สุขภาพดีอยู่ที่กินและถ่าย

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย dhamaskidjai, 14 เมษายน 2010.

  1. dhamaskidjai

    dhamaskidjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,855
    ค่าพลัง:
    +5,727
    [​IMG]

    สุขภาพดีอยู่ที่กินและถ่าย (Slim up)
    เรื่อง : พญ.ศันสนีย์ อำนวยสกุล , เรียบเรียง : ประพนธ์ งามวิเศษกุล

    "มาช้าจังเลย เดี๋ยวก็ไปไม่ทันนัดหรอก"

    "เช้านี้ฉันรู้สึกไม่มั่นใจเลย ใส่ชุดอะไรก็ไม่สวย"

    "มานี่สิ (เพื่อนสาวชูโยเกริต์ให้หนึ่งถ้วย) มีส่วนช่วยในการขับถ่ายนะ"

    "อือ อร่อย แล้วดีจริง ๆ เหรอ"

    "ก็ดูฉันสิ (เพื่อนสาวอวดหุ่นสวยอย่างภาคภูมิใจ)"

    จากบทสนทนาจะเห็นได้ว่า ผู้หญิงคนหนึ่งรู้สึกไม่มั่นใจในรูปร่างของตัวเอง ทั้ง ๆ ที่เมื่อคืนก่อนนอนก็ยังไม่ได้มีความรู้สึกนั้น เพราะอะไรเธอจึงเกิดความรู้สึกดังกล่าว นั่น เพราะเมื่อตอนที่เธอตื่นมาเจอกับหน้าท้องพองลม แล้วระบบขับถ่ายไม่ยอมทำงานตามปกติ หรือที่เรียกว่า "ท้องผูก" ส่งผลให้ของเสียที่ควรจะถูกขับถ่ายออกจากร่างกายยังคงตกค้างอยู่จึงทำให้ หน้าท้องป่อง เท่านั้นยังไม่พอ ยังส่งผลกระทบทางด้านจิตใจทำให้ขาดความมั่นใจไปในทันที

    อาการท้องผูกในคนทั่วไปนั้นพบบ่อย 5 –20 % โดยผู้หญิงจะเป็นบ่อยกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า ในผู้สุงอายุก็พบอาการท้องผูกได้บ่อยกว่าเช่นกัน อาการท้องผูกส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ทั้งอาชีพการงาน และการทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีการเปิดเผยตัวเลขเกี่ยวกับการใช้บริการทางการแพทย์เป็นมูลค่าถึง 2,752 ดอลล่าร์สหรัฐ ต่อคนไข้ 1 คนในการตรวจวินิจฉัยในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ เราลองมารู้จักอาการท้องผูกสักนิดเพื่อจะได้ดูแลตนเองเบื้องต้นได้

    ถ่ายเบา ถ่ายหนัก ถือเป็นกิจวัตรประจำวันสำหรับคนปกติ หากวันไหนรู้สึกไม่อยากถ่าย หรืออยากปลดปล่อยใจจะขาดแต่มันไม่ยอมสักที นั่นแสดงว่าระบบขับถ่ายของคุณเริ่มมีปัญหาแล้วล่ะ

    แต่คนส่วนใหญ่มักคิดว่าการถ่ายทุกวันเป็นเรื่องดี แต่ในความเป็นจริงแล้ว การถ่ายทุกวันก็ถือว่าไม่ปกติเช่นกัน

    จริง ๆ แล้วอาการท้องผูกคือ เบ่งถ่ายยาก อุจจาระแข็ง รู้สึกถ่ายไม่หมด รู้สึกว่ามีการอุดตันที่บริเวณทวารหนัก ต้องช่วยสวนทวาร ต้องอาศัยยาจึงทำให้อุจจาระไม่แข็ง ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ หรือรู้สึกถ่ายน้อยกว่าคนปกติ จะเห็นว่าความสำคัญอยู่ที่ลักษณะของอุจจาระและการขับถ่ายมากกว่าความถี่ใน การอุจจาระ บางครั้งท้องผูกเกิดได้ฉับพลัน แต่ก็เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นช้า ๆ และอยู่นานเป็นเดือน เป็นปี

    ท้องผูกเรื้อรัง ตัดสินจากระยะเวลา คือเริ่มมีอาการท้องผูกอย่างน้อย 6 เดือน ก่อนการวินิจฉัย และเป็นอยู่นานติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน และต้องไม่ใช่ลำไส้แปรปรวน (IBS) ที่รู้สึกปวดหรือไม่สบายท้อง แต่ดีขึ้นเมื่อได้ถ่ายอุจจาระเป็นอาการเด่น โดยมีอาการท้องผูกร่วมด้วย ที่ต้องแยกการวินิจฉัย เพราะ IBS ให้รักษาอาการปวด โดยอาจไม่จำเป็นต้องให้ยากระตุ้นการขับถ่าย หรือทำให้ถ่ายอุจจาระเหลวมากขึ้น

