เรื่องเด่น หลวงพ่อจรัญเล่าเรื่อง"พระเจ้าตากสินมหาราช"ใช้"คาถาพาหุง"ชนะศึกพระเจ้าฝาง ผู้มีวิชาได้อย่างอัศจรรย์!

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย อกาลิโก!, 24 กันยายน 2017.

  1. อกาลิโก!

    อกาลิโก! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    609
    กระทู้เรื่องเด่น:
    531
    ค่าพลัง:
    +3,732
    288 พลังจิต.jpg

    อำนาจแห่งพุทธบารมี!! หลวงพ่อจรัญเล่าเรื่อง "พระเจ้าตากสินมหาราช" ใช้ "พระคาถาพาหุง" ชนะศึกพระเจ้าฝาง อริราชศัตรูผู้มีวิชาได้อย่างอัศจรรย์ !!





    1401686662-ThaiGodNo2-o(6).jpg

    หนึ่งในเรื่องราวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินอันเกี่ยวเนื่องด้วยพุทธบารมีคือก่อนการออกรบทุกครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินจะต้องทรงเจริญพระพุทธมนต์พระคาถาพาหุงตามเยี่ยงอย่างของพระบาทสมเด็จพระนเรศวรทุกครั้งไป พระคาถานี้ตามประวัติเดิมนั้น พระมหาเถรคันฉ่องหรือสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วเป็นผู้รจนาเรียบเรียงถวายแด่สมเด็จพระนเรศวรให้เจริญพระพุทธมนต์บทนี้ก่อนออกศึกจนทำให้มีชัยแคล้วคลาดจนอุปทวอันตรายทั้งหลายทั้งปวงมีชัยต่อพระมหาอุปราชและแม้ว่าเหล่าพม่าฆ่าศึกจะยิงปืนใส่สมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถประดุจห่าฝนก็หาต้องพระวรกายไม่ ฉะนั้นพระเจ้าตากสินเองก็ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธมนต์บทนี้โปรดให้พระภิกษุสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ด้วยพระคาถาพาหุงทุกครั้งไป



    maxresdefault%20(1)(47).jpg

    ประวัติเรื่องนี้หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวันเล่าไว้ว่าโดยเฉพาะตอนที่พระเจ้าตากสิน กำลังรวบรวมคนไทยที่แตกเป็นก๊กเป็นเหล่าให้รวมกันเป็นหนึ่งนั้น มีก๊กของพระเจ้าฝางที่แข็งแกร่งที่สุด พระเจ้าฝางเคยบวชเป็นพระได้สมณศักดิ์เป็นถึงสังฆราชาหนเหนือ มีคาถาอาคมอย่างยอดเยี่ยม เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกฏมาก่อน เมื่อเกิดศึกพม่าเข้าใจเป็นสองนัยว่า หนึ่งพระเจ้าฝางกับพรรคพวกรวบรวมชาวบ้านต้านศึกพม่า ทั้งๆที่ยังเป็นพระภิกษุ กับสองคือพระเจ้าฝางสึกหาลาเพศมาก่อน แต่เนื่องจากขาดแคลนเสื้อผ้าจึงเอาผ้าจีวรมาเย็บดัดแปลงเป็นเสื้อ ทำให้ดูเหมือนพระออกรบ

    ที่สำคัญคือพระเจ้าฝางก็ต้านศึกพม่า แต่ก็ไม่ยอมให้กับพระเจ้าตาก เพราะตอนนั้นต่างคนก็ต่างเป็นใหญ่ด้วยกันทั้งนั้น หลังจากพระเจ้าตากปราบปรามก๊กพระยาพิษณุโลกสำเร็จก็ขึ้นตีพระเจ้าฝาง แต่ตีครั้งแรกๆไม่แตก เพราะเหตุว่าก๊กพระเจ้าฝางมีวิชาดี ใช้มีดดาบฟันแทงเท่าไหร่ก็ไม่เข้าเป็นที่แปลกประหลาดยิ่งนัก ทัพของพระเจ้าตากจึงต้องถอนร่นมาตังกระบวนใหม่ เมื่อพระเจ้าตากพิจารณาแล้วจึงทำการบวงสรวงเทพยดาตั้งสัจจะอธิษฐานว่าการรวบรวมแผ่นดินไทยเป็นหนึ่งเดียวนั้นพระองค์หาได้ทำเพื่อความเป็นใหญ่ของตนไม่ แต่ทำเพื่อให้ชาติเป็นปึกแผ่นมั่นคง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้ยืนยงถาวรสืบไป



    009.png

    ในคราวนั้นเกิดเหตุประหลาดกับพระเจ้าฝางคือช้างเผือกของพระเจ้าฝางตกลูก ตามคติแล้วช้างเผือกตกลูกยามเกิดสงครามติดพันเป็นอวมงคลถือเป็นนิมิตที่ไม่ดีแสดงว่าข้าศึกที่มาประชิดนั้นมีบุญบารมียิ่งกว่าตน พระเจ้าฝางเริ่มรู้ตัวว่าบุญบารมีนั้นไม่อาจทัดเทียมกับพระเจ้าตาก แต่อย่างไรก็ต้องสู้ทั้งนี้ก็ได้เตรียมทางหนีทีไล่ไว้สำหรับตน ด้านพระเจ้าตากเมื่อบวงสรวงต่อเทพยดาแล้ว ให้พระภิกษุสงฆ์ร่วมเจริญ “อิติปิโสพาหุง” ปลุกเสกเครื่องศาสตราแล้วก็ออกรบกับทัพพระเจ้าฝางอีกครั้งคราวนี้ประสบผลสำเร็จ เพราะความอยู่ยงคงกระพันฝ่ายพระเจ้าฝางเสื่อม ตัวพระเจ้าฝางเองหนีรอดออกไปได้พร้อมกับของสำคัญอย่างหนึ่งคือเพชรสีชมพู เรียกกันว่า “ผีเสื้อหน้าไม้” เป็นของศักดิ์สิทธิ์หายากยิ่ง ของวิเศษสิ่งนี้ได้อันตรธานหายไปพร้อมพระฝางนั่นเอง

