สุญญตา ในพระพุทธศาสนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย โลกันต์, 15 ตุลาคม 2005.

  1. โลกันต์

    โลกันต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    357
    ค่าพลัง:
    +620
    สุญญตา และ จิตว่าง

    เรื่อง
     
  2. ผู้เดินทาง

    ผู้เดินทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +407
    สุญญตสมาบัติ ตามพุทธพจน์ที่มีมาในพระไตรปิฎก มหาสุญญตสูตร



    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



    ๒. มหาสุญญตสูตร (๑๒๒)
    [๓๔๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธารามเขตพระนคร
    กบิลพัสดุ์ในสักกชนบท ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งสบง ทรงบาตร-
    *จีวรแล้ว เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครกบิลพัสดุ์ในเวลาเช้า ครั้นเสด็จกลับ
    จากบิณฑบาตภายหลังเวลาพระกระยาหารแล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังวิหารของเจ้ากาล-
    *เขมกะ ศากยะ เพื่อทรงพักผ่อนในเวลากลางวัน สมัยนั้นแล ในวิหารของเจ้า
    กาลเขมกะ ศากยะ มีเสนาสนะที่แต่งตั้งไว้มากด้วยกัน พระผู้มีพระภาคทอด
    พระเนตรเห็นเสนาสนะที่แต่งตั้งไว้มากด้วยกันแล้ว จึงมีพระดำริดังนี้ว่า ในวิหาร
    ของเจ้ากาลเขมกะ ศากยะ เขาแต่งตั้งเสนาสนะไว้มากด้วยกัน ที่นี่มีภิกษุอยู่มาก
    มายหรือหนอ ฯ
    [๓๔๔] สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์กับภิกษุมากรูป ทำจีวรกรรมอยู่
    ในวิหารของเจ้าฆฏายะ ศากยะ ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจาก
    ที่ทรงหลีกเร้นอยู่แล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังวิหารของเจ้าฆฏายะ ศากยะ แล้วประทับนั่ง
    ณ อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงรับสั่งกะท่านพระอานนท์
    ว่า ดูกรอานนท์ ในวิหารของเจ้ากาลเขมกะ ศากยะ เขาแต่งตั้งเสนาสนะไว้
    มากด้วยกัน ที่นั่นมีภิกษุอยู่มากมายหรือ ฯ
    ท่านพระอานนท์ทูลว่า มากมาย พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    จีวรกาลสมัยของพวกข้าพระองค์กำลังดำเนินอยู่ ฯ
    [๓๔๕] พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลี
    กัน ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิง
    ร่วมหมู่ ย่อมไม่งามเลย ดูกรอานนท์ ข้อที่ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการ
    คลุกคลีกัน ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่
    บันเทิงร่วมหมู่นั้นหนอ จักเป็นผู้ได้สุขเกิดแต่เนกขัมมะ สุขเกิดแต่ความสงัด สุข
    เกิดแต่ความเข้าไปสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ ตามความปรารถนาโดยไม่ยากไม่
    ลำบาก นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ส่วนข้อที่ภิกษุเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่อยู่
    พึงหวังเป็นผู้ได้สุขเกิดแต่เนกขัมมะ สุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความเข้าไป
    สงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก นั่นเป็น
    ฐานะที่มีได้ ฯ
    ดูกรอานนท์ ข้อที่ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกัน
    ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิงร่วม
    หมู่นั้นหนอ จักบรรลุเจโตวิมุติอันปรารถนาเพียงชั่วสมัย หรือเจโตวิมุติอันไม่
    กำเริบมิใช่เป็นไปชั่วสมัยอยู่ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ส่วนข้อที่ภิกษุเป็นผู้ผู้เดียว
    หลีกออกจากหมู่อยู่ พึงหวังบรรลุเจโตวิมุติอันน่าปรารถนาเพียงชั่วสมัย หรือเจโต-
    *วิมุติอันไม่กำเริบมิใช่เป็นไปชั่วสมัยอยู่ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ
    ดูกรอานนท์ เราย่อมไม่พิจารณาเห็นแม้รูปอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่ไม่เกิด
    โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เพราะความแปรปรวนและความเป็น
    อย่างอื่นของรูป ตามที่เขากำหนัดกันอย่างยิ่งซึ่งบุคคลกำหนัดแล้ว ฯ
    [๓๔๖] ดูกรอานนท์ ก็วิหารธรรมอันตถาคตตรัสรู้ในที่นั้นๆ นี้แล คือ
    ตถาคตบรรลุสุญญตสมาบัติภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่ ดูกรอานนท์
    ถ้าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา
    เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์เข้าไปหาตถาคตผู้มีโชค อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ในที่นั้นๆ
    ตถาคตย่อมมีจิตน้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก หลีกออกแล้ว
    ยินดียิ่งแล้วในเนกขัมมะ มีภายในปราศจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการ
    ทั้งปวง จะเป็นผู้ทำการเจรจาแต่ที่ชักชวนให้ออกเท่านั้น ในบริษัทนั้นๆ โดยแท้
    ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุถ้าแม้หวังว่า จะบรรลุสุญญตสมาบัติภายในอยู่
    เธอพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    ตั้งจิตภายในให้มั่นเถิด ฯ
    [๓๔๗] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุจะดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำ
    จิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่นได้อย่างไร ดูกรอานนท์ ภิกษุ
    ในธรรมวินัยนี้
    (๑) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานมีวิตก มีวิจาร
    มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯ
    (๒) เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอก
    ผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่
    สมาธิอยู่ ฯ
    (๓) เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุข
    ด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่
    เป็นสุข อยู่ ฯ
    (๔) เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และ
    ดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ
    ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมดำรงจิตภายใน ให้จิตภายใน
    สงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่น ฯ
    ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายใน เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน
    จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่างภายใน
    เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตยัง
    ไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่างภายใน
    ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่างภายในนั้นได้ ฯ
    ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายนอก ...
    ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างทั้งภายในและภายนอก ...
    ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอกำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ
    จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ
    เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิต
    ยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ
    ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอาเนญชสมาบัตินั้นได้ ฯ
    ดูกรอานนท์ ภิกษุนั้นพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายใน
    ให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในให้มั่น ในสมาธินิมิตข้างต้นนั้นแล เธอย่อม
    ใส่ใจความว่างภายใน เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อมแล่นไป เลื่อม
    ใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในความว่างภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่าง
    นี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อม
    ไปในความว่างภายใน ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่าง
    ภายในนั้นได้ ฯ
    ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายนอก ...
    ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างทั้งภายในและภายนอก ...
    ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอกำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ
    จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ เมื่อเป็น
    เช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตย่อม
    แล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ ด้วยอาการนี้แล ย่อม
    เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอาเนญชสมาบัตินั้นได้ ฯ
    [๓๔๘] ดูกรอานนท์ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อม
    น้อมไปเพื่อจะจงกรม เธอย่อมจงกรมด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌา
    และโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้จงกรมอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็น
    อันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการจงกรม ฯ
    หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะยืน เธอ
    ย่อมยืนด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำเรา
    ผู้ยืนอยู่แล้วอย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการยืน ฯ
    หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนั่ง เธอ
    ย่อมนั่งด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำ
    เราผู้นั่งอยู่แล้วอย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนั่ง ฯ
    หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนอน เธอ
    ย่อมนอนด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำ
    เราผู้นอนอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนอน ฯ
    หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะพูด เธอย่อม
    ใส่ใจว่า เราจักไม่พูดเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องเลวทราม เป็นเรื่องของ
    ชาวบ้าน เป็นเรื่องของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
    ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส
    เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องพระราชาบ้าง เรื่องโจรบ้าง
    เรื่องมหาอำมาตย์บ้าง เรื่องกองทัพบ้าง เรื่องภัยบ้าง เรื่องรบกันบ้าง เรื่องข้าวบ้าง
    เรื่องน้ำบ้าง เรื่องผ้าบ้าง เรื่องที่นอนบ้าง เรื่องดอกไม้บ้าง เรื่องของหอมบ้าง
    เรื่องญาติบ้าง เรื่องยานบ้าง เรื่องบ้านบ้าง เรื่องนิคมบ้าง เรื่องนครบ้าง เรื่อง
    ชนบทบ้าง เรื่องสตรีบ้าง เรื่องคนกล้าหาญบ้าง เรื่องถนนหนทางบ้าง เรื่องทาสี
    ในสถานที่ตักน้ำบ้าง เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้วบ้าง เรื่องเบ็ดเตล็ดบ้าง เรื่องโลกบ้าง
    เรื่องทะเลบ้าง เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยเหตุนั้นเหตุนี้บ้าง ด้วยอาการนี้แล
    เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด และเธอใส่ใจว่า เราจักพูดเรื่องราวเห็นปานฉะนี้
    ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อ
    ความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อ
    เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของ
    ของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภความเพียร เรื่องศีล เรื่อง
    สมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ ด้วยอาการนี้แล เป็น
    อันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด ฯ
    หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะตรึก เธอย่อม
    ใส่ใจว่า เราจักไม่ตรึกในวิตกเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นวิตกที่เลวทราม เป็นของ
    ชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไป
    เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง
    เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ด้วยอาการ
    นี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการตรึก และเธอใส่ใจว่า เราจักตรึกในวิตก
    เห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นวิตกของพระอริยะ เป็นเครื่องนำออก ที่นำออกเพื่อความ
    สิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ทำตาม คือ เนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก อวิหิงสา
    วิตก ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในการตรึก ฯ
    [๓๔๙] ดูกรอานนท์ กามคุณนี้มี ๕ อย่างแล ๕ อย่างเป็นไฉน คือ
    รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม
    เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่รู้ด้วยโสต ... กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ... รสที่รู้
    ได้ด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
    เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูกรอานนท์ นี้แล กาม
    คุณ ๕ อย่าง ซึ่งเป็นที่ที่ภิกษุพึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า มีอยู่หรือหนอแล
    ที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะ
    อายตนะใดอายตนะหนึ่ง ดูกรอานนท์ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้ชัดอย่างนี้ว่า มีอยู่แล
    ที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะ
    อายตนะใดอายตนะหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความกำหนัด
    พอใจในกามคุณ ๕ นี้แล เรายังละไม่ได้แล้ว แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า
    ไม่มีเลยที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
    หรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
    ความกำหนัดพอใจในกามคุณ ๕ นี้แล เราละได้แล้ว ด้วยอาการนี้แล เป็นอัน
    เธอรู้สึกตัวในเรื่องกามคุณ ๕ ฯ
    [๓๕๐] ดูกรอานนท์ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นี้แล ซึ่งเป็นที่ที่ภิกษุพึงเป็น
    ผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอยู่ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป
    อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้
    ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความ
    ดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับ
    แห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับ
    แห่งวิญญาณ เธอผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้อยู่
    ย่อมละอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
    เราละอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ ของเราได้แล้ว ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอ
    รู้สึกตัวในเรื่องอุปาทานขันธ์ ๕ ฯ
    ดูกรอานนท์ ธรรมนั้นๆ เหล่านี้แล เนื่องมาแต่กุศลส่วนเดียว ไกลจาก
    ข้าศึก เป็นโลกุตระ อันมารผู้มีบาปหยั่งลงไม่ได้ ดูกรอานนท์ เธอจะสำคัญความ
    ข้อนั้นเป็นไฉน สาวกมองเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงควรใกล้ชิดติดตาม
    ศาสดา ฯ
    ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้า
    พระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นเหตุ มีพระผู้มีพระภาคเป็นแบบอย่าง มีพระผู้มี-
    *พระภาคเป็นที่พึงอาศัย ขอได้โปรดเถิดพระพุทธเจ้าข้า เนื้อความแห่งพระภาษิตนี้
    แจ่มแจ้งเฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้น ภิกษุทั้งหลายฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว
    จักทรงจำไว้ ฯ
    [๓๕๑] พ. ดูกรอานนท์ สาวกไม่ควรจะติดตามศาสดาเพียงเพื่อฟัง
    สุตตะ เคยยะ และไวยากรณ์เลย นั่นเพราะเหตุไร เพราะธรรมทั้งหลายอันพวก
    เธอสดับแล้ว ทรงจำแล้ว คล่องปากแล้ว เพ่งตามด้วยใจแล้ว แทงตลอดดีแล้ว
    ด้วยความเห็น เป็นเวลานาน ดูกรอานนท์ แต่สาวกควรจะใกล้ชิดติดตามศาสดา
    เพื่อฟังเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่
    การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อความกำหนัด เพื่อ
    ดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ
    เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภ
    ความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณ-
    *ทัสสนะ ฯ
    ดูกรอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น จะมีอุปัททวะของอาจารย์อุปัททวะของศิษย์
    อุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ฯ
    [๓๕๒] ดูกรอานนท์ ก็อุปัททวะของอาจารย์ย่อมมีได้อย่างไร ดูกร
    อานนท์ ศาสดาบางท่านในโลกนี้ ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้
    ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้งและลอมฟาง เมื่อศาสดานั้น
    หลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท
    จะพากันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากัน
    เข้าไปหาแล้ว ศาสดานั้นจะปรารถนาอย่างหมกมุ่น จะถึงความวุ่นวาย จะเวียนมา
    เพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูกรอานนท์ ศาสดานี้เรียกว่า อาจารย์มีอุปัททวะด้วย
    อุปัททวะของอาจารย์ อกุศลธรรมอันลามกเศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่
    มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะต่อไป
    ได้ฆ่าศาสดานั้นเสียแล้ว ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล อุปัททวะของอาจารย์ย่อมมีได้ ฯ
    [๓๕๓] ดูกรอานนท์ ก็อุปัททวะของศิษย์ย่อมมีได้อย่างไร ดูกรอานนท์
    สาวกของศาสดานั้นแล เมื่อเพิ่มพูนวิเวกตามศาสดานั้น ย่อมพอใจเสนาสนะ
    อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง
    และลอมฟาง เมื่อสาวกนั้นหลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี
    ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี
    ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว สาวกนั้นจะปรารถนาอย่างหมกมุ่น
    จะถึงความวุ่นวาย จะเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูกรอานนท์ สาวกนี้เรียกว่า
    ศิษย์มีอุปัททวะด้วยอุปัททวะของศิษย์ อกุศลธรรมอันลามก เศร้าหมอง เป็นเหตุ
    เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา
    มรณะต่อไป ได้ฆ่าสาวกนั้นเสียแล้ว ดูกรอานนท์ อย่างนี้แลอุปัททวะของศิษย์
    ย่อมมีได้ ฯ
    [๓๕๔] ดูกรอานนท์ ก็อุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้
    อย่างไร ดูกรอานนท์ ตถาคตอุบัติในโลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ
    ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก
    อย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว
    เป็นผู้แจกธรรม ตถาคตนั้นย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา
    ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อตถาคตนั้นหลีก
    ออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพา
    กันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากัน
    เข้าไปหาแล้ว ตถาคตนั้นย่อมไม่ปรารถนาอย่างหมกมุ่น ไม่ถึงความวุ่นวาย ไม่
    เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูกรอานนท์ ส่วนสาวกของตถาคตผู้ศาสดานั่นแล
    เมื่อเพิ่มพูนวิเวกตามตถาคตผู้ศาสดา ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้
    ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อสาวกนั้น
    หลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท
    จะพากันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พา
    กันเข้าไปหาแล้ว สาวกนั้นย่อมปรารถนาอย่างหมกมุ่น ถึงความวุ่นวาย เวียนมา
    เพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูกรอานนท์ สาวกนี้เรียกว่าผู้ประพฤติพรหมจรรย์มีอุปัททวะ
    ด้วยอุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ อกุศลธรรมอันลามก เศร้าหมอง เป็นเหตุ
    เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา
    มรณะต่อไป ได้ฆ่าสาวกนั้นเสียแล้ว ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล อุปัททวะของผู้
    ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ ฯ
    ดูกรอานนท์ ในอุปัททวะทั้ง ๓ นั้น อุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์นี้
    มีวิบากเป็นทุกข์ มีวิบากเผ็ดร้อนกว่าอุปัททวะของอาจารย์และอุปัททวะของศิษย์
    ทั้งเป็นไปเพื่อความตกต่ำด้วย ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงเรียกร้อง
    เราด้วยความเป็นมิตร อย่าเรียกร้องเราด้วยความเป็นข้าศึก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อ
    ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน ฯ
    [๓๕๕] ดูกรอานนท์ ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็น
    ข้าศึก ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นมิตรอย่างไร ดูกรอานนท์ ศาสดาในธรรม
    วินัยนี้ เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรม
    แก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ
    เหล่าสาวกของศาสดานั้นไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้และประพฤติ
    หลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูกรอานนท์ อย่างนี้แลเหล่าสาวกชื่อว่าเรียกร้อง
    ศาสดาด้วยความเป็นข้าศึก ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นมิตร ฯ
    [๓๕๖] ดูกรอานนท์ ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นมิตร
    ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึกอย่างไร ดูกรอานนท์ ศาสดาในธรรมวินัยนี้
    เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวก
    ทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่า
    สาวกของศาสดานั้น ย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้และไม่ประพฤติ
    หลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เหล่าสาวกชื่อว่าเรียกร้อง
    ศาสดาด้วยความเป็นมิตร ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึก ฯ
    ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงเรียกร้องเราด้วยความเป็นมิตร
    อย่าเรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความ
    สุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน ดูกรอานนท์ เราจักไม่ประคับประคองพวกเธอ
    เหมือนช่างหม้อประคับประคองภาชนะดินดิบที่ยังดิบๆ อยู่ เราจักข่มแล้วๆ
    จึงบอก จักยกย่องแล้วๆ จึงบอก ผู้ใดมีแก่นสาร ผู้นั้นจักตั้งอยู่ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ มหาสุญญตสูตร ที่ ๒
     
