้งหมดมีแต่ทุกข์ คนและสัตว์มีสภาพเหมือนอากาศ มีเกิดขึ้นในเบื้องต้น และมีการสลายตัวในที่สุด ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่งที่พักพิงอะไรเลย ในที่สุดต่างคนต่างพัง คนที่คุยกับเราไม่ช้าเขาก็ตาย เราก็ตาย เกิดแล้วตาย เกิดมาทำไม เกิดแล้วตายเราไม่เกิดเสียดีกว่า ไม่เกิดไปไหน .. ตั้งใจไปนิพพาน
    <CENTER>จะไปนิพพานเขาทำยังไง?</CENTER>
    จิตตัด โลภะ ไม่เห็นว่าทรัพย์สินทั้งหลายในโลกมีประโยชน์สำหรับเราต่อไปในวันหน้า วันนี้จำจะต้องอาศัยมันไม่เป็นไร มีแล้วก็แล้วกันไป แต่ว่าไม่สนใจ เราตายแล้วเราไม่ห่วง
    ตักกามฉันทะ ความเป็นอยู่ในการครองคู่ไม่ได้เกิดประโยชน์ เป็นปัจจัยของความทุกข์ ไม่ต้องการมันอีก
    ตัดโทสะ เห็นว่าโทษของโทสะเป็นปัจจัยของความทุกข์ มีเมตตาพรหมวิหาร เป็นเบื้องหน้าก็ไม่มีโทสะ
    ตัดโมหะ เห็นว่าร่างกายเป็นเพียงธาตุ ๔ ประชุมกัน มันมีการเกิดขึ้นแล้วก็มีการตายไป ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ไม่สนใจร่างกายของเราด้วย ไม่สนใจร่างกายของคนอื่นด้วย ไม่สนในสรรพวัตถุทุกอย่างในโลกด้วย ในเมื่อตายคราวนี้แล้วขึ้นชื่อว่าโลกทั้งสาม คือ มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก เราไม่ต้องการ เราต้องการอย่างเดียวคือ พระนิพพาน
    นี่นักธุดงค์ที่เขาต้องการพระนิพพานน่ะ เขาตื่นขึ้นมาเขาใช้อย่างนี้ คุมอารมณ์ตั้งแต่ต้น ทรงพรหมวิหาร ๔ ตัดอารมณ์ปลิโพธิ ตัดนิวรณ์ แล้วก็ตัดขันธ์ ๕ นักธุดงค์..ถ้ายังต้องการฌานโลกีย์ เสียแรงเดิน ไม่ได้ประโยชน์ นักธุดงค์เขาต้องการพระนิพพาน เขาไม่ต้องการฌานโลกีย์ เราต้องเป็นผู้ชนะเลิศ ถ้าเราเดินธุดงค์ครั้งหนึ่ง ถ้าได้แค่พระโสดา สกิทาคา เราต้องนึกว่าเราเลวเต็มที ควรจะได้อนาคามี หรือ อรหันต์
    เพราะอะไร เพราะเดินธุดงค์เข้าป่า มันต้องนึกถึงความตายทุกขณะลมหายใจเข้าออก เพราะเราไม่แน่ใจนี่ว่าความตายมันจะเข้ามาเมื่อไร ตายจากการมีโรค ตายจากสัตว์ร้ายที่ขบกิน อันตรายมันมีทุกด้าน เลยนั่งตัดขันธ์ ๕ มันเสียเล่นโก้ ๆ มันจะตายเมื่อไรสบายเมื่อนั้น ตายแล้วไปไหน..ฉันก็ไปนิพพาน จิตจับนิพพาน ตัดโลภะ ตัดโทสะ ตัดโมหะมันให้เกลี้ยง
    พอตัดในป่าได้ก็เข้ามาในบ้าน เข้าบ้านเขาเมืองมาดูซิว่า ราคะ มันกำเริบไหม โลภะ ความโลภ อยากรวยมันยังกำเริบไหม โทสะ กำเริบหรือเปล่า โมหะ กำเริบหรือเปล่า ถ้ายังมีอยู่ในจิตแม้แต่นิดหนึ่ง จงประฌามตัวเองว่าเลวเกินไป สิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ เรายังไม่สามารถจะชำระได้
    ฉะนั้น เมื่อกลับมาอยู่ที่ชุมชนก็ต้องเริ่มต้นปราบปราม ราคะ โทสะ โมหะ กันใหม่ ปราบไปอีกครั้งหนึ่ง ให้มันพินาศไปด้วย อำนาจของป่า คือ "กิเลส" ป่าคือ "หมู่ชน"
    <CENTER>นักธุดงค์ที่แท้จริง</CENTER>
    นี่เป็นอันว่า วันนี้พูดกันถึง "ธุดงค์" ธุดงค์ของท่านพระมหากัสสปน่ะ ท่านธุดงค์แบบนี้ ไม่ใช่ "เดินดง" และ "นักธุดงค์" ที่ยังรับเครื่องสักการะที่ชาวบ้านเขาถวายอย่างนี้..อย่าไปเลย!