    อำนาจแห่งการเจริญคาถาพาหุงของพระเจ้าตากนั้นนอกจากทำให้ชนะต่อศึกพระเจ้าฝางแล้ว ด้วยพระพุทธมนต์บทนี้ยังทำให้กองทัพของพระเจ้าตกมีชัยต่อพม่าข้าศึกสามารถรวบรวมแผ่นดินไทยเป็นแผ่นดินเดียวกันได้อย่างน่าอัศจรรย์ ด้วยเหตุนี้เองพระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญแห่งวัดอัมพวันจึงสรรเสริญพระคาถาอิติปิโสพาหุงอย่างยิ่ง กล่าวไว้ว่าแม้บุคคลผู้ใดก็ตามที่ประสบปัญหาชีวิตมีอุปสรรค มีลูกลูกไม่รักดี ไม่รักพ่อรักแม่ ก็ให้เจริญพระคาถานี้ก่อนนอนเสมอ พร้อมทั้งสวดอิติปิโสเกินกว่าอายุ ๑ จบทุกวัน ไม่นานนักปัญหาอุปสรรคทั้งหลายจะมลายไปเอง ด้วยเดชอำนาจแห่งพระพุทธคุณนี้




    lpjarun.jpg

    ทั้งนี้ พระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญนั้น ท่านเคยเกิดเป็นทหารกล้าแห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นทหารสำคัญท่านหนึ่งของพระเจ้าตาก หลวงพ่อจรัญท่านกล่าวว่า

    "ผู้ใดที่ถวายชีวิตเพื่อชาติเป็นทหารรักษาบ้านรักษาเมืองด้วยใจสุจริตตกล้าหาญเอาชีวิตแลกเป็นชาติพลีเพื่อปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์แล้ว ด้วยกุศลผลบุญอันใหญ่หลวงนี้จะนำพาให้ถึงพระนิพพานอย่างรวดเร็วชาตินี้ก็ชาติหน้าอย่างแน่นอน"

    สำหรับพระคาถาชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหาการุณิโก เป็นบทสวดมนต์ที่ สมเด็จพระพนรัตน์ วัด ป่าแก้ว ได้ถวายให้พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไว้สวดเป็นประจำ เวลาอยู่กับพระบรมราชวัง และในระหว่างศึกสงคราม จึงปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้า ทรงรบ ณ ที่ใดทรงมีชัยชนะอยู่ตลอดมา มิได้ทรงเพลี่ยงพล้ำเลย แม้จะเพียงลำพังสองพระองค์กับสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า ท่ามกลางกองทัพพม่า ด้วยการกระทำยุทธหัตถี มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ณ ดอนเจดีย์ปูชนียสถาน แม้ข้าศึกจะยิงปืนไฟเข้าใส่พระองค์ในตอนที่เข้ากันพระศพของพระมหาอุปราชาออก ไปราวกับห่าฝนก็มิปาน แต่ก็มิได้ต้องพระองค์ ด้วยเดชะพาหุงมหากา ที่ทรงเจริญอยู่เป็นประจำนั่นเอง ไม่เพียงแต่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเท่านั้น ที่พบความมหัศจรรย์ของพบพาหุงมหากา แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงพบเช่นกัน



    IwMjQzNy81MDgwMjAyNDQtbmF0aGFuaWVsLWNseW5lLW9mLWxpdmVycG9vbC1hbmQtbWFyYy1nZXR0eWltYWdlcy5qcGc-10.jpg

    พระคาถาชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากาฯ)

    อิมินาสักกาเรนะ พุทธัง อภิปูชะยามิ
    อิมินาสักกาเรนะ ธัมมัง อภิปูชะยามิ
    อิมินาสักกาเรนะ สังฆัง อภิปูชะยามิ

    อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ (กราบ)
    สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม ธัมมังนะมัสสามิ (กราบ)
    สุปะฏิปัณโณ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ (กราบ)
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ( ๓ จบ )

    พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
    สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติฯ
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ

    พาหุงสะหัส สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
    ครีเมขะลัง อุทิตะโฆ ระสะเสนะมารัง
    ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

    มาราติเร กะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
    โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
    ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

    นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
    ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
    เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

    อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
    ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
    อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

    กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
    จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะยะกายะมัชเฌ
    สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

    สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกาวาทะเกตุง
    วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
    ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

    นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
    ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
    อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

    ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
    พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
    ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

    เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฉฐะคาถา โย
    วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
    หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
    โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
    มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
    ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัมหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ



    ขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือ ญาณพระอริยะ ไขปริศนาพระเจ้าตาก โดย ทิพยจักร



    เรียบเรียงโดย

    เสาวลักษณ์ แสงสุวรรณ : สำนักข่าวทีนิวส์
    ------------------------

    http://www.tnews.co.th/contents/361220


     
  2. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,398
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,634
  3. mrmos

    mrmos Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    1,190
    ค่าพลัง:
    +1,101

แชร์หน้านี้

Loading...