  3. ผู้เดินทาง

    ผู้เดินทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +407
    กล่าวโดยย่อ

    สุญญตสมาบัติคือสมถะควบวิปัสสนาในกึ่งกลางรอยต่อระหว่างรูปฌาณ 4 และอรูปฌาณ 1 โดยกำหนดรู้ในความว่างภายใน (อากาศธาตุ รูปฌาณ 4) สลับกับกาีรกำหนดรู้ในความว่างภายนอก (อรูปฌาณ 1) แล้วปล่อยวาง ไม่กำหนดนิมิตเครื่องหมายใดๆนอกจากความว่าง ไม่มีความยินดีในรูปฌาณ ไม่มีความยินดีในอรูปฌาณ ไม่มีความยินดี-ยินร้ายใดๆ (อาเนญชสมาบัติ ) สักแต่ว่ารู้ในสภาวะทีปล่อยวางทั้งรูปและนาม

    พระพุทธองค์เสด็จสู่ปรินิพพานในสุญญตสมาบัตินี้
     
  4. โลกันต์

    โลกันต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    357
    ค่าพลัง:
    +620
    ********************************************

    ครับ นั่นคือ อาการ แห่ง นิโรธสมาบัติสำหรับผู้ชำนาญการลำดับฌาณสมาบัติ
    เป็นความสามารถของพระพุทธองค์ และพระสาวกผู้สำเร็จธรรมระดับอรหันต์ชั้นสูง ( อภิญญา 6 ,ปฏิสัมภิทาญาณ )

    อยู่ระหว่าง รูป และ อรูป

    ***********************************
    บางบุคคล เมื่อจิตไม่ติดรูป และอรูป

    จะเกิดแรงดันมหาศาล

    หรือ การระเบิดอย่างมหาศาล ภายใน

    จิตพลิกเข้าสู่ "สภาวะนั้น " เห็นอริยมรรค ด้วยวิมุติญาณทัศนะ

    **********************************

    ...ในกระทู้ ที่จะกล่าวต่อไปนี้

    เป็น ลักษณะ หรือ สภาวะ ของสุญญตา

    ที่ไม่ได้ อ้างจากการ ลำดับฌาณ...

    แต่กล่าวถึง ภาวะที่ กิเลสสูญไป....