    สาเหตุของอาการท้องผูกที่ไม่ได้มีโรครุนแรงซ่อน อยู่ได้แก่ ดื่มน้ำไม่เพียงพอ กินอาหารน้อย กินเส้นใยอาหาร (Fiber) น้อย ขาดการออกกำลังกาย ถึงเวลาปวดถ่ายไม่ยอมเข้าห้องน้ำ หรือแม้แต่การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดกรด ยาแก้แพ้ ยาขับปัสสาวะ ยารักษาความดันสูงบางชนิด ยาบำรุงเลือดธาตุเหล็ก ยาแก้ไอ ยาแก้ปวดบางชนิด ยาลดกรดที่มีอะลูมิเนียม และที่พบได้บ่อยมาก คือใช้ยาถ่ายบ่อยเกินไป

    ส่วนอาการท้องผูกเรื้อรังนั้น อาจมีสาเหตุจากโรคต่าง ๆ เช่น มะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ เนื้องอกจะอุดตันลำไส้ ทำให้ถ่ายไม่ออก เบาหวาน โรคฮอร์โมนธัยรอยด์ต่ำ โรคทางระบบประสาท เช่น พาร์กินสัน สมองเสื่อม อัมพาต สมองได้รับบาดเจ็บ โรคซึงเศร้า โรคในลำไส้อื่น ๆ เช่น กระเปาะของผนังลำไส้ ลำไส้โป่งพอง หลังการผ่าตัดในช่องท้องการตีบแคบ หรือลำไส้เคลื่อนไหวช้า เป็นต้น

    ทำอย่างไรไม่ให้ท้องผูก

    1.ดื่มน้ำให้ได้วันละประมาณ 1-2 ลิตร ถ้าไม่มีโรคหัวใจ โรคของเส้นเลือด โรคไตอยู่ บางคนอาจท้องผูกจากการดื่มนมหรือรับประทานแคลเซียมในปริมาณมาก

    2.เข้าห้องน้ำทันทีเมื่อ รู้สึกปวดถ่าย ไม่ควรรอหรือทนอั้นไว้เพราะยิ่งรอไว้นาน ยิ่งเพิ่มอาการท้องผูก และควรฝึกขับถ่ายเป็นเวลา

    3.ออกกำลังกายน้อย หรือใช้เวลานอนบนเตียงนาน ๆ เช่น คนป่วยนอนโรงพยาบาลนาน ๆ ทำให้ท้องผูก จึงควรขยับเขยื้อนร่างกาย ออกกำลังกายเสมอ ๆ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดถ้ามีอาการปวดข้อ อาจลองทำกายบริหารในสระว่ายน้ำ

    4.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีใย น้อย เช่น ไอศกรีม ชีส หรือเนยแข็ง เนื้อวัว ควรหลีกเลี่ยงชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะปัสสาวะบ่อย ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ

    5.ทานอาหารที่มีใยอาหาร 20-30 กรัมต่อวัน เพราะใยอาหารจะทำให้เนื้ออุจจาระอุ้มน้ำมากขึ้น แล้วค่อย ๆ เพิ่มปริมารของใยอาหารในทุก ๆ สัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายปรับตัวจะได้ไม่เกิดอาการท้องอืดแน่น

    6.หลีกเลี่ยงการใช้ยาระบาย หรือการสวนทวารนาน ๆ เพราะไม่ใช่วิธีการรักษาให้หายขาด การใช้ยาระบายนาน ๆ ทำให้ร่างกายลืมหน้าที่ตนเอง

    หากปฏิบัติข้อ 1-6 แล้วไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อการตรวจวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้อง

    Tip

    ใยอาหารพบในผัก เช่นคะน้า กวางตุ้ง ผักโขม ผลไม้ เช่น ส้ม มะละกอ และผลไม้ที่กินได้ทั้งเปลือก ควรกินผักผลไม้ให้ได้ 4-5 ส่วนต่อวัน (ประมาณ 5 ทัพพีหรือ 1 ฝ่ามือผู้ใหญ่) เมล็ดัญพืช ถั่ว ลูกพรุน ข้าวกล้อง โฮลวีต ฯลฯ โดยเฉพาะพรุนนั้นเป็นผลไม้ที่มีไฟเบอร์มากเป็นพิเศษ

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...