สำนักเรียนมูลกัจจายน์

ในห้อง 'หลวงปู่แหวน' ตั้งกระทู้โดย paang, 30 มกราคม 2007.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,326
    [​IMG]


    ในสมัยก่อนอุบลราชธานี เป็นจังหวัดที่มีการศึกษามูลกัจจายน์ กันอย่างแพร่หลาย มีสำนัก เรียนที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง ถือเป็นแหล่งผลิตครูอาจารย์ทางพระพุทธศาสนา อย่างเป็นหลัก เป็นฐาน

    สำนักเรียนที่มีชื่อเสียงมาก และมีนักเรียนจำนวนมาก ได้แก่สำนักเรียนเวฬุวัน สำนักเรียน บ้านไผ่ใหญ่ สำนักเรียนบ้านเค็งใหญ่ สำนักเรียนบ้านหนองหลั และสำนักเรียนบ้านสร้างถ่อ พระเณรทั่วภาคอิสาน ที่ไฝ่ต่อการศึกษา ต่างเดินทางมายังสำนักเรียนเหล่านี้

    การเรียนมูลกัจจายน์ เป็นการเรียนที่ยุ่งยากมาก ผุ้เรียนต้องมีสมองดี และมีความพยายามสูง

    ผู้ที่สามารถเรียนได้จบหลักสูตร จะได้รับการยกย่องจากคนทั่วไปว่า เป็นนักปราชญ์ มีความ แตกฉานในธรรมะ และในภาษาบาลี สามารถแปลได้ทุกประเภท

    ต่อมาภายหลัง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเห็นว่าการเรียน มูลกัจจายน์ นั้นยากเกินไป มีผุ้เรียนจบหลักสูตรน้อย และต้องเสียเวลาเรียนนานเกินความจำเป็น

    จึงทรงปรับปรุงเปลี่่ยนแปลงหลักสูตรการเรียนเสียใหม่ จนได้กลายมาเป็นหลักสูตรของการ ศึกษาฝ่ายคณะสงฆ์มาจนปัจจุบัน

    ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การเรียนมูลกัจจายน์ จึงได้ถูกลืมไปจากวงการศึกษาของคณะสงฆ์ ตราบ จนทุกวันนี้

    หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ได้เล่าถึงการเรียนมูลกัจจายน์ว่า การเรียนในสมัยนั้น ไม่มีห้องเรียน เหมือนสมัยปัจจุบัน ครูที่สอนก็ไม่ได้อยู่ในที่แห่งเดียวกัน แต่จะแยกอยู่คนละที่
    เมื่อถึงเวลาเรียน นักเรียนต้องแบกหนังสือ ไปเรียนถึงที่อยู่ของครูแต่ละท่าน

    วันนี้เรียนวิชานี้ ก็แบกหนังสือไปเรียนกับครูท่า่นนี้ วันพรุ่งนี้เรียนวิชานั้น ก็จะต้องแบกหนัง สือไปเรียนกับครูท่้่านนั้น แบกไปแบกมา จนกว่าจะเรียนจบ
    ที่ว่าแบกหนังสือนั้น แบกกันจริงๆ

    เพราะว่าในสมัยก่อน หนังสือพิมพ์เป็นเล่ม ไม่มีเหมือนสมัยปัจจุบัน หนังสือที่ใช้ในการเรียน การสอน ก็ใช้คัมภีร์ใบลานเป็นพื้น

    นักเรียนต้องเคารพหนังสือ เพราะถือว่าหนังสือคือพระธรรม จะดูถูกไม่ได้ ถือเป็นบาป

    เวลาว่างจาการเรียน นักเรียน จะต้องเข้าป่าหาใบลานมาไว้ สำหรับทำคัมภีร์ เพื่อฝึกหัด จารหนังสือ ( ใช้เหล็กแหลมเขียนลงไป ให้เป็นรอย)

    วิธีทำคัมถีร์ ก็คือ ไปหาใบลาน เลือกเอาเฉพาะใบที่อายุได้หนึ่งปีแล้ว ถ้าเอาใบอ่อนมา มักใช้ ได้ไม่ค่อยดี แต่ถ้าเอาใบแก่ไป ใบมักเปราะแตกง่าย

    เมื่อได้ใบลานมาแล้ว ก็เอามากรีด รีดใบเลาะก้านใบออก ตากน้ำค้างไว้ สามคืนพอหมาด แล้วใช้ด้าย หรือเชือกร้อยทำเป็นผูกๆ มากน้อยตามต้องการ

    เวลาไปเรียนกับครู ก็ใช้คัมภีร์ที่เตรียมไปนี้ สำหรับคัดลอกตำรา และหัดจาร หนังสือพร้อมกัน ไปด้วย ดังนั้น ผู้เรียน จึงต้องจารหนังสือขึ้นเอง เอาไว้่ท่องบ่น ทบทวนต่อไป

    ที่มาhttp://www.geocities.com/thaimedicinecm/arjanwhan.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...