    (bb-flower [b-wai] [b-wai]



     
  5. โลกันต์

    โลกันต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    357
    ค่าพลัง:
    +620
    <TABLE width="80%" bgColor=#ffff00 border=0><TBODY><TR><TD>
    สุญญตา และ จิตว่าง ในพุทธศาสนา (2)​


    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    ปัญหาก็มีอยู่ว่า ปัจจุบันนี้ในวงการชาวพุทธในประเทศไทยเราได้มีการโต้แย้งปัญหาเรื่อง
     
  6. โลกันต์

    โลกันต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    357
    ค่าพลัง:
    +620
    <TABLE width="80%" bgColor=#ffff00 border=0><TBODY><TR><TD>
    สุญญตา และ จิตว่าง ในพุทธศาสนา (3)​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ส่วนพุทธพจน์ที่ว่า

    นิพพานังปรมังสุญญัง นิพพานสูญอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นถ้าอธิบายแล้ว สุญญตาคล้ายๆ กับจะเป็นคุณลักษณะของนิพพาน นิพพานว่างจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่างจากกิเลส เพราะฉะนั้นจึงเป็นคำอธิบายคุณสมบัติของนิพพานอีกที ว่าความนัยของนิกายเถรวาท นิพพานไม่ใช่สุญญตา สุญญตาเป็นคุณสมบัติของนิพพาน เพราะผู้ที่ถึงนิพพานแล้วย่อมว่างจากโลภ โกรธ หลง ว่างจากเกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่ว่าความสูญอย่างนี้ ไม่ใช่หมายถึงตัวนิพพานไม่มี เพราะฉะนั้นก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่าคำว่า สุญญตา ไม่ได้แปลว่า ไม่มี อันนี้สำคัญที่สุด อย่าเพียงได้ยินชื่อคำว่า สูญ ก็เข้าใจว่า ไม่มี หรือ อันตรธาน ไม่มี หรือ อันตรธานใช้คำว่า “นัตถิตา” จะไม่ใช้คำว่า “สุญญตา”

    มติที่บอกว่า จิตเดิมว่างอยู่นั้น กิเลสมาภายหลัง หรือว่าจิตเดิมนั้นบริสุทธิ์ มติอย่างนี้ไม่ใช่นิกายเถรวาท แต่เป็นมติของนิกายเซน อย่างนี้คือ จิตเดิมแท้ บริสุทธิ์ จิตเดิมแท้ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย จิตเดิมแท้นั้นเป็นนิพพาน จิตเดิมแท้นั้นว่างเปล่าจากกิเลส กิเลสต่างๆ เพิ่งมากอบโกย มาเป็นอาคันตุกะแขกหน้าใหม่แปลกปลอมจรเข้ามา นิกายเซนสอนอย่างนี้ หลักเดิมของนิกายเซน เขาสอนอย่างนี้ทั้งนั้น เป็นวาทะนิกายเซนฝ่ายมหายาน

    แต่ว่าถ้ากล่าววาทะนิกายเถรวาทแล้วคำว่า “จิตเดิม” ไม่มี ไม่เจอในบาลีเลย คำว่า เดิม เวลาคนแปลภาษาไทยเติมเอาเอง “ประภัสสระมิทัง ภิกขเว จิตตัง” ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ประภัสสร ไม่มีในบาลี หาคำว่า “เดิม” ไม่มี ที่นี้นักเลงบาลีที่แปลเป็นไทยไปคว้าคำว่า “เดิม” มาจากไหนก็ไม่รู้ มาใส่เข้าไปจึงได้หลงผิดเข้ารกเข้าพงเป็นการใหญ่ “จิตเดิม” แล้วยังมีคำ “แท้” มาอีก ในบาลีไม่มีคำว่า “แท้” มาจากไหนเลย “เดิมแท้” ๒ คำนี้ไม่มีในบาลี ถ้าจะมีก็มีเฉพาะนิกายเซน นิกายเซนเขาว่าอย่างนั้นจริงๆ จิตเดิมแท้จริงๆ เขาเรียกว่า “ปึงแซ” ปึง แปลว่าเดิม แซ แปลว่าสภาวะดั้งเดิม ตรัสรู้ในภาวะดั้งเดิมของตัวมันเอง นี่คำว่า “เดิมแท้” นิกายเซน ภาคจีนมีคำว่า “เดิมแท้” ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ว่านิกายเถรวาทภาคบาลีคำว่า “เดิมแท้” นั้นไม่มี และคำว่า ประภัสสรแปลว่า ผุดผ่องหรือรัศมี คำนี้แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส จิตนี้ผุดผ่อง ประภัสสรแปลอย่างนี้ แปลว่าผุดผ่อง มีแสงในตัว ผ่องใส

