เรื่องเด่น สรุปแบบเข้าใจง่าย ทำไมพราหมณ์ต้องสยายผมให้กระเซิงในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ?

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 19 ตุลาคม 2017.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,711
    สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ว่าไปก็รู้สึกใจหายเหมือนกันนะคะที่เหลือเวลาอีกเพียง 10 วันเท่านั้น ก็จะถึงวันจริงของงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชแล้ว ซึ่งเมื่อช่วงวันหยุดยาวที่ผ่านมานี้ เรามีเวลาว่างดูถ่ายทอดสดและภาพการฝึกซ้อมริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศในงานมาด้วยค่ะ ภาพที่เห็นคือแต่ละตำแหน่ง แต่ละแถวที่ถูกจัดเรียงมาสง่างามมาก มีทั้งเครื่องประกอบต่างๆ พระราชรถ พระราชยาน ฯลฯ



    แต่สิ่งที่น่าสนใจในขบวนพระบรมราชอิสริยยศสำหรับเราไม่ได้มีแค่ความพร้อมเพรียงและความยิ่งใหญ่เท่านั้นค่ะ เพราะวันนี้เราไปเจอโพสต์นึงมาจากเฟสบุคที่พูดถึง "นาลิวัน" หรือพราหมณ์ที่สยายผมเดินตามขบวนเชิญพระบรมศพค่ะ โดยผังงานพระบรมศพยุคก่อนนั้นจะต้องมีนาลิวันสยายผม 10 คน เดินก้มหน้า ปิดท้ายพระราชรถ พระราชยานค่ะ ซึ่งถ้านำนี้ไปค้นหาในเว็บไซต์ของกระทวงวัฒนธรรมที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงก็จะมีอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งจากประวัติศาสตร์ของไทยมีนาลิวันที่อยู่ในพิธีถวายพระเพลิงสมเด็จเจ้าฟ้าเพ็ชรัตน์ไปเมื่อปี พ.ศ. 2555 ด้วยเช่นกัน

    งานนี้เราก็เลยไปค้นข้อมูลมาจาก อาจารย์คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง หรือ เชฟหมี และคุณกรกิจ ดิษฐาน ที่ได้พูดถึง "นาลิวัน" ไว้ได้อย่างน่าสนใจ ในประเด็นที่ว่า "ทำไมพราหมณ์ถึงมาสยายผมในงานถวายพระเพลิง?" ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายให้อ่านกันค่ะ


    พราหมณ์สยายผม.jpg

    พราหมณ์สยายผมระหว่างเดินร่วมริ้วขบวนพระอิสริยยศในการเชิญพระบรมโกศ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ถ่ายโดย Robert Larimore Pendleton

    ปกติพราหมณ์จะมวยผมไว้เรียบร้อย การสยายผมเป็นอัปมงคล หรือเพื่อแสดงความเศร้าโศกอย่างถึงที่สุด หรือแสดงเหตุหายนะ การสยายผมเป็นธรรมเนียมของอินเดียโบราณ แต่เดิมคนโบราณทั้งในสุวรรณภูมิและชมพูทวีปต่างรวบผมเป็นมวย เมื่อผู้ที่รักสิ้นชีวิตไป จะปลดมวยสยายผมลงมาดูกระเซอะกระเซิงแสดงความเศร้าเสียใจ และบอกกับผู้คนว่าอยู่ในเวลาไว้ทุกข์ ดังในคัมภีร์ภควัทคีตากล่าวว่า "วีรบุรุษไม่ทำร้ายผู้สยายผม" หมายความว่า ห้ามทำร้ายผู้คนในช่วงไว้ทุกข์ เพราะกำลังอยู่ในช่วงกำสรดสุดแสน

    ในพระไตรปิฎกเอ่ยถึงกิริยาแบบนี้หลายครั้ง การสยายผมแต่ละครั้งจะเกิดขึ้นในเหตุอันยังความเศร้าเสียใจต่อผู้คนอย่างสุดซึ้ง เช่นเมื่อคราวพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน พวกเทวดา "สยายผมประคองแขนทั้งสองคร่ำครวญอยู่ ล้มลงกลิ้งเกลือกไป" หรือเมื่อคราวจะเกิดหายนะขึ้นในจักรวาล โลกพยุหเทวดาจะนุ่งแดงห่มแดง สยายผมเดินร้องไห้ไปพลางป่าวประกาศจุดจบของโลก

    ในงานพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน มีพรามหณ์เดินก้มหน้าสยายผม ให้ความรู้สึกประหนึ่งเทพยดาประกาศจุดจบของโลกเสียเหลือเกิน

    อนึ่ง ในงานพระบรมศพ พราหมณ์ที่เดินตามกระบวนแล้วสยายผมเรียกว่า "นาลิวัน" แต่เดิมนั้นนาลิวันหมายถึงพราหมณ์พวกหนึ่งทำหน้าที่ขึ้นกระดานโล้ชิงช้า เมื่อหมดพิธีโล้ชิงช้าในรัชกาลที่ ๗ นาลิวันน่าจะหมดหน้าที่และหายไปจากงานพระราชพิธี พราหมณ์จากเทวสถานจึงทำหน้าที่แทน (?)

