ศีลในพระพุทธศาสนา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 29 พฤศจิกายน 2019.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,123
    กระทู้เรื่องเด่น:
    348
    ค่าพลัง:
    +64,476
    ศีลในพระพุทธศาสนา


    at=111&_nc_ohc=Z9XcBpE8TA4AQmjDhJlzsHOIKN_03Bj6qxAr4n4TJvbYBy0ILKIz4TsuA&_nc_ht=scontent.fnak1-1.jpg


    สังคมโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะสังคมไทยได้มีการรับวัฒนธรรมของชาวต่างชาติ นำมาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตาม บางอย่างไม่เหมาะสมกับจารีตประเพณีอันดีงาม และบางอย่างก็เข้าข่ายละเมิดศีลธรรมอันดี

    "ศีล" คือ ข้อปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนา เพื่อควบคุมความประพฤติทางกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงามมีความปกติสุข เพื่อประโยชน์ขั้นพื้นฐานคือความสุขและไม่มีการเบียดเบียนกันในสังคม

    ประโยชน์ของศีลในขั้นพื้นฐานคือทำให้กาย วาจา ใจ สงบไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทำให้สามารถที่จะทำให้จิตสงบได้ง่ายในการทำสมาธิ ในระดับของบรรพชิต ศีลจะมีจำนวนมาก เพื่อกำกับให้พระภิกษุสงฆ์สามเณรสามารถครองตนในสมณภาวะได้อย่างสมบูรณ์ และเอื้อต่อการประพฤติพรหมจรรย์ในขั้นสูงต่อไปได้

    ศีลมีหลายขั้นหลายระดับ จัดแบ่งได้ 5 ประเภท ดังนี้

    1) ศีล 5 หรือเบญจศีล เป็นศีลขั้นพื้นฐานของศีลทั้งปวง กล่าวคือ ศีลทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นศีลของอุบาสก อุบาสิกา สามเณร หรือพระภิกษุ ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งศีล 5 ข้อนี้ กำหนดเป็นศีลสำหรับผู้ครองเรือนทั่วไปควรรักษา เป็นศีลที่ควรรักษาให้เป็นปกติ

    ศีลห้า ประกอบด้วย 1.เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตทั้งปวง รวมถึงการทำร้ายสัตว์หรือมนุษย์ 2.เว้นจากการลักทรัพย์ เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ 3.เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย 4.เว้นจากการพูดเท็จ คำหยาบ หรือพูดส่อเสียด 5.เว้นจากการดื่มน้ำเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

    2) ศีล 8 (อัฐศีล) เป็นศีลที่มีพื้นฐานมาจากศีล 5 เน้นการไม่เสพกาม การรับประทานอาหารจำกัดเวลา การหัดลดละการหาความสุขจากสิ่งบันเทิงหรือเครื่องปรนเปรอความสุขทางประสาทสัมผัสและการงดใช้เครื่องนั่งนอนฟูกหรูหรา

    เป็นการฝึกฝนตนให้รู้จักที่จะมีชีวิตที่เป็นอิสระได้มากขึ้น สามารถอยู่ดีมีสุขได้โดยไม่ต้องพึ่งพาหรือขึ้นต่อวัตถุภายนอกมากเกินไป

    3) ศีล 10 (ทศศีล) เป็นศีลสำหรับเด็กและเยาวชนที่บวชเป็นสามเณรสมาทานรักษาเป็นประจำ คำว่า สามเณร แปลว่า เหล่ากอของสมณะ หมายถึง เด็กและเยาวชนผู้ศึกษาอบรมตามหลักไตรสิกขา เพื่อเตรียมเป็นพระภิกษุเมื่อมีอายุครบอุปสมบทตามพระวินัยกำหนด

    4) ศีล 227 หรือสิกขาบท 227 เรียกว่า ศีลของพระภิกษุ เป็นพระวินัยพุทธบัญญัติในส่วนที่เป็นกฎเกณฑ์ข้อห้ามสำหรับบุรุษผู้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาที่ต้องรักษาโดยเคร่งครัด เพื่อดำรงความเป็นพระภิกษุ

    5) ศีล 311 หรือสิกขาบท 311 เรียกว่า ศีลของพระภิกษุณี เป็นพระพุทธบัญญัติในส่วนที่เป็นข้อห้ามสำหรับสตรีผู้อุปสมบทเป็นพระภิกษุณีที่ต้องรักษาโดยเคร่งครัด เพื่อดำรงความเป็นพระภิกษุณี

    ศีลจึงเป็นหลักการที่จะทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข



    ขอบคุณที่มา
     

แชร์หน้านี้

Loading...