    คำว่าผุดผ่องกับผ่องใส ไม่ได้หมายความว่าไม่มีกิเลส ทีนี้วิเคราะห์พุทธภาษิตต่อไปว่า จิตเศร้าหมองไปเพราะอาคันตุกะกิเลสจรมา อาคันตุกะกิเลสคืออะไร อุปกิเลส ๑๖ ในอุปกิเลส ๑๖ นี้ไม่มีคำว่า อวิชชา ไปดูได้ ดูในวัตถุปมสูตรบาลีมัชฌิมนิกายท่านแสดงลักษณะอุปกิเลส ๑๖ แบ่งไว้เป็นคู่ๆ ทีเดียวในนั้น ไม่มีอวิชชา เรื่องนี้แสดงว่าจิตประภัสสรมีอวิชชาอยู่ ที่ว่าผ่องใส ก็เพียงแต่ว่าไม่มีอุปกิเลส ๑๖ แต่หาได้หมายความว่าจะไม่มีอวิชชาไปด้วยหามิได้ เพราะในอุปกิเลส ๑๖ นั้นไม่มีคำว่าอวิชชาในนั้นเลย นั้นก็คือแปลว่าในจิตประภัสสรนั้นยังมีอวิชชาอยู่ แต่ที่เรียกประภัสสรหรือผุดผ่องเพราะไม่มีอุปกิเลส ๑๖ อุปกิเลส ๑๖ ถ้าโดยย่อแล้วก็ได้แก่นิวรณ์ ๕ นี่แหละอยู่ในหมู่นิวรณ์ ๕ ทั้ง ๑๖ ข้อลงไปแล้วรวมในนิวรณ์ ๕ มีกามฉันท์ เป็นต้น เพราะฉะนั้นเราต้องแยกเอาวาทะนิกายไหนมาพูด ถ้าหากว่าวาทะนิกายเซน ไม่เถียง เป็นจริงตามนั้น ว่าจิตเดิมแท้บริสุทธิ์ จิตคือนิพพาน จิตเดิมแท้ไม่มีกิเลส กิเลสเป็นของแปลกปลอมเข้ามาภายหลัง จิตเดิมแท้เป็นของ “ว่าง” นี่ว่าตามนิกายถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ตามนิกายเซน แต่ถ้าว่าตามนิกายเถรวาทแล้วผิด นิกายเถรวาทไม่ใช่เป็นอย่างนี้


    <!-- text below generated by server. PLEASE REMOVE --></OBJECT></LAYER>
    </SPAN></STYLE></NOSCRIPT></TABLE></SCRIPT></APPLET><SCRIPT language=JavaScript src="http://us.i1.yimg.com/us.yimg.com/i/mc/mc.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://us.i1.yimg.com/us.yimg.com/i/mc/mc1.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://us.i1.yimg.com/us.yimg.com/i/mc/mc2.js"></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript src="http://geocities.com/js_source/geov2.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript>geovisit();</SCRIPT>[​IMG] <NOSCRIPT>[​IMG]</NOSCRIPT>[​IMG]
     
  7. โลกันต์

    โลกันต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    357
    ค่าพลัง:
    +620
    <TABLE width="80%" bgColor=#ffff00 border=0><TBODY><TR><TD>
    สุญญตา และ จิตว่าง ในพุทธศาสนา (4)​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ถ้าจิตเดิมบริสุทธิ์แล้วพระอรหันต์ก็กลับเป็นปุถุชนได้ซิ ถ้าจิตเดิมบริสุทธิ์แล้วว่าตามเถรวาท พระอรหันต์ก็กลายเป็นปุถุชนได้ เมื่อบริสุทธิ์แล้วจะมาเวียนว่ายตายเกิดอีกทำไมเล่า เพราะฉะนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า จิตเดิมบริสุทธิ์ไม่มีในพุทธศาสนา นิกายเถรวาทไม่เคยสอนว่า “จิตเดิม” คำว่า “จิตเดิม” ไม่มีแม้คำว่า “เดิม” หาไม่เจอแล้วตามนิกายเถรวาท มีแต่คำว่า “จิตประภัสสร” จิตนี้เป็นธรรมชาติผ่องใส พูดไว้เท่านี้ ก็ไม่มีคำว่า “เดิม” กับ “แท้”

    เรามาคิดกันง่ายๆ ถ้าเดิมแท้บริสุทธิ์แล้วทำไมให้กิเลสจับง่ายๆ เล่า ก็เพราะยังมีอวิชชา เมื่อรับว่ายังมีอวิชชาก็แปลว่ายังไม่บริสุทธิ์นะซิ ถึงรับว่ายังมีอวิชชาอยู่ นั่นก็คือคำว่า “เดิมแท้” ไม่มีแล้ว เพราะยังรับว่ามีอวิชชาอยู่ แต่ปล่อยให้กิเลสเข้ามาจับง่ายๆ อาคันตุกะกิเลส กิเลสอย่างกลาง อย่างหยาบเป็นแขกแปลกหน้า พระพุทธองค์ใช้คำว่า “อาคันตุกะ กิเลโส” แขกที่จรมา ถ้าเจ้าบ้านเป็นคนรู้ถึงการณ์ พวกนี้เป็นโจรแล้วเจ้าบ้านจะยอมรับหรือ นี่เพราะไม่รู้เท่าทันจึงยอมรับเขาเข้ามาใช่ไหม ให้เขาครอบงำใช่ไหม นั่นแสดงว่าเจ้าบ้านยังโง่ คือมีอวิชชานั่นเอง