    ชาวบ้านถวายเงิน..รับเงิน ชาวบ้านถวายของ..รับของ อย่าไปเลย มันไม่ใช่ธุดงค์แล้ว มันเป็นการ "เดินดง" ไปหาลาภสักการะ มันไม่เป็นกายวิเวก ไม่เป็นจิตวิเวก ไม่เป็นอุปธิวิเวก
    ธุดงค์จริง ๆ เขาจะต้องไม่รับเงินและทอง ปีนี้มาคณะหนึ่งที่วัด ปรากฏว่ามาจากอำเภอเสนา ขึ้นมาจาก พระมหาวัย คือ เจ้าคุณอดุลย์ธรรมเวที ถามว่าพวกคุณรับเงินหรือเปล่า..บอกไมรับครับ!
    บอก เออ..จงรักษาปฏิปทาเดิมของเราไว้ วิธีธุดงค์เขาต้องอย่างนั้น ถ้าเดินไกล..ญาติโยมซื้อตั๋วให้เราขึ้นรถ เรายอมลงปลายทางแล้วก็เดินต่อไป ใครเขาสงสารซื้อตั๋วให้ก็ซื้อแต่ตั๋ว..อย่ารับเงิน หมดระยะแค่ไหน..ลงแค่นั้น
    วันนั้นแกมาที่วัด ญาติโยมจากจังหวัดสุพรรณบุรีมาจะออกเงินค่าตั๋วรถให้ แกจะไม่ยอมรับ บอก..คุณอย่าไปปิดความดีของคนอื่น เขาส่งเราไปถึงไหน นั่นเป็นความดีของเขา
    <CENTER>"ยานะโท สุขะโท โหติ"
    การให้ยวดยานพาหนะ ชื่อว่าให้ความสุข</CENTER>
    เราต้องสงเคราะห์ญาติโยม เมื่อหมดระยะทางเราก็เดิน นี่เห็นมีอยู่ชุดเดียว นอกจากนั้นพวกธุดงค์รับดะหมด ให้เงินก็รับ ให้ของก็รับ ให้พระพุทธรูปก็รับ อย่างนี้มันธุดงค์ลงนรกหลอกลวงชาวบ้าน
    และการธุดงค์นี่ จะต้องปักกลดห่างจากบ้านไม่น้อยกว่า ๑ กิโลเมตร ถ้าใกล้กว่านั้นไม่ได้ ทั้งนี้เพราะต้องการ กายวิเวก เพื่อเป็น จิตวิเวก นักธุดงค์ที่ปักกลดใกล้ ๆ บ้าน มันไม่ใช่นักธุดงค์ มันขอทาน อย่างนี้ชาวบ้านไม่ควรจะใส่บาตรให้ เพราะทำลายแบบฉบับที่ดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=right>Copyright &copy; 2001 by</TD><TR><TD align=right>Amine</TD><TR><TD align=right>10 ก.ย. 2545 21:41:18 </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...