ส่งการบ้าน...31-064 ๕.วิโมกขกถา (06) ตติยภาณวาร

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย AddWassana, 24 พฤษภาคม 2010.

  1. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    31-064 ๕.วิโมกขกถา (06) ตติยภาณวาร

    [๔๙๒]บุคคลผู้เชื่อน้อมใจไป เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสัทธาธิมุต บุคคลทำให้แจ้งเพราะเป็นผู้ถูกต้องธรรม เพราะเหตุนั้น
    จึงชื่อว่ากายสักขี บุคคลบรรลุแล้วเพราะเป็นผู้เห็นธรรม
    เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าทิฐิปัตตะ บุคคลเชื่ออยู่ย่อมน้อมใจไป
    เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสัทธาธิมุต

    บุคคลถูกต้องฌานก่อน ภายหลังจึงกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพานอันเป็นที่ดับ เพราะเหตุนั่นจึงชื่อว่ากายสักขี ญาณความรู้ว่า สังขารเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข เป็นญาณอันบุคคลเห็นแล้ว ทราบแล้วทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าทิฐิปัตตะ บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุตบุคคล ๑ กายสักขีบุคคล ๑
    ทิฐิปัตตบุคคล ๑พึงเป็นสัทธาธิมุตก็ได้ เป็นกายสักขีก็ได้
    เป็นทิฐิปัตตะก็ได้ ด้วยสามารถแห่งวัตถุโดยปริยาย ฯ

    คำว่า พึงเป็น คือ พึงเป็นอย่างไรเล่า ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งเพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลพึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง ... เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตาสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุต
    บุคคล ๓ จำพวกนี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์
    อย่างนี้ ฯ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง
    เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง ...
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขีบุคคล ๓ จำพวกนี้ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์อย่างนี้ ฯเมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง
    เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฐิปัตตะ
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
    ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง
    เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง
    บุคคลจึงเป็นทิฐิปัตตะ บุคคล ๓จำพวกนี้ เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์อย่างนี้ คือ สัทธาธิมุตบุคคล๑ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฐิปัตตบุคคล ๑ พึงเป็นสัทธาธิมุตก็ได้ เป็นกายสักขีก็ได้เป็นทิฐิปัตตะก็ได้ อย่างนี้ ฯ
    บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุตบุคคล ๑ กายสักขีบุคคล ๑
    ทิฐิปัตตบุคคล ๑ เป็นสัทธาธิมุตอย่างหนึ่ง เป็นกายสักขีอย่างหนึ่ง เป็นทิฐิปัตตะอย่างหนึ่ง เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งเพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง จึงเป็นสัทธาธิมุตบุคคล เมื่อมนสิการโดยความ
    เป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง จึงเป็นกายสักขีบุคคล
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งเพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง จึงเป็นทิฐิปัตตบุคคล
    บุคคล ๓ จำพวกนี้ คือ สัทธาธิมุตบุคคล ๑ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฐิปัตตบุคคล ๑ เป็นสัทธาธิมุตอย่างหนึ่ง เป็นกายสักขีอย่างหนึ่ง
    เป็นทิฐิปัตตะอย่างหนึ่ง อย่างนี้ ฯ

    <O:p</O:p
    [๔๙๓]เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
    สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง
    บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
    เป็นสัทธานุสารีบุคคล
    อินทรีย์ที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย
    อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย
    สัมปยุตตปัจจัย การเจริญอินทรีย์ ๔ ย่อมมีด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งได้
    โสดาปัตติมรรคด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์
    บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นสัทธานุสารีบุคคล
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งเพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นสัทธาธิมุตบุคคล
    อินทรีย์ที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย
    อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย
    สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์
    ก็บุคคลเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้งโสดาปัตติผลด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้น
    เป็นสัทธาธิมุตบุคคล เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้สกทาคามิมรรค ฯลฯทำให้แจ้งสกทาคามิผล ได้อนาคามิมรรคทำให้แจ้งอนาคามิผล ได้อรหัตมรรคทำให้แจ้งอรหัตผล เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
    เป็นสัทธาธิมุตบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามสัทธินทรีย์นั้นมี ๔ ฯลฯ สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔
    เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์
    ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้งอรหัตผล
    ด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นสัทธาธิมุต ฯ
    <O:p</O:p

    [๔๙๔]เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง
    เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค
    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นกายสักขีบุคคล
    อินทรีย์ที่ไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔ ทั้งเป็น
    สหชาตปัจจัย ... สัมปยุตตปัจจัย การเจริญอินทรีย์ ๔
    ย่อมมีด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
    ได้โสดาปัตติมรรคด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์
    บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์
    สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง
    บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ฯลฯ
    ได้สกทาคามิมรรค ทำให้แจ้งสกทาคามิ
    ผล ได้อนาคามิมรรคทำให้แจ้งอนาคามิผล ได้อรหัตมรรค ทำให้แจ้งอรหัตผล เพราะเหตุนั้นจึงกล่าวว่า
    เป็นกายสักขีบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามสมาธินทรีย์นั้นมี ๔
    ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย... สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔
    เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว
    ด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
    ทำให้แจ้งอรหัตผลด้วย
    สามารถแห่งสมาธินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นกายสักขี
    <O:p</O:p

    [๔๙๕]เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์ มีประมาณยิ่งเพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค
    เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นธรรมานุสารีบุคคล
    <O:pอินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔ฯลฯ
    สัมปยุตตปัจจัย การเจริญอินทรีย์ ๔ ย่อมมีได้ด้วยสามารถ
    แห่งปัญญินทรีย์
    ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้โสดาปัตติมรรคด้วยสามารถ
    แห่งปัญญินทรีย์บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นธรรมานุสารี
    เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง
    เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นทิฐิปัตตบุคคล อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์
    นั้นมี ๔ ฯลฯ สัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคล
    เจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ </O:p>
    ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
    ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นทิฐิปัตตะ เมื่อมนสิการ
    โดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง
    บุคคลจึงได้สกทาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งสกทาคามิผล
    ได้อนาคามิมรรคทำให้แจ้งอนาคามิผล ได้อรหัตมรรค
    ทำให้แจ้งอรหัตผล <O:p></O:p>
    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นทิฐิปัตตบุคคล
    อินทรีย์ที่เป็นไปตามปัญญินทรีย์นั้นมี ๔
    ทั้งเป็นสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย <O:pสัมปยุตตปัจจัย อินทรีย์ ๔ เป็นอันบุคคลเจริญแล้ว
    เจริญดีแล้ว ด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทำให้แจ้งอรหัตผลด้วยสามารถแห่งปัญญินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นทิฐิปัตตะ


    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.975127/[/MUSIC]

    31-064 5[2]....mp3 (3.76 MB, 0 views) แก้ไขแล้วใช้ไฟล์นี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2010
  2. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,679
    ค่าพลัง:
    +9,239

    [​IMG]

    "ญาณความรู้ว่า สังขารเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข
    เป็นญาณอันบุคคลเห็นแล้ว
    ทราบแล้วทำให้แจ้งแล้ว
    ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
    เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า..ทิฐิปัตตะ"

    ขออนุโมทนาค่ะ..คุณแอ๊ด..
     

แชร์หน้านี้

Loading...