    ในหลักการพิจารณาปฏิจจสุปบาท แบ่งเป็น อัทธา ๓ อวิชชา สังขาร เป็นอติตอัธา และตั้งแต่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา เป็นปัจจุบันอัทธาซึ่งจะยังผลให้เกิดภพ ชาติ อันเป็นอนคตอัทธา คุณต้องแบ่งเป็น อดีต ปัจจุบัน อนาคต ที่ว่า ผัสสะ มากระทบเกิด เวทนา เวทนาเกิด ตัณหา นี่แสดงปัจจุบันอัทธา นี่หมายถึงรับกิเลสปัจจุบัน ซึ่งก็ให้เกิดกิเลสอนุสัยในส่วนสันดานของจิตต่อไปในอนาคต แต่อย่าไปพูดถึงอดีต เขามีมาแล้วอวิชชา สังขาร ถ้าไม่มีอวิชชา สังขารในอดีตแล้ว วิญญาณในชาตินี้ก็มีไม่ได้ ปฏิสมธิวิญญาณก็มีไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องแยกประเด็นว่าอะไรเป็น อดีตอัทธา อะไรเป็นปัจจุบันอัทธา อะไรเป็นอนาคตอัทธา ถ้าไม่อย่างนั้นท่านจะแยกเป็น ๓ ห้วง ๓ เปลาะทำไมเล่า เรื่องของภวจักรนี้เป็น ๓ กาล อดีตกาล ปัจจุบันกาล อนาคตกาล จะว่าปัจจุบันกาลอย่างเดียวโดยลืมอดีตกาลไม่ได้ อวิชชามีอยู่ในอดีตจึงตามมาในใจถึงปัจจุบัน มันอยู่ในอารมณ์ในใจของเรานี้ และเราพูดง่ายๆ ว่าอวิชชาเป็นพื้นเพของอารมณ์ในใจ คือในขณะที่ใจผ่องใส อย่างคำว่า ประภัสสรก็ยังมีอวิชชาอยู่ ถ้าไม่มีอยู่จะไม่ปล่อยให้กิเลสจรเข้ามาถึงได้ ที่ยอมให้กิเลสเข้ามาได้ แสดงว่าอวิชชาเป็นพื้นเพอยู่ ถึงโง่พอที่จะเปิดประตูรับกิเลสเข้ามา

    อนุสัยกิเลสเหมือนกับไฟที่ถูกขี้เถ้ากลบดูประหนึ่งว่าดับแล้ว แต่เขี่ยขี้เถ้าถ่านเก่าออกก็คุ นี่ฉันใดกิเลสที่แฝงอยู่ในใจของเราก็เหมือนกัน เราอาจกำลังหัวเราะด้วยความชื่นบาน เราอาจจะทำฌานสมาบัติด้วยความสงบ แต่นั่นแหละก็ยังถูกกิเลสเผาอยู่ แต่อาการเผาอย่างประณีตเผาโดยที่เราไม่รู้สึก อย่างเวลาเราโกรธ ไม่ได้โกรธ ๒๔ ชั่วโมง มีบางเวลาผ่องใส บางเวลาร้องไห้ สลับกัน หลักอย่างนี้เป็นอนุมานได้ว่าในขณะที่เราใจคอผ่องใสโดยว่างจากกิเลสบางเหล่าได้ เรายังมีสุขถึงเพียงนี้เลย จะป่วยกล่าวไปใย ถ้าเราสามารถขุดคุ้ยกิเลสอาสวะที่มีอยู่ในใจของเราออกหมด เราจะสุขถึงเพียงไหน เพราะอาศัยหลักอนุมานอย่างนี้จึงทำให้เรารู้จักเปรียบเทียบว่า ความสุขของนิพพานเป็นอย่างไร ความสุขอย่างโลกเป็นอย่างไร เราจึงได้ปรารถนานิพพานกัน

    ตัวอวิชชาอยู่ที่ไหน ตัวอวิชชาอยู่ในใจทุกๆ ขณะ ในขณะที่เรายังมีวิญญาณอยู่ อวิชชาคืออะไร อวิชชาคือความไม่รู้ในอริยสัจ จิตเราที่ไม่รู้อริยสัจเป็นอวิชชา เพราะฉะนั้น อวิชชาอยู่ที่ไหน อยู่ในใจ รู้อยู่ที่ใจ ไม่รู้ก็อยู่ที่ใจเรา อวิชชาไม่ได้แปลว่าไม่รู้ธรรมดา ไม่รู้อริยสัจต่างหาก คือจิตรู้ว่าไม่รู้อริยสัจ จิตรู้ว่าตัวไม่รู้ รู้ว่าไม่รู้อวิชชา จิตนี้เป็นธาตุรู้ แต่ว่าอวิชชาเป็นธาตุไม่รู้ ไม่รู้อะไร ไม่รู้อวิชชา เมื่ออวิชชาอยู่กับจิต ก็แปลว่าจิตรู้ตัวเอง แต่ว่ารู้ว่าไม่รู้ในอวิชชา คล้ายๆ เราไม่ได้เรียนหนังสือ คล้ายๆ นาย ก. โง่ ไม่ได้อ่านหนังสือ แต่รู้ว่าตัวโง่ อ่านหนังสือไม่ออก รู้ตัวว่าไม่รู้
    อาคันตุกกิเลสได้บอกแล้ว สรุปแล้วคือนิวรณ์ ๕ มาจากภายนอก แล้วเกิดจากอายตนะสัมผัส เป็นเวทนา เป็นตัณหา เป็นลำดับทีเดียว เพราะฉะนั้นใน สติปัฏฐาน ๔ ท่านจึงสอนให้กำจัดศัตรูของเราอยู่ตรงที่ อายตนะ กระทบ อายตนะ ให้กำหนดอยู่ตรงนี้ พอถึงผัสสะแล้วย่อมเป็นเวทนา สุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ให้เรามีสติ เรารับสุขก็รู้ว่าสุข เรารับทุกข์ก็รู้ว่าทุกข์ เมื่อกำจัดอย่างนี้ได้แล้ว อาคันตุกกิเลสก็หมดโอกาสแย้มพรายเรา ต้องกันอย่างนี้

