ส่งการบ้าน...วิโมกขกถา (05)ทุติยภาณวาร

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย AddWassana, 24 พฤษภาคม 2010.

  1. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    31-064 ๕.วิโมกขกถา (05) ทุติยภาณวาร

    [๔๘๗]ก็วิโมกข์อันเป็นประธาน ๓ นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความนำ
    ออกไปจากโลก
    ด้วยความที่จิตแล่นไปในอนิมิตตธาตุ โดยความพิจารณาเห็น
    สรรพสังขาร โดยความหมุนเวียนไปตามกำหนด <O:p
    ด้วยความที่จิตแล่นไปในอัปปณิหิตธาตุ โดยความองอาจแห่งใจ<O:p
    ในสรรพสังขาร และด้วยความที่จิตแล่นไปในสุญญตาธาตุ <O:p
    โดยความพิจารณาเห็นธรรมทั้งปวง โดยแปรเป็นอย่างอื่น <O:p
    วิโมกข์อันเป็นประธาน๓ นี้
    ย่อมเป็นไปเพื่อความนำออกไปจากโลก ฯ

    [๔๘๘]เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    เป็นอนัตตา สังขารย่อมปรากฏอย่างไร ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สังขารย่อมปรากฏ
    โดยความสิ้นไป
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สังขารย่อมปรากฏ
    โดยความเป็นของน่ากลัว
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สังขารย่อมปรากฏ
    โดยความเป็นของสูญ ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    จิตมากด้วยธรรมอะไร ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง จิตมากด้วยความน้อมไป เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ จิตมากด้วยความสงบ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา จิตมากด้วยความรู้ ฯ
    บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
    มากด้วยความน้อมใจไป
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้
    ย่อมได้อินทรีย์เป็นไฉน ฯ

    บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
    มากด้วยความน้อมใจไปย่อมได้สัทธินทรีย์
    ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ
    ย่อมได้สมาธินทรีย์ ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตา
    มากด้วยความรู้ ย่อมได้ปัญญินทรีย์ ฯ

    [๔๘๙]เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
    มากด้วยความน้อมใจเชื่อ อินทรีย์ที่เป็นใหญ่เป็นไฉน
    อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร
    ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย (ปัจจัยเกิดร่วมกัน) เป็นอัญญมัญญปัจจัย
    (เป็นปัจจัยของกันและกัน) เป็นนิสสยปัจจัย (ปัจจัยที่อาศัยกัน)
    เป็นสัมปยุตตปัจจัย (ปัจจัยที่ประกอบกัน)
    เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา
    เพราะอรรถว่ากระไร ใครย่อมเจริญ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากไปด้วยความสงบ อินทรีย์ที่เป็นใหญ่เป็นไฉน
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตามากไปด้วยความรู้ อินทรีย์ที่เป็นใหญ่เป็นไฉน อินทรีย์แห่งภาวนา
    ที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย
    อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย
    สัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา
    เพราะอรรถว่ากระไรใครย่อมเจริญ ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากไปด้วยความน้อมใจเชื่อสัทธินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตาม
    สัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย ...
    เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่า
    มีกิจเป็นอันเดียวกัน ผู้ใดปฏิบัติชอบ ผู้นั้นย่อมเจริญ
    การเจริญอินทรีย์ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ปฏิบัติผิด <O:p
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากไปด้วยความสงบ
    สมาธินทรีย์เป็นใหญ่ ... เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา
    มากไปด้วยความรู้ปัญญินทรีย์เป็นใหญ่
    <O:p</O:p
    อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔
    ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย
    สัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกันชื่อว่าภาวนา
    เพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ผู้ใดปฏิบัติชอบ
    ผู้นั้นย่อมเจริญ การเจริญอินทรีย์ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ปฏิบัติผิด ฯ
    <O:p</O:p

    [๔๙๐]เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง <O:p
    มากไปด้วยความน้อมใจเชื่อ อินทรีย์ที่เป็นใหญ่เป็นไฉน
    <O:pอินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร
    <O:pทั้งเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอัญญมัญญปัจจัย เป็นนิสสยปัจจัย<O:p
    เป็นสัมปยุตตปัจจัยในเวลาแทงตลอด มีอินทรีย์อะไรเป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งปฏิเวธที่เป็นไปตามอินทรีย์นั้นมีเท่าไร <O:p
    ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัยย์
    นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน
    ชื่อว่าภาวนาเพราะอรรถว่ากระไร ชื่อว่าปฏิเวธ
    เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากไปด้วยความสงบ
    อินทรีย์ที่เป็นใหญ่เป็นไฉน ... ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากไปด้วยความรู้
    อินทรีย์ที่เป็นใหญ่เป็นไฉน ... ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
    มากไปด้วยความน้อมใจเชื่อ
    สัทธินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งภาวนาที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้น
    มี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย
    นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย ในเวลาแทงตลอด ปัญญินทรีย์เป็นใหญ่ อินทรีย์แห่งปฏิเวธที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย
    เป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่ามีกิจ
    เป็นอันเดียวกัน
    ชื่อว่าปฏิเวธ เพราะอรรถว่าเห็น ด้วยอาการอย่างนี้ <O:p
    แม้บุคคลผู้แทงตลอดก็ย่อมเจริญ แม้ผู้เจริญก็ย่อมแทงตลอด ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากไปด้วยความสงบ
    สมาธินทรีย์เป็นใหญ่ ... ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากไปด้วยความรู้
    ปัญญินทรีย์เป็นใหญ่ ... ฯ<O:p</O:p

    [๔๙๑]เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
    <O:pอินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง
    เพราะอินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์
    อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง เพราะอินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง
    บุคคลจึงเป็นกายสักขี
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา อินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง
    เพราะอินทรีย์อะไรมีประมาณยิ่ง
    บุคคลจึงเป็นทิฐิปัตตะ ฯ

    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์
    มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความ
    เป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง
    เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฐิปัตตะ ฯ



    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.973890/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2010
  2. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...