เรื่องเด่น หลวงปู่สอแห่งนครพนม พระเถระ 6 แผ่นดินวัย 113 ปี อวยพรลูกหลานเป็นสิริมงคลสงกรานต์

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 15 เมษายน 2018.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    [​IMG]
    0b988e0b8aae0b8ade0b981e0b8abe0b988e0b887e0b899e0b884e0b8a3e0b89ee0b899e0b8a1-e0b89ee0b8a3e0b8b0.jpg

    เมื่อวันที่ 14 เมษายน ภายในบริเวณวัดโพธิ์ศรี บ้านบะหว้า หมู่ที่ 10 ต.รามราช อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่สอ ขันติโก พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง อายุ 113 ปี จำพรรษา และเชื่อกันว่าท่านเป็นบุคคลที่มีอายุมากที่สุดในจังหวัดนครพนมอีกด้วย มีญาติโยมจำนวนมาก เดินทางนำอาหารหวานคาวมาถวายภัตตราหารแก่พระภิกษุบนศาลาการเปรียญ ซึ่งคนใกล้ชิดเผยว่าหลวงปู่มีอาการไข้เล็กน้อย เนื่องจากวันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา มีพิธีปลุกเสกพระประธานองค์ใหญ่ ที่ประดิษฐานอยู่ลานกว้างกลางแจ้ง และมีหมอดูฟันธงชื่อดัง เดินทางมาจากกรุงเทพฯ เพื่อมาร่วมงานนี้ด้วย แต่ผู้ติดตามหมอดูดังกล่าวนิมนต์หลวงปู่ออกจากุฏิมานั่งรอหมอดูชื่อดัง ตั้งแต่บ่ายโมงจนถึงหกโมงเย็น หลังเสร็จพิธีหลวงปู่บ่นปวดเนื้อปวดตัว จึงเอายาลดไข้ให้ฉันแต่อาการยังไม่ดีขึ้น เมื่อหลวงปู่เห็นญาติโยมมากราบไหว้กันเยอะ จึงให้ลูกศิษย์พาออกไปบนศาลาการเปรียญ ประพรมน้ำพระพุทธมนต์เพื่อเป็นสิริมงคล พร้อมส่งพลังจิตอวยพรให้ลูกหลานในวันสงกรานต์

    บ้านบะหว้าตั้งอยู่ทางแยกถนนทางหลวงชนบทสาย นพ.3014 เส้นบ้านหนองไฮ-ท่าอุเทน ในอดีตการคมนาคมยากลำบากเป็นถนนลูกรังแคบ ๆ ถึงฤดูน้ำหลากการสัญจรไปมาถูกปิดกั้น เพราะมีน้ำท่วมเจิ่งนองถนนรถยนต์แล่นไม่ได้ ต้องใช้เรืออย่างเดียว ต่อมามีคนค้นพบหลวงปู่สอ พระผู้มีปฏิปทา เช่น ชอบช่วยเหลือคนอื่น มีอัธยาศัยดี อุปนิสัยใจคอเมตตาต่อสรรพสัตว์ จึงมีผู้ศรัทธาดั้นด้นไปกราบไหว้ ทางหลวงชนบทเห็นความสำคัญจึงเร่งขยายถนนลาดยางถึงวัด การเดินทางสะดวกอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

    หลวงปู่สอ ขันติโก สกุลเดิมว่า “แก้วดี” เกิดในปลายรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2448 (วันเสาร์) แรม 2 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ บ้านบะหว้า บิดาเป็นชาวลาวชื่อ “เพ็ง” มารดาเป็นคนไทยชื่อ “จันทร์” มีพี่น้องรวมทั้งสิ้น 6 คน ท่านเป็นคนที่สอง ปัจจุบันพี่น้องเสียชีวิตหมดแล้ว แรกเกิดนั้นมารดาของท่านเล่าว่า หลวงปู่มีสายรกพันคอ กาลข้างหน้าจะได้บวชอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ วันหนึ่งโยมแม่พาไปกราบนมัสการองค์พระธาตุท่าอุเทน และได้พบกับหลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสัมปัณโณ ผู้สร้างพระธาตุท่าอุเทน จึงฝากตัวเป็นลูกศิษย์ และอยู่รับใช้หลวงปู่สีทัตถ์ จนได้บวชเป็นสามเณร ต่อมาท่าร่ำเรียนศึกษาวิชาต่างๆ เช่น ธรรมน้อย ธรรมใหญ่ มูลกัจจาย กรรมฐาน จนแตกฉานในพระธรรมวินัย บาลี

    จนถึงปี 2468 อายุครบ 20 ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ มีหลวงปู่สีทัตถ์เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นยังได้ร่วมกับหลวงปู่สีทัตถ์สร้างพระบาทโพนสัน ประเทศลาว และออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ตามป่าเขาลำเนาไพร ข้ามไปมาทั้งฝั่งไทยและลาว เป็นเวลากว่า 10 ปี จนหลวงปู่มีอายุ 32 ปี พรรษา 12 โยมแม่ล้มป่วยจึงรีบเดินทางมาเยี่ยม และเพื่อป้องกันข้อครหาท่านจึงลาสิขาออกมาดูแลอาการป่วยของโยมแม่ท่านจนวาระสุดท้าย หลวงปู่จึงได้เข้าบวชกลับเข้ามาใหม่อีกครั้ง และกลับไปปรนนิบัติหลวงปู่สีทัตถ์ที่ประเทศลาว จนพระอาจารย์ละสังขาร ท่านจึงกลับมาฝั่งไทยฝั่งไทยจำพรรษาอย่างถาวรที่วัดโพธิ์ศรี บ้านบะหว้า จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้หลวงปู่สอยังมีศิษย์รุ่นพี่เช่น หลวงปู่จันทร์ เขมมิโย วัดศรีเทพประดิษฐาราม เขตเทศบาลเมืองนครพนม หลวงปู่สนธิ์ วัดท่าดอกแก้วเหนือ ต.ท่าจำปา อ.ท่าอุเทน และหลวงปู่คาร คันธิโย วัดโพธิ์ชัย ต.ท่าอุเทน ซึ่งล้วนเป็นเกจิอาจารย์มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วประเทศ

    ขอบคุณที่มา
    https://www.matichon.co.th/news/916602
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...