    เพราะฉะนั้นเวลาที่เรารู้อย่างนี้คือกิเลสประเภทกลาง ประเภทหยาบหามาจากข้างนอก แต่ที่หามาจากข้างนอกได้ก็เพราะเชื้อข้างในมี ถ้าเชื้อข้างในไม่มีแล้ว ตัวกิเลสข้างนอกมากระทบก็ไม่เป็นพิษแก่คนคนนั้น เมื่อสรุปหลักใหญ่ใจความก็ต้องพูดว่า ข้างในเป็นเหตุที่มาของเดิม ที่มาคู่กับใจนี้แหละเป็นตัวการใหญ่ทั้งหมด ถ้าเราไม่มีแล้ว อารมณ์ข้างนอกมากระทบ ปิดประตูไม่รับเสีย อารมณ์ข้างนอกทำอะไรไม่ได้ นี่เพราะโง่เห็นโจรเป็นมิตร รับเข้ามาในเรือนถึงเดือดร้อน เพราะฉะนั้นก็ต้องโทษตัวข้างในที่เป็นสมุฏฐานใหญ่

    อารมณ์ของโลกตั้งอยู่ตามประสาโลก จะเป็นพิษหรือไม่เป็นพิษอยู่ที่ฉันทราคะของบุคคลผู้เสพย์ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงบอกว่า อารมณ์ทั้งหลายอันวิจิตรในโลกต้องรู้เท่าทัน นี่ตัวสังกัปปะ ความดำริของบุคคลเป็นใหญ่ที่ทำให้อารมณ์เหล่านั้นเป็นกิเลสขึ้นมา ที่ฟุ้งขึ้นมาก็เพราะ รูป รส กลิ่น เสียง มากระทบข้างนอก ถ้าหากว่า รูป รส กลิ่น เสียง ไม่มากระทบมันก็สงบอย่างนั้น อยู่เนื่องในขันธสันดาน แต่ว่า รูป รส กลิ่น เสียง มากระทบ อนุสัยก็เกิดขึ้นมารับอารมณ์ที่เป็น รูป รส กลิ่น เสียง กลายเป็นนิวรณ์ ๕ กลายเป็นหยาบขึ้นมา เป็นอาคันตุกกิเลส เพราะเหตุนั้นอาคันตุกกิเลสนั้นถ้าจะว่าไปแล้วก็คือกิเลสภายในต่างๆ เกิดขึ้นโดยอาศัยเครื่องอุปกรณ์จากรูป รส กลิ่น เสียง อันเป็นภายนอกมาเป็นสิ่งกระตุ้น เมื่อไม่มีสิ่งกระตุ้นแล้วอาคันตุกกิเลสก็ไม่มี


    ทีนี้บางท่านถือเอาว่าความเป็นประภัสสรของจิตคือสภาพของนิพพาน ผิดหลักเถรวาท แต่ว่าถูกหลักนิกายเซน เถรวาทว่าจิตไม่ใช่นิพพาน ใครถือว่าจิตเป็นนิพพานคนนั้นเป็นสัสตฏฐิ พวกที่เรียนอภิธรรมในฝ่ายเถรวาทก็ดี อภิธรรมในนิกายสรวาสติวาทหรือรวมทั้งนิกายในมหายานที่ชื่อว่านิกายมาธยมิกะก็ดี บอกว่าพวกที่ว่าอย่างนี้ว่า “จิตเดิมแท้” เป็นปรัชญาพราหมณ์ เป็นสัสตทิฏฐิ

    อนุสัยกิเลสเป็นไฟเย็น คำว่าร้อนมีหลายระดับ ความรู้สึกว่าร้อนของคน เช่น ถ้ากระวนกระวายหรือขุ่นหมอง แต่ว่าร้อนอนุสัยไม่รู้สึกเผา จนหลงว่าโลกีย์เป็นของเที่ยง จึงยังรักชาติ รักชรา ตายแล้วอยากเกิดอีก ความรู้สึกว่าตายแล้วอยากเกิดอีกคืออาการกลัวตาย แต่ยังเกิดเป็นอนุสัย อาการนี้ร้อนหรือไม่ พระอริยบุคคลถือว่าร้อน เพราะฉะนั้นมีพุทธภาษิตบอกว่า สิ่งใดที่พระอริยเจ้าเห็นว่าเป็นความสุข ปุถุชนเห็นว่าเป็นทุกข์ แต่ปุถุชนเห็นว่าเป็นความสุข พระอริยะเห็นเป็นความทุกข์ ในแง่นี้และสิ่งที่พระอริยะเห็นว่าร้อน เราบอกว่าเย็น นี่เป็นเสียอย่างนี้ เพราะเราไม่มีอริยปัญญาอย่างท่าน เราจึงหลงว่าไฟเย็นที่เผาเรานี้เย็นสบาย.......
     

แชร์หน้านี้

Loading...