    เรื่องนี้อาจารย์คมกฤช อุ่ยเต็กเค่งเขียนไว้อย่างละเอียดในบทความเรื่อง “นาลิวัน คือใคร?” อาจารย์คมกฤชตั้งข้อสังเกตจากข้อมูลของพราหมณ์ท่านหนึ่งว่า นาลิวันน่าจะเป็นเลกพราหมณ์ หรือข้ารับใช้ของพราหมณ์ ซึ่งเมื่อผมพิจารณาจากงานพระราชพิธีบางงานแล้ว เช่น พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย และพระราชพิธีเคณฑะ จะพบว่านาลิวันทำงานเป็นลูกมือพราหมณ์จริงๆ แต่ทำไมพราหมณ์เทวสถาน-ราชสำนักจึงเดินสยายผมเสียเอง ไม่ใช้นาลิวันเหมือนเคย เรื่องนี้ยังจนด้วยเกล้า

    ในผังงานพระบรมศพยุคก่อนเก่ามีนาลิวันประกอบ ๑๐ คน เดินปิดท้ายราชรถ พระราชยาน เขียนภาพแต่งชุดพราหณ์สยายผมเหมือนในภาพถ่ายนี้

    ______________________

    บทความเรื่อง “นาลิวัน” คือใคร? ของอาจารย์คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง
    https://www.matichonweekly.com/column/article_13619

    ภาพจาก University of Wisconsin-Milwaukee Libraries

    ขอบคุณที่มา



    อย่างที่ทราบกันว่าไทยรับอิทธิพลของศาสนาพรามหมณ์-ฮินดูเข้ามาใช้ ซึ่งเรามักพบเห็นได้ชัดเจนในพิธีต่างๆ ว่าพราหมณ์จะสวมชุดขาวและเกล้ามวยผมไว้เรียบร้อย แต่ด้วยสาเหตุที่ต้องสยายผมให้กระเซอะกระเซิง เป็นธรรมเนียมของอินเดียโบราณที่แสดงถึงความอัปมงคล เหตุหายนะ หรือเพื่อแสดงความเศร้าโศกและเป็นสัญลักษณ์ว่าไว้ทุกข์อยู่ จนมีคำกล่าวในคัมภีร์ภควัทคีตาที่ว่า "วีรบุรุษไม่ทำร้ายผู้สยายผม" นั่นเองค่ะ

    ส่วนคำว่า "พราหมณ์นาลิวัน" ที่ดูเป็นชื่อเรียกพราหมณ์ที่ให้ความรู้สึกว่าต่างจากพราหมณ์ทั่วไป โดยข้อสันนิษฐานและหลักฐานทางประวัติศาสตร์โดยรวมนั้น พอสรุปได้ว่าเดิมทีพราหมณ์กลุ่มนี้ทั้งในลังกาและอินเดียจัดว่าอยู่ในวรรณะต่ำกว่าพราหมณ์ทั่วไป ซึ่งเรียกได้ว่าถ้ามีการขายตัวให้ไปเป็นผู้รับใช้แล้วก็จะทำหน้าที่ผู้ช่วยพรามหณ์อีกที

    125303917.jpg
    และคำว่า "นาลิวัน" แม้จะไม่ปรากฏแน่ชัดว่าแปลว่าอะไร แต่ก็พอคล้ายคลึงกับ "นาลวัร" หรือวรรณะคนปาดตาล ปาดมะพร้าว ที่ถนัดใช้แรงงาน ปีนป่ายต้นมะพร้าว ซึ่งสอดคล้องกับหน้าที่ของพราหมณ์นาลิวันในพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย หรือโล้ชิงช้าในสมัยรัชกาลที่ 7 แต่ไม่ได้ทำหน้าที่พราหมณ์นำจัดพิธีต่างๆ แต่สำหรับริ้วขบวนในงานถวายพระเพลิงนั้นอาจต้องใช้คนจำนวนมาก จึงต้องใช้ทั้งพราหมณ์ที่ทำพิธีและนาลิวันเข้าร่วมด้วย

    B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2_%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2.jpg
    รูปพระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย
    จาก https://th.wikipedia.org/

    แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่เราสรุปมานั้น ยังคงมีข้อสงสัยอยู่ต่อไปสักเล็กน้อยว่าทำไมพราหมณ์ที่ว่า ในเมื่อหลักฐานต่างๆ ก็พอจะปรากฏว่าพราหมณ์นาลิวันมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยพราหมณ์แล้ว ทำไมในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงฯ พราหมณ์ผู้นำจัดพิธีต่างๆ ที่มาจากเทวสถานจึงเป็นผู้สยายผมเสียเอง แทนที่จะเป็นนาลิวันตามคำเรียก ถ้าใครอยากอ่านให้ลึกสามารถเข้าไปอ่านต่อได้ตามลิงก์ในเครดิตเลยค่ะ หรือถ้าใครมีข้อมูลดีๆ ก็เอามาแชร์กันได้นะ เรื่องนี้เราอ่านแล้วเพลินจริง :3

    เครดิต :
    https://www.m-culture.go.th
    https://www.matichonweekly.com
    Kornkit Disthan

    ------------------------------------
    ขอบคุณที่มา
    https://www.dek-d.com/board/view/3800694/
     
  2. น้องนกลาบ ชื่อนี้สีชมพู

    น้องนกลาบ ชื่อนี้สีชมพู ค ว า ม ต า ย คื อ ก า ร เ ริ่ ม ต้ น ข อ งชี วิ ต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2017
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +156
    อ้าว พี่ SiTa คะ :eek:
     

แชร์หน้านี้

Loading...