ส่งการบ้าน... ๕.วิโมภขกถา (12)

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย deneta, 30 พฤษภาคม 2010.

  1. deneta

    deneta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    2,711
    ค่าพลัง:
    +5,720
    [๕๑๒] อนิมิตตวิโมกข์เป็นไฉน อนิจจานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจาก
    เครื่องหมายโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์
    ทุกขานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็นสุข ... อนัตตานุปัสนา-
    *ญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็นตัวตน ... นิพพิทานุปัสนาญาณ
    ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเพลิดเพลิน ... วิราคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจาก
    เครื่องหมายโดยความกำหนัด ... นิโรธานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดย
    ความเป็นเหตุเกิด ... ปฏินิสสัคคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดย
    ความถือมั่น ... อนิมิตตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายทุกอย่าง ...
    อัปปณิหิตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็นที่ตั้ง ...
    สุญญตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความยึดมั่น ... ญาณ คือ การ
    พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็นสภาพเที่ยง
    เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่มี
    นิมิตในรูป ย่อมพ้นจากนิมิตทุกอย่าง ... ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความ
    ไม่มีที่ตั้งในรูป ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็นที่ตั้ง ... ญาณ คือ การ
    พิจารณาเห็นความว่างเปล่าในรูป ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความยึดมั่น ...
    ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ใน
    วิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความ
    เป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ
    การพิจารณาเห็นความไม่มีนิมิตในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากนิมิตทุกอย่าง เพราะ
    เหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้งใน
    ชราและมรณะ ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความเป็นที่ตั้ง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อ
    ว่าอนิมิตตวิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในชราและมรณะ
    ย่อมพ้นจากเครื่องหมายโดยความยึดมั่น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอนิมิตตวิโมกข์
    นี้เป็นอนิมิตตวิโมกข์ ฯ
    [๕๑๓] อัปปณิหิตวิโมกข์เป็นไฉน อนิจจานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจาก
    ที่ตั้งโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์
    ทุกขานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความเป็นสุข ... อนัตตานุปัสนาญาณ
    ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความเป็นตัวตน ... นิพพิทานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดย
    ความเพลิดเพลิน ... วิราคานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความกำหนัด ...
    นิโรธานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความเป็นเหตุเกิด ... ปฏินิสสัคคา-
    *นุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความถือมั่น ... อนิมิตตานุปัสนาญาณ ย่อม
    พ้นจากที่ตั้งโดยความเป็นเครื่องหมาย ... อัปปณิหิตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจาก
    ที่ตั้งทุกอย่าง ... สุญญตานุปัสนาญาณ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความยึดมั่น ...
    ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความเป็น
    สภาพเที่ยง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การ
    พิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้งในรูป ย่อมพ้นจากที่ตั้งทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อ
    ว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในรูป ย่อมพ้น
    จากที่ตั้งโดยความยึดมั่น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ญาณ คือ
    การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ใน
    จักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากที่ตั้งโดยความเป็นสภาพเที่ยง เพราะ
    เหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ฯลฯ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความไม่มี
    ที่ตั้งในชราและมรณะ ย่อมพ้นจากที่ตั้งทุกอย่าง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิต-
    *วิโมกข์ ญาณ คือ การพิจารณาเห็นความว่างเปล่าในชราและมรณะ ย่อมพ้น
    จากที่ตั้งโดยความยึดมั่น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ นี้เป็น
    อัปปณิหิตวิโมกข์ ฯ
    [๕๑๔] ธรรมอันเป็นประธานเป็นไฉน ธรรมอันเป็นไปในฝักฝ่ายความ
    ตรัสรู้ เป็นกุศล ไม่มีโทษ เกิดในภาวนานั้น นี้ธรรมอันเป็นประธาน ฯ
    ธรรมอันเป็นประธานแห่งวิโมกข์เป็นไฉน นิพพานอันเป็นที่ดับ เป็น
    อารมณ์ของธรรมเหล่านั้น นี้เป็นธรรมอันเป็นประธานแห่งวิโมกข์ ฯ
    ธรรมอันเป็นข้าศึกแก่วิโมกข์เป็นไฉน อกุศลมูล ๓ ทุจริต ๓ อกุศล-
    *ธรรมแม้ทุกอย่าง เป็นข้าศึกแก่วิโมกข์ นี้ธรรมอันเป็นข้าศึกแก่วิโมกข์ ฯ
    ธรรมอันอนุโลมต่อวิโมกข์เป็นไฉน กุศลมูล ๓ สุจริต ๓ กุศลธรรม
    แม้ทุกอย่าง เป็นธรรมอันอนุโลมต่อวิโมกข์ นี้ธรรมอันอนุโลมต่อวิโมกข์ ฯ
    [๕๑๕] วิโมกขวิวัฏเป็นไฉน สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณ-
    *วิวัฏ วิโมกขวิวัฏ สัจจวิวัฏ บุคคลหมายรู้หลีกออกไป เพราะเหตุนั้น จึงเป็น
    สัญญาวิวัฏ บุคคลคิดอยู่หลีกออกไป เพราะเหตุนั้น จึงเป็นเจโตวิวัฏ บุคคล
    รู้แจ้งหลีกออกไป เพราะเหตุนั้น จึงเป็นจิตตวิวัฏ บุคคลทำความรู้หลีกออกไป
    เพราะเหตุนั้น จึงเป็นญาณวิวัฏ บุคคลปล่อยวางหลีกออกไป เพราะเหตุนั้น จึง
    เป็นวิโมกขวิวัฏ บุคคลหลีกออกไปในธรรมอันมีความถ่องแท้ เพราะเหตุนั้น จึง
    เป็นสัจจวิวัฏ สัญญาวิวัฏมีในที่ใด เจโตวิวัฏก็มีในที่นั้น เจโตวิวัฏมีในที่ใด
    สัญญาวิวัฏก็มีในที่นั้น สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏมีในที่ใด จิตตวิวัฏก็มีในที่นั้น
    จิตตวิวัฏมีในที่ใด สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏก็มีในที่นั้น สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ
    จิตตวิวัฏมีในที่ใด ญาณวิวัฏก็มีในที่นั้น ญาณวิวัฏมีในที่ใด สัญญาวิวัฏ เจโต
    วิวัฏ จิตตวิวัฏก็มีในที่นั้น สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏมีในที่ใด
    วิโมกขวิวัฏก็มีในที่นั้น วิโมกขวิวัฏมีในที่ใด สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ
    ญาณวิวัฏก็มีในที่นั้น สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกข
    วิวัฏมีในที่ใด สัจจวิวัฏก็มีในที่นั้น สัจจวิวัฏมีในที่ใด สัญญาวิวัฏ เจโตวิวัฏ
    จิตตวิวัฏ ญาณวิวัฏ วิโมกขวิวัฏก็มีในที่นั้น นี้เป็นวิโมกข์วิวัฏ ฯ
    [๕๑๖] การเจริญวิโมกข์เป็นไฉน การเสพ การเจริญ การทำให้มาก
    ซึ่งปฐมฌาน ... ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... อากาสานัญ-
    *จายตนสมาบัติ ... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ ...
    เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ... โสดาปัตติมรรค ... สกทาคามิมรรค ...
    อนาคามิมรรค ... การเสพ การเจริญ การทำให้มากซึ่งอรหัตมรรค นี้เป็นการ
    เจริญวิโมกข์ ฯ
    ความสงบระงับแห่งวิโมกข์เป็นไฉน การได้หรือวิบากแห่งปฐมฌาน ...
    ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ... อากาสานัญจายตนสมาบัติ
    วิญญาณัญจายตนสมบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
    โสดาปัตติผลแห่งโสดาปัตติมรรค สกทาคามิผลแห่งสกทาคามิมรรค อนาคามิผล
    แห่งอนาคามิมรรค อรหัตผลแห่งอรหัตมรรค นี้เป็นความสงบระงับแห่งวิโมกข์ ฯ


    <CENTER>จบตติยภาณวาร ฯ

    </CENTER><CENTER>จบวิโมกขกถา</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>[MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.983081/[/MUSIC]
    </CENTER>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    [​IMG]
     
  3. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,949
    ค่าพลัง:
    +